ชาดก 500 ชาติ รวมนิทานชาดกพร้อมภาพประกอบ คติธรรม ข้อคิดสอนใจ

ชาดก 500 ชาติ : ชาดก 500ชาติรวมชาดก 500 ชาติพร้อมภาพประกอบ  ข้อคิดสอนใจ

ชาดก คือ เรื่องราวหรือชีวประวัติในอดีตชาติของพระโคตมพุทธเจ้า คือ สมัยที่พระองค์เป็นพระโพธิสัตว์บำเพ็ญบารมีอยู่ พระองค์ทรงนำมาเล่าให้พระสงฆ์ฟังในโอกาสต่าง ๆ เพื่อแสดงหลักธรรมสุภาษิตที่พระองค์ทรงประสงค์ เรียกเรื่องในอดีตของพระองค์นี้ว่า ชาดก ชาดกเป็นเรื่องเล่าคล้ายนิทาน บางครั้งจึงเรียกว่า นิทานชาดก

ชาดก 500 ชาติ :: อรรถกถาทุติยปลายิชาดกว่าด้วยคนถูกความเร่าร้อนเผาจนไม่อาจสู้ข้าศึกได้

อรรถกถา ทุติยปลายิชาดก

ว่าด้วย คนถูกความเร่าร้อนเผาจนไม่อาจสู้ข้าศึกได้

 

          วันหนึ่งในขณะที่พระพุทธเจ้าทรงประทับบนธรรมาสน์ซึ่งตั้งอยู่ใจกลางห้องโถงที่ภายในทำด้วยหินอ่อน สีขาวนวลสะอาดตา ภายในถูกประดับประดาด้วยทองคำบริสุทธิ์ สลักลวดลายต่างๆ  บรรดาชาวบ้านและลูกเล็กเด็กแดงต่างพากันหลั่งไหลมาฟังเทศน์อย่างแน่นขนัด น้ำเสียงพระศาสดานั้นทุ้มนุ่มดังก้องกังวาน จนสะกดผู้ฟังให้เงียบดั่งต้องมนต์  ปริพาชกหนุ่มที่นั่งร่วมวงอยู่ด้วยนั้นจ้องมองไปเบื้องหน้า ก่อนจะเริ่มพิจารณา “บุรุษใดหนอ ช่างงดงามเยี่ยงนี้ รูปร่างสง่างาม ผิวขาวเนียนละเอียด ใบหน้าคมสัน หน้าผากใสเนียนดั่งแผ่นทองคำ ช่างไม่มีที่ติจริงๆ”

 

       ปริพาชกหนุ่มถอนหายใจเบาๆ ก่อนพึมพำในใจ “ เฮ้อใครจะไปสู้ได้” เมื่อพิจารณาได้ดังนั้นจึงเดินจากไป ก่อนที่พระศาสดาจะตรัสกับผู้มาฟังท่านสนทนาธรรมว่า “ท่านทั้งหลายช่วยตามคนที่พึ่งเดินจากไปด้วย”  แต่ไม่ทันเสียแล้วปริพาชกนั้นหายตัวไปเสียก่อน


          "ชายคนนั้นเห็นเราจึงหนีไป" แม้ในกาลก่อนก็เช่นกัน ก่อนนำเรื่องในอดีตมาตรัสเล่าให้ฟัง

 

          ย้อนกลับไปเมื่อนานมาแล้ว ช่วงเวลาที่ยังเกิดการต่อสู้แย่งชิงเขตแดน พระเจ้าคันธารกษัตริย์เมืองตักกสิลา ผู้เรื่องชื่อลือชาด้านการรบ ดังกระฉ่อนไปทั่วทุกทิศทุกทาง กระทั่งไม่มีผู้ใดอยากจะต่อกรด้วย จนได้รับฉายาว่า ยมทูตเเห่งความความตาย สถานที่ใดที่พระองค์ได้เยียบย่ำ ณ ผืนพสุธาจะเกิดผู้คนล้มตาย เหมือนกับฝนห่าใหญ่ที่ตกมายังพื้นโลก

 

       ด้วยความที่พระองค์นั้นเปรียบดั่งไฟพร้อมจะเผาไหม้ทุกอย่างให้ดับมอดกลายเป็นเถ้าธุรี "ความหื่นกระหาย ความต้องการ ความสนุกตื่นเต้น เรียกร้องจนเจ้าตัวต้องเอ่ยกับลูกน้องคนสนิทของตนว่า "ท่านอำมาตย์ยังมีเมืองใดที่ข้ายังไม่ได้บุกยึดบ้าง" ก่อนที่อำมาตย์จะกราบทูลว่า "พาราณสีพระเจ้าค่ะ" 

 

