ชาดก 500 ชาติ รวมนิทานชาดกพร้อมภาพประกอบ คติธรรม ข้อคิดสอนใจ

ชาดก 500 ชาติ : ชาดก 500ชาติรวมชาดก 500 ชาติพร้อมภาพประกอบ  ข้อคิดสอนใจ

ชาดก คือ เรื่องราวหรือชีวประวัติในอดีตชาติของพระโคตมพุทธเจ้า คือ สมัยที่พระองค์เป็นพระโพธิสัตว์บำเพ็ญบารมีอยู่ พระองค์ทรงนำมาเล่าให้พระสงฆ์ฟังในโอกาสต่าง ๆ เพื่อแสดงหลักธรรมสุภาษิตที่พระองค์ทรงประสงค์ เรียกเรื่องในอดีตของพระองค์นี้ว่า ชาดก ชาดกเป็นเรื่องเล่าคล้ายนิทาน บางครั้งจึงเรียกว่า นิทานชาดก

ชาดก 500 ชาติ :: กุมภชาดก ชาดกว่าด้วยโทษของสุรา

ชาดก 500 ชาติ

กุมภชาดก ชาดกว่าด้วยโทษของสุรา

 

ชาดก 500 ชาติ  กุมภชาดก ชาดกว่าด้วยโทษของสุรา

        ในสมัยพุทธกาลเมื่อครั้งที่พระบรมศาสดาสัมมาสัมพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ พระวิหารเชตวัน ทรงปรารภหญิงนักดื่มสุรา ๕๐๐ คน ผู้เป็นสหายของนางวิสาขามหาอุบาสิกาแล้วจึงตรัสพระธรรมเทศนา นครสาวัตถีมีการจัดมหรสพสุรา หญิง ๕๐๐ คนนั้น ได้จัดเตรียมสุราไว้ให้สามีที่ไปเล่นมหรสพ

        จากนั้นจึงพากันไปชักชวนนางวิสาขาให้ไปเล่นมหรสพด้วยกัน “ พวกเรามาชวนเจ้าไปงานมหรสพสุรา ไปด้วยกันนะ ” “ ไม่ละ ข้าไม่ดื่มสุรา พวกเจ้าไปกันเถอะ ” “ ตามใจเจ้าไปถวายทานพระพุทธองค์เถิด ส่วนพวกเราจะไปเล่นมหรสพ ” นางวิสาขาส่งคนไปทูลเชิญพระบรมศาสดาถวายมหาทานแล้ว

 

ชาดก 500 ชาติ  กุมภชาดก ชาดกว่าด้วยโทษของสุรา

        จึงนำสิ่งของที่เตรียมไว้ไปยังพระเชตวันมหาวิหาร โดยมีหญิงเหล่านั้นติดตามไปด้วย ขณะที่นางวิสาขาเข้าเฝ้าพระศาสดาอยู่นั้น บรรดาหญิงเหล่านั้น บางคนก็ฟ้อนรำบางคนก็คะนองมือคะนองเท้าจนทะเลาะวิวาทกัน “ ชะเอิงเอย ข้าฟ้อนรำสวยรึเปล่า ”

        “ เอ่อ นั้นขวดสุราของข้า เอาคืนมา ไม่งั้นแก่เจอดีแน่ ๆ ” “ ของข้าต่างหาก หาว่าข้าขโมยเหรอต้องเจอดีแน่ ๆ นี่แน่ะ นี่แน่ะ ” พระศาสดาเห็นดังนั้นจึงทรงแสดงอิทธิปาฏิหาริย์ประทับทรงยืนอยู่ ณ ยอดสิเนรุบรรพต เปล่งพระรัศมีออกจากพระอุนาโลมเหมือนมีพระจันทร์และพระอาทิตย์ขึ้นถึง ๑,๐๐๐ ดวง

 

ชาดก 500 ชาติ  กุมภชาดก ชาดกว่าด้วยโทษของสุรา

       พร้อมกับแสดงพระคาถา “ ท่านทั้งหลายจะมัวร่าเริงบันเทิงกันอยู่ทำไม ในเมื่อโลกกำลังลุกเป็นไฟอยู่เนืองนิจ ท่านทั้งหลายอันความมืดมิดหุ้มห่อแล้ว ยังไม่พากันแสวงหาประทีป คือ ที่พึ่งอีกหรือ ” เมื่อจบพระคาถาหญิงทั้ง ๕๐๐ เหล่านั้นก็บรรลุโสดาปัตติผล

 

ชาดก 500 ชาติ  กุมภชาดก ชาดกว่าด้วยโทษของสุรา

        เมื่อพระศาสดาเสด็จลงมายังที่ประทับแล้ว นางวิสาขาจึงทูลถามถึงที่มาของสุรา อันเป็นเครื่องทำลายหิริโอตัปปะนี้ พระศาสดาจึงทรงนำเรื่องในอดีตมาสาทก อดีตกาลเมื่อพระเจ้าพรหมทัตเสวยราชสมบัติในนครพาราณสี มีนายพรานผู้หนึ่งชื่อว่า สุระ เป็นชาวแคว้นกาสี ออกหาของป่าในป่าหิมพานต์

 

ชาดก 500 ชาติ  กุมภชาดก ชาดกว่าด้วยโทษของสุรา

       ในป่าหิมพานต์นั้นมีต้นไม้ใหญ่ต้นหนึ่งสูงเท่าคนยืน แตกเป็นสามคาคบ มีโพรงใหญ่ขนาดเท่าตุ่มเมื่อฝนตกก็เต็มไปด้วยน้ำ รวมทั้งผลสมอ มะขามป้อมและเถาพริกไทยที่สุกร่วงจากต้นที่ขึ้นโดยรอบ ใกล้ ๆ ต้นไม้นั้นมีทุ่งข้าวสาลีเกิดขึ้นเอง นกแขกเต้าคาบเอารวงข้าวสาลีจากที่นั้น

       แล้วบินไปจับกินอยู่บนต้นไม้นั่น เมล็ดข้าวเปลือกและเมล็ดข้าวสารก็หล่นลงไปในโพรงนั้น “ อือ ข้าวสาลีมากมายขนาดนี้ กินอิ่มไปถึงปีหน้าเลยนะเนี่ย ” “ นั้นสิคาบมาสะเยอะเลย อุ๊ย! นั่นร่วงไปแล้วหลายเม็ดเชียว ” เมื่อเข้าฤดูร้อน ฝูงนก ระหายน้ำ บินมากินน้ำที่ต้นไม้นั้น

 

ชาดก 500 ชาติ  กุมภชาดก ชาดกว่าด้วยโทษของสุรา

        ก็มึนเมาพลัดตกลงไปที่โคนต้นไม้นั้น ม่อยหลับไปสักครู่หนึ่งก็ตื่น แล้วก็บินจากไป รวมถึงฝูงลิงก็เช่นกัน “ เอ้ นี่มันน้ำอะไรกันนี่ ยิ่งดื่มมันก็ยิ่งมึน ” “โอ้ย ไม่ไหว ๆ หัวหมุนติ้ว ๆ เลย ” “ เจี๊ยก ๆ ยิ่งดื่มยิ่งมึน แต่ก็อยากดื่มอีก ” “ อ้าวหลับไปสะแล้ว ” “ ข้าก็ชักไม่ไหวแล้วเหมือนกัน ” 

        วันหนึ่งนายพรานสุระผ่านมาพบเห็นสิ่งแปลกประหลาดนั้นเข้า ก็เกิดความสงสัยว่า ทำไมหากน้ำนั่นมีพิษ แล้วสัตว์เหล่านั้นจึงฟื้นขึ้นมาได้ จึงลองตักน้ำนั้นมาดื่มเอง “ แปลกจริง ๆ นี่มันน้ำอะไรกัน แบบนี้ต้องลองดื่มดูสะหน่อยแล้ว อืม รสชาติแปลกดี ดื่มแล้วก็ชักอยากจะกินเนื้อแล้วสิ เอานกพวกนี้มาย่างกินดีกว่า ”

 

