ชุดความคิดด้านการฝึกฝนใจ

วันที่ 14 กค. พ.ศ.2568

 

14_7_68_5b%281%29.jpg

 

ชุดความคิดด้านการฝึกฝนใจ

 

การเจริญสมาธิภาวนาเป็นสิ่งสำคัญที่สุด

ในชีวิต ถือได้ว่าเป็นทั้งหมดของชีวิต

เพราะจะทำให้เราบรรลุเป้าหมายสูงสุด

คือพระนิพพาน

 

เราปฏิบัติธรรมเพื่อ ความบริสุทธิ์บริบูรณ์

แห่งชีวิตยิ่ง ๆ ขึ้นไป ไม่ใช่เพื่ออยากเด่น

อยากดัง ไม่ได้ต้องการให้ใครยกย่อง

สรรเสริญ หรือปรารถนาลาภสักการะ

 

พระรัตนตรัยมีอยู่สองลักษณะ คือ “พระรัตนตรัยภายนอก” และ “พระรัตนตรัยภายใน”

1. พระรัตนตรัยภายนอก ได้แก่ พระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์

พระพุทธ คือ พระสัมมาสัมพุทธเจ้า พระธรรม คือ คำสอนของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า

พระสงฆ์ คือ พระอริยสงฆ์กับสมมติสงฆ์

2. พระรัตนตรัยภายใน ได้แก่ พุทธรัตนะ ธรรมรัตนะ สังฆรัตนะที่เกิดจากการปฏิบัติธรรม

พุทธรัตนะ คือ พระธรรมกาย เป็นองค์พระที่ใสเป็นแก้ว เป็นพุทธรัตนะภายใน

ธรรมรัตนะ คือ ดวงธรรมในกลางพระธรรมกาย เป็นธรรมรัตนะภายใน

สังฆรัตนะ คือ ธรรมกายละเอียดในกลางธรรมรัตนะ เป็นสังฆรัตนะภายใน

 

พระรัตนตรัยที่แท้จริง อยู่ในตัวเราเอง

 

จงรักการปฏิบัติธรรมเป็นชีวิตจิตใจ

จ้ำจี้จําไชตัวเองให้นั่งสมาธิ

 

หยุด เป็นตัวสําเร็จ

 

หยุด นิ่งเฉย ถ้อยคำศักดิ์สิทธิ์

 

ใจหยุด คือที่สุดแห่งบุญ

 

สวดมนต์เป็นยาทา ภาวนาเป็นยากิน

 

ง่าย ๆ สบาย ๆ ใจเย็น ๆ

 

4 ส. สติ สบาย สม่ำเสมอ สังเกต

 

หยุดให้เป็น เย็นให้พอ รอให้ได้

แล้วจะง่ายนิดเดียว

 

ไม่ลุ้น ไม่เร่ง ไม่เพ่ง ไม่จ้อง

 

แม้มืดตื้อมีดมิด ก็มีสิทธิ์เข้าถึงธรรม

 

นั่งมากเรื่องจะน้อย นั่งน้อยเรื่องจะมาก

 

สมาธิทําให้เกิดปัญญา ซึ่งจะทําให้เรา

สามารถวินิจฉัยหรือคาดการณ์อะไร

ต่าง ๆ ได้ถูกต้อง จะคิด จะพูด

จะทำอะไร เมื่อตั้งอยู่บนฐานของใจ

ที่สบาย ความสําเร็จก็จะเกิดขึ้นง่าย

 

ถ้านั่งธรรมะได้ดวงใสๆ

อย่างนี้มั่นใจได้ว่า "ปิดประตูอบาย"

แต่ถ้ายังไม่ได้ดวงใส หรือองค์พระใสๆ

ต้องสั่งสมบุญให้มากๆ

ให้มากพอที่บุญจะหล่อเลี้ยงใจเรา

ไปจนถึงวันสุดท้ายของชีวิต

 

การเจริญสมาธิภาวนา อาศัยความเพียร ความ

สังเกตและหมั่นฝึกฝน ทำทุกวัน อย่างสม่ำเสมอ

 

