คุณยายอาจารย์มหารัตนอุบาสิกาจันทร์ ขนนกยูง

วันที่ 19 พค. พ.ศ.2558

คุณยายอาจารย์มหารัตนอุบาสิกาจันทร์ ขนนกยูง

 

คุณยายอาจารย์มหารัตนอุบาสิกาจันทร์ ขนนกยูง

     คุณยายอาจารย์ (อุบาสิกาจันทร์ ขนนกยูง) เกิดเมื่อวันพุธ ขึ้น 10 ค่ำ เดือนยี่ ปีระกา พ.ศ. 2452 เกิดในครอบครัวชาวนา เป็นคนอำเภอนครไชยศรี จ.นครปฐม คุณยายไม่ได้เรียนหนังสือ จึงอ่านไม่ออกและเขียนไม่ได้ เพราะเหตุที่ท่านอยากไปขอขมาพ่อของท่าน ซึ่งเคยแช่งให้ท่านหูหนวกห้าร้อยชาติ ในขณะที่พ่อดื่มสุรา แล้วมีปากเสียงกับแม่ของคุณยาย สาเหตุที่คุณยายโดนพ่อพูดเช่นนั้น เพราะท่านพยายามจะไกล่เกลี่ยมิให้พ่อและแม่ทะเลาะกัน จึงบอกกับพ่อว่า แม่ไม่ได้ว่าอะไรพ่อเลยŽ พ่อจึงบอกว่า ลูกคนไหนไม่ได้ยินที่แม่ (แม่ของคุณยาย) ว่าพ่อ ให้พวกลูกๆ หูหนวกห้าร้อยชาติŽ

     คุณยายมีความเชื่อว่าคำให้พรของพ่อแม่นั้นศักดิ์สิทธิ์ สามารถส่งผลดีจริงตามที่ท่านพูดไว้ ส่วนคำสาปแช่งก็คงต้องศักดิ์สิทธิ์เช่นกัน ท่านจึงตั้งใจจะขอขมาโทษในวาระสุดท้าย ก่อนที่พ่อของท่านจะละโลก แต่ท่านก็ไม่มีโอกาสเพราะเมื่อกลับจากท้องนามาถึงบ้าน พ่อก็สิ้นใจเสียก่อน ความรู้สึกหวาดกลัว ในโทษภัยของคำสาปแช่งของพ่อ จึงทำให้ท่านเกิดความคิดที่จะไปตามหาพ่อในสัมปรายภพ (ภพหลังความตาย) ให้ได้16) และในปี พ.ศ. 2470 ขณะนั้นคุณยายอายุได้ 18 ปี ท่านได้ยินข่าวว่าหลวงปู่วัดปากน้ำ ภาษีเจริญ สามารถสอนคนให้เข้าถึงธรรมกาย และหากใครเข้าถึงก็สามารถไปนรก ไปสวรรค์ได้ ทำให้คุณยาย เกิดแรงบันดาลใจอย่างมาก ที่จะได้ปฏิบัติสม าธิภาวนากับหลวงปู่วัดปากน้ำ เพื่อไปขอขมาพ่อซึ่งอยู่ใน ภพอื่น หลังจากนั้นคุณยายก็ได้อำลาบ้านเกิด มาทำงานอยู่ที่บ้านเศรษฐีนีใจดีท่านหนึ่ง ซึ่งเป็นลูกศิษย์หลวงปู่วัดปากน้ำ ณ บ้านแห่งนี้เองคุณยายก็ได้พบกับคุณยายอุบาสิกาทองสุกซึ่งเป็นแม่ชีประจำอยู่ที่วัดปากน้ำ และปลีกเวลา ไปสอนสมาธิภาวนาที่บ้านเศรษฐีผู้นั้น ณ บ้านนี้เอง คุณยายได้พยายามหาโอกาสฝึก การเจริญสมาธิภาวนา กับคุณยายทองสุก  การเรียนธรรมะของคุณยาย ใช้ภาวนาในใจว่า สัมมา อะระหังŽ พร้อมกับนึกดวงแก้วหรือพระพุทธรูปแก้ว เป็นนิมิตไว้ที่ศูนย์กลางกาย ซึ่งก็เหมือนกับคนอื่นๆ ที่จะพบปัญหา คือ ความฟุ้งและความเครียด เวลาที่สติอ่อนก็จะฟุ้งคิดถึงบ้าน คิดถึงพ่อแม่พี่น้อง เวลาที่ตั้งใจมาก ก็จะเครียดจนมึนศีรษะเป็นอยู่นาน จนเกิดความคิดว่า ธรรมะเป็นของจริงหรือ ถ้าจริงทำไมเราจึงไม่เห็นŽ คุณยายทองสุกจึงแนะนำว่า ธรรมะเป็นของจริง แต่ตัวเราต่างหากที่ทำไม่จริงŽ และธรรมะเป็นของเย็น ใจที่พบธรรมะได้ต้องเป็นใจที่เยือกเย็นŽการทำใจหยุดนิ่ง ถ้าบังคับใจจะตื่นเตลิด เหน็ดเหนื่อยต้องค่อยประคับประคองไม่สนใจเรื่องที่ผ่านมาในขณะทำสมาธิ เหมือนมีแขกมาบ้าน เมื่อเจ้าของบ้านไม่สนใจ แขกก็จะเก้อเขินกลับไปเอง ให้มองศูนย์กลางกายไปเรื่อยๆ ใจจะรวมตัวถูกส่วนพอดีและหยุดในที่ตั้งของเขาเองŽ17) ตามประวัติที่บันทึกไว้ว่า คุณยายพยายามนั่งสมาธิทำความเพียรเริ่มตั้งแต่คิดฟุ้งมาก จนกระทั่งฟุ้งน้อย จากฟุ้งน้อยจนถึงไม่ฟุ้งเลย และจากไม่ฟุ้งเลยมาถึงขั้นรู้สึกโล่ง โปร่ง เบา สบาย ในที่สุด ท่านเห็นจุดสว่างเล็กๆ เหมือนดวงดาวในอากาศเกิดขึ้นภายใน ท่านทำใจหยุดในหยุด นิ่งในนิ่ง ดิ่งเข้ากลางเข้าไปเรื่อยๆ ในที่สุดท่านก็เข้าถึงธรรมภายใน คือ ธรรมกายŽ18) ที่บ้านนั่นเองคุณยายเพียรปฏิบัติจนเข้าถึงพระธรรมกาย ใจท่านนิ่งสงบและสว่างมาก ในที่สุดท่านก็สามารถใช้ญาณทัสสนะ19) ของธรรมกายไปขอขมา พ่อในสัมปรายภพ และช่วยพ่อให้พ้นจากทุกข์ในอบายภูมิได้สำเร็จ20)

     ครั้นต่อมาในปี พ.ศ. 2481 คุณยายอาจารย์ทองสุกได้พาคุณยายไปกราบหลวงปู่วัดปากน้ำ และได้บวชเป็นแม่ชีอยู่ที่วัดปากน้ำโดยไม่ได้กลับไปทำงานที่บ้านเศรษฐีนั้นอีกเลย หลวงปู่วัดปากน้ำ ได้กล่าวกับคุณยายในครั้งแรกที่พบว่า มึงมันมาช้าไปŽ และหลวงปู่วัดปากน้ำก็อนุญาตให้คุณยายเข้าปฏิบัติธรรมในอาคารภาวนา ซึ่งหลวงปู่วัดปากน้ำเรียกว่า โรงงานทำวิชชาŽ ร่วมกับผู้ปฏิบัติอื่นๆ ประกอบด้วย พระภิกษุ และแม่ชี มีการปฏิบัติธรรมเป็นหลัก

     หลวงปู่วัดปากน้ำมรณภาพในวันที่ 3 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2502 รวมอายุได้ 74 ปี 53 พรรษา ในบั้นปลายชีวิต ท่านสั่งให้คุณยายสอนสมาธิต่อไป และรออยู่ที่วัดปากน้ำ เพราะจะมีผู้สืบทอดมาเรียนวิชชากับคุณยาย ลุงเตชวัน มณีวรรณวรวุฒิ ซึ่งเคยบวชเป็นสามเณรสมัยหลวงปู่วัดปากน้ำ (เดิมชื่อจุลมณี) เล่าว่า หลวงปู่วัดปากน้ำท่านสั่งว่า อย่าเผาศพท่าน ศพของท่านยิ่งเก็บไว้นานเท่าไหร่ วัดจะเจริญ มากขึ้นเท่านั้น เรื่องอดเรื่องจนไม่ต้องห่วง แม้หลวงพ่อจะไม่อยู่ แต่หลวงพ่อจะดูแลลูกๆ ทุกคน อย่าคิดว่าวัดจะเสื่อมวิชชาธรรมกายจะเสื่อมโทรม ให้ปฏิบัติตามหลวงพ่อ และท่านบอกว่า มองๆ ไปมีแต่ลูกจันทร์ ที่จะสืบต่อได้ ลูกจันทร์นี่เป็นหนึ่งไม่มีสอง คนๆ นี้จะสืบต่อวิชชาธรรมกายของหลวงพ่อต่อไปได้ จนถึงผู้มาสืบทอดได้ จะพบคนที่จะมาช่วยและมาสืบทอดต่อ ถ้าหลวงพ่อละสังขารแล้วอย่าไปไหนให้รออยู่ที่วัดปากน้ำ คนอัศจรรย์ คนสืบทอดนี้จะมาหาŽ21)

     จากนั้นคุณยายได้ใช้เรือนพักของท่านในบริเวณวัดปากน้ำภาษีเจริญ กรุงเทพฯ เป็นที่สอนสมาธิในวันอาทิตย์ และมีลูกศิษย์เพิ่มขึ้นเรื่อยๆ บรรดาศิษย์จึงร่วมมือกันสร้างบ้านหลังใหม่ใกล้กับเรือนพักเดิมให้คุณยาย จนต่อมาขยายมาเป็นศูนย์พุทธจักรปฏิบัติธรรม และเป็นวัดพระธรรมกาย ในปัจจุบันป้าฉลวย ได้พบหลวงปู่วัดปากน้ำตอนอายุ 17 ปี กล่าวว่า  แม่ชีจันทร์สอนธรรมต่อ ปลูกบ้านอยู่ข้างศาลาเป็นบ้านหลังเล็กๆ ตอนนี้เป็นสวนสาธารณะแล้ว มีนิสิตเกษตรพอเลิกเรียนก็พากันมานั่งสมาธิ มีหนุ่มๆ สาวๆ 5-6 คน ต่อมาก็ชวนกันมาเพิ่มขึ้น เป็นเรื่องจริงที่ว่าแม่ชีจันทร์ไม่รู้หนังสืออ่านไม่ออก เขียนไม่ได้ แต่สามารถทำให้นิสิต นักศึกษาทั้งหลายศรัทธาในวิชชาธรรมกาย เขามานั่งกันที่บ้านธรรมประสิทธิ์ น่านับถือเขียนและอ่านไม่ได้ แต่ทำให้เขาเชื่อถือได้ ถ้าแม่ชีจันทร์ทำไม่ได้ ไม่รู้ไม่เห็นจริง เขาก็คงไม่เชื่อ พวกนิสิต นักศึกษามาเรียนกันมาก เรียนเสร็จก็กลับบ้าน ต่อมาย้ายไปสร้างวัดพระธรรมกาย ลองไปวัดพระธรรมกายดูซิ เขาทำได้ดี คนหนุ่มคนสาว คนมีความรู้ส่วนใหญ่ สำเร็จปริญญามาเป็นหมื่น เป็นแสน เงียบไม่มีเสียง นี่คือความตั้งใจจะเผยแผ่วิชชาไปทั่วโลกŽ22)

     ภารกิจของคุณยาย ณ บ้านธรรมประสิทธิ์ นอกจากการสอนธรรมปฏิบัติแล้ว คุณยายยังสอนให้ลูกศิษย์ในสมัยนั้น ซึ่งก็คือพระภิกษุรุ่นบุกเบิกตั้งใจประพฤติพรหมจรรย์ เลิกสูบบุหรี่ รักความสะอาด ความมีระเบียบ กล่าวได้ว่าบ้านธรรมประสิทธิ์เป็นสถานที่ปฏิบัติธรรมแห่งแรก ที่คุณยายจัดสถานที่ ซึ่งเป็นที่พัก ให้สะอาด เป็นระเบียบ และเป็นที่รวมของหมู่คณะในรุ่นบุกเบิกสร้างวัด ซึ่งเป็นนักศึกษา อุบาสก อุบาสิกาที่เป็นกำลังสำคัญในการสร้างวัดต่อมา

 


16) ประภาศรี บุญสุข (เรียบเรียง), คุณยายอาจารย์มหารัตนอุบาสิกาจันทร์ ขนนกยูง ผู้ให้กำเนิดวัดพระธรรมกาย, พิมพ์ครั้งที่ 2 (กรุงเทพฯ : ฟองทองเอ็นเตอร์ไพรส์, 2544), หน้า 14-19.
17) อารีพันธ์ ตรีอนุสรณ์, คืนที่พระจันทร์หายไป, (กรุงเทพฯ : ศิริวัฒนาอินเตอร์พริ้นท์, 2544), หน้า 23-24.
18) ธรรมกาย คือ กายตรัสรู้ธรรมของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า.
19) ญาณทัสสนะ หมายถึง ปัญญาอันเกิดจากการรู้แจ้งภายใน.
20) พระสุพลิษฐ์ จันทาโภ และคณะ, สมุดภาพคุณยายอาจารย์มหารัตนอุบาสิกาจันทร์ ขนนกยูง, (กรุงเทพมหานคร : เอส พี เค, 2545), หน้า 5.
21) สิงหล, บุคคลยุคต้นวิชชา ในที่ระลึกงานมุทิตาฉลองพัดยศ พระครูสัญญาบัตรชั้นโทพระครูมงคลพัฒนคุณ เจ้าอาวาสวัดโบสถ์(บน) (ม.ป.ท., 2544), หน้า 59-60.
22) สิงหล, บุคคลยุคต้นวิชชา ในที่ระลึกงานมุทิตาฉลองพัดยศ พระครูสัญญาบัตรชั้นโทพระครูมงคลพัฒนคุณ เจ้าอาวาสวัดโบสถ์(บน) (ม.ป.ท., 2544), หน้า 98.

 ยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคล Total Execution Time: 0.012909468015035 Mins