ชาดก 500 ชาติ รวมนิทานชาดกพร้อมภาพประกอบ คติธรรม ข้อคิดสอนใจ

ชาดก 500 ชาติ : ชาดก 500ชาติรวมชาดก 500 ชาติพร้อมภาพประกอบ  ข้อคิดสอนใจ

ชาดก คือ เรื่องราวหรือชีวประวัติในอดีตชาติของพระโคตมพุทธเจ้า คือ สมัยที่พระองค์เป็นพระโพธิสัตว์บำเพ็ญบารมีอยู่ พระองค์ทรงนำมาเล่าให้พระสงฆ์ฟังในโอกาสต่าง ๆ เพื่อแสดงหลักธรรมสุภาษิตที่พระองค์ทรงประสงค์ เรียกเรื่องในอดีตของพระองค์นี้ว่า ชาดก ชาดกเป็นเรื่องเล่าคล้ายนิทาน บางครั้งจึงเรียกว่า นิทานชาดก

ชาดก 500 ชาติ :: กปิชาดก-ชาดกว่าด้วยการโกหกหลอกลวง

ชาดก 500 ชาติ
กปิชาดก-ชาดกว่าด้วยการโกหกหลอกลวง

ชาดก 500 ชาติ กปิชาดก-ชาดกว่าด้วยการโกหกหลอกลวง

           ภิกษุในพระพุทธศาสนานั้น แม้จะมีพระพุทธวินัยเป็นวัตรปฏิบัติควบคุมอยู่อย่างดีแล้วก็ตาม แต่ด้วยเหตุแห่งกรรมยังทำให้พระศาสนาต้องหมองมัวอยู่บ้าง เพราะภิกษุบางรูปผิดพระวินัย พระพุทธศาสดาเมื่อประทับอยู่ ณ พระเชตวันมหาวิหารในพุทธกาลนั้น

         ก็ทรงเคยปรารภถึงภิกษุผิดศีลข้อมุสาวาทผู้หนึ่งที่มาบวชอยู่ในพระศาสนาของพระองค์ ภิกษุรูปนี้เป็นชาวเมืองสาวัตถีเหมือนภิกษุส่วนใหญ่ในมหาวิหารนี้ เป็นสงฆ์ผู้ขาดศีลข้อโกหกหลอกลวงมาตลอดพรรษา และยังกระทำผิดพระพุทธบัญญัติข้อนี้ต่อไป โดยผู้ใดทัดทานก็ไม่ฟัง

ชาดก 500 ชาติ กปิชาดก-ชาดกว่าด้วยการโกหกหลอกลวง

        “ เป็นผู้ทรงศีลแท้ ๆ แต่ยังมุสาโกหกคนเค้าไปทั่ว ช่างไม่บังควรโดยแท้ ” “ ใช่ ๆ ๆ สงสัยจะท่องพระวินัยข้อมุสาวาทไม่ถูก อย่างนี้มันน่าจับสึกกันให้รู้แล้วรู้รอดกันไปเลย ” ทั้งยังแสวงหาประโยชน์จากภิกษุอื่นด้วยการหลอกลวงเป็นอาจิณ

         “ นี่ท่านลาภสักการะของเราล่ะ คฤหัสถ์ที่ทำบุญสั่งว่าให้มาเรียกเอาจากท่าน เอ้า เอามาเร็ว ๆ สิ ทำเป็นหน้า..งงอยู่ได้ เฮ้อ ” “ เล่นกันนิ่ม ๆ เนียน ๆ อย่างนี้เลยหรือนี่ ไม่ไหว ” หลายครั้งยังกล่าวเท็จกับอุบาสก อุบาสิกาหลอกลวงเอาทรัพย์บ้าง ของกินของใช้บ้าง ตามแต่สถานการณ์จะอำนวย

ชาดก 500 ชาติ กปิชาดก-ชาดกว่าด้วยการโกหกหลอกลวง

        “ เอ้า เข้ามา ๆ ๆ ๆ เออ เอาของอะไรมาทำบุญล่ะวันนี้ ” “ ลูกจันทร์ ลูกสมอเอาไว้ฉันในฤดูหนาวเจ้าค่ะ ส่วนผ้าห่มยังไม่มีนะเจ้าค่ะ แต่ก็คงจะได้ในเร็ววันนี้ แล้วจะนำมาถวายเจ้าค่ะ ” “ สาธุ อาตมาก็ต้องขออนุโมทนาบุญด้วยนะโยม ....เฮอะ ๆ เป็นไปตามแผน ”
        กระทั่งใกล้ฤดูหนาวคราวหนึ่ง พระภิกษุผู้มุสา ยังกล้าลวงให้คนวรรณะช่าง มาก่อเตาผิงไฟให้ตน โดยพูดให้เข้าใจว่า ทำถวายแก่พระเถระ “ พระเถระหลายรูปชราภาพมากแล้ว ถ้าเจออากาศเย็นเข้าไปจะอาพาตได้ โยมมาทำเตาผิงไฟเป็นทานให้แบบนี้ กุศลแรงนะโยม ” “ สาธุ ขอรับพระคุณเจ้า ”

