ศาสนายิว

วันที่ 15 กค. พ.ศ.2559

ศาสนายิว

1. ประวัติความเป็นมา

   ศาสนายิว หรือศาสนายูดาย เป็นศาสนาที่เก่าแก่ที่สุดในบรรดาศาสนาเอกเทวนิยมที่ยังมีชีวิตอยู่ เกิดประมาณ 957-657 ก่อนพุทธศักราช โดยคิดตามสมัยของโมเสส ผู้เป็นศาสดาของศาสนานี้ แต่ถ้าจะว่าตามความเชื่อของชาวยิวแล้ว ศาสนายิวเกิดตั้งแต่สมัยอับรามหรืออับราฮัม หรือที่ศาสนาอิสลามเรียกว่าอิบราฮิม คือประมาณ 1,500 ปีก่อนพุทธศักราช ซึ่งเป็นเวลาประมาณ 4,000 ปีมาแล้ว ศาสนายิวเป็นศาสนาของชนชาติยิวหรือที่เรียกกันว่า ฮีบรู (Hebrew) ในสมัยโบราณ คำว่า ยูดา มาจากคำว่า จูดา และคำว่า ยิว มาจากคำว่า จูเดีย ซึ่งเป็นชื่อที่ชาวเปอร์เซียหรืออิหร่านเรียก

     ประวัติย่อของชนชาติยิวมีว่า เป็นชาติที่เลี้ยงสัตว์ จึงต้องต้อนฝูงปศุสัตว์ไปหากินในถิ่นต่างๆ ชาวยิวจึงเป็นพวกเร่ร่อน ไม่มีที่อยู่เป็นหลักแหล่ง อพยพเรื่อยไป ครั้นเข้าไปถิ่นไหนถิ่นนั้น ก็รังเกียจขับไล่ไม่ยอมให้อยู่ แม้แต่คำว่า ฮีบรู หรือเฮบรู ก็เป็นคำที่ชาวคานาอันตั้งให้ อันมีความหมายว่า พวกต่างถิ่น พวกเร่ร่อน หรือพวกมาจากฟากโน้น ชาวยิวอพยพไปเรื่อยๆ เพื่อหาอาหารให้ปศุสัตว์ แต่ยิ่งเร่ร่อนก็ยิ่งน้อยใจที่ไม่มีประเทศของตนอยู่ ผิดกับเผ่าอื่นๆ อีกทั้งจำนวนประชากรยิวก็เพิ่มมากขึ้นทุกที ปัญหาเหล่านี้ทำให้หัวหน้าหมู่ชาวยิวคิดหนัก ทำอย่างไรยิวจึงจะมีประเทศอยู่ ทำอย่างไรชาวยิวจะมีอาหารเพียงพอไม่อดตาย

    ต่อมามีเหตุการณ์สำคัญเกิดขึ้นแก่ชาวยิว คือสมัยที่ชาวยิวมีอับราฮัมเป็นหัวหน้าหมู่ อับราฮัมได้บอกชาวยิวว่า พระเจ้ามาหาตน พระองค์ได้ตรัสว่า พระองค์เป็นพระเจ้าองค์เดียว และทรงเป็นเทพเจ้าของชาวยิว พระองค์ทรงเลือกชาวอิสราเอลหรือชาวยิวเป็นประชากรของพระองค์ พระเจ้าทรงสั่งให้อับราฮัมอพยพออกจากถิ่นที่อยู่คือเมืองเออร์ หรืออูร์ (Ur) ใน แคว้นคาลเดีย ซึ่งตั้งอยู่แถบเมโสโปเตเมีย ไปอยู่ในดินแดนที่พระองค์จะประทานให้ แล้วจะทรงทำให้ชาวยิวเป็นชาติใหญ่ ชาติสำคัญของโลกดังที่พระองค์ตรัสว่า1)

    “เจ้าจงออกจากเมือง จากญาติพี่น้อง จากบ้านบิดาของเจ้าไปยังดินแดนที่เราจะบอกให้เจ้ารู้ เราจะให้เจ้าเป็นชาติใหญ่ เราจะอวยพรแก่เจ้า จะให้เจ้ามีชื่อเสียงโด่งดัง เลื่องลือไกล แล้วเจ้าจะช่วยให้ผู้อื่นได้รับพร เราจะอำนวยพรแก่คนที่อวยพรเจ้า เราจะสาปคนที่แช่งเจ้าŽ”

    อับราฮัมซึ่งตอนนั้นอายุ 75 ปีแล้ว ก็ได้พาชาวยิวออกจากถิ่นเดิมมุ่งสู่แผ่นดินแหˆงสัญญา หรือดินแดนที่พระเจ้าจะประทานให้แก่ชาวยิว อับราฮัมพาชาวยิวเดินทางมาเรื่อยๆ จนมาถึงดินแดนคานาอัน พระเจ้าจึงมาปรากฏแก่อับราฮัมและตรัสว่า2) ”ดินแดนนี้เราจะยกให้พงศ์พันธุ์ของเจ้าŽ” ชาวยิวอยู่ที่คานาอันระยะหนึ่งต่อมาเกิดทุพภิกขภัย ชาวยิวอดอยากลำบากมาก อับราฮัมจึงพาชาวยิวออกเดินทางต่อไปจนถึงประเทศอียิปต์ อับราฮัมได้พาซาราย หรือ ต่อมาเรียกว่าซาร่าห์ ภรรยาของตนไปด้วย และเนื่องจากซาราห์เป็นคนสวยมาก หากอับราฮัมบอกแก่ชาวอียิปต์ว่าเป็นภรรยาของตนก็เกรงจะมีอันตราย จึงได้บอกว่าเป็นน้องสาว เมื่อฟาโรห์หรือกษัตริย์ของอียิปต์ทอดพระเนตรเห็นซาราห์ก็ทรงพอพระทัยรับไว้เป็นชายา และทรงโปรดปรานนางมาก ทำให้พระองค์โปรดลงมาถึงอับราฮัมที่มีน้องสาวสวยด้วย โดยพระราชทานสิ่งต่างๆ ให้แก่อับราฮัมอย่างมากมาย แต่ต่อมาทรงทราบว่าซาร่าห์เป็นภรรยาของอับราฮัม จึงไม่พอพระทัยที่ถูกหลอกจึงให้อับราฮัมและซาร่าห์พร้อมด้วยชาวยิวออกจากอียิปต์ อับราฮัมจึงพาชาวยิวกลับมาอยู่ที่คานาอันอีก อับราฮัมไม่มีบุตรกับซาราห์ ซาราห์จึงยกสาวใช้ของตนชื่อฮากาห์ให้เป็นภรรยาของอับราฮัม ต่อมาฮาการ์มีบุตรคนหนึ่ง ชื่อ อิสมาเอล ส่วนซาร่าห์ต่อมาก็มีบุตรคนหนึ่งชื่อ อิสอัค หรือไอแซค (Isaac)

  อับราฮัมได้ชื่อว่าเป็นปฐมบรรพบุรุษของชาวยิวและเป็นคนแรกของชาวยิวที่เปลี่ยนจากการนับถือเทพเจ้าจำนวนมากตามที่เชื่อกันในสมัยนั้น มาเป็นนับถือพระเจ้าองค์เดียว และพยายามชักชวนให้ชาวยิวมานับถือพระเจ้าองค์เดียวเหมือนตนด้วย อับราฮัมมั่นคงในพระเจ้าที่ตนนับถือมาก อย่างเช่นเมื่อพระเจ้าลองใจให้ฆ่าไอแซคบุตรของตนเป็นเครื่องเซ่นสังเวยพระองค์ อับราฮัมก็ตกลงทำตาม แต่ขณะที่อับราฮัมกำลังจะฆ่าลูกนั้น พระเจ้าก็ได้มาปรากฏและบอกว่าเป็นเพียงการลองใจเท่านั้น ไม่ต้องการให้ฆ่าจริงๆ และทรงเชื่อแล้วว่าอับราฮัมศรัทธาและภักดีต่อพระองค์จริง แล้วก็ทรงอวยพรให้อับราฮัมและชาติยิวเจริญรุ่งเรืองยิ่งๆ ขึ้นไป ด้วยเหตุนี้อับราฮัมจึงได้ชื่อว่าเป็นบิดาแห่งศรัทธาในศาสนายิว และเมื่ออับราฮัมอายุได้ 99 ปี พระเจ้าก็ได้มาปรากฏแก่อับราฮัมอีก และตรัสว่า3) ”เราจะให้ดินแดนที่เจ้าอาศัยอยู่นี้ คือ แผ่นดินคานาอันทั้งสิ้นแก่เจ้าและแก่เชื้อสายของเจ้าที่จะสืบมา ให้เป็นกรรมสิทธิ์นิรันดร และเราจะเป็นพระเจ้าของเจ้า”Ž แต่พระเจ้าก็มีข้อแม้ว่าชาวยิวจะต้องจงรักภักดีต่อพระองค์ตลอดไป และชาวยิวจะต้องทำพิธีกรรมบางอย่างเพื่อเป็นสัญลักษณ์ว่า เป็นผู้มั่นคงต่อพระเจ้า เป็นคนของพระเจ้า นั่นก็คือทำพิธีสุหนัต ผู้ชายทุกคนต้องทำพิธีสุหนัต ใครไม่ทำก็แสดงว่า ไม่นับถือพระองค์ ดังพระดำรัสว่า4)

    “เจ้าและพงศ์พันธุ์ของเจ้า จะต้องรักษาพันธสัญญาของเราไว้ คือผู้ชายทุกคนจะต้องเข้าสุหนัต เจ้าจงเข้าสุหนัตตัดหน้งหุ้มปลายองคชาติของเจ้า นี่จะเป็นเครื่องหมายสำคัญของ พันธสัญญาระหว่างเรากับเจ้า ผู้ชายทุกคนที่มีอายุตั้งแต่ 8 วัน จะต้องเข้าสุหนัต ชายคนไหนไม่ได้เข้าสุหนัตตัดหนังหุ้มองคชาติจะต้องถูกตัดจากชนชาติของเขา เขาได้ละเมิดพันธสัญญาของเราŽ”

    อับราฮัมจึงจัดทำพิธีให้ชายชาวยิวทุกคนเข้าสุหนัต แม้ตัวอับราฮัมเองซึ่งมีอายุ 99 ปีแล้วก็เข้าทำสุหนัตพร้อมกับอิสมาเอลบุตรชาย เรื่องเข้าสุหนัตนอกจากจะเป็นพิธีสำคัญในศาสนายิวแล้วยังถือเป็นเรื่องจริงจังที่จะต้องทำในศาสนาอิสลามอีกด้วย ทั้งนี้ก็เพราะศาสนาอิสลามและศาสนาคริสต์ได้วิวัฒนาการมาจากศาสนายิว แต่ทว่าศาสนาคริสต์ไม่ได้ให้ความสำคัญในพิธีนี้นัก อับราฮัมได้ปกครองชาวยิวเรื่อยมาจนสิ้นชีวิต อัสอัคหรือไอแซคก็ได้รับตำแหน่งหัวหน้าหมู่ชาวยิวต่อมา ไอแซคแต่งงานกับเรเบคาห์และมีบุตรชาย 2 คน คือคนพี่ชื่อ เอซาว ส่วนคนน้องชื่อ ยาโคบ หรือยาคอบ เรบาคาห์รักลูกคนเล็กมาก จึงสนับสนุนให้เป็นหัวหน้าหมู่ หากสิ้นไอแซคแล้ว ทำให้เอซาวไม่พอใจจึงหาทางทำร้ายยาคอบ จนบิดามารดาเห็นว่า ขืนให้ยาคอบอยู่จะเป็นอันตราย จึงส่งไปอยู่กับลุงชื่อ ลาบัน ที่เมืองฮาราน พี่ชายของเรเบคาห์ ต่อมายาคอบได้ลูกสาวทั้ง 2 คน ของลาบันเป็นภรรยา โดยบุตรสาวคนโตชื่อ เลอาห์ ส่วน คนน้องชื่อ ราเซล และต่อมายาคอบได้ภรรยาอีก 2 คน ซึ่งก็เป็นสาวใช้ของเลอาห์และราเซลนั่นเอง ยาคอบจึงมีบุตรถึง 12 คน จากภรรยาทั้ง 4 และบุตรทั้ง 12 คนนั้นก็เป็นต้นตระกูล 12 เผ่าของชาวอิสราเอล หรือที่เรียกในกาลต่อมาว่า อิสราเอลลิต หรือลูกอิสราเอล เฉพาะราเซล ผู้เป็นภรรยาที่ยาคอบโปรดปรานมากก็มีบุตร 2 คน คือ โยเซฟ และเบนโอนี หรือเบนยามิน ยาคอบอยู่ที่ฮารานหลายปีจึงเดินทางกลับภูมิลำเนา ขณะที่ยาคอบเดินทางไปคืนดีกับเอซาว พี่ชายของตนนั้น คืนหนึ่งได้มีบุรุษคนหนึ่งมาปล้ำกับยาคอบ ปล้ำกันจนเกือบสว่างก็ยังไม่มีใครชนะ บุรุษนั้นคือพระเจ้า พระองค์จึงประทานชื่อใหม่แก่ยาคอบว่า อิสราเอล ซึ่งแปลว่า ผู้ปล้ำสู้ กับพระเจ้า แต่บางตำราก็แปลว่า ผู้มั่นคงต่อพระเจ้า เพราะฉะนั้นชาวยิวจึงมีอีกชื่อหนึ่งว่า อิสราเอล ยาคอบโปรดโยเซฟมาก และต้องการมอบตำแหน่งหัวหน้าหมู่ชาวยิวให้แก่โยเซฟ ทำให้พี่น้องคนอื่นๆ ริษยาหาทางทำร้ายโยเซฟ และเมื่อสบโอกาสจึงได้จับโยเซฟขายให้พ่อค้าเมืองมีเดียน และต่อมาพ่อค้าผู้นั้นได้นำโยเซฟไปขายกับโปทิฟาร์ ผู้บัญชาการทหารรักษาพระองค์ของฟาโรห์แห่งอียิปต์อีกต่อหนึ่ง

   ด้วยเหตุนี้โยเซฟจึงตกเป็นทาสอยู่ในอียิปต์ ได้รับความลำบาก แต่ต่อมาได้อาศัยวิชาโหราศาสตร์ที่ตนมีความชำนาญอยู่ไต่เต้าขึ้นไปเป็นถึงอัครมหาเสนาบดีแห่งอียิปต์ เรื่องมีอยู่ว่า5) คืนหนึ่งฟาโรห์หรือกษัตริย์อียิปต์สุบินไปว่า ขณะที่พระองค์ประทับอยู่บนฝั่งแม่น้ำไนล์ ก็ทรงเห็นโคอ้วน 7 ตัว ผุดขึ้นจากแม่น้ำไนล์ขึ้นมากินใบอ้อแล้วก็มีโคผอมรูปร่างอัปลักษณ์อีก 7 ตัว โผล่ขึ้นมาจากแม่น้ำไนล์เช่นกัน แล้วได้กินโคอ้วนทั้ง 7 ตัว ฟาโรห์ทรงตกพระทัยตื่นบรรทม แต่ยังทรงง่วงนอนอยู่จึงทรงหลับอีกและก็ทรงสุบินอีกว่า ทรงเห็นต้นข้าวต้นเดียวมีรวง 7 รวง แต่ละรวงดกด้วยเมล็ดข้าวที่เต่งตึง แต่ครู่ต่อมาก็ทรงเห็นข้าวต้นนั้นมีรวงงอกออกมาอีก 7 รวงด้วยกัน แต่ทว่าแต่ละรวงมีแต่เมล็ดข้าวลีบไม่มีเนื้อ และเตรียมไหม้เพราะลมตะวันออก และแล้วรวงข้าวลีบ ก็ได้กินรวงข้าวดีทั้งหมด ฟาโรห์ทรงตกพระทัยมาก จึงทรงมีรับสั่งให้โหรหลวงมาทำนายสุบิน แต่ก็ไม่มีใครทำนายได้ มีคนกราบทูลว่ายังมีอีกคนหนึ่งชื่อ โยเซฟ เขามีความสามารถทำนายความฝันได้แม่นยำมาก คงจะช่วยทำนายได้

     ฟาโรห์จึงมีรับสั่งให้โยเซฟเข้าเฝ้าทำนายฝัน โยเซฟจึงทำนายว่า พระสุบินของพระองค์ทั้ง 2 เรื่อง หมายถึงอย่างเดียวกัน โคอ้วนพี 7 ตัว หมายถึงปีที่อุดมสมบูรณ์ 7 ปี และรวงข้าวดี 7 รวง ก็หมายถึงปีที่อุดมถึง 7 ปี เช่นกัน ส่วนโคผอม 7 ตัว หมายถึงปีที่อดอยาก 7 ปี และ รวงข้าวลีบ 7 รวง ก็หมายถึงปีแห้งแล้งอดอยากถึง 7 ปีเช่นกัน ข้อนี้หมายความว่าประเทศอียิปต์ จะมีฝนตกมาก ทำให้พืชพันธุ์ธัญญาหาร อุดมสมบูรณ์ติดต่อกันถึง 7 ปีเช่นกัน แต่หลังจากนั้นจะเกิดความแห้งแล้งขนาดหนัก ไม่สามารถปลูกพืชพันธุ์ธัญญาหารอะไรได้ อียิปต์จะประสบแต่ทุพภิกขภัยอย่างหนัก อีก 7 ปี ผู้คนจะอดอยากจนถึงลืมปีที่เคยอุดมสมบูรณ์ที่ผ่านมา ส่วนที่ต้องสุบินถึง 2 ครั้ง ก็เพราะพระเจ้าทรงกำหนดไว้แล้วว่าจะให้บังเกิดขึ้นในเร็วๆ นี้ ฟาโรห์ได้สดับแล้วทรงเชื่อจึงทรงแต่งตั้งโยเซฟให้เป็นอัครเสนาบดี มีหน้าที่ดูแลสุขทุกข์ชาวอียิปต์ทั่วประเทศ และทรงตั้งนามใหม่ให้โยเซฟว่า ศาเฟนาทปาเนอาห์ และทรงประทานอาเสนัท บุตรีของโปทิเฟรา ปุโรหิตเมืองโอนให้เป็นภรรยา

     โยเซฟเมื่อได้รับตำแหน่งแล้ว ก็ให้สร้างยุ้งฉางในที่ต่างๆ ทั่วประเทศ และกาลต่อมาเหตุการณ์ก็เป็นไปอย่างที่โยเซฟทำนาย ประเทศอียิปต์สมบูรณ์ด้วยพืชพันธุ์ธัญญาหารติดต่อกันถึง 7 ปี โยเซฟก็ให้นำธัญญาหารมาเก็บไว้ในยุ้งฉางจนเต็มทั้งหมด และเมื่อสิ้นปีที่อุดมแล้ว ความแห้งแล้งขนาดหนักก็ได้เกิดขึ้น ประชากรอดอยากมาก ก็ได้อาหารจากยุ้งฉางที่โยเซฟให้สร้างไว้ประทังชีวิตสืบต่อมา เรื่องนี้ทำให้ฟาโรห์ทรงโปรดโยเซฟมาก โยเซฟจึงรุ่งเรืองด้วย ลาภยศชื่อเสียง ทำให้ชาวยิวทราบข่าวจึงพากันอพยพมาอยู่ในอียิปต์อย่างมากมาย และอยู่กันอย่างมีความสุข เพราะบารมีของโยเซฟ แต่เมื่อสิ้นโยเซฟแล้ว ชาวยิวเริ่มลำบากขึ้นตามลำดับ ทั้งนี้ก็เพราะฟาโรห์องค์ใหม่ไม่พอพระทัยที่เห็นจำนวนประชากรยิวเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว หากขืนปล่อยไว้จะเป็นภัยแก่อียิปต์ จึงทรงทำให้ชาวยิวเป็นทาส เกณฑ์ให้ชาวยิวทำงานหนัก เช่นสร้างพีระมิด เป็นต้น เพื่อชาวยิวจะได้ล้มตายไปเรื่อยๆ เป็นการลดจำนวนประชากรยิวไปในตัว และยังมีอีกวิธีหนึ่งที่จะลดประชากรยิวอย่างได้ผลทันที นั่นก็คือ ให้ฆ่าเด็กชายชาวยิวที่เกิดใหม่ทุกคน ดังที่ฟาโรห์ตรัสว่า6) ”บุตรชายฮีบรูทุกคนที่เกิดมา ให้เอาไปทิ้งเสียในแม่น้ำไนล์ แต่บุตรีทุกคนให้รอดอยู่ได้Ž” การที่ฟาโรห์ให้ปล่อยเด็กหญิงไว้ก็เพื่อเมื่อเติบใหญ่จะให้แต่งงานกับชาวอียิปต์ จะเป็นการกลืนชาติยิวไปในที่สุด

      ศาสนายิวถ้าจะว่าในทางวิชาการแล้วก็ว่าเกิดขึ้นในสมัยโมเสส กล่าวคือมีโมเสสเป็นศาสดา ส่วนประวัติของโมเสสจะได้กล่าวต่อไปเมื่อถึงเรื่องประวัติศาสดา ศาสนายิวเป็นศาสนาของชาวยิวมาตลอดตั้งแต่โมเสสนำมาเผยแผ่และเจริญรุ่งเรืองมากในช่วงที่ชาวยิวมีประเทศของตนเองที่แคว้นคานาอัน ชาวยิวมีประเทศอยู่สุขสบายเป็นเวลาประมาณ 700 ปี แต่ก็มี เคราะห์กรรมที่ต้องตกเป็นทาสของเขาอีก

     เมื่อพระเจ้าโซโลมอนกษัตริย์ผู้ยิ่งใหญ่ที่สุดของชาติยิวสวรรคตในปี 379 ก่อนพุทธศักราช ยิวจึงได้แตกเป็น 2 อาณาจักร อาณาจักรทางเหนือเรียกว่า อิสราเอล ส่วนอาณาจักรทางใต้เรียกว่า ยูดาห์ เมื่อแบ่งเป็น 2 อาณาจักร ยิวก็เริ่มอ่อนแอและต่อมาหลังจากสิ้นสมัยของพระเจ้าโซโลมอนแล้วได้ 200 ปี อาณาจักรอิสราเอลก็ตกอยู่ในอำนาจของอัสซีเรียในปี 178 ก่อนพุทธศักราช ชาวยิวถูกจับเป็นทาส ส่งไปทำงานในดินแดนต่างๆ ทำให้ชาวยิวสาบสูญไปเป็นอันมาก เชื่อกันว่าชาวยิวมี 12 ตระกูล ได้ถูกทำลายในครั้งนั้นถึง 10 ตระกูล ส่วนอาณาจักรยูดาห์ ประคองตัวมาได้อีก 135 ปี ก็ตกเป็นเชลยของบาบิโลนในปี 43 ก่อนพุทธศักราช พวกบาบิโลนทารุณพวกยิวมาก ทั้งได้เผาทำลายบ้านเมืองตลอดถึงวิหารในกรุงเยรูซาเล็มที่พระเจ้าโซโลมอนทรงสร้างไว้ แต่บาบิโลนก็ปกครองยิวได้เพียง 40 ปี บาบิโลนก็ตกเป็นเมืองขึ้น ของเปอร์เซียในปีที่ 3 ก่อนพุทธศักราช ชาวยิวจึงตกอยู่ในอำนาจของเปอร์เซียโดยอัตโนมัติ แต่เปอร์เซียไม่โหดร้ายต่อชาวยิวเหมือนพวกบาบิโลน ชาวยิวได้รับอนุญาตให้กลับบ้านเมืองได้ ชาวยิวจึงมีโอกาสมาซ่อมแซมบ้านเมืองและสร้างวิหารศักดิ์สิทธิ์ขึ้นใหม่ในกรุงเยรูซาเล็ม แต่ชาวยิวมีโอกาสผ่อนความทุกข์ได้ไม่นานก็ตกเป็นทาสของกรีกอีก เพราะเปอร์เซียรบแพ้กรีกในปี พ.ศ. 210 และนอกจากเป็นเชลยกรีกแล้ว ต่อมาก็เป็นเชลยของซีเรียและโรมันตามลำดับอีก

    ในช่วงที่ยิวตกอยู่ในอำนาจของกรีกและโรมัน ยิวได้รับความเดือดร้อนแสนสาหัส โดยเฉพาะสมัยที่โรมันปกครอง ชาวยิวถูกฆ่าตายเป็นจำนวนมาก กรุงเยรูซาเล็มถูกทำลาย รวมทั้งวิหารศักดิ์สิทธิ์เป็นครั้งที่ 2 ชาวยิวต้องกระจัดกระจายไปอยู่ในประเทศต่างๆ ได้รับความทุกข์ทรมานตลอดมา แต่ถึงกระนั้นชาวยิวก็ยังถือตัวเป็นยิว คือ เป็นชนชาติที่พระเจ้าเลือก ยิวจะต้องมีประเทศของตนใหม่ และพระเจ้าจะต้องส่งคนดีมาช่วยชาวยิวอีก ความหวังเหล่านี้เป็นโอสถที่ช่วยเยียวยาชาวยิวตลอดมา และช่วงใดที่ชาวยิวมีความทุกข์เดือดร้อนมากก็มักจะมีศาสดาพยากรณ์7) มาช่วยบรรเทาทุกข์ในช่วงนั้น ศาสดาพยากรณ์ของยิวมีอยู่มาก อย่างเช่นช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 5-8 มีศาสดาพยากรณ์ที่สำคัญอยู่ 16 ท่าน โดยแบ่งเป็น 2 กลุ่ม กลุ่มแรก เป็นศาสดาพยากรณ์ใหญ่มี 4 ท่าน คือ อิสยาห์ เยเรมีห์ เอเซเคียล และดาเนียล ส่วนอีกกลุ่มเป็นศาสดาพยากรณ์น้อยมี 12 ท่าน คือ อามอส มิคาห์ โฮเซอา เศฟันยาห์ ฮะบากุก นาฮูม โยเอล โอบาดีย์ ฮักกัย โยนาห์ เศคาริยาห์ และมาลากี

    ศาสดาพยากรณ์เหล่านี้ต่างก็ช่วยบรรเทาทุกข์ให้ชาวยิว เช่นให้ความหวังว่า เมสไซอาห์ คือตัวแทนของพระเจ้าใกล้จะมาช่วยแล้ว อาณาจักรของพระเจ้าใกล้จะมาถึงแล้วเป็นต้น ชาวยิวถึงแม้จะกระจัดกระจายไปอยู่ตามประเทศต่างๆ เกือบทั่วโลก แต่ทุกคนถือตัวเป็นยิวและยึดมั่นในขบวนการไซโอน (Zion-movement) ว่าสักวันหนึ่งพระเจ้าจะประทานแผ่นดินให้ยิวอีก เพราะยิวเป็นประชากรของพระองค์ ยิวเป็นชาติที่พระองค์เลือก และต่อมาชาวยิวก็ต้องตื่นเต้นที่เห็นหนังสือเล่มหนึ่งชื่อ ”รัฐของชาวยิวŽ” เขียนโดย ดร.ธีโอดอร์ เฮอซึล (Theodor Herzl) นักเขียนชาวเวียนนา ในหน้าแรกของหนังสือเล่มนั้น ดร.ธีโอดอร์ เฮอซึล เขียนไว้ว่า ”ถ้าท่านตั้งใจจริง ก็จะไม่เป็นความฝันอีกต่อไปŽ” และหลังจากหนังสือเล่มนั้นออกมาได้ 1 ปี ดร.ธีโอดอร์ เฮอซึล ได้จัดให้เปิดประชุมสากลขบวนการไซออนนิสต์ ที่ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ ปรากฏว่ามีผู้แทนชาวยิวมาประชุมจากทุกมุมโลก ดร.ธีโอดอร์ เฮอซึล ได้ทำนายไว้ว่าภายใน 50 ปี หลังจาก การประชุมนั้น จะมีประเทศอิสราเอลขึ้นมาอีก และแล้วเหตุการณ์ตามคำทำนายของ ดร.ธีโอดอร์ เฮอซึล ก็เป็นจริง

     เมื่อวันที่ 29 พฤศจิกายน พ.ศ. 2490 สภาองค์การสหประชาชาติได้ลงคะแนน สนับสนุน 33 เสียง คัดค้าน 13 เสียง และไม่ออกเสียง 10 เสียง ประกาศให้แบ่งปาเลสไตน์ ออกเป็น 2 รัฐ คือ รัฐยิว และรัฐอาหรับ เพราะฉะนั้นในวันที่ 14 พฤษภาคม พ.ศ. 2491 ยิวจึงประกาศเอกราชเป็นประเทศอิสราเอลขึ้นมาอีกครั้งหนึ่ง โดยมี เดวิด เบนกูเรียน เป็นนายกรัฐมนตรีเป็นคนแรก ประเทศอิสราเอลยังยืนยงมาถึงปัจจุบันนี้ แต่กว่าจะตั้งประเทศขึ้นได้ใหม่ก็ต้องใช้เวลานานกว่า 2,000 ปี ชาวยิวถึงแม้จะมีประเทศของตนใหม่ได้แล้ว แต่ก็ไม่หมดทุกข์ เพราะมีปัญหารอบด้านกับประเทศต่างๆ ใกล้เคียง ตลอดทั้งปัญหาชาวปาเลสไตน์อีกด้วยดังที่ทราบกันอยู่แล้ว

    ศาสนายิวเป็นศาสนาเอกเทวนิยม นับถือพระเจ้าเพียงองค์เดียวคือพระยะโฮวาห์จะหันเหไปสนใจพระเจ้าอื่นไม่ได้ เพราะฉะนั้นเรื่องราวต่างๆ ในคัมภีร์พันธสัญญาเดิมหรือโทราห์ซึ่งเป็นคัมภีร์ชั้น 1 ของศาสนายิวจึงมักมีเรื่องพระเจ้าเข้ามาเกี่ยวข้องอยู่เสมอ และเรื่องพระเจ้าเข้ามาเกี่ยวข้องก็มีอยู่มากในศาสนาคริสต์ และอิสลามด้วย โดยเฉพาะในคัมภีร์อัลกุรอาน ของศาสนาอิสลาม จะเต็มไปด้วยเรื่องพระเจ้า ทั้งนี้ก็เพราะทั้งศาสนาคริสต์และอิสลาม ได้วิวัฒนาการมาจากศาสนายิว ชาวยิวนอกจากจะมีศรัทธาต่อพระยะโฮวาห์ หรือเยโฮวาห์ หรือยาห์เวห์แล้ว ก็ยังถือโทราห์เป็นธรรมนูญชีวิตอีกด้วย ชาวยิวจะใช้คำสอนในศาสนามาเป็นเครื่องดำเนินชีวิตและตัดสินปัญหาต่างๆ ทำนองเดียวกับมุสลิมถืออัลกุรอานเป็นธรรมนูญชีวิต เพราะฉะนั้นศาสนายิวนอกจากจะเป็นศาสนาแล้ว ยังเป็นวิถีชีวิตของชาวยิวอีกด้วย

 

2. ประวัติศาสดา

     ชนชาติยิวหรือฮีบรูเป็นผู้ฉลาด ทรหดอดทน กระเหม็ดกระแหม่ และรักพวกพ้อง เมื่อเข้าไปอยู่ในอียิปต์ก็ได้สร้างความเจริญให้แก่อียิปต์เป็นอันมาก พีระมิดŽ อนุสรณ์แห่งความยิ่งใหญ่ทางสถาปัตยกรรมของอียิปต์ที่ปรากฏเป็นสิ่งมหัศจรรย์ของโลกอยู่ทุกวันนี้ ก็เป็นผลงาน อันเกิดจากแรงปัญญาและกำลังกายของชาวฮีบรู ผู้เข้าไปอยู่ในอียิปต์ในฐานะเป็นทาสของ ชาวอียิปต์นั่นเอง ความเติบโตอย่างรวดเร็วของจำนวนชาวฮีบรูที่อาศัยอยู่ในอียิปต์ กลายเป็น เรื่องหนึ่งที่ทำให้ฟาโรห์แห่งอียิปต์ทรงหวั่นพระทัยไปว่า สักวันหนึ่งข้างหน้าถ้าพวกฮีบรูนี้ คิดแย่งชิงมีอิทธิพลเหนือแผ่นดิน ก็ไม่มีทางที่อียิปต์จะสู้ได้ จึงดำริแก้ปัญหาด้วยวิธีการตัดไฟเสียแต่ต้นลม โดยการจำกัดเขตให้พวกฮีบรูอยู่ที่แห่งเดียวกันเป็นสัดส่วน ห้ามไม่ให้ไปเที่ยวแทรกซึมปะปนอยู่กับชาวอียิปต์อีกต่อไป ยิ่งให้อยู่ที่เดียวกัน และจำกัดเขตแดนมากเท่าไร ดูเหมือนว่าก็มีการเพาะพันธุ์เพิ่มจำนวนประชากรมากขึ้นเท่านั้น กลายเป็นเพิ่มทวีความหวาดหวั่นภัยของฟาโรห์แห่งอียิปต์มากขึ้น จึงต้องตัดสินพระทัยแก้ปัญหานี้ด้วยความหฤโหด คือ ออกคำสั่งให้จับเด็กชายชาวฮีบรูที่เกิดใหม่ไปประหารชีวิตเสีย ทำให้เด็กชายชาวฮีบรูต้องสิ้นชีวิตลงเป็นจำนวนมากในครั้งนั้น

2.1 ชาติกำเนิดและปฐมวัย

ชาติกำเนิดและปฐมวัย8)

    การที่ฟาโรหŒแหˆงอียิปต์ออกคำสั่งประหารชีวิตเด็กชายชาวฮีบรูครั้งนั้น อยู่ในช่วงประมาณ 1200-1500 ปี ก่อนพุทธศักราช โมเสสเป็นบุตรเกิดใหม่คนหนึ่งของพ่อแม่ชาวฮีบรู ที่ตกไปเป็นทาสรับใช้ของชาวอียิปต์และเกิดในช่วงที่มีการออกคำสั่งของฟาโรหŒ เพื่อให้ลูกของตนรอดพ้นจากน้ำมือของเพชฌฆาตอียิปต์ที่คอยจับเอาเด็กทารกชายชาวฮีบรูไปประหารชีวิต แม่ของโมเสสจึงรีบอุ้มเอาโมเสสหนีออกจากบ้าน ขณะหนีไปก็คิดหาวิธีรอดพ้น เมื่อไปถึง แม่น้ำไนล์ก็เอากระจาดมาใบหนึ่ง ปูเบาะรองพื้นที่กระจาดใบใหญ่แล้วค่อยวางโมเสสลงในกระจาด แล้วปล่อยให้ลอยไปตามกระแสแม่น้ำไนล์ พลางอธิษฐานขอฟ้าดินให้ช่วยลูกให้ปลอดภัย กระจาดใบนั้นก็ลอยไปจนถึงท่าน้ำหลวงเป็นที่ลงสรงสนานของพระธิดากษัตริย์ฟาโรห์ผู้ครองกรุงอียิปต์ ในขณะนั้นพระธิดากำลังสรงน้ำพอดี เมื่อทอดพระเนตรเห็นเข้า จึงให้คนไปเก็บขึ้นมา ทรงเห็นเด็กน่ารักยังมีชีวิตอยู่ จึงทรงนำไปเลี้ยงไว้โดยประทานชื่อว่า โมเสส แปลว่า ผู้รอดตายจากสายน้ำ

2.2 พระโอรสเลี้ยงและมัชฌิมวัย

    พระธิดากษัตริย์ฟาโรห์ทรงรับเอาโมเสสมาเป็นบุตรบุญธรรม หรือพระโอรสเลี้ยง โดยมอบหมายให้หญิงคนสนิทซึ่งเป็นชาวฮีบรูแอบนำไปเลี้ยงไว้อย่างลับๆ ให้ได้รับการศึกษา อย่างดีจนกระทั่งโต เมื่อโมเสสเติบโตขึ้นเจ้าหญิงก็พรากโมเสสจากแม่เลี้ยงเข้าไปอยู่ในวัง แต่โมเสสมีเลือดฮีบรู ธรรมชาติสอนให้เป็นคนสงสารชาวฮีบรูผู้ตกเป็นทาสของอียิปต์ ที่สุดก็มี ผู้บอกว่าตนมีเลือดเป็นชาวฮีบรู ไม่ใช่ชาวอียิปต์

     ประวัติศาสตร์ตอนนี้กล่าวไว้ว่า วันหนึ่งโมเสสออกจากวังไปดูชาวฮีบรูทำงานให้ ชาวอียิปต์ ได้เห็นทาสฮีบรูถูกผู้คุมงานอียิปต์ทำทารุณเฆี่ยนตีจนถึงตาย ก็บันดาลโทสะฆ่า ผู้คุมงานชาวอียิปต์คนนั้นเสีย แล้วหนีออกจากอียิปต์ไปอยู่ที่เมืองมิเดียน (Midian) ในอาหรับ บวชเป็นพระและเปลี่ยนชื่อเป็น โฮบับ (Hobab) หรือ Jethro ต่อมาได้แต่งงานกับลูกสาว ของนักบวชที่เมืองนั้น หลังจากนั้นได้ลักลอบเดินทางเข้าประเทศอียิปต์เพื่อหาทางช่วยพวกฮีบรู เมื่อไปถึงประเทศอียิปต์ปรากฏว่า ฟาโรห์องค์ก่อนสิ้นพระชนม์แล้ว ฟาโรห์องค์ใหม่ทรงยกโทษ ให้โมเสส เพราะถ้าจะประหารก็เสียดายความรู้ แต่โมเสสจะต้องลดฐานะตัวเองลงเป็นทาส มีฐานะเหมือนชาวฮีบรูทั้งหลาย ตั้งแต่นั้นมาโมเสสได้เป็นหัวหน้าทาสฮีบรู ช่วยเขาทำอิฐและ รับก่อสร้างให้แก่ชาวอียิปต์ ระหว่างนี้เองโมเสสได้รวบรวมชาวฮีบรูก่อตั้งเป็นสมาคมก่ออิฐ เพื่อใช้เป็นศูนย์รวบรวมชาวฮีบรู นักพงศาวดารกล่าวไว้ว่า โมเสสควรจะได้ชื่อว่าเป็นผู้ตั้งสมาคมหรือสหพันธ์คนงานขึ้นเป็นคนแรกในโลก

  โมเสสเคยทูลขอฟาโรหŒให้เลิกบังคับให้ชาวฮีบรูเป็นทาส และทูลขออนุญาตพาพี่น้องชาวฮีบรูออกจากประเทศ แต่ไม่ได้รับอนุญาต แต่มาเกิดโรคระบาดขึ้นทั่วประเทศ ฟาโรห์ ไม่สามารถจะแก้ไขได้ ก็ทรงเข้าพระทัยว่าภัยดังกล่าวเกิดจากการที่พระองค์ทรงกักพวกฮีบรูไว้ ทำให้พระเจ้าของพวกฮีบรูไม่พอพระทัย จึงตัดสินพระทัยอนุญาตให้โมเสสพาพวกฮีบรูออกจากอียิปต์ได้

2.3 ปัจฉิมวัยและได้รับบัญญัติ 10 ประการ

     เมื่อโมเสสได้รับอนุญาตจากฟาโรห์ ให้พาพี่น้องชาวฮีบรูออกจากอียิปต์ได้ ปรากฏว่าก่อนจะออกเดินทางจากอียิปต์ไป โมเสสก็ได้ออกบัญญัติให้ทุกคนนับถือพระเจ้า เป็นที่พึ่งเพียงพระองค์เดียว เพื่อเป็นศูนย์กลางแห่งความกลมเกลียวของหมู่คณะและบังคับ ให้ชายทุกคนขลิบหนังหุ้มปลายอวัยวะเพศออกให้หมดก่อน เพื่อสะดวกแก่การทำความสะอาดในการเดินทางไกล (พวกมุสลิมรับเอาลัทธินี้มาเป็นพิธีของตนในภายหลัง) ชˆวงที่โมเสส พาพี่น้องชาวฮีบรูออกจากอียิปต์ เขามีอายุ 80 ปี เขาให้สัญญาแก่ชาวฮีบรูว่า พระเจ้าดลใจ เขาให้พาชาวฮีบรูไปสู่ดินแดนอุดมสมบูรณ์ที่พระเจ้าทรงมอบหมายให้เป็นของชาวฮีบรู เรียกว่า ดินแดนแหˆงพันธสัญญา (The Promised Land)

      เมื่อพวกฮีบรูออกเดินทางไปแล้ว ทางอียิปต์เกิดปริวิตกกลัวไปว่าพวกฮีบรูอาจจะกลับมาก่อการร้าย โดยอาจจะไปชักชวนหรือระดมกำลังจากชาติอื่นๆ มาโจมตีอียิปต์ก็ได้ ฟาโรหŒจึงส่งกองทัพทหารออกติดตาม ถ้าทันในระหว่างทางก็ให้เข้าโจมตีประหารชีวิตเสียสิ้น กองทัพทหารอียิปต์ตามไปทันในขณะที่พวกฮีบรูกำลังข้ามทะเลแดง พอพวกฮีบรูข้ามได้หมด กองทัพทหารอียิปต์ก็ถูกน้ำท่วมทับตายลอยน้ำกลาดเกลื่อน ข้อความในคัมภีร์กล่าวอธิบายเหตุการณ์นี้ในเชิงปาฏิหาริย์ไว้ว่า

       เมื่อโมเสสพาพี่น้องชาวฮีบรูเดินทางมาถึงทะเลแดง หาแพหาเรือหาสะพานข้ามไม่ได้ ก็วิงวอนต่อพระเจ้าให้โปรดทรงช่วย พระเจ้าได้ทรงบันดาลให้น้ำในทะเลแดงแหวกออกเป็นช่อง และทรงบันดาลให้เกิดพายุอย่างแรงจนแผ่นดินที่เป็นพื้นทะเลแห้ง พวกฮีบรูจึงเดินบนพื้นดินแห้ง กลางทะเลแดงในระหว่างช่องแหวกของน้ำได้อย่างสบาย มองเห็นผนังน้ำเป็นกำแพงสูงทั้งสองข้าง เมื่อกองทัพทหารอียิปต์ตามลงมาในทางเดียวกันนั้นน้ำก็กลับเข้าหากัน และท่วมกองทัพทหารอียิปต์ตายระเนระนาดกลาดเกลื่อนทั้งกองทัพ การเดินทางของพวกฮีบรูต้องประสบกับความลำบากผ่านความทุรกันดารไปมาก จนกระทั่งใกล้ถึงภูเขาซีไน (Sinai) พวกฮีบรูที่ทนความลำบากไม่ได้ก็พากันเริ่มคิดว่า โมเสสจะพาให้พวกเขามาตาย ความเลื่อมใสศรัทธาที่มีต่อโมเสส เริ่มเสื่อมคลายลง ศรัทธาที่เคยมีว่า พระเจ้าผู้สูงสุดที่บรรพบุรุษของตนนับถือมา จะช่วยให้ไปถึงดินแดนพันธสัญญาก็เริ่มลดถอยน้อยลงเป็นลำดับ บางคนใคร่จะตามโมเสสต่อไป บางคนอยากจะเดินทางกลับ ในที่สุดชาวฮีบรูก็แตกความสามัคคีกันออกไปเป็นหลายพวกหลายฝ่าย

   เมื่อคนทั้งหลายแตกความสามัคคีกัน โมเสสเห็นอวสานของชาวฮีบรูใกล้จะมาถึง จึงตัดสินใจแก้ไขเหตุการณ์ด้วยสติปัญญาอันหลักแหลม โมเสสปล่อยพวกฮีบรูไว้ ตนเองรีบขึ้นไปอาศัยอยู่บนภูเขาซีไน จะว่าไปเพื่อหาความสงบทางใจหรือเพื่อไปค้นคิดหาทางลงมาช่วย ชาวฮีบรูให้สามัคคีกันก็ว่าได้ ไม่ช้านัก (ประมาณ 40 วัน) โมเสสก็กลับลงมาจากภูเขานำ แผ่นหินจารึกบัญญัติ 10 ประการ 2 แผ่น แผ่นละ 5 บัญญัติ ลงมาด้วย บอกว่าพระเจ้าได้แสดงแก่ตนบนภูเขา ทรงบอกให้ทราบว่า ที่ฮีบรูต้องรับทุกข์เพราะมีผู้ประพฤติชั่วกันมากและทรงประทานบัญญัติ10 ประการ ให้มาแจ้งแก่ชาวฮีบรูเพื่อรับไปประพฤติปฏิบัติ ผู้ใดยอมรับนับถือและปฏิบัติตามจะได้รับความคุ้มครองจากพระเจ้า ผู้ใดไม่เชื่อและไม่ปฏิบัติตามจะถูกลงโทษ

     จะเห็นได้ว่าโมเสสเป็นคนฉลาด เป็นหัวหน้าหมู่คนได้ และที่สำคัญที่สุดคือเป็นศาสดา ที่ดีเช่นเดียวกับศาสดาผู้มีความสามารถท่านอื่นๆ สามารถวางบัญญัติและคำสอนเพื่อสาวกของตน สามารถแก้ปัญหาเฉพาะหน้าและระยะยาวได้ โดยอาศัยเหตุการณ์ขณะนั้นมา เป็นอาทิกรรม คือ เป็นต้นบัญญัติ ดังจะเห็นได้ว่าในขณะที่ชาวฮีบรูเร่ร่อนระหกระเหิน พร้อมกับมีการคลุกคลีในหมู่คณะอยู่นั้น มีการประพฤติชั่วต่างๆ เช่น

       - ไม่ยืดถือสิ่งใดสิ่งหนึ่งเป็นที่พึ่งทางใจอย่างจริงจัง

       - มีความเห็นไม่ลงรอยกัน

      - ประพฤติตนเป็นคนชั่วช้า ปราศจากศีลธรรมอันดีงาม มีการประพฤติผิดประเวณี ลักขโมย พูดจาปราศจากสัจจะ เนรคุณบิดามารดา เป็นต้น

    โมเสสเห็นเป็นการยากที่จะปกครองให้สามัคคีได้ จึงยกเอาความประพฤติชั่ว ดังกล่าวมาเป็นต้นเหตุประกาศบัญญัติ 10 ประการ นอกจากนี้โมเสสยังได้หาวิธีการที่จะรักษา ความสามัคคี และวิธีที่จะกระชับความสามัคคีให้แน่นแฟ้นมากยิ่งขึ้น โดย

     -    การประกาศยืนยันว่า บัญญัติ 10 ประการ เป็นบัญญัติของพระเจ้าที่พระองค์ได้ประทานลงมาเพื่อชาวฮีบรูทั้งหลาย บัญญัตินี้เป็นเสมือนเครื่องผูกพันแห่งชาติและวงศ์ตระกูล    -    ให้พวกฮีบรูแต่งงานกันเองในหมู่ของตน ไม่ยอมให้คนชาติอื่นพวกอื่นมาปะปน

     -    การจัดให้มีค่ายบริสุทธิ์ (Holy Tent) เป็นที่ประกอบพิธีศาสนา โดยโมเสสเองเป็นผู้นำในพิธี และให้โยชัว (Joshua) อัครสาวกมือขวาเป็นทายาทสืบต่อตำแหน่งผู้นำค่ายบริสุทธิ์ ต่อมากลายเป็นศาสนปูชนียสถานสำหรับชาวฮีบรู กลายเป็นสถานที่รวมคน สถานที่รวมศรัทธา ช่วยให้เกิดความสมัคคีเป็นปึกแผ่นกลุ่มก้อน ต่อมา สถานที่ดังกล่าวกลายเป็นรูปวิหารหรือโบสถ์จนตราบเท่าทุกวันนี้

     -    ให้มีหีบบัญญัติ (Box of Convenant of Yahweh) ภายในหีบบรรจุหินศักดิ์สิทธิ์จารึกบัญญัติไว้ 2 แผ่น แผ่นละ 5 บัญญัติ จะไปไหนก็ช่วยกันแบกหีบนั้นไปด้วย ก็จะเท่ากับพระยะโฮวาหŒได้เสด็จร่วมสุขร่วมทุกข์ คอยปกป้องคุ้มครองรักษา ชาวฮีบรูไปด้วย เพื่อช่วยผูกพันหมู่คณะให้เป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน

     รวมความได้ว่า โมเสสเป็นผู้ฉลาด มีมานะอดทน บึกบึน มุ่งเอาชนะชีวิต ชนะศัตรู เพื่อเห็นแก่ส่วนรวมอันเป็นวงศ์ตระกูล เผ่าพันธุ์ สมเป็นนักศาสนาและหัวหน้าปกครองคน โดยตระหนักในความจริงอยู่เสมอว่า ศาสนาเป็นรากใจคน หมู่คนเป็นเสมือนต้นไม้ใหญ่ ควรมีรากผูกพันให้แน่นแฟ้น เพื่อความทรงอยู่ของลำต้น ข้อนี้ฉันใด ศาสนาหากแตกแยกนับถือกันคนละอย่างสองอย่างตามความพอใจ หมู่คนก็ย่อมแตกแยกได้ ฉะนั้นหมู่คนจึงควรมีศรัทธาอย่างเดียวกัน นอกจากได้อบรมรั้งใจให้พวกฮีบรู หรืออิสราเอลยอมรับนับถือแต่พระยะโฮวาหŒ พระองค์เดียวแล้ว โมเสสยังได้ตั้งกฎหมาย วางระเบียบการปกครองพวกอิสราเอลิตไว้เป็น หลักฐานด้วย แต่กฎหมายก็ดี ระเบียบการปกครองก็ดี ที่โมเสสตั้งขึ้นนั้น พระเจ้าแทรกแซงอยู่ด้วยเสมอ กล่าวคือ พระเจ้าเป็นผู้ปกครองสูงสุดของชาวอิสราเอล หรือฮีบรู แต่มีผู้แทนพระองค์คนหนึ่งอยู่ในโลกนี้

    เมื่อโมเสสพาพี่น้องชาวฮีบรูเร่ร่อนต่อไป จนถึงลุ่มแม่น้ำจอร์แดนอันเป็นถิ่นอุดมสมบูรณ์ และได้ต่อสู้กับชาวคานาอันเจ้าของถิ่น เมื่อโมเสสสิ้นชีวิตลง โยซัวก็ได้เป็นผู้นำต่อมา ในที่สุดชาวฮีบรูก็สามารถยึดดินแดนแถบนี้ได้ จึงมีอาชีพเป็นหลักแหล่งไม่ต้องเร่ร่อนเหมือนแต่ก่อน อาชีพที่ทำก็คือ การกสิกรรมและการเลี้ยงปศุสัตว์ ในสมัยต่อมาพวกฮีบรูเผ่าต่างๆ ก็ได้รวมกันเป็นปึกแผ่น มีลักษณะเป็นประเทศ มีกษัตริย์ปกครองคือ โซล (Saul) เป็นปฐมกษัตริย์ ประมาณ 1,000 ปีก่อนพุทธศักราช ต่อมาพระเจ‰าเดวิด (David) ได้เป็นกษัตริย์และได้สถาปนาอาณาจักรยูดาหŒขึ้น ณ บริเวณที่ราบสูงยูเดีย และสมัยนี้เองที่พวกฮีบรู หรืออิสราเอลเรียกตัวเองว่า ยิว หรือยูดาหŒ เมื่อสิ้นสมัยของพระเจ‰าเดวิดก็ได้พระราชโอรสคือ โซโลมอน (Solomon) เป็นกษัตริย์ต่อมา พระเจ‰าโซโลมอนได้โปรดให้สร้างโบสถ์ใหญ่ที่งดงามขึ้นที่ กรุงเยรูซาเลม เพื่อเป็นศูนย์กลางในการประกอบพิธีทางศาสนาของชาวฮีบรู สมัยของ พระเจ‰าโซโลมอนเป็นสมัยที่รุ่งเรืองที่สุดในประวัติศาสตร์ของพวกฮีบรู

     หลังจากสมัยพระเจ‰าโซโลมอนแล้ว ประเทศก็ถูกแบ่งออกเป็น 2 รัฐเล็กๆ ที่ไม่มีอำนาจอะไรมากกว่ากัน คือ รัฐยูดาห์ (Judah) และอิสราเอล (Israel) ทั้งสองรัฐต่างทำสงครามกันอยู่เนืองๆ จนกระทั่งเมื่อราวศตวรรษที่ 8 ก่อนคริสตกาล รัฐทั้งสองตกเป็นเมืองขึ้นของแอสซีเรีย รัฐอิสราเอลถูกลดฐานะลงเป็นเมืองหนึ่งในอาณาจักร คงเหลือแต่รัฐยูดาห์ ต่อมาก็ตกอยู่ใต้การยึดครองของพระเจ้าเนบูคัดเนสซาร์ และตีได้กรุงเยรูซาเลม ซึ่งเป็น เมืองหลวงไว้ได้ในราว 586 ปีก่อนคริสตกาล และกวาดต้อนเอาพวกฮีบรูหรือยิวไปเป็นเชลยเป็นจำนวนมาก

    ต่อมาพระเจ‰าไซรัสแห่งเปอร์เซียมีชัยชนะเหนือบาบิโลนเนีย และเข้ามามีอำนาจเหนือยูดาห์ ได้ปลดปล่อยชาวฮีบรูให้เป็นอิสระ ชาวฮีบรูบางส่วนได้กลับคืนสู่ปาเลสไตน์ ซึ่งมีฐานะเป็นเมืองขึ้นของเปอร์เซีย การที่ต้องสูญเสียเอกราชและต้องถูกจับกุมตัวไปเป็นเชลยในต่างแดนเป็นจำนวนมากมายนี้ มิได้ทำให้ยิวเสียความเป็นตัวของตัวเองอย่างไรเลย พวกยิวที่มาจากยูดาห์ เมื่อไปหลบหลีกอยู่ประเทศอื่นนั้น มีเจตนาแรงกล้าที่จะคงความเป็นยิวตลอดไป ไม่ยอมปล่อยตนเองแปรเปลี่ยนเป็นชาติอื่น เนื่องจากพวกยิวมีศรัทธาต่อพระคัมภีร์เก่า ไม่ว่าพวกยิวจะถูกกวาดต้อนไปที่ใด หรืออพยพไปอยู่ในประเทศใด พระเจ้าของยิวนั้นมิได้ประทับอยู่แต่วิหารที่กรุงเยรูซาเลมเท่านั้น แต่อยู่ในใจของพวกยิวทุกคน ไม่ว่าพวกยิวจะไปถึงไหน พระเจ้าก็ต้องตามไปที่นั่น

     สมัยที่กรีกและโรมันเรืองอำนาจ ปาเลสไตน์ก็ตกอยู่ใต้การปกครองกรีกและโรมันตามลำดับ ชาวฮีบรูที่ตกอยู่ใต้การปกครองของจักรพรรดิแห่งจักรวรรดิโรมันในศตวรรษที่หนึ่ง ในสมัยคริสตกาลได้ก่อการจลาจลขัดขืนอำนาจการปกครองของโรม ทางโรมจึงได้ยกกองทัพไปปราบปรามอย่างทารุณ ทหารโรมันได‰ประหัตประหารชาวยิวเป็นจำนวนมาก พวกที่เหลือก็เร่ร่อนไปอาศัยอยู่ตามส่วนต่างๆ ของยุโรปและเอเชีย ซึ่งเป็นที่รู้จักกันในนามว่าพวกยิว (Jews)

  สิ่งที่ชาวยิวให้แก่อารยธรรมโลกที่สำคัญที่สุดคือ ศาสนานับถือพระเจ้าองค์เดียว คือ พระยะโฮวาหŒ (Jehovah) และหลักศีลธรรม วรรณคดีของพวกยิวในยุคโบราณเกี่ยวกับศาสนาทั้งสิ้น วรรณกรรมที่สำคัญที่สุดได้แก่ พระคัมภีร์ไบเบิล (Bible) พระคัมภีร์นี้นับเป็นหนังสือที่อ่านแพร่หลายที่สุดในโลก และแปลออกเป็นภาษาต่างๆ มากกว่าวรรณกรรมอื่นใดทั้งสิ้น

 

3. คัมภีร์ในศาสนา

    เป็นที่ทราบกันดีว่าพระคัมภีร์ไบเบิลมี 2 ส่วน ส่วนแรกเป็นภาคพันธสัญญาเดิม (The Old Testament) ซึ่งกล่าวถึงประวัติแห่งการสร้างโลกตามแนวคิดของพวกฮิบรูและกล่าวถึง คำสั่งสอนของบรรดาศาสดาประกาศก (The Prophets) ส่วนที่สองเป็นภาคพันธสัญญาใหม่ (The New Testament) ซึ่งกล่าวถึงประวัติคำสอนของพระเยซู เรื่องราวในภาคนี้เป็นตอนเริ่มศาสนาคริสต์

   ส่วนที่เป็นภาคพันธสัญญาเดิมเท่านั้นที่เป็นส่วนของศาสนายิว จารึกด้วยภาษาฮิบรู ต่อมาได้แปลเป็นภาษากรีก ละติน และภาษาอังกฤษ พระคัมภีร์เดิมนี้แต่ก่อนกระจัดกระจายไม่เป็นระบบจนกระทั่งประมาณ 538 ปีก่อนคริสตกาล พระเจ้าไซรัส (Cyrus) แห่งอาณาจักรเปอร์เซียได้ปลดปล่อยพวกฮิบรูให้กลับไปสู่ปาเลสไตน์ไม่ต้องตกเป็นทาสของพวกบาบิโลเนีย ในช่วงเวลานี้พวกฮิบรูได้มีโอกาสสร้างโบสถ์ หรือวิหารและนักวิชาการได้ช่วยกันรวบรวม คำสอนตลอดจนแนวปฎิบัติในด้านพิธีกรรมซึ่งกระจัดกระจายนั้นมารวมเป็นเล่มคัมภีร์ การรวบรวมนี้ได้กระทำต่อเนื่องกันมาเป็นระยะและมาสำเร็จสมบูรณ์เมื่อประมาณปี ค.ศ. 100

    พระคัมภีร์พันธสัญญาเดิมนี้จัดว่าเป็นวรรณกรรมอันยิ่งใหญ่ของมนุษยชาติ เพราะ ต่อมาได้เป็นหลักพื้นฐานสำคัญของศาสนายิว และศาสนาคริสต์ อีกทั้งแสดงให้เห็นถึงประวัติศาสตร์พัฒนาการของชนชาติยิวที่ดำเนินชีวิตผูกพันอยู่กับศาสนา กฎศาสนาจึงเป็นทั้งกฎศีลธรรมที่มาจากพระเจ้า และเป็นกฎหมายที่บังคับชีวิตมนุษย์ให้เดินไปตามกรอบที่วางไว้

     ยิวเรียกคัมภีร์ของตนว่า ”ตานัคŽ” (Tanak) แบ่งออกเป็น 3 ภาค คือ

    1.    โทราห์ (Torah) หรือกฎบัญญัติ ประกอบไปด้วยหนังสือหรือบัญญัติคัมภีร์ 5 เล่มแรกของคัมภีร์เก่า ซึ่งเชื่อกันว่าเป็นคัมภีร์ 5 เล่มของโมเสส มีดังนี้

1.    บทปฐมกาล (Genesis)
2.    บทอพยพ (Exodus)
3.    บทเลวีนิติ (Leviticus)
4.    บทกันดารวิถี หรือการนับจำนวนคนอิสราเอล (Numbers)
5.    บทเฉลยธรรมบัญญัติ (Deuteronomy)

    ทั้ง 5 เล่มนี้เรียกว่า เปนตะติวค์ (Pentateuch) กล่าวเริ่มตั้งแต่พระเจ้าสร้างโลกไป จนกระทั่งถึงประวัติของโมเสส และบทบัญญัติ 10 ประการ รวมทั้งบทบัญญัติอื่นๆ ของโมเสสที่ได้ตราขึ้นไว้ เพื่อปฏิบัติต่อพระเจ้าให้ถูกต้องสมบูรณ์ จึงมีความสำคัญต่อชีวิตของชาวยิวมากที่สุด เพราะช่วยให้วิถีชีวิตของพวกเขามีระบบกฎเกณฑ์และทำให้สังคมสงบสุข คัมภีร์ทั้ง 5 เล่มนี้เป็นพื้นฐานของคัมภีร์ทัลมุด (Talmud) และเป็นจุดที่สะท้อนให้เห็นว่าศาสนายิวเป็นศาสนาแห่งกฎหมายที่มาจากพระเจ้า การเชื่อฟังและปฏิบัติตามกฎหมาย ก็เท่ากับการเชื่อฟังและปฎิบัติตามกฎของพระเจ้า

   2.    ศาสดาประกาศก (Prophets) รวมเรื่องราวของศาสดาประกาศกต่างๆ รวมทั้งคำสอนของศาสดาประกาศกแต่ละคน บางตอนเป็นประวัติศาสตร์ สมัยที่ชาวฮิบรูเข้าสู่ แผ่นดินคานาอัน จนกระทั่งตกเป็นทาสของชาติอื่น ในคัมภีร์นี้ประกอบด้วยหนังสือ 3 เล่ม ชื่อ โยชัว (Joshua) อิสยาห์ (Isaiah) และเยเรมีห์ (Jeremiah)

   3.    วรรณกรรม (Writings) รวมเรื่องราวทางประวัติศาสตร์ บทกลอน ภาษิต สอนใจ บทสวด และปรัชญา เดิมเขียนเป็นภาษาฮิบรู แต่ภายหลังได้เปลี่ยนมาใช้ภาษาอาราเมอิค (Aramaic)

    นอกจากนี้ ยังมีคัมภีร์อีกเล่มหนึ่ง ซึ่งเป็นบทอธิบายเพิ่มเติมจากของเดิม แล้วรวบรวมไว้เป็นเล่ม เราอาจเรียกว่า อรรถกถา ซึ่งใช้ควบคู่กับของเดิมที่มีอยู่ เรียกว่า ทัลมุด (Talmud) เขียนเป็นภาษาอาราเมอิค และบางส่วนเขียนเป็นภาษาฮิบรู แบ่งออกเป็น 2 ตอน คือ

1. มิชนาห์ (Mishnah) เป็นเรื่องราวเกี่ยวกับกฎหมายบ้านเมืองและกฎหมายที่ เกี่ยวกับสังคม รวมไปถึงกฎหมายครอบครัว และแบบแห่งพิธีกรรม คัมภีร์นี้เขียนเป็นภาษาฮิบรู
2. เจมารา (Gemara) เป็นส่วนที่อธิบายมิชนาห์ และโทราห์ มีเนื้อหาเกี่ยวกับ วิถีชีวิตของพวกยิวและเป็นตำราเรียนกฎหมายของนักศึกษา โดยเฉพาะคัมภีร์นี้เขียนด้วยภาษาอาราเมอิค

 

4. หลักคำสอนที่สำคัญ

    คำสอนที่สำคัญในศาสนายิว หรือยูดาย พอแยกเป็นหัวข้อใหญ่ๆ ได้ดังนี้

4.1    พระบัญญัติ 10 ประการ

1.    จงนมัสการพระเจ้าองค์เดียว
2.    อย่าออกพระนามพระเจ้าโดยไม่สมเหตุ
3.    จงถือวันพระเจ้าเป็นวันศักดิ์สิทธิ์
4.    จงนับถือบิดามารดา
5.    อย่าฆ่าคน
6.    อย่าผิดประเวณี
7.    อย่าลักทรัพย์
8.    อย่าใส่ความนินทา
9.    อย่าคิดมิชอบ
10.    อย่ามีความโลภในสิ่งของของผู้อื่น

     พระบัญญัติ 10 ประการ9) นี้ นับว่ามีความสำคัญยิ่งต่อชีวิตและสังคมของชาวยิวทุกคน ในบทบัญญัติทั้ง 10 ข้อนี้ 4 ข้อแรกเป็นเรื่องเกี่ยวกับการครองชีวิตของชาวยิวในสังคมมนุษย์คล้ายๆ กับศีลทางศาสนาพุทธ

   พระบัญญัติข้อ1 เพื่อส่งเสริมเอกภาพทางศาสนาในฐานะที่เป็นเงื่อนไขที่ก่อให้เกิดองค์การทางสังคมและความมั่นคงแห่งชาติ โดยกำจัดคนนอกศาสนาให้หมดสิ้น แม้ว่าเป็นญาติสนิทที่สุดของตนก็ตาม

   พระบัญญัติข้อ 2 เพื่อยกระดับมโนภาพเกี่ยวกับพระเจ้าของชาติให้สูงขึ้น แม้เป็น การทำลายศิลปะก็ตาม ทั้งนี้เพื่อยกระดับสติปัญญาของชาวยิวให้สูงขึ้น ไม่ใช่ไปยึดพิธีรีตองที่ เกี่ยวกับไสยศาสตร์และบูชารูปเคารพต่างๆ ทำให้แตกแยกในด้านความเชื่อถือ

   พระบัญญัติข้อ 3 เพื่อให้มนุษย์ได้พักผ่อนสัปดาห์ละวัน ในที่สุดก็เลยกลายเป็นประเพณีที่สำคัญที่สุดของโลกไป ความจริงวันหยุดทำนองนี้ก็มีอยู่ทั่วๆ ไปในแทบทุกศาสนาอย่างศาสนาพุทธก็มีวันพระเป็นวันหยุดงานเช่นกัน

    พระบัญญัติข้อ 4 เป็นการยกย่องครอบครัว โดยถือว่าบิดามารดาเป็นโครงสร้างที่สำคัญของสังคมยิวเป็นที่สองรองจากศาสนา

   พระบัญญัติข้อ 5 ต้องการให้มนุษย์มีเมตตากรุณาต่อกัน ทั้งนี้เพราะปรากฏว่า มนุษย์ชอบรบราฆ่าฟันกันมาก โดยเฉพาะในพระคัมภีร์เดิมหรือพันธสัญญาเดิม

   พระบัญญัติข้อ 6 ถือว่าการสมรสเป็นมูลฐานของครอบครัว เช่นเดียวกับ พระบัญญัติ ข้อ 4 ที่ถือว่าครอบครัวเป็นมูลฐานของสังคม ฉะนั้นการมีความสัมพันธ์ทางเพศจึงมีก่อนแต่งงานไม่ได้ เพราะจะทำให้คนขาดความกระตือรือร้นในการทำมาหากิน

    พระบัญญัติข้อ 7 ถือเรื่องทรัพย์สมบัติส่วนตัวเป็นเรื่องสำคัญและมีความสัมพันธ์ กับศาสนาและครอบครัว ซึ่งถือกันว่าเป็นพื้นฐาน 3 ประการของสังคมยิว เพราะถ้าคนมี ทรัพย์สมบัติส่วนตัว จะขาดความกระตือรือร้นในการทำมาหากิน

    พระบัญญัติข้อ 8 เพื่อทำให้พวกยิวมีความเคร่งครัดในศาสนาด้วยศรัทธาจริงๆ ไม่ใช่ออกนามพระเจ้าอย่างพล่อยๆ และตามปกติมักใช้คำว่า อะโดไน แทนพระนามยะโฮวาหŒ ทั้งนี้ก็เพื่อไม่ต้องออกพระนามพระเจ้านั่นเอง ข้อนี้ตรงกันข้ามกับในศาสนาพราหมณ์ที่ส่งเสริมให้เปล่งพระนามเทพเจ้าเสมอ

   พระบัญญัติข้อ 9 ต้องการให้คนที่ทำหน้าที่เป็นพยานต้องมีความซื่อสัตย์สุจริต ต้องให้การตามความเป็นจริง โดยต้องสาบานต่อพระเจ้า

    พระบัญญัติข้อ 10 แสดงให้เห็นว่าสังคมยิวจัดผู้หญิงรวมไว้ในเรื่องทรัพย์สมบัติด้วย ตามพระบัญญัติข้อนี้ถ้าปฏิบัติได้จะทำให้คนสามารถขจัดความโลภในทางที่ผิดลงได้มากทีเดียว

    นอกจากบัญญัติ 10 ประการแล้ว ยังมีคำสอนอื่นๆ อีกที่ปรากฏในคัมภีร์พันธสัญญาเดิม ซึ่งต่อมาได้กลายเป็นหลักปฏิบัติทางศาสนายิว10) มีดังต่อไปนี้

1.    ไม่กระทำการทรมานตนเองด้วยการเชือดเฉือนเนื้อเพื่อคนตาย
2.    ไม่รับประทานสัตว์บางชนิด เช่น อูฐ กระต่าย กระจงผา เพราะเป็นสัตว์เคี้ยวเอื้องมี
กีบที่เท้าไม่ผ่าจึงเป็นสัตว์มีมลทิน
3.    ไม่รับประทานหมู เพราะมีกีบผ่า แต่ไม่เคี้ยวเอื้อง จัดว่าเป็นสัตว์มีมลทิน
4. สัตว์น้ำที่ไม่มีครีบและเกล็ดห้ามรับประทาน เพราะมีมลทิน
5.    สัตว์ต่อไปนี้ห้ามรับประทาน เพราะมีมลทิน ได้แก่ นกอินทรี แร้ง นกเหยี่ยว-    หางดำ นกเหยี่ยวหางยาว นกเหยี่ยวเขา นกแก นอกกระจอกเทศ นกนางนวล    นกเค้าโมง นกเค้าแมวเล็ก นกค้างคาว นกทึดทือ นกอีโก้ง นกกระทุง นกอ้ายงั่ว นกกระสา นกหัวขวาน และแมลงมีปีกทุกชนิด
6.    สัตว์ที่ตายเองห้ามรับประทาน
7.    ไม่ต้มลูกแพะด้วยน้ำนมแม่ของมัน
8.    ไม่ทำอาชีพหมอดู คนทำนายจับยามดูเหตุการณ์ หมอผีคนทรง พ่อมด แม่มด และนักวิทยาคม

4.2    เรื่องสร้างโลก

     ศาสนายิวเชื่อว่าพระยะโฮวาห์ เป็นพระเจ้าที่สูงสุดเพียงองค์เดียว