ธัมมัญญุตา

วันที่ 28 กค. พ.ศ.2560

ธัมมัญญุตา
(ความเป็นผู้รู้จักธรรม หรือ ความเป็นผู้รู้จักเหตุ)

พุทธธรรม 2 , Dhamma , Pre-Degree , วัดพระธรรมกาย , DOU , ธรรมกาย , ปริญญาตรี , พรีดีกรี , พระพุทธศาสนา , พุทธศาสตร์ , พระไตรปิฎก , พระสัมมาสัมพุทธเจ้า , ธัมมัญญุตา  (ความเป็นผู้รู้จักธรรม หรือ ความเป็นผู้รู้จักเหตุ) , ธัมมัญญุตา

     สัปปุริสธรรม 7 หรือ วิธีสร้างคนดีที่โลกต้องการ 7 ประการนี้ พระสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสสอนไว้ในหัวข้อธรรมที่มีชื่อว่า "ธัมมัญญูสูตร" ซึ่งมีวิธีการฝึกอย่างเป็นขั้นเป็นตอนไปตามลำดับจากง่ายไปยาก เราจะได้มาศึกษากันไปทีละขั้นตอนอย่างละเอียด โดยเริ่มจากขั้นตอนที่ 1 คือ การฝึกให้เป็นธัมมัญญูบุคคล

        พระสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสถึงวิธีการฝึกตนเองให้เป็นธัมมัญญูบุคคล ไว้ดังนี้

       "ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็ภิกษุเป็นธัมมัญญูอย่างไร ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมรู้ธรรม คือ สุตตะ เคยยะ ไวยากรณะ คาถา อุทาน อิติวุตตกะ ชาตกะ อัพภูตธรรม เวทัลละ หากภิกษุไม่พึงรู้จักธรรม คือสุตตะ... เวทัลละ เราก็ไม่พึงเรียกว่าเป็นธัมมัญญู แต่เพราะภิกษุรู้ธรรม คือ สุตตะ... เวทัลละ ฉะนั้นเราจึงเรียกว่าเป็นธัมมัญญู ด้วยประการฉะนี้."

      คำว่าย่อมรู้ธรรมนั้น "ธรรม" ในที่นี้พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงหมายถึง ธรรมที่พระองค์ทรงสอนให้สรรพสัตว์เข้าถึง ในส่วนที่เป็นกุศลธรรม ซึ่งเป็นธรรมชาติอันบริสุทธิ์อยู่ภายในตัวมนุษย์ทุกคน ถ้าใครเข้าถึงธรรมนี้ได้ จะทำให้คนนั้นมีกาย วาจา ใจ ใสะอาดบริสุทธิ์ซึ่งเป็นเหตุให้หลุดพ้นจากความทุกข์ทั้งปวง

       ธรรมชาติอันบริสุทธิ์ พระพุทธองค์ทรงเรียกว่า "สัจธรรม" ซึ่งเป็นธรรมที่พระองค์ได้ตรัสรู้มาแล้วจึงนำธรรมนั้นมาเทศนาสั่งสอนต่อไปเรียกว่า "เทศนาธรรม" เมื่อผู้ฟังนำธรรมนั้นไปปฏิบัติเพื่อขัดเกลากาย วาจา ใจ จนกลายเป็นนิสัยรักศีล รักธรรม รักบุญ กลัวบาปขึ้นมาในใจ ก็เรียกว่า "ศีลธรรม"

        สำหรับคำว่า "ธัมมัญญู หรือ ผู้รู้ธรรม" ในที่นี้หมายถึงการรู้จัก "เทศนาธรรม" ทั้งนี้เนื่องจากว่า ธรรมะที่พระองค์ทรงเทศน์มาตลอด 45 พรรษานั้น มีความหลากหลายแตกต่างกันไป ขึ้นอยู่กับพื้นฐานของผู้ฟังว่ามีจริตอัธยาศัย มีพื้นฐานความรู้หรือความถนัดอย่างไร ยกตัวอย่างเช่น บางครั้งผู้ถามถามในรูปแบบของโคลง ฉันท์ กาพย์ กลอน พระองค์ก็จะเทศน์สอนกลับไปในลักษณะเดียวกัน และบางครั้งก็มีรูปแบบการเทศน์เฉพาะแบบไป เช่น สอนในส่วนที่เป็นข้อบังคับ เรียกว่า วินัย หรือบางครั้งก็เทศน์โดยใช้วิธีระลึกชาติมาตรัสเล่าให้ฟัง ซึ่งรูปแบบการเทศน์ที่แตกต่างกันอย่างนี้ พระองค์ทรงจำแนกออกเป็น 9 ประเภท ได้แก่สุตตะ เคยยะไวยากรณะ คาถา อุทาน อิติวุตตกะ ชาตกะ อัพภูตธรรม และเวทัลละ

       คำสอนทั้ง 9 ประเภทนี้ เรียกอีกอย่างว่า "นวังคสัตถุศา น์" ซึ่งเป็นธรรมะทั้งหมดที่พระองค์ทรงเทศนาไว้ในครั้งพุทธกาล ธรรมะเหล่านี้ พระภิกษุที่ได้ยินได้ฟังช่วยกันทรงจำเอาไว้และถ่ายทอดบอกต่อกันมาจากรุ่นสู่อีกรุ่นเรื่อยไป จนกระทั่งกลายมาเป็นพระไตรปิฎกในยุคปัจจุบัน ซึ่งมีด้วยกัน 3 ปิฎก คือ

     1. พระวินัยปิฎก รวบรวมเรื่องวินัย หรือศีลของพระภิกษุและภิกษุณี ซึ่งในที่นี้ก็คือธรรมะบางส่วนในสุตตะ

    2. พระสุตตันตปิฎก รวบรวมเรื่องพระธรรมเทศนาทั่ว ๆ ไป ซึ่งในที่นี้ได้แก่ธรรมะบางส่วนในสุตตะและไวยากรณะ กับเคยยะ คาถา อุทาน อิติวุตตกะ ชาตกะ อัพภูตธรรม และเวทัลละ

     3. พระอภิธรรมปิฎก รวบรวมเรื่องธรรมะล้วน ๆ ที่เป็นปรมัตถธรรม ซึ่งในที่นี้ก็คือส่วนที่เป็น ไวยยากรณะ

      ดังนั้น การรู้ธรรมในปัจจุบัน จึงหมายถึง การรู้ธรรมะที่มีอยู่ในพระไตรปิฎกนั่นเอง


จุดมุ่งหมายของการรู้จักธรรม
    การได้ศึกษาธรรมะของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าที่มีอยู่ในพระไตรปิฎก ก็เพื่อรู้ให้ได้ว่าพระองค์ทรงสอนอะไรบ้าง จะได้นำความรู้นั้นมาเป็นกรอบในการดำเนินชีวิตได้อย่างถูกต้องตรงทาง คืออย่างน้อยก็ได้สร้างบุญบารมี ทำความดีตามที่พระองค์ทรงสอนไว้ และไม่พลาดไปทำบาปกรรมความชั่วทั้งหลาย ที่พระองค์ทรงห้ามไว้ไม่ให้กระทำ

     นอกจากนั้น หากพระภิกษุศึกษาพระไตรปิฎกด้วยความแยบคายแล้ว ก็ควรจะสรุปหลักธรรมหรือสาระสำคัญออกมาให้ได้ ดังต่อไปนี้ เป็นต้น

     1. ได้ความรู้ความเข้าใจในความจริงของโลกและชีวิต ว่าทุกสรรพสิ่งไม่ว่าตัวเราหรือสิ่งใด ๆ ล้วนมีเกิดขึ้น ตั้งอยู่ และเสื่อมสลายไปเป็นธรรมดา ซึ่งเราเรียกกันว่ากฎไตรลักษณ์เมื่อรู้ความจริงอย่างนี้แล้ว ก็จะเป็นเหตุให้เกิดความเบื่อหน่าย ใจจะคลายจากความยึดมั่นถือมั่นเกิดความมุ่งมั่นที่จะสร้างแต่ความดี ซึ่งเป็นสิ่งเดียวที่เราควรต้องกระทำ เพื่อให้เกิดเป็นบุญกุศลติดตัวไปชาติหน้าได้

      2. ได้ความรู้ความเข้าใจในหลักกฎแห่งกรรม ที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงตอกย้ำอยู่เป็นประจำ ว่าทำดีย่อมได้ดีจริง ทำชั่วย่อมได้ชั่วจริง ซึ่งเรื่องเหล่านี้ พระองค์ทรง สอนไว้ในหลายแห่งด้วยกัน เช่น ในเรื่องที่เป็นชาดกนั้น พระองค์จะทรงระลึกชาติแต่หนหลังมาตรัสเล่าให้ฟังไว้ ซึ่งก็จะทำให้เกิดความละอาย และเกรงกลัวต่อผลของบาป นอกจากนี้ยังทำให้พระภิกษุอยากทำแต่ความดี และหลีกห่างจากความชั่วทั้งปวง

      3. ได้รู้หลักของอริยสัจ 4 ว่าการเกิดของเรานี้เป็นเหตุให้มีความทุกข์ เช่น มีความแก่ ความเจ็บ ความตาย มีความเศร้าโศกเสียใจ คับแค้นใจต่าง ๆ นานา และรู้ต่อไปว่าความทุกข์เกิดขึ้นมาเพราะมีเหตุ คือกิเล ตัณหาที่ฝังอยู่ในใจ ซึ่งพระสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสว่า เราสามารถกำจัดกิเลสได้ โดยทรงแนะนำวิธีไว้ที่เรียกว่ามัชฌิมาปฏิปทาหรือการศึกษาในศีลสมาธิ ปัญญา นั่นเอง ความรู้อย่างนี้จะช่วยให้พระภิกษุเกิดความเพียรพยายามที่จะทำตามคำสอนของพระพุทธองค์ให้ยิ่ง ๆ ขึ้นไป

      4. ได้เห็นวิธีการสร้างบารมีของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า เช่นเรื่องราวที่มีอยู่ในพระไตรปิฎกส่วนที่เรียกว่า ชาดก อปทาน พุทธวงศ์ หรือจริยาปิฎก เป็นต้น ในเรื่องเหล่านั้น พระองค์ทรงเล่าถึงการสร้างบารมีในอดีตชาติของพระองค์เอง ซึ่งช่วยให้พระภิกษุเห็นถึงวิธีการสร้างบารมีได้อย่างชัดเจน ได้รู้ว่ากว่าที่เราจะสามารถหมดกิเลสตามพระองค์ไปได้ เราต้องสร้างบารมีทั้ง 10 ทัศ ให้เต็มเปียมบริบูรณ์ เมื่อทราบอย่างนี้ พระภิกษุก็จะมีกำลังใจที่จะมุ่งมั่นสั่งสมบุญบารมีเรื่อยไป เพื่อสักวันหนึ่งบารมีจะได้เต็มเปี่ยมบริบูรณ์

       ดังนั้น จึงสรุปจุดมุ่งหมายของการรู้จักธรรมได้ว่า เพื่อให้พระภิกษุรู้ว่าพระพุทธองค์ทรงสอนอะไร และเพื่อให้เกิดความรู้ความเข้าใจ ที่พร้อมจะนำไปประพฤติปฏิบัติตามให้ได้อย่างสมบูรณ์


วิธีการรู้จักธรรม
เราแบ่งออกเป็น 2 วิธีการใหญ่ ๆ คือ
       1. สมัยพุทธกาล พระภิกษุเรียนรู้ธรรมด้วยการ "ฟัง" จากพระสัมมาสัมพุทธเจ้าโดยตรงเมื่อฟังแล้วก็ทรงจำไว้ และถ่ายทอดบอกต่อกันไปในหมู่พระภิกษุด้วยกัน ซึ่งการเรียนรู้ด้วยวิธีนี้พระภิกษุจะต้องหมั่นเข้าไปเฝ้าพระพุทธองค์ หรือในกรณีไม่ได้อยู่ในที่ที่พระองค์ประทับ พระภิกษุก็ต้องหมั่นเข้าไปหาพระอุปัชฌาย์ อาจารย์ หรือเรียนรู้ผ่านเพื่อนสหธรรมิกผู้ทรงธรรม วิธีการเรียนรู้ธรรมในยุคนั้น ดีที่สุดคือการหมั่นเข้าไปหาท่านผู้รู้แล้วเรียนเอา

      2. สมัยปัจจุบัน ดังที่ได้กล่าวไปแล้วว่า การรู้จักธรรมก็คือการศึกษาพระไตรปิฎก ซึ่งในกรณีนี้พระภิกษุจะต้องเรียนรู้ด้วยวิธี "อ่าน" แต่เพียงอย่างเดียว เพราะพระไตรปิฎกปัจจุบันล้วนอยู่ในรูปของคัมภีร์หรือหนังสือ หรือแม้แต่ที่จัดทำอยู่ในรูปของสื่อสมัยใหม่ เช่น ในแผ่น ที่ใช้กับเครื่องคอมพิวเตอร์ ก็ล้วนแต่ต้องใช้การอ่านเช่นเดียวกัน ดังนั้นจึงเป็นสิ่งที่น่าสนใจว่าพระภิกษุจะอ่านอย่างไรจึงจะเข้าใจได้อย่างรวดเร็ว

       มีข้อแนะนำสำหรับการอ่านคัมภีร์พระไตรปิฎกในเบื้องต้นว่า

    1. ต้องมีความเพียรพยายาม และต้องขยันอ่านให้ได้ต่อเนื่องเรื่อยไป คือ แม้บางครั้งจะอ่านได้น้อยก็ไม่เป็นไร แต่ขอให้อ่านให้ได้สม่ำเสมอเป็นประจำ

    2. ต้องพยายามทำความเข้าใจศัพท์ที่ไม่เข้าใจให้ได้บ่อย ๆ หากไม่เข้าใจสามารถค้นหาได้จากพจนานุกรม เพราะความเข้าใจในศัพท์เหล่านั้น จะช่วยให้เข้าใจสิ่งที่อ่านได้มากขึ้นและยิ่งรู้ศัพท์มากเท่าไร ความเร็วและความเข้าใจในการอ่านก็จะมากขึ้นตามไปด้วยเช่นกัน

      3. เมื่ออ่านแล้วต้องสรุปใจความให้ได้ ทั้งนี้เพื่อให้เกิดความคิดรวบยอด หรือข้อสรุปตามที่ตนเข้าใจ ซึ่งจะช่วยให้สามารถจำธรรมะที่อ่านได้ง่าย เพราะเกิดจากความเข้าใจ ไม่ใช่เกิดจากการท่องจำ

     4. บางครั้งอาจต้องเทียบเคียงพระไตรปิฎกเล่มที่อ่านกับเล่มอื่น ๆ ที่แตกต่างกันบ้างเช่นอาจต้องเทียบฉบับภาษาไทยกับต้นฉบับภาษาบาลี หรือฉบับภาษาไทยกับภาษาไทย ที่ผู้แปลเป็นคนละคนกัน ทั้งนี้เพื่อเทียบเคียงความถูกต้อง โดยเฉพาะในส่วนที่เกิดข้อ งสัย หรือที่ความเห็นของผู้แปลแตกต่างกันออกไป ก็จะช่วยให้ได้ข้อมูลที่ถูกต้องยิ่งขึ้น

        5. ควรสอบทานความเข้าใจในส่งที่อ่านกับผู้ที่รู้มากกว่าเรา

      6. ควรมีสมาธิในการอ่าน ซึ่งถ้าจะให้ได้ผลดี อาจนั่งสมาธิให้ใจสงบสบายก่อนที่จะอ่านเพราะธรรมะของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเป็นของลุ่มลึก ละเอียดอ่อน ผู้ที่มีใจใสจะสามารถอ่านได้เข้าใจมากกว่า

      สำหรับวิธีการรู้ธรรมด้วยการอ่าน ถ้าหากต้องการให้ได้ผลดี ก็คงหนีไม่พ้นการเรียนรู้ด้วยวิธี"ฟัง" เพราะไม่ว่าจะอ่านอย่างไร ในที่สุดแล้วก็จะเกิดข้อสงสัยในที่ใดที่หนึ่งอย่างแน่นอนเพราะเหตุนั้น การหมั่นเข้าไปหาผู้รู้เพื่อฟังธรรมดังเช่นครั้งพุทธกาล จึงเป็นวิธีการเรียนรู้ที่ยังเหมาะสมอยู่ดี

     เมื่อทราบว่าการฟังมีประโยชน์อย่างนี้แล้ว จึงเป็นหน้าที่ของพระภิกษุที่ต้องหมั่นเข้าหาผู้ที่จะแนะนำธรรมะให้ตนเองได้ เพราะการฟังเป็นเหตุให้เกิดปัญญา ซึ่งพระสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสไว้ใน ปัญญาวุฑิสูตร มีใจความว่า วิธีทำให้เรามีปัญญาหรือมีความเข้าใจที่ลึกซึ้งในเรื่องที่ได้ศึกษานั้น มีอยู่ 4 ประการ คือ

     1. การคบสัตบุรุษ หมายถึง การหมั่นเข้าหาคนดี มีคุณธรรม มีปัญญา ซึ่งในที่นี้หมายถึงการ "หาครูดี" ให้พบ

    การมีครูที่ดี ย่อมทำให้เรามีความก้าวหน้าในการศึกษาได้เป็นอย่างดี เพราะครูจะเป็นผู้ที่คอยชี้แนะแนวทาง รวมทั้งให้คำแนะนำสั่งสอน เพื่อจะได้ปฏิบัติได้ถูกต้องดีงาม ครูเป็นผู้ช่วยแก้ปัญหาคลายความสงสัยต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นจากการศึกษา ทำให้เรามีความก้าวหน้าสามารถพัฒนาความรู้และพันาคุณธรรมจากการฝึกฝนอบรมตนเองได้อย่างรวดเร็ว อีกทั้งครูยังเป็นต้นแบบในการทำความดีต่าง ๆ เป็นผู้คอยให้กำลังใจและสนับสนุนให้เราประสบความสำเร็จในการศึกษา

   การได้อยู่ใกล้ครูบาอาจารย์ที่ฝึกตัวมาดีจึงมีความสำคัญต่อการฝึกฝนตนเองอย่างมากดังเช่นในครั้งพุทธกาล พระสัมมาสัมพุทธเจ้าก็ทรงเห็นความสำคัญของการมีครูบาอาจารย์มาช่วยอบรมสั่งสอน จึงทรงบัญญัติให้พระนวกะ คือ พระผู้บวชใหม่ที่ยังไม่ได้ 5 พรรษา ต้องมีพระอุปัชฌาย์คอยอบรมสั่งสอนให้การดูแลอย่างใกล้ชิด ที่เรียกว่า "การถือนิสัย" คือ ขอให้พระอุปัชฌาย์เป็นที่พึ่งที่อาศัยของตน ทำหน้าที่ปกครองสั่งสอน ให้คำแนะนำในข้อวัตรปฏิบัติต่างๆ เพื่อการเป็นพระภิกษุที่ดีนั่นเอง

     2. การฟังพระสัทธรรม ในที่นี้หมายถึง "เชื่อฟังคำสอนของครู" เพราะเมื่อพบครูที่ดีแล้ว ก็ต้องหมั่นเข้าไปใกล้ เพื่อจะได้ฟังธรรม เมื่อฟังแล้วต้องสรุปให้ได้ว่าสิ่งที่ครู สอนมานั้นคือ "อะไร (What)" เพื่อที่ความเข้าใจจะได้ถูกต้องตรงทาง

      การเข้าไปฟังคำสอนของครูต้องทำด้วยความเคารพ เอาใจใส่ต่อการศึกษานั้น แสดงความพร้อมที่จะรับฟังคำสั่งสอนจากครูบาอาจารย์ ท่านจะได้เกิดความเมตตา ผู้เรียนเองก็จะได้ประโยชน์จากการศึกษาอย่างเต็มที่ และสำหรับการเป็นผู้เรียนที่ดี จำเป็นต้องมีคุณสมบัติดัง
ต่อไปนี้ คือ

1. ไม่ดูแคลนหัวข้อธรรมที่ท่านแสดงว่าง่ายเกินไป
2. ไม่ดูแคลนความรู้ความสามารถของผู้แสดงธรรม
3. ไม่ดูแคลนว่าตนเองโง่จนไม่สามารถรองรับธรรมได้
4. มีใจเป็นสมาธิขณะฟังธรรม
5. มีโยนิโสมนสิการ พิจารณาโดยแยบคาย คือ จับแง่คิดเป็น

     การเรียนด้วยความเคารพในการศึกษา จะทำให้ใจของเรามีความพร้อมที่จะรับการถ่ายทอดความรู้ที่ครูนำมาสอนได้เป็นอย่างดี ครูผู้สอนก็จะสามารถถ่ายทอดความรู้ความสามารถได้อย่างเต็มที่ อุปมาเหมือนผู้เรียนเป็นแก้วน้ำที่ว่างเปล่าปราศจากสิ่งใด ๆ เมื่อวางอยู่ในจุดที่ต่ำกว่า ย่อมสามารถรองรับน้ำจากภาชนะที่อยู่สูงกว่าได้อย่างเต็มที่

      3. การทำในใจโดยแยบคาย ในที่นี้หมายถึง การนำสิ่งที่ได้ยินได้ฟังมา "ไตร่ตรองคำครู" ทั้งนี้เพื่อพินิจพิจารณาหาเหตุหาผลว่า "ทำไม (Why)" ซึ่งจะเป็นต้นทางให้การทำในใจโดยแยบคาย หรือโยนิโสมนสิการ เจริญขึ้นมา

     การพิจารณาไตร่ตรองหาเหตุและผลแห่งธรรม ว่าเหตุเช่นนี้จะทำให้เกิดผลอย่างไร หรือผลอย่างนี้มีสาเหตุมาจากการกระทำอย่างไร จะทำให้ปัญญาแตกฉาน เข้าใจนัยต่าง ๆ ได้ลึกซึ้งยิ่งขึ้นเป็นอย่างดี

    4. การปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรม ในที่นี้หมายถึง การ "ทำตามครู" ซึ่งหมายถึงผู้เรียนต้องมีความรู้ความเข้าใจในระดับที่สรุปได้ว่า จะนำความรู้ไปปฏิบัติได้ "อย่างไร (How)"ในชีวิตจริง

     จากหลักธรรมทั้ง 4 ประการดังกล่าว จะช่วยให้เห็นแนวทางในการศึกษาหลักธรรมต่าง ๆ ให้เข้าใจ ว่าจำเป็นต้องมีครูบาอาจารย์มาเป็นกัลยาณมิตรชี้ทางสว่างให้ แม้ในปัจจุบัน

     พระสัมมาสัมพุทธเจ้าและเหล่าพระอรหันต์จะปรินิพพานไปนานแล้วก็ตาม แต่พระภิกษุผู้เป็นทายาทแห่งธรรมที่มีข้อวัตรปฏิบัติอันงดงามยังมีอยู่ ดังนั้นนักศึกษาจึงควรแสวงหาครูบาอาจารย์ที่ดี เมื่อพบแล้วก็รีบไป มัครตัวเป็นศิษย์ของท่าน ตั้งใจศึกษาฟังธรรมสอบถามในสิ่งที่ยังไม่เข้าใจ แล้วหมั่นนำมาขบคิดพิจารณาไตร่ตรองหาเหตุและผลของธรรมนั้น แล้วนำไปปฏิบัติให้สมควรแก่ธรรม ก็จะทำให้ปัญญาเจริญก้าวหน้าไปอย่างรวดเร็ว

       อีกนัยหนึ่งของคำว่าย่อมรู้ธรรม หรือ รู้จักธรรม ก็คือ รู้จักเหตุ นั่นเอง ดังที่พระมติสมเด็จพระมหา มณเจ้า กรมพระยาวชิรญาณวโรร ได้ทรงนิพนธ์ไว้ในหนังสือนวโกวาท ซึ่งเป็นหลักสูตรนักธรรมตรี ของ นามหลวง ตอนหมวด 7 หน้า 53 ว่า "1.ธัมมัญญุตา ความเป็นผู้รู้จักเหตุ เช่น รู้ว่าสิ่งนั้นเป็นเหตุแห่งสุขสิ่งนี้เป็นเหตุแห่งทุกข์" และดังที่ท่านเจ้าคุณพระธรรม นิเทศทวยหาญ (อยู่ อุดมศิลป ป.ธ.9) ซึ่งเป็นอนุศา นาจารย์คนแรกแห่งประเทศไทย และเป็นผู้แตกฉานทางธรรม ได้ให้คำตอบไว้ชัดแล้วว่า "ธรรมเป็นข้อ ๆ ที่เราเรียกกัน ที่แท้ก็คือ "ตัวเหตุ" นั่นเอง คือจะให้เกิดผลไปข้างหน้า" ดังนั้น คำว่า "ธัมมัญญุตา" ในสัปปุริสธรรมที่แปลว่า ความรู้จักธรรม ก็คือ ความรู้จักเหตุ หรือ ความเป็นผู้รู้จักเหตุ นั่นเอง

  ความเป็นผู้รู้จักเหตุ จึงหมายถึง รู้จักศึกษาและรู้จักวิเคราะห์ถึงสาระสำคัญในธรรมะหรือสาเหตุของสถานการณ์ต่าง ๆ และความเป็นไปของชีวิต ต้องแม่นหลักวิชาทั้งทางธรรมและทางโลกที่ตนเข้าไปเกี่ยวข้อง ครั้นเมื่อเห็นเหตุการณ์อย่างใดอย่างหนึ่งแล้วสามารถคาดการณ์ล่วงหน้าได้ว่าจะเกิดผลดีหรือเสียอย่างไร โดยไม่ดูเบาในเหตุการณ์

     สำหรับการเป็นธัมมัญญูหรือความเป็นผู้รู้จักเหตุนั้น พระสัมมาสัมพุทธเจ้ามุ่งหมายให้พระภิกษุได้รู้จักศึกษาธรรมะอันเป็นความจริงของชีวิตในพระไตรปิฎกหรืออย่างน้อยที่สุดก็ต้องรู้จักศึกษาหนังสือธรรมะต่าง ๆ ให้มาก เพื่อที่จะได้เป็นผู้ที่มีหลักการชัดเจน มีหลักวิชาแน่นจะได้ไม่คิด พูด ทำ แบบผิด ๆ ถูก ๆ ซึ่งจะทำให้ความอาจหาญมั่นใจหมดไป เพราะจะผวาว่าสิ่งที่ตนคิด พูด ทำ ลงไปแล้วนั้นผิดหรือถูกกันแน่ และเมื่อความรู้ไม่แน่นแล้วก็จะไม่สามารถเป็นกัลยาณมิตรให้กับคนอื่นได้ ถึงจะหลับตาทำสมาธิได้ ก็แค่เป็นกัลยาณมิตรให้กับตัวเอง แต่ว่าจะเป็นกัลยาณมิตรให้กับผู้อื่นนั้นยังไม่พอ ต้องมีความรู้มากพอที่จะนำไปถ่ายทอดได้

     คนที่หลักวิชาแน่นแล้วดีอย่างไร ทำไมพระสัมมาสัมพุทธเจ้าจึงเรียกว่าเป็นบุคคลรู้จักเหตุ เพราะคนประเภทนี้เห็นเหตุการณ์ใดต่อหน้าต่อหน้าแล้ว ก็สามารถพยากรณ์ได้เลยว่าผลอะไรจะเกิดต่อไปในอนาคต พยากรณ์ได้เลยทันทีประเด็นอยู่ตรงนี้ คือเป็นคนมองปัญหาออกนั่นเอง เห็นอะไรเข้าบอกได้เลยว่าจะมีผลอะไรเกิดขึ้นตามมาในอนาคต เช่น เห็นเด็กนอนตื่นสายก็สามารถบอกได้เลยว่า ต่อไปเจ้าเด็กคนนี้จะเป็นคนขี้หงุดหงิดเจ้าอารมณ์ เถียงพ่อ เถียงแม่เก่ง ดีไม่ดีด่าเก่งอีกด้วย จะเป็นคนชอบผัดวันประกันพรุ่ง จะเป็นคนสะเพร่า เพราะอะไรเพราะติดนิสัยงัวเงียขี้เซาตั้งแต่เล็ก พอใครไปปลุกแต่เช้าก็ทำให้นอนไม่เต็มอิ่ม ก็เลยชอบแก้ตัวไปผัดวันประกันพรุ่งไป อารมณ์ก็เสีย พอติดนิสัยตื่นสายนานเข้า ๆ ก็เริ่มเถียงพ่อเถียงแม่เก่ง
โตขึ้นมาเมื่อไปถึงไหนกับพวกเพื่อนฝูงปากก็จะจัดจ้าน ในที่สุดแต่งงานแต่งการไปแล้ว ยังนอนดึกตื่นสายไม่เลิก เดี๋ยวเหตุหย่าร้างก็ตามมา

      อีกอย่าง เมื่อหลักวิชาแน่นเสียแล้ว การเตรียมงานทำอะไรก็จะรัดกุม พอจับงานใดก็อ่านงานออกได้หมด อ่านออกมองเห็นเป็นช่องทางว่าต้องทำอะไรอย่างไร แต่ละครั้งที่วางแผนงานสามารถมองได้ทะลุเลยว่า ทำงานครั้งนี้เราจะต้องเชิญใคร ฝ่ายฆราวา ใคร ฝ่ายสงฆ์ใคร ฝ่ายบ้านเมืองใคร เราจะสามารถกำหนดกฎเกณฑ์ได้เลยว่าต้องอย่างนั้นอย่างนี้เพราะอะไร การประชาสัมพันธ์เราจะต้องทำอย่างไรบ้าง ขั้นตอนจะไหลออกมาตลอด เพราะว่าหลักวิชาแน่น

     และถึงแม้ว่าเราจะไม่ได้เรียนอะไรมามากมายอย่างคนอื่น แต่ก็ทำให้หลักวิชาแน่นได้ คือต้องหัดเรียนรู้ เรียนรู้จากอะไร ก็เรียนรู้จากงานที่ทำอยู่ทุกวัน ต้องหมั่นสังเกตทุกอย่างรอบตัวแล้วก็พินิจพิจารณาเอาว่าทำอย่างไรผลมันถึงออกมาดี เมื่อทำได้อย่างนี้ เราก็สามารถพัฒนาตนให้เป็นธัมมัญูกับเขาได้เช่นกัน

      สรุปว่า การจะเป็นธัมมัญญูบุคคล (ความเป็นผู้รู้จักธรรม หรือ ความเป็นผู้รู้จักเหตุ)ได้นั้น ต้องประกอบด้วย

       1.จะต้องศึกษาหรือได้อ่านพระไตรปิฎกทั้งหมด

      2.เมื่ออ่านแล้ว ควรจะสรุปหลักธรรมสำคัญในพระพุทธศาสนาได้ เช่น หลักกฎแห่งกรรม หรือ วิธีการสร้างบารมีของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า เป็นต้น เพื่อที่ว่าจะได้ทรงจำธรรมะที่เรียนรู้มาได้อย่างแม่นยำพร้อมนำไปใช้ได้ ทำให้มีหลักวิชาแน่น

    3.ควรจะมีความเห็นที่ถูกต้อง หรือมีสัมมาทิฏฐิยิ่งๆ ขึ้นไป รวมทั้งเกิดความเลื่อมใสเชื่อมั่นในพระปัญญาตรัสรู้ธรรมขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเพิ่มมากขึ้น

       เมื่อพระภิกษุฝึกได้อย่างนี้แล้ว พระพุทธองค์จึงจะทรงรับรองว่า

"ฉะนั้นเราจึงเรียกว่าเป็นธัมมัญญู ด้วยประการฉะนี้"


การฝึกให้เป็นธัมมัญูสำหรับฆราวาส

จุดมุ่งหมาย
     แม้ว่าการใช้ชีวิตของฆราวา ผู้ครองเรือนจะมีภารกิจต่าง ๆ มากมาย เป็นเหตุให้มีเวลาศึกษาธรรมะได้น้อยกว่าพระภิกษุก็ตาม แต่ถึงอย่างนั้น ก็ต้องเพียรพยายามศึกษาธรรมะ
ที่จำเป็นแก่การดำเนินชีวิตของตนเอง

     ดังที่ได้กล่าวไว้ว่า ฆราวาสคงมีเป้าหมายชีวิตอยู่ 2 ระดับด้วยกัน คือ การประสบความสำเร็จในชาติปัจจุบัน และการมีสุคติโลกสวรรค์เป็นที่ไป เพราะเหตุนั้น ความเข้มงวดกวดขันหรือการฝึกปฏิบัติเพื่อขัดเกลา กาย วาจา ใจ คงไม่สามารถทำได้เหมือนกับที่พระภิกษุกระทำฆราวาสจึงต้องนำหลักธรรมไปปรับใช้ โดยมีจุดมุ่งหมายอยู่ที่การได้สั่งสมบุญบารมี ควบคู่ไปกับการทำภารกิจหน้าที่การงานในชีวิตประจำวัน ซึ่งข้อปฏิบัติที่เหมาะสม ก็คือ การทำทาน รักษา ศีล และเจริญสมาธิภาวนา ทั้งนี้เพราะว่าสามารถทำได้เป็นประจำทุกวัน อีกทั้งยังเป็นการสั่ง มบุญบารมี ที่จะเกื้อกูลให้ได้รับประโยชน์สุขทั้งในโลกนี้และโลกหน้า โดยเฉพาะถ้าหมั่นปฏิบัติเพื่อขัดเกลากิเล ภายในใจ คือ หมั่นทำทานเพื่อกำจัดความโลภทั้งหลาย หมั่นรักษาศีลเพื่อกำจัดโทสะภายใน และหมั่นนั่งสมาธิกลั่นใจให้ใสสะอาด เพื่อกำจัดความไม่รู้หรือโมหะให้สิ้นไป กาย วาจา และใจก็จะบริสุทธิ์ผ่องใสผลสุดท้ายก็จะหมดกิเลสได้เช่นเดียวกับพระภิกษุเหมือนกัน


ตัวอย่างหลักธรรมสำคัญที่ควรศึกษา
     หลักธรรมที่ฆราวาสควรศึกษาก็คือพระไตรปิฎกเช่นกัน แต่หากไม่สามารถทำได้อย่างจริงจัง เพราะต้องทำภารกิจการงาน อย่างน้อยควรเลือกศึกษาหลักธรรมสำคัญ ๆ ที่จะเป็นประโยชน์กับการสร้างบุญบารมีในวิถีชีวิตของตนเอง ตัวอย่างเช่น

      1. ทาน ศีล ภาวนา เพราะจะช่วยให้เกิดความรู้ความเข้าใจ ในระดับที่สามารถนำไปปฏิบัติให้เกิดผลได้อย่าง สมบูรณ์

     2. ประวัติการสร้างบารมีของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า เพราะจะทำให้เห็นวิธีการที่พระองค์ทรงใช้สร้างบุญบารมี เมื่อศึกษาแล้ว ย่อมก่อให้เกิดกำลังใจ รวมทั้งจะได้อาศัยพระองค์เป็นต้นแบบในการดำเนินชีวิต

      3. สัมมาทิฏฐิ เพื่อเป็นการตอกย้ำความเข้าใจในความจริงของโลกและชีวิต จะทำให้ไม่ประมาท เพราะทราบว่าเราเกิดมาเพื่อสร้างบุญบารมี เพื่อความสุขทั้งในโลกนี้ โลกหน้า ไปจนกว่าจะหมดกิเลสเข้าสู่พระนิพพาน

      4. กฎแห่งกรรม จะทำให้เราเกิดหิริ โอตตัปปะ คือ ความละอายและเกรงกลัวต่อบาปกรรม ซึ่งจะทำให้อยากทำแต่ความดี เพราะรู้ว่าการประกอบเหตุที่ดี ก็ย่อมได้รับผลตอบแทนที่ดีเช่นกัน เช่น รู้ว่าการทำทานทำให้เรามีโภคทรัพย์สมบัติมาก การรักษาศีลทำให้มีร่างกายแข็งแรง อายุยืนยาว การเจริญสมาธิภาวนาจะทำให้เรามีปัญญามาก เป็นต้น

       สำหรับธรรมะสำคัญอื่น ๆ ก็ควรศึกษาเพิ่มเติมในโอกาสอันควรต่อไป


วิธีการศึกษาธรรมะ
     วิธีการศึกษาธรรมะในยุคปัจจุบันสามารถทำได้สะดวกมากขึ้น เพราะนอกจากจะอ่านจากคัมภีร์พระไตรปิฎกอย่างพระภิกษุแล้ว ปัจจุบันยังมีการผลิตสื่อในรูปแบบต่าง ๆ เพื่อรองรับความต้องการของคนทุกเพศทุกวัย ทั้งหนังสือธรรมะที่มีรูปเล่มสวยงามน่าอ่าน มีเนื้อหาที่หลากหลายสามารถเลือกอ่านได้ตามความสนใจ หรือจะใช้ช่วงเวลาว่างศึกษาธรรมะจากการฟังเทป ฟังจากแผ่น  หรือ 3 ก็ได้ หากต้องการชมภาพและเสียงก็มีสื่อธรรมะที่ผลิตออกมาเป็นวิดีทัศน์ หรือ สื่อต่าง ๆ เหล่านี้สามารถหาซื้อได้ตามร้านหนังสือ หรือสถานที่ปฏิบัติธรรมหลายแห่ง

     นอกจากการศึกษาด้วยวิธีดังกล่าวข้างต้นแล้ว ก็ควรนำหลักของปัญญาวุฑิธรรม 4 ประการมาใช้ โดย

    1.ต้องแสวงหาครูดี คือ ควรหาโอกาสเข้าวัดปฏิบัติธรรม และฟังธรรมจากพระภิกษุผู้ประพฤติธรรมอย่างสม่ำเสมอ หรืออาจเข้าเรียนในหลักสูตรเกี่ยวกับพระพุทธศาสนา เช่น
หลักสูตรธรรมศึกษา เป็นต้น

    2.ต้องหมั่นฟังธรรม คือ ใส่ใจและฟังธรรมโดยเคารพ ขณะฟังธรรมก็ทำใจให้เป็นสมาธิทำใจให้เลื่อมใสศรัทธาต่อผู้แสดงธรรมและต่อธรรมนั้น จดจำธรรมนั้นให้ขึ้นใจ หากมีข้อสงสัยก็ควรซักถามให้เข้าใจถ่องแท้ เพื่อจะได้นำมาปฏิบัติได้อย่างถูกต้อง

      3.ต้องหมั่นพิจารณาไตร่ตรองธรรม เพื่อให้เกิดความเข้าใจอย่างลึกซึ้ง

    4.ต้องปฏิบัติธรรมตามที่รู้มา โดยเฉพาะการทำทาน รักษาศีล และเจริญภาวนา ต้องหมั่นปฏิบัติไม่ให้ขาดเลยแม้สักวันเดียว จนกระทั่งเกิดเป็นนิสัยที่ดีติดตัวไปตลอดชีวิต


ตัวอย่างการนำความรู้เรื่องธัมมัญูไปใช้ปฏิบัติในชีวิตประจำวันสำหรับบุคคลทั่วไป

     รู้จักศึกษาวิเคราะห์ในหลักการกฎเกณฑ์และระเบียบข้อบังคับของสิ่งทั้งหลายที่ตนจะต้องเข้าไปเกี่ยวข้อง ไม่ว่าจะเป็นการดำเนินชีวิต หรือการปฏิบัติภารกิจหน้าที่การงานต่าง ๆ เช่น รู้จักศึกษาว่า ตำแหน่ง ฐานะ อาชีพ การงานของตน มีหน้าที่และความรับผิดชอบอย่างไร มีอะไรเป็นหลักการ จะต้องทำอะไรแค่ไหนอย่างไรบ้าง จึงจะเป็นเหตุให้บรรลุถึงผลสำเร็จตามเป้าหมายที่ตนรับผิดชอบ ตลอดจนรู้จักศึกษาวิเคราะห์หลักความจริงของธรรมชาติของชีวิต เพื่อปฏิบัติต่อโลกและชีวิตอย่างถูกต้องเหมาะสม เพื่อจิตใจจะได้เป็นอิสระ ไม่ตกเป็นทาสของโลกและชีวิตนั้น

     รู้จักว่าการทำความดีเป็นเหตุแห่งความสุข ความขยันเป็นเหตุแห่งความสำเร็จ ความเกียจคร้านเป็นเหตุแห่งความล้มเหลว การทำความชั่วเป็นเหตุแห่งความทุกข์เป็นต้น เมื่อรู้ว่าอะไรเป็นเหตุให้เกิดผลชั่ว แล้วพยายามหลีกเลี่ยง หรือละเหตุที่จะให้เกิดผลชั่ว อะไรเป็นเหตุให้เกิดผลดี ก็หันมาทำแต่เหตุที่จะให้เกิดผลดี

    รู้จักธรรมะ ที่เป็นเหตุให้สามารถใช้เป็นแนวทางในการสอนตนเองและคนอื่นได้ ไม่ใช่เป็นคนหลักลอย มีความเข้าใจและแตกฉานในคำสอนของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าในระดับหนึ่งต้องหาโอกาสศึกษาธรรมะในพระไตรปิฎก ศึกษาจากการฟังธรรมะจากครูบาอาจารย์ หรือจากการอ่านหนังสือธรรมะ เป็นต้น

      ชาวพุทธควรรู้ว่า หลักธรรมเพื่อการสร้างตนให้มีหลักฐานมั่นคงทางเศรษฐกิจ หรือหลักการแสวงหาทรัพย์ในทางที่ชอบคืออะไร มีอะไรบ้าง

    ผู้ปกครองประเทศชาติก็ต้องรู้หลักรัฐศาสตร์ และรู้กฎกติกาของรัฐ คือกฎหมาย ตั้งแต่รัฐธรรมนูญลงมา แล้วก็ยืนอยู่ในหลักการ ตั้งตนอยู่ในหลักการให้ได้ ชุมชนสังคม องค์กรหรือกิจการอะไรก็ตาม ก็ต้องมีหลักการ มีกฎ มีกติกา ที่ผู้นำจะต้องรู้ ต้องชัดเจน แม่นในหลักการ แล้วก็ตั้งมั่นอยู่ในหลักการนั้น

     นักเรียนรู้ว่าจะต้องเรียนอย่างไร ปฏิบัติตัวอย่างไร ถ้าหมั่นขยันศึกษาเล่าเรียนก็จะได้รับความรู้ความเข้าใจในวิชาการต่าง ๆ เมื่อถึงเวลาสอบก็จะสามารถสอบได้คะแนนดี เป็นต้น

 

 

*----------------------------------------------------------------------------------------------------------*
หนังสือ PD 008 พุทธธรรม 2
หนังสือเรียน DOU หลักสูตร Pre-Degree

 

 ยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคล Total Execution Time: 0.0016260981559753 Mins