รวมนิทานชาดกพร้อมภาพประกอบสีสดใส ข้อคิดจากชาดก นิทานชาดกภาษาอังกฤษ วีดีโอนิทาน

รูปนิทานชาดกอรรถกถาชาดก

นิทานชาดก : หริตจชาดก ว่าด้วย กิเลสที่มีกำลังกล้า

harita%20chadok%207-7-63.jpg

หริตจชาดก ว่าด้วย กิเลสที่มีกำลังกล้า

                     พระศาสดา เมื่อประทับอยู่ ณ พระวิหารเชตวัน ทรงปรารภภิกษุผู้กระสัน จึงได้ตรัสเรื่องนี้

 

                    ความย่อมีว่า ภิกษุรูปนั้นเห็นมาตุคามคนหนึ่งแต่งตัวสวยงามเกิดความกระสัน ปล่อยผมเล็บและหนวดไว้จนยาวอยากจะสึก 
 

                    พระอุปัชฌาย์อาจารย์แนะนำก็ไม่พอใจ พระศาสดาตรัสถามว่า จริงหรือภิกษุ ได้ยินว่าเธอกระสัน?

 

                     เมื่อภิกษุนั้นกราบทูลว่า จริงพระพุทธเจ้าข้า จึงตรัสถามว่า เหตุไรเธอจึงกระสัน
 

                     เมื่อภิกษุนั้นกราบทูลว่า กระสันด้วยอำนาจกิเลส และได้เห็นมาตุคามแต่งตัวสวยงามพระเจ้าข้า.

 

                    จึงตรัสว่า ดูก่อนภิกษุ ธรรมดากิเลสย่อมไม่มีความชื่นบาน เพราะขจัดคุณความดี มีแต่จะให้ตกนรก และกิเลสนั้นทำไมจักไม่ทำให้เธอลำบากเล่า ลมแรงพัดเขาสิเนรุ ทำไมจักไม่พัดใบไม้เก่าๆ ให้กระจัดกระจายได้ แม้พระมหาบุรุษผู้วิสุทธิชาติได้อภิญญา ๕ สมาบัติ ๘ ดำเนินตามรอยพระโพธิญาณ เพราะอาศัยกิเลสชนิดนี้ จึงไม่อาจจะดำรงสติอยู่ได้ ยังต้องเสื่อมไปจากฌาน.


                     ในอดีตกาล เมื่อพระเจ้าพรหมทัตครองราชสมบัติอยู่ในนครพาราณสี พระโพธิสัตว์เกิดในตระกูลพราหมณ์ผู้มีสมบัติ ๘๐ โกฏิในนิคมแห่งหนึ่ง มารดาบิดาได้ขนานนามให้พระองค์ว่า หาริตกุมาร เพราะพระองค์มีผิวเหลืองดังทอง.

 

                   กุมารนั้น ครั้นเจริญวัยแล้วสำเร็จการศึกษาที่เมืองตักกสิลา รวบรวมทรัพย์ไว้ ครั้นมารดาบิดาล่วงลับไปแล้ว ได้ตรวจตราดูทรัพย์สมบัติ ได้ความคิดขึ้นว่า ทรัพย์เท่านั้นที่ยังปรากฏอยู่ ส่วนผู้ทำให้ทรัพย์เกิดขึ้นหาปรากฏอยู่ไม่ แม้เราก็จะต้องแหลกละเอียดไปในปากแห่งความตาย ดังนี้ กลัวต่อมรณภัย ได้ให้ทานเป็นการใหญ่

 

                 แล้วเข้าไปยังหิมวันตประเทศ บวชเป็นฤๅษี ในวันที่ ๗ ได้อภิญญา ๕ และสมาบัติ ๘ มีเผือกมันและผลไม้ในป่าเป็นอาหาร ดำรงชีพอยู่ในที่นั้นเป็นเวลานาน ต้องการจะเสพอาหารที่มีรสเค็มรสเปรี้ยว จึงลงจากบรรพตไปโดยลำดับถึงพระนครพาราณสี เข้าไปอยู่ในสวนหลวง.

 

                 วันรุ่งขึ้น เที่ยวภิกขาจารในพระนครพาราณสี บรรลุถึงพระลานหลวง พระราชาทอดพระเนตรเห็นดาบสนั้นมีพระทัยเลื่อมใส รับสั่งให้นิมนต์นั่งบนราชบัลลังก์ภายใต้เศวตฉัตร ให้ฉันโภชนะที่มีรสอันเลิศต่างๆ เมื่อดาบสฉันแล้วอนุโมทนาจบลง พระองค์ยิ่งทรงเลื่อมใสมากขึ้น 

 

ตรัสถามว่า พระผู้เป็นเจ้าจะไป ณ ที่ไหน? 

 

เมื่อดาบสถวายพระพรว่า อาตมภาพเที่ยวหาที่จำพรรษามหาบพิตร. 

 

จึงตรัสว่า ดีแล้วพระผู้เป็นเจ้า.

 

                    ครั้นเสวยพระกระยาหารเช้าเสร็จแล้ว ทรงพาดาบสไปพระราชอุทยาน รับสั่งให้สร้างที่เป็นที่พักกลางคืนและที่เป็นที่พักกลางวันเป็นต้นถวายพระดาบส ให้คนรักษาพระราชอุทยานเป็นผู้คอยปฏิบัติ ทรงอภิวาทแล้วเสด็จกลับ.

 

                   แต่นั้นมา พระมหาสัตว์ได้ฉันที่พระราชมณเฑียรเป็นนิตย์อยู่ตลอด ๑๒ ปี.

 

                    อยู่มาวันหนึ่ง พระราชาจะเสด็จไปปราบประเทศชายแดนที่ก่อความไม่สงบขึ้น ทรงมอบหมายพระมหาสัตว์ไว้แก่พระราชเทวีว่า เธอจงอย่าลืมบุญเขตของเราเสีย แล้วเสด็จไป

 

                    ตั้งแต่นั้น พระราชเทวีได้ทรงอังคาสพระมหาสัตว์ด้วยพระหัตถ์ของพระองค์

 

                  ครั้นวันหนึ่ง พระนางทรงตกแต่งโภชนะไว้เรียบร้อยแล้ว เมื่อพระดาบสยังช้าอยู่ พระนางจึงสรงสนานด้วยน้ำหอม แล้วทรงนุ่งพระภูษาเลี่ยนเนื้อละเอียด รับสั่งให้เผยสีหบัญชร ประทับบนเตียงน้อยให้ลมพัดต้องพระวรกายอยู่

 

                  พระมหาสัตว์นุ่งห่มเรียบร้อยแล้ว ถือภาชนะสำหรับใส่ภิกษา เหาะมาถึงสีหบัญชร 

 

                  พระราชเทวีได้สดับเสียงผ้าคากรองของพระมหาสัตว์ ก็เสด็จลุกขึ้นโดยเร็ว พระภูษาเลื่อนหลุดหล่นลง วิสภาคารมณ์ได้กระทบจักษุพระมหาสัตว์ ทันใดนั้น กิเลสซึ่งหมักดองอยู่ภายในพระมหาสัตว์นั้นหลายแสนโกฏิปี มีอาการดังอสรพิษที่นอนขดอยู่ในข้อง ก็กำเริบขึ้นทำฌานให้อันตรธานไป.

 

                พระมหาสัตว์ไม่สามารถจะดำรงสติไว้ได้ จึงเข้าไปจับพระหัตถ์พระราชเทวี แล้วทั้งสองก็รูดม่านลงกั้นในทันใดนั้น แล้วเสพโลกธรรมด้วยกัน ครั้นแล้วพระมหาสัตว์ก็ฉันภัตตาหารแล้ว เดินไปพระราชอุทยาน.

ตั้งแต่นั้นมา ก็ได้ทำเช่นนั้นทุกๆ วัน.

 

                  ข่าวที่พระมหาสัตว์เสพโลกธรรมกับพระราชเทวีได้แพร่สะพัดไปทั่วพระนคร พวกอำมาตย์ได้ส่งหนังสือไปกราบทูลพระราชาว่า หาริตดาบสได้ทำอย่างนี้. 

 

                 พระราชามิได้ทรงเชื่อ โดยทรงพระดำริว่า พวกอำมาตย์ประสงค์จะทำลายเรา จึงได้กล่าวอย่างนี้.

 

                 ครั้นทรงปราบประเทศชายแดนให้สงบลงแล้ว ก็เสด็จกลับพระนครพาราณสี ทรงทำประทักษิณพระนครแล้ว เสด็จไปสำนักพระราชเทวี มีพระดำรัสถามว่า ได้ข่าวว่าหาริตดาบสพระผู้เป็นเจ้าของเรา เสพโลกธรรมกับเธอเป็นความจริงหรือ?

 

                 พระราชเทวีกราบทูลว่า จริงเพคะ.

 

                พระราชายังไม่ทรงเชื่อแม้พระราชเทวี ทรงดำริว่าจักถามพระดาบสนั้นเอง จึงเสด็จไปพระราชอุทยาน นมัสการแล้วประทับนั่ง ณ ที่ควรส่วนหนึ่ง. เเละกล่าวว่า 

 

               " ข้าแต่มหาพรหม โยมได้ยินเขาพูดกันว่า พระหาริตดาบสบริโภคกาม คำนี้ไม่เป็นจริงกระมัง ท่านยังเป็นผู้บริสุทธิ์อยู่แลหรือ? "


                พระดาบสคิดว่า เมื่อเราทูลว่า เราไม่ได้บริโภคกาม พระราชานี้ก็จักทรงเชื่อเราเท่านั้น แต่ว่าในโลกนี้ ขึ้นชื่อว่าที่พึ่งที่เช่นกับความสัตย์ไม่มี เพราะว่าผู้ที่ทิ้งความสัตย์เสียแล้ว ย่อมไม่สามารถจะนั่งที่โพธิบัลลังก์บรรลุพระโพธิญาณได้ เราควรกล่าวแต่ความสัตย์เท่านั้น.

 

               จริงอยู่ ปาณาติบาตก็ดี อทินนาทานก็ดี กาเมสุมิจฉาจารก็ดี สุราบานก็ดี ย่อมมีแก่พระโพธิสัตว์ได้บ้างในฐานะบางอย่าง แต่มุสาวาทที่มุ่งกล่าวให้คลาดเคลื่อนหักประโยชน์เสีย ย่อมไม่มีแก่พระโพธิสัตว์เลย

ฉะนั้น เมื่อพระดาบสจะกล่าว จึงว่า


               " ขอถวายพระพร มหาบพิตร พระองค์ได้ทรงสดับถ้อยคำมาแล้วอย่างใด ถ้อยคำนั้นก็เป็นจริงอย่างนั้น อาตมภาพเป็นผู้หมกมุ่นอยู่ในอารมณ์เป็นที่ตั้งแห่งความหลง เดินทางผิดแล้ว."


               พระราชาได้ทรงสดับดังนั้น จึงว่า "ปัญญาที่ละเอียด คิดสิ่งที่เป็นประโยชน์ เป็นเครื่องบรรเทาราคะที่เกิดขึ้นแล้วของท่านมีไว้เพื่อประโยชน์อะไร ท่านไม่อาจบรรเทาความคิดที่แปลกได้."


               ลำดับนั้น หาริตดาบสเมื่อจะแสดงกำลังของกิเลสแก่พระราชา ได้กล่าวว่า 


                " ข้าแต่มหาบพิตร กิเลส ๔ อย่างเหล่านี้ คือ ราคะ โทสะ โมหะ มทะ เป็นของมีกำลังกล้า หยาบคายในโลก เมื่อกิเลสเหล่าใดรึงรัดแล้ว ปัญญาก็หยั่งไม่ถึง เหมือนคนตกลงไปในห้วงน้ำใหญ่ ฉะนั้น."

 

                พระราชาได้ทรงสดับดังนั้น จึงว่า 


              " โยมได้ยกย่องท่านแล้วอย่างนี้ว่า หาริตดาบสเป็นพระอรหันต์ สมบูรณ์ด้วยศีล ประพฤติบริสุทธิ์ เป็นบัณฑิต มีปัญญาแท้."


                หาริตดาบสได้ฟังดังนั้นแล้ว ได้กล่าวว่า 


                " ข้าแต่มหาบพิตร วิตกอันลามก เป็นไปด้วยการยึดถือนิมิตว่างาม ประกอบด้วยความกำหนัด ย่อมเบียดเบียนแม้ผู้มีปัญญา ผู้ยินดีแล้วในคุณธรรมของฤๅษี."


                ลำดับนั้น พระราชาเมื่อจะให้หาริตดาบสเกิดอุตสาหะในการละกิเลส จึงว่า 
" ความกำหนัดนี้เกิดในกาย เกิดขึ้นมาแล้วเป็นของทำลายวรรณะของท่าน ท่านจงละความกำหนัดนั้นเสีย ความเจริญย่อมมีแก่ท่าน ท่านเป็นผู้อันชนหมู่มากยกย่องแล้วว่าเป็นคนมีปัญญา."


                 คราวนี้ พระมหาสัตว์ได้ฟังดังนั้นแล้วกลับได้สติ กำหนดโทษในกามทั้งหลายแล้ว จึงว่า 
" กามเหล่านั้นทำแต่ความมืดให้ มีทุกข์มาก มีพิษใหญ่หลวง อาตมภาพจักค้นหามูลรากแห่งกามเหล่านั้น จักตัดความกำหนัดพร้อมเครื่องผูกเสีย โดยประหารเสียด้วยดาบคือปัญญา."

 

                 ครั้นกล่าวดังนี้แล้วได้ขอพระราชทานโอกาสว่า ข้าแต่มหาบพิตร ขอพระองค์จงประทานโอกาสแก่อาตมภาพก่อน แล้วเข้าไปยังบรรณศาลา พิจารณาดวงกสิณ ยังฌานที่เสื่อมแล้วให้เกิดขึ้นอีก ออกจากบรรณศาลานั่งคู้บัลลังก์ในอากาศ ถวายธรรมเทศนาแด่พระราชา แล้วทูลว่า

 

                  " ข้าแต่มหาบพิตร อาตมภาพถูกติเตียนในท่ามกลางมหาชน เพราะเหตุที่มาอยู่ในที่ไม่สมควร ขอพระองค์จงเป็นผู้ไม่ประมาท บัดนี้ อาตมภาพจักกลับไปสู่ไพรสณฑ์ให้พ้นจากกลิ่นสตรี."

 

                   เมื่อพระราชาทรงกรรแสงปริเทวนาอยู่ 

 

                  ครั้นพระหาริตฤๅษีกล่าวคำนี้แล้ว มีความบากบั่นอย่างแท้จริง คลายกามราคะได้แล้ว ได้เป็นผู้เข้าถึงพรหมโลก.


พระศาสดา ครั้นทรงนำพระธรรมเทศนานี้มาแล้ว ทรงประกาศสัจธรรม เวลาจบสัจธรรม ภิกษุผู้กระสันได้ดำรงอยู่ในพระอรหัตผล 

 

แล้วพระทศพลทรงประชุมชาดกว่า
พระราชาในครั้งนั้น ได้มาเป็น พระอานนท์ ในบัดนี้
หาริตดาบสในครั้งนั้น ได้มาเป็น เราตถาคต ฉะนี้แล.

 

นิทานชาดก เรื่องเดียวกันหน้าอื่นๆ
รูปนิทานชาดกอรรถกถาชาดก

ทุพพจชาดก-ชาดกว่าด้วยผู้ดื้อรั้นว่ายาก

รูปนิทานชาดกอรรถกถาชาดก

กโปตกชาดก-ชาดกว่าด้วยความเป็นผู้มีใจโลเล

รูปนิทานชาดกอรรถกถาชาดก

สุวรรณหังสชาดก-โลภมากลาภหาย

รูปนิทานชาดกอรรถกถาชาดก

มิตจินติชาดก ว่าด้วย ปลาช่วยปลาให้พ้นข่าย

รูปนิทานชาดกอรรถกถาชาดก

 มูสิกาชาดก หนูกับสุนัขจิ้งจอกเจ้าเล่ห์

รูปนิทานชาดกอรรถกถาชาดก

สมุคคชาดก ฤๅษีกับยักษ์  เปรียบหญิงมีอาการคล้ายก้นเหว

รูปนิทานชาดกอรรถกถาชาดก

สสปัณฑิตชาดก ว่าด้วยผู้สละชีวิตเป็นทาน

รูปนิทานชาดกอรรถกถาชาดก

มังคลชาดก ว่าด้วยถือมงคลตื่นข่าว

รูปนิทานชาดกอรรถกถาชาดก

มหาสุบินชาดก  ว่าด้วย ความฝันของพระเจ้าปเสนทิโกศล ๑๖ ข้อ

รูปนิทานชาดกอรรถกถาชาดก

ขันธปริตตชาดก ว่าด้วย พระปริตต์ป้องกันสัตว์ร้ายต่างๆ

รูปนิทานชาดกอรรถกถาชาดก

พันธนาคารชาดก ว่าด้วย เครื่องผูก

รูปนิทานชาดกอรรถกถาชาดก

ติตติรชาดก ว่าด้วย บาปเกิดจากความจงใจ

รูปนิทานชาดกอรรถกถาชาดก

ราธชาดก ว่าด้วย เรื่องจริงเก่าไม่ดีไม่ควรพูด

รูปนิทานชาดกอรรถกถาชาดก

พยัคฆชาดก ว่าด้วย เรื่องของมิตร

รูปนิทานชาดกอรรถกถาชาดก

ชวสกุณชาดก ว่าด้วย ผู้ไม่มีกตัญญูไม่ควรคบ

รูปนิทานชาดกอรรถกถาชาดก

สาลิตตกชาดก ว่าด้วยคนมีศิลปะ

รูปนิทานชาดกอรรถกถาชาดก

หริตจชาดก ว่าด้วย กิเลสที่มีกำลังกล้า

รูปนิทานชาดกอรรถกถาชาดก

อันตชาดก ว่าด้วย ที่สุด ๓ ประเภท คนชั่วสรรเสริญกันเอง 

รูปนิทานชาดกอรรถกถาชาดก

อาทิจจุปัฏฐานชาดก ว่าด้วย ลิงไหว้พระอาทิตย์

รูปนิทานชาดกอรรถกถาชาดก

นามสิทธิชาดก ว่าด้วย ชื่อไม่เป็นของสำคัญ

รูปนิทานชาดกอรรถกถาชาดก

วิสสาสโภชนชาดก ว่าด้วย การไว้วางใจ

รูปนิทานชาดกอรรถกถาชาดก

สีลวีมังสชาดก ว่าด้วย ความลับไม่มีในโลก

รูปนิทานชาดกอรรถกถาชาดก

สัญชีวชาดก ว่าด้วย โทษที่ยกย่องอสัตบุรุษ

รูปนิทานชาดกอรรถกถาชาดก

อนุสาสิกชาดก ว่าด้วย ดีแต่สอนผู้อื่น

รูปนิทานชาดกอรรถกถาชาดก

สุราปานชาดก ว่าด้วย โทษของการดื่มสุรา

รูปนิทานชาดกอรรถกถาชาดก

สมุททชาดก ว่าด้วย กากินน้ำทะเล

รูปนิทานชาดกอรรถกถาชาดก

สาลิยชาดก ว่าด้วย ให้ทุกข์แก่ท่านทุกข์นั้นถึงตัว

รูปนิทานชาดกอรรถกถาชาดก

ตักกชาดก ว่าด้วยเลห์เหลี่ยมของหญิงเจ้าชู้

รูปนิทานชาดกอรรถกถาชาดก

อสาตมันตชาดก ว่าด้วย วิสัยของหญิงส่วนมาก

รูปนิทานชาดกอรรถกถาชาดก

อัณฑภูตชาดก ชาดกว่าด้วยหญิงที่เลี้ยงไว้ตั้งแต่อยู่ในครรภ์

รูปนิทานชาดกอรรถกถาชาดก

สุงสุมารชาดกว่าด้วย ผู้มีปัญญาไม่สมกับตัว

รูปนิทานชาดกอรรถกถาชาดก

ทัพพปุบผาชาดก ว่าด้วย แบ่งกันไม่ลงตัว

รูปนิทานชาดกอรรถกถาชาดก

คหปติชาดก ว่าด้วย การทวงในเวลายังไม่ถึงกำหนด

รูปนิทานชาดกอรรถกถาชาดก

สีลวนาคชาดก ว่าด้วย คนอกตัญญูมองคนในแง่ร้าย

รูปนิทานชาดกอรรถกถาชาดก

ราธชาดก ว่าด้วย พูดเพ้อเจ้อเพราะความเขลา

รูปนิทานชาดกอรรถกถาชาดก

สตธรรมชาดก ว่าด้วย สตธรรมมาณพ

รูปนิทานชาดกอรรถกถาชาดก

มังสชาดก ว่าด้วย วาทศิลป์ของคนขอ

รูปนิทานชาดกอรรถกถาชาดก

ราโชวาทชาดก ว่าด้วย คุณสมบัติของผู้นำ

รูปนิทานชาดกอรรถกถาชาดก

รุหกชาดก ชาดกว่าด้วย รุหกะปุโรหิต

รูปนิทานชาดกอรรถกถาชาดก

อัฏฐสัททชาดก ว่าด้วย สดับเสียง ๘ อย่าง

คำค้น :: นิทานชาดก มิใช่เรื่องที่แต่งขึ้นเพื่อสอนคุณธรรม แต่นิทานชาดก คือ เรื่องในอดีตชาติของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า นิทานธรรมะที่พระองค์ทรงแสดงไว้แล้วอย่างแท้จริง นอกจากนี้ยังมีนิทานภาษาอังกฤษ วีดีโอนิทาน คลิปนิทาน การ์ตูนสุภาษิต ให้ศึกษา เพื่อให้เป็น นิทานเยาวชน นิทานเด็ก นิทานสอนใจ นิทานคุณธรรมเพื่อจรรโลงจิตใจ ผู้ศึกษาให้รักในคุณงามความดี นิทา,นิทานชาดก,นิทานชาดกพร้อมรูปภาพประกอบ,นิทาน, นิทานชาดก, นิทานไทย, นิทานธรรมะ, นิทานธรรมะไทย, นิทานเด็ก, คุณธรรม, การ์ตูนธรรมะ, การ์ตูนไทย, การ์ตูนภาพ, การ์ตูนช่อง, การ์ตูนนิทาน, การ์ตูนเด็ก, การ์ตูนสีขาว, นิทานธรรมะออนไลน์, นิทานธรรมะสอนคุณธรรม พระโพธิสัตว์,นิทานชาดกออนไลน์,นิทานชาดกเรื่องสั้น,นิทานชาดก หมายถึง,นิทานชาดกและคติสอนใจ,นิทานสองภาษา,นิทานสำหรับเด็ก,นิทานก่อนนอน
บทความนี้ ถูกใจคุณหรือไม่ + -
 ยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคล