โครงการสร้างศาสนสถานและศาสนวัตถุ

วันที่ 16 กพ. พ.ศ.2559

โครงการสร้างศาสนสถานและศาสนวัตถุ 

อุโบสถวัดพระธรรมกาย

โครงการสร้างศาสนสถานและศาสนวัตถุ 


โครงการสร้างอุโบสถ
          อุโบสถวัดพระธรรมกายเริ่มก่อสร้างขึ้นเมื่อปลายปี พ.ศ. 2520 เสร็จสมบูรณ์เมื่อวันศุกร์ที่ 7 พฤษภาคม พ.ศ. 2525 มีรูปลักษณ์แบบศิลปไทยประยุกต์ ออกแบบโดยยึดหลักความเรียบง่ายและมีความสง่า โดยได้รับรางวัลสถาปัตยกรรมดีเด่น ประจำปี 2541 จากสมาคมสถาปนิกสยาม ในพระบรมราชูปถัมภ์ ปัจจุบันรองรับพระภิกษุสามเณรเข้าร่วมประกอบสังฆกรรมพร้อมกันได้จำนวน 1,000 กว่ารูป


โครงการสร้างสภาธรรมกายสากล (หลังคาจาก)
         สร้างขึ้นในปี พ.ศ. 2527 เป็นอาคารปฏิบัติธรรมชั่วคราว รองรับสาธุชนได้ประมาณ 12,000 คน (ปัจจุบันปรับปรุงพื้นที่ เพื่อสร้างอาคาร 100 ปี คุณยายอาจารย์มหารัตนอุบาสิกาจันทร์ ขนนกยูง)


โครงการสร้างสภาธรรมกายสากล
         สร้างขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2539 เป็นอาคารอเนกประสงค์ขนาดใหญ่ 2 ชั้น บนพื้นที่กว่า 150 ไร่ ประกอบด้วยชั้นที่ 1 เป็นชั้นจอดรถ และ ชั้นที่ 2 ใช้เป็นสถานที่สวดมนต์ ปฏิบัติธรรม ฟังพระธรรมเทศนา ซึ่งใช้ในงานบุญทุกวันอาทิตย์ และงานบุญใหญ่ของวัดตลอดทั้งปี สามารถจุคนได้ประมาณ 300,000 คน


โครงการสร้างมหาธรรมกายเจดีย์
         สถาปนาขึ้น ตั้งแต่ปลายปี พ.ศ. 2537 มีลักษณะเป็นเจดีย์รปู โดมทรงกลมแบบสาญจิเจดีย์ ประกอบด้วย 3 ส่วน ซึ่งสื่อถึง พุทธรัตนะ ธรรมรัตนะ และสังฆรัตนะ ภายนอกของมหาธรรมกายเจดีย์ ส่วนพุทธรัตนะมีการเรียงต่อองค์พระธรรมกายประจำตัวที่สลักชื่อเจ้าของไว้จำนวน 300,000 องค์ ส่วนภายในมหาธรรมกายเจดีย์บรรจุพระธรรมกายประจำตัว จำนวน 700,000 องค์ ฐานขององค์พระจารึกนามของผู้บริจาคเพื่อสร้างองค์พระธรรมกายประจำตัว เช่น เดียวกันซึ่ง มหาธรรมกายเจดีย์ออกแบบด้วยหลักวิศวกรรมให้คงอยู่ได้ไม่ต่ำกว่าหนึ่งพันปี


โครงการสร้างลานธรรมมหาธรรมกายเจดีย์
         ลานธรรมมหาธรรมกายเจดีย์ เป็นพื้นที่บริเวณรอบมหาธรรมกายเจดีย์ ใช้เป็นที่ประกอบศาสนพิธีฟังธรรม และปฏิบัติธรรมในวัน สำคัญทางพระพุทธศาสนา รองรับสาธุชนได้ 400,000 คน ลานธรรมมหาธรรมกายเจดีย์จึงเปรียบเสมือนมหาวิทยาลัยสอนศีลธรรมกลางแจ้ง ปัจจุบันในวันสำคัญทางพระพุทธศาสนา เช่น วันมาฆบูชา วิสาขบูชา ฯลฯ จะมีสาธุชนจากทั่วโลกเดินทางมาปฏิบัติธรรม ณ ลานธรรมมหาธรรมกายเจดีย์ครั้งละหลายแสนคน


โครงการสร้างมหารัตนวิหารคด
เริ่มสร้างเมื่อวันที่ 21 มีนาคม พ.ศ. 2547 เป็นอาคารหลังใหญ่ไร้กำแพง ตัวอาคารเป็นคอนกรีตเสริมเหล็กผิวเปลือย 2 ชั้น รูปทรงสี่เหลี่ยมจัตุรัสรายล้อมรอบลานธรรมและองค์มหาธรรมกายเจดีย์ มีความยาวด้านละ 1 กิโลเมตร หลังคาเป็นโลหะสแตนเลสชนิดพิเศษทรงพีระมิดแบบพื้นลาด 4 ด้าน ใต้หลังคามีฉนวนกันความร้อน เสาและคานทำจากคอนกรีต เสริมเหล็กผิวเปลือย ส่วนพื้นเป็นคอนกรีตขัดมัน รวมทั้ง 2 ชั้นของมหารัตนวิหารคดมีพื้นที่ใช้งาน 631,776 ตารางเมตร เมื่อรวมกับพื้นที่ของลานธรรมอีกจำนวนกว่า 430,000 ตารางเมตรแล้ว จะมีพื้นที่กว่า 1 ล้านตารางเมตร ซึ่งจะสามารถรองรับพุทธบริษัทที่มาร่วมประกอบพิธีแต่ละครั้งได้ถึง 1 ล้านกว่าคน


โครงการอนุสรณ์สถาน มหาวิหารพระมงคลเทพมุนี
         โครงการอนุสรณ์สถาน มหาวิหารพระมงคลเทพมุนี ณ แผ่นดินรูปดอกบัว อำเภอสองพี่น้อง จังหวัดสุพรรณบุรี (บ้านเกิดของพระเดชพระคุณหลวงปู่) สถาปนาขึ้นครั้งแรกเมื่อวันที่ 10 พฤษภาคม พ.ศ. 2535


โครงการสร้างมหาวิหารพระมงคลเทพมุนี (สด จนฺทสโร) ผู้ค้นพบวิชชาธรรมกาย
         สร้างขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2539 ภายในประดิษฐานรูปเหมือนทองคำพระมงคลเทพมุนี (สด จนฺทสโร) หลวงปู่วัดปากน้ำ ภาษีเจริญ เพื่อให้ศิษยานุศิษย์ได้สักการบูชาและระลึกถึงพระคุณของท่าน


โครงการสร้างมหาวิหารคุณยายอาจารย์มหารัตนอุบาสิกาจันทร์ ขนนกยูง
         การสร้างมหาวิหารคุณยายอาจารย์มหารัตนอุบาสิกาจันทร์ ขนนกยูง วิหารทรงพีระมิดหกเหลี่ยมทองคำ ภายในเป็นห้องหยกประดิษฐานรูปหล่อทองคำคุณยายอาจารย์มหารัตนอุบาสิกาจันทร์ ขนนกยูง


โครงการสร้างหอฉันคุณยายอาจารย์มหารัตนอุบาสิกาจันทร์ ขนนกยูง
         การสร้างหอฉันคุณยายอาจารย์มหารัตนอุบาสิกาจันทร์ ขนนกยูง ตอกเสาเข็มต้นแรกเมื่อวันที่ 19 มกราคม พ.ศ. 2546 เป็นอาคารชั้นล่างโปร่ง มีส่วนสำนักงาน 4 ชั้น ส่วนของหลังคาสร้างเป็นยอดรูปทรงกลมคล้ายมหาธรรมกายเจดีย์ ภายในรูปทรงกลมเป็นภาพของคุณยายอาจารย์มหารัตนอุบาสิกาจันทร์ ขนนกยูง หอฉันฯ สร้างขึ้นเป็นที่ฉันภัตตาหารของภิกษุ สามเณร เป็นโรงทานแก่ญาติโยมที่มาถวายภัตตาหาร รวมถึงประยุกต์ใช้ในการประกอบพิธีกรรมของวัด


โครงการสร้างอาคารภาวนา 60 ปี พระราชภาวนาวิสุทธิ์
         ตอกเสาเข็มต้นแรกเมืี่อวันที่ 27 สิงหาคม พ.ศ. 2546 ใช้เป็นสถานที่ปฏิบัติธรรมวิชชาธรรมกายขั้นสูง


โครงการสร้างอาคาร 100 ปี คุณยายอาจารย์มหารัตนอุบาสิกาจันทร์ ขนนกยูง
         เริ่มก่อสร้างปลายปี พ.ศ. 2552 (ยังไม่แล้วเสร็จ) เพื่อให้เป็นสำนักงานใหญ่ของวัด ห้องประชุมด้านวิชาการด้านพระปริยัติธรรมขนาดใหญ่ ห้องปฏิบัติธรรมสำหรับบรรพชิต อุบาสก อุบาสิกา ขนาดใหญ่ พิพิธภัณฑ์ที่เกี่ยวกับมหาปูชนียาจารย์


โครงการสร้างปทุมรัตน์ธรรมเจดีย์
         เพื่อเป็นสถานที่ประดิษฐานพระบรมสารีริกธาตุและพระอรหันตธาตุ ณ พุทธอุทยานนานาชาติ ริมฝั่งแม่น้ำโขง อ.โพนพิสัย จ.หนองคาย เริ่มสร้างขึ้นเมื่อวันพุธที่ 28 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555 (วันลอยกระทง)


โครงการเจดีย์น้อยดอยสวรรค์ ณ วัดแม่ขิง จ.เชียงใหม่
         เมื่อวันที่ 6 ถึง 7 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557 มีพิธีอัญเชิญแบบจำลองเจดีย์น้อยดอยสวรรค์จากวัดบ้านขุนสู่ศูนย์รวมแห่งศรัทธาของทุกชนเผ่าบนดอยสูง ณ วัดแม่ขิง ต.นาเกียน อ.อมก๋อย จ.เชียงใหม่ ขณะนี้กำลังดำเนินการก่อสร้าง
 

โครงการหล่อพระบรมพุทธเจ้า
         หล่อเมื่อวันที่ 21 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2540 ขนาดหน้าตักกว้าง 4.5 เมตร องค์เป็นเนื้อโลหะเงิน ปัจจุบันประดิษฐานอยู่ภายในมหาธรรมกายเจดีย์


โครงการหล่อรูปเหมือนทองคำ หลวงปู่วัดปากน้ำ ภาษีเจริญ
         เพื่อเป็นที่สักการบูชาแก่ศิษยานุศิษย์และสาธุชน โดยมีพิธีหล่อทั้งหมด 7 องค์


โครงการหล่อรูปเหมือนทองคำ หลวงปู่วัดปากน้ำ ภาษีเจริญ องค์ที่ 1
         องค์ที่ 1 หล่อเมื่อวันที่ 25 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2537 ประดิษฐาน ณ วัดปากน้ำ ภาษีเจริญ


โครงการหล่อรูปเหมือนทองคำ หลวงปู่วัดปากน้ำ ภาษีเจริญ องค์ที่ 2
         องค์ที่ 2 หล่อเมื่อวันที่ 10 ตุลาคม พ.ศ. 2547 ประดิษฐาน ณ อนุสรณ์สถานพระมงคลเทพมุนี (สด จนฺทสโร) จ.สุพรรณบุรี


โครงการหล่อรูปเหมือนทองคำ หลวงปู่วัดปากน้ำ ภาษีเจริญ องค์ที่ 3, 4
         องค์ที่ 3 – 4 วันที่ 10 ตุลาคม พ.ศ. 2548 ประดิษฐาน ณ วัดสองพี่น้อง จังหวัดสุพรรณบุรี และวัดโบสถ์บน ตำบลบางคูเวียง จังหวัดนนทบุรี


โครงการหล่อรูปเหมือนทองคำ หลวงปู่วัดปากน้ำ ภาษีเจริญ องค์ที่ 5
         องค์ที่ 5 วันที่ 10 ตุลาคม พ.ศ. 2551 ซึ่งจะนำไปประดิษฐาน ณ วัดบางปลา จังหวัดนครปฐม


โครงการหล่อรูปเหมือนทองคำ หลวงปู่วัดปากน้ำ ภาษีเจริญ องค์ที่ 6
         องค์ที่ 6 หล่อเมื่อวันที่ 22 เมษายน พ.ศ. 2555 นำประดิษฐาน ณ มหาวิหารพระมงคลเทพมุนี (สด จนฺทสโร) ณ วัดพระธรรมกาย


โครงการหล่อรูปเหมือนทองคำ หลวงปู่วัดปากน้ำ ภาษีเจริญ องค์ที่ 7
         องค์ที่ 7 หล่อเมื่อวันที่ 10 ตุลาคม พ.ศ. 2556 เพื่ออัญเชิญนำขบวนธุดงค์ธรรมชัย เส้นทางมหาปูชนียาจารย์


โครงการหล่อรูปเหมือนทองคำคุณยายอาจารย์มหารัตนอุบาสิกาจันทร์ ขนนกยูง องค์ที่ 1
         หล่อเมื่อวันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2541 เพื่อประดิษฐาน ณ มหาวิหารคุณยายอาจารย์มหารัตนอุบาสิกาจันทร์ ขนนกยูง เพื่อให้ศิษยานุศิษย์ ลูกหลานคุณยาย ได้กราบไหว้สักการบูชา และระลึกนึกถึงพระคุณของท่าน


โครงการหล่อรูปเหมือนทองคำคุณยายอาจารย์มหารัตนอุบาสิกาจันทร์ ขนนกยูง องค์ที่ 2
         หล่อเมื่อวันที่ 22 เมษายน พ.ศ. 2557 โดยในปี พ.ศ. 2557 คุณยายอาจารย์ฯ มีอายุครบ 105 ปี การหล่อรูปเหมือนท่านเป็นทองคำแท้ทั้งองค์เช่นนี้ เป็นการแสดงความกตัญญูอย่างสูงสุดที่เหล่าศิษยานุศิษย์มีต่อท่าน เพื่อเป็นเครื่องระลึกถึงข้อวัตรปฏิบัติและมโนปณิธานอันยิ่งใหญ่ของท่าน อีกทั้งยังเป็นการให้ลูกหลานที่จะตามมาในกาลภายหลังได้รับรู้ถึงคุณธรรม คุณวิเศษ และนำท่านเป็นต้นบุญต้นแบบในการสร้างบุญสร้างบารมีให้ยิ่งๆ ขึ้นไป ซึ่งจะประดิษฐาน ณ มหาวิหารคุณยายอาจารย์มหารัตนอุบาสิกาจันทร์ ขนนกยูง (องค์เดิมจะย้ายไปประดิษฐาน ณ อาคารหนึ่งไม่มีสอง)


โครงการสร้างอาคารพระผู้ปราบมาร
         อาคารพระผู้ปราบมาร ตอกเสาเข็มต้นแรกเมื่อวันที่ 15 มีนาคม พ.ศ. 2557 เป็นอาคารกุฏิพักสงฆ์ และเป็นสถานที่ปฏิบัติธรรมสำหรับพระภิกษุสงฆ์ มีด้วยกัน 3 อาคาร ใน 1 อาคารประกอบด้วย ตึก 4 ตึก ตึกละ 12 ชั้น ชั้นละ 6 ห้อง สามารถรองรับพระภิกษุสงฆ์ได้อาคารละ 2,500 รูป รวมทั้งหมด 3 อาคาร รองรับพระได้ 7,500 – 10,000 รูป


 

 

ประวัติพระเทพญาณมหามุนี (หลวงพ่อธัมมชโย) พระเทพญาณมหามุนี วิ. (หลวงพ่อธัมมชโย) เจ้าอาวาสวัดพระธรรมกาย


จากหนังสือ 70 ปี พระเทพญาณมหามุนี (หลวงพ่อธัมมชโย)

กับ 100 กว่าโครงการฟื้นฟูศีลธรรมโลก
44 ปี วัดพระธรรมกาย มโนปณิธาน...อันยิ่งใหญ่ที่ไม่เคยเปลี่ยน

สร้าง...วัด...ให้เป็น “วัด”
สร้าง...พระ...ให้เป็น “พระแท้”
สร้าง...คน...ให้เป็น “คนดี”

 

70 ปี ของบุคคลทั่วไป เป็นวัยแห่งการพักผ่อนหลังจากทำงานมาทั้งชีวิต

70 ปี ของพระเดชพระคุณ พระเทพญาณมหามุนี (หลวงพ่อธัมมชโย) ท่านยังคงปฏิบัติธรรมสอนสมาธิ และมุ่งหน้าทำภารกิจที่ยิ่งใหญ่ คือ การเผยแผ่พระพุทธศาสนาวิชชาธรรมกายไปทั่วโลก

เป็นภารกิจที่ได้รับมอบหมายถ่ายทอดมาจาก คุณยายอาจารย์มหารัตนอุบาสิกาจันทร์ ขนนกยูง ผู้ให้กำเนิดวัดพระธรรมกาย ที่ได้รับคำสั่งมาจากพระเดชพระคุณ พระมงคลเทพมุนี (สด จนฺทสโร) หลวงปู่วัดปากน้ำภาษีเจริญ พระผู้ปราบมาร

ในฐานะเจ้าอาวาสวัดพระธรรมกาย ท่านเป็นผู้นำทางจิตใจ ของเหล่าพระภิกษุ สามเณร อุบาสก อุบาสิกา สาธุชน เหล่ากัลยาณมิตรทั่วโลก ในการเป็นต้นบุญต้นแบบทั้งด้านการบำเพ็ญสมณธรรม ตามพระธรรมวินัยของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าอย่างเคร่งครัด และด้านการสร้างบารมีโดยเอาชีวิตเป็นเดิมพัน โดยไม่ย่อท้อต่ออุปสรรคทั้งหลาย

ในฐานะประธานมูลนิธิธรรมกาย โครงการต่างๆ ที่ได้ดำริขึ้น เพื่อการฟื้นฟูศีลธรรมโลก และ สร้างสันติภาพภายนอกด้วยเริ่มต้นจากสันติสุขภายใน ด้วยการสอนสมาธิ เพื่อให้เข้าถึงศูนย์กลางกาย และเข้าถึงพระธรรมกายภายในตัวเป็นการเผยแผ่พระพทุธศาสนาเชิงรุก ซึ่งมีรูปแบบที่แปลกแตกต่างจากวิถีเดิมๆ จึงมีคำวิพากษ์วิจารณ์ไปต่างๆ นานา

หลวงพ่อธัมมชโย ท่านได้ให้ข้อคิดว่า เป็นเพราะเรายังอธิบายให้เขาเข้าใจได้ไม่ดีพอ จึงยังมีผู้ไม่เข้าใจอยู่บ้าง 

หนังสือเล่มนี้ ทำหน้าที่ 2 ประการ คือ
1. พยายามอธิบายว่าหลวงพ่อธัมมชโย ทำอะไร เพื่องานทำนุบำรุง และเผยแผ่พระพุทธศาสนาบ้าง ซึ่งรวบรวมเบื้องต้นได้ 100 กว่าโครงการ ทั้งในและต่างประเทศทั่วโลก
2. โครงการต่างๆ ที่ทำขึ้นมาทั้งหมดนั้น มิได้มีเจตนาอื่นใดเลย เป็นไปเพื่อเผยแผ่พระพุทธศาสนาวิชชาธรรมกายไปทั่วโลก มุ่งสอนสมาธิให้ทุกคนได้ปฏิบัติธรรมเพื่อให้เข้าถึงพระธรรมกายภายในตัว ที่มีอยู่ในมนุษย์ทุกคน เพื่อให้ทุกคนได้พบกับคำว่า “สันติภาพภายนอกเริ่มจากสันติสุขภายใน” นั่นเอง

 ยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคล Total Execution Time: 0.0013873338699341 Mins