ชาดก 500 ชาติ รวมนิทานชาดกพร้อมภาพประกอบ คติธรรม ข้อคิดสอนใจ

ชาดก 500 ชาติ : ชาดก 500ชาติรวมชาดก 500 ชาติพร้อมภาพประกอบ  ข้อคิดสอนใจ

ชาดก คือ เรื่องราวหรือชีวประวัติในอดีตชาติของพระโคตมพุทธเจ้า คือ สมัยที่พระองค์เป็นพระโพธิสัตว์บำเพ็ญบารมีอยู่ พระองค์ทรงนำมาเล่าให้พระสงฆ์ฟังในโอกาสต่าง ๆ เพื่อแสดงหลักธรรมสุภาษิตที่พระองค์ทรงประสงค์ เรียกเรื่องในอดีตของพระองค์นี้ว่า ชาดก ชาดกเป็นเรื่องเล่าคล้ายนิทาน บางครั้งจึงเรียกว่า นิทานชาดก

ชาดก 500 ชาติ :: อรรถกถาอนนุโสจิยชาดกว่าด้วย ทุกคนจะต้องตายควรเมตตากัน

อรรถกถา อนนุโสจิยชาดก

ว่าด้วย ทุกคนจะต้องตายควรเมตตากัน

 

                ณ วิหารเชตวัน สถานที่ ที่พระศาสดาทรงประทับอยู่  ทรงปรารภถึงชายหนุ่มคนหนึ่ง โดยมีใจความดังนี้ว่า 

 

%E0%B8%AA%E0%B8%B3%E0%B8%A3%E0%B8%AD%E0%B8%871.png

 

               เมื่อภรรยาของตนตาย เขานั้นทำใจไม่ได้ จึงไม่อาบน้ำ ไม่รับประทานข้าว ไม่ทำการทำงาน ถูกความโศกเศร้าครอบงำ ในทุกวันมักจะไปป่าช้าเที่ยวพร่ำรำพัน ถึงแม้ตอนนี้ชายผู้นี้ จะเป็นเช่นนี้ แต่ถ้าเขานั้นมีอุปนิสัยแห่งโสดาปัตติมรรคสว่างอยู่ภายใน


                 ในเวลาใกล้รุ่ง พระศาสดาทรงตรวจดูโลก ได้ทอดพระเนตรเห็นชายผู้นั้น ทรงพระดำริว่าเว้นเราเสีย ใครๆ อื่นผู้จะนำความโศกออก แล้วให้โสดาปัตติมรรคแก่กฎุมพีนี้ ย่อมไม่มี เราจักเป็นที่พึ่งอาศัยของกฎุมพีนั้น จึงเสด็จกลับจากบิณฑบาต ภายหลังภัต ทรงพาปัจฉาสมณะไปยังประตูเรือนของชายหนุ่มผู้นั้น พระองค์ประทับนั่งบนอาสนะที่ปูไว้ แล้วตรัสถามชายหนุ่ม "ท่านคิดอะไรหรือ?"


               "ภรรยาของข้าพเจ้าตาย ช่างเศร้าโศกเหลือเกิน" "ท่าน ขึ้นชื่อว่าสิ่งที่มีการแตกเป็นธรรมดา ย่อมแตกไป เมื่อมันแตกไปจึงไม่ควรคิด แม้โบราณบัณฑิตทั้งหลาย เมื่อภรรยาตายแล้วก็ยังไม่คิดว่า สิ่งที่มีการแตกเป็นธรรมดาได้แตกไปแล้ว" อันกฎุมพีนั้นทูลอาราธนา จึงทรงนำเอาเรื่องในอดีตมาสาธกดังต่อไปนี้



                ในอดีตกาล เมื่อพระเจ้าพรหมทัตครองราชสมบัติอยู่ในนครพาราณสี พระโพธิสัตว์ได้ถือกำเนิดในตระกูลพราหมณ์ เจริญวัยแล้ว เล่าเรียนศิลปะทั้งปวงในเมืองตักกสิลา แล้วได้กลับไปยังบ้านของบิดามารดาของตน


              
                ผ่านไปไม่นาน พ่อและแม่ ต่างอยากจะให้ลูกชายของตนนั้นแต่งงาน  จึงแสวงหาภรรยาให้ แม้พระโพธิสัตว์มักจะบอกว่า ไม่ต้องการ "เมื่อท่านทั้งสองจากไปแล้ว ลูกจะบวช" ครั้นเมื่อถูกบิดามารดานั้นรบเร้าอยู่บ่อยๆก็ทนไม่ไหว เลยให้ช่างหล่อรูปทองคำหญิงสาวขึ้นมา แล้วพูดว่า "ถ้าหาหญิงที่งดงามเหมือนกับรูปปั้นนี้ได้ลูกยินดีที่จะแต่งงาน"

 

%E0%B8%AA%E0%B8%B3%E0%B8%A3%E0%B8%AD%E0%B8%872.png


                "ได้"ทั้งสองรับปาก  บิดามารดาของพระโพธิสัตว์ จึงให้ยกรูปทองคำนั้นขึ้นบนเกวียน ใช้ผ้าปิดให้มิดชิด ส่งบริวารให้เที่ยวไปยังพื้นชมพูทวีป โดยสั่งว่า "เมื่อเห็นหญิงงามเหมือนกับรูปทองคำ พวกท่านจงให้ทองคำนั้นไว้กับนาง แล้วรีบกลับมา พาเราไปสู่ขอมาเป็นลูกสะใภ้"

 

%E0%B8%AA%E0%B8%B3%E0%B8%A3%E0%B8%AD%E0%B8%873.png
              

              บริวารได้รับคำสั่ง ก็ทำตามอย่างแข็งขัน เกวียนออกแล่น ไปทั่วชมพูทวีป แต่จนแล้วจนรอดก็ยังไม่พบเจอสาวใดที่ งดงามเหมือนกับรูปทองคำนี้สักคน จนกระทั่งมาถึงหมู่บ้านหนึ่ง ด้วยเหตุบังเอิญ ผ้าที่ห่อทองรูปหล่อหลุดออก แล้วมีชาวบ้านกลุ่มหนึ่งเดินผ่านมาหยุดดูแล้วกล่าวกับคนขับเกวียนว่า  "เพราะเหตุไร นางสัมมิลลหาสินี ธิดาของพราหมณ์ ถึงมายืนอยู่ที่นี่" เมื่อคนขับเกวียนได้ยินดังนั้นจึงได้เอ่ยถาม ว่าจะเดินทางไปที่อยู่ของหญิงผู้นี้ได้อย่างไร 


               คณะเกวียนเดินทาง ตรงไปยังคฤหาสน์พราหมณ์  แล้วมอบรูปปั้นทองให้กับ พราหมณ์ผู้เป็นพ่อของหญิงสาว จากนั้นทั้งหมดก็กลับ มาแจ้งให้พ่อและแม่ของพระโพธิสัตว์ทราบ

 

%E0%B8%AA%E0%B8%B3%E0%B8%A3%E0%B8%AD%E0%B8%874.png

 

                บิดามารดาของพระโพธิสัตว์ ออกเดินทางไปสู่ขอ จนในที่สุดทั้งสองก็ได้แต่งงานกัน เมื่ออยู่ในห้องเดียวกัน แต่ไม่ได้ล่วงเกินกันเลยสักครั้ง เปรียบเหมือนภิกษุ ๒ รูปอยู่ในที่เดียวกัน

 

 

%E0%B8%AA%E0%B8%B3%E0%B8%A3%E0%B8%AD%E0%B8%875.png


               ต่อมาบิดามารดาของพระโพธิสัตว์ได้ตายจากไป ผู้เป็นสามีจึงเรียกภรรยามาคุยกันอย่างเงียบๆ  "น้องหญิง ทรัพย์สินที่มีอยู่ตอนนี้คือทรัพย์ ๑๖๐ โกฏิ พี่ยกให้เจ้าทั้งหมด" "ทำไมถึงท่านพูดกับน้องเช่นนี้ล่ะ"พระโพธิสัตว์นิ่งเงียบไปชั่วครู่ ก่อนจะเอ่ยกับภรรยา "เพราะพี่จะออกบวช" เมื่อผู้เป็นสามีพูดจบ  ฝ่ายหญิงก็กล่าวว่า "ถ้าเช่นนั้น น้องก็จะออกบวชกับท่านด้วย" จากนั้นทั้งสองจึงสละสมบัติทั้งหมด ออกเดินทางเข้าไปยังหิมวันตประเทศบวชเป็นฤาษี หารากไม้และผลไม้เป็นอาหาร

 

%E0%B8%AA%E0%B8%B3%E0%B8%A3%E0%B8%AD%E0%B8%876.png

 

              เวลาผ่านไปหลายปี ทั้งสองเกิดอยากจะเดินทางเข้าเมือง เพื่อออกบิณฑบาตร เมื่อถึงพาราณสีแล้วได้พักอาศัยอยู่ในพระราชอุทยาน      


               เมื่อดาบสและดาบสินีทั้งสองนั้นพักอยู่ในพระราชอุทยาน ฝ่ายดาบสินีเกิดอาการป่วย แต่นางไม่ได้รับการรักษาส่งผลให้อาการนั้นรุนแรงขึ้นเรื่อยๆ จนแทบไม่มีแรง ต่อมาพระโพธิสัตว์ได้พยุงนางไปยังประตูพระนคร แล้วให้นอนบนแผ่นกระดาน ณ ศาลาหลังหนึ่ง

 

              จากนั้นไปบิณฑบาตในเมือง หลังจากที่ไปไม่นาน นางไม่อาจทนต่อความเจ็บปวดได้ จึงสิ้นลมลง

 

%E0%B8%AA%E0%B8%B3%E0%B8%A3%E0%B8%AD%E0%B8%877.png

 


                เหล่าผู้คนที่เห็นเหตุการณ์นั้นก็เข้ามาดู แล้วพบว่า นักบวชหญิงนั้นสิ้นลงแล้ว จึงพากันร้องไห้เสียใจ 

 

               เมื่อพระโพธิสัตว์ บิณฑบาตเสร็จเรียบร้อยแล้ว กลับมารู้ว่านางตาย ได้กล่าวว่า "สิ่งที่มีอันจะแตกไปเป็นธรรมดา ย่อมแตกไป สังขารทั้งปวงไม่เที่ยงหนอ มีคติอย่างนี้เอง" แล้วนั่งบนแผ่นกระดานที่นางนอนอยู่นั่นแหละ บริโภคอาหาร


               ผู้คนที่ยืนห้อมล้อมถามว่า "ท่านผู้เจริญ ปริพาชิกานี้เป็นอะไรกับท่าน?"


               พระโพธิสัตว์กล่าวว่า "เมื่อเวลาเป็นคฤหัสถ์ นางเป็นภรรยาของเรา"


               มหาชนกล่าวว่า "ท่านผู้เจริญ พวกเรายังอดทนไม่ได้ก่อน พากันร้องไห้ร่ำไร เพราะเหตุไร? ท่านจึงไม่ร้องไห้"


               พระโพธิสัตว์กล่าวว่า "นางปริพาชิกานี้ เมื่อยังมีชีวิตอยู่ย่อมเป็นอะไรกับเรา ตอนนี้ไม่เป็นเช่นนั้น เพราะนางไปปรโลกแล้ว เราจะร้องไห้เพราะอะไร"


              "ถ้าจะเศร้าโศกถึงคนที่ไม่มีชีวิตอยู่ ให้เศร้าโศกถึงตนซึ่งตกอยู่ในอำนาจของมัจจุราชอยู่ทุกเวลาจะดีกว่า"


               "อายุสังขารใช่ว่าจะติดตามเฉพาะสัตว์  เราก็เช่นกัน แม้ นั่ง นอน หรือเดิน หลับตา วัยก็เสื่อมไปแล้ว"


             "ยังไงต้องมีความพลัดพรากจากกัน โดยไม่ต้องสงสัย หมู่สัตว์ที่ยังอยู่ควรเอ็นดูกัน ส่วนที่ตายไปแล้วไม่ควรเศร้าโศกถึง"

                    มหาชนพากันปลงศพของนางปริพาชิกาแล้ว พระโพธิสัตว์เข้าไปยังหิมวันตประเทศ ทำฌานและอภิญญาให้บังเกิด ได้มีพรหมโลกเป็นที่ไปในเบื้องหน้า



               พระศาสดา ครั้นทรงนำพระธรรมเทศนานี้มาแล้ว จึงทรงประกาศสัจจะ แล้วทรงประชุมชาดก. ในเวลาจบสัจจะ กฎุมพีได้ดำรงอยู่ในโสดาปัตติผล.
               นางสัมมิลลหาสินีในครั้งนั้น ได้เป็น 
ราหุลมารดา
               ส่วนดาบสในครั้งนั้น ได้เป็น เราตถาคต ฉะนี้แล.

 

บทความนี้ ถูกใจคุณหรือไม่ + -

สิ่งดีๆมีไว้แบ่งปัน อะไรดีๆมีอีกเยอะ กด Like facebook กัลยาณมิตร

* * ชาดก 500 ชาติ แนะนำ * *

 ยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคล