กัณฑ์ที่ ๓๗ ธชัคคสูตร

วันที่ 19 มค. พ.ศ.2561

กัณฑ์ที่  ๓๗
ธชัคคสูตร

มรดกธรรม , พระมงคลเทพมุนี , ประวัติย่อ พระเดชพระคุณพระมงคลเทพมุนี , สด จนฺทสโร , หลวงปู่วัดปากน้ำ , หลวงพ่อวัดปากน้ำ , สด มีแก้วน้อย , วัดปากน้ำภาษีเจริญ , วัดปากน้ำ , ธรรมกาย , วัดพระธรรมกาย , สมาธิ , กัณฑ์ , ศูนย์กลางกายฐานที่เจ็ด , คำสอนหลวงปู่ , หลวงพ่อสดเทศน์ , เทศนาหลวงพ่อสด , พระธรรมเทศนาพระมงคลเทพมุนี , พระผู้ปราบมาร , ต้นธาตุต้นธรรม , พระเป็น , อานุภาพหลวงพ่อสด , เทปบันทึกเสียงหลวงพ่อวัดปากน้ำ , พระของขวัญ , ทานศีลภาวนา ,  ธชัคคสูตร , กัณฑ์ที่ ๓๗ ธชัคคสูตร

นโม  ตสฺส  ภควโต  อรหโต   สมฺมาสมฺพุทฺธสฺส ฯ  (๓  ครั้ง)

              ภูตปุพฺพํ  ภิกฺขเว  เทวาสุรสงฺคาโม  สมุปพฺยุฬฺโห  อโหสิ ฯ  อถโข  ภิกฺขเว  สกฺโก  เทวานมินฺโท  เทเว  ดาวติ เส  อามนฺเตสิ  สเจ  มาริสา  เทวนํ  สงฺคามคตานํ  อุปฺปชฺเชยฺย  ภยํ  วา  ฉมฺภิตตฺตํ  วา  โลมหํโส  วา  มเมว  ตสฺมิ   สมเย  ธชคูคํ  อุอฺโลเกยฺยาถ  มมํ  หิ  โว  ธชคฺคํ  อุลฺโลกยตํ  ยมฺภวิสฺสติ  ภยํ  วา  ฉมฺภิตตฺตํ  วา  โลมหํโส  วา  โส  ปหิยฺยิสฺสตีติ ฯ

              ณ บัดนี้อาตมภาพจักได้แสดงธรรมิกถา แก้ด้วยความชนะและความแพ้ สองกระแส โลกปรารถนาความชนะทุกถ้วนหน้า  ไมมีใครปราถรนาความแพ้เลย  ความแพ้หรือความชนะนี้เป็นของคู่กัน  ในศึกสงครามใด  ๆ  ในมนุษย์โลก  ต่างฝ่ายก็ชอบชนะด้วยกันทั้งนั้น  ไม่มีฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งอยากจะแพ้  หรือมุ่งมาดปรารถนาความแพ้  ถ้าว่าคิดว่าแพ้แน่แล้วก็ไม่สู้  ถ้าว่าคิดว่าสู้ก็ไม่แพ้  ตั้งใจอย่างนี้

               โลกดุจเดียวกัน  มุ่งความชนะเป็นเบื้องหน้า  เพื่อจะหลีกเลี่ยงเสียจากความแพ้  เมื่อได้ชัยชนะแล้วก็ได้ความเป็นใหญ่ในประเทศนั้น  ๆ  ชนะทุกประเทศเป็นเอกในชมพูทวีป  เรียกว่าชนะเลิศ  การชนะนี้แหละเขาต้องการกันนัก  มีแพ้ชนะ  ๒  อย่างเท่านั้น ไม่ว่าแต่ความแพ้ชนะในมนุษย์นี่  ในดาวดึงส์เทวโลกนั่นเทวดายังรบกันเลย  เรื่องนี้ปรากฎตามกำหนดวาระพระบาลีที่ยกขึ้นไว้ในเบื้องต้นว่า

                 ภูตปุพฺพํ  ภิกฺขเว  เทวาสุรสงฺคาโม  สมุปพฺยุฬฺโห  อโหสิ  ว่าดูก่อนภิกษุทั้งหลาย  เรื่องดึกดำบรรพ์เคยมีมาแล้วในกาลปางก่อน  เทวาสุรสงฺคาโม  สงครามเทวดาและอสูร  สมิปพฺยุฬฺโห  อโหสิ  ได้ประชิดกันเข้าแล้ว  เทวดาและอสูรในดาวดึงส์ทำสงครามกันขึ้นแล้ว  เมื่อสงครามเกิดขึ้นเช่นนั้น  ในคราวใดสมัยใดพวกอสูรแพ้ท้าวสักกรินทรเทวราช  ก็ลงไปตั้งพิภพอยู่ภายใต้เขาพระสุเมรุ  บนยอดเขาพระสุเมรุนั้นพระอินตั้งพิภพอยู่ในที่นั้นเรียกว่าดาวดึงส์  หนทางไกลตั้ง  ๘๔,๐๐๐  โยชน์จากยอดไปถึงตีนเขาโน่น  จากยอดเขาไปถึงตีนเขา  ๘๔,๐๐๐  โยชน์  หนทางไกลขนาดนี้  แต่ว่าเขาพระสุเมรุอยู่ในน้ำมีน้ำล้อมรอบ

               เมื่อถึงเทศกาลฤดูดอกแคฝอยในพิภพของอสูรบานขึ้นเวลาใด  ชาวอสูรตกใจก็ที่พิภพของเราที่เราเคยอยู่มันมีดอกปาริฉัตรชาติ  นี่ดอกแคฝอยเกิดขึ้นในพิภพของเราเช่นนี้  ไม่ใช่พิภพของเราเสียแล้ว  คิดรู้ว่าเมื่อครั้งเราเมาสุรา  ท้าวลักกรินทรเทวราชจับเราโยนลงมา  พวกเราจึงมาอยู่ในเขาพระสุเมรุนี้   ที่เกิดพิภพอสูรขึ้นเช่นนี้ก็เพราะบุญของเรา  แต่ว่าหักห้ามความแค้นใจนั้นไม่ได้  ต้องผุดขึ้นมาจากน้ำ  ออกมาจากเขาพระสุเมรุจากในน้ำนั้นแหละ  เหาะขึ้นไปในอากาศ  ไปรบกับท้าวสักกรินทรเทวราช

               ถึงคราวสมัยทำสงครามกับอสูรเวลาใด  ท้าวสักกรินทรเทวราช  ก็เรียกเทวดาในชั้นดาวดึงส์  เหล่าเทวดาในชั้นดาวดึงส์มีมากน้อยเท่าใด  เรียกมาสั่งว่า

               สเจ  มาริสา  เทวานํ  สงฺตามคตานํ  อุปฺปชฺเชยฺย  กยํ  วา  ฉมฺภิตตฺตํ  วา  โลมหํโส  วา  ตสฺสมเย  ธชคฺคํ  อุลฺโลเกยฺยาถ  มมํ  หิ  โว  ธชคฺคํ  อุลฺโลกยตํ  ยมฺภวิสฺสติ  ภยํ  วา  ฉมฺภิตตฺตํ  โลมหํโส  วา  โส  ปหิยฺยิสฺสติ  ว่าดูก่อนท่านผู้นิรทุกข์ทั้งหลาย  ถ้าความกลัวหรือความหวาดสะดุ้งหรือความขนพองสยองเกล้าเกิดขึ้นแก่ท่านทั้งหลายที่ไปอยู่ในสงครามแล้ว  ท่านทั้งหลายเมื่อความกลัวเกิดขึ้นเช่นนั้นแลดูชายธงของเรา  เมื่อท่านแลดุชายธงของเรากาลใด  กาลนั้นความกลัวความกวาดสะดุ้งขนพงอสยองเกล้าอันใดที่มีอยู่  อันนั้นย่อมหายไป

             เมื่อท่านแลดูชายธงของเราแล้วความกลัวความหวาดสะดุ้งไม่หายไป  ขอท่านทั้งหลายพึงแลดูชายธงของเทวราชปชาบดีเถิด  เพราะว่าเมื่อท่านทั้งหลายแลดูชายธงของเทวราชปชาบดี  ความกลัวก็ดีความหวาดสะดุ้งก็ดีความขนพองสยองเกล้าก็ดีที่มีอยู่  ย่อมหายไป

              เมื่อท่านแลดูชายธงของเทวราชปชาบดีแล้ว  ความกลัวความหวาดสะดุ้งไม่หายไป ท่านพึงแลดูชายธงของวรุณเทวราชเถิด  ความกลัวความหวาดสะดุ้งความขนพองสยองเกล้าของท่านก็จะหายไป

                 ถ้าว่าเมื่อท่านแลดูชายธงของเทวราชวรุณแล้ว  ความกลัวความหวาดสะดุ้งขนพงอสยองเกล้านั้นยังไม่หายไป  ทีนั้นท่านพึงแลดุชายธงของเทวราชชื่อว่าอีสานเถิด

                เมื่อท่านแลดูชายธงของท่านทั้ง  ๔  เหล่านี้  ความกลัวความหวาดสะดุ้งความขนพองสยองเกล้าบางทีก็หายไปบ้าง  บางทีก็ไม่หายบ้าง

         ตํ  กิสฺส  เหตุ    นั่นเหตุอะไรเล่า
         สกฺโกหิ  ภิกฺขเว  เทวานมินฺโท    ดูกรภิกษุทั้งหลายท้าวลักกรินทรเทวราชผู้เป็นจอมของเทวดา
         อวีตราโต    มีราคะยังไม่ไปปราศแล้ว
         อวีตโทโส    มีโทสะยังไม่ไปปราศแล้ว
         อวีตโมโห    มีโมหะยังไม่ไปปราศแล้ว
        ภิรุ  ฉมฺภี  อุตฺตราสี  ปลายีติ    เป็นผู้ยังกลัว  ยังหวาด  ยังสะดุ้ง  ยังหนีไปอยู่  ท่านทั้ง  ๔  นั้น  ยังกลัว  ยังหวาดสะดุ้ง  ยังหนีไปอยู่

 
                 อหญฺจ  โข  ภิกฺขเว  เอวํ  วทามิ  สเจ  ตุมฺหากํ  ภิกฺขเว  อรญฺญคตานํ  วา  รุกฺขมูลคตานํ  วา  สุญฺญาคารตตานํ  วา  สุญฺญาคารคตานํ  วา  อุปฺปชฺเชยฺย

                ดูกรภิกษุทั้งหลาย  เรากล่าวอย่างนี้แล  เมื่อท่านทั้งหลายไปอยู่ป่าแล้ว ไ ปอยูที่โคนต้นไม้แล้ว  ไปอยู่เรือนว่าเปล่าแล้ว  ถ้าแม้ว่าความกลัวความหวาด  ความสะดุ้งความขนพองสยองเกล้าเกิดขึ้นแก่ท่านทั้งหลาย  ท่านทั้งหลายพึงระลึกถึงเราผู้ตถาคตเข้าเถิด  เมื่อท่านระลึกถึงเราผู้ตถาคตแล้วกาลใด  กาลนั้นความกลัวความหวาดสะดุ้งความขนพองสยองเกล้าของท่านทั้งหลายจะหายไป

              เมื่อท่านระลึกถึงเราแล้ว  ความกลัวความหวาดสะดุ้งขนพองสยองเกล้าไม่หายไป  ทีนั้นท่านทั้งหลายพึงระลึกถึงพระธรรมเข้าเถิด  เมื่อท่านทั้งหลรารยระลึกถึงพระธรรมเข้าแล้ว  ความกลัวความหวาดสะดุ้งความขนพองสยองเกล้าจะหายไป

                เมื่อท่านระลึกถึงพระธรรมแล้ว  ความกลัวความหวาดสะดุ้งขนพองสยองเกล้าของท่านไม่หายไป  ทีนั้นท่านพึงระลึกถึงพระสงฆ์เข้าเถิด  เมื่อท่านระลึกถึงพระสงฆ์เข้าแล้ว  ความกลัวความหวาดสะดุ้งความขนพองสยองเกล้าของท่านก็จะหายไป

                 ที่ท่านทั้งหลายระลึกถึงพระพุทธ  พระธรรม  พระสงฆ์  ความกลัวความหวาดสะดุ้ง  ความขนพองสยองเกล้าหายไป

         ตํ  กิสฺส  เหตุ    นั่นเหตุแห่งอะไร
         ตถาคโต  อรหํ  สมฺมาสมฺพุทฺโธ    พระตถาคตเจ้าเป็นผู้หมดกิเลสเป็นผู้ตรัสรู้แล้วเองโดยชอบ
         วีตราโค    เป็นผู้มีราคะไปปราศแล้ว
         วีตโทโส    มีโทสะไปปราศแล้ว
         วีตโมโห    มีโมหะไปปราศแล้ว

        อภิรุ  อจฺฉมฺภี  อนุตฺตราสี  อปลายี    เป็นผู้ไม่กลัว  เป็นผู้ไม่หวาด  เป็นผู้ไม่สะดุ้งเป็นผู้ไม่หนีไป  เพราะท่านเป็นผู้หมดภัยแล้ว  ท่านมีภัยแล้ว  เมื่อระลึกถึงท่านเข้า  เมื่อระลึกถึงพระพุทธ                พระธรรม  พระสงฆ์  เข้าภัยอันใดจักมีภัยอันใด  ที่มีภัยอันนั้นย่อมหายไปอยู่ไม่ได้  นี้เป็นเครื่องมั่นใจของพุทธศาสนิกชนยิ่งหนักหนา

                 ฝ่ายท้าวสักกรินทรเทวราช  ปชาบดีเทวราช  วรุณเทวราช  อีสานเทวราช  ท่านมีบุญหนักศักดิ์ใหญ่ในดาวดึงส์เทวโลก  เป็นผู้ปกครองของเทพเจ้าในดาวดึงส์เทวโลก ท้าวสักกรินทรเทวราชผู้เป็นจอมเทวดา  เป็นเทวดาผู้ใหญ่  เป็นที่มั่นใจของเทวดาชั้นดาวดึงส์เทวโลกฉันใด

               พุทธศาสนิกชน  ภิกษุ  สามเณร  อุบาสก  อุบาสิกา  มีพระรัตนตรัยเป็นหลักคือพุทธรัตนะ  ธรรมรัตนะ  สังฆรัตนะ  เป็นหลัก  เมื่อระลึกถึงหลักอันนี้แล้วย่อมไม่หวาดเสียว  ย่อมไม่กลัวย่อมไม่สะดุ้ง  มั่นคงในพระพุทธศาสนา  เมื่อมั่นคงแน่แท้เช่นนี้แล้วจะเอาชัยชนะได้ไม่ต้องสงสัยละ  กระทำสิ่งใดสำเร็จสมความปรารถนาทีเดียว

              จะทำอย่างไรพุทธศาสนิกชน  ที่จะทำจริงทำแท้แน่นอนเอาจริงเอาจังกันละ  ของไม่มากของนิดเดียวเท่านั้น  พุทธศาสนิกชน  หญิงก็ดี  ชายก็ดี  คฤหัสถ์  บรรพชิตไม่ว่า  ต้องทำใจให้หยุด  หยุดที่ตรงไหน?  ที่หยุดมีแห่งเดียว  เคลื่อนจากที่หยุดแห่งนั้นละก็เป็นเอาตัวรอดไม่ได้  ไม่ถูกเป้าหมายใจดำพุทธศาสนาทำใจให้หยุดนิ่งอยู่ศูนย์กลางดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายมนุษย์  ใสบริสุทธิ์เท่าฟองไข่แดงของไก่  ใจหยุดนิ่งอยู่กลางดวงนั้น  พอหยุดนิ่งอยู่กลางดวงนั่นกลางตัวของพ่อ  หญิงชายเกิดต้องเอาใจไปหยุดตรงนั้น  ที่หยุดของใจ  เวลาจะหลับก็ต้องเอาใจไปหยุดตรงนั้นจึงหลับได้  หลับตรงไหนตื่น  ตรงนั้น  เกิดตรงไหนตายที่นั่น  อ้ายที่เกิด  ที่ดับ  ที่หลับ  ที่ตื่นนั่นแหละ  เอาใจไปหยุดตรงนั้น

                พอหยุดถูกส่วน  เข้ากลางกายมนุษย์  คราวนี้ก็จะเดินไปแบบเดียวกันนี้แหละ  ไม่มี  ๒  ต่อไปละพุทธศาสนาแท้  ๆ  ทีเดียวนา  ออกจากโอษฐ์พระบรมศาสดานะ  คำว่าหยุดนั่นแหละ  เมื่อพระองค์เสด็จไปทรมาณองคุสิมาล  องคุลิมาลหมดพยศร้ายแล้ว  พ้จำนนพระบรมศาสดาแล้ว  เปล่งวาจาว่า  สมณะหยุด  ๆ  พระองค์ทรงเหลียวพระพักตร์  สมณะหยุดแล้วท่านไม่หยุด  คำว่าหยุดนี่ออกจากโอษฐ์พระบรมศาสดาองคุลิมาลพอรู้จักนัยที่พระบรมศาสดาให้เช่นนี้  ก็หมดพยศร้าย  มิจฉาทิฎฐิหาย  กลายเป็นสัมมาทิฎฐ  เพราะฉะนั้นอ้ายตัวหยุดนี่แหละหนา  เลิกเป็นมิจฉาทิฎฐิ  กลับเป็นสัมมาทิฎฐิทีเดียว

              หยุดนี่แหละเป็นตัวถูกละ  ก็เอาใจหยุดอยู่ศูนย์กลางดวงธรรมที่ทำให้เป็นมนุษย์ใสบริสุทธิ์เท่าฟองไข่แดงของไก่  ไม่หยุดไม่ยอมกัน  แก้ไขจนกระทั่งใจหยุดกั๊ก  เมื่อใจหยุดแล้วเข้ากลางของใจที่หยุดนั่นแหละกลางของกลาง  ๆ  ไม่มีเขยื้อนที่กลางของกลางทีเดียว  พอถูกส่วนเข้าก็จะเข้าถึงดวงธัมมานุปัสสนาสติปัณฐานเท่าดวงจันทร์ดวงอาทิตย์  ใสเป็นกระจกคันฉ่องส่องเงาหน้า  ใสเกินใส  ใจก็หยุดอยู่กลางดวงของธัมมานุปัสนาสติปัฎฐาน  ถูกส่วนเข้า  เข้าถึงดวงศีล  เท่าดวงธัมมานุปัสนาสติปัฎฐาน  หยุดอยู่กลางดวงศีล  ถูกส่วนเข้า  กลางของกลางที่ใจหยุดหนักเข้า  เข้าถึงดวงสมาธิ  ดวงเท่ากัน

             หยุดอยู่กลาง  ดวงสมาธิ  นั่น  หยุดกลางของกลางถูกส่วนเข้า  เข้าถึง  ดวงปัญญา  หยุดอยู่ศูนย์กลาง  ดวงปัญญา  ดวงเท่ากัน  เข้ากลางของใจที่หยุดนั่น  ถูกส่วนเข้าเข้าถึง  ดวงวิมุตติ  หยุดอยู่กลาง  ดวงวิมุตติ  นั่น  พอหยุดก็เข้ากลางของกลางที่หยุดนั่น  กลางของกลาง  กลางของกลาง  กลางของกลาง  ถูกส่วนเข้า  เข้าถึงดวงวิมุตติญาณทัสสนะ  หยุดอยู่กลาง  ดวงวิมุตติญาณทัสสนะ  นั่นพอถูกส่วนเข้าเท่านั้น  เข้ากลางของใจที่หยุดถูกส่วนเข้า  เห็น  กายมนุษย์ละเอียด  ที่ฝันออกไป  จำได้อ้ายนี้เมื่อนอนฝันออกไป  เมื่อเวลาไม่ฝันมาอยู่ในกลางดวงวิมุตติญาณทัสสนะ  ในกลางดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายมนุษย์นี่เอง  พอถึงรู้นักทีเดียวกำชับให้ฝันได้  นั่งฝันได้ละคราว  จะฝันสักกี่เรื่องประเดี๋ยวก็ได้เรื่อง  ประเดี๋ยวก็ได้เรื่อง  ฝันได้สะดวกสบาย  เมื่อเป็นเช่นนี้อ้อนี่ชั้นหนึ่งแล้วเข้ามาแต่กายมสนุษย์มาถึง  กายมนุษย์ละเอียดแล้ว

                  ใจของกายมนุษย์ละเอียด  หยุดอยู่ศูนย์กลางดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายมนุษย์ละเอียดแบบเดียวกันพอถูกส่วนเข้าเท่านั้น   เห็นดวงศีล  สมาธิ  ปัญญา  วิมุตติ  วิมุตติญาณทัสสนะแบบเดียวกันก็เข้าถึง  กายทิพย์อ้อนี่กายที่  ๓  แล้ว

                  ใจของกายทิพย์  หยุดอยู่ศูนย์กลางดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายทิพย์แบบเดียวกัน  ถูกส่วนเข้าก็เข้าถึงดวงศีล  สมาธิ  ปัญญา  วิมุตติ  วิมุตติญาณทัสสนะแล้วก็ไปเห็น  กายทิพย์ละเอียด  อ้าวถึงกายที่  ๔  แล้ว

                  ใจก็หยุดอยู่ศูนย์กลางที่  ๔  นั่น  หยุดนิ่งอยู่ศูนย์กลางดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายที่  ๔  นั่น  ถูกส่วนเข้าเข้าถึงดวงศีล  สมาธิ  ปัญญา  วิมุตติ  วิมุตติทัสสนะ  ก็เข้าถึงกายรูปพรหม  กายที่  ๕

                  ใจกายรูปพรหม  ก็หยุดนิ่งอยู่ศูนย์กลางดวงธรามที่ทำให้เป็นกายรูปพรหม  ถูกส่วนเข้าก็เข้าถึงกายรูปพรหมละเอียด

                  ใจกายรูปพรหมละเอียด  หยุดนิ่งอยู่ศูนย์กลางดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายรูปพรหมละเอียดนั้น  ถูกส่วนเข้าก็เข้าถึง  กายอรูปพรหม  กายที่  ๗

                  ใจกายอรูปพรหม หยุดนิ่งอยู่ศูนย์กลางดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายอรูปพรหม  ถูกส่วนเข้าก็เข้าถึงกายอรูปพรหมละเอียด

                  ใจกายอรูปพรหมละเอียด  ก็หยุดนิ่งอยู่ศูนย์กลางดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายอรูปพรหมละเอียด  ถูกส่วนเข้าก็เข้าถึง  กายธรรม

                  หยุดนิ่งอยู่ศูนย์กลางดวงธรรมที่ทำให้เป็นธรรมกาย  ถูกส่วนเข้าก็เข้าถึง  กายธรรมละเอียด

                  หยุดนิ่งอยู่ศูนย์กลางดวงธรรมที่ทำให้เป็นธรรมกายละเอียด  ถูกส่วนเข้าก็ถึงกายพระโสดา

                  หยุดนิ่งอยู่ศูนย์กลางดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายพระโสดา  ถูกส่วนเข้าก็เข้าถึงดายพระโสดาละเอียด

                  หยุดนิ่งอยู่ศูนย์กลางดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายพระโสดาละเอียด  ถูกส่วนเข้าก็เข้าถึงกายพระสกทาคา

                  ใจพระสกทาคา  หยุดนิ่งอยู่ศูนย์กลางดวงธรรมที่ทำให้เป็นพระสกทาคา  ถูกส่วนเข้า  แบบเดียวกันหมด  เข้าถึงกายพระสกทาคาละเอียด

                  หยุดนิ่งอยู่ศูนย์กลางดวงธรรามที่ทำให้เป็นพระสกทาคาละเอียด  ถูกส่วนเข้าก็เข้าถึงกายพระอนาคา

                  หยุดนิ่งอยู่ศูย์กลางดวงธรรมที่ทำให้เป็นพระอนาคา  ถูกส่วนเข้าก็เข้าถึงกายพระอนาคาละเอียด

                  ใจพระอนาคาละเอียด  หยุดนิ่งอยู่ศูนย์กลางดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายพระอนาคาละเอียด  ถูกส่วนข้าก็เข้าถึง  กายพระอรหัต  หน้าตัก  ๒๐ วา  สูง  ๒๐  วา  เกตุดอกบัวตูมใสหนักขึ้นไป

                  ใจพระอรหัต  หยุดนิ่งอยู่ศูนย์กลางดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายพระอรหัต  ถูกส่วนเข้าก็เข้าถึง  กายพระอรหัตละเอียด  เสร็จกิจในพุทธศาสนาเพียงเท่านี้

          เพราะอาศัยการรบศึกแค่นี้  ชนะสงครามแล้วในพุทธศาสนา  พุทธศาสนิกชนภิกษุสามเณรชื่อว่าชนะสงครามแล้ว  อุบาสกอุบาสิกาถึงแค่นี้ได้ชื่อว่าชนะสงครามแล้ว  ชนะสงคราม  ชนะความชั่ว  ถ้าไปถึบงธรรมกายขนาดนั้นละก็ความชั่วเท่าปลายขนปลายผมไม่ทำเสียแล้ว  ขาดจากกายวาจา  ใจ  ทีเดียว  นี่พึงรู้ชัดว่า  อ้อพุทธศาสนิกชนปฏิบัติได้จริงจังอย่างนี้  โลกชนะสงคราวแล้วเขาได้รับความเป็นเบิกบานสำราญใจเพียงแค่ไหน  ฝ่ายพุทธศาสนิกชน  ภิกษุ  สามเณร  อุบาสก  อุบาสิกา  ได้ชนะสงครามชั่ว  หมดกิเลสเข้าไปเป็นชั้น  ๆ  เช่นนี้แล้วจะเบิกบานสำราญใจสักแค่ไหน  หาเปรียบไม่ได้ทีเดียว  เลิศล้นพ้นประมาณเป็นสุขวิเศษไพศาล

              ที่ชี้แจงแสดงมานี้  ตามวาระพระบาลีเป็นหลักเป็นประธาน  พอสมควรแก่กาลเวลาด้วยอำนาจสัจจะวาจาที่ได้อ้างธรรมเทศนาตั้งแต่ต้นจนอวสานนี้  ขอความสุขสวัสดีจงบังเกิดมีแก่ท่านทั้งหลาย  บรรดามาสโมสรในสถานที่นี้ทุกถ้วนหน้า  สพฺพพุทานุภเวน  ด้วยอานุภาพพระพุทธเจ้าทั้งปวง  สพฺพธมฺมานุภาเวน  ด้วยอานุภาพพระธรรมทั้งปวง  สพฺพสงฺฆานุภาเวน  ด้วยอานุภาพพระสงฆ์ทั้งปวง  ปิฎกตฺตยานุภาเวน  ด้วยอานุภาพปฺฎกทั้ง  ๓  คือ  สุตตันตปิฎก  วินัยปิฎก  ปรมัตถปิฎก  ชินสาวกานุภาเวน  ด้วยอานุภาพของชินสาวกสาวกของท่านผู้ชนะมาร  จงดลบันดาลความสุขสวัสดิ์จงอุบัติบังเกิดให้ปรากฎในขันธบรรจบแก่ท่านทั้งหลายทั้งคฤหัสถ์บรรพชิด  บรรดามาสโมสร  ในสถานที่นี้ทุกถ้วนหน้า  อาตมภาพชี้แจงแสดงมาพอสมควรแก่เวลาสมมุติว่ายุติธรรมิกถา  โดยอรรถนิยมความเพียงเท่านี้  เอวํ  ก็มีด้วยประการฉะนี้

 

 ยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคล Total Execution Time: 0.0067930857340495 Mins