ทางสู่ธรรมกาย

วันที่ 04 มีค. พ.ศ.2567

040367b01.jpg
ทางสู่ธรรมกาย
(นำนั่งสมาธิเบื้องต้น)

โดย... พระราชภาวนาวิสุทธิ์ (หลวงพ่อธัมมชโย)

 

                   บูชาพระพร้อม ๆ กัน ท่านหญิงว่าสะระณังคะตา นะ ท่านชายว่าสะระณังคะโต


                   ยะมะหัง สัมมาสัมพุทธัง ภะคะวันตัง สะระณัง คะโต, อิมินา สักกาเรนะ, ตังภะคะวันตัง อะภิปูชะยามิ


                   ข้าพเจ้าบูชาบัดนี้ ซึ่งพระผู้มีพระภาคเจ้า ผู้ตรัสรู้แล้วเองโดยชอบ ซึ่งข้าพเจ้าถึง ว่าเป็นที่พึ่ง กำจัดทุกข์ได้จริง ด้วยสักการะนี้


                    ยะมะหัง สะวากขาตัง, ภะคะวะตา ธัมมัง สะระณังคะโต, อิมินา สักกาเรนะ, ตัง ธัมมัง อะภิปูชะยามิ


                    ข้าพเจ้าบูชาบัดนี้ ซึ่งพระธรรมอันพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสดีแล้ว ซึ่งข้าพเจ้าถึง ว่าเป็นที่พึ่ง กำจัดภัยได้จริง ด้วยสักการะนี้


                    ยะมะหัง สุปะฏิปันนัง, สังฆัง สะระณัง คะโต, อิมินา สักกาเรนะ ตัง สังฆัง อะภิปูชะยามิ


                    ข้าพเจ้าบูชาบัดนี้ ซึ่งพระสงฆ์ผู้ปฏิบัติดี ซึ่งข้าพเจ้าถึงว่าเป็นที่พึ่ง กำจัดโรคได้จริง ด้วยสักการะนี้

 

                    อะระหัง สัมมาสัมพุทโธ ภะคะวา, พุทธัง ภะคะวันตัง อภิวาเทมิ


                     สะวากขาโต ภะคะวะตา ธัมโม, ธัมมัง นะมัสสามิ


                     สุปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ, สังฆัง นะมามิ

 

                ต่อจากนี้ขอให้ทุกคนตั้งใจขอสมาลาโทษแด่พระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ ที่เราได้เคยพลั้งพลาดด้วย กาย วาจา ใจ เพื่อความบริสุทธิ์ บริบูรณ์ของกาย วาจา ใจ เมื่อกาย วาจาใจของเราสะอาดบริสุทธิ์ดีแล้ว จะได้ เหมาะสมที่จะเป็นภาชนะรองรับ พระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ ได้ ต่อไป ก่อนที่เราจะได้ขอสมาลาโทษ ขอให้ทุกคนพึงตั้งใจสอดไปถึงพระผู้มีพระภาคเจ้า นอบน้อมไปถึงพระผู้มีพระภาคเจ้า ทั้งในอดีต ทั้งในปัจจุบัน และในอนาคต ด้วยปณามคาถาว่า นะโมตัสสะ ให้ทุกคนพึงกล่าวนอบน้อมบูชาแด่พระผู้มีพระภาคเจ้าโดยพร้อมเพรียงกันนะ


                      หันทะมะยัง พุทธัสสะ ภะคะวะโต ปุพปะภา คะนะมะการัง กะโรมะเส


                      นะโม ตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมาสัมพุทธัสสะ (๓ จบ)


                     อุกาสะ, อัจจะโย โน ภันเต, อัจจัคคะมา, ยะถาพาเล, ยะถามุฬเห, ยะถาอะกุสะเล, เย มะยัง กะรัมหา, เอวัง ภันเต มะยัง, อัจจะโยโน, ปะฏิคคัณหะถะ, อายะติง สังวะเรยยามะ


                    ข้าพระพุทธเจ้าขอวโรกาส, ที่พลั้งพลาดด้วยกาย วาจา ใจ, ในพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์, เพียงไร, แต่ข้าพระพุทธเจ้า, เป็นคนพาลคนหลง, อกุศลเข้าสิงจิต, ให้กระทำความผิด, ต่อพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์, ขอพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์, จงงดความผิดทั้งหลายเหล่านั้น, แก่ข้าพระพุทธเจ้า, จำเดิมแต่วันนี้เป็นต้นไป ข้าพระพุทธเจ้า จักขอสำรวมระวัง, ซึ่งกาย วาจา ใจ, สืบต่อไปในเบื้องหน้า

 


                    เมื่อกาย วาจา ใจ ของเราสะอาดบริสุทธิ์ดีแล้ว ต่อจากนี้ เราจะได้อาราธนาพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์เข้าสิงสถิตอยู่ในกาย วาจา ใจของเราให้สืบไป ให้ตั้งใจว่าโดยพร้อมเพรียงกันนะ


               อุกาสะ ข้าพระพุทธเจ้า ขออาราธนา สมเด็จพระพุทธเจ้า ที่ได้ตรัสรู้ล่วงไปแล้วในอดีตกาล มากกว่าเมล็ดทราย ในท้องพระมหาสมุทรทั้ง ๔ และสมเด็จพระพุทธเจ้าอันจักได้ตรัสรู้ ในอนาคตกาลภายภาคเบื้องหน้า  และสมเด็จพระพุทธเจ้าที่ได้ตรัสรู้ในปัจจุบันนี้ ขอจงมาบังเกิดในจักขุทวาร โสตทวาร ฆานทวาร ชิวหาทวาร กายทวาร มโนทวาร แห่งข้าพระพุทธเจ้า ในกาลบัดเดี๋ยวนี้เถิด 


                    อุกาสะ ข้าพระพุทธเจ้าขออาราธนา พระนพโลกุตตรธรรมเจ้า ๙ ประการ ในอดีตกาล ที่ล่วงลับไปแล้ว จะนับจะประมาณมิได้ และพระนพโลกุตตรธรรมเจ้า ๙ ประการ ในอนาคตกาลภายภาคเบื้องหน้าและพระนพโลกุตตรธรรมเจ้า ๙ ประการในปัจจุบันนี้ ขอจงมาบังเกิดในจักขุทวาร โสตทวาร ฆานทวาร ชิวหาทวาร กายทวาร มโนทวาร แห่งข้าพระพุทธเจ้า ในกาลบัดเดี๋ยวนี้เถิด


                      อุกาสะ ข้าพระพุทธเจ้าขออาราธนา พระอริยสงฆ์กับสมมติสงฆ์ ในอดีตกาลที่ล่วงลับไปแล้ว จะนับจะประมาณมิได้ และพระอริยสงฆ์กับสมมติสงฆ์ ในอนาคตกาลภายภาคเบื้องหน้า และพระอริยสงฆ์กับสมมติสงฆ์ในปัจจุบันนี้ ขอจงมาบังเกิดในจักขุทวาร โสตทวาร ฆานทวาร ชิวหาทวาร กายทวาร มโนทวาร แห่งข้าพระพุทธเจ้า ในกาลบัดเดี๋ยวนี้เถิด


                    ขอเดชคุณพระพุทธเจ้า คุณพระธรรมเจ้า คุณพระสงฆ์เจ้า (ท่านหญิงว่า คุณครูบาอาจารย์นะ) คุณครูอุปัชฌาย์อาจารย์ คุณมารดาบิดา คุณทานบารมี ศีลบารมี เนกขัมมบารมี ปัญญาบารมี วิริยบารมี ขันติบารมี สัจจบารมี อธิษฐานบารมี เมตตาบารมี อุเบกขาบารมี ที่ข้าพเจ้าได้บำเพ็ญมา ตั้งแต่ร้อยชาติพันชาติ หมื่นชาติแสนชาติก็ดี ที่ข้าพเจ้าได้บำเพ็ญมา ในปัจจุบันนี้ ตั้งแต่เล็กแต่น้อย จะระลึกได้ก็ดี มิระลึกได้ก็ดี ขอบุญบารมีทั้งหลายเหล่านั้น จงมาช่วยประคับประคองข้าพเจ้า ขอให้ข้าพเจ้าได้สำเร็จมรรคและผล ในการปัจจุบันนี้เทอญ นิพพานะปัจจะโย โหตุ ฯ


                      บูชาพระเสร็จเราก็นั่งเข้าที่กันทุกคน นั่งเข้าที่กัน นั่งขัดสมาธิ ถ้าใครนั่งขัดสมาธิไม่ถนัดจะนั่งพับเพียบก็ได้ ขาขวาทับขาซ้าย มือขวาทับมือซ้าย ให้นิ้วชี้มือขวาจรดนิ้วหัวแม่มือข้างซ้าย ให้นิ้วชี้ขวาจรดนิ้วหัวแม่มือข้างซ้าย แล้วก็วางไว้บนหน้าตักพอสบาย ๆ ทุก ๆ คน หลับตาเบา ๆ พอสบาย ๆ คล้าย ๆ กับเรานอนหลับหลับตาเบา ๆ พอสบาย ๆ คล้าย ๆ กับเรานอนหลับ ปรับท่านั่งของเราให้พอเหมาะต่อการปฏิบัติธรรม ให้มีความรู้สึกว่านั่งแล้วสบาย ถ้าว่านั่งแล้วสบายเนี่ยะ ก็หมายความว่าเราจะนั่งไปนานเท่าไหร่ก็ได้ โดยไม่รู้สึกเบื่อหน่าย ไม่เมื่อย ไม่มึนไม่ซึมอะไรอย่างนั้น ให้กล้ามเนื้อทุกส่วนผ่อนคลายให้หมด ตั้งแต่กล้ามเนื้อที่เปลือกตากล้ามเนื้อที่หน้าผาก กล้ามเนื้อที่ศีรษะ กล้ามเนื้อที่ต้นคอ ให้ผ่อนคลายให้หมด กล้ามเนื้อบริเวณช่วงบ่าทั้ง ๒ หัวไหล่ทั้ง ๒ ตลอดไปจนกระทั่งถึงปลายนิ้วมือให้ผ่อนคลายให้หมด กล้ามเนื้อบริเวณลำตัว ให้ผ่อนคลายให้หมด ตลอดจนกระทั่งถึงปลายนิ้วเท้า ให้ผ่อนคลายให้ปรับกล้ามเนื้อให้ดีนะ ให้ผ่อนคลายให้หมด

 

                     แล้วก็ปล่อยวางภารกิจ เครื่องกังวลทั้งหมดที่มีอยู่ในใจ จะเป็นเรื่องอะไรก็ตาม ให้ลืมไปชั่วขณะที่เราจะได้ปฏิบัติธรรม ความกังวลเกี่ยวกับเรื่องครอบครัวก็ดี เกี่ยวกับเรื่องธุรกิจการงาน การศึกษาเล่าเรียน เราต้องปลดต้องปล่อย ต้องวางหมดภารกิจทั้งหลายเหล่านั้น ทำดังประหนึ่งเราอยู่คนเดียวในโลก ไม่มีภารกิจเครื่องกังวลใด ๆ ทั้งสิ้น มีแต่กายก้อนนี้ ยาววา หนาคืบ กว้างศอก และก็จิตใจของเราที่ใสสะอาดบริสุทธิ์ เหมาะสมที่จะเป็นภาชนะรองรับพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ ต้องปรับกายและใจให้ได้อย่างนี้นะ ซึ่งเราจะใช้เวลาไม่เกิน ๕ นาทีเนี่ย ในการปรับทั้งกายและใจ ให้เหมาะสมต่อการปฏิบัติธรรม ความรู้ที่เคยศึกษาเล่าเรียนในทางธรรมจากครูบาอาจารย์ต่าง ๆ หรือตามตำหรับตำรานะ ให้ปล่อยวางไว้ชั่วขณะ ทำประหนึ่งว่าเราไม่เคยเรียนรู้อะไรมาก่อนเลย ใจจะได้สงบรวมได้ง่าย เพราะฉะนั้นเราวางให้หมดทุกสิ่งทุกอย่างในโลกกระทั่งความรู้ต่าง ๆ นะทุก ๆ คน  

 

                      ทีนี้สำหรับผู้ที่มาปฏิบัติอย่างสม่ำเสมอเข้าใจวิธีการปฏิบัติอย่างดีแล้ว ก็ให้เอาใจตั้งไว้ที่ศูนย์กลางกายฐานที่ ๗ เลย กำหนดบริกรรมนิมิตและก็บริกรรมภาวนา ให้ควบคู่กันไปอย่างที่เราได้เคยปฏิบัติกันมาทุก ๆ อาทิตย์ แต่สำหรับท่านที่มาใหม่ยังไม่เคยปฏิบัติแบบนี้เลย ก็ให้นึกน้อมจิตตามเสียงที่หลวงพ่อจะได้แนะนำต่อไปนะ กำหนดบริกรรมนิมิตขึ้นมาในใจ สำหรับท่านที่มาใหม่นะ กำหนดบริกรรมนิมิตขึ้นมาในใจเป็นดวงแก้วใสบริสุทธิ์ ประดุจเพชรลูกที่เจียระไนแล้ว ไม่มีขนแมวโตเท่ากับแก้วตาของเรา กำหนดบริกรรมนิมิตเป็นดวงแก้วกลมรอบตัว ให้ใสบริสุทธิ์ประดุจเพชรลูกที่เจียระไนแล้ว ไม่มีขนแมว ไม่มีขีดไม่มีข่วน ไม่มีรอยตำหนิ โตเท่ากับแก้วตาของเรา 

 

                        กำหนดก็คือเราสร้างมโนภาพขึ้นมาในใจ เป็นดวงแก้วใสบริสุทธิ์ ประดุจเพชรลูกที่เจียระไนแล้ว ไม่มีขนแมวโตเท่ากับแก้วตา ให้นึกสร้างขึ้นมาในใจนะ การนึกถึงบริกรรมนิมิต ให้นึกง่าย ๆ คล้าย ๆ กับเรานึกถึงภาพดวงอาทิตย์ ดวงจันทร์ หรือดวงดาวในอากาศ เราจะสังเกตได้ว่า เราจะนึกถึงภาพดวงอาทิตย์ ดวงจันทร์ หรือดวงดาวในอากาศ เราไม่ได้ใช้ความพยายามนึกคิดเลย คือนึกไปตามปกติ หรือเราจะนึกถึงผลส้มก็ดี ลูกปิงปองก็ดี หรือสิ่งอะไร ก็ตามที่มีสัณฐานกลม ๆ เราจะสังเกตได้ว่าเรานึกอย่างสบาย ๆ แบบการนึกคิดเป็นปกติเช่นเดียวกับการนึกคิดเรื่องอื่น นึกถึงภาพดวงแก้ว บริกรรมนิมิตก็เช่นเดียวกัน ให้นึกง่าย ๆ นึกอย่างสบาย ๆ ใจเย็น ๆ คล้าย ๆ กับเรานึกถึงสิ่งเหล่านั้นนะ นี้ให้เข้าใจวิธีการนึกคิดนะ จะเป็นหรือไม่เป็นก็อยู่กันตรงนี้แหละ 

 

                        กำหนดบริกรรมนิมิตขึ้นมาในใจเป็นดวงแก้วใสบริสุทธิ์ ประดุจเพชรลูกที่เจียระไนแล้วไม่มีขนแมว โตเท่ากับแก้วตาของเรา นึกสร้างให้ดีนะ แล้วก็ให้ไปหยุดนิ่งอยู่ตรงศูนย์กลางกายฐานที่ ๖ ในระดับเดียวกันกับสะดือของเรา หยุดนิ่งอยู่ตรงศูนย์กลางกายฐานที่ ๖ ในระดับเดียวกันกับสะดือของเรา ถ้าเราขึงเส้นเชือกจากสะดือไปข้างหลังเส้นหนึ่ง จากด้านขวาทะลุไปด้านซ้ายอีกเส้นหนึ่ง ตรงจุดตัดของเส้นเชือกทั้ง ๒ เรียกว่าศูนย์กลางกายฐานที่ ๖ ตรงจุดตัดของเส้นเชือกทั้ง ๒ เรียกว่าศูนย์กลางกายฐานที่ ๖ ให้กำหนดบริกรรมนิมิตอยู่ที่ตรงนี้นะ ตรึกนึกถึงดวงใส หยุดอยู่ในกลางความใสบริสุทธิ์ ตรึกนึกถึงดวงใส หยุดอยู่ในกลางความใสบริสุทธิ์ พร้อมกับภาวนาในใจไปเรื่อย ๆ ว่า สัมมาอะระหัง ๆ ๆ ๆ ๆ ๆ ภาวนาไปเรื่อย ๆ ใจเย็น ๆ ทำจิตใจให้เบิกบานแช่มชื่น ตรึกนึกถึงดวงใส หยุดอยู่ในกลางความใสบริสุทธิ์ของดวงแก้วเท่านั้นนะ 

 

                        จนกระทั่งใจสบายดี แล้วเราก็นึกเลื่อนดวงแก้วถอยหลังขึ้นมา ๒ นิ้วมือ นึกเลื่อนดวงแก้วถอยหลังขึ้นมา ๒ นิ้วมือ ให้สูงจากจุดนั้นมา ๒ นิ้วมือ สมมติว่าเราเอานิ้วชี้กับนิ้วกลางวางซ้อนกัน แล้วนำไปทาบตรงจุดตัดของเส้นเชือกทั้ง ๒ สูงขึ้นมา ๒ นิ้วมือ เรียกว่าศูนย์กลางกายฐานที่ ๗ เรียกว่าศูนย์กลางกายฐานที่ ๗ ให้ประคองดวงแก้วเอาไว้อยู่ที่ตรงนั้นนะ ต่อจากนี้เราจะไม่ต้องเลื่อนดวงแก้วไปที่ไหน ไม่ต้องเลื่อนบริกรรมนิมิตไปที่ไหน ให้หยุดอยู่ตรงที่ฐานที่ ๗ ตรงนี้ที่เดียว พร้อมกับภาวนาในใจไปเรื่อย ๆ สัมมา อะระหัง ๆ ๆ ๆ ภาวนาไปเรื่อย ๆ จะภาวนาไปกี่ร้อยครั้ง กี่พันครั้ง กี่หมื่น กี่แสนครั้งก็ตาม อย่าลืมตรึกนึกถึงดวงใส หยุดอยู่ในกลางความใสบริสุทธิ์ของดวงแก้ว ตรึกนึกถึงดวงใส หยุดอยู่ในกลางความใสบริสุทธิ์ของดวงแก้วอยู่ที่ตรงนี้ที่เดียว 

 

                        เราจะภาวนาสัมมาอะระหัง อย่างนี้ไปเรื่อย ๆ จนกว่าใจจะหยุดนิ่ง ใจหยุดนิ่งเห็นดวงใสบริสุทธิ์ เราภาวนาไปจนกว่าใจจะหยุดนิ่งเห็นดวงใสบริสุทธิ์ เมื่อเห็นดวงใสบริสุทธิ์ชัดเจนดีแล้วนี่ ไม่มีความคิดอื่นเข้ามาแทรกเลย คำภาวนานั้นก็เลือนหายไปจากใจ เราไม่ต้องกลับมาภาวนาใหม่นะ เราจะภาวนาไปจนกว่าใจจะหยุดนิ่ง เมื่อหยุดนิ่งดีแล้ว คำภาวนาก็ไม่จำเป็น เราจะไม่ใช้คำภาวนาต่อไป จะตรึกนึกถึงแต่ดวงใส หยุดอยู่ในกลางความใส หยุดอยู่ที่ศูนย์กลางกายทีเดียว ตรึกนึกถึงดวงใส หยุดอยู่ในกลางความใสบริสุทธิ์ ที่ศูนย์กลางกาย ไม่ขยับเขยื้อนไปไหนเลยนะ ตรึกอยู่ตรงนี้ที่เดียว ซ้ายขวาหน้าหลังล่างบนไม่ไป ให้หยุดนิ่งอยู่ตรงนี้เลยทีเดียว เอาล่ะต่อจากนี้ไปขอให้ทุกคนต่างคนต่างนั่งกันไปเงียบ ๆ ถ้าเราเมื่อยเราก็เปลี่ยนอิริยาบถเอา แต่ก็อย่าให้ใจเคลื่อนจากศูนย์กลางกายฐานที่ ๗ กันนะ 

 

                       ต่อจากนี้ขอเรียนเชิญทุกท่าน หลับตาเจริญภาวนากัน นั่งขัดสมาธิให้เอาขาขวาทับขาซ้าย มือขวาทับมือซ้าย มือขวาทับมือซ้าย ให้นิ้วชี้มือขวาจรดนิ้วหัวแม่มือข้างซ้าย ให้นิ้วชี้มือขวาจรดนิ้วหัวแม่มือข้างซ้าย วางไว้บนหน้าตักพอสบาย ๆ วางไว้บนหน้าตักพอสบาย ๆ หลับตาพอสบาย ๆ คล้าย ๆ กับเรานอนหลับ ปรับร่างกายของเราให้พอเหมาะต่อการปฏิบัติธรรม ร่างกายที่พอเหมาะต่อการปฏิบัติธรรมนั้น จะต้องผ่อนคลายทุกส่วน ดังนั้นขอให้ทุกคนนึกผ่อนคลายกล้ามเนื้อ ทุกส่วนของร่างกายให้หมด ไม่ให้มีส่วนหนึ่งส่วนใดเกร็งหรือเครียด ตั้งแต่กล้ามเนื้อบริเวณเปลือกตา หน้าผาก ศีรษะ ท้ายทอยให้ผ่อนคลายให้หมด กล้ามเนื้อบริเวณบ่าทั้ง ๒ หัวไหล่ทั้ง ๒ ลำแขนทั้ง ๒ ตลอดจนกระทั่งถึงปลายนิ้วมือ ให้ผ่อนคลายให้หมด 

 

                        กล้ามเนื้อบริเวณลำตัวของเราให้ผ่อนคลายให้หมด ตลอดจนกระทั่งทั้งปลายนิ้วเท้า ผ่อนคลายให้หมด และก็ปรับท่านั่งให้พอเหมาะพอดี ให้รู้สึกว่ามั่นคงสบาย ร่างกายถ้าปรับท่านั่งให้พอเหมาะ เราจะมีความรู้สึกว่ามันไม่งุ้มมาข้างหน้า ไม่งอไปข้างหลังไม่เอนไปข้าง ๆ มีความรู้สึกมั่นคงประดุจเอาภูเขาทั้งลูกมาตั้งเอาไว้แล้วก็เราจะมีความรู้สึกว่าเราจะนั่งนานไปเท่าไหร่ก็ได้ โดยไม่ปวดไม่เมื่อย นั่งอย่างสบาย ๆ นั่นนะคือท่านั่งที่ถูกส่วน แล้วที่ให้นั่งขัดสมาธิเอาขาขวาทับขาซ้าย มือขวาทับมือซ้าย นิ้วชี้มือขวาจรดนิ้วหัวแม่มือข้างซ้ายนั่นเป็นท่านั่งที่จำลองแบบเอาออกมาจากธรรมกายในตัว เอาออกมาจากธรรมกายในตัว พระธรรมกายในตัวหรือกายที่ตรัสรู้ธรรมนั้นนะ ท่านนั่งแบบนี้ ท่านนั่งเข้านิโรธสมาบัติท่านก็นั่งแบบนี้ กายท่านตั้งตรงไม่โยกไม่โคลง ไม่งอ ไม่งุ้ม ไม่เอนไปข้าง ๆ พอเหมาะพอดี นี่จำลองส่วนออกมาจากพระธรรมกายในตัว 

 

                        เพราะฉะนั้นเราจะต้องปรับท่านั่ง ให้ถูกต้องเสียก่อน แต่ว่าถ้าเรานั่งต่อ ๆ ไป ร่างกายของเรามันจะเปลี่ยนแปลงไปยังไงก็ช่างมัน อย่าไปสนใจ แต่เบื้องต้นต้องให้รู้จักวิธีนั่งที่ถูกต้องเสียก่อน เมื่อเราปรับท่านั่งของเราได้ถูกส่วนแล้ว ต่อจากนี้ก็จะเป็นเรื่องของการปรับใจ เพราะว่าการปฏิบัติธรรมนั้นเป็นเรื่องการฝึกฝนอบรมใจของเรา ให้หยุด ให้นิ่ง ให้สบาย ให้ระงับ เมื่อใจหยุดใจนิ่งสงบระงับดีแล้วจะได้เป็นที่ตั้งของสติของปัญญา ของศีล ของสมาธิ ของปัญญา ของพระรัตนตรัย ใจที่เหมาะต่อการปฏิบัติธรรมนั้นจะต้องเป็นใจที่ปลอดโปร่ง ว่างเปล่าจากความนึกคิดทั้งมวล ปลอดกังวลไม่มีเครื่องกังวลเลย ไม่ว่าจะเป็นเรื่องครอบครัว เรื่องธุรกิจการงาน เรื่องการศึกษาเล่าเรียน จะต้องไม่ให้มีสิ่งเหล่านี้อยู่ในใจของเราเลยแม้แต่นิดเดียว ความคิดเหล่านี้จะไม่มีในใจได้ เราจะต้องนึกถึงความจริงของสรรพสิ่งทั้งหลาย 

 

                        ที่พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสสอนเอาไว้ ว่าสรรพสิ่งทั้งหลายทั้งมวลน่ะ จะเป็นสิ่งมีชีวิตก็ตาม สิ่งไม่มีชีวิตก็ตาม ท่านใช้คำว่าสังขารที่มีวิญญาณครองก็ตามหรือไม่มีวิญญาณครองก็ตาม ทุกสิ่งในโลกนี้จะเป็นคนเป็นสัตว์เป็นสิ่งของทั้งหมดเลย ต้นหมากรากไม้ ภูเขาเลากา ตึกรามบ้านช่อง โลกของเรา ดวงอาทิตย์ดวงจันทร์ ดวงดาวในอากาศ ผู้คนอะไรต่าง ๆ ทั้งหมด พ่อแม่ปู่ย่าตายาย ญาติพี่น้อง สรรพสิ่งเหล่านี้ทั้งหลายทั้งมวลน่ะ มันเกิดขึ้น ตั้งอยู่ แล้วก็เสื่อมสลายไปเปลี่ยนแปลงไปอยู่ตลอดเวลาไม่เที่ยง ทนอยู่ในสภาพเดิมไม่ได้ เป็นทุกข์ เป็นอนัตตาไม่ใช่ตัวตนไม่ใช่เป็นตัวเป็นตน เพราะว่าไม่คงที่ เปลี่ยนแปลงตลอดเวลา ถ้าเป็นตัวตนจริง ๆ เป็นสาระเป็นแก่นสารจริง ๆ แล้วต้องคงที่ไม่เปลี่ยนแปลง หรือถ้าจะเปลี่ยนแปลงไปดี ยิ่งเปลี่ยนแปลงไปก็ยิ่งดีไปตามลำดับ 

 

                        เหมือนเพชรยิ่งแก่ก็ยิ่งแววยิ่งสุกยิ่งใสยิ่งสว่างอย่างนั้น แต่ว่าสิ่งทั้งหลายทั้งปวงมันไม่เป็นอย่างนั้น มันเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา ให้เราคิดอย่างนี้สักหนึ่งหรือสองนาที ก่อนที่เราจะปฏิบัติธรรม พิจารณาสิ่งทั้งหลายทั้งมวล แม้กระทั่งร่างกายที่เราอาศัยปฏิบัติธรรมอยู่นี้ ก็มีสภาพเช่นเดียวกันคือ เกิดขึ้น ตั้งอยู่ แล้วก็เสื่อมสลาย ไม่เที่ยงเป็นทุกข์เป็นอนัตตา ตั้งแต่อยู่ในครรภ์มารดา เคลื่อนออกมาจากครรภ์มารดา เปลี่ยนแปลงเรื่อยมาจนกระทั่งบัดนี้ แล้วก็จะเปลี่ยนแปลงต่อไปจนกระทั่งไปสู่เชิงตะกอน เปลี่ยนกันไปอย่างนี้แหละ หนึ่งหรือสองนาที ที่เราพิจารณาในสิ่ง เหล่านี้ก่อนฝึกใจให้หยุดให้นิ่งจะช่วยให้ใจเราปลอดกังวล จะไม่ยึดมั่นถือมั่นในสิ่งทั้งหลายทั้งปวง 

 

                      เพราะว่าเราพิจารณาให้เห็นตามความเป็นจริง การพิจารณาอย่างนี้จะได้ใจที่ปลอดโปร่ง เป็นใจที่เหมาะต่อการปฏิบัติธรรมและไม่ช้าจะเข้าถึงธรรมะได้ เมื่อถึงพระรัตนตรัยในตัวแล้ว ความสุขก็จะเกิดขึ้นอย่างที่เราไม่เคยเป็นมาก่อนเลย แต่ถ้าใจของเรายังไม่ปลด ยังไม่ปล่อย ยังไม่วางจากสิ่งทั้งหลายทั้งปวงดังกล่าวมาแล้ว ใจก็จะเข้าถึงธรรมะภายในไม่ได้ เพราะฉะนั้นเราจะต้องพิจารณาและต้องคิดด้วยใจจริง ๆ ไม่ใช่แค่คล่องปากขึ้นใจ ต้องพิจารณาจริงๆ พิจารณาเพื่อเป็นประโยชน์ต่อตัวของเราเอง ในการประพฤติปฏิบัติธรรม นี่พิจารณาอย่างนี้นะ

 

                        การจะเข้าถึงธรรมกายภายในได้นั้น จะต้องเห็นดวงปฐมมรรคเสียก่อนในเบื้องต้น จะต้องเข้าถึงดวงปฐมมรรคเสียก่อนในเบื้องต้น ปฐมมรรคก็แปลว่า หนทางเบื้องต้นที่จะเข้าถึงพระนิพพาน หนทางเบื้องต้นที่จะเข้าถึงธรรมกาย ลักษณะของปฐมมรรคนั้นเป็นดวงกลมใสรอบตัว เป็นดวงกลมเหมือนลูกแก้วอย่างนั้นนะ ดวงกลม ๆ มีความใสบริสุทธิ์ประดุจเพชรลูกที่เจียระไนแล้ว ไม่มีขนแมวนะ มีความใสยิ่งกว่าเพชร งามไม่มีที่ติ มีความสว่างประดุจดวงอาทิตย์ตอนเที่ยงวันหรือยิ่งกว่านั้น อย่างเล็กขนาดดวงดาวในอากาศ อย่างกลางก็ขนาดพระจันทร์ในคืนวันเพ็ญ อย่างใหญ่ก็ขนาดพระอาทิตย์ในตอนเที่ยงวัน หรือยิ่งกว่านั้น จะขนาดไหนก็ตาม ถ้าดวงนี้เกิดขึ้นที่ศูนย์กลางกายฐานที่ ๗ ในกลางตัวเราแล้ว เรียกว่าดวงปฐมมรรคทั้งสิ้น

 

                        นั่นแหละก่อนจะเข้าถึงพระธรรมกายจะต้องเข้าถึงดวงปฐมมรรคดวงนี้เสียก่อน ถ้าเข้าถึงดวงนี้ได้ไม่ช้าก็จะได้เห็นกายภายในต่าง ๆ ที่ซ้อนกันอยู่ในกายของเราเอง ในร่างกายของเราเอง เป็นชีวิตที่อยู่ภายในซ้อน ๆ กันอยู่ไปตามลำดับ กายสุดท้าย นั่นแหละ กายนั่นแหละมีลักษณะเหมือนพระปฏิมากร คล้ายพระปฏิมากร คล้ายพระพุทธรูป คำว่าคล้ายไม่เหมือนกันหรอกนะ นั่งขัดสมาธิเข้านิโรธสมาบัติ อยู่ในกลางตัว คล้ายพระพุทธรูปเกตุดอกบัวตูม บนพระเศียรของท่านเป็นรูปดอกบัวตูม คล้ายดอกบัวสัตตบงกชอย่างนั่นน่ะ ดอกบัวตูมงามไม่มีที่ติ ประกอบเป็นลักษณะมหาบุรุษครบถ้วน ๓๒ ประการ งามไม่มีที่ติ

 

                        คำว่างามไม่มีที่ติเนี่ยะก็หมายถึงว่า แม้ว่าจะมีช่างติที่เก่งแค่ไหนก็ตาม จะหาข้อบกพร่องในธรรมกายนั้นไม่มีเลย ติเก่งแค่ไหนก็ติไม่ได้ คือไม่มีที่ติ สวยเกินสวย งามไม่มีที่ติ อยู่ภายในเป็นกายที่ละเอียดที่สุด เป็นกายตรัสรู้ธรรมของทุก ๆ คน ของพวกเราทุกคน ของทุก ๆ คนในโลก ไม่ว่าจะเป็นชาติไหน ภาษาไหน ศาสนาไหนก็ตาม ถ้าฝึกใจให้หยุดให้นิ่งเห็นปฐมมรรค ในกลางปฐมมรรคในกลางในกาย กายที่สุดนั้นจะเป็นธรรมกาย จะต้องเห็นอย่างนี้ทุกคน แต่ที่ว่าทุกคนไม่รู้จักก็เพราะว่ายังไม่เคยศึกษามาก่อน ไม่ได้เคยได้ยินได้ฟัง ไม่เคยปฏิบัติก็เลยไม่ทราบว่าภายในร่างกายของเรานี้น่ะมีกายต่าง ๆ ที่ซ้อน ๆ กันอยู่แล้ว กายที่ประเสริฐที่สุด เป็นกายที่ละเอียดที่สุด อยู่ในกลางตรงนั้น 

 

                        เพราะฉะนั้นเมื่อใคร ไม่เคยศึกษาก็ไม่ทราบว่ามีอยู่ แต่ความจริงนั้นมีอยู่และสามารถเข้าถึงได้ถ้าเข้าถึงปฐมมรรค ปฐมมรรคจะเข้าถึงได้ใจจะต้องปล่อยวางอารมณ์ภายนอก พอปล่อยวางอารมณ์ภายนอกก็หยุดนิ่งอยู่ภายใน ใจก็จะกลับมาสู่ที่ตั้งเดิมภายใน และก็จะเข้าถึงดวงใสสว่าง ใจจะปล่อยอารมณ์ภายนอกได้ก็จะต้องอาศัยการนึกคิดอย่างที่ได้สอนไว้เบื้องต้น คือให้พิจารณาในสรรพสิ่งทั้งหลายว่าไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา เกิดขึ้น ตั้งอยู่ และก็เสื่อมสลาย มีแต่ทุกข์มีแต่โทษไม่มีประโยชน์อะไรทั้งสิ้น 

 

                        พิจารณาอย่างนั้นบ่อย ๆ ซ้ำแล้วซ้ำอีก ทุกวันทุกเวลาที่เรานึกได้หรือจนกระทั่งติดเป็นนิสัย นั่นแหละใจถึงจะกลับเข้ามาที่ตั้งภายใน แล้วก็หยุดนิ่งเห็นดวงปฐมมรรค หรืออีกวิธีหนึ่งคือการฝึกสติ ไม่เผลอจากบริกรรมทั้ง ๒ คือให้นึกถึงคำภาวนา สัมมา อะระหัง หรือกำหนดบริกรรมนิมิตเป็นดวงแก้ว ถ้าไม่เผลอจากบริกรรมทั้ง ๒ ไม่ช้าใจก็จะปล่อยอารมณ์ภายนอก หยุดนิ่งอยู่ภายในเห็นดวงใส วิธีการใดวิธีการหนึ่ง เป็นวิธีที่เข้าถึงปฐมมรรคทั้งสิ้น 

 

                         ต่อจากนี้ไปขอให้ทุกท่านที่มาใหม่ให้นึกน้อมจิตตามเสียงหลวงพ่อที่จะแนะนำต่อไปนะจ๊ะ สำหรับผู้ที่มาเก่าแล้ว มาบ่อย ๆ ก็ให้เอาใจหยุดนิ่งไปที่ศูนย์กลางกายฐานที่ ๗ เลย สำหรับผู้มาใหม่ก็นึกน้อมจิตตามเสียงหลวงพ่อไปนะ อย่าลืมตากันนะจ๊ะ หลับตาตั้งใจให้ดี กำหนดบริกรรมนิมิตขึ้นมาในใจ หรือสร้างมโนภาพเป็นดวงแก้วใสบริสุทธิ์ ประดุจเพชรลูกที่เจียระไนแล้ว ไม่มีขนแมว ไม่มีขีดไม่มีข่วน ไม่มีรอยตำหนิ สร้างมโนภาพว่ามีเพชรเม็ดหนึ่งกลมรอบตัว ใสบริสุทธิ์ โตเท่ากับแก้วตาของเรา กำหนดขึ้นที่ปากช่องจมูก ที่เราสูดลมหายใจเข้าออกน่ะ ท่านหญิงอยู่ปากช่องจมูกซ้าย ท่านชายอยู่ปากช่องจมูกขวา ท่านหญิงอยู่ปากช่องจมูกด้านซ้าย ท่านชายอยู่ปากช่องจมูกด้านขวา 

 

                        ตรึกนึกถึงดวงใส หยุดอยู่ในกลางความใส บริสุทธิ์ของบริกรรมนิมิตดวงแก้วที่ปากช่องจมูกนะ สร้างมโนภาพ สร้างคล้าย ๆ กับเรานึกถึงภาพดวงอาทิตย์ ดวงจันทร์หรือดวงดาวในอากาศ นี่กำหนดนึกถึงดวงแก้วให้นึกคล้าย ๆ อย่างนั้นนะ ให้ใสบริสุทธิ์ อยู่ที่ปากช่องจมูกนะ พร้อมกับภาวนาในใจสัมมาอะระหัง ๆ ๆ ๆ ๆ ๆ ตรึกนึกถึงดวงใส หยุดอยู่ในกลางความใสบริสุทธิ์ของดวงแก้วที่ปากช่องจมูกนะ ปากช่องจมูกเรียกว่าฐานที่ ๑ เมื่อใจสบายดีแล้วก็เลื่อนดวงแก้ว ประคองเลื่อนดวงแก้วเลื่อนเข้าไปปากช่องจมูกเลื่อนเข้าไปช้า ๆ เลื่อนเข้าไปช้า ๆ แล้วก็หยุดนิ่งอยู่ที่ตรงหัวตา หยุดนิ่งอยู่ที่ตรงหัวตา ท่านหญิงข้างซ้าย ท่านชายข้างขวา ตรึกนึกถึงดวงใส หยุดอยู่ในกลางความใสบริสุทธิ์ของดวงแก้ว พร้อมกับภาวนาอยู่ในใจ สัมมาอะระหัง ๆ ๆ ภาวนาอย่างสบาย ๆ ใจเย็น ๆ 

 

                        นึกถึงดวงแก้วก็นึกอย่างสบาย ๆ ใจเย็น ๆ คล้ายกับเรานึกถึงภาพดวงอาทิตย์ หรือดวงจันทร์หรือดวงดาวในอากาศ นึกอย่างสบาย ๆ ถ้านึกอย่างสบาย ๆ แล้วใจจะไม่เครียดจะไม่ปวดศีรษะ จะไม่ปวดลูกนัยน์ตา จะไม่เกร็งตัว ให้นึกสบาย ๆ ให้นึกอย่างธรรมดา ๆ ที่หัวตาเรียกว่าฐานที่๒ ต้องประคองดวงแก้วไว้ให้ดีนะ ตรึกนึกถึงดวงใส หยุดอยู่ในกลางความใสบริสุทธิ์ พร้อมกับภาวนาในใจไปเรื่อยๆ ให้จังหวะสม่ำเสมอ ไม่ช้าไม่เร็วนักกะว่าพอสบาย ๆ ถ้าสบาย ๆ แล้วเราจะรู้สึกว่าเราจะไม่ได้พยายามในการภาวนาหรือนึกถึงภาพดวงแก้วเลย ถ้าสบาย ๆ แล้วก็จะเหมือนกับเรานึกถึงสิ่งใดสิ่งหนึ่งที่นึกอย่างธรรมดา ๆ

 

                        เมื่อใจสบายดีแล้วก็นึกเลื่อนดวงแก้วต่อไปอีก ให้ดวงแก้วเลื่อนขึ้นไปช้า ๆ บนหน้าผาก เลื่อนขึ้นไปที่กะโหลกศีรษะ เลื่อนลงมาที่กลางถูกศีรษะ ในระดับเดียวกับหัวตาของเรา เราต้องสมมติว่ากะโหลกศีรษะเราเป็นปล่อง เป็นช่อง เป็นโพรง เป็นที่โล่งว่าง ๆ ปราศจากมันสมอง แล้วดวงแก้วดวงนี้ก็ไปหยุดนิ่ง หยุดนิ่งอยู่ที่กลางถูกศีรษะในระดับเดียวกับหัวตาของเรา หยุดนิ่งอยู่ที่กลางถูกศีรษะในระดับเดียวกับหัวตาของเรา เราจะต้องไม่ลืมตรึกนึกถึงดวงใส หยุดอยู่ในกลางความใสบริสุทธิ์ พร้อมกับภาวนาในใจ สัมมาอะระหัง ๆ ๆ ๆ ๆ ตรึกนึกถึงดวงใส หยุดอยู่ในกลางความใสบริสุทธิ์ของดวงแก้ว ตรงกลางกั๊กศีรษะตรงนี้เรียกว่าฐานที่ ๗

 

                   เมื่อใจสบายดีแล้ว ก็นึกเลื่อนดวงแก้ว ต่อลงมาอีกอย่างช้า ๆ นึกอย่างสบาย ๆ นึกอย่างละเอียดอ่อน นึกด้วยใจที่เยือกเย็น ประคองเลื่อนลงมาอย่างช้าๆ แล้วมาหยุดนิ่งอยู่ที่ตรงเพดานปาก ตรงเพดานปาก ช่องปากที่อาหารสำลักอยู่ตรงนั้นนะ หยุดนิ่งเฉยตรึกนึกถึงดวงใส หยุดอยู่ในกลางความใสบริสุทธิ์ของดวงแก้ว ดวงแก้วที่ใสบริสุทธิ์ประดุจเพชรลูกที่เจียระไนแล้ว ไม่มีขนแมว โตเท่ากับแก้วตา พร้อมกับภาวนาในใจ สัมมา อะระหัง ๆ ๆ ๆ ๆ นะ ภาวนาอย่างสบาย ๆ นะ ใจเย็น ๆ อย่าให้ใจคลาดจากภาพดวงแก้วตรงเพดานปากเราเรียกว่าฐานที่ ๔ เรียกว่าฐานที่ ๔ เราจะต้องตรึกนึกถึงดวงใส หยุดอยู่ในกลางความใสบริสุทธิ์ของดวงแก้ว  

 

                        เมื่อใจสบายดีแล้ว ก็เลื่อนดวงแก้วลงมาอีกอย่างช้า ๆ เลื่อนดวงแก้วลงมาอีกอย่างช้า ๆ ใจจะต้องไม่เผลอจากการนึกถึงดวงใส หยุดอยู่ในกลางความใสของดวงแก้ว เลื่อนลงมาอย่างช้า ๆ แล้วก็มาหยุดนิ่งอยู่ที่ปากช่องคอเหนือลูกกระเดือก หยุดอยู่ที่ปากช่องคอเหนือลูกกระเดือก ตรงนี้เรียกว่าฐานที่ ๕ แล้วก็ตรึกนึกถึงดวงใส หยุดอยู่ในกลางความใสบริสุทธิ์ของดวงแก้ว พร้อมภาวนาในใจ สัมมา อะระหัง ๆ ๆ ๆ ๆ ๆ ๆ สัมมา อะระหังไปเรื่อย ๆ จนกระทั่งใจสบาย พอดวงใสใจสบายดีแล้ว ก็นึกเลื่อนดวงแก้วเข้าไปในลำตัวของเรา ไปยังฐานที่ ๖ เราก็เลื่อนดวงแก้วลงไปอย่างช้า ๆ ค่อย ๆ ประคองดวงแก้วลงไปอย่างช้า ๆ ใจเย็น ๆ เลื่อนลงไปช้า ๆ ใจเย็น ๆ ทำใจให้เบิกบาน ให้สดชื่น

 

                        นึกถึงดวงใสหยุดอยู่ในกลาง  ความใสของดวงแก้ว นึกตามไปนะจ๊ะ อย่าลืมตา ประคองไปเรื่อย ๆ จนกระทั่งหยุดอยู่ที่ตรงกลางฐานที่ ๖ ในระดับเดียวกับสะดือของเรา ฐานที่ ๖ ในระดับเดียวกับสะดือของเรา ถ้าเราขึงเส้นเชือกจากสะดือทะลุไปด้านหลังเส้นหนึ่ง จากด้านขวาทะลุไปด้านซ้ายอีกเส้นหนึ่ง ตรงจุดตัดของเส้นเชือกทั้ง ๒ ตรงจุดตัดของเส้นเชือกทั้ง ๒ เรียกว่าฐานที่ ๖ ศูนย์กลางกายฐานที่ ๖ ดวงแก้วจะไปอยู่ตรงนั้นพอดี แล้วก็ตรึกนึกถึงดวงใส หยุดอยู่ในกลางความใสบริสุทธิ์ของดวงแก้วตรงฐานที่ ๖ นะ พร้อมกับภาวนาในใจ สัมมา อะระหัง ๆ ๆ ๆ ตรึกนึกถึงดวงใส หยุดอยู่ในกลางความใสบริสุทธิ์ของดวงแก้ว ภาวนาอย่างนี้ไปเรื่อย ๆ อย่าให้คลาดจากใจ


                        อย่าให้ใจคลาดจากดวงแก้ว ตรึกนึกถึงดวงใส หยุดอยู่ในกลางความใสเนี่ย นึกให้ต่อเนื่องกันไปนะ ภาวนาอย่างสบาย ๆ นะ ใจเย็น ๆ ทำจิตใจให้เบิกบานให้แช่มชื่น นึกถึงดวงแก้วก็นึกให้ง่าย ๆ นึกอย่างง่าย ๆ คล้าย ๆ กับเรานึกถึงเรื่องอะไรสักเรื่องหนึ่ง เช่นนึกถึงภาพดวงอาทิตย์ ดวงจันทร์หรือดวงดาวในท้องฟ้านั่น นึกง่าย ๆ ใจเย็น ๆ พอใจสบายดีแล้ว เราก็นึกเลื่อนดวงแก้วถอยหลังขึ้นมา ๒ นิ้วมือ สมมติเราเอานิ้วชี้กับนิ้วกลางวางซ้อนกันและนำไปวางทาบตรงจุดตัดของเส้นเชือกทั้ง ๒ สูงขึ้นมา ๒ นิ้วมือ เรียกว่าฐานที่ ๗ สูงขึ้นมา ๒ นิ้วมือเรียกว่าฐานที่ ๗ เป็นฐานสุดท้าย ต่อจากนี้เราไม่ต้องเลื่อนดวงแก้วไปไหน 

 

                       ไม่ต้องเลื่อนบริกรรมนิมิตไปที่ไหน ให้ตรึกนึกถึงดวงใส หยุดอยู่ในกลางความใส ของบริกรรมนิมิต พร้อมกับภาวนาในใจ สัมมาอะระหัง ๆ ๆ ๆ นะ ภาวนาอย่างนี้ไปเรื่อย ๆ จะกี่สิบกี่ร้อยกี่พัน กี่หมื่น กี่แสนครั้งก็ตาม ก็ภาวนาไปเรื่อย ๆ ภาวนาไปจนกว่าใจจะหยุดนิ่งเห็นดวงใส พอใจหยุดนิ่งเห็นดวงใสได้ชัดเจน ชัดเจนคล้าย ๆ กับเราลืมตาเห็น ถ้าเป็นอย่างนี้เราก็หยุดคำภาวนาไม่ต้องภาวนาว่า สัมมาอะระหัง ๆ อีกต่อไปแล้วก็รักษาภาพดวงใสบริสุทธิ์ที่หยุดนิ่งอยู่ที่ศูนย์กลางกายฐานที่ ๗ อยู่ตรงนี้เนี่ยะ ให้เห็นอยู่ตลอดเวลา ทีนี้เวลาเวลาเรากลับไปที่บ้าน ไม่ว่าเราจะนั่ง จะนอน จะยืน จะเดิน ก็ให้เอาใจนะมาหยุดนิ่งอยู่ที่ฐานที่ ๗ อยู่ตรงนี้เลยนะ ไม่ต้องเริ่มต้นจากฐานที่ ๑ ที่ปากช่องจมูก ให้เอาใจมาหยุดนิ่งอยู่ที่ศูนย์กลางกายฐานที่ ๗ เลย ตรึกนึกถึงดวงใส หยุดอยู่ในกลางความใส ของบริกรรมนิมิต ให้ต่อเนื่องกันไปอย่างนี้ 

 

                        ที่ให้เอาใจมาหยุดนิ่งอยู่ที่ศูนย์กลางกายฐานที่ ๗ นี่ที่เดียว ไม่ให้ไปหยุดนิ่งที่ไหนนี่นะ ก็เพราะว่าตรงฐานที่ ๗ ตรงนี้ที่เดียวในโลก เป็นทางไปสู่พระนิพพาน เป็นทางดับทุกข์เราจะเข้าถึงธรรมกายได้จะต้องหยุดอยู่ตรงฐานที่ ๗ เพราะพระธรรมกายนี้เกิดขึ้น เกิดขึ้นอยู่ตรงนี้ พระนิพพานเกิดขึ้นก็เกิดขึ้นอยู่ที่ตรงนี้ เราจะดับทุกข์ได้ก็ดับได้ที่ตรงนี้ จะเข้าถึงความสุขอันเป็นอมตะ ความสุขนั้นก็อยู่ที่ตรงนี้ แหล่งเกิดของความสุข อยู่ตรงฐานที่ ๗ ตรงนี้ที่เดียว เพราะฉะนั้นคราวต่อไปเมื่อเริ่มปฏิบัติ เราก็จะต้องทำกันอย่างนี้นะ เอาล่ะต่อจากนี้ไปขอให้ทุกคน ต่างตั้งอกตั้งใจปฏิบัติธรรมกันไปอย่างเงียบ ๆ ตรึกนึกถึงดวงใส หยุดอยู่ในกลางความใส พร้อมกับภาวนาไปในใจ สัมมาอะระหัง ๆ ๆ ภาวนาไปอย่างนี้นะ ต่างคนต่างทำไปเงียบ ๆ 

 ยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคล Total Execution Time: 0.020660165945689 Mins