โครงการด้านสาธารณสงเคราะห์

วันที่ 16 กพ. พ.ศ.2559

โครงการด้านสาธารณสงเคราะห์ 

โครงการด้านสาธารณสงเคราะห์

โครงการด้านสาธารณสงเคราะห์ 

โครงการชมรมรัตนเวชในอุปถัมภ์พระเทพญาณมหามุนี
         เริ่มก่อตั้ง พ.ศ. 2541 โดยการรวมตัวกันของคณะแพทย์ ทันตแพทย์ เภสัชกร พยาบาล และเจ้าหน้าที่ด้านสุขภาพหลายสาขา เพื่อให้บริการตรวจสุขภาพพระภิกษุสามเณรวัดพระธรรมกายและวัดสาขาทุกเดือน, หน่วยแพทย์เคลื่อนที่ โรงเรียนพระปริยัติธรรมวัดสาขาทั่วประเทศ, หน่วยแพทย์เคลื่อนที่ร่วมกับพุทธสมาคมในพระบรมราชูปถัมภ์ทุก 3 เดือน ฯลฯ


โครงการเทเหล้า-เผาบุหรี่
         เริ่มปี พ.ศ. 2546 มีวัดประกาศเป็นวัดปลอดบุหรี่ จำนวน 1,000 วัด และมีสถาบันการศึกษาร่วมกิจกรรมกว่า 100 สถาบัน นักเรียนและนิสิตนักศึกษาเข้าร่วม 13,000 คน และมีผู้ประกาศตัวหักดิบไม่เกี่ยวข้องกับอบายมุขกว่า 75,000 คน ด้วยเหตุนี้ ในวันที่ 31 พฤษภาคม พ.ศ. 2547 องค์การอนามัยโลก (WHO) จึงได้ถวายรางวัล World No Tobacco Day Awards แด่พระเดชพระคุณพระราชภาวนาวิสุทธิ์ (หลวงพ่อธัมมชโย) ในฐานะผู้ริเริ่มโครงการ


โครงการบำเพ็ญกุศลแก่ผู้ประสบภัยจากเหตุการณ์ธรณีพิบัติ (สึนามิ)
         การบำเพ็ญกุศลแก่ผู้ประสบภัยจากเหตุการณ์ธรณีพิบัติ (สึนามิ) ที่จังหวัดภูเก็ต จัดขึ้นเมื่อวันพุธที่ 5 มกราคม พ.ศ. 2548 ที่อำเภอตะกั่วป่า จังหวัดพังงา จัดขึ้นในวันพุธที่ 19 มกราคม พ.ศ. 2548 ทั้งนี้ได้มอบเครื่องอุปโภค บริโภคแก่ประชาชนผู้ประสบภัยรวม 3 ล้านบาท


โครงการช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัย
         การช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัยในปี พ.ศ. 2549 เนื่องจากได้มีเหตุการณ์น้ำท่วมครั้งใหญ่ที่สุดในรอบ 50 ปี ครอบคลุมพื้นที่ 4 จังหวัดภาคเหนือตอนล่าง และพื้นที่ภาคกลางเกือบทุกจังหวัด ทั้งนี้ มูลนิธิธรรมกาย ได้นำคาราวานรถไปแจกจ่ายถุงยังชีพเพื่อช่วยเหลือผู้ประสบภัยน้ำท่วม รวม 18 จังหวัด ทั้งหมด 168 อำเภอ ช่วงเดือนสิงหาคม ถึง พฤศจิกายน พ.ศ. 2549 จำนวนกว่า 52,000 ครัวเรือน รวม 230,000 คน โดยมอบถุงยังชีพ 50,202 ชุด รวมเป็นเครื่องอุปโภคบริโภคกว่า 2 ล้านชิ้น


โครงการสนับสนุนโรงพยาบาลธรรมศาสตร์เฉลิมพระเกียรติ
         การสนับสนุนโรงพยาบาลธรรมศาสตร์เฉลิมพระเกียรติ ผู้แทนของทางมูลนิธิธรรมกาย คือ พระภาวนาวิริยคุณ (หลวงพ่อทัตตชีโว) พร้อมด้วยผู้แทนคณะสงฆ์ ขณะที่ทางโรงพยาบาลธรรมศาสตร์เฉลิมพระเกียรตินำโดย ศ.ดร.สุรพล นิติไกรพจน์ อธิการบดีมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ พร้อมด้วยคณบดีของมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์อีกกว่า 10 ท่าน ร่วมลงนามบริจาคเงินเพื่อปรับปรุงอาคารผู้ป่วยโรงพยาบาลธรรมศาสตร์เฉลิมพระเกียรติ โดยมูลนิธิธรรมกายบริจาคเงิน 27 ล้านบาท เพื่อปรับปรุงอาคารหอผู้ป่วยสามัญจำนวน 48 เตียง ห้องพิเศษ จำนวน 12 ห้อง และห้องพักผู้ป่วยพิเศษ จำนวน 17 ห้อง เมื่อวันที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2551 ณ อาศรมบัณฑิต วัดพระธรรมกาย


โครงการช่วยเหลือผู้ประสบอัคคีภัย ในสหรัฐอเมริกา
         การช่วยเหลือผู้ประสบอัคคีภัย ในสหรัฐอเมริกา ในวันที่ 9 พฤศจิกายน พ.ศ. 2550 มอบบะหมี่สำเร็จรูป จำนวน 50,000 คัพ ไปที่ส่วนราชการของเมืองแซนดิเอโก้ ให้กับผู้ที่ได้รับความเดือดร้อน


โครงการช่วยเหลือผู้ประสบวาตภัยไซโคลนนากีส ประเทศสหภาพพม่า
         การช่วยเหลือผู้ประสบวาตภัยไซโคลนนากีส ประเทศสหภาพพม่า จัดส่งของไปช่วยจำนวน 6 ครั้งระหว่างวันที่ 8 พฤษภาคม ถึง 18 มิถุนายน พ.ศ. 2551 รวมเป็นจำนวนกว่า 20,000 ชุด ได้แก่ ยารักษาโรค ถุงยังชีพน้ำดื่มเครื่องอปุโภค และผ้าไตรจีวร มูลค่ากว่า 7,000,000 บาท พร้อมทั้งหน่วยแพทย์ พยาบาล
ช่วยเหลือผู้ประสบภัยในพื้นที่ต่างๆ ของประเทศพม่า

 

โครงการตักบาตรพระ 500,000 รูป 76 จังหวัดทุกวัดทั่วไทย
         จัดครั้งแรกที่จังหวัดลำปาง เมื่อวันที่ 10 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2551 โดยร่วมกับสมาคม ชมรม องค์กรชาวพุทธกว่า 150 องค์กร จัดไปแล้วทั้งหมด 245 ครั้ง จำนวนคณะสงฆ์ร่วมงาน 500,222 รูป ทางคณะกรรมการฯ ได้จัดส่งข้าวสาร อาหารแห้ง ถวายพระภิกษุสามเณร และมอบแด่ทหาร ตำรวจ ครู และชาวบ้าน ใน 4 จังหวัดชายแดนภาคใต้ ยะลา ปัตตานี นราธิวาส สงขลา รวมแล้วกว่า 90 คัน รถสิบล้อ เป็นน้ำหนัก 90 ตัน (90,000 กิโลกรัม)


โครงการตักบาตรพระ 1 ล้านรูป 77 จังหวัดทุกวัดทั่วไทย
         เริ่มเมื่อวันที่ 25 กรกฎาคม พ.ศ. 2553 ตักบาตรดอกไม้และข้าวสารอาหารแห้ง 10,000 รูป ณ วัดพระพุทธบาทราชวรมหาวิหาร โดยจัดตักบาตรพระครบ 1,000,000 รูป เมื่อวันที่ 25 มีนาคม พ.ศ. 2555 ณ ถนนลาดหญ้า ถึง วงเวียนใหญ่ เขตธนบุรี กรุงเทพฯ


โครงการตักบาตรพระ 2 ล้านรูป 77 จังหวัดทุกวัดทั่วไทย
         โครงการตักบาตรพระ 2 ล้านรปู 77 จังหวัดทุกวัดทั่ว ไทย เพื่อฟื้นฟูศีลธรรมโลก สืบทอดอายพระพุทธศาสนา ส่งเสริมวัฒนธรรมชาวพุทธให้เข้มแข็ง สืบสานอริยะประเพณีการตักบาตรให้เจริญรุ่งเรืองสืบไป และเพื่อช่วยเหลือคณะสงฆ์ 323 วัดและพุทธบริษัทใน 4 จังหวัดชายแดนภาคใต้ และช่วยเหลือผู้ประสบภัยทั่วประเทศ โดยเริ่มครั้งแรกเมื่อวันที่ 28 เมษายน พ.ศ. 2555 จนถึงปัจจุบัน จัดมาแล้ว 547 ครั้ง รวมจำนวนพระกว่า 1,318,000 รูป และนำข้าวสารอาหารแห้งที่ได้จากการตักบาตรไปมอบช่วยเหลือแก่พี่น้องประชาชนในพื้นที่ 4 จังหวัดชายแดนภาคใต้ (สงขลา ยะลา ปัตตานี และนราธิวาส) น้ำหนักจำนวนกว่า 4,400 ตัน 270 คันรถสิบล้อ (1 คันสิบล้อ = 16 ตัน)


โครงการมอบเงินช่วยผู้ประสบภัยสึนามิประเทศญี่ปุ่น
         เมื่อวันที่ 17 มีนาคม พ.ศ. 2554 มูลนิธิธรรมกายมอบเงิน 200,000 บาท ช่วยเหลือผู้ประสบภัยธรณีพิบัติและสึนามิแก่ประเทศญี่ปุ่น ผ่านทางครอบครัวข่าว สถานีโทรทัศน์ไทยทีวีสีช่อง 3


โครงการกองทุนหนุนแรงใจช่วยครูใต้
         มอบทุนให้กับครูอาจารย์ในพื้นที่ 4 จังหวัดภาคใต้เป็นประจำทุกเดือน เริ่มครั้งแรกในเดือนมกราคม พ.ศ. 2551 ครั้งล่าสุดวันที่ 22 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557 ครั้งที่ 65 รวมมอบทุนไปแล้ว 30,000 กว่ากองทุน เป็นเงินกว่า 60,400,000 บาท
 

โครงการช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัย
         โครงการช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัย ในปี พ.ศ. 2553 วิกฤตการณ์น้ำท่วม ภาคเหนือ อีสาน กลาง ใต้ ทางวัดพระธรรมกายและมูลนิธิธรรมกาย ผนึกกำลังร่วมกับหน่วยงานต่างๆ ทั้งภาครัฐและเอกชน กว่า 30 องค์กร ในนามสหพันธ์รวมใจไทยทั้งชาติ ได้มอบถุงยังชีพ ใน 20 จังหวัด เป็นจำนวนกว่า 60 วัด รวมเป็นถุงยังชีพกว่า 40,000 ชุด น้ำหนักกว่า 80,000 กิโลกรัม ในจังหวัดต่างๆ ดังนี้ ปทุมธานี สระบุรี สุพรรณบุรี ลพบุรี พระนครศรีอยุธยา สิงห์บุรี ชัยนาท อ่างทอง ราชบุรี ปราจีนบุรี สระแก้ว สมุทรสงคราม เพชรบุรี นครสวรรค์ น่าน ชัยภูมิ ขอนแก่น นครราชสีมา สงขลา และพัทลุง


โครงการช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัย ในปี พ.ศ. 2554
         ในช่วงปลายปี พ.ศ. 2554 ประเทศไทยเกิดมหาอุทกภัยใหญ่ วัดพระธรรมกายและมูลนิธิธรรมกาย นำถุงยังชีพไปช่วยเหลือผู้ประสบภัยน้ำท่วม 30 จังหวัด จำนวน 400,000 ชุด อีกส่วนหนึ่งยังนำไปช่วยเหลือผู้ประสบภัยต่างๆ ทั่วประเทศอีกด้วย


โครงการช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัย ในปี พ.ศ. 2556
         ในช่วงเดือนตุลาคม วัดพระธรรมกายและมูลนิธิธรรมกายนำถุงยังชีพจำนวนกว่า 15,000 ชุด ไปช่วยเหลือบรรเทาภัยน้ำท่วมใน 7 จังหวัด ได้แก่ จังหวัดปราจีนบุรี นครนายก ฉะเชิงเทรา ชลบุรี พระนครศรีอยุธยา ปทุมธานี และขอนแก่น รวมกว่า 9,000 ครัวเรือน


 

 

ประวัติพระเทพญาณมหามุนี (หลวงพ่อธัมมชโย) พระเทพญาณมหามุนี วิ. (หลวงพ่อธัมมชโย) เจ้าอาวาสวัดพระธรรมกาย


จากหนังสือ 70 ปี พระเทพญาณมหามุนี (หลวงพ่อธัมมชโย)

กับ 100 กว่าโครงการฟื้นฟูศีลธรรมโลก
44 ปี วัดพระธรรมกาย มโนปณิธาน...อันยิ่งใหญ่ที่ไม่เคยเปลี่ยน

สร้าง...วัด...ให้เป็น “วัด”
สร้าง...พระ...ให้เป็น “พระแท้”
สร้าง...คน...ให้เป็น “คนดี”

 

70 ปี ของบุคคลทั่วไป เป็นวัยแห่งการพักผ่อนหลังจากทำงานมาทั้งชีวิต

70 ปี ของพระเดชพระคุณ พระเทพญาณมหามุนี (หลวงพ่อธัมมชโย) ท่านยังคงปฏิบัติธรรมสอนสมาธิ และมุ่งหน้าทำภารกิจที่ยิ่งใหญ่ คือ การเผยแผ่พระพุทธศาสนาวิชชาธรรมกายไปทั่วโลก

เป็นภารกิจที่ได้รับมอบหมายถ่ายทอดมาจาก คุณยายอาจารย์มหารัตนอุบาสิกาจันทร์ ขนนกยูง ผู้ให้กำเนิดวัดพระธรรมกาย ที่ได้รับคำสั่งมาจากพระเดชพระคุณ พระมงคลเทพมุนี (สด จนฺทสโร) หลวงปู่วัดปากน้ำภาษีเจริญ พระผู้ปราบมาร

ในฐานะเจ้าอาวาสวัดพระธรรมกาย ท่านเป็นผู้นำทางจิตใจ ของเหล่าพระภิกษุ สามเณร อุบาสก อุบาสิกา สาธุชน เหล่ากัลยาณมิตรทั่วโลก ในการเป็นต้นบุญต้นแบบทั้งด้านการบำเพ็ญสมณธรรม ตามพระธรรมวินัยของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าอย่างเคร่งครัด และด้านการสร้างบารมีโดยเอาชีวิตเป็นเดิมพัน โดยไม่ย่อท้อต่ออุปสรรคทั้งหลาย

ในฐานะประธานมูลนิธิธรรมกาย โครงการต่างๆ ที่ได้ดำริขึ้น เพื่อการฟื้นฟูศีลธรรมโลก และ สร้างสันติภาพภายนอกด้วยเริ่มต้นจากสันติสุขภายใน ด้วยการสอนสมาธิ เพื่อให้เข้าถึงศูนย์กลางกาย และเข้าถึงพระธรรมกายภายในตัวเป็นการเผยแผ่พระพทุธศาสนาเชิงรุก ซึ่งมีรูปแบบที่แปลกแตกต่างจากวิถีเดิมๆ จึงมีคำวิพากษ์วิจารณ์ไปต่างๆ นานา

หลวงพ่อธัมมชโย ท่านได้ให้ข้อคิดว่า เป็นเพราะเรายังอธิบายให้เขาเข้าใจได้ไม่ดีพอ จึงยังมีผู้ไม่เข้าใจอยู่บ้าง 

หนังสือเล่มนี้ ทำหน้าที่ 2 ประการ คือ
1. พยายามอธิบายว่าหลวงพ่อธัมมชโย ทำอะไร เพื่องานทำนุบำรุง และเผยแผ่พระพุทธศาสนาบ้าง ซึ่งรวบรวมเบื้องต้นได้ 100 กว่าโครงการ ทั้งในและต่างประเทศทั่วโลก
2. โครงการต่างๆ ที่ทำขึ้นมาทั้งหมดนั้น มิได้มีเจตนาอื่นใดเลย เป็นไปเพื่อเผยแผ่พระพุทธศาสนาวิชชาธรรมกายไปทั่วโลก มุ่งสอนสมาธิให้ทุกคนได้ปฏิบัติธรรมเพื่อให้เข้าถึงพระธรรมกายภายในตัว ที่มีอยู่ในมนุษย์ทุกคน เพื่อให้ทุกคนได้พบกับคำว่า “สันติภาพภายนอกเริ่มจากสันติสุขภายใน” นั่นเอง

 ยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคล Total Execution Time: 0.035141297181447 Mins