ทรงพิจารณาสภาวะโลก ๒

วันที่ 13 กพ. พ.ศ.2555

 

 

            เจ้าชายสิทธัตถะราชกุมารยังทรงพิจารณาต่อโปอีกว่า "ภิกษุทั้งหลาย ปุถุชนที่ไม่ได้ยินได้ฟังทั้งที่ตัวเองจะต้องตาย ไม่ล่วงพ้นความตายไม่ได้ ครั้นเห็นคนอื่นตายก็อิดหนาระอาใจ สะอิดสะเอียนไม่นึกถึงตัวเองเลย ถึงตัวเราเองก็เหมือนกัน จะต้องตาย ไม่ล่วงพ้นความตายไปได้ แต่ว่าเมื่อจะต้องตาย ไม่ล่วงพ้นความตายไปได้แล้ว จะมาลืมตัวอิดหนาระอาใจ สะอิดสะเอียนเมื่อเห็นคนอื่นตายนั้น ไม่เป็นการสมควรแก่เรา"

 

"ภิกษุทั้งหลาย เมื่อเราได้พิจารณาเช่นนี้ ความมัวเมาในชีวิตความเป็นอยู่ของเราก็หายไปสิ้น"

บางคนงานศพไม่ไปเพราะอ้างว่าไปแล้วเศร้าหมอง แต่ตรงกันข้ามนะ เมื่อก่อนหลวงพ่อบวช คุณยายอาจารย์ (อุบาสิกาจันทร์ ขน นกยูง) อนุญาตให้หลวงพ่อไปงานได้ ๒ งาน คือ ๑. งานศพ ๒. งานบวช


เพราะอะไร เพราะการพิจารณาถึงศพก็ดี พิจารณาความตายก็ดี ถ้าพิจารณาเป็นแล้ว จะเกิดประโยชน์ได้ข้อคิดมาก คือ ได้คิดว่าไม่ช้าเราก็ตาย ที่โกรธกันไว้ ไม่รู้จะโกรธไปทำไม ทีโลภโกยเอาไว้มาก ๆ ตายแล้วก็เอาไปไม่ได้ จะอิจฉาตาร้อน จะเลื่อยขาเก้าอี้ จะแทงกันลับหลังทำไมให้เหนื่อยเปล่า ร้อนใจเปล่า

               สำหรับพระภิกษุ มีวิธีปฏิบัติอยู่หมวดหนึ่ง เรียกว่า กัมมัฏฐาน คือ การนึกถึงศพ ๑๐ ประการ ได้แก่

- ซากศพที่ขึ้นอืด

- ซากศพที่หนอนขึ้นแล้ว

- ซากศพที่ขาดเรี่ยราด ฯลฯ

 

ให้พิจารณาเรื่อยไปจนเกิดมรณานุสติ คือ มีสติคิดถึงความตายบ่อย ๆ และคิดในแง่มุมที่ถูกต้อง จะทำให้เกิดความพากเพียรไม่ท้อแท้

               เจ้าชายสิทธัตถะราชกุมารทรงได้รับความสะดวกสบาย ไต้รับการบำรุงบำเรอทุกรูปแบบอย่างครบครันเท่าที่มนุษย์ทั้งหลายจะพึงมีพึงได้ เรียกกันว่า สุขตั้งแต่ทรงพระเยาว์จนเจริญพระชนม์ขึ้น แต่สิ่งเหล่านี้ไม่สามารถจะมัดพระทัย ไม่สามารถจะมอมเมาพระองค์ได้เลย พระทัยของพระองค์ดิ้นรนแสวงหาอิสรภาพอยู่ตลอดเวลา

               นี่แหละคือความวิเศษสุด เป็นความยิ่งใหญ่ของพระพุทธเจ้า แม้ไม่มีผู้ใดสอน ก็สามารถสอนพระองค์เองได้ สามารถเอาชนะใจของพระองค์เองได้ และสละโลกย์ได้

               เมื่อเจ้าชายสิทธัตถะราชกุมารทรงไตร่ตรองถึงสภาวะการเกิดแก่เจ็บตายของมนุษย์ทั้งหลายแล้ว พระปัญญาก็เกิดขึ้น ทรงพิจารณาต่อไปอีกว่า "ภิกษุทั้งหลาย ครั้งก่อนแต่การตรัส เมื่อเรายังไม่ได้ตรัสรู้ยังเป็นโพธิสัตว์อยู่ ความคิดอันนี้ได้เกิดแก่เราว่า

- ตนเองมีความเกิดเป็นธรรมดาอยู่แล้ว ก็ยังมัวหลงแสวงหาสิ่งที่มีความเกิดเป็นธรรมดาอยู่นั้นเอง

- ตนเองมีความแก่เป็นธรรมดาอยู่แล้ว ก็ยังมัวหลงแสวงหาสิ่งที่มีความแก่เป็นธรรมดาอยู่นั้นเอง

- ตนเองมีความเจ็บไข้เป็นธรรมดาอยู่แล้วก็ยังมัวหลงแสวงหาสิ่งที่มีความเจ็บไข้เป็นธรรมดาอยู่นั้นเอง

- ตนเองมีความโศกเป็นธรรมดาอยู่แล้ว ก็ยังมัวหลงแสวงหาสิ่งที่มีความโศกเป็นธรรมดาอยู่นั้นเอง

- ตนเองมีความเศร้าหมองโดยรอบด้านเป็นธรรมดาอยู่แล้ว ก็ยังมัวหลงแสวงหาสิ่งที่มีความเศร้าหมองโดยรอบด้านเป็นธรรมดาอยู่นั้นเอง" ที่ท่านตรัสดังนี้ หมายความว่าอย่างไร "ภิกษุทั้งหลาย ก็อะไรเล่า เป็นสิ่งที่มีความเกิด แก่ เจ็บ ตาย โศกเศร้าเป็นธรรมดา ภิกษุทั้งหลาย บุตรภรรยา สามีนั่นแหละ มีสภาพของการเกิด แก่ เจ็บ ตาย เศร้าหมองเป็นธรรมดา"

 

               เข้าใจไหม ชัดเจนไหม คราวนี้ไม่ต้องสงสัยนะว่า ทำไมหลวงพ่อจึงต้องมาบวช พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงให้เหตุผลไว้หมดครบถ้วนแล้ว แม้แต่ทาสหญิง ทาสชาย ช้าง ม้า วัว ควายทั้งหลายก็เหมือนกัน มีแต่ความเกิดแก่เจ็บตายแหลกทำลายไปตามกาลเวลา แต่มนุษย์ก็ยังแสวงหากัน ทั้งๆ ที่ตัวเองก็มีความเกิด แก่ เจ็บ ตาย เศร้าหมอง เป็นธรรมดา ก็ยังแสวงหาสิ่งที่มีความเกิด แก่ เจ็บ ตาย เศร้าหมองเป็นธรรมดามาเพิ่มเติมอีก

บางคนมาถึงวัด นั่งได้ครึ่งชั่วโมงเท่านั้นแหละ ใจจะสงบดีแล้ว ก็อยู่ไม่ได้
"หลวงพ่อ ต้องกลับแล้ว" "ทำไมล่ะ"
"เดี๋ยวด้องไปรับลูก"

 

               นั่นแหละสิ่งที่ถ่วงเราให้มาวัดไม่ได้ ไปหามาเอง ไปหามาทำไมล่ะ พระองค์ทรงสรุปจากการที่ได้พิจารณาไตร่ตรองแล้วว่า "ภิกษุทั้งหลาย ความคิดอันนี้ได้เกิดแก่เราว่า ทำไมหนอ เราซึ่งมีความเกิด แก่ เจ็บ ตาย เศร้าโศกเป็นธรรมดาอยู่รอบด้านนี้ จะต้องไปแสวงหาสิ่งที่เป็นอย่างนี้อีก ครั้นได้รู้สึกถึงโทษอันต่ำทรามของสิ่ง เหล่านี้แล้ว เราพึงแสวงหานิพพานอันไม่มีความเกิดอันเป็นธรรมที่เกษมจากเครื่องร้อยรัด ไม่มีธรรมอื่นยิ่งกว่า"

 

               "ภิกษุทั้งหลาย ความคิดได้เกิดขึ้นกับเราว่า ชีวิตฆราวาสนี้คับแคบเสียเหลือเกิน เป็นทางมาแห่งธุลี คือ กิเลสทั้งหลาย ส่วนการบรรพชา เป็นโอกาสว่าง ผู้อยู่ครองเรือน จะประพฤติพรหมจรรย์ให้บริสุทธิ์บริบูรณ์ ได้ส่วนเดียวโดยง่ายไม่ได้ เพราะฉะนั้น เราพึงปลงผมและหนวด ครองผ้าย้อมฝาด ออกจากเรือน บวชเป็นผู้ไม่มีประโยชน์เกี่ยวข้องด้วยเรือนเถิด"



               เจ้าชายสิทธัตถะราชกุมาร ตัดสินพระทัยออกบวชด้วยเหตุและผลที่ทรงพิจารณาดีแล้วว่า ชีวิตฆราวาสคับแคบเป็นทางมาแห่งธุลี เราอาจไม่เข้าใจนัก ธุลีแปลว่าอะไร แปลว่า ฝุ่น, ผง เมื่อพิจารณาความหมายจากสำนวนดังกล่าวก็จะเห็นว่า สำหรับผู้ครองเรือน มีแต่เครื่องปวดหัววุ่นวาย ยุ่งไปหมด นํ้ามันจะขึ้นราคา ไฟฟ้าจะแพง มีแต่เรื่องกวนใจ กวนกิเลส

               ส่วนบรรพชาเป็นโอกาสว่างที่จะประพฤติพรหมจรรย์ให้บริสุทธิ์บริบูรณ์โดยส่วนเดียว จึงตัดสินพระทัยออกบวช

 

"ภิกษุทั้งหลาย เรานั้นโดยสมัยอื่นอีก ยังหนุ่มมากทีเดียว เกศายังกำจัดบริบูรณ์ด้วยความหนุ่มที่กำลังเจริญ ยังอยู่ในปฐมวัย เมื่อบิดา มารดาไม่ปรารถนาด้วย กำลังทรงร้องไห้นํ้าตานองอยู่ เราได้ปลงผมและ หนวด ครองผ้าย้อมฝาดออกจากเรือน บวชเป็นผู้ไม่มีเรือน ในสมัยนั้น เรามีอายุได้สามสิบหย่อนหนึ่ง โดยวัย เราได้ออกบรรพชาแสวงหาว่า อะไรเป็นกุศล อะไรไม่เป็นกุศล"



ความยิ่งใหญ่ของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า
พระภาวนาวิริยคุณ

 

 ยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคล Total Execution Time: 0.003889532883962 Mins