ผู้นำที่มั่นคง

วันที่ 25 กย. พ.ศ.2553

ยมฺหิ สจฺจญฺจ ธมฺโม จ อหึสา สญฺญโม ทโม
ส เว วนฺตมโล ธีโร โส เถโรติ ปวุจฺจติ ฯ

ผู้ใดมีความสัตย์ มีธรรม มีความไม่เบียดเบียน
มีความสำรวม และมีความข่มใจ ผู้นั้นแลชื่อว่า ผู้มีปัญญา
หมดมลทิน เขาเรียกท่านว่า “เถระ”

(ขุ.ธ. ๒๕/๕๐)

 

เป็นผู้นำเขา ต้องมีสัจจะมากกว่าเขา

ไม่อย่างนั้นเขาจะว่า "กลับกลอก เหลาะแหละ ไม่น่าเคารพเชื่อถือ"

เป็นผู้นำเขา ต้องมีธรรมะ คือความดีเสมอต้นเสมอปลาย

ไม่อย่างนั้น ลูกน้องดี ๆ จะหนีหมด

 

เป็นผู้นำเขา ต้องระมัดระวังการใช้อารมณ์

ไม่อย่างนั้นผู้น้อยจะไม่กล้าเข้าใกล้

เป็นผู้นำเขา ต้องไม่ละเว้นการฝึกฝนตนเอง ไม่อย่างนั้น

เขาจะว่า “ว่าแต่เขา อิเหนาเป็นเอง”

 

ผู้นำอย่างนี้ จึงเรียกว่า “เถระ

ผู้นำในการสร้างความดี ผู้มั่นคงในคุณธรรม

โดยเฉพาะอย่างยิ่งมีจิต “มั่นคง” ต่อศูนย์กลางกาย

มั่นคงในกลางพระธรรมกาย

อันบริสุทธิ์ สุกใส ไม่มีประมาณ

ควรค่าแก่การสถาปนา

เป็น “เถระ ผู้นำที่มั่นคง” ตราบนิรันดร์กาล

 

เถระ” นั้น    ท่านแปล    ว่ามั่นคง

ผู้มุ่งตรง    ต่อความดี     มิหนีหน่าย

รักษ์สัตย์ซื่อ    ถือคุณธรรม    มิเว้นวาย

“ธรรมกาย”     ใสสว่าง     มั่นคงเอย


ขอขอบคุณ หนังสือ ส่องธรรม ล้ำภาษิต เล่ม ๒
สงวนลิขสิทธิ์ตาม พ.ร.บ.ลิขสิทธิ์ พ.ศ. ๒๕๓๗
ห้ามนำไปใช้ประโยชน์ทางการค้าหรือหากำไร ผู้ฝ่าฝืนมีความผิดและต้องรับโทษตามกฎหมาย

 ยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคล Total Execution Time: 0.0057226657867432 Mins