อนุสรณ์สถานคลองบางนางแท่น

วันที่ 08 มค. พ.ศ.2567

8-1-67-1-b.jpg

อนุสรณ์สถานคลองบางนางแท่น อำเภอสามพราน จังหวัดนครปฐม
Klong Bangnangtan Memorial  Sampran, Nakorn Pathom


               อนุสรณ์สถานคลองบางนางแท่น จังหวัดนครปฐมแห่งนี้ เป็นสถานที่เราได้ร่วมกันสถาปนาเพื่อน้อมบูชาธรรมพระเดชพระคุณหลวงปู่พระผู้ปราบมาร เป็นการประกาศพระคุณผู้ค้นพบวิชชาธรรมกาย ในเส้นทางพระผู้ปราบมาร ซึ่งคลองบางนางแท่นแห่งนี้ ท่านได้ตั้งมโนปณิธานอธิษฐานจิตบวชตลอดชีวิตตอนอายุได้ ๑๙ ปี ซึ่งเป็นจุดเปลี่ยนของชีวิตครั้งสำคัญ


              พระเดชพระคุณหลวงปู่พระผู้ปราบมาร สมัยท่านยังเป็นฆราวาสอยู่ ท่านมีอาชีพเป็นพ่อค้าขายข้าว ได้ล่องเรือไปทำมาค้าขาย จนกระทั่งอายุได้ ๑๙ ปี ขากลับที่จะไปจังหวัดสุพรรณบุรี ล่องเรือมาผ่านคลองลัดบางนางแท่น ซึ่งจะลัดระยะทางให้สั้นลง


               คลองลัดแห่งนี้ในสมัยก่อนนั้นเป็นคลองที่ชุกชุมด้วยชุมนุมโจรทั้งหลาย ที่จะปล้นสะดมทรัพย์สำหรับผู้ที่ล่องเรือผ่านมาในเส้นทางนี้


                ดังนั้น...คลองลัดบางนางแท่นแห่งนี้ ทำให้ท่านได้ข้อคิดอยู่อย่างหนึ่งว่า...คนเราทุกคนต้องเกิด แก่ เจ็บ ตาย โดยเฉพาะผู้ที่ใกล้ชิดเรา บรรพบุรุษของเรา ปู่ย่าตายายของเรา ท่านก็ทำมาค้าขายอย่างนี้ ได้ทรัพย์สินเงินทองมามากมาย แต่ตายแล้วก็เอาไปไม่ได้เลยแม้สัก
อย่างหนึ่ง เอาไปได้แค่บุญกับบาปเท่านั้น

 
               ถ้าเราทำตามอย่างบรรพบุรุษ เราก็ต้องหาเงินทองทั้งชีวิต เราอย่าทำอย่างนั้นเลย ตอนนี้เรายังอยู่ในช่วงที่แข็งแรง ได้เกิดมาเป็นมนุษย์มาพบพระพุทธศาสนาแล้ว เราควรใช้วันเวลาที่เหลืออยู่ในชีวิต ซึ่งไม่ทราบว่าจะยาวนานเพียงใด เพราะความตายไม่มีนิมิตหมาย ทำประโยชน์อันยิ่งใหญ่ที่สุดของชีวิตดีกว่า คือการออกบวชในเพศสมณะ ชีวิตนี้เป็นชีวิตที่ประเสริฐที่สุดของการเกิดมาเป็นมนุษย์ โดยเฉพาะในยุคที่มีการบังเกิดขึ้นของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า เพื่อสืบต่ออายุพระพุทธศาสนา เราจะต้องออกบวช


               ในระหว่างล่องเรือผ่านคลองลัดบางนางแท่น ท่านได้อยู่หัวเรือ แล้วให้ลูกน้องอยู่ท้ายเรือ โจรมักจะทำร้ายผู้ที่อยู่ท้ายเรือ ซึ่งท่านก็ได้ข้อคิดว่า “ทรัพย์นี้ก็ของเรา เราจะให้ผู้อื่นซึ่งไม่ใช่เจ้าของทรัพย์ มาเป็นอันตรายแทนตัวเราหาควรไม่ เวลาโจรร้ายมาก็จะต้องทำร้ายผู้ที่อยู่ท้ายเรือก่อน” ท่านจึงเปลี่ยนจากการนั่งหัวเรือมาอยู่ท้ายเรือ แล้วก็ตั้งมโนปณิธานว่า “ถ้าเรารอดชีวิตไปได้ก็จะออกบวช บวชแล้วจะไม่สึกเลย จะอยู่ในเพศสมณะนี้จนกว่าชีวิตจะหาไม่”

 
               เป็นมโนปณิธานอันยิ่งใหญ่ ซึ่งไม่ใช่ว่าจะเกิดขึ้นกับใครง่าย ๆ จะเกิดขึ้นกับพระบรมโพธิสัตว์เท่านั้น เช่นเดียวกับพระสัมมาสัมพุทธเจ้าของเราพระองค์นี้ ตอนที่ท่านเป็นเจ้าชายสิทธัตถะที่กำลังประพาสในพระราชอุทยาน แล้วเห็นเทวทูตทั้ง ๔ แบบเดียวกัน


               ดังนั้น...ณ จุดที่ท่านได้ตั้งมโนปณิธานตอนอายุ ๑๙ นี้ ทำให้ภาวะต่อมาก็เกิดขึ้น ตั้งแต่เกิดใหม่ในเพศสมณะ เกิดใหม่ด้วยธรรมกาย กระทั่งเผยแผ่วิชชาธรรมกายและค้นคว้าไปสู่การปราบมาร จนกระทั่งนำมาถึงจุดที่ขยายวิชชาธรรมกายไปทั่วโลกที่วัดพระธรรมกายของเรา


               เราทำเพื่อประกาศคุณบูชาธรรมพระเดชพระคุณหลวงปู่ด้วยความเคารพเลื่อมใสเทิดทูน เพราะการบูชาบุคคลที่ควรบูชาอย่างท่าน เป็นสิ่งที่ควรทำอย่างยิ่ง และเป็นมงคลอันสูงสุดของชีวิต


                สิ่งนี้ไม่ได้เกิดขึ้นอย่างง่าย ๆ การบังเกิดขึ้นของพระเดชพระคุณหลวงปู่ไม่ใช่เรื่องง่าย พญามารกันนักกันหนาไม่อยากให้ท่านเกิด เพราะกลัว “พระผู้ปราบมาร” คำว่า “พระผู้ปราบมาร” จึงมีความสำคัญมาก ๆ และไม่ได้เกิดขึ้นง่าย ด้วยเหตุนี้จึงสมควรที่เราจะต้องบูชาธรรมท่าน  ด้วยการมาประกาศคุณบูชาธรรมสถาปนาเส้นทางพระผู้ปราบมารให้บังเกิดขึ้น และก็หวังว่า "คลองบางนางแท่นแห่งนี้ จะเป็นแรงบันดาลใจให้พระพุทธบุตรกองพันธรรมยาตราทุก ๆ รูป  จะบวชให้ได้ ๒ ชั้น และบวชสร้างบารมีต่อไปอีกนาน ๆ"

 

 

                 Klong Bangnangtan Memorial in Nakorn Pathom is the premises that we jointly established to pay gratitude to Luang Pu, the Mara Vanquisher, and declare the virtues of Luang Pu who rediscovered Vijja Dhammakaya. At Bangnangtan canal, he made the determination to ordain for the rest of his life when he was 19. This was the turning point of his life.


                 Luang Pu, while still a layman, was a rice trader. He shipped rice through canals and rivers to places until the age of 19. On one particular night on his way back to Suphanburi, he took a shortcut via the Bangnangtan canal.


                 In the past, this shortcut canal was notorious for bandits plundering passersby. Being in a dangerous place, he thought, "Every person goes through the same four stages of life: being born, aging, getting sick, and dying. Nobody can take anything with them when they die. All my ancestors had accumulated wealth for their entire lives but finally had to leave everything behind when they passed away. The only thing that can follow ones to the Hereafter is merit and demerit."


                  He thought, "If I follow my ancestors' path, I will have to make money for the rest of my life. I shall not do that. As I am still healthy and fortunate to discover Buddhism, I should spend the remaining time which length cannot be predicted doing something most beneficial for my life, that is, to ordain as a monk. Being a monk is the noblest way to live one's life, especially during the time Buddhism exists. To carry on Buddhism, I must ordain."


                   During the cruise through the Bangnangtan shortcut canal, Luang Pu was initially sitting at the bow while his subordinate was assigned to stay at the stern. It was well known that robbers often attack those at the stern first. Realizing this, he thought, "I am the owner of the property. It is not fair to let someone else be in danger in my place. When robbers come, they attack the person at the back of the boat first." So, he switched from sitting at the bow to the stern and then made the determination: "If I survive, I will ordain as a Buddhist monk for the rest of my life."


                  This is a great determination that is hard to find. Ordinary people do not make this kind of determination. Only a Bodhisattva (an individual who is on the path toward Buddhahood) does. Our Lord Buddha, when he was Prince Siddhartha, made such determination when he visited the royal park and saw the Four Signs (elderly person, sick person, corpse, and ascetic).


                   So, the place which he had made his determination at the age of 19 was the starting point for later significant events, namely, being born-again as a Buddhist monk, being born-again with the Dhammakaya within, expanding Vijja Dhammakaya, researching towards the subjugation of Mara, and afterward expanding Vijja Dhammakaya worldwide, beginning with Wat Phra Dhammakaya in Thailand.


                    We do these activities to declare our gratitude to Luang Pu, the Mara Vanquisher, with respect and reverence. Expressing respect to those who are worth respecting, like him, is something that should be done and is the highest blessing of life.


                   The birth of Luang Pu was not easy. Mara did not want him to be born. Being afraid of "the Mara Vanquisher," Mara had tried to block his birth. The word "The Mara Vanquisher" is very important and does not happen easily. For this reason, it is appropriate for us to pay gratitude to him by announcing the establishment of the path of the Mara Vanquisher. I hope that "Klong Bangnangtan Memorial will be an inspiration for every Dhammayatra monk who is already physically ordained to be spiritually ordained through Dhammakaya attainment and will stay in the monkhood to pursue Perfections for a long time."

 ยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคล Total Execution Time: 0.0081761837005615 Mins