ชาดก 500 ชาติ กปิชาดก-ชาดกว่าด้วยการโกหกหลอกลวง

         การแก้หนาวด้วยการลวงอุบาสกในครั้งนี้เป็นเหตุใหญ่ ภิกษุสงฆ์ทั้งหลายมาพบเห็นเข้าก็สุดจะห้ามปรามเพราะเอือมระอา จึงพากันไปเข้าเฝ้ากราบทูลต่อพระบรมศาสดาในธรรมศาลาคราหนึ่ง “ เดี๋ยวนี้กล้าหลอกให้ชาวบ้านมาทำเตาผิงไปให้ตัวเองถึงในวัดในวากันเลยหรือนี่ ช่างไม่เกรงอกเกรงใจพระบรมศาสดากันบ้างเลย ”

        “ เห็นทีคงต้องแจ้งแก่พระบรมศาสดาซะแล้วละท่าน ขืนปล่อยไว้ชาวบ้านจะเดือดร้อน แล้วศาสนาของพระพุทธองค์จะมัวหมองได้นะท่าน ” “ อืม จริงด้วยงั้นเรารีบไปกันเถอะ ” สมเด็จพระผู้มีพระภาคเจ้าเมื่อสดับว่า ยังมีสงฆ์สาวกผู้บวชในพระพุทธศาสนาอันมีหน้าที่นำเวไนยสัตว์ให้หลุดล่อนออกจากเปลือกตมแห่งกิเลส

 ชาดก 500 ชาติ กปิชาดก-ชาดกว่าด้วยการโกหกหลอกลวง

        พ้นจากกองทุกข์ทั้งหลายทั้งปวง กลับมาบำเพ็ญผิดหลอกลวงผู้อื่นอยู่อีก ก็ปรารภถึงภิกษุนี้ ตรัสว่า “ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อันภิกษุนี้ เมื่ออดีตชาติ ก็เคยเป็นผู้ที่โกหกหลอกลวงต่อนักบวชมาแล้วเหมือนกัน เหตุเพียงเพราะต้องการไฟเท่านั้นเอง ”

         แล้วสมเด็จพระพุทธศาสดาก็รำลึกอดีตชาติของภิกษุผู้นั้นด้วยบุพเพนิวาสนุสติญาณ ตรัสเล่ากปิชาดก ขึ้นดังนี้ พาราณสีนครครั้งอดีต รุ่งเรืองอยู่ริมฝั่งคงคามหานที ปวงประชาทุกวรรณะใช้ชีวิตอย่างมีความสุขสงบเป็นอันดี ในครั้งนั้นยังมีครอบครัวพราหมณ์ตระกูลหนึ่ง อยู่กินกันได้ไม่นานก็ให้กำเนิดลูกน้อยเป็นทายาทสืบสกุล

ชาดก 500 ชาติ กปิชาดก-ชาดกว่าด้วยการโกหกหลอกลวง

        พราหมณ์สามีภรรยาทั้งสองต่างเลี้ยงดูลูก และใช้ชีวิตอยู่อย่างมีความสุข จนกระทั่งลูกเติบโตเป็นกุมารน้อยวัยกำลังน่ารัก นางพราหมณ์มณีผู้เป็นแม่และภรรยาของบ้านก็มาจากไป “ ฮือ ฮือ แม่จ๋า แม่จากลูกไปพรมโลกแล้ว ฮือ ฮือ แม่จ๋า ” “ อย่าเศร้าโศกเสียใจไปเลยลูกเอ๋ย บัดนี้แม่ของเจ้าหมดกรรมในชาตินี้แล้ว ทำใจเสียเถิดลูก ”