         "อย่างนั้นหรอ" ใบหน้าเหลี่ยมที่เต็มไปด้วยหนวดเครา และริ้วรอยแห่งความหยาบกร้านกระตุกยิ้มที่มุมปาก ชวนให้คนที่อยู่ใกล้ถึงกับขนลุก เสียววาบไปถึงกระดูกสันหลัง ก่อนเสียงอันทรงพลังจะเอ่ยขึ้นอย่างเนิบนาบ พรุ่งนี้เช้าข้าจะไปตีเมือง "พาราณสี" 
       

            วันต่อมา ณ ลานกว้าง เหล่านักรบนับแสนได้มารวมตัวกันอย่างแน่นขนัด "ตึกๆ" "ตึกๆ"เสียงรองเท้าที่ทำจากเหล็กชั้นดีกระทบกับพื้นไม้ดังกึกก้อง  ก่อนร่างหนาจะมาหยุดอยู่ที่กลางพื้นปะรำเบื้องหน้า "ท่านผู้กล้าทั้งหลาย ศึกกับพาราณสีครั้งนี้เราจะถล่มให้ราบ ไม่อาจผงาดเหนือตักกสิลาได้ ประกาศให้ใต้หล้าได้รู้ว่าตักกสิลาไร้ผู้เทียมทาน..น" ก่อนที่พระองค์จะใช้มือขวาหยิบไปที่ดาบข้างกาย ก่อนที่จะชักออกจากฝัก ชูขึ้นไปข้างหน้า "ชัยชนะจะเป็นของเรา" "เฮ้ฮฮ" 

 

             "ตึง" "ตึง" "ตึง" เสียงกลองรบนับหมื่นขึ้นตีอย่างเป็นจังหวะ ก่อนกองทัพเหล่านักรบนับแสนจะออกเดิน ผ่านประตูเมืองที่ตั้งตระง่าน ชุดเกราะสีดำที่ทำด้วยเหล็กกล้าสะท้อนแสงพระอาทิตย์ อาวุธที่ถูกตีขึ้นด้วยช่างตีดาบชั้นดีถูกผูกติดเข้ากับเข็มขัดหนังสีน้ำตาลเข้ม ที่ผ่านการใช้งานมาอย่างโชกโชน ขบวนเวียนที่ขนเสบียงประทังชีพ เทียมด้วยม้าสีดำเคลื่อนพลออกพ้นประตูเมืองยาวสุดลูกหูลูกตา จนไม่อาจจะประมาณได้

 

%E0%B8%AA%E0%B8%B3%E0%B8%A3%E0%B8%AD%E0%B8%8702.jpg

 

           เวลาเคลื่อนเปลี่ยน บรรยากาศค่อยๆหมุนวน บ้านเมืองกลับกลายเป็นทุ่งหญ้ากว้าง ป่ารกทึบ จนเวลาย่างเข้ายามเย็นเมื่อดวงจันทร์กำลังจะขึ้นมาเยือน  ทุกอย่างหมุนวนดั่งเข็มนาฬิกา และแล้วหนึ่งอาทิตย์ผ่านไป กองทัพขนาดมหึมาเดินทางเข้ามาถึงเขตแดนเมืองเป้าหมายของตนได้สำเร็จ "อีกไม่นานนักรบของข้า ศึกครั้งนี้สำคัญยิ่งนัก เมื่อทุกอย่างจบลง พวกเจ้าเปรียบเสมือนราชาผู้คนในเมืองจะเป็นทาส คอยรับใช้ บำรุง บำเรอให้เจ้าประดุจดั่งราชา" เมื่อพระเจ้าคันธารเอ่ยจบ เหล่าทหารต่างตะโกนก้อง พากันเข้าโอบล้อมเมือง ก่อนสั่งให้ม้าเร็วส่งข่าวไปยังพาราณสี


            “ตอนนี้กองทัพของข้า ล้อมเมืองของท่านหมดแล้ว จงเลือกมาว่าจะยอมแพ้หรือจะทำศึกครั้งนี้” เมื่ออ่านจบจึงกล่าวกับอำมาตย์คู่ใจว่า “เมืองของเราถูกฆ่าศึกใจโฉดท้าสู้เสียแล้ว” “อย่างนี้จะทำอย่างไรดีหรือพะยะค่ะ” อำมาตย์เอ่ยถาม “ไม่ต้องห่วงพระราชาเมืองตักกสิลาไม่ได้เก่งสักเท่าไหร่นัก”

 

%E0%B8%AA%E0%B8%B3%E0%B8%A3%E0%B8%AD%E0%B8%8701.jpg

 

                 เช้าวันต่อมา พระโพธิสัตว์ให้ทหารเปิดประตูเมือง ก่อนที่พระองค์จะมาประจันหน้ากับกษัตริย์เมืองตักกสิลา ที่ทรงเครื่องรบเต็มอัตตา ใบหน้าคมเข้ม ที่กร้านจากแดดลม จ้องมองพระโพธิสัตว์อย่างเหยียดหยาม “โถถ..ที่ให้ม้าเร็วบอกว่าจะสู้ศึกครั้งนี้ ไหนเดินมาตัวเปล่าเช่นนี้ ที่แท้ก็แค่พูดจาโอหัง ที่จริงท่านกลัวจนหัวหดล่ะสิ จะยอมแพ้ก็บอกข้ามาตรงๆ ฮ่าๆ  “ท่านนะหรอที่ทำให้ข้าขวัญหนีดีฟ่อ ยกหางตัวเองเกินไปแล้ว” พระโพธิสัตว์เอ่ยเสียงเรียบ “ว่ายังไงนะ หน๊อย...กล้ามาหยามข้าหรอ! ท่านรู้ไหมว่าเมืองรอบๆตกเป็นของข้าทั้งหมดแล้ว อีกไม่นานเมืองของท่านจะตกเป็นของข้าเช่นกัน” พระราชาเมืองตักกสิลาหัวเราะลั่น

 

           “ท่านนนน!”พระเจ้าเมืองตักกสิลาถึงกับสะดุ้ง เมื่อเจอเข้ากับเสียงทุ้ม “หยุดพูดเพ้อเจ้อน่ารำคาญได้แล้ว ความจริงแล้วไม่ได้เก่งสักเท่าไหร่หรอก“เจ้า...!” พระโพธิสัตว์จ้องเขม็งไปที่ดวงตาของพระเจ้าคันธาร ทำให้พระองค์รู้สึกขนลุก ร้อนๆหนาวๆ เหมือนเกรงกลัวอำนาจบารมีคนตรงหน้า สายตาอันทรงอำนาจยังคงจ้อง ทุกอย่างรอบตัวเงียบลงไปชั่วขณะ จากความเชื่อมั่นที่มั่นคงแข็งแกร่งดั่งภูผากลับถูกสั่นคอน “ภายนอกของท่านที่ดูเข้มแข็ง แต่จริงๆแล้ว ใจของเจ้าตอนนี้ร้อมรุ่มดั่งไฟเผา เจ้ากลัวอยู่ใช่ไหม" สายตาที่ทรงอำนาจยังคงจ้องนิ่ง ดวงตาคู่นั้นเหมือนกำลังเจาะเข้าไปในใจของพระเจ้าคันธาร 

 

      “ข้าขอสั่งให้เจ้ากลับไปซะ!” เสียงขู่กรรโชกดังก้องความเย็นยะเยือกพุ่งเข้าเกาะกุมหัวใจ ชวนให้เสียววาบไปถึงท้องน้อย ร่างใหญ่ชะงัก ใบหน้าที่งดงามดั่งรูปสลัก รูปร่างดั่งเทวดาที่อยู่บนสรวงสวรรค์ หน้าผากเนียนใสดั่งแผ่นทองคำ ช่างไม่มีที่ติจริงๆ ครั้งแรกที่เห็นนั้น พระองค์ทรงรู้สึกว่าตนนั้นมิอาจสู้ได้ แต่ด้วยศักดิ์ศรีมันคำคอเลยลองต่อกรสักตั้ง แต่ผลก็เป็นไปตามที่พระเจ้าคันธารคาดคิดคือ "เราแพ้”  

 

           ถึงแม้จะเจ็บใจ แต่นั้นก็คือความจริง "เรามิอาจเทียบบารมีได้" ก่อนที่พระองค์จะล่าถอยกลับเมืองตักกสิลาไป

 

          ณ ท้องพระโรง ขณะที่พระโพธิสัตว์กำลังสนทนาเรื่องการบ้านการเมือง "พระองค์ทำได้อย่างไรกัน" อำมาตย์คู่กายเอ่ย



           ก่อนที่พระโพธิสัตว์จะตรัสกับท่านอำมาตย์ว่ากษัตริย์เมืองตักกสิลานั้นถึงภายนอกจะดูแข็งแกร่งดั่งภูผา แต่ในใจนั้นอ่อนแอดั่งดินโคลนนอกจากนั้นยังถูกควบคุมด้วย ราคะ โทสะ และโมหะ
             
          



               พระศาสดาทรงนำพระธรรมเทศนานี้มาแล้ว ทรงประชุมชาดก
               พระเจ้าคันธารราชในครั้งนั้น ได้เป็นปริพาชกในครั้งนี้
               ส่วนพระเจ้าพาราณสี คือ 
เราตถาคต นี้แล

                   

 

บทความนี้ ถูกใจคุณหรือไม่ + -

สิ่งดีๆมีไว้แบ่งปัน อะไรดีๆมีอีกเยอะ กด Like facebook กัลยาณมิตร

* * ชาดก 500 ชาติ แนะนำ * *

 ยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคล