กัณฑ์ที่ ๐๔ อาทิตตปริยายสูตร

วันที่ 21 ธค. พ.ศ.2560

กัณฑ์ที่ ๐๔
อาทิตตปริยายสูตร

มรดกธรรม , พระมงคลเทพมุนี , ประวัติย่อ พระเดชพระคุณพระมงคลเทพมุนี , สด จนฺทสโร , หลวงปู่วัดปากน้ำ , หลวงพ่อวัดปากน้ำ , สด มีแก้วน้อย , วัดปากน้ำภาษีเจริญ , วัดปากน้ำ , ธรรมกาย , วัดพระธรรมกาย , สมาธิ , กัณฑ์ , ศูนย์กลางกายฐานที่เจ็ด , คำสอนหลวงปู่ , หลวงพ่อสดเทศน์ , เทศนาหลวงพ่อสด , พระธรรมเทศนาพระมงคลเทพมุนี , พระผู้ปราบมาร , ต้นธาตุต้นธรรม , พระเป็น , อานุภาพหลวงพ่อสด , เทปบันทึกเสียงหลวงพ่อวัดปากน้ำ , พระของขวัญ , อาทิตตปริยายสูตร , กัณฑ์ที่ ๐๔ อาทิตตปริยายสูตร

นโม ตสฺส ภควโต อรหโต สมฺมาสมฺพุทธฺธสฺส ฯ  (๓ ครั้ง)

               เอวมฺเมสุตํฯ เอกํ สมยํ ภควา กยายํ วิหรติ คยาสีเส สทฺธํ ภิกฺขุสหสฺเสนฯ ตตฺร โข ภควา ภิกฺขุ อามนฺเตสีฯ

              สพฺพํ ภิกฺขเว อาทิตฺตํฯ กิญฺจ ภิกฺขเว สพฺพํ อาทิตฺตํฯ จกฺขํ ภิกฺขเว อาทิตฺตํ รูป อาทิตฺตา จกฺขุวิญฺญาณํ อาทิตฺตํ จักฺขุสมฺผสฺโส อาทิตฺโต ยมฺปิทํ จกุขุสมฺผสฺสปจฺจยา อุปฺปชฺชติ เวทยิตํ สุขํ วา ทุกฺขํ วา อทุกฺขมสุขํ วา ตมฺปิ อาทิตฺตํฯ เกน อาทิตฺตํฯ อาทิตฺตํ ราคคฺคินา โทคฺคินา โมหคฺคินา อาทิตฺตํ ชาติยา ชรามรเณน โสเกหิ ปริเทเวหิ ทุกฺเขหิ โทมนสฺเสหิ อุปายาเสหิ อาทิตฺตนฺติ วทามิฯ โสตํ อาทิตฺตํ สทฺทา อาทิตฺตา โสตวิญฺญาณํ อาทิตฺตํ โสตสมฺผสฺโส อาทิตฺโต ยมฺปิทํ โสตสมฺผสฺสปจฺจยา อุปฺปชฺชติ เวทยิตํ สุขํ วา ทุกขํ วา อทุกฺขมสุขํ วา ตมฺปิ อาทิตฺตํฯ เกน อาทิตฺตํ ฯลฯ อิมสุมิญฺจ ปน เวยฺยากรณสุมิ ภณฺณฺมาเน ตสฺส ภิกฺขุสหสฺสสฺส อนุปาทาย อาสเวหิ จิตฺตานิ วิมุจฺจํสูติฯ

             ณ บัดนี้อาตมาภาพจักได้แสดงธรรมิกถา เรื่อง ทิตตปริยายสูตร ที่สมเด็จพระผู้มีพระภาค  ทรงแสดงแก่ชฎิลหนึ่งพัน มีปุราณกัสสป นทีกัสสป คยากัสสป เป็นประธาน พระบรมศาสดาจารย์ทรงทรมานชฎิลทั้งหลายเหล่านี้ ได้ทรงทำปาฏิหาริย์มากอย่าง จะทำปาฏิหาริย์สักท่าหนึ่งท่าใด ชฎิลผู้เป็นประธานปุราณชฎิลนั้นก็ยังแย้งว่า สู้ของเราไม่ได้ร่ำไป จนกระทั่งหมดทิฏฐิมานะยอมรับธรรมเทศนาเชื่อต่อพระศาสดา พระองค์จึงได้ทรงแสดงธรรมเทศนาให้ชฎิลละทิฏฐิของตน พร้อมด้วยบริวารทั้งสามพี่น้อง เมื่อยอมรับถือตามคำสอนของพระศาสดาแล้ว เมื่อได้เวลาสมควรพระองค์ก็ทรงแสดงอาทิตตปริยายสูตร แก่ชฏิลทั้งหลายเหล่านั้น มีปุราณชฏิลเป็นต้น อาทิตตปริยายสูตรนี้แสดงของร้อนให้ชฏิลเข้าเนื้อเข้าใจ เพราะชฏิลทั้งหลายเหล่านั้นเคยบูชาไฟมาชำนิชำนาญ ชำนาญในการร้อน พระองค์ทรงแสดงอาทิตตปริยายสูตรเรื่องของร้อนทั้งนั้น

