สุขที่เสรี

วันที่ 07 กพ. พ.ศ.2567

7-2-67-01-b.jpg

พระราชภาวนาวิสุทธิ์ (หลวงพ่อธัมมชโย)

สุขที่เสรี

๔ กรกฎาคม ๒๕๒๕

          ท่านเป็นเจ้าอาวาสวัดพระธรรมกายที่ตั้งอยู่ที่ตำบลคลองสาม อำเภอคลองหลวง จังหวัดปทุมธานี ท่านอุปสมบทเมื่อวันที่ ๒๗ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๑๒ ตรงกับวันขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๙ ที่วัดปากน้ำ โดยมีพระธรรมธีรราชมหามุนี เจ้าอาวาสวัดปากน้ำเป็นพระอุปัชฌาย์ ท่านศึกษาธรรมตามแนววิชชาธรรมกายของหลวงพ่อสด จันทสโร หรือหลวงพ่อวัดปากน้ำ และได้คุณยายจันทร์ ขนนกยูงเป็นผู้คอยให้คำแนะนำในด้านปฏิบัติธรรม จากพื้นที่ที่มีแต่ท้องน้ำและเรือกสวน เมื่อ ๑๖ ปีก่อน ก็ ได้เปลี่ยนแปลงไปเพราะความอุตสาหะ ความอดทนและเพราะบุญบารมีขอหลวงพ่อ พวกเราสาธุชนทั้งหลายจึงได้เห็นวัดพระธรรมกายเป็นเช่นปัจจุบัน พระคุณเจ้าท่านนี้เป็นศูนย์รวมของจิตใจชาวพุทธ คือหลวงพ่อไชยบูลย์ ธัมมชโย เจ้าอาวาสวัดพระธรรมกาย

 

           ถาม  : ความทุกข์ทางโลกนี้ค่ะ ยังไงบ้างที่หลวงพ่อมองเห็นว่าความทุกข์ทางโลก


           ตอบ : ความทุกข์ทางโลกเดี๋ยวนี้เราใช้คำว่า ความเซ็ง ความเครียด ความเบื่อ ความกลุ้ม นั่นแหละเป็นความทุกข์ทางโลก ทีนี้คุณพอจะมองเห็นภาพพจน์ได้  “ค่ะ” ได้ชัดเจนมากกว่า หลวงพ่อใช้คำพระ เดิมที่คนธรรมดาทั่วไปเนี่ยะไม่รู้ด้วยซ้ำว่าอันนี้คือความทุกข์หรือความสุข แต่ว่าให้เกิดความพอใจชั่วขณะ แต่ความทุกข์จะตามมาอย่างมหันต์ เราก็ยังเรียกว่าเป็นความสุขได้เหมือนกัน ก็อาจจะเกิดความคุ้นเคยกับสิ่งที่เขาอยู่จำเจอยู่อย่างงั้น อันที่จริงเราเรียกว่า ???? “คุณแอ้หมายถึงอะไรนะจ๊ะที่ถามถึงเมื่อกี้นี้นะ”

 

           ถาม : ก็หมายความถึงกับว่า อย่างเราเนี้ยอาจจะมองความทุกข์เป็นความสุขไป ถึงความสุขเพียงชั่วแป๊ปเดียวทั้ง ๆ ที่ความทุกข์ก็ตามมาอย่างมหันต์ แต่เราก็ยังเรียกว่านั่นคือความสุข แต่ว่าถ้าผู้ที่ปฏิบัติธรรมหรืออย่างหลวงพ่อมอง หลวงพ่ออาจจะยังเห็นว่า นั่นไม่ใช่ความสุข นั่นแหละคือความทุกข์อะไรอย่างเงี้ยค่ะ

 

           ตอบ (อ้อ) ท่านก็บอกว่าคนธรรมดากับคนปฏิบัติธรรมเนี้ย อาจจะมองเห็นความทุกข์เนี่ยไม่เหมือนกัน ความทุกข์ของคนทั่ว ๆ ไปเนี้ย “เออ” หลวงพ่อมองเห็นในทัศนะของหลวงพ่อว่าคืออะไร อ้อ ๆหลวงพ่อเข้าใจแล้ว ความสุขที่ชาวโลกเห็นว่าสุขนั้นใช่ไหมจ๊ะ “ค่ะ ค่ะ” ความสุขที่ชาวโลกที่เห็นว่าสุขนั้นน่ะอันที่จริงแล้วคือความทุกข์ที่มันลดลงเท่านั้นเอง “อ๋อ” เป็นความทุกข์ที่ลดลงหรือบางทีที่เราเรียกว่า ความเพลินความเพลิน เล่นอะไรให้มันเพลิน ๆ หมดกันไปวัน ๆ หนึ่ง ดื่มเหล้าได้มันเพลินๆ หมดไปวันๆ หนึ่ง เล่นไพ่เพลินๆ กันให้มันหมดกันไปวัน ๆ หนึ่งหรือเที่ยวเตร่ไปในสถานที่ต่าง ๆ เพลิน ๆ ให้หมดไปวันๆหนึ่ง เรียกว่าความเพลินมากกว่า ยังไม่ใช่ความสุขที่แท้จริง ความสุขที่แท้จริงจะต้องเป็นอย่างที่หลวงพ่อว่า คือความสดชื่น มีความเบิกบาน ไร้กังวล จิตเป็นอิสระในการที่จะเสวยความสุขอันนั้น มีความโปร่ง มีความเบา แล้วก็มีชีวิตชีวาอย่างนั้นถึงจะเรียกว่าความสุข


              ถาม  : แล้วอย่างคนที่เค้าเล่นการพนันแล้วเค้าได้มาเนี่ยนะคะ เค้าก็เรียกว่า เค้ามีความสุขอย่างงี้ใช่ไหมคะ

 

             ตอบ เป็นความสุขที่ไม่เสรีคือถูกครอบงำด้วยความหายนะ อย่างงี้ยังไม่เรียกว่าเป็นความสุขที่แท้จริง อ๋อค่ะ ความสุขที่แท้จริงนั้นจะต้องไม่ถูกครอบงำด้วยสิ่งเหล่านี้ทั้งหมด ความหายนะก็ดี ความเมาก็ดี หรือได้มาด้วยการทำความชั่วก็ดี อย่างงี้ไม่เรียกว่า ความสุขที่แท้จริง

 

               ถาม  : เมื่อกี้หลวงพ่อเรียกว่า เป็นความสุขอะไรนะคะ ที่ไม่เสรี ทีนี้จะกราบเรียนถามว่าแล้วความสุขที่เสรีเนี่ยเป็นอย่างไง

 

          ตอบ ความสุขที่เสรีนะจ๊ะหมายถึง ความสุขที่ใจนั้นได้มีอิสระที่ได้เสวยความสุข อันนั้น เป็นจิตที่หลุดพ้นจากสิ่งที่ครอบงำใจ คือ ความโลภ ความโกรธ ความหลงพอหลุดพ้นแล้วจะทำให้จิตนั้นเป็นอิสระในการเสวยสุข ได้เต็มที่


                ถาม  : “ทำยังไงให้จิตหลุดพ้นจากความโลภ โกรธ หลงได้”

 

                ตอบ อ้อ ก็มีวิธีเดียวเท่านั้นเองคือการปฏิบัติธรรม

 

               ถาม  : งั้นที่แอ้รับฟังมาก็เท่ากับว่า ความทุกข์หรือความสุขนั้นก็อยู่ที่ใจของตัวเองใช่ไหมคะ แล้วอย่างนี้ในเมื่อรู้ว่าอยู่ที่ใจแล้วเนี่ยเราสามารถที่จะฝึกฝนได้ใช่ไหมคะ

 

             ตอบ เราต้องทราบสาเหตุซะก่อนว่าที่ใจไม่เป็นอิสระ “ค่ะ” ในการเสวยสุขได้เต็มที่นั้นน่ะมันเนื่องมาจากอะไร “ค่ะ” สิ่งที่ทำจิตเสวยสุขได้ไม่เต็มที่นั้นมี ๓ อย่าง คือความโลภ ความโกรธ และก็ความหลง “ค่ะ” ความโลภนั่นเป็นเหตุให้จิตนี่หิวอยู่ตลอดเวลาเลย มันไม่รู้จักพอ คล้าย ๆ กับแก้วก้นรั่ว เราจะใส่น้ำไปเท่าไหนก็ตามเนี้ย มันก็รั่วออกไปหมด “ค่ะ” จิตที่ถูกความโลภครอบงำเหมือนกับเป็นจิตที่อาภัพ มันจะหิวอยู่ตลอดเวลา ไม่รู้จักคำว่าพอ ทั้ง ๆ ที่สิ่งที่ได้มานั้นน่ะมันไม่ใช่น้อย ความโลภเนี้ยทำให้เรามองเห็นว่าน้อย เพราะฉะนั้นจิตที่ถูกความโลภครอบงำจึงเป็นจิตอาภัพ เสวยสุขได้ไม่เต็มที่


             อันที่ ๒ จิตอาภัพเพราะว่าถูกความโกรธเข้าไปครอบงำ ความโกรธนี่ทำให้จิตร้อน กระสับกระส่ายทุรนทุรายอยู่ตลอดเวลา เสวยสุขได้ไม่เต็มที่ ตื่นแต่เช้ามา ถ้าหากว่าถูกความโกรธเข้าไปครอบงำแล้วนี้ เจอะใครต่อใครก็ขวางหูขวางตาไปหมด แม้แต่ภรรยาและลูกที่น่ารัก ถ้าเกิดเราถูกความโกรธเข้าไปครอบงำแล้วก็อาจจะดูแล้วไม่สบายตาสบายใจ อันลูกหรือภรรยาอาจจะพูดยิ้มแย้มแจ่มใสแค่ไหนก็ตาม เราจะมีความรู้สึกว่าพูดยั่ว พูดเยาะ อะไรอย่างงั้นไป “ค่ะ” เพราะฉะนั้นเป็นจิตที่อาภัพ


             ประการที่ ๓ จิตถูกโมหะเข้าไปครอบงำ โมหะ คือความมืด เมื่อเข้าไปครอบงำจิตใจแล้ว ทำให้เป็นจิตที่อาภัพ คือเหตุผลที่ใคร ๆ ในโลกเห็นว่าดีแต่จิตที่ถูกโมหะครอบงำกลับเห็นว่าไม่ดี คือกลับตาลปัดไปหมด เห็นผิดเป็นถูก เห็นถูกเป็นผิด เป็นอย่างงี้ เพราะฉะนั้นวิธีที่เราจะทำจิตให้เสวยสุขได้อย่างเต็มที่หรือเข้าถึงสุขเสรี เราจะต้องเปลื้องจิตให้หลุดพ้นจากความโลภ ความโกรธ ความหลง “อ๋อ” สามอย่างนี้เท่านั้น “ค่ะ” อันนี้ก็มีวิธีฝึกได้เหมือนกัน  จะละโลภ ละโกรธ ละหลง นี้ได้ก็จะต้องอาศัยการปฏิบัติธรรมอย่างเดียวเท่านั้น อย่างอื่นนั้นทำไม่ได้เลย อย่างละโลภ ปฏิบัติได้ด้วยการให้ทาน ละโกรธปฏิบัติด้วยการรักษาศีล ละหลงปฏิบัติได้ด้วยการเจริญภาวนา ๓ อย่างนี้เท่านั้นจึงจะเปลื้องจิตให้หลุดพ้นจากจิตอาภัพอันนั้นได้ “อ๋อ”

 

             เมื่อหลุดจากจิตอาภัพทั้งหลายแล้ว ก็จะเกิดสุขขึ้นมาได้ สุขนั้นก็จะเป็นสุขที่เสรี คือจิตนั้นก็จะสามารถเสวยความสุขได้เต็มที่ และก็มีวิธีเฉียบพลันที่เร็วที่สุดนั้นก็คือ การอยู่ประพฤติปฏิบัติธรรม คือ เชิญชวนพุทธศาสนิกชนทั้งหลายได้มาอยู่กลดอยู่ธุดงค์กัน เพื่อที่จะขจัดสิ่งทั้ง ๓ อย่างเนี่ยให้มันบรรเทาเบาบางไป เราไม่ถึงกับหวังว่าให้มันหมดไป แค่ขอให้บรรเทาเบาบาง “ค่ะ” เพื่อจิตจะได้มีเสรีในการที่จะเสวยความสุข “อ๋อ” เพราะว่าความสุขนี้เป็นรากฐานหรือพื้นฐานในการทำกิจกรรมทั้งมวลในโลกนี้ ไม่ว่าจะเป็นนักเรียน นักศึกษา พ่อบ้านแม่บ้านหรือนักธุรกิจ จะต้องมีความสุขเป็นพื้นฐาน ถ้าเป็นนักเรียน ถ้าหากว่าพื้นฐานเค้ามีความสุขก็จะทำให้การศึกษาเล่าเรียนนั้นดี ถ้าหากนักธุรกิจมีพื้นฐานใจที่มีความสุข เสวยสุขได้เต็มที่ ก็จะทำให้ความคิดอ่านนั้นน่ะแจ่มใส มองเห็นปัญหาได้ทะลุปรุโปร่ง ถ้าเป็นพ่อบ้าน แม่บ้าน มีรากฐานแห่งความสุขเสรีอย่างนี้แล้ว จะทำให้บ้านนั้นอยู่เย็นเป็นสุข “ค่ะ”

 

    050367b.02.jpg     

อยู่กลดหมดทุกข์ พบสุขแท้จริง
                 

          ถาม : เรื่องการอยู่กลดเนี้ยรู้สึกเป็นของใหม่น่ะค่ะ ซึ่งตอนแรกตามความเข้าใจของแอ้เอง แอ้เข้าใจว่าเป็นเรื่องของพระสงฆ์ซะมากกว่า ไม่ทราบว่าฆราวาสก็สามารถอยู่กลดได้ เพราะว่าเพิ่งทราบจากกิจกรรมที่วัดนี้ทำขึ้น ก็อยากจะทราบคุณสมบัติผู้ที่จะมาอยู่กลดน่ะค่ะจะต้องมีคุณสมบัติกำหนดไว้ว่าอย่างไรบ้าง


         ตอบ อันที่จริงการอยู่กลดเนี้ยไม่ใช่ของใหม่อะไรเลยนะ เป็นความเข้าใจผิดของคนสมัยนี้ เนื่องจากได้ปล่อยปละละเลยกันไป สมัยก่อนโน้นน่ะ ทั้งพระก็ดี ทั้งฆราวาสก็ดี “ค่ะ” พอถึงเทศกาลที่สำคัญ ๆ อย่างเช่น ที่งานพระพุทธบาทสระบุรี ทั้งพระทั้งฆราวาสเขาก็จะเอากลด แล้วก็ออกปักเดินธุดงค์กันไป แล้วก็ไปปักกลดกันอยู่รอบ ๆ พระพุทธบาทสระบุรี แล้วก็จะอยู่ประมาณสักเดือนหนึ่ง เพื่อประพฤติปฏิบัติธรรมกัน แต่มาในระยะหลังนี้เราได้ห่างเหินและละเลยกันไป เพราะฉะนั้นภาพเหล่านี้เราจึงเห็นแค่พระภิกษุไปปักกลดกัน เพราะฉะนั้นสมัยนี้ ถ้าเราจะพูดถึงการอยู่ธุดงค์แล้ว คนเข้าใจกันว่าเป็นกิจเฉพาะของสงฆ์อย่างเดียว “ค่ะ” แล้วจะต้องแบกกลดเดินกัน ข้ามเขาข้ามห้วยกันไปอย่างนั้น แต่ความเป็นจริงแล้วเนี่ย ทุกคนสามารถปฏิบัติได้ไม่เฉพาะของพระภิกษุเท่านั้น “ค่ะ” คือ ฆราวาสก็สามารถทำได้และไม่จำเป็นจะต้องแบกกลดเดินธุดงค์กันทั่ว ๆ ไป “ค่ะ” เพราะฉะนั้นอย่างหลวงพ่อได้เปิดให้มาอยู่ธุดงค์กัน ให้มาอยู่กลดกัน ก็ต้องการเปิดโอกาสให้สำหรับผู้ที่ไม่ค่อยมีเวลา จะได้มาใช้ชีวิตแค่ ๔-๕ วัน ก่อนที่จะสิ้นปีเก่า มาอยู่ประพฤติปฏิบัติธรรมกัน ในสถานที่นี้เป็นเรื่องที่ทุกคนก็สามารถทำได้ ไม่ใช่เฉพาะพระสงฆ์เท่านั้น


            ถาม : ทั้งผู้ชายทั้งผู้หญิงหรือคะ

 

            ตอบ เปิดรับ ทั้งหญิงทั้งชายเลย ทั้งเด็กทั้งผู้ใหญ่ ฝึกได้ทุกวัยที่หลวงพ่อเปิดโอกาสให้

                   

            ถาม : ค่ะ แล้วต้องเตรียมตัวอะไรมาบ้างคะ


         ตอบ สำหรับการที่จะมาอยู่กลด สิ่งที่จะต้องเตรียมตัวคือของใช้ส่วนตัว แล้วก็กลด กลดนี่หลวงพ่ออยากจะให้ทุกคนมีเอาไว้ประจำบ้าน เพราะว่ากลดนี่คือสัญลักษณ์ของสันติสุข สัญลักษณ์ของผู้มีภูมิปัญญาอันเลิศ ถ้าหากกลดอยู่ในบ้านของใคร บ้านนั้นต้องอยู่เย็นเป็นสุข ถ้าหากว่าทุก ๆ ครอบครัวมีกลดอยู่ บ้านเมืองก็จะอยู่เย็นเป็นสุข หลวงพ่อคิดว่าวัตถุสิ่งของทุกอย่างเนี่ยมันมีวิญญาณอยู่ “ค่ะ” อย่างเช่น เราส่งปืนให้ใคร มันก็จะมีวิญญาณนักฆ่า คือถือปืนแล้วมันอดที่จะยิงไม่ได้ ส่งหนังสะติกให้เด็ก ๆ เด็กเดี๋ยวก็คว้าก้อนอิฐก้อนหินยิงนกยิงหนูไป หรือส่งรถให้ใคร เด็กวัยรุ่นขับก็ เห็นแล้วก็มีวิญญาณของรถซิ่ง กลดก็เช่นเดียวกัน หลวงพ่อคิดว่ามีวิญญาณของนักปฏิบัติธรรมอยู่สิงสถิตอยู่ในนั้น เค้าจะคิดถึงการปฏิบัติธรรม จิตใจก็จะจรดจ่อเกี่ยวกับเรื่องการปฏิบัติธรรมนี้อยู่ตลอดเวลาเลยคุณแอ้รองคิดดูก็แล้วกันถ้าหากทุก ๆ คน หรือทุก ๆ ครอบครัวจิตใจจรดจ่อเกี่ยวกับการประพฤติปฏิบัติธรรมบ้านเมืองของเราจะเป็นยังไง ก็จะมีความสุข จะมีความสุข เพราะฉะนั้นหลวงพ่อถึงอยากจะให้มีกลดอยู่ประจำบ้าน ที่นี้นอกจากจะเป็นสัญลักษณ์ของสันติสุขที่เกิดขึ้นภายในบ้านของตัวเองหรือประเทศชาติแล้ว กลดนั้นยังเป็นสื่อสัมพันธ์อย่างดีที่จะนำไปสู่การสนทนาไปสู่การประพฤติปฏิบัติธรรม อย่างสมมติว่าเราถือกลดออกมาจากบ้าน ก็อาจจะมีหมู่ญาติมิตร ถามว่าอะไร ถือมาทำไม ก็เป็นจังหวะดีที่เราจะได้ทำหน้าที่เป็นกัลยาณมิตรให้เค้า จะได้แนะนำว่ากลดนี่น่ะเอาไว้สำหรับเป็นที่ประพฤติปฏิบัติธรรม ยกจิตใจของเราให้สูงส่งขึ้น นำไปสู่ความสุขที่จีรังยั่งยืนที่แท้จริงได้ ฉะนั้นการสนทนาก็จะมีประโยชน์อย่างยิ่ง ดังนั้นกลดนี่ก็จะเป็นสื่อสัมพันธ์ในการ ที่จะนำไปสู่การประพฤติปฏิบัติธรรม นอกจากนี้ภาพของกลดที่เราถือมาจากบ้าน มาถึงธุดงคสถานนี่ ยังสร้างภาพพจน์ที่ดี ภาพพจน์ในโลกปัจจุบันเนี้ยมีอยู่ ๒ ประการ คือประการหนึ่งยกระดับใจให้ ตกต่ำ อีกประการหนึ่งยกระดับใจให้สูงขึ้น ภาพกลดนี่ทุก ๆ คนเห็นแล้วจะทำให้จิตใจสูงขึ้น สูงขึ้นไปเรื่อย ๆ เลยเพราะฉะนั้นหลวงพ่อจึงมีความเห็นว่าทุก ๆ คนควรจะมีกลดอยู่ประจำบ้าน


           ถาม : การอยู่กลดนี่นะคะ นอกจากจะได้ประโยชน์ ยังได้ประโยชน์จากการฝึกจิตใจ ยังได้ประโยชน์ในทางไหนอีกบ้างคะ


      ตอบ ยังจะได้ทำให้เราได้คุณธรรมเพิ่มขึ้นอีกหลายอย่าง คือได้ความอดทน ได้ความอดทน เพราะว่าการอยู่กลดนั้นน่ะมันไม่สบายเหมือนอยู่ที่บ้าน มันมีแต่ความสะดวกต่อการประพฤติปฏิบัติธรรมเท่านั้น เรามีเนื้อที่เพียงเล็ก ๆ น้อยแค่นี้เองที่เราพออยู่ได้ เพราะฉะนั้นเนี่ยเราจะต้องอดต้องทน อยู่ในกลดนี้ อันที่ ๒ ได้วิริยะ ได้วิริยะเกิดขึ้น ได้ความเพียรเกิดขึ้น ทีนี้ระหว่างที่เราอยู่กลดนั้นน่ะ จิตใจเราจะสำรวมระวัง ไม่ให้บาปอกุศลเกิดขึ้นมาในใจ หรือบาปอกุศลที่เกิดขึ้นในใจนั้นน่ะ เราก็จะพยายามขจัดให้มันหมดไป กุศลอันใดที่ยังไม่เกิดขึ้นเราก็จะพยายามทำให้เกิดขึ้น หรือเกิดขึ้นแล้วก็จะพยายามทำให้มันเจริญขึ้นไป ได้ความเพียร ได้ความอดทน และก็ได้รู้จักคำว่าพอดี ความพอ เราเข้ามาอยู่ในกลดนี้ เราจะรู้สึกว่ามีเพียงแค่นี้ แค่นี้เท่านั้นเอง นอกจากนี้แล้วเป็นส่วนเกิน เพราะฉะนั้นชาวโลกที่วุ่นวายกันอยู่ในปัจจุบัน มีความทุกข์ก็เพราะว่ามีสิ่งที่เกินความจำเป็นทั้งนั้น เมื่อเรามาอยู่กลดแล้ว เราจะเริ่มมองเห็นว่า อะไรคือความจำเป็นอะไรคือสิ่งที่เกินความจำเป็น แล้วจะทำให้เราสามารถจัดสรรชีวิตของเราได้ลงตัวขึ้น สมบูรณ์ขึ้น ฉะนั้นการอยู่กลดเท่ากับเป็นการพิจารณาถึงความพอดีของปัจจัยสี่ ที่จำเป็นของชีวิตเท่านั้น แล้วก็อีกส่วนหนึ่งคือการปฏิบัติใจด้วย 

 

   050367b03.jpg           

อยู่กลดหมดทุกข์พบสุขแท้จริง


                ถาม : แล้วการอยู่กลดนี่ไม่ใช่เป็นการตัดทางโลกให้สิ้นไปหรือคะ


               ตอบ การอยู่กลด หลวงพ่อไม่มีวัตถุประสงค์จะให้ทิ้งโลก แต่ต้องการที่จะทำให้ชีวิตเค้าสมบูรณ์ขึ้น อย่างที่หลวงพ่อบอกตั้งแต่ต้นนั้นว่าความสุขเป็นพื้นฐานของการทำกิจกรรมทั้งมวลในโลกนี้ ไม่ว่าจะเป็นนิสิตนักศึกษา ข้าราชการ นักธุรกิจ พ่อบ้านแม่บ้าน จะต้องมีความสุขอันนี้เป็นพื้นฐาน


                ถาม : แล้วฆารวาสนี่ สามารถเข้าถึงความสุขเสรีได้ไหมคะ


          ตอบ ฆารวาสนี้ สามารถเข้าถึงได้ในชีวิตนี้ โดยไม่จำเป็นต้องทิ้งครอบครัว ทิ้งบ้านทิ้งช่องออกมาบวช ไม่ถึงกับอย่างนั้นหรอก สามารถที่จะฝึกฝนอบรมได้ เพราะสุข ทุกข์นั้นอยู่ที่ใจ อย่างที่เล่าให้คุณแอ้ฟังตั้งแต่ต้น ถ้าหากเราสามารถฝึกใจของเราให้เข้าไปถึงกระแสธรรมภายใน เปลื้องจากความโลก ความโกรธ ความหลงให้มันบรรเทาเบาบางไป เราก็จะลิ้มรสความสุขชนิดนี้ได้ในชีวิตนี้ไม่ใช่ตายแล้วเพราะฉะนั้นการอยู่กลดนี่เป็นการให้คลายทุกข์ก่อน การอยู่กลดนี่อย่างที่หลวงพ่อบอกตั้งแต่ต้น ก็เพื่อคลายความกังวล มาสู่ความไม่สุขไม่ทุกข์ แล้วก็เปลี่ยนแปลงจากความไม่สุขไม่ทุกข์นั่น ก้าวไปสู่ความสุขที่แท้จริง

 

           เพราะฉะนั้นถึงได้มีคำขวัญว่า "อยู่กลดหมดทุกข์พบสุขแท้จริง" อยากจะขอเชิญชวนให้ท่านสาธุชนทั้งหลายมาประพฤติปฏิบัติธรรมกัน ด้วยการมาอยู่กลดที่วัดพระธรรมกาย


                 ถาม : แล้วอย่างนี้ต้องมีการติดต่อหรือสมัครอะไรก่อน


                 ตอบ : ติดต่อได้ที่วัดพระธรรมกายหรือที่สำนักงานกัลยาณมิตร


                 ถาม : แล้วเวลาปฏิบัตินี้ ปฏิบัติที่ไหนคะ


                 ตอบ ปฏิบัติที่ธุดงคสถาน อยู่หลังวัด ในเนื้อที่สองพันไร่

 

 

พระธรรมเทศนาเพื่อการปฏิบัติธรรม วัดพระธรรมกาย

 ยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคล Total Execution Time: 0.0015513181686401 Mins