         เมื่อทำพิธีปลงศพนางพราหมณ์มณีนั้น ความเป็นอนัตตาไม่มีสิ่งใดมีอยู่จริง ทุกสิ่งที่เป็นอนิจจังก็ประจักษ์ชัดแก่ผู้ที่เฝ้ามองดูอยู่ด้านหลัง “ ลูกเอ๋ย เจ้าจงดูเถิดทุกสิ่งมิใช่ของเราเลยจริง ๆ แม้เนื้อหนังมังสาของเราก็ต้องทิ้งไว้เมื่อตายลง ถึงมีทรัพย์มาก เมื่อวาระสุดท้ายของชีวิตมาถึง ก็มิอาจเอาติดตัวไปได้เลยสักชิ้น ช่างเป็นทุกข์ยิ่งนัก ” หลังจากจัดการเรื่องศพของภรรยาเสร็จสิ้นแล้วพราหมณ์ผู้เป็นสามีก็ตัดสินใจมอบบ้านเรือนทรัพย์สินแก่ญาติและคนรับใช้จนหมดสิ้น

 ชาดก 500 ชาติ กปิชาดก-ชาดกว่าด้วยการโกหกหลอกลวง

        “ บัดนี้ ข้าพเจ้าได้สละแล้วซึ่งทรัพย์สิน ความสะดวกสบายทั้งหลาย ทานอันข้าพเจ้าได้กระทำนี้ จงเป็นเครื่องนำสู่ธรรมมะอันสงบในเบื้องหน้าด้วยเถิด ” เมื่อตัดสินใจอย่างแน่วแน่แล้วพราหมณ์ผู้เป็นพ่อจึงจูงมือลูกน้อยมุ่งหน้าสู่ป่า ถือศีลบวชเป็นฤาษี โดยให้บุตรชายบวชเป็นดาบสกุมารน้อยคอยติดตามไปด้วยกัน

        “ ตามพ่อมาเถิดลูกรัก เราทั้งสองจะไปบำเพ็ญภาวนาค้นหาความสุขที่แท้จริงของชีวิตกัน ” “ ขอรับท่านพ่อ ” ฤาษีออกเสาะแสวงหาที่สถานที่อันสงบ เป็นสัพปายะเข้าที่หนึ่งในแนวป่าหิมพานต์ จึงจัดการปลูกศาลาอาศรมขึ้นหลังหนึ่ง เพื่ออาศัยพักสังขารหลบแดดฝนและปฏิบัติธรรม

ชาดก 500 ชาติ กปิชาดก-ชาดกว่าด้วยการโกหกหลอกลวง

        ส่วนดาบสน้อยแม้ยังเยาว์วัยนักแต่ก็รู้ประสาเฝ้าปรนนิบัติพระฤาษี คอยหาผลไม้ น้ำดื่มกิน มิได้อนาทรตามพละกำลังตน “ เก็บผลไม้นี่ก็เหนื่อยเหมือนกันแหะแต่ก็สนุกดี เอากลับไปให้ท่านพ่อดีกว่า ” จนวันเวลาล่วงเลยมาได้ระยะหนึ่ง

       ทุก ๆ วันในบริเวณใกล้อาศรมฤาษีนั้นยังมีลิงเกเรตัวหนึ่ง มักแวะเวียนมาคอยสังเกตสังกาดูความเป็นไปของฤาษีและดาบสน้อยอยู่เสมอ แม้ขณะนักบวช พ่อลูกออกป่าเพื่อหาผลหมากรากไม้เป็นอาหารประทังชีวิต มันก็ยังพยายามเฝ้าติดตามไปแทบทุกแห่ง

 ชาดก 500 ชาติ กปิชาดก-ชาดกว่าด้วยการโกหกหลอกลวง

       นับวันลิงตัวนั้นก็ยิ่งเฝ้าดูฤาษีและดาบสน้อยใกล้เข้าทุกที พระฤาษีแม้รู้ทันแต่ก็ไม่ได้แสดงออก ยังคงบำเพ็ญเพียรภาวนาอย่างสงบต่อไป และแล้ววันหนึ่งเมื่อนักบวชพ่อลูกกลับจากป่า ญาณสัมผัสของพระฤาษีก็ล่วงรู้ถึงสิ่งผิดปกติในอาศรมของตน “ เกิดเหตุไม่ดีที่อาศรมของเราแล้วหล่ะ ดาบสน้อยเอ๋ย รีบตามพ่อไปดูกันเถิด ” เมื่อมาถึงก็พบว่าภายในอาศรมถูกรื้อค้นทำลาย ข้าวของกระจุยกระจายไปหมด “ ท่านพ่อดูสิ เรามาอยู่กันในป่าลึกกันแท้ ๆ ยังมีโจรใจบาปมาขโมยของอีกจนได้ ”

