ภาคผนวก : ความรู้โรคมะเร็ง

วันที่ 05 สค. พ.ศ.2567

2567_08_05%20b.jpg

 

ภาคผนวก : ความรู้โรคมะเร็ง

 

          “โรคมะเร็ง” ดูช่างเป็นคำที่น่ากลัวสำหรับประชาชนชาวไทยทั่ว ๆ ไป และเกือบทุกคนมีความคิดว่าโรคร้ายนี้ ถ้าใครเป็นแล้วจะต้องเสียชีวิตทุกราย ฉะนั้น การที่ผู้ใดผู้หนึ่งได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นมะเร็งนั้น เปรียบเสมือนว่าเป็นนักโทษที่ได้รับการตัดสินจากศาลให้ประหารชีวิตทีเดียว


    แม้แต่ในวงการแพทย์เอง ในปัจจุบันนี้ โรคมะเร็งกำลังเป็นปัญหาทางสาธารณสุขของประเทศไทย ประชาชนชาวไทยเสียชีวิตจากโรคมะเร็งเป็นอันดับสองรองจากอุบัติเหตุ เป็นการเสียชีวิตมากกว่าโรคมาลาเรีย มากกว่าโรคขาดอาหาร มากกว่าวัณโรคปอด ฯลฯ


มะเร็งเกิดขึ้นได้อย่างไร


         เซลล์ใดก็ตามที่จะกลายเป็นเซลล์มะเร็งได้นั้น  ต้องมี  ยีน (ซึ่งเป็นรหัสชีวิตที่จะควบคุมลักษณะและหน้าที่การทำงานของเซลล์ตลอดการถ่ายลักษณะทางพันธุกรรม) ที่จะกลายเป็นมะเร็งอยู่ภายในเซลล์นั้น


           ยีนที่มีลักษณะที่จะกลายเป็นมะเร็งชนิดนี้เรียกว่า อองโคยีน (Oncogene)


       โดยปกติร่างกายจะสร้างกลไกกดอองโคยีน   นี้ไว้ไม่ให้มีการเปลี่ยนกลายเป็นเซลล์มะเร็ง  แต่เมื่อร่างกายได้รับสารก่อมะเร็ง(คาร์สิโนเจน) หรือมีเหตุอะไรก็แล้วแต่ที่ไปทำให้กลไกที่กดอองโคยีนไว้เสียไป ก็จะทำให้เซลล์นั้นกลายเป็นมะเร็งได้


       เมื่อเซลล์ปกติกลายเป็นเซลล์มะเร็งแล้ว  เซลล์ก็จะแบ่งตัวโดยไม่ยอมหยุดอยู่ภายใต้การบังคับของร่างกาย  ทำให้เป็นก้อนมะเร็งขนาดใหญ่


ปัจจัยที่ทำให้เกิดมะเร็ง


          และยังพบต่อไปอีกว่า  การเกิดมะเร็งนั้น เป็นกระบวนการที่ซับซ้อนและมีปัจจัยหลาย ๆ อย่างรวมกัน นักวิจัยเป็นจํานวนมากทั่วโลก ต่างก็ได้พยายามที่จะค้นคว้าวิจัยว่า อะไรบ้างที่เป็นสาเหตุที่ทำให้เซลล์ปกติเปลี่ยนเป็นเซลล์มะเร็ง และก็ยังไม่สามารถสรุปได้ว่าเกิดจากสาเหตุอะไรแน่ แต่ก็พอจะสรุปได้ว่า มีเหตุส่งเสริมที่สำคัญ ๒ อย่างรวมกัน ที่ทำให้เซลล์ทำงานผิดปกติได้ คือ ปัจจัยภายในร่างกาย กับปัจจัยภายนอกร่างกาย


ปัจจัยภายในร่างกาย


         โดยทั่วไป  ร่างกายของคนที่ปกติ  จะสามารถสร้างภูมิคุ้มกัน  ที่สามารถต้านทำลายสารมะเร็ง แต่จะโดยสาเหตุใดก็ตาม ที่ทำให้ร่างกายไม่สามารถค้นพบสารดังกล่าว หรือค้นพบแต่ไม่สามารถสร้างภูมิคุ้มกันได้ ก็จะเกิดมะเร็ง


       มีมะเร็งหลายชนิด   ที่มีความสัมพันธ์ใกล้ชิดกับกรรมพันธุ์ในสายเลือดเดียวกัน   เช่น  มะเร็งของมดลูก มะเร็งเต้านม มะเร็งของลูกตาในเด็ก ถ้ามีคนใดคนหนึ่งเป็นมะเร็งเหล่านี้แล้ว พี่น้องหรือลูกหลาน ก็จะมีโอกาสเป็นมะเร็งนั้นๆ ได้มากขึ้น


          หรือเกิดจาก  กรณีที่เป็นไฝดำ หรือปานดำ ก็มีโอกาสจะกลายเป็นมะเร็งผิวหนังชนิดร้ายแรงได้ หรือเนื้องอกชนิดธรรมดาก็อาจจะกลายเป็นมะเร็งได้ ฯลฯ


ปัจจัยภายนอกของร่างกาย


        ได้แก่  การระคายเรื้อรัง เช่น ฟันปลอมที่ไม่กระชับเวลาเคี้ยวอาหาร จะมีการเสียดสีกับเหงือก หรือเพดานปาก อาจทำให้เกิดมะเร็งของเหงือก หรือเพดานปากได้


          การกระทบกระแทก การฉีกขาดของปากมดลูก เช่น ผู้ที่มีอาชีพโสเภณี การคลอดบุตรหลายคน หรือการมีกระบังลมหย่อนในหญิงสูงอายุ ทำให้เกิดมะเร็งปากมดลูกได้ง่าย


           มะเร็งบางชนิด  เช่น  มะเร็งเต้านม  เกิดจากการกระทบกระแทกบ่อยๆ  หรือเกิดจากการฉีดสารปลอมแปลงเข้าไปหรืออีกอย่างคือระดับฮอร์โมนเพศหญิงผิดปกติ
 

 ยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคล Total Execution Time: 0.0087213675181071 Mins