สาเหตุที่ทําให้ร่างกายเสียสมดุล

วันที่ 21 มิย. พ.ศ.2561

สาเหตุที่ทําให้ร่างกายเสียสมดุล


สุขภาพนักสร้างบารมี , สุขภาพ , การดื่มน้ำ , ร่างกาย , ชีวิต , ระบบภายในร่างกาย , กระดูก , โรค , โรคภัยไข้เจ็บ , สุขภาพร่างกาย , วิธีรักษาสุขภาพ , โครงสร้างพื้นฐานร่างกาย , อาหาร , ยา , ปัสสาวะ อุจจาระ , สมุนไพร , น้ำซุป , ปฏิบัติธรรม , การดูแลตัวเอง , นั่งสมาธิ , ฟัน , น้ำ , Healthy , living , food , body , Health , ดูแลสุขภาพ , สาเหตุที่ทําให้ร่างกายเสียสมดุล

โครงสร้างของร่างกายเสียสมดุล มี สาเหตุ ๓ ประการ คือ

       ๑. ถูกแรงกระทบกระแทกจากภายนอก เมื่อร่างกายถูกกระทบกระแทกจากภายนอก ทำให้โครงสร้างของร่างกายบิดผิดรูปไป แม้ไม่มากนักแต่ก็เสียความสมดุลไปแล้ว ซึ่งส่งผลให้มุมการดึงของกล้ามเนื้อ เส้นเอ็น และพังผืดผิดรูปไปด้วย จึงทำให้เกิดการดึงค้าง เป็นเหตุให้ระบบการไหลเวียนในบริเวณนั้นทำงานไม่สะดวก ตัวอย่างเช่น เด็กหกล้ม ก้นกระแทกผิดมุมเพียงหน่อยเดียว กล้ามเนื้อก็เกร็ง หรือแม้ไม่ผิดมุม กล้ามเนื้อก็ช้ำ การที่กล้ามเนื้อเกร็งก็เพราะต้องการปกป้องตัวเอง อาการเกร็งของกล้ามเนื้อ นอกจากจะปิดกั้นการไหลเวียนบริเวณนั้นแล้ว ยังปิดกั้นสัญญาณประสาทที่ส่งไปทำงานยังส่วนอื่นอีกด้วย หรือการคลอด โดยปกติเมื่อทารกคลอดจากท้องแม่ ทารกจะค่อยๆ ลีบตัวออกมาตามธรรมชาติ เมื่อทารกคนไหนคลอดยาก แพทย์จะตัองใช้คีมดึงออก หรือผ่าท้องออก การคลอดที่มิได้เป็นไปตามธรรมชาติ ล้วนเป็นเหตุให้กล้ามเนื้อ เส้นเอ็น และพังผืด ดึงรั้งผิดปกติไป ทารกที่คลอดผิดธรรมชาติจึงมีโอกาสเจ็บป่วยด้วยโรคประจำตัวตั้งแต่เด็ก

 
     ๒. ตัวเองทำตัวเอง
ในชีวิตประจำวันของคนเรามักจะมีการใช้ทำทางผิดปกติอย่างต่อเนื่อง เช่น การนั่งในท่าที่ผิดนั่งหลังโก่ง หลังงอ ไหล่ห่อ คางยื่น เป็นต้น ท่าทางเหล่านี้ล้วนทำให้ร่างกายเสียสมดุล เพราะเป็นเหตุให้กล้ามเนื้อ เส้นเอ็นและพังผืดดึงรั้งกัน ส่งผลให้ระบบต่างๆ ในร่างกายถูกปิดกั้นสภาวะที่ "ตัวเองทำตัวเอง" นี้เป็นสาเหตุที่ทำให้โครงสร้างของร่างกายเสียสมดุล ซึ่งคนส่วนมากไม่ทราบหรือไม่สนใจ


       ๓. สองอย่างประกอบกัน หมายถึงสาเหตุทั้งประการที่ ๑ และ ๒ มาผสมรวมกัน ที่พบบ่อยคือ เมื่อภาวะเสียสมดุลของร่างกายที่เกิดจากสาเหตุประการที่ ๑ ทำให้เกิดการดึงรั้งของกล้ามเนื้อ เส้นเอ็น และพังผืด แทนที่เจ้าตัวจะคิดแก้ใขให้กลับสู่สภาพปกติตามเดิมด้วยสติปัญญาของตน กลับยอมโอนอ่อนผ่อนตาม พอใจที่จะอยู่ในท่าผิดปกติเช่นนั้นต่อไป ทำให้สาเหตุประการที่ ๒ ตัวเองทำตัวเองตามมา

       ตัวอย่างเช่น เมื่อคนเรามีอาการเคล็ดขัดยอก เนื่องจากถูกแรงกระทบกระแทกจากภายนอก ไม่ว่าจะเป็นการลื่นหกล้มหรือเหตุอื่นใดก็ตาม จนทำให้กล้ามเนื้อ เส้นเอ็น และพังผืดด้านหน้า เกิดการดึงรั้งมาก จึงไม่สามารถนั่งตัวตรงได้ เพราะถ้านั่งตัวตรงก็จะทำให้รู้สึกปวดเมื่อย จึงนั้งหลังงอตามการดึงรั้งของกล้ามเนื้อด้านหน้า เพราะเป็นท่านั่งที่ทำให้เจ้าตัวรู้สึกสบายความรู้สึกสบาย นั้นคือ แรงดึงของกล้ามเนื้อทางด้านหน้าและด้านหลังเกิดความสมดุลกันแล้ว

     ความสมดุลระหว่างแรงดึงของกล้ามเนื้อทางด้านหน้า และด้านหลัง เกิดขึ้นโดยสมองนั้นเอง ที่ส่งสัญญาณสั่งการผ่านมาทางเส้นประสาท ให้กล้ามเนื้อด้านหลังยืดหยุ่น เพื่อให้เกิดแรงดึงสมดุลกับการดึงรั้งของกล้ามเนื้อด้านหน้า แต่สมองไม่รู้เลยว่าการสั่งการทำงานเช่นนี้ร่างกายตัองนั่งหลังโก่ง รู้แต่เพียงว่านั่งสบายแล้ว แต่ทว่าความสบายนั้นเกิดจากท่าทางที่ไม่ถูกต้อง ซึ่งจะเป็นเหตุปัจจัยให้เกิดการดึงรั้งของกล้ามเนื้อในบริเวณอื่นๆต่อไปอีก โครงสร้างของร่างกายก็จะเสียสมดุลมากขึ้น

       จากสาเหตุดังกล่าว จะเห็นว่า การกระทําของตัวเราเองเป็นสาเหตุหลัก เพราะถึงแม้ตัวเราจะถูกแรงกระทบกระแทกจากภายนอก แต่ถ้าตัวเราเองรู้จักวิธีแก้ไข ร่างกายก็ยังสามารถอยู่ในภาวะที่สมดุลได้

          อนึ่ง กระดูกทั้งหลายไม่สามารถเคลื่อนไหวด้วยตัวของมันเองได้ ดังนั้น โครงสร้างของร่างกายจะอยู่ในภาวะสมดุล หรือจะบิดจะเอียงไปอย่างไร ย่อมขึ้นอยู่กับกล้ามเนื้อ เส้นเอ็น และพังผืดที่ยึดโยงกระดูกให้ทำงานได้อย่างสมดุล ถ้าเราฝึกสั่งกล้ามเนื้อของเราให้ปฏิบัติให้ถูก มันก็จะยึดกระดูกของเราให้อยู่ในที่ตามปกติ แต่ถ้าเราปล่อยปละละเลย ไม่ว่ากล้ามเนื้อมันจะดึงไปทางไหนก็ไม่ใส่ใจ ปล่อยให้ตัวห่อตัวงอไปเรื่อย ๆ โครงสร้างของร่างกายก็จะเสียสมดุลมากขึ้นเรื่อย ๆ

         สรุปได้ว่า สาเหตุของความเจ็บป่วยหลายๆ โรค มาจากตัวเราเอง ดังนั้น เราจึงต้องมีสติควบคุมกำกับการทำงานของกล้ามเนื้อ เส้นเอ็น และพังผืด ให้อยู่ในภาวะสมดุลอยู่เสมอร่างกายก็จะอยู่ในภาวะปกติตลอดเวลา ทำให้มีสุขภาพร่างกายสมบูรณ์ แข็งแรง ไม่ต้องทนทุกข์ทรมานด้วยโรคภัยไข้เจ็บนานัปการ

 

 ยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคล Total Execution Time: 0.0090639154116313 Mins