              ตามวาระพระบาลีที่ยกไว้เบื้องต้นว่า
              เอวมฺเม สุตํ        อันข้าพเจ้าพระอานนท์เถระ ได้สดับตรับฟังแล้วด้วยอาการอย่างนี้

              เอกฺ สมยํ           สมัยครั้งหนึ่ง

           ภควา            องค์สมเด็จพระผู้มีพระภาค ทรงเสด็จประทับอยู่ ณ คยาสีสะประเทศ ใกล้แม่น้ำคยา พร้อมด้วยภิกษุหนึ่งพันรูป ทรงรับสั่งเตือนพระภิกษะทั้งหลายเหล่านั้นว่า สพฺพํ ภิกขเว อาทิตฺตํ    ดูกรภิกษุทั้งหลาย สิ่งทังปวงเป็นของร้อน

              กิญฺจ ภิกฺขเว สพฺพํ อาทิตฺตํ     ภิกษุทั้งหลาย สิ่งอะไรเล่าเป็นของร้อน

              จกฺขํ ภิกฺขเว อาทิตฺตํ              นัยน์ตาเป็นของร้อน

              รูปา อาทิตฺตา                        รูปทั้งหลายเป็นของร้อน

              จกฺขุสมฺผสฺโส อาทิตฺโต          ความสัมผัสถูกต้องทางตาเป็นของร้อน

           ยมฺปิทํ จกฺขุสมฺผสฺสปจฺจยา อุปฺปชฺชติ เวทยิตํ      ความรู้สึกอารมณ์มีขึ้นเกิดขึ้นเพราะจักขุสัมผัสเป็นปัจจัยแม้อันใด เป็นสุขบ้าง ทุกข์บ้าง ไม่สุขไม่ทุกข์บ้าง แม้อันนั้นก็เป็นของร้อน

              เกน อาทิตฺตํ              ร้อนเพราะอะไร

            อาทิตฺตํ ชาติยา        ร้อนเพราะชาติ ร้อนเพราะความกำหนัดยินดี ร้อนเพราะความโกรธ  ประทุษร้าย ร้อนเพราะความหลง งมงาม

           อาทิตฺตํ ชรามรเณน     ร้อนเพราะ ชาติความเกิด ชราความแก่ มรณะความตาย โศกความแห้งใจ ปริเทวะความพิไรรำพัน ทุกข์เพราะความไม่สบายกาย โทมนัสเพราะเสียใจ อุปายาสเพราะความคับแค้นใจ เราจึงกล่าวว่าเป็นของร้อน

              โสตํ อาทิตตฺตํ                หูเป็นของร้อน

              สทฺทา อาทิตฺตา              เสียงทั้งหลายเป็นของร้อน

              โสตวิญฺญาณํ อาทิตฺตํ      ความรู้ทางหูเป็นของร้อน

            โสตสมฺผสฺโส อาทิตฺโต    การกระทบถูกต้องทางหูเป็นของร้อน ความรู้สึกอารมณ์อันนี้เกิดขึ้นเพราะอาศัยโสต สัมผัสเป็นปัจจัยแม้อันใด เป็นสุขบ้าง                 ทุกข์บ้างไม่สุขไม่ทุกข์บ้าง แม้อันนั้นก็เป็นของร้อน

               เกน อาทิตฺตํ         ร้อนเพราอะไร

              อาทิตฺตํ            ร้อนเพราะความกำหนัดยินดี ร้อนเพราะความโกรธประทุษร้าย ร้อนเพราะความหลงงมงาม

               อาทิตฺตํ            ร้อนเพราะชาติความเกิด ชราความแก่ โศกความแห้งใจ ปริเทวความพิไร ทุกข์ความไม่สบายกาย โทมนัสความเสีย อุปายาสความคับแค้นใจ นั้นเราว่า เป็นของร้อน

               ฆานํ อาทิตฺตํ           จมูกก็เป็นของร้อน

               คนฺธา อาทิตฺตา        กลิ่นที่กระทบจมูกก็เป็นของร้อน

               ฆานวิญฺญาณํ อาทิตฺตํ     ความรู้ทางจมูกก็เป็นของร้อน

               ฆานสมฺมสฺโส อาทิตฺโต    การกระทบทางจมูกก็เป็นของร้อน

             ยมฺปิทํ ฆานสมฺผสฺสปจฺจมา อุปฺปชฺชติ เวทยิตํ สุขํ วา ทุกขํ วา อทุกฺขมสุขํ วา     อารมณ์อันมีเกิดขึ้นเพราะอาศัยฆานสัมผัสเป็นปัจจัยแม้อันใด เป็นสุขบ้าง เป็นทุกข์บ้าง ไม่สุขไม่ทุกข์บ้าง นั้นก็เป็นของร้อน เพราะอะไร ร้อนเพราะความกำหนัดยินดี ร้อนเพราะความโกรธประทุษร้าย ร้อนเพราะความหลงงมงาย ร้อนเพราะชาติความเกิด ชราความ    แก่ มรณะความโศกความแห้งใจ ปริเทวะ ความพิไรรำพันเพ้อ     ทุกข์ความไม่สบายกาย โทมนัสความเสียใจ อุปายาส ความคับ    แค้นใจ นั้นเรากล่าวว่าเป็นของร้อน

               ชิวฺหา อาทิตฺตา        ลิ้นก็เป็นของร้อน

               รสา อาทิตฺตา           รสที่กระทบลิ้นก็เป็นของร้อน

               ชิวฺหาวิญฺญาณํ อาทิตฺตํ     ความรู้สึกของลิ้นก็เป็นของร้อน

            ชิวฺหาสมฺผสฺโส อาทิตฺโต   ความสัมผัสแห่งลิ้นก็เป็นของร้อน ความรู้สึกอารมณ์นี้เกิดขึ้น เพราะอาศัยชิวหาเป็นปัจจัยแม้อันใด เป็นสุขบ้างเป็นทุกข์บ้างไม่สุขไม่ทุกข์บ้าง นั่นก็เป็นของร้อน

            เกน อาทิตฺตํ        ร้อนเพราะอะไร ร้อนเพราะความกำหนัดยินดี ความโกรธ   ประทุษร้ายความหลงงมงาย ร้อนเพราะชาติความเกิด ชราความแก่มรณะความตาย โศกความแห้งใจ ปริเทวะความพิไรรำพันเพ้อ ทุกข์ความไม่สบายกาย โทมนัสความเสียใจ อุปายาสความคับ   แค้นใจ นั่นเรากล่าวว่าเป็นของร้อน

               กาโย อาทิตฺโต        กายก็เป็นของร้อน

            โผฎฺฐพฺพา อาทิตฺตา     ความถูกต้องของกาย  ความสัมผัสของกาย สิ่งที่ถูกต้องกายก็เป็นของร้อนความรู้แจ้งทางกายก็เป็นของร้อน ความสัมผัสถูกต้องทางการก็เป็นของร้อน ความรู้สึกอารมณ์นี้เกิดขึ้นเพราะอาศัยกายสัมผัสเป็นปัจจัยแม้อันใด เป็นสุขบ้างเป็นทุกข์บ้าง ไม่สุขไม่    ทุกข์บ้าง นั่นก็เป็นของร้อน

            เกน อาทิตฺตํ         ร้อนเพราะอะไร ร้อนเพราะความกำหนัดยินดี ความโกรธ ประทุษร้ายความหลงงมงาย ร้อนเพราะชาติความเกิด ชราความแก่มรณะความตาย โศกความแห้งใจ ปริเทวะความพิไรรำพันเพ้อ ทุกข์ความไม่สบายกาย โทมนัสความเสียใจ อุปายาสความคับแค้นใจ

               อาทิตฺตนฺติ วทามิ        นั่นเรากล่าว่า เป็นของร้อน

               มโน อาทิตฺโต             ใจก็เป็นของร้อน

               ธมฺมา อทิตฺตา             ธรรมทั้งหลายก็เป็นของร้อน

               มโนวิญฺญานํ อาทิตฺตํ    ความรู้แจ้งทางใจก็เป็นของร้อน

             มโน สมฺผสฺโส อาทิตฺโต        ความถูกต้องทางใจก็เป็นของร้อน  ความรู้สึกอามรณ์นึกคิดเพราะมโนสัมผัสเป็นปัจจัยแม้อันใด เป็นสุขบ้าง เป็นทุกข์บ้าง ไม่สุขไม่ทุกข์บ้าง นั่นเป็นของร้อน ร้อนเพราะอะไร ร้อนเพราะชราความแก่ มรณะความตาย โศกความแห้งใจ ปริเทวะ ความพิไรรำพันเพ้อ ทุกข์ความไม่สบายกาย โทมนัสของความเสียใจ อุปยาสความคับแค้นใจ

               อาทิตฺตนฺติ วทามิ        นั่นเรากล่าวว่า เป็นของร้อน

               เอวํ ปสฺสํ ภิขฺขเว สุตรา อริยสาวโก    ดูกรภิกษุทั้งหลายผู้ได้ฟังแล้ว เมื่อได้เห็นแล้วอย่างนี้

               จกฺขุสฺมีปํ นพฺพินฺทติ    เบื่อหน่ายในตาบ้าง

               รูเปสุปิ นิพฺพินฺทติ    เบื่อหน่ายในรูปบ้าง

               จกฺขุวิญฺญาณเณปิ นิพฺพินฺตติ    เบื่อหน่ายในจักษุวิญญาณบ้าง

               จกฺขุสมฺผัสฺเสปิ นิพฺพินฺทติ    เบื่อหน่ายในตาสัมผัสบ้าง

               ยมฺปิทํ จกฺขุสมฺผสฺสปจฺจยมา อุปฺปชุชติ เทวยิตํ           ความรู้สึกอารมณ์อันนี้เกิดขึ้นเพราะอาศัยจักขุสัมผัสเป็นปัจจัยแม้อันใด เป็นสุขบ้าง เป็นทุกข์บ้าง ไม่สุขไม่ทุกข์บ้าง ย่อมเบื่อหน่ายในความรู้นั้น

               โสตสฺสีปํ นิพฺพินฺทติ    เบื่อหน่ายในหูบ้าง

               สทฺเทสุปิ นิพฺพินฺทติ    เบื่อหน่ายทั้งในเสียง

               โสตวิญฺญาเณปิ นิพฺพินฺทติ    เบื่อหน่ายทั้งในความรู้ทางหูบ้าง

               โสตสมฺผสฺเสปิ นิพฺพินฺนติ    เบื่อหน่ายในความกระทบถูกต้องทางหูบ้าง

               ยมฺปิทํ โสตสมฺผสฺสปจฺจยา อุปฺปชฺชติ เวทยิตํ     ความรู้สึกอารมณ์อันนี้เกิดขึ้นเพราะอาศัยโสตสัมผัสเป็นปัจจัยแม้อันใด เป็นสุขบ้าง เป็นทุกข์บ้าง ไม่สุขไม่ทุกข์บ้าง ย่อมเบื่อหน่ายในความรู้อันนั้น

               ฆานสฺมิปํ นิพฺพนฺทติ    ย่อมเบื่อหน่ายในจมูกบ้าง

               คนฺเธสุปิ นิพฺพินฺทติ    ย่อมเบื่อหน่ายในกลิ่นทั้งกลายบ้าง

               ฆานวิญฺญาณเณปิ นิพฺพินฺทติ    ย่อมเบื่อหน่ายในความรู้ในทางจมูกบ้าง

ฆานสมฺผสฺเสปิ นิพฺพนฺทติ    ย่อมเบื่อหน่ายในทางกระทบถูกต้องทางจมูกบ้าง

              ยมฺปิทํ ฆานสมฺผสฺสปจฺจยา อุปฺปชฺชติ เวทยิตํ    ความรู้สึกเกิดขึ้นเพราะอาศัยฆาน  สัมผัสเป็นปัจจัยแม้อันใดเป็นสุขบ้างเป็นทุกข์บ้าง ไม่สุขไม่ทุกข์                บ้างย่อมเบื่อหน่ายในความรู้อันนั้น

                ชิวฺหายปิ นิพฺพินฺทติ    ย่อมเบื่อหน่ายในลิ้นบ้าง

                รเสสุปิ นิพฺพินฺทติ    ย่อมเบื่อหน่ายในรสทั้งหลายบ้าง

                ชิวฺหาวิญฺญาเณปิ นิพฺพินฺทติ    ย่อมเบื่อหน่ายในความรู้ในทางลิ้นบ้าง

                ชิวฺหาสมฺผสฺเสปิ นิพฺพินฺทติ    ย่อมเบื่อหน่ายในชิวหาสัมผัสบ้าง

              ยมฺปิทํ ชิวฺหาสมฺผสฺสปจฺจยา อุปฺปชฺ ชติ เทวยิตํ        ความรู้สึกเกิดขึ้นเพราะอาศัยชิวหา สัมผัสเป็นปัจจัยแม้อันใด เป็นสุขบ้าง เป็นทุกข์บ้าง ไม่สุขไม่ทุกข์บ้าง ย่อมเบื่อหน่ายในความรู้อันนั้น

                กายสฺสิปิ นิพฺพินฺทติ    ย่อมเบื่อหน่ายในกายในบ้าง

                โผฏฐพฺเทพสุปิ นิพฺพินฺทติ    ย่อมเบื่อหน่ายในสิ่งที่มากระทบกายบ้าง

                 กายวิญฺญาเณปิ นิพฺพินฺทติ        ย่อมเบื่อหน่ายในความรู้ทางกายบ้าง

                 กายสมฺผสฺเสปิ นิพฺพินฺทติ        ย่อมเบื่อหน่ายในการถูกต้องบ้าง

                ยมฺปิทํ กายสมฺผสฺสปจฺจยา อุปฺปชฺชติ เวทยิตํ      ความรู้สึกเกิดขึ้นเพราะอาศัยกายสัมผัสเป็นปัจจัยแม้อันใด เป็นสุขบ้าง เป็นทุกข์บ้าง ไม่สุขไม่ทุกข์บ้าง ย่อมเบื่อหน่ายในความรู้อันนั้น

                  มนสฺมีปํ นิพฺพินฺทติ    ย่อมเบื่อหน่ายในใจบ้าง

                  ธมฺเมสฺปิ นิพฺพินฺทติ    ย่อมเบื่อหน่ายในธรรมมารมณ์บ้าง

                  มโนวิญฺญาเณปิ นิพฺพินฺทติ    ย่อมเบื่อหน่ายในความรู้ทางใจบ้าง

                  มโนสมฺผสฺเสปิ นิพฺพินฺทติ    ย่อมเบื่อหน่ายในความถูกต้องทางใจบ้าง

                  ยมฺปิทํ มโนสมฺผสฺสปจฺจยา อุปฺปชฺชติ เวทยิตํ            ความรู้สึกเกิดขึ้นเพราะอาศัยมโน  สัมผัสเป็นปัจจัย แม้อันใด เป็นสุขบ้าง เป็นทุกข์บ้าง ไม่สุไม่ทุกข์บ้าง ย่อมเบื่อหน่ายในความรู้อันนั้น

                  นิพฺพินฺทํ วิรชฺชติ        เมื่อเบื่อหน่ายย่อมสิ้นกำหนัด

                  วิราดา วิมุจฺจติ           พอสิ้นกำหนัด จิตก็หลุดพ้น

                 วิมุตฺตสฺมํ วิมุตฺตมิติ     เมื่อจิตหลุดพ้นเกิดความรู้ขึ้นว่าพ้นแล้วดังนี้ พระอริยสาวกนั้น ย่อมทราบชัดว่า ชาติสิ้นแล้ว พรหมจรรย์ได้อยู่จบแล้ว กิจที่จะต้องทำได้ทำเสร็จแล้ว กิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้มิได้มีอีกแล้ว

                  อิทมโรจ ภควา        สมเด็จพระผู้มีพระภคทรงตรัสธรรมบรรยายอันนี้แล้ว

                  อตฺตมนา เต ภิกขุ        ภิกขุทั้งหลายเหล่านั้นมีใจยินดี

                  ภควโต ภาสิตํ อภินนฺทุ์    เพลิดเพลินในภาษิตของพระผู้มีพระภาค

                อิมสฺมิญจ ปน เวยฺยากรณสฺสมํ ภญฺญมาเน      ก็แลเมื่อเวยกรณีอันพระผู้มีพระภาคทรงตรัสอยู่ จิตของพระภิกษุหนึ่งพันรูปเหล่านั้น ก็พ้นจากอาสวะทั้งหลายพร้อมด้วยความไม่ถือมั่นด้วยประการฉะนี้ นี่จบอาทิตยตปริยายสูตรต่อแต่นี้จะชี้แจงตามวาระพระบาลีคลี่ความเป็นสยามภาษาตามมตยาธิบาย ต่อไป

           อาทิตตปริยายสูตรนี้  สมเด็จพระผู้มีพระภาคทรงทราบชัดว่าบริษัทคือชฎิล  มีปุราณชฎิลเป็นต้น สาละวนในการบูชาไฟ เพลิดเพลินในการบูชาไฟ เป็นที่สักการะนับถือของชาวมคธราช มีพระเจ้าพิมพิสารเป็นประธาน เป็นครูของพระเจ้าพิมพิสารทีเดียว เป็นที่นับถือทีเดียว ชฎิลพวกนี้เคยรับสังเวยของพลเมืองเป็นเนืองนิตย์อัตรา ชฎิลเหล่านี้ พระพุทธเจ้าอุบัติตรัสในโลกขึ้นแล้ว ปรากฏว่เราจะไปโปรดพระเจ้าพิมพิสาร ที่จะสำเร็จเป็นหลักฐานจะทำเป็นประการใด

             เมื่อสอดส่องด้วยพระปรีชาญาณก็ทราบหลักฐานว่าจะต้องไปทรมานชฎิลเหล่านี้นให้มาเลื่อมใสในลัทธิของเราก่อน เมื่อมาเลื่อมใสในลัทธิทางพุทธศาสนาแน่แท้แล้ว เราจะพาชฎิลเหล่านี้ไปเฝ้าพระเจ้าพิมพิสารแล้วให้ชฎิลเหล่านี้ปฏิญาณตัวว่าเป็นลูกศิษย์ของเรา ถ้าไม่เช่นนั้นชนชาวเมืองราชคฤห์ก็จะพากันตระหนกตกใจสนเท่ห์สงสัยว่า พระสมณโคดมจะเป็นใหญ่กว่า หรือว่าพวกชฎิลของเราเป็นใหญ่กว่าเป็นประการใด แล้วไม่ตกลงกัน เมื่อมหาชนทั้งหลายสนเท่ห์เช่นนั้น ก็ให้ปุราณชฎิลนั้นแหละปฏิญาณตัวว่าเป็นศิษย์พระสมณโคดมบรมครู ให้เหาะขึ้นไปในอากาศแล้วกลับลงมากราบพระบรมศาสดาสามครั้ง แล้วปฏิญาณตนว่าเป็นศิษย์พระบรมครูทีเดียว เมื่อชฎิลประกาศตัวเช่นนั้นแล้ว พระเจ้าพิมพิสารทั้งราชบริพรของพระเจ้าพิมพิสารก็พร้อมใจกันเชื่อถือแน่นอน มั่นหมายในพระสมณโคดมบรมครู พระองค์ก็ทรงตรัสเทศนาแก่บริษัทที่มาประชุมพร้อมกันได้ ๑๒ นหุต เมื่อพระองค์ทรงตรัสเทศนาจบลง ในกาลทั้งนั้นราชบริบารของพระเจ้าพิมพิสารทั้งหมดปรากฏว่าได้สำเร็จมรรคผล ๑๑ นหุต เหลืออีกนหุตหนึ่งได้ตั้งอยู่ในพระไตรสรณาคมณ์แล้วพระเจ้าพิมพิสรอุทิศราชอุทยานของพระองค์ชื่อว่า เวฬุวันสวนไม้ไผ่ให้แก่พระโคดมบรมครู ตั้งเป็นสังฆิกาวาสอยู่ในเวฬุวนาราม มอบให้เป็นสิทธิ์ทีเดียว พุทธศาสนาก็ตั้งมั่นในเมืองราชคฤห์เพราะเหตุนี้

             เพราะฉะนั้น เราได้ฟังทิตตฺตปริยายสูตรว่า ด้วยของร้อนในเวลาวันนี้ เป็นธรรมอันพระองค์ใช้ดับของร้อน ของร้อนต้องดับของร้อนมันจึงจะถูกเงื่อนถูกสายกัน ดับของร้อนได้อย่างไร ความร้อนน่ะ ไฟราคะ ไฟโทสะ ไฟโมหะ ชาติความเกิด ชราความแก่ มรณะความตาย โศกความแห้งใจ ปริเทวะความพิไรรำพันเพ้อ ทุกข์ความไม่สบายกาย โทมนัสความเสียใจ อุปยาสความคับแค้นใจ ดังนี้เป็นผล

              ร้อนด้วย ราคะ โทสะ โมหะ นั้นสำคัญนัก อันนี้จะแก้ไขวันนี้ว่าเกิดมาจากไหน?  ราคะ โทสะ โมหะ เกิดมาจากจักขุบ้าง รูปบ้าง ความรู้ทางจักขุบ้าง ความสัมผัสของจักข้าง มันเกิดมาทางนี้ต้องแก้ไขทางนี้ แก้ไขทางอื่นไม่ได้ ต้องแก้ไขทาง ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ ไม่ได้ยินดียินร้าย ในรูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ ธรรมารมณ์ ที่มากระทบถูกต้องอายตนะทั้ง ๖ นั้น

                 ให้ทำใจให้หยุด หยุดเสียอันเดียวเท่านั้นดับหมด พอหยุดได้เสียก็เบื่อหน่าย 
                 เบื่อหน่ายใน รูปเสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ ธรรมารมณ์
                 เบื่อหน่ายในทางความรู้ทาง ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ
                 เบื่อหน่ายในการสัมผัสทาง ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ เบื่อหน่ายหมด

              ต้องทำใจให้หยุดอยู่ ณ ศูนย์กลางกาย สะดือทะลุหลัง ขวาทะลุซ้าย กลางกั๊ก ในเหมือนดวงจันทร์ ดวงอาทิตย์ หยุดนิ่งหยุดทีเดียว พอหยุดก็รู้ว่าใจของเราหยุดแล้ว ที่ว่าใจหยุดก็เข้ากลางของกาง นิ่งอยู่ที่เดียว กลางของกลางๆๆ ไม่ถอย แล้วเข้ากลางของกลางหนักเข้าไป พอใจหยุดก็เข้ากลางของกลาง ซ้ายขวาหนาหลังล่างบนไม่ไป กลางของกลางหนักขึ้นทุกทีไม่มีถอยออก กลางของกลางหนักขึ้น พอถูกส่วนเข้าก็จะเห็นดวงจันทร์ดวงอาทิตย์ นั่นเป็นดวงปฐมมรรค หนทางเบื้องต้นมรรคผลนิพพาน กลางขงกลางไม่เลิกอยู่กลางดวงนั่นแหละ เกิดขึ้นที่หยุดนั่นแหละ นิ่งอยู่กลางดวงของดวงที่หยุดนั่นแหละ หยุดหนักเข้ๆ ก็ถึงดวงศีล เท่าดวงจันทร์ดวงอาทิตย์ เท่ากัน หยุดอยู่กลางดวงศีลนั่นแหละ กลางของกลางหนักขึ้น พอถูกส่วนเข้าก็เข้าถึงดวงสมาธิ หยุดอยู่กลางดวงสมาธินั่นแหละ พอถูกส่วนเข้าก็เข้าถึงดวงปัญญา หยุดอยู่กลางดวงปัญญานั่นแหละ พอถูกส่วนเข้าก็ถึงดวงวิมุตติ หยุดอยู่กลางดวงวิมุตตินั่นแหละ พอถูกส่วนเข้าก็เข้าถึงวิมุตติญาณทัสสนะ หยุดอยู่กลางดวงวิมุตติญาณทัสสนะนั่นแหละ พอถูกส่วนเข้าก็จะเห็นกายมนุษย์ละเอียดอภิชฌา พยาบาท มิจฉาทิฏฐิของกายมนุษย์หยาบหายไปหมด เหลือของมนุษย์ละเอียด

            ใจก็หยุดอย่างนั้นแหละ ในศูนย์กลางกายมนุษย์ละเอียด ก็เห็นแบบเดียวกันอย่างนี้แหละ ก็ถึงกายทิพย์ อภิชฌา พยาบาท มิจฉาทิฏฐิ หายไปหมด พอเข้าถึงกายทิพย์แล้วหยุดอยู่ในกลางกายทิพย์อย่างนี้แหละ จะเข้าถึงกายทิพย์ละเอียด หยุดอยู่กลางกายทิพย์ละเอียดอย่างนี้แหละก็ จะเข้าถึงกายรูปพรหมนี่ โลภะ โทสะ โมหะ หายไปหมดแล้ว เหลือแต่ราคา โทสะ โมหะ หยุดดังนี้ในกายรูปพรหมทั้งหยาบทั้งละเอียดจะเข้าถึงกายอรูปพรหมนี่ ราคะ โทสะ โมหะ หายไปหมดอีกแล้ว

              หยุดอยู่ดังนี้แหละกายอรูปพรหมทั้งหยาบทั้งละเอียดเข้าถึงกายธรรม พอเข้าถึงกายธรรมเท่านั้นกามราคานุสัย อวิชชานุสัย ปฏิคานุสัย ก็หายไปหมด กายธรรมเป็นวิราคธาตุวิราคธรรมส่วนหนาบส่วนย่อยเป็นวิราคธาตุวิราคธรรมที่ยังเจือปนระคนอยู่ด้วยฝ่ายหยาบ ยังไม่เป็นวิราคธาตุวิราคธรรมแท้สิ้นเชิงทีเดียวแต่เข้าเขตวิราคธาตุวิราคธรรมแล้ว ก็หยุดอยู่ในกายธรรมทั้งหยาบทั้งละเอียดอย่างนี้แหละจะเข้ถึงกายโสดาทั้งหยาบทั้งละเอียด นี่หมด สักกายทิฏฐิ วิจิกิจฉา สีสัพพตปรามาส เข้าถึงพระโสดาไปแล้วหยุดอยู่ที่พระโสดาดังนี้ พอถูกส่วนเข้าจะเข้าถึงพระสหทาคาทั้งหยาบทั้งละเอียด กามราคะ พยาบาทอย่างละเอียดหมด เหลือ รูปราคะ รูปราคะ มานะ อุทธัจจะ อวิชชา หยุดอยู่ในกายพระอนาคาอย่างนี้แหละ จะเข้าถึงกายพระอรหัตทั้งหยาบทั้งละเอียด รูปราคะ อรูปราคะ มานะ อุทธัจจะ อวิชชา หลุดหมด พอเข้าถึงกายพระอรหัตทั้งหยาบทั้งละเอียดนี้เป็นวิราคธาตุวิราคธรรมแท้ นี้เสร็จกิจในพระพุทธศาสนา แต่ให้รู้จักหลักอย่างนี้ ทางเป็นจริงของพุทธศาสนาเป็นอย่างนี้

           เมื่อเรารู้จักหลักจริงดังนี้แล้วให้ปฏิบัติไปตามแนวนี้ ถ้าผิดแนวนี้ จะผิดทางมรรคผลนิพพาน อะไรเป็นมรรค? อะไรเป็นผล? อะไรเป็นนิพพาน? มรรคผลนิพพาน กายธรรมอย่างหยาบกายธรรมโคตรภู โสดาสกทาคา อนาคา อรหัตอย่างหยาบนั่นแหละเป็นตัวมรรค กายธรรมอย่างละเอียด โสดาอย่างละเอียด สกทาคาอย่างละเอียด อนาคาอย่างละเอียด อรหัตอย่างละเอียด นั่นแหละเป็นตัวผล นั่นแหละมรรค นั่นแหละผล แล้วนิพพานล่ะ ธรรมที่ทำให้เป็นกายโคตรภู โสดา สหทาคา อนาคา อรหัต พอถึงธรรมที่ทำให้เป็นพระอหัตก็ถึงนิพพานกัน นิพพานอยู่อย่างนี้ ถ้าไม่มีธรรมที่ทำให้เป็นพระอรหัตก็ไปนิพพานไม่ได้ ธรรมที่ทำให้เป็นพระอรหัตเป็นวิราคธาตุวิราคธรรม ตัวนิพพานเป็นวิราคธาตุวิราคธรรม เขาก็ดึงดูดกัน พอถูกส่วนเข้าก็ดึงดูดกันรั้งกันไปเอง

           เหมือนมนุษย์ในโลกนี้ คนมั่งมีเขาก็เหนี่ยวรั้งคนมั่งมีไปรวมกัน คนยากจนมันก็เหนี่ยวรั้งคนยากคนจนไปรวมกัน นักเลงสุรามันก็เหนี่ยวรั้งนักเลงสุราไปรวมกัน นักเลงฝิ่นมันก็เหนี่ยวรั้งนักเลงฝิ่นไปรวมกัน ภิกษุก็เหนี่ยวพวกภิกษุไปรวกมัน สามเณรก็เหนี่ยวพวกสามเณรไปรวมกัน อุบาสกก็เหนี่ยวพวกอุบาสกไปรวกมัน อุบาสิกาก็เหนี่ยวพวกอุบาสิกาไปรวกมัน มีคล้ายๆ กันอย่างนี้ แต่ที่จริงที่แท้เป็นอายตนะสำคัญ อายตนะดึงดูด เช่น โลกายตนะ อายตนะของโลก ในกามภพ อายตนะของกามมันดึงดูดให้ข้องอยู่ในกามคือกามภพ รูปภพ อายตนะ รูปพรหมดึงดูดเพราอยู่ในปกครองของรูปฌาน ยตนะดึงดูดให้รวมกัน อรูปภพอายตนะของอรูปพรหม อรูปฌานดึงดูดเข้ารวมกัน อตฺถิ ภิขฺขเว สฬายตนํ นิพพานเป็นอายตนะอันหนึ่ง เมื่อหมดกิเลศแล้วนิพพานก็ดึงดูดไปนิพพานเท่านั้น ให้รู้จักหลักจริงอันนี้ก็เอาตัวรอดได้

          ที่ได้ชี้แจงมาตามวาระพระบาลี อาทิตตปริยายสูตร โดยสังเขปกถาและตามมตยาธิบาย พอสมควรแก่เวลา เอเตน สจฺจวชฺเชน ด้วยอำนาจความสัจที่ได้อ้างธรรมปฏิบัติตั้งแต่ต้นจนอวสานนี้ สทา โสตถี ภวนฺตุเต ขอความสุขสวัสดีจงบังเกิดมีแก่ท่านทั้งหลายบรรดามาสโมสร ณ สถานที่นี้ทุกถ้วนหน้า อาตมภาพชี้แจงแสดงมาพอสมควรแก่เวลา สมมติว่ายุติธรรมิกถาโดยอรรถนิยมความเพียงแค่นี้ เอวํ ก็มีด้วยประการฉะนี้

 

 ยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคล Total Execution Time: 0.001248566309611 Mins