คณกโมคคัลลานสูตร

วันที่ 24 กย. พ.ศ.2558

 

คณกโมคคัลลานสูตร


            พระสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสตอบคำถามที่คณกโมคคัลลานพราหมณ์ถามว่า พระองค์สามารถบอกกฎเกณฑ์ในการศึกษาพระพุทธศาสนา ให้เห็นเป็นลำดับขั้นตอนชัดเจน เช่นเดียวกับการศึกษาในวิชาอื่นๆ บ้างได้หรือไม่ พระองค์ตอบกลับว่า "ได้" แล้วตรัสต่อไปว่า เมื่อพระองค์ได้บุคคลที่ควรฝึกมาแล้ว จะทรงแนะนำให้เขาฝึกฝนไปตามขั้นตอนต่างๆ 6 ขั้น ตามลำดับ ดังนี้

1.สำรวมระวังในพระปาฏิโมกข์
2. คุ้มครองทวารในอินทรีย์ทั้งหลาย
3. รู้จักประมาณในโภชนะ
4. ประกอบเนืองๆ ซึ่งความเป็นผู้ตื่นอยู่
5. ประกอบด้วยสติสัมปชัญญะ
6. เสพเสนาสนะอันสงัด

 

ขั้นตอนที่ 1 "สำรวมระวังในพระปาฏิโมกข์"
ในขั้นตอนที่ 1 นี้ พระองค์ทรงแนะนำแก่พระภิกษุว่า"ดูก่อนภิกษุ มาเถิด เธอจงเป็นผู้มีศีลสำรวมด้วยปาฏิโมกขสังวร ถึง
พร้อมด้วยอาจาระและโคจรอยู่ จงเป็นผู้เห็นภัยในโทษเพียงเล็กน้อยมาทานศึกษาในสิกขาบททั้งหลายเถิด"คำว่า "การสำรวมระวังในพระปาฏิโมกข์" หมายถึง "เจตนาในการสำรวมระวังตนให้ประพฤติดีงาม ทั้งทางกาย และวาจา เพื่อตนจะได้พ้นทุกข์"
สำหรับวิธีปฏิบัติ เพื่อการสำรวมระวังในพระปาฏิโมกข์ มีองค์ประกอบสำคัญ 3 ประการ คือ
1) ถึงพร้อมด้วยอาจาระและโคจร
2) มีปรกติเห็นภัยในโทษแม้เพียงเล็กน้อย
3) มาทานศึกษาอยู่ในสิกขาบททั้งหลาย

 

1) ถึงพร้อมด้วยอาจาระและโคจร
            คำว่า "อาจาระ" เป็นคำในพระพุทธศา นา บางครั้งก็เรียกว่า "มรรยาท" หรือ "มารยาท" แบ่งออกเป็น 2 อย่าง ได้แก่
อาจาระที่ดี คือ การไม่ล่วงละเมิดทางกายและทางวาจา นั่นคือ การสำรวมระวังในศีลทั้งหลายรวมไปถึงการนุ่งห่มที่เรียบร้อย มีอากัปกิริยาท่าทางที่ งบสำรวม ดูแล้วน่าเลื่อมใสมีความเคารพยำเกรงในพระสัมมาสัมพุทธเจ้า และพระภิกษุผู้มีพรรษามากกว่าอาจาระที่ไม่ดี คือ พฤติกรรมที่ตรงกันข้ามกับอาจาระที่ดี หมายถึง การล่วงละเมิดทางกาย หรือทางวาจา หรือทั้งทางกายและทางวาจา นั่นคือ การล่วงละเมิดในศีลทั้งหลาย รวมถึงกิริยาอันไม่สมควรต่างๆเช่น นั่งคลุมศีรษะ นั่งบังหน้าพระเถระในที่ประชุม การแกว่งแขนขณะพูดกับพระเถระ การไม่ทำความเคารพพระเถระ หรือพระภิกษุผู้มีพรรษาสูงกว่า รวมทั้งการเลี้ยงชีวิตตนด้วยมิจฉาอาชีวะ เช่น การพูดประจบสอพลอ หรือให้สิ่งของเพื่อให้เขารัก การอาสารับใช้ทำกิจให้ฆราวาสโดยหวังอามิสรางวัล กิริยาเหล่านี้ถือว่าเป็นการประพฤติทุศีล จัดเป็นอาจาระที่ไม่ดีคำว่า "โคจร" หมายถึง บุคคลหรือสถานที่ซึ่งพระภิกษุควรไปมาหาสู่ หรือสิ่งที่พระภิกษุควรเข้าไปเกี่ยวข้อง เช่นสถานที่หรือบุคคลที่เอื้อประโยชน์ต่อการศึกษาค้นคว้า หรือการประพฤติพรหมจรรย์ของพระภิกษุโดยตรง เช่น การเข้าไปหาพระอุปัชฌาย์อาจารย์เพื่อขอเรียนธรรมะ เป็นต้นตรงกันข้ามกับโคจร คือ อโคจร หมายถึง บุคคลและสถานที่ซึ่งพระภิกษุไม่ควรไปมาหาสู่ มี 3ลักษณะ1 ได้แก่ลักษณะที่ 1 หมายถึง การไปมาหาสู่บุคคลและสถานที่ 6 จำพวก คือ หญิงโสเภณี หญิงหม้ายสาวแก่ กะเทย ภิกษุณี และร้านสุรา หรือแหล่งอบายมุข ยาเสพติดทั้งหลายลักษณะที่ 2 หมายถึง การคลุกคลีกับบุคคลผู้ไม่ มควรคลุกคลีด้วย เช่น เดียรถีย์2สาวกของเดียรถีย์ เป็นต้น
ลักษณะที่ 3 หมายถึง การคบหาตระกูลที่ไม่ มควรคบหา เช่น ตระกูลที่ไม่ศรัทธา ไม่มีความเลื่อมใชอบด่าว่าพระรัตนตรัย เป็นต้นในปัจจุบันนี้ อโคจรมีอยู่มากเกินกว่าที่กล่าวมา เช่นสถานเริงรมย์ ศูนย์การค้าต่างๆ เป็นต้น พระภิกษุผู้ถึงพร้อมด้วยอาจาระและโคจรจึงไม่ควรไป เพราะมีโอกาสทำให้ใจไปเกี่ยวข้องในกามคุณได้ง่ายขึ้นนอกจากนั้น ยังชื่อว่าทำตนไม่เป็นที่ตั้งแห่งความเลื่อมใสศรัทธาด้วยอย่างไรก็ตาม หากมีกิจนิมนต์ด้วยเหตุอันสมควรต้องไป พระภิกษุก็สามารถไปปฏิบัติหน้าที่ใน
ฐานะนักบวชได้ แต่ต้องไม่ไปด้วยเรื่องอื่นนอกจากกิจนิมนต์ เช่น ไม่สนทนาปราศรัยคล้ายกับผู้ใกล้ชิดสนิทสนมกันเกินไป เพราะอาจจะถูกเข้าใจผิดได้ว่า มีความประพฤติไม่ถูกต้องตามพระธรรมวินัย เป็นผู้น่ารังเกียจและนำความเสื่อมเสียมาสู่ตนเอง เป็นต้นหากพระภิกษุฝึกฝนตนเองตามที่กล่าวมาแล้วอย่างดีนี้ จึงจะได้ชื่อว่าเป็นผู้ที่ "ถึงพร้อมด้วยอาจาระและโคจร"

 

2) มีปรกติเห็นภัยในโทษแม้เพียงเล็กน้อย
            "โทษ" ในที่นี้ หมายถึง ความชั่วหรือความผิด ขึ้นชื่อว่าโทษแล้ว แม้มีอยู่น้อยนิดเท่าใดก็ย่อมเป็นโทษ ไม่มีทางเป็นคุณไปได้ เหมือนพิษงูแม้เพียงเล็กน้อย ก็ทำอันตรายถึงชีวิตได้ ดังตัวอย่างการดูเบาในโทษแม้เพียงเล็กน้อยของพญานาค อดีตพระภิกษุรูปหนึ่ง

 

3) มาทานศึกษาอยู่ในสิกขาบททั้งหลาย
            "สมาทาน" หมายถึง การรับเอาเป็นข้อปฏิบัติ"สิกขาบท" หมายถึง ศีลแต่ละข้อๆโดยปกติ ในพิธีอุปสมบทเป็นพระภิกษุในพระพุทธศาสนา ต้องได้รับความยินยอมจากภิกษุในที่ประชุมสงฆ์ด้วยญัตติจตุตถกรรม จึงถือว่าผู้บวชได้ มาทานศีลสิกขาบทน้อยใหญ่ไว้สมบูรณ์แล้ว ดังนั้นจึงไม่ต้องมาทานศีลเหมือนที่ฆราวาสต้อง มาทานศีล 5 หรือ ศีล 8 กับพระภิกษุอีก
ความมุ่งหมายของการ มาทานศึกษาอยู่ในสิกขาบททั้งหลาย จึงไม่ใช่เรื่องวิธีการ มาทานศีลเหมือนอย่างฆราวาสหากแต่เป็นเรื่องการศึกษาจุดมุ่งหมายของสิกขาบทในแต่ละข้อที่พระพุทธองค์ทรงบัญญัติไว้ให้เข้าใจอย่างถ่องแท้ คือ จดจำได้จนขึ้นใจ และสามารถปฏิบัติตัวตามสิกขาบทแต่ละข้อๆ ได้อย่างบริสุทธิ์บริบูรณ์ไม่มีผิดพลาดไปจากกรอบของพระธรรมวินัย ดังที่พระเดชพระคุณพระมงคลเทพมุนี (สด จนฺท สโร) ได้แสดงพระธรรมเทศนาไว้ว่า

" สมาทานศึกษาอยู่ในสิกขาบทน้อยใหญ่ (คือ) ไม่เคลื่อนพระวินัยไปเท่า
ปลายขนปลายผม ตั้งอยู่ในกรอบพระวินัยแท้ๆ
เหมือนน้ำในมหาสมุทร มีมากน้อยเท่าใดไม่ล้นฝัง อยู่ในฝังนั่นแหละ อยู่ใน
ขีดขอบสมุทรนั่นแหละ ไม่ล้นขอบสมุทรไปได้ นั่นฉันใด
ภิกษุอยู่ในธรรมวินัย อยู่ในกรอบพระวินัยนั่นแหละ ประพฤติอยู่ในขอบศีล
ธรรมนั่นแหละ ไม่ประพฤติละเมิดอื่นจากศีลธรรมไป"


            การที่พระภิกษุสามารถปฏิบัติ ตั้งแต่การถึงพร้อมด้วยอาจาระและโคจร การมีปรกติเห็นภัยในโทษแม้เพียงเล็กน้อย และการสมาทานศึกษาอยู่ในสิกขาบททั้งหลายได้ครบถ้วน ย่อมชื่อว่า "สำรวมระวังในพระปาฏิโมกข์" ซึ่งถือว่าเป็นบทฝึกฝนตนเองขั้นแรกที่สำคัญ เพราะเมื่อรู้จักสำรวมระวังในพระปาฏิโมกข์แล้วย่อมทำให้ทราบถึงข้อที่พระพุทธองค์ "ทรงห้าม" ไม่ให้ทำ และข้อที่พระพุทธองค์ "ทรงอนุญาต" ให้ทำได้ซึ่งจะเป็นเครื่องช่วยขัดเกลากายและวาจา ของพระภิกษุให้สะอาด บริสุทธิ์ เหมาะ มที่จะรองรับคุณธรรมความดีอื่นๆ ยิ่งขึ้นไป

 

ขั้นตอนที่ 2 "คุ้มครองทวารในอินทรีย์ทั้งหลาย"
            เมื่อพระภิกษุสามารถฝึกฝนอบรมตนเองจนเป็นผู้มีศีลสำรวมด้วยปาฏิโมกขสังวรได้ดีแล้วพระพุทธองค์จะทรงแนะนำให้ยิ่งขึ้นไปว่า"ดูก่อนภิกษุ มาเถิด เธอจงเป็นผู้คุ้มครองทวารในอินทรีย์ทั้งหลาย เธอเห็นรูปด้วยจักษุแล้วจงอย่าถือเอาโดยนิมิต อย่าถือเอาโดยอนุพยัญชนะจงปฏิบัติเพื่อสำรวมจักขุนทรีย์ อันมีการเห็นรูปเป็นเหตุ ซึ่งบุคคลผู้ไม่สำรวมอยู่ พึงถูกอกุศลบาปธรรมคืออภิชฌาและโทมนั ครอบงำได้ จงรักษาจักขุนทรีย์ ถึงความสำรวมในจักขุนทรีย์เถิด เธอได้ยินเสียงด้วยโสตะแล้ว...เธอดมกลิ่นด้วยฆานะแล้ว...เธอลิ้มร ด้วยชิวหาแล้ว...เธอถูกต้องโผฏฐัพพะด้วยกายแล้ว...เธอรู้แจ้งธรรมารมณ์ด้วยมโนแล้ว อย่าถือ เอาโดยนิมิต อย่าถือเอาโดยอนุพยัญชนะ จงปฏิบัติเพื่อสำรวมมนินทรีย์ อันมีการรู้ธรรมารมณ์เป็นเหตุ ซึ่งบุคคลผู้ไม่สำรวมอยู่ พึงถูกอกุศลบาปธรรมคือ อภิชฌาและโทมนั ครอบงำได้ จงรักษามนินทรีย์ ถึงความสำรวมในมนินทรีย์เถิด"คำว่า "คุ้มครองทวารในอินทรีย์ทั้งหลาย" หรือที่เรียกว่า อินทรียสังวรศีล หมายถึง การสำรวมระวังอินทรีย์ ให้เป็นปรกติ"ทวารในอินทรีย์ทั้งหลาย" หมายถึง "อายตนะภายใน 6" ได้แก่ ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ ซึ่งจะเป็นทางเปิดรับอายตนะภายนอกทั้ง 6 คือ รูป เสียง กลิ่น รสสัมผัสและธรรมารมณ์ (อารมณ์ที่รู้ด้วยใจ)อายตนะภายในจึงเป็นเสมือน "ประตู" ที่เปิดรับบุคคลภายนอกเข้ามาในบ้านนั่นเอง"เห็นรูปด้วยจักษุ" ลำพังจักษุหรือตาจะเห็นสิ่งใดได้ ต้องอาศัย 3สิ่งประกอบกัน คือ ตา รูป และใจ เมื่อ "ตา" มากระทบกับ "รูป" ใจก็รับรู้ผลของการกระทบกันนั้น จึงทำให้การเห็นเกิดขึ้นสำหรับการ "ฟังเสียงด้วยโ ต (หู)" "ดมกลิ่นด้วยฆานะ (จมูก)" หรืออื่นๆ ก็เช่นเดียวกัน คือมีใจเป็นผู้รับผลของการกระทบของ "เสียง" กับ "หู" หรือ "กลิ่น" กับ "จมูก" จึงให้ได้ยินเสียง หรือได้กลิ่นขึ้นมา"ไม่ถือนิมิต" คือ ไม่ถือเครื่องหมายซึ่งมีอยู่ในอายตนะภายนอก เช่น ไม่ นใจว่าบุคคลทั้งชายหรือ
หญิงที่เห็นนั้น ช่างหล่อเหลาหรือ วยงามจริงหนอ เป็นต้น ดังนั้นการไม่ถือนิมิต ก็คือ การยั้งหยุดใจตัวเองให้อยู่ในอาการสักแต่ว่าเห็นเท่านั้น ไม่เก็บไปนึกคิดปรุงแต่งต่อไปจนกิเล ในใจเพิ่มพูนขึ้น"ไม่ถืออนุพยัญชนะ" คือ ไม่ถือลักษณะเล็กๆ น้อยๆ ของนิมิตนั้น เช่น ลักษณะของมือ เท้า หน้าตาการพูด การหัวเราะ หรืออากัปกิริยาอื่นๆ ซึ่งจะก่อให้เกิดกิเลสขึ้น ดังนั้นการไม่ถืออนุพยัญชนะ ก็คือ เมื่อได้เห็นองค์ประกอบเล็กๆ น้อยๆ เหล่านั้น ก็ยั้งหยุดใจตัวเองให้อยู่ในอาการสักแต่ว่าเห็น ไม่เก็บเอาไปนึกคิดปรุงแต่งต่อไป เพราะจะทำให้กิเลสเฟองฟูขึ้นในใจได้


            "สำรวมจักขุนทรีย์" แปลว่า "สำรวมตา" แต่ไม่ได้หมายความว่าให้ปิดตาไม่ต้องดูอะไร เพราะเป็นสิ่งที่เป็นไปได้ยาก แต่หมายถึงว่า ขณะที่เห็นรูป เช่น คนสัตว์ หรือสิ่งของก็ตาม ก็ให้สำรวมใจ ทำเพียงสักแต่ว่าเห็น คุ้มครองความคิดตนเองให้เว้นจากการถือเอานิมิตและอนุพยัญชนะว่าสิ่งนี้ คนนี้สวยหรือไม่สวย หรือสวยน้อยสวยมาก แต่ถ้าสำรวมไม่ได้ คือหยุดความคิดไม่ได้ ใจก็จะเศร้าหมองตามมา ดังที่พระพุทธองค์ตรัสไว้ว่า อกุศลกรรมอันลามก คือ อภิชฌาและโทมนัส จะเข้าครอบงำได้"อภิชฌา" แปลว่า โลภอยากได้ของเขา หรือความคิดเพ่งเล็งจ้องจะเอาของของคนอื่นมาเป็นของตัวเอง"โทมนัส " แปลว่า ความเสียใจ ความทุกข์ใจเพราะความโลภอยากได้ของของคนอื่นนั้นจะนำไปสู่ความทุกข์ กล่าวคือ หากแสวงหาสิ่งที่อยากได้มาแบบทุศีล มีอาชีพไม่บริสุทธิ์ ของนั้นก็ไม่บริสุทธิ์ แม้จะรู้สึกเป็นสุข ก็เป็นความสุขหลอกๆสุขอย่างระแวงสุขเพียงแค่ในเวลาสั้นๆ แต่จะมีความเดือดร้อนใจ เดือดร้อนกายอีกยาวนาน หรือแม้หากได้สิ่งนั้นมาด้วยสัมมาอาชีวะ ก็ย่อมเกิดความหวงแหน ความกังวลใจ ไม่อยากให้ใครมาแย่งชิงไป แต่ถ้าหาไม่ได้ ก็จะรู้สึกผิดหวัง เกิดความทุกข์ใจ ดังนั้นไม่ว่าจะอย่างไร หากมีความอยากได้แล้ว ย่อมมีความทุกข์ใจรูปแบบใดแบบหนึ่งตามมา พระพุทธองค์จึงตรัสว่า อภิชฌาและโทมนั เป็นอกุศลกรรมอันลามกสำหรับอินทรีย์อื่นที่เหลืออีก 5 อย่างก็เช่นเดียวกัน ถ้าไม่สำรวมระวังให้ดีก็จะมีผลเป็นความทุกข์เหมือนกันทั้งหมด โดยเฉพาะเป็นความทุกข์ที่เกิดขึ้นในใจ จึงอาจกล่าวได้ว่า การสำรวมอินทรีย์ทั้งหลายแท้จริงก็คือ การสำรวมใจ เพราะหากสำรวมใจไม่ได้ ย่อมเปิดโอกาสให้อภิชฌาและโทมนั เข้าครอบงำทำให้ต้องเสวยทุกขเวทนา เพราะพฤติกรรมที่ทุศีลของตน หรือเพราะความคิดฟุ้งซ่าน คิดแสวงหาในสิ่งที่ปรารถนาไว้ มีใจที่ซัดส่ายอยู่เรื่อยไป ดังที่พระเดชพระคุณพระมงคลเทพมุนี (สด จนฺท สโร) ได้แสดงพระธรรมเทศนาไว้ว่า


"ถ้าขาดความสำรวมก็เป็นโทษ ใจก็เป็นโทษ เป็นโทษเป็นอย่างไร
อภิชฌาเขาก็บังคับใจ เดี๋ยวก็ดีใจ เสียใจ ถ้าหากว่าญาติพี่น้องวงศา
ลูกตายหรือเมียตายก็จะต้องร้องไห้โร่ไปเท่านั้นแหละ อภิชฌา โทมนั
บังคับเสียแล้ว"

 

            ดังนั้น พระภิกษุจึงต้องสำรวมระวังใจของตนเองไว้ให้ดี อย่าเปิดโอกาสให้กิเล แม้สักเล็กน้อยเข้ามา
มีอำนาจบังคับใจ ไม่อย่างนั้นอาจกลายเป็นภัยใหญ่ ที่ทำให้ต้องทุกข์ใจไปอีกนานวัน มดังที่พระพุทธองค์
ตรัสไว้ว่า


"ขึ้นชื่อว่า กิเล เป็นเช่นกับปัจจามิตร และปัจจามิตรเล่า จะชื่อว่า
เล็กน้อยไม่มีเลย ได้โอกาสแล้วย่อมทำให้ถึงความพินาศโดยส่วนเดียว
กิเลสแม้ถึงจะมีประมาณน้อย เกิดขึ้นแล้ว ได้โอกาสเพื่อจะเพิ่มพูน ย่อม
ยังความพินาศอย่างใหญ่หลวงให้เกิดขึ้นได้..."

 

ขั้นตอนที่ 3 "รู้จักประมาณในโภชนะ"
            เมื่อพระภิกษุสามารถฝึกฝนอบรมตนเองจนเป็นผู้คุ้มครองทวารในอินทรีย์ทั้งหลายได้ดีแล้ว พระพุทธองค์จะทรงแนะนำให้ยิ่งขึ้นไปว่า


"ดูก่อนภิกษุ มาเถิด เธอจงเป็นผู้รู้จักประมาณในโภชนะ คือ พึงบริโภค
อาหาร พิจารณาโดยแยบคายว่า เราบริโภคมิใช่เพื่อจะเล่น มิใช่เพื่อจะมัวเมา
มิใช่เพื่อจะประดับ มิใช่เพื่อจะตกแต่งร่างกายเลย บริโภคเพียงเพื่อ
ร่างกายดำรงอยู่ เพื่อให้ชีวิตเป็นไป เพื่อบรรเทาความลำบาก เพื่ออนุเคราะห์
พรหมจรรย์เท่านั้น ด้วยอุบายนี้เราจะป้องกันเวทนาเก่า ไม่ให้เวทนาใหม่
เกิดขึ้น และความเป็นไปแห่งชีวิตความไม่มีโทษ ความอยู่สบาย จักมีแก่เรา"


            คำว่า "รู้จักประมาณในโภชนะ" หมายถึง ความเป็นผู้รู้จักประมาณในการบริโภคอาหารพระสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสหลักการบริโภคอาหารอย่างแยบคาย ไว้ 4 ลักษณะ เพื่อ อนพระภิกษุให้ละอุปนิสัยที่ไม่ดี และเพื่อป้องกันไม่ให้กิเล เฟื่องฟูขึ้นมาในใจ โดยทรงให้ความเข้าใจที่ถูกต้องในเรื่องการบริโภคอาหารไว้ดังนี้ คือ

ลักษณะที่ 1 ต้องไม่บริโภคเพื่อจะเล่น หมายความว่า ไม่มุ่งการบริโภคให้มีเรี่ยวแรงไปเล่นคะนองเหมือนเด็กๆ รวมทั้งไม่มุ่งเอากำลังมากอย่างลูกผู้ชาย ดังเช่นพวกนักมวย ทั้งนี้เพื่อมุ่งหวังให้ละอุปนิสัยแห่งโมหะ และโทสะ คือ ความงมงาย และความขึ้งเคียดโกรธเคืองเสีย


ลักษณะที่ 2 ต้องไม่บริโภคเพื่อมัวเมา หรือติดในรสอาหาร เพื่อให้ละอุปนิสัยแห่งโลภะ หรือความติดใจในกามคุณ
จุดมุ่งหมายของ 2 ลักษณะแรกนี้ เพื่อป้องกันอาสวะ อันจะเกิดขึ้นในใจตนเอง

 

ลักษณะที่ 3 ต้องไม่บริโภคเพื่อจะประดับ หมายความว่า ไม่มุ่งความอวบอัดอ้วนพีของอวัยวะต่างๆ เช่น หญิงโสเภณี หญิงนักฟ้อน เป็นต้น ทั้งนี้ก็เพื่อละอุปนิสัยแห่งความกำหนัดยินดี


ลักษณะที่ 4 ต้องไม่บริโภคเพื่อจะตกแต่ง หมายความว่า ไม่มุ่งจะให้ผิวพรรณงามเช่นกับนักแสดงหรือตัวละครต่างๆ เพื่อละอุปนิสัยแห่งความกำหนัดยินดีเช่นกันจุดมุ่งหมายของ 2 ลักษณะหลังนี้ ก็เพื่อป้องกันอาสวะ อันจะเกิดขึ้นในใจตนเอง รวมทั้งที่จะเกิดขึ้นในใจผู้อื่นด้วยเมื่อตรัสอนในเชิงให้ละและป้องกันกิเลสแล้ว ก็ยังทรงสอนถึงวัตถุประสงค์ที่ถูกต้องของการบริโภค
ต่อไป แบ่งออกเป็น 4 วัตถุประสงค์ คือ


วัตถุประสงค์ที่ 1 เพื่อให้ร่างกายนี้ดำรงอยู่ได้ ไม่แตกสลายตายไป
วัตถุประสงค์ที่ 2 เพื่อให้ชีวิตดำเนินต่อไปได้
วัตถุประสงค์ที่ 3 เพื่อบรรเทาความลำบาก ที่เกิดจากความหิว
วัตถุประสงค์ที่ 4 เพื่ออนุเคราะห์พรหมจรรย์ คือเพื่อจะได้มีเรี่ยวแรงไปสร้างความดี


            การที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าให้หลักการฝึกฝนพระภิกษุผ่านทางการบริโภคอาหาร โดยให้รู้จักหลักการพิจารณาในการบริโภคอย่างแยบคาย ก็เพราะมีส่วนสำคัญในการละอุปนิสัยที่ไม่ดีภายใน ทั้งช่วยไม่ให้กิเลสในใจพอกพูนขึ้นในทุกๆ คำกลืน ซึ่งจะส่งผลให้มีสุขภาพกายแข็งแรง เพราะไม่มีความลำบากอันเกิดจากเวทนาเก่า คือ ความหิว หรือเวทนาใหม่ คือความอิ่มเกินพอดี รวมทั้งส่งเสริมการบำเพ็ญสมณธรรมและประพฤติพรหมจรรย์ให้ดำเนินไปได้อย่างปกติสุข ซึ่งหากพระภิกษุไม่ระมัดระวังตัวเองในเรื่องนี้ ย่อมจะเกิดผลเสียอย่างใหญ่หลวงตามมา เหมือนเรื่องของพระภิกษุผู้ไม่รู้จักประมาณในการบริโภคอาหารรูปหนึ่ง ซึ่งมรณภาพเพราะฉันอาหารมากเกินไป

 

ขั้นตอนที่ 4 "ประกอบเนืองๆ ซึ่งความเป็นผู้ตื่นอยู่"
            เมื่อพระภิกษุสามารถฝึกฝนอบรมตนเองจนเป็นผู้รู้จักประมาณในโภชนะดีแล้ว พระพุทธองค์จะทรงแนะนำให้ยิ่งขึ้นไปว่าดูก่อนภิกษุ มาเถิด เธอจงเป็นผู้ประกอบเนืองๆ ซึ่งความเป็นผู้ตื่นอยู่ คือจงชำระจิตให้บริสุทธิ์จากอาวรณียธรรม3ด้วยการเดินจงกรมและการนั่งตลอดวัน จงชำระจิตให้บริสุทธิ์จากอาวรณียธรรม ด้วยการเดินจงกรมและการนั่งตลอดปฐมยามแห่งราตรี พึงเอาเท้าซ้อนเท้า มี ติรู้สึกตัว ทำความสำคัญว่าจะลุกขึ้น ไว้ในใจ แล้วสำเร็จ สีหไสยาโดยข้างเบื้องขวาตลอดมัชฌิมยามแห่งราตรี จงลุกขึ้นชำระจิตให้บริสุทธิ์จากอาวรณียธรรม ด้วยการเดินจงกรมและการนั่ง ตลอดปัจฉิมยามแห่งราตรีเถิด"คำว่า "ประกอบเนืองๆ ซึ่งความเป็นผู้ตื่นอยู่" หมายถึง การหมั่นประกอบความตื่น ไม่เห็นแก่นอนกล่าวคือ ให้พระภิกษุรู้จักจัด รรเวลาของตัวเอง เพื่อประโยชน์แก่การทำสมาธิเจริญภาวนา ไม่ยอมปล่อยเวลาให้สูญเปล่า ตกไปในอำนาจของกระแ กิเล มีความง่วงเหงาซึมเซา เป็นต้น โดยตรัสแนะนำการแบ่งเวลาเพื่อการทำสมาธิเจริญภาวนาไว้ 4 ช่วง คือ


1. ช่วงกลางวัน (06.0018.00 น.) บำเพ็ญเพียรชำระจิตให้สะอาด ด้วยอิริยาบถเดิน คือ เดินจงกรม และอิริยาบถนั่งทำสมาธิภาวนา
2. ช่วงปฐมยามแห่งราตรี (18.0022.00 น.) บำเพ็ญเพียรชำระจิตให้สะอาด ด้วยอิริยาบถเดินคือ เดินจงกรม และอิริยาบถนั่งทำสมาธิภาวนาเช่นกัน
3. ช่วงมัชฌิมยามแห่งราตรี (22.0002.00 น.) นอนพักด้วย ีหไ ยา คือการนอนอย่างราช ีห์โดยนอนตะแคงขวา ซ้อนเท้าเหลื่อมกันเล็กน้อย มี ติสัมปชัญญะ พร้อมจะลุกขึ้นบำเพ็ญภาวนาต่อไป
4. ช่วงปัจฉิมยามแห่งราตรี (02.0006.00 น.) บำเพ็ญเพียรชำระจิตให้สะอาด ด้วยอิริยาบถเดินคือ เดินจงกรม และอิริยาบถนั่งทำสมาธิภาวนาเช่นเดิม


            ลักษณะของการเป็นผู้ตื่นอยู่นั้น ก็คือไม่ให้พระภิกษุเห็นแก่การนอน แต่ให้ใช้เวลาไปกับการทำสมาธิภาวนา ชำระจิตของตนให้ผ่องใสอยู่เสมอ โดยเฉพาะในช่วงกลางคืน พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงแสดงการแบ่งเวลาทำภาวนาไว้อย่างชัดเจน พระภิกษุจึงต้องอาศัยความเพียรที่บากบั่น กลั่นกล้าอย่างยิ่ง เพื่อเอาชนะอำนาจกิเลสภายในใจตนเองให้ได้

 

ขั้นตอนที่ 5 "ประกอบด้วยสติสัมปชัญญะ"
            เมื่อพระภิกษุสามารถฝึกฝนอบรมตนเองจนเป็นผู้ประกอบเนืองๆ ซึ่งความเป็นผู้ตื่นอยู่ได้ดีแล้วพระพุทธองค์จะทรงแนะนำให้ยิ่งขึ้นไปว่า"ดูก่อนภิกษุ มาเถิด เธอจงเป็นผู้ประกอบด้วย ติสัมปชัญญะ คือ ทำความรู้สึกตัวในเวลาก้าวไปและถอยกลับ ในเวลาแลดูและเหลียวดู ในเวลางอแขนและเหยียดแขน ในเวลาทรงผ้าสังฆาฏิ บาตร และจีวร ในเวลาฉัน ดื่ม เคี้ยว และลิ้มร ในเวลาถ่ายอุจจาระและปัสสาวะ ในเวลาเดิน ยืน นั่ง นอนหลับ ตื่นพูด และนิ่งเถิด"คำว่า "สติ" หมายถึง ความระลึกได้ นึกได้ อาการที่จิตฉุกคิดได้ เช่น ฉุกคิดขึ้นได้ว่า ถึงเวลานั่งสมาธิเจริญภาวนาแล้ว เป็นต้น ดังนั้น "สติ" จึงเป็นอาการที่จิตนึกขึ้นได้ ซึ่งตรงข้ามกับอาการที่เรียกว่า"เผลอ" หรือ "ลืม"ในพระพุทธศาสนา ถือว่า "สติ" เป็นธรรมที่มีอุปการะมาก กล่าวคือ "สติ" ช่วยไม่ให้งานการเสียหายเพราะหลงลืม ทั้งนี้เพราะงานบางอย่าง ถ้าลืมก็มักจะเกิดความเสียหายได้ เช่น ลืมทิ้งไม้กวาด อุปกรณ์ทำความสะอาดไว้ตากแดดตากฝน ก็ทำให้ไม้กวาดนั้นเสียหาย ใช้งานอีกไม่ได้ เป็นต้น ดังนั้นสติจึงเป็นธรรมที่มีอุปการะมาก เพราะช่วยไม่ให้เราเผลอ ไม่หลงลืมในสิ่งที่ควรทำหรือต้องทำ ยิ่งกว่านั้น ติยังเป็นพื้นฐานสำคัญยิ่งในการเจริญสมาธิภาวนา เพื่อกลั่นใจให้บริสุทธิ์ ทำพระนิพพานให้แจ้งด้วยคำว่า "สัมปชัญญะ" หมายถึง ความรู้สึกตัว หรืออาการรู้ตัวในขณะที่ทำอยู่ เช่น รู้ว่าเรากำลังพูดอะไร คิดอะไร หรือกำลังทำอะไรในพระพุทธศาสนาถือว่า "สัมปชัญญะ" เป็นธรรมที่มีอุปการะมากอีกข้อหนึ่ง โดยทั่วไปจะใช้คู่กับ"สติ" เรียกว่า " สติสัมปชัญญะ" โดยถือว่า "สติ" เกิดก่อนคิด พูด และทำส่วน "สัมปชัญญะ" เกิดในขณะกำลังคิด พูด และทำ แต่ธรรมทั้งสองนี้จะเกิดควบคู่กันเสมอ


            ดังนั้น ภิกษุที่ประกอบด้วย สติสัมปชัญญะ ไม่ว่าจะอยู่ในอิริยาบถใด เช่น การนั่ง การยืน การเดินการนอน การพูด การนิ่งไม่พูด หรือการกระทำใดๆ นอกเหนือจากนี้ พระภิกษุจะต้องกระทำด้วยความรู้สึกตัวเสมอ ไม่ลืม หรือเผลอ สติเลยการหมั่นฝึกให้ตัวเองมี สติสัมปชัญญะ ย่อมมีผลดีต่อจิตใจ เพราะทำให้ใจไม่ตกเป็นทาสของอำนาจกิเลสเช่น ความโกรธเคือง ความลุ่มหลงมัวเมา ใจจึงมีความโปร่งโล่งเบา เป็นสุข พร้อมที่จะเผชิญความเป็นไปต่างๆ ในโลก ทั้งเป็นที่รองรับการเกิดของคุณธรรมความดีทั้งหลาย รวมถึงเป็นประโยชน์อย่างสูงสุดในการทำพระนิพพานให้แจ้งสมดังที่พระเดชพระคุณพระมงคลเทพมุนี (สด จนฺทสโร) ได้แสดงพระธรรมเทศนาไว้ว่า


"เมื่อมีสติไม่เลินเล่อไม่เผลอตัวแล้ว ก็ตั้งอยู่ในความไม่ประมาทในธรรม
ทั้งหลาย เมื่อไม่ประมาทในธรรมทั้งหลายเหล่านี้ละก็ ไปนิพพานได้แล้ว
ไม่ต้องสงสัย เป็นหลักใหญ่ใจความในทางพุทธศาสนา"

 

ขั้นตอนที่ 6 "เสพเสนาสนะอันสงัด"
           เมื่อพระภิกษุสามารถฝึกฝนอบรมตนเองจนเป็นผู้มีสติสัมปชัญญะได้ดีแล้ว พระพุทธองค์จะทรงแนะนำให้ยิ่งขึ้นไปว่า


"ดูก่อนภิกษุ มาเถิด เธอจงเสพเสนาสนะอันสงัด คือ ป่า โคนไม้ ภูเขา
ซอกเขา ถ้ำ ป่าช้า ป่าชัฏ ที่แจ้ง และลอมฟางเถิด ภิกษุนั้นจึงเสพ
เสนาสนะอันสงัด คือ ป่า โคนไม้ ภูเขา ซอกเขา ถ้ำ ป่าช้า ป่าชัฏ ที่แจ้ง
และลอมฟาง"


            คำว่า "การเสพเสนาสนะอันสงัด" หมายถึง การอยู่อาศัยในสถานที่อันสงบ เช่น ป่า ถ้ำ ภูเขาเป็นต้น
ข้อปฏิบัติซึ่งเป็นขั้นตอนสุดท้ายสำหรับพระภิกษุผู้ปรารถนาจะทำพระนิพพานให้แจ้งนี้ คือ การแสวงหา และพักอยู่ในสถานที่อันเงียบสงบ ห่างไกลจากผู้คน เพราะไม่ต้องวุ่นวายใจ มีเวลาในการฝึกฝนอบรมตัวเองมากขึ้น ดังนั้นความมุ่งหมายของการเสพเสนาสนะอันสงัด จึงเป็นเรื่องของการมีเวลาเจริญสมาธิภาวนาได้อย่างต่อเนื่องยาวนานส่งผลให้การทำสมาธิมีความเจริญรุดหน้าได้อย่างรวดเร็วสามารถชำระใจให้สะอาดบริสุทธิ์จากสิ่งที่เป็นมลทินของใจ คือกิเลสได้มากขึ้นพระสัมมาสัมพุทธเจ้าพร้อมทั้งเหล่าพระอรหันตสาวกต่างสรรเสริญการเสพเสนาสนะอันสงัดเพราะเป็นการอยู่อาศัยที่ก่อให้เกิดความสงบสุข มีความเรียบง่ายตามวิถีชีวิตของนักบวช และเป็นแบบอย่างการดำเนินชีวิตที่ดีงามให้แก่อนุชนรุ่นหลังอีกด้วย เหมือนเรื่องของพระมหากัสปเถระ ผู้เป็นเอตทัคคะคือ เป็นภิกษุผู้เลิศในด้านการถือธุดงควัตร แม้ร่างกายจะชราภาพแล้ว พระเถระก็ยังยินดี ยังสรรเสริญการอยู่ในเสนาสนะอันสงัด มีป่าเป็นต้น 

 

            นอกจากนี้ การได้อยู่ในเสนาสนะอันเงียบสงัด ยังจะช่วยให้พระภิกษุมีโอกาสได้ทบทวนศีล และข้อวัตรปฏิบัติต่างๆ ของตน รวมถึงตรวจทานความรู้ ความเข้าใจในธรรมะที่ตนได้ร่ำเรียนศึกษามา หากเห็นสิ่งใดเป็นข้อปฏิบัติที่ยังบกพร่อง เป็นความรู้ที่ตนยังเข้าใจไม่สมบูรณ์ ท่านจะได้รีบแก้ไขปรับปรุงตัวเองหากเห็นสิ่งใดที่ทำไว้ถูกต้องดีงามสะอาดบริสุทธิ์ ก็จะไม่เดือดเนื้อร้อนใจ มีความปลื้มใจเป็นอานิสงส์

 

            ดังนั้น หากพระภิกษุละเลยต่อการอยู่ในเสนาสนะอันสงัด ก็ย่อมหมายถึง การปิดโอกาสในการ
ใช้เวลาเพื่อพิจารณาตนเอง หรือเพื่อทบทวนข้อวัตรปฏิบัติว่าบกพร่อง หรือสมบูรณ์แค่ไหน มีความก้าวหน้า
หรือถอยหลังไปอย่างไร ซึ่งส่งผลให้เป้าหมายของการบวช หรือการทำพระนิพพานให้แจ้งนั้นเป็นไปได้ยาก
หรืออาจไม่ถึงเป้าหมายที่ตั้งใจไว้

-------------------------------------------------------------------

SB 303 แม่บทการฝึกอบรมในพระพุทธศาสนา

กลุ่มวิชาพุทธวิธีในการพัฒนานิสัย

 ยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคล Total Execution Time: 0.0070224523544312 Mins