เคล็ด(ไม่)ลับเพื่อการเข้าถึงธรรม

วันที่ 17 พค. พ.ศ.2554

 

 

>>  ให้มีความอยากนั่ง และนั่งสบายเป็นทุนก่อน


>>  วิธีที่ดีที่สุด คือ การดูเฉยๆ แล้วจะเย็นมีความสุขในการนั่ง

>>  พอนั่งปุ๊บ ก็หมดหน้าที่ของตา หรือร่างกายส่วนใดส่วนหนึ่ง เป็นหน้าที่ของใจแล้ว

>>  ให้รักษาอารมณ์สบายตลอดเวลา ทั้งในการนั่งและในช่วงอื่นๆ เพราะว่าอารมณ์สบายจะก่อให้เกิดความง่ายง่ายต่อการนึกนิมิต ง่ายต่อการหยุดนิ่ง ง่ายต่อการฝึกเข้ากลาง ง่ายต่อการเข้าถึงกายภายใน

>>  ความสบาย มีอยู่ 2 อย่าง คือ เกิดขึ้นเอง กับ เราสร้างขึ้น

>>  ความสบายที่เกิดขึ้นเอง จู่ๆ ก็เกิดขึ้น

>>  ส่วนความสบายที่เราสร้างขึ้น ทำได้โดย 1. ห่างไกลจากสิ่งของ บุคคล ที่ทำให้ไม่สบายใจ 2. หาสิ่งที่ทำให้สบายใจ เช่น ชมนก ชมไม้ อาหารถูกใจ อยู่สงบคนเดียว

>>  ให้รักษาอารมณ์สบายก่อนจะนั่ง จนเกิดความรู้สึกอยากนั่ง มีความพอใจในการนั่ง เห็นไม่เห็นเป็นเรื่องรอง

>>  นิมิต คำภาวนา มีไว้กันความฟุ้งซ่าน ความง่วง ถ้าไม่ฟุ้ง ไม่ง่วง ก็ให้จรดศูนย์กลางกาย

>>  อย่าอยากได้ อยากเห็น เพราะเราจะเผลอไปเร่ง แล้วตึงประสาทตา ปวดขมับ เกร็งกล้ามเนื้อ ท่องไว้ ไม่อยากๆ ถ้าได้ด้วยความอยาก ถึงจะใสแค่ไหนก็ไม่เอา ให้ได้ด้วยความสบายอย่างเดียว

>>  ให้มีชั่วโมงหยุดเยอะๆ ชั่วโมงนิ่งเยอะๆ ชั่วโมงกลางเยอะๆ

>>  นั่งเพราะความอยาก ลมหายใจจะร้อนๆ และอั้น พออั้นมากๆ เข้าจะปล่อย ฮือ! ออกมาที

>>  ใจที่มีพลัง จะต้องเป็นใจที่เป็นกลางๆ ตั้งมั่น มั่นคง

>>  แม้เราจะไม่เข้าถึงธรรมในวันนี้ แต่อารมณ์สบาย คือ ของขวัญอันยิ่งใหญ่แก่จิตใจ ซึ่งจะทำให้เราเข้าถึงธรรมในวันหน้า

>>  ความเบา ความสบาย เป็นสิ่งที่เมื่อนั่งแล้วต้องเริ่มทำ ไม่ว่าจะได้ธรรมะในระดับใดก็ตาม

>>  นึกดวงแก้ว ก็นึกแบบนึกช้าง อย่าให้มีลีลา หรือพิธีรีตองมากมาย การนึกก็นึกอย่างสบายๆ นึกเห็นก็เห็น เพราะใจเป็นธาตุสำเร็จอยู่แล้ว ให้มีความมั่นใจ ความมั่นใจเท่านั้นที่สร้างความมั่นใจต่อๆ ไป

>>  อย่ากลัวเสียเวลา อย่ากลัวเสียหน้า อย่ากลัวว่าจะไม่ได้

>>  อย่าท้อใจ อย่าน้อยใจ เพราะเมื่อกระแสใจเสื่อมคุณภาพ บาปจะเข้าครอง ต้องปลุกใจให้ฮึดสู้ นั่งให้สนุกเบิกบาน ให้เป็นบุญบันเทิงให้ได้

>>  อย่าเสียดายความคิดเก่าๆ จงสลัดทิ้งออกไป ตัดใจเหมือนตายจาก

>>  เรื่องหยาบๆ ภายนอก ถ้าดูเบา จะมีผลต่อภายใน

>>  ถ้าเราไม่ฝึกจรดใจที่ศูนย์กลางกายตลอดเวลา เวลานั่งใจจะรวมได้ช้า ต้องมัวปัดของเก่าออก ทำให้เสียเวลาเปล่าๆ

>>  ถ้าเห็นภาพต้นไม้ คน สัตว์ สิ่งของ อย่าไปต่อสู้ เพราะใจเริ่มเป็นสมาธิจึงจะเห็นภาพ ให้ดูเฉยๆ ดูจุดที่เล็กที่สุด เดี๋ยวภาพจะเปลี่ยนไปเอง เปลี่ยนไปสู่ความไม่เปลี่ยน

>>  ความง่ายเกิด เพราะเราทำใจให้คิดว่าง่าย ความยากเกิด เพราะเราทำใจให้คิดว่ายาก ถ้ายาก เด็กทำไม่ได้หรอก

>>  เป็นเด็กอนุบาลตอนนี้ อีก 5 นาทีเป็นด็อกเตอร์ก็ได้

>>  ถ้านั่งไปบ่นไป ไม่เห็นอะไรๆ ให้เฉยๆ จะได้นิสัยอุเบกขา ใจจะได้เป็นกลางๆ

>>  ถ้าส่วนไหนตึง นั่นพยายามเกินไป อย่าฝืน ให้ปรับ

>>  จุดเริ่มต้นที่ไหนก็ได้ แต่ลงท้ายต้องศูนย์กลางกาย ช่วงแรกอาจจะอยู่ข้างหน้า หรือที่ไหนก็ไม่รู้ อย่ากังวลปล่อยไป เดี๋ยวจะเข้าศูนย์กลางกายเอง

>>  แม้ไม่เห็น แม้เห็นไม่ชัด แต่ให้ใจอยู่กลางท้อง พร้อมความหวังว่าจะได้ รักษาใจให้สบายเดี๋ยวได้แน่

>>  ยิ่งอยาก ยิ่งยาก เลิกอยากก็เลิกยาก

>>  ผู้ที่สว่างเดี๋ยวนี้ ก็คือผู้ที่มืดมาก่อน ผู้ที่จิตตั้งมั่นเดี๋ยวนี้ ก็คือผู้ที่เคยฟุ้งมาก่อน

>>  เมื่อเข้าถึงแหล่งกำเนิดความสุข แหล่งของความสุขที่ศูนย์กลางกาย จิตก็จะไม่ไปไหน มีสุขเกิดความพอใจ พอเหมาะ พอดี พอเพียง แค่ส่งจิตถึงศูนย์กลางกายนิดเดียวแล้วจิตถอน ก็ได้บุญมากแล้ว หรือแค่เห็นแสงแว๊บนิดเดียว ชีวิตวันนั้นก็มีความสุขแล้ว คุ้มค่าแล้ว เหมือนคนเล่นน้ำ เอาเท้าจุ่มน้ำตื้นๆ ก็ยังชื่นใจ

  • ถ้าอยากได้เร็วจะได้ช้า
    ทนหน่อยเถิดหนาจะได้เห็น
    ถ้าอยากได้เร็วต้องใจเย็น
    ไม่ช้าเห็นธรรมกายสบายเลย

 

 

 ยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคล Total Execution Time: 0.010760815938314 Mins