อย่าไปคอยความพร้อมแล้วจึงค่อยทำสมาธิ

ความพร้อมในโลกมนุษย์นี้หาได้ยาก อย่าไป

คอยให้ทุกสิ่งพร้อม ให้ทำทุกสิ่งไปพร้อม ๆ กัน

 

พระรัตนตรัย เป็นที่พึ่งที่ระลึกอันสูงสุด

ของพวกเราทั้งหลาย สิ่งอื่นที่จะเป็นที่พึ่ง

ที่ระลึกยิ่งกว่านี้ไม่มีอีกแล้ว

 

รักศูนย์กลางกาย ยิ่งกว่าชีวิต ชีวิต คือ

ศูนย์กลางกาย ศูนย์กลางกาย คือ ชีวิต

 

บุญเกิดขึ้นทุกครั้ง ที่เราลงมือปฏิบัติธรรม

 

หยุดแรก จะยากสักนิด ก็ไม่ใช่ยากมาก ยากพอสู้

แต่ก็ต้องอาศัยการฝึกฝน ทําความเพียร

ให้สม่ำเสมอ ต้องมีสติกับสบาย สม่ำเสมอ

แล้วก็สังเกต 4 ส. นี้ ต้องจำให้ดี

 

สติกับสบายต้องมาคู่กันอย่างสม่ำเสมอ

คือตลอดเวลา ต่อเนื่องทั้งหลับตาและลืมตา

 

เวลานั่งสมาธิ เราไม่ได้นั่งแข่งกับใคร เราไม่ได้

แข่งกับเวลา แล้วก็ไม่ได้แข่งกับอะไรทั้งสิ้น

เรากำลังสะสมความดี สะสมความเบาสบาย

สะสมความสุขในการนั่งไปเรื่อย ๆ

 

ช่วงที่นั่งสมาธิมาก ทําให้บุญเก่ามีโอกาส

ส่งผลได้ง่าย คือ เปิดโอกาสให้บุญเก่า

มาเชื่อมบุญใหม่ได้ง่าย จึงมีอุปสรรคน้อย

 

บัญญัติ 10 ประการ ในการปฏิบัติธรรม

อย่ากลัวผิด อย่าใช้ความคิด อย่าติดสัญญา

ให้เชื่อตาอย่าเชื่อหู ผิดเป็นครู ดูให้ดีอย่าประมาท

ถ้าพลั้งพลาดอย่าแก้ตัว อย่ากลัวเสียหน้า

อย่าช้ารีบเร่งหาทางแก้ไข จำไว้ที่แนะนำ

 

ต้องฝึกใจให้หยุดนิ่งทุก ๆ วัน

ไม่ให้ขาดเลยแม้แต่เพียงวันเดียว

เหมือนอากาศที่เราต้องหายใจทุกวัน

เหมือนอาหารที่เราต้องรับประทานทุกวัน

 

ช่วงสุดท้ายของชีวิต ใครก็ช่วยเราไม่ได้

ความใสของใจ เราต้องทำด้วยตัวของเราเอง

คนอื่นได้แค่คอยชี้แนะคอยเป็นกำลังใจให้เท่านั้น

 

การปฏิบัติธรรมเป็นสิ่งสําคัญที่สุดในชีวิต

สําคัญยิ่งกว่าอากาศที่เราหายใจ

เพราะถ้าขาดอากาศเราก็แค่ตายจากโลกใบนี้

แต่ถ้าเราขาดธรรมะเราจะตายจากความดี

ตายจากทุกสิ่งทุกอย่าง

 

เราจะแสวงหาความสุขที่แท้จริงจากทรัพย์

วัตถุภายนอก คน สัตว์ สิ่งของไม่ได้เลย

จะเดินทางไกลไปเที่ยวต่างประเทศ จะดื่ม จะดริ๊งก์

จะอะไรก็แล้วแต่ มันไม่เจอทั้งนั้น

เพราะความสุขที่แท้จริงมันอยู่ที่หยุดกับนิ่งตรงนี้

 

เราต้องใช้ทุกอนุวินาทีสําหรับการฝึกใจ ให้หยุดนิ่ง

โอกาสในช่วงที่มีความแข็งแรงผ่านแล้ว ก็ผ่านเลยไป

ความแข็งแรงเป็นสิ่งที่ยิ่งใหญ่เหมาะสำหรับการฝึก

เราอย่าปล่อยให้เวลานี้ผ่านไป

 