ชาดก 500 ชาติ  กุมภชาดก ชาดกว่าด้วยโทษของสุรา

        เมื่อนายพรานสุระลองดื่มน้ำนั้นแล้ว ก็เกิดอาการมึนเมาอยากจะกินเนื้อสัตว์ จึงก่อไฟย่างนกที่ร่วงลงมาพื้นดินนั้นกิน มือหนึ่งฟ้อนรำ มือหนึ่งก็ถือนกย่างกัดกินเป็นอยู่อย่างนี้ถึง ๒ วัน จึงออกเดินหาของป่าโดยไม่ลืมตักน้ำใส่กระบอกไม้ไผ่นำไปดื่มด้วย

        ณ ที่ใกล้ ๆ กันนั้น มีดาบสชื่อวรุณบำเพ็ญพรตอยู่ นายพรานสุระพบเห็นดาบส จึงชวนให้มาดื่มน้ำกับกินเนื้อย่างด้วยกัน เพราะเหตุนี้จึงเรียกน้ำนั้นว่า สุราบ้าง วรุณีบ้าง ตามชื่อของพรานและดาบสนั้นเอง “ ท่านดาบสลองดื่มน้ำนี่ดูเถิด ” “ น้ำนี่ ยิ่งดื่มยิ่งเพลิน ข้าว่านะ เรานำน้ำนี่ไปขายคงได้เงินมากมายเชียวล่ะ ”

 

ชาดก 500 ชาติ  กุมภชาดก ชาดกว่าด้วยโทษของสุรา

       เมื่อดื่มน้ำนั้นด้วยกัน คนทั้งสองจึงเกิดความคิดในประกอบอาชีพได้อย่างหนึ่ง จึงพากันตักน้ำใส่กระบอกไม้ไผ่แล้วหาบเข้าเมืองไปถวายพระราชา พระราชาเสวยแล้วเกิดติดใจในรสชาติ จึงรับสั่งให้คนทั้งสองนำมาถวายอีก พร้อมกับประทานรางวัลให้

 

ชาดก 500 ชาติ  กุมภชาดก ชาดกว่าด้วยโทษของสุรา

        “ น้ำนี่ช่างรสชาติดีจริง ๆ เอ้า นี่เป็นรางวัลของพวกท่าน ท่านจงไปเอาน้ำนี้มาให้เราอีก ” “ ขอบพระทัยพระเจ้าค่ะ ” นายพรานสุระและดาบสวรุณนำน้ำนั้นมาถวายพระราชาอีก เมื่อหมดก็รับสั่งให้นำมาถวายอีก คนทั้งสองจึงปรึกษากันว่า ปรุงน้ำนั้นเสียเอง แล้วจดจำส่วนประกอบของน้ำนั้น เพื่อนำมาปรุงถวายพระราชา

 

ชาดก 500 ชาติ  กุมภชาดก ชาดกว่าด้วยโทษของสุรา

       “ โอ้ยเหนื่อย เดินไปกลับแบบนี้มาไหวแน่ ” “ นั่นสิ ข้าว่าเราจำส่วนผสมแล้วมาปรุงเองดีกว่า ” คนทั้งสองจดจำส่วนประกอบแล้วนำมาปรุงในเมือง ถวายพระราชาและให้แก่ประชาชนทั่วไป ชาวเมืองพากันดื่มสุราจนมัวเมา ไม่สนใจประกอบอาชีพ จึงมีฐานะยากจนเข็ญใจไปตาม ๆ กัน

       ไม่นานเมืองนั้นก็เป็นเหมือนเมืองร้าง มีแต่นักเลงสุรา ไม่มีคนทำมาหากินอะไร คนทั้งสองเห็นว่าชาวเมืองไม่มีกำลังทรัพย์ที่จะซื้อสุราของตน จึงหลบหนีออกจากเมืองนั้นไปยังนครพาราณสี “ คนเมืองนี้ยากจน ไม่มีเงินจะซื้อสุราจากเราแล้ว ” “ นั่นสิ ข้าว่าเราไปปรุงสุราขายที่เมืองพาราณสีดีกว่า ” 

 

ชาดก 500 ชาติ  กุมภชาดก ชาดกว่าด้วยโทษของสุรา

       เจ้าเมืองพาราณสีให้การต้อนรับผู้ปรุงสุราทั้งสองเป็นอย่างดี และได้พระราชทานเสบียงแก่คนทั้งสอง ช่วยกันจัดการปรุงสุราขึ้น “ เราได้ให้ทหารเตรียมของสำหรับปรุงสุราให้แล้ว พวกท่านจงปรุงสุรามาให้เราเถิด ” “ ขอบพระทัยพระเจ้าค่ะ ” นายพรานสุระและดาบสวรุณปรุงสุราขายให้ชาวเมืองเช่นเคย

       ไม่นานเมืองพาราณสีก็พินาศด้วยสุรากลายเป็นเมืองร้างไปอีก คนทั้งสองจึงหนีออกเมืองพาราณสีไปยังเมืองสาเกต ซึ่งก็เกิดเหตุไม่ต่างไปจากเมืองพาราณสี สุดท้ายคนทั้งสองก็หนีออกไปจากเมืองสาเกตเพื่อไปยังเมืองสาวัตถี “ ชาวเมืองพวกนี้ ไม่มีเงินจะซื้อสุราของเราแล้ว ” “ นั่นสิ เหม็นสาบคนจนจริง ๆ เราไปขายสุรากันที่เมืองสาวัตถีดีกว่า ”

 

ชาดก 500 ชาติ  กุมภชาดก ชาดกว่าด้วยโทษของสุรา

        พระเจ้าสรรพมิตรผู้ปกครองเมืองสาวัตถี ได้ให้การต้อนรับคนทั้งสองเป็นอย่างดี และให้ทำการปรุงสุรามาถวายเช่นเดียวกับเจ้าเมืองอื่น ๆ ขณะเดียวกันก็ส่งทหารสอดแนมให้ไปสังเกตดูพฤติกรรมของคนทั้งสองด้วย “ ทหารพวกเจ้าจงไปเฝ้าสังเกตดู อย่าให้คลาดสายตาเชียวนะ ” “ พระเจ้าค่ะ ”

        พรานสุระและวรุณดาบสปรุงสุราใส่ตุ่ม ๕๐๐ ใบ แล้วผูกแมวไว้ข้างตุ่มใบละตัวเพื่อป้องกันไม่ให้หนูมารบกวน แมวเหล่านั้นเมื่อหิวน้ำจึงดื่มน้ำในตุ่ม จนมึนเมาหลับไป พวกหนูมาแทะหู จมูก หนวกและหาง แมวก็ไม่ตื่น “ น้ำอะไรกันนี่ ยิ่งดื่มยิ่งแซ่บ ” “ เหมี้ยว ม่ายไหวแล้วยิ่งดื่มยิ่งมึน หลับดีกว่า ”

 

ชาดก 500 ชาติ  กุมภชาดก ชาดกว่าด้วยโทษของสุรา

      “ เฮ้ พวกเราเจ้าแมวมันหลับไปแล้ว ” “ ดีล่ะ พวกเราแทะหู แทะหางของมัน ให้แหว่งไปเลย ฮะ ฮ่า ฮ่า ” คนสอดแนมคิดว่าแมวดื่มสุราแล้วพากันตายหมด จึงรีบกลับไปกราบทูลให้พระราชาทรงทราบ

        พระเจ้าสรรพมิตรทรงคิดว่าคนปรุงสุราทั้งสองปรุงทำยาพิษเพื่อปลงพระชนม์ จึงรับสั่งให้ทหารจับคนทั้งสองมาประหาร แม้คนทั้งสองจะพยายามอธิบายอย่างไรก็ไม่เป็นผล “ พวกเจ้าคิดจะวางยาข้า โทษคือตายสถานเดียว ” “ พวกเราไม่กล้าทำเช่นนั้นหรอกพระเจ้าค่ะ ” “ พวก..พวกเรา ปรุงสุราตามรับสั่งจริง ๆ ” “ ทหารเอามันไปตัดหัว ”

 

ชาดก 500 ชาติ  กุมภชาดก ชาดกว่าด้วยโทษของสุรา

     ครั้นพระราชาสั่งให้ประหารชีวิตคนทั้งสองแล้ว ก็สั่งให้ทำลายตุ่มเสีย ฝ่ายแมวทั้งหลายเมื่อสิ้นฤทธิ์สุราก็ตื่นลุกขึ้นวิ่งเล่นได้ พวกราชบุรุษเห็นดังนั้นจึงกราบทูลให้ทรงทราบ พระราชาจึงมีรับสั่งให้นำมาถวาย “ แมวพวกนั้นไม่ตาย แสดงว่าไม่ใช่ยาพิษสินะ ถ้าเช่นนั้นข้าจะลองดื่มดู ”

