สร้างบุญอย่างไร..ให้ได้ลักษณะมหาบุรุษ ประกาที่ ๒๗ และ ๒๘

วันที่ 06 มีค. พ.ศ.2554

4677b.jpg

ลักษณะมหาบุรุษ ประการที่ ๒๗ มีลิ้นใหญ่และยาว

ลักษณะมหาบุรุษ ประการที่ ๒๘ มีเสียงดุจเสียงพรหม คือเสียงไพเราะมาก

พระสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสว่า..
“เมื่อตถาคตเกิดเป็นมนุษย์ในชาติก่อนได้เป็นผู้ละเว้นการกล่าวคำหยาบ
กล่าวแต่วาจาที่ไม่มีโทษ เป็นสุขแก่หู เป็นที่ตั้งแห่งความรักซึมซาบถึงใจ
เป็นคำพูดของชาวเมือง เป็นที่พอใจและชอบใจของชนเป็นอันมาก

เพราะกรรมนั้นๆ ครั้นมาสู่ความเป็นมนุษย์ ย่อมได้มหาปุริสลักขณะ ๒ ข้อนี้
คือ มีลิ้นใหญ่ยาว มีเสียงดุจเสียงพรหม พูดเหมือนนกการวิก
ย่อมเป็นผู้มีวาจาที่ผู้อื่นเอื้อเฟื้อเชื่อฟัง คือ ภิกษุ ภิกษุณี
อุบาสก อุบาสิกา เทวดา มนุษย์ อสูร นาค
คนธรรพ์ เอื้อเฟื้อเชื่อฟัง”

ถ้อยคำสำนวนบางอย่างเป็นที่นิยมใช้ในที่แห่งหนึ่ง แต่อาจไม่เป็นที่นิยมในที่แห่งอื่น หรือถ้อยคำสำนวนบางอย่างเคยเป็นที่นิยมในสมัยหนึ่ง แต่อาจไม่เป็นที่นิยมในอีกสมัยหนึ่ง เช่นคำว่า กู มึง เป็นคำที่ใช้กันตามปกติ ในกลุ่มชาวชนบท และแม่พ่อขุนรามคำแหงซึ่งเป็นพระมหากษัตริย์พระองค์หนึ่งของไทยก็เคยทรงใช้ ไม่ถือว่าเป็นคำหยาบ แต่ในสังคมปัจจุบันถือว่าเป็นคำไม่สุภาพ อย่างไรก็ตาม วัฒนธรรมในการใช้ภาษาย่อมเปลี่ยนแปลงไปตามกาลเวลา สถานที่ และโอกาส

ดังนั้น ผู้ใช้ภาษาจะต้องคำนึงถึงการใช้วาจารที่เป็นที่พอใจ และชอบใจของบุคคลส่วนมาก ทั้งนี้ ย่อมหมายถึง ต้องไม่กล่าวคำหยาบคาย ไม่กล่าวถ้อยคำที่ทำให้ผู้ฟังไม่สบายใจ กล่าวแต่คำไพเราะเสนาะหู

กล่าวได้ว่า การเว้นจากการพูดคำหยาบ แต่พูดถ้อยคำที่ไพเราะ ทำให้พระองค์ได้เสียงไพเราะและมีลิ้นใหญ่ยาว มีผลดีในการรับรสอาหาร และการดูดซึมอาหารเข้าไปเลี้ยงร่างกาย ทั้งยังมีอานิสงส์ต่อไปอีกว่า คำพูดของพระองค์เป็นที่น่าเชื่อถือน่าปฏิบัติตาม


* * * * * ติดตามวิธีสร้างบุญอย่างไร ให้ได้ลักษณะมหาบุรุษ ประการที่ ๒๙ และ ๓๐ ได้ในตอนต่อไป * * * * *



ขอขอบคุณ หนังสือ “ลักษณะมหาบุรุษ”
ปาฐกถาธรรมของพระเดชพระคุณพระภาวนาวิริยคุณ หลวงพ่อทตฺตชีโว
สงวนลิขสิทธิ์ตาม พ.ร.บ. ลิขสิทธิ์ พ.ศ. ๒๕๓๗
ห้ามนำไปใช้ประโยชน์ทางการค้าหรือหากำไร ผู้ฝ่าฝืนมีความผิดและต้องรับโทษตามกฎหมาย

 ยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคล Total Execution Time: 0.0010977983474731 Mins