พระแท้ต้องบวชสองชั้น

เป็นพระภายนอก และพระภายใน

 

มีเสรีในดวงใจ มีวินัยในตัวเอง

 

ใจใสใจสบาย ทําอะไรก็สําเร็จ

ใจอยู่ที่ศูนย์กลางกายฐานที่ 7

ทําอะไรก็สําเร็จอย่างสบายๆ

 

ใจอยู่ที่กลาง สตางค์มาเอง

 

ข้างนอกเคลื่อนไหว ข้างในหยุดนิ่ง

 

หยาบให้ตรีก ละเอียดให้แตะ

 

อยากเร็วต้องหยุด อยากซัดต้องนิ่ง

อยากเร่งต้องเฉย

 

ถ้าเรารักและปรารถนาอยากจะเจอ

ความสุขที่แท้จริง อยากจะสมหวัง

ในชีวิต ก็ต้องฝึกใจหยุดนิ่ง

 

ถ้าเรารักการปฏิบัติธรรม

เมื่อเกิดการกระทบกระทั่ง

เรื่องใหญ่ก็จะเป็นเรื่องเล็ก

เรื่องเล็กก็จะเป็นเรื่องนิดเดียว

หรือไม่มีเรื่องเลย

 

สมาธิดับความกลุ้มได้

 

ความสุขความเจริญทั้งมวล

ย่อมเกิดขึ้นจากใจก่อนทั้งสิ้น

เมื่อเปลี่ยนแปลงใจให้ดีแล้ว

สิ่งดีๆ ทั้งหลาย เช่น

ทรัพย์สมบัติ คุณสมบัติ ลาภ ยศ

ย่อมเป็นผลพลอยได้ตามมา

 

ในชีวิตนี้ควรฝึกฝนใจ

ให้เป็นสิ่งสําคัญที่สุดในชีวิต

เพราะนอกจาก

เป็นแหล่งที่มาของบุญแล้ว

ยังนำมงคลทั้งหลายมาสู่ตนด้วย

 

ความแข็งแรงและปลอดกังวล

คือสิ่งสําคัญในการปฏิบัติธรรม

 

มรรค 4 ผล 4 นิพพาน 1 อยู่ภายใน

ตัวเรา เข้าถึงได้ด้วยการฝึกใจให้หยุดนิ่ง

 

ตราบใดที่ใจเรายังไม่หยุดไม่นิ่ง

เราจะไม่มีวันรู้จักความสุขที่แท้จริง

ตราบใดเรายังไม่ได้เข้าถึงดวงปฐมมรรค

เราจะไม่มีวันเข้าถึงพระรัตนตรัยในตัว

ตราบใดที่เรายังเข้าไม่ถึงพระรัตนตรัยในตัว

เราจะไม่มีวันรู้จักที่พึ่งที่ระลึกที่แท้จริง

 

ชีวิตมีทุกข์ ไม่ว่าจะเกิดเป็นชนชั้นล่าง

ชั้นกลาง ชั้นสูง ล้วนมีทุกข์

ชนชั้นล่าง...ก็ทุกข์แบบชนชั้นล่าง

ชนชั้นกลาง...ก็ทุกข์แบบชนชั้นกลาง

ชนชั้นสูง...ก็ทุกข์แบบชนชั้นสูง

ไม่มีใครที่ไม่มีทุกข์เลย มีทุกข์ทุกคน

เพราะฉะนั้นการสลัดตนให้พ้นจากกองทุกข์

จึงเป็นเป้าหมายชีวิตที่สำคัญ

สมาธินี่แหละจะช่วยได้ และต้องนั่งสมาธิด้วย

ดูอย่างพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงผ่านวิธีการต่าง ๆ

มามากมายที่จะดับทุกข์ สุดท้ายมาพบตอน

นั่งสมาธิเจริญภาวนาที่ใต้โคนต้นโพธิ์นั่นแหละ

 ยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคล Total Execution Time: 0.042492683728536 Mins