        ในขณะนั้นท้าวสักกเทวราชทรงตรวจดูสัตว์โลก ทอดพระเนตรเห็นพระเจ้าสรรพมิตรกำลังประทับนั่งเพื่อจะดื่มสุรา ทรงรู้ว่าหากพระราชาทรงดื่มน้ำสุรานี้ จะทำให้บ้านเมืองฉิบหาย จึงจำแลงกายเป็นพราหมณ์ถือหม้อที่เต็มไปด้วยสุราไว้ที่พระหัตข้างหนึ่ง ยืนอยู่ในอากาศที่หน้าพระพักตร์ “ พวกท่านทั้งหลายจงซื้อหม้อใบนี้เถิด ”  “ ท่านเป็นใครมาร้องขายหม้ออยู่กลางอากาศเช่นนี้ ” “ หม้อใบนี้เป็นหม้อที่มีโทษมาก ผู้ใดดื่มน้ำในหม้อนี้จะเสียผู้เสียคนควบคุมสติไม่ได้ ทั้งแสดงกิริยาที่ไม่เหมาะสม บ้างก็เหมือนคนบ้า บ้างก็ด่าทอทะเลาะวิวาท ด่าบิดามารดา ฆ่าสมณะชีพราหมณ์ได้ น้ำในหม้อใบนี้เป็นน้ำสุรา หากประสงค์จะเห็นความพินาศของตนและบ้านเมือง ก็จงซื้อไปดื่มเถิด ”

 

ชาดก 500 ชาติ  กุมภชาดก ชาดกว่าด้วยโทษของสุรา

        เมื่อได้ฟังท้าวสักกะเทวราชกล่าวถึงโทษของการดื่มสุราแล้ว พระเจ้าสรรพมิตรจึงทรงงดดื่มสุรา ยกย่องพราหมณ์นั้นเป็นอาจารย์และมอบรางวัลให้  “ ท่านช่างมีน้ำใจกับเรา เราขอมอบเงินส่วย ๕ ตำบล ภาษี ๕๐๐ คน วัว ๗๐๐ ตัว รถม้าอาชาไนยอีก ๑๐ คันแก่ท่าน ขอท่านจงเป็นอาจารย์เราเถิด ” ท้าวสักกะเทวราชทรงสดับเช่นนั้น มิทรงกลับร่างเดิมประทับยืนบนอากาศ ปฏิเสธรางวัล แล้วทรงประทานโอวาทแก่พระเจ้าสรรพมิตร

       แล้วจึงเสด็จกลับไปยังสถานวิมานของพระองค์ทันที “ สิ่งที่ท่านจะมอบให้เรานั้นทรงเก็บไว้เถอะ เราขอเพียงให้พระองค์ทรงตั้งอยู่ในธรรมอย่าประมาทเถิด ” ฝ่ายพระเจ้าสรรพมิตรเมื่อไม่ทรงดื่มสุรา ก็ตรัสสั่งให้ทำลายภาชนะสุราสิ้นแล้วทรงสมาทานศีล บริจาคทานได้เป็นผู้มีสวรรค์เป็นที่ไปในเบื้องหน้า 

     นับจากนั้นเป็นต้นมาจนถึงปัจจุปันการดื่มสุราเป็นที่นิยมกันอย่างกว้างขวางแม้ในชมพูทวีป พระบรมศาสดาทรงนำพระธรรมเทศนานี้มาแสดงแล้วทรงประชุมชาดกว่า


พระราชาในครั้งนั้น ได้มาเป็น พระอานนท์
ส่วนท้าวสักกเทวราช ได้มาเป็น เราฉะนี้แล

บทความนี้ ถูกใจคุณหรือไม่ + -

สิ่งดีๆมีไว้แบ่งปัน อะไรดีๆมีอีกเยอะ กด Like facebook กัลยาณมิตร

* * ชาดก 500 ชาติ แนะนำ * *

 ยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคล