ข้อดีของลักษณะมหาบุรุษ ประการที่ ๑๙ และ ๒๐

วันที่ 05 กพ. พ.ศ.2554

590120_y18.jpg

ข้อดีของลักษณะมหาบุรุษ ประการที่ ๑๙ และ ๒๐

ลักษณะมหาบุรุษประการที่ ๑๙  มีทรวดทรงดุจต้นไทร คือกายกับวาเท่ากัน

              ที่เรียกว่าทรวดทรงดุจต้นไทรนั้น หมายความว่า กายกับวาเท่ากันคือความยาวของแขนทั้งสองที่กางออก(วา) จะยาวเท่ากับความสูงของร่างกายวาของคนบางคนยาวกว่าความสูง แต่ของคนบางคนก็สั้นกว่าความสูงถ้าวาสั้นกว่าความสูงก็ได้แก่พวกซูโม่ สั้นจนแค่ก้นตัวเองก็ล้างแทบไม่ถึงนี่ก็เป็นความพิการของมนุษย์ ส่วนบางคนแขนยาวเกินไป เดินไปถึงไหนแขนก็ลู่เกะกะไม่ผิดกับคิงคอง เป็นสัดส่วนที่ไม่เหมาะสมแก่การปฏิบัติธรรมคนบางคนหัวเข่าสูงเกินไป เวลานั่งยองๆ หัวเข่าโด่ท่วมหัวขึ้นมาตรงก้นก็แตะพื้นอยู่หน่อยเดียว คนพวกนี้ก็นั่งแล้วปวดก้น มีรูปร่างเป็นมารแก่ตัวเองเพราะไม่ได้ลักษณะมหาบุรุษมา พอจะเข้าใจหรือยังว่าทำไมบางคนนั่งแล้วบ่นปวดบางคนก็บ่นเมื่อย โถ ก็สารรูปมันน่าทุเรศทั้งนั้น ก็เป็นอย่างนี้แหละ
 

 

ลักษณะมหาบุรุษ ประการที่ ๒๐  มีคอกลมเกลี้ยง

            คอกลมเกลี้ยง คือ ไม่มีลูกกระเดือกโผล่แหลมออกมาแล้วก็ไม่มีเหนียงยานลงมาด้วย ไม่มีเส้นโปนที่คอคอเป็นลำกลมกลึง ลักษณะเช่นนี้ จะมีเสียงดีมากไม่มีโรคคอ โรคหวัดคอยรบกวน

 

 * * ข้อดีของลักษณะมหาบุรุษประการที่ ๒๑ จะเป็นอย่างไร โปรดติดตามได้ในตอนต่อไป * *

 

ขอขอบคุณ หนังสือ “ลักษณะมหาบุรุษ”
ปาฐกถาธรรมของพระเดชพระคุณพระภาวนาวิริยคุณ หลวงพ่อทตฺตชีโว
สงวนลิขสิทธิ์ตาม พ.ร.บ. ลิขสิทธิ์ พ.ศ. ๒๕๓๗
ห้ามนำไปใช้ประโยชน์ทางการค้าหรือหากำไร ผู้ฝ่าฝืนมีความผิดและต้องรับโทษตามกฎหมาย

 ยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคล Total Execution Time: 0.0094340523084005 Mins