อิริยาบถในชีวิตประจำวันที่ถูกและผิด

วันที่ 22 มิย. พ.ศ.2561

อิริยาบถในชีวิตประจำวันที่ถูกและผิด
 

๑. ท่านั่งสมาธิ

          วางมือบนดักให้แขนทั้งสองแนบชิดลำตัว ถ้าแขนสั้นไปควรหาเบาะเบาๆ มารองมือ เพื่อไม่ให้ไหล่ลู่ลงมากไป แม้เวลาผ่อนคลายกล้ามเนื้อหลังและคอ ต้องตั้งตรง หัวไหล่ผึ่งผายตลอด


รูปท่านั่งสมาธิที่ถูกต้อง
 

รูปท่านั่งสมาธิที่ผิด

 

๒. ท่านั่งพับเพียบ

         เก็บปลายเท้าเข้าหาลําตัว ยืดหลังและคอให้ตรง ด้วยท่าพื้นฐาน
 

รูปท่านั่งพับเพียบที่ถูกต้อง
 

รูปท่านั่งพับเพียบที่ผิด

 

๓. ท่านั่งเทพบุตร

        ยืดหลังและคอให้ตรงด้วยท่าพื้นฐาน
 

รูปท่านั่งเทพบุตรที่ถูกต้อง
 

รูปท่านั่งเทพบุตรที่ผิด

 

๔. ท่านั่งบนเก้าอี้

      ๔.๑. นั่งบนเก้าอี้โดยไม่พิงพนัก วางก้นใกล้ขอบหน้าของที่นั่ง วางเท้าบนพื้นให้แข้งตั้งฉากกับพื้น ให้เท้าทั้งสองข้างเป็นฐานรับน้ำหนักร่วมกับก้น ยืดหลังและคอให้ตรงด้วยท่าพื้นฐานเสมือนพร้อมจะลุกขึ้นยืนได้ทันที

     ๔.๒. นั่่งพิงพนัก วางกันให้ชิดกับพนักก่อน แล้วจึงพิงให้เต็มหลัง ควรเลือกเก้าอี้ที่มีพนักเป็นแผ่นตรง ไม่โค้ง แอ่น หรือโอบรอบหลัง เพราะจะทำให้โครงสร้างกระดูกสันหลังผิดรูปไป
 

รูปท่านั่งบนเก้าอี้ที่ถูกต้อง
 

รูปท่านั่งบนเก้าอี้ที่ผิด

 

๕. ท่านั่งอ่านหนังสือบนโต๊ะ

       จัดท่านั่งให้กระดูกสันหลังยืดตรง (ดังรายละเอียดในหัวข้อท่านั่งบนเก้าอี้) ปรับมุมหนังสือหรือลำตัว เพื่อให้สายตามองหนังสือได้สบาย โดยที่คอและหลังไม่โค้งหรือแอ่น

รูปท่านั่งอ่านหนังสือที่ถูกต้อง

รูปท่านั่งอ่านหนังสือที่ผิด

 

๖. ท่านั่งขับรถ + การม้วนผ้ารองหลัง

       นั่งให้ก้นชิดพนักพิงตลอดเวลา ปรับเลื่อนที่นั่งให้เท้าสามารถเหยียบคันเร่งและเบรกได้เต็มที่ โดยเข่ายังงออยู่เล็กน้อยจับพวงมาลัยที่ตำแหน่งเลข ๙ และ ๓ ของนาฬิกา งอข้อศอกพอสบายขณะหลังพิงพนักเต็มที่ ปรับพนักพิงให้ตั้งหรือเอนพอสบายโดยสามารถคงสภาพแขนและขาดังกล่าวแล้ว หลังต้องพิงพนักให้เต็มที่ตลอดเวลาที่ขับรถ
 

รูปท่าขับรถที่ถูกต้อง
 

รูปท่าขับรถที่ผิด

        เนื่องจากพนักพิงของที่นั่งในรถส่วนใหญ่ในปัจจุบัน ถูกออกแบบให้โค้งและโอบรอบตัว ตามแนวคิดเพิ่มความปลอดภัยเมื่อเกิดอุบัติเหตุ แต่เป็นเหตุให้คนขับและผู้โดยสารถูกบังคับให้หลังโค้งโก่ง ไหล่ห่อ และทรวงอกถูกบีบรัดอย่างต่อเนื่อง จนโครงสร้างเสียสมดุล เราสามารถแก้ปัญหานี้ให้กระดูกสันหลังยืดตรง ทรวงอกขยายและไหล่ผึ่งผาย โดยการใช้ผ้าเช็ดตัวผืนขนาดกลาง ม้วนเป็นแท่ง หรือใช้วัสดุที่มีความอ่อนนุ่ม ทำเป็นแท่งยาว เพื่อหนุนรองตลอดแนวกระดูกสันหลังในขณะนั่งขับหรือโดยสารรถ

รูปการใช้วัสดุรองหลัง
 

รูปการนั่งขับรถด้วยวัสดุรองหลัง

 

๗. ท่ายืน เดิน วิ่ง

        ยืนให้น้ำหนักกดลงบนเท้าทั้งสองข้างเท่า ๆ กัน ยืดหลังและคอให้ตรงด้วยท่าพื้นฐาน แม้เวลาเดินหรือวิ่งก็จัดอยู่ในท่าพื้นฐานเช่นเดียวกัน

รูปท่ายืนที่ถูกต้อง
 

รูปท่าเดิน - วิ่ง ที่ถูกต้อง
 

รูปท่ายืนที่ผิด
 

รูปท่าเดิน - วิ่ง ที่ผิด

 

๘. ท่ายกสิ่งของที่พื้น

      วางเท้าทั้งสองให้เหลื่อมกัน ระยะห่างระหว่างเท้าเท่าก้บความกว้างของไหล่ ย่อตัวลงโดยงอเข่าหน้าและคุกเข่าหลังลงไป ให้เท้าหน้า เข่าหลัง และเท้าหลังประกอบกันเป็นมุมของสามเหลี่ยมยืดหลังให้ตรง จับสิ่งของให้มั่นคงโดยให้น้ำหนักสิ่งของที่จะยกอยู่ภายในหรือใกล้ฐานของสามเหลี่ยมนั้นให้มากที่สุด ยกสิ่งของขึ้นด้วยการยืดข้อเข่า ข้อเท้าและข้อสะโพกขึ้น และระจังให้หลังตรงอยู่เสมอการวางของลงก็ให้ทำในลักษณะเดียวกัน แต่กลับลำดับกันเท่านั้น
 

รูปท่าเตรียมพร้อมยกสิ่งของที่พื้นที่ถูกต้อง
 

รูปท่ายกสิ่งของที่พื้นที่ถูกต้อง
 

รูปท่ายกสิ่งของที่พื้นที่ผิด

 

๙. ท่านอนที่ถูกต้อง

      พยายามนอนหงาย ตัวตรงเสมอ เพื่อไม่ให้เกิดการบิดของกระดูกสันหลังลำตัวลำคอและไม่กดทับอวัยวะต่างๆวางแขนแนบลำตัวหรือกางออกเพียงเล็กน้อย จะวางมือบนท้องหรือหน้าอกก็ได้

       นอนบนที่นอนที่แข็ง เช่น ที่ นอนที่ยัดแน่นด้วยนุ่น หรือใยมะพร้าว เป็นต้น

    หนุนหมอนที่อ่อนนุ่ม ขนาดไม่สูงใหญ่จนทำให้หน้างุ้มคางชิดอก หรือขนาดเล็กจนทำให้หน้าหงาย แต่ขนาดให้พอเหมาะแก่การรองรับศีรษะและลำคอ ให้อยู่ในแนวตรง หน้าตรง คางชิดคอให้คอยืดตรงจากด้านหลัง

    อาจจะนำหมอนอีกใบหนึ่งหนุนรองใต้ข้อพับเข่า ให้เข่างอเล็กน้อย เพื่อช่วยผ่อนคลายแรงดึงของกล้ามเนื้อขา หน้าท้องและหลัง

รูปท่านอนที่ถูกต้อง
 

รูปท่านอนที่ถูกต้อง

         หากไม่สามารถหลีกเลี่ยงที่นอนที่อ่อนนุ่ม ยุบตัว จนทำให้หลังโค้งในเวลานอนได้ ก็อาจจะนำผ้าขนหนูที่ใช้สําหรับเช็ดตัวมาม้วนเป็นแท่งดังภาพ ทำให้มีขนาดพอเหมาะพอดีสำหรับแต่ละคน มาหนุนวางตลอดแนวร่องของกระดูกสันหลังในเวลานอน โดยปลายข้างที่เป็นแผ่นให้สิ้นสุดอยู่ที่ส่วนเอว จะสามารถช่วยทำให้แนวกระดูกสันหลังอยู่ในภาวะสมดุล (ถ้าจะให้ดี ควรวางไวใต้ที่นอน หรือผ้าปูที่นอน เพื่อจะได้ไม่เคลื่อนที่ออกจากแนวเดิม ในขณะที่ทอดกายนอนลง)
 

รูปวิธีม้วนผ้า

      ถ้าเราสามารถรักษาโครงสร้างร่างกายของเรา ให้อยู่ในภาวะสมดุลตลอดเวลา ทุกกิจวัตร กิจกรรม ก็เท่ากับว่า เรารักษาสุขภาพของเราให้แข็งแรงไปด้วย ซึ่งจะเป็นปัจจัยพื้นฐานที่ทําให้เรามีสุขภาพดีตลอดไป

 

 ยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคล Total Execution Time: 0.0067672967910767 Mins