นักสร้างบารมี ต้องสู้

วันที่ 20 ธค. พ.ศ.2564

641220_%E0%B9%80%E0%B8%99%E0%B8%B7%E0%B9%89%E0%B8%AD%E0%B8%AB%E0%B8%B2-1.jpg

นักสร้างบารมี ต้องสู้

        คืนนี้เป็นคืนที่ ๑๗๘ ของการบำเพ็ญกุศลสวดพระอภิธรรมถวายแด่คุณยายอาจารย์มหารัตนอุบาสิกาจันทร์ ขนนกยูง ผู้ให้กำเนิดวัดพระธรรมกาย อาตมาขอบรรยายถึงประวัติ คุณธรรม คำสอนของคุณยายบางประการ ตลอดจนเล่าถึงเหตุการณในช่วงที่คุณยายยังดำรงชีวิตอยู่ ตามที่ได้เห็น ได้ยิน ได้ฟ้ง หรือได้อยู่ในเหตุการณ์ ทั้งนี้เพื่อเป็นกุศโลบายสำหรับท่านสาธุชนทุกท่านที่จะใช้สร้างความดีสืบไป

           ในสมัยที่คุณยายสร้างวัดนั้น ท่านได้ใช้ความวิริยอุตสาหะ พยายามที่จะช่วยประคับประคองหมู่คณะ เหมือนที่อาตมาได้กล่าวแล้วในครั้งก่อนว่า ในช่วงแรกที่เราได้รับบริจาคที่ดิน ๑๙๖ ไร่ ช่วงนั้นพระที่บวชยังมีจำนวนน้อย อายุพรรษาก็ยังไม่มาก ผู้ที่ศรัทธาในช่วงต้นส่วนมากก็จะศรัทธาคุณยาย เพราะคุณยายมีลูกศิษย์ลูกหาเก่าๆ ที่เคยสอนธรรมะเมื่อครั้งท่านอยู่กับหลวงพ่อวัดปากนํ้า หรืออยู่กับคุณยายทองสุข 

           ฉะนั้นนอกจากการนั่งธรรมะปฏิบัตธรรมตามปกติประจำวันของท่านแล้ว คุณยายยังต้องเป็นทั้งประธานการก่อสร้าง ประธานหาทุน แล้วก็รวบรวมทีมที่จะช่วยสร้างวัด รวบรวมหมู่คณะอาสาสมัครทั้งหลาย ต้องคอยประคับประคองให้กำลังใจ จะขอใช้คำว่า ท่านเหมือนกับเป็นนายท้ายเรือคอยคัดหางเสือ ประคับประคองนาวาลำนี้ให้ไปสู่หนทางที่ถูกต้อง ไปสู่เป้าหมายที่ได้ตั้งไว้ ไม่ปัดเป๋ไปทางอื่น นี่แหละงานหลักของคุณยาย

641220_%E0%B9%80%E0%B8%99%E0%B8%B7%E0%B9%89%E0%B8%AD%E0%B8%AB%E0%B8%B2-2.jpg

           คุณยายจะคอยให้คำแนะนำ ให้กำลังใจ แล้วก็คอยแก้ไขเหตุการณ์ ในช่วงตั้งแต่ปี พ.ศ. ๒๕๒๐ เป็นต้นมา สมัยนั้นเรามีเด็กวัดอยู่ไม่กี่คน ช่วงนั้นอาตมาเข้าวัดแล้ว ถ้าจะพูดไปก็เหมือนอุบาสกสมัยนี้แหละ เพราะเด็กวัดทุกคนถือศีล ๘ ความที่มีคนอยู่กันไม่กี่คนนั้นเอง ทำให้เรามีความรักสมัครสมานสามัคคี มีนํ้าหนึ่งใจเดียวกัน มีงานที่ไหนก็ไปช่วยลุยกันที่นั้น ไม่มีการแบ่งแยกแบ่งแผนกกันมาก ทุกคนก็ไปรุมกันอยู่ที่งานจนกว่าจะเสร็จ

641220_%E0%B9%80%E0%B8%99%E0%B8%B7%E0%B9%89%E0%B8%AD%E0%B8%AB%E0%B8%B2-3.jpg

          เช้าๆ คุณยายมักจะมาคอยให้กำลังใจ มาคุยธรรมะในช่วงที่เด็กวัดทุกคนนั่งรับประทานอาหาร อยู่ที่ลานโรงครัวอาคารยามา ท่านเห็นว่า พวกเราเหนื่อยกัน เพราะงานเยอะ แต่คนน้อย

          ท่านจะคุยธรรมะในเรื่องพื้นๆ อย่างเช่นเรื่องบุญ เพื่อให้ทุกคนอยู่ในบุญ ตั้งใจสร้างบุญสร้างกุศล ท่านว่า ทุกคนเกิดมาเป็นมนุษย่นี่ เป็นสิ่งที่สุดประเสริฐแล้ว โชคดี แล้วที่ได้เกิดเป็นมนุษย์ เพราะกว่าจะเกิดเป็นมนุษยใด้ เราเกิดเป็นอะไรต่ออะไรมาเยอะแยะไปหมด เราผ่านมาหมดแล้ว เวียนว่ายตายเกิดอยู่ในวัฏสงสาร ทั้งเกิดเป็นสัตว์นรกก็เคยแล้ว เป็นสัตว์เดรัจฉาน เป็นอสุรกายในทุคติภูมิ เคยมาหมดแล้วทั้งนั้นทุกๆ คนในสุคติภูมิ จะเป็นมนุษย์ เทวดา พรหม อรูปพรหม เราก็เคยเกิดมากันหมดแล้วทั้งนั้น

641220_%E0%B9%80%E0%B8%99%E0%B8%B7%E0%B9%89%E0%B8%AD%E0%B8%AB%E0%B8%B2-4.jpg

           เพราะฉะนั้น การที่ได้มาเกิดเป็นมนุษย์ครั้งนี้ พวกเราอย่าประมาท ถ้าเราเผลอไผลไปทำบาปอกุศล เดี๋ยวก็ร่วงลงไปในทุคติภูมิ ในนรกอีกแหละ กว่าจะมีโอกาสได้วนกลับมาสร้างบารมีอีกก็ใช้เวลาอีกยาวนาน แต่ถ้าเราไม่ประมาท สั่งสมบุญเรื่อยๆ ก็มีแต่ไปสู่สุคติภูมิเรื่อยๆ ท่านจะเน้น ให้พวกเราต้องพยายามหมั่นสร้างความดีไปเรื่อยๆ เรายังต้องเกิดกันอีกหลายภพหลายชาติ เราจะต้องลั่งสมเสบียง ใครมีเสบียงมากก็สบายหน่อย แล้วบุญก็เป็นเสบียงที่ดีที่สุดที่จะติดตัวเราไปทุกภพทุกชาติ มนุษย์ไม่ได้เก่งเลย มีแต่บุญและบาปชักใยอยู่เบื้องหลัง ความสำเร็จต่างๆ เกิดจากบุญเท่านั้น บุญที่ได้ทำมาดี แล้วในอดีต

           เรามีโอกาสได้มารวมกันอยู่ที่นี่ ก็ขอให้ตั้งใจเอาบุญด้วยกัน ให้ทุกคนช่วยกันอย่างเต็มที่ เรามีกันอยู่น้อยต้องร่วมมือร่วมใจกัน กินด้วยกัน อยู่ด้วยกัน ทำงานด้วยกัน ให้รักกันเหมือนพี่น้องนักสร้างบารมี คุณยายจะให้โอวาท ในลักษณะนี้

          ท่านจะให้กำลังใจตลอดว่า เราต้องสู้นะ อย่าหนี ไม่ใช่สู้กับอะไร สู้กับกิเลสความขี้เกียจของเราน่ะแหละ ไอ้ตัวขี้เกียจที่มันนอนนิ่งอยูในกมลสันดานของเรา ทำให้เราไม่ไปสู่หนทางพระนิพพานเสียที เราไม่ได้ไปรบพุ่งกับใครนะ เรารบกับกิเลสในตัวของเรา แก้ไขความไม่ดีของเรา ความขี้เกียจของเรา เพราะฉะนั้นให้สู้เถอะ ทุกคนเกิดมาแล้วก็ต้องสู้กันไป สู้เพี่อสร้างบารมีของเราไปเรื่อยจนกว่าจะตายจากกันไป เพื่อเราจะได้เป็นคนที่สมบูรณ์ที่สุด ที่จะไปสู่หนทางพระนิพพาน สู้ก็ตาย หนีก็ตาย สู้ดีกว่า ยังมีหนทางชนะ ไหนๆ ชาตินี้มันก็ต้องตายหมดทุกคนอยู่แล้ว ก็สู้ให้มันสุดฤทธิ์สุดเดชไปเลย ชาติหน้าจะได้มีบุญเป็นทุนได้เยอะๆ ทำบุญจะได้มากต้องทำตอนมีชีวิตอยู่ ยังมีกายมนุษย์ ทำอยู่ในเส้นทางพระรัตนตรัย

 641220_%E0%B9%80%E0%B8%99%E0%B8%B7%E0%B9%89%E0%B8%AD%E0%B8%AB%E0%B8%B2-5.jpg

          คุณยายเล่าว่า ในสมัยที่ท่านเด็กๆ ท่านจะพยายามปรับปรุงแก้ไขตัวเองตลอด พอได้ยินผู้ใหญ่ดุด่าว่ากล่าวคนอื่น ไม่ว่าจะเรื่องอะไรก็ตาม ท่านก็จะจดจำเอาไว้ แล้วมาปรับตัวเองว่า เออ เราจะต้องไม่เป็นอย่างนั้นนะ เราจะแก้ไขตัวของเรา ไม่ทำผิดอย่างนั้น

           แม้กระทั่งสมัยที่มาอยู่กับหลวงพ่อวัดปากน้ำ ท่านจะไม่ยอมให้หลวงพ่อมาดุว่าเป็นไอ้ขึ้ได้ จะพยายามแก้ไขตัวเอง จากการที่หลวงพ่อดุว่าคนอื่น ท่านจะเอามาปรับตัวเองเสียก่อน เพราะฉะนั้นท่านจะสอนให้พวกเด็กวัดในสมัยก่อนนั้น ปรับปรุงแก้ไขสำรวจตรวจตราตัวเองว่า เรามีข้อบกพร่องอะไร ไม่ว่าจะความคิด คำพูด หรือการกระทำ ไหนๆ ก็เกิดมาพบพระพุทธศาสนาแล้วพบคุณยาย พบหลวงพ่อธัมมชโย พบหลวงพ่อวัดปากป้า และพบวิชชาธรรมกายแล้ว ก็ให้แก้ไขไปได้มากได้น้อยก็ต้องตรึกไว้เสมอว่า ความไม่ดีทุกอย่างของตัวเองนี้ ต้องแก้ให้ได้ อย่าไปเสียดาย เลิกๆ โละๆ มันทิ้งไปเสีย อย่าไปถนอมมันไว้ อะไรไม่ดี พยายามเลิกเสีย โละออกจากจิตใจของเราไปเสียให้ได้

       641220_%E0%B9%80%E0%B8%99%E0%B8%B7%E0%B9%89%E0%B8%AD%E0%B8%AB%E0%B8%B2-6.jpg

           ถ้าเราแก้ไขในชาตินี้ได้ สิ่งเหล่านี้จะหลุดออกไปเลย ไม่ติดไปในภพเบื้องหน้าอีก ท่านจะสอนให้เราพยายามแก้ไขตัวเอง แล้วก็ให้อธิษฐานล้อมคอกเอาไห้ดี อย่าได้เจอะเจอสิ่งท่ไม่ดีอีก อย่าได้คบคนพาล อย่าใกล้ชิดหรืออยู่ในแวดวงของคนพาล ให้เราคบแต่บัณฑิตนักปราชญ์ที่จะชักนำพาไปสู่ความดี ให้เราสร้างความดีให้ยิ่งๆ ขึ้นไป

          ในสมัยต้นๆ ของการสร้างวัดคุณยาย นอกจากจะหาทุน ดูแลอะไรต่ออะไรสารพัดแล้ว ท่านยังตั้งกฎระเบียบขึ้นมาดูเรื่องต่างๆ ของเด็กวัด เด็กวัดที่มาสมัยนั้นก็คือธรรมทายาทรุ่นเก่าๆ ที่อบรมผ่านไปแต่ละปี จะมารวมกัน บางทีเข้ามาวันศุกร์ตอนเย็น บางทีมารวมกันวันเสาร์ เพื่อเตรียมงานบุญวันอาทิตย์ 

           สมัยก่อนงานบุญวันอาทิตย์ เราจัดอยู่ที่ศาลาจาตุมหาราชิกา ในบริเวณวัด ๑๙๖ ไร่ ถ้าวันไหนมีงานเยอะ เราก็ทำงานไปจนค่ำมืด แล้วก็พักผ่อน แต่ถ้าวันไหนงานน้อย พองานเสร็จเร็ว คราวนี้ก็นั่งปรึกษางานกันแหละ นั่งคุยกันว่างั้นเถอะ นั่งเม้าท์ (mouth) กันไปเรื่อย คุยกันไป คุยกันมา พอเรื่องงานจบก็ต่อเรื่องโน้น คนโน้นต่อเรื่องนี้ทีเรื่องโน้นที ต่อไปต่อมายาวเป็นชั่วโมง คือในเบื้องต้นอาจจะคุยให้กำลังไจกัน เสร็จแล้วก็คุยเรื่องนั้น เรื่องนี้เลยเถิดไป จนกระทั่งไปถึงเรื่องโลกๆ

          พอสัก ๓ ทุ่ม ๔ ทุ่ม คราวนี้ ดึกหน่อยยังไม่จบ คุณยายมาแล้วถือไฟฉายมาอันหนึ่งส่องกราดเลย สมัยนั้นคุณยายอายุประมาณ ๗๐ ปี ท่านเดินเร็วมาก แป๊บเดียวถึงแล้ว นั่งเม้าท์ (mouth) กันอยู่หลบไม่ทันหรอก เปิดประตูเข้ามาเท่านั้น พูดได้คำเดียวว่า "วงแตก" เพราะคุณยายไม่อยากให้คุยเรื่องโลกๆ

          ท่านก็จะมาให้โอวาทว่า แหมคุยกันไม่รู้จักจบจักสิ้นนะ ท่านจะเปรียบว่า เหมือนไอ้ขี้เหล้าในวงเหล้าคุยกันไม่รู้จักจบจักสิ้น คุยกันทั้งวันอย่างนี้ คุยกันได้ถึงเช้า หาจุดจบไม่เจอ อย่าดีแต่คุยนักเลย คุยน่ะมันง่ายแต่จะทำให้ได้อย่างที่คุยมันยาก วัตถุประสงค์คือ ท่านไม่อยากให้นอนดึก เมื่อ เสร็จภารกิจอะไรแล้วก็รีบไปอาบนํ้าอาบท่า ไปนั่งสมาธิ ได้พักผ่อน ตื่นเข้าจะได้สดชื่น ใครมีภาระหน้าที่อะไรในวันอาทิตย์ ก็ไปประจำตามหน่วย ตามจุดงานของตัวเอง

641220_%E0%B9%80%E0%B8%99%E0%B8%B7%E0%B9%89%E0%B8%AD%E0%B8%AB%E0%B8%B2-7.jpg

          เรื่องที่คุณยายดูแลอุบาสกเด็กวัด (คุณยายมักจะเรียกอุบาสกในสมัยนั้นว่าเด็กวัด) ในสมัยก่อนนั้นเป็นอย่างนี้ ท่านมักจะบอกว่า อุบาสกรุ่นนี้ต้องเข้มงวดหน่อย เพราะว่าชุดนี้ต่อไปบวชเป็นพระ จะได้เป็นพระที่ดี แล้วก็รู้อุปนิสัยคุณยาย ชอบอะไร ไม่ชอบอะไร ต่อไปเราก็จะได้มีเรื่อง หรือมีหัวข้อธรรมที่จะไปสอนรุ่นน้องๆ ต่อไป

จากหนังสือ เกิดด้วยสองมือยาย 

พระรังสฤษดิ์ อิทฺธิจินฺตโก

 ยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคล Total Execution Time: 0.027815413475037 Mins