        “ ช้าก่อนลูกพ่อ เหตุที่เกิดนี้ไม่ใช่ฝีมือของมนุษย์หรอก หากแต่เป็นลิงตัวนั้น มากระทำตามวิสัยของมันต่างหากล่ะ อันวิสัยของลิงป่านั้น เจ้าเล่ห์เพทุบาย มันทั้งดุร้ายเป็นสัตว์เดรัจฉาน ไม่มีความเป็นมิตร เก่งในกิริยาหลอกลวงให้หลงในอาการ จนไม่อาจทายใจของพวกมันได้ถูก ที่สำคัญนะมักจะกระทำชั่วมักและขโมยให้ผู้อื่นเดือดร้อนอยู่เสมอ ”

ชาดก 500 ชาติ กปิชาดก-ชาดกว่าด้วยการโกหกหลอกลวง

      ครั้นสิ้นวสันตฤดู พิรุณหยาดสุดท้ายก็หยุดลง ลมเหมันก็เริ่มเดินทางมาห่มผืนป่าอาศรมของฤาษีเองก็มิได้รับการยกเว้น พระฤาษีจึงหยิบเอาหนังเสือโคร่งที่เก็บไว้ออกมาคลุมเฉวียงบ่าให้ดาบสน้อย ปากก็พร่ำสอนว่า

     “ นี่ ห่มหนังเสือโคร่งแล้วก็ผิงไฟก็จะได้บรรเทาความหนาวลงได้ แล้วเราก็จะได้นั่งสมาธิบำเพ็ญภาวนากันอย่างอบอุ่นนะลูก ” “ อุ่นขึ้นจริง ๆ ด้วยขอรับท่านพ่อ ” ฤดูหนาวคราวนั้นพระฤาษีและดาบสน้อยห่อหุ้มร่างกายมิดชิดและก่อกองไฟไล่ความหนาว การดำเนินจิตบริกรรมกสิณในอาศรมอย่างอบอุ่น ราบรื่นมีสมาธิตามปกติ

 ชาดก 500 ชาติ กปิชาดก-ชาดกว่าด้วยการโกหกหลอกลวง

      ต่อเมื่อครั้นมีเสียงดังที่หน้าประตูอาศรมดาบสซึ่งเมื่อเข้าสมาธิยังไม่นิ่งสนิทก็มองดูออกไป “ ห๊า มีฤาษีมายืนหนาวสั่นอยู่ ขอเชิญท่านเข้ามาหลบหนาวในบรรณศาลานี้เถิด ”

      ดาบสน้อยเอื้อมมือเปิดประตูให้แขกผู้มาขอพักหนาว ทันใดนั่นเองพระฤาษีผู้เป็นบิดาก็คว้าคบไฟชิงก้าวตัดหน้าออกไปก่อน “ ช้าก่อนดาบสน้อยของพ่อ อาคันตุกะตัวนี้มิใช่ฤาษีที่ไหนหรอกลูกหากแต่เป็นผู้หลอกลวงเรา ด้วยเอาหนังเสือและชฎาจากซากศพฤาษีที่ตายแล้วมาห่ม หวังพักผิงไฟแก้หนาวก็เท่านั้น ”

 ชาดก 500 ชาติ กปิชาดก-ชาดกว่าด้วยการโกหกหลอกลวง

         เมื่อเจอคบไฟวูบวาบฤาษีปลอมก็กระโดดหนีตามสัญชาติลิงแต่เดิม เมื่อหลบหนีจนพ้นเปลวไฟแล้ว ลิงนักหลอกลวงแยกเขี้ยวยิงฟันเมื่อมันไม่พอใจ แล้วก็หลบหนีไปจนไกลและไม่กล้ากลับมารบกวนสองนักบวชพ่อลูกอีกเลย เมื่อตรัสเล่ากปิชาดกจบแล้วสมเด็จพระผู้มีพระภาคเจ้าจึงประชุมชาดกในพุทธกาลนั้นว่า 
 
 

ลิงเกเร กำเนิดเป็น ภิกษุผู้โกหกหลอกลวง
ดาบสน้อย กำเนิดเป็น พระราหุล
พระฤาษี เสวยพระชาติเป็น พระสัมมาสัมพุทธเจ้า

บทความนี้ ถูกใจคุณหรือไม่ + -

สิ่งดีๆมีไว้แบ่งปัน อะไรดีๆมีอีกเยอะ กด Like facebook กัลยาณมิตร

* * ชาดก 500 ชาติ แนะนำ * *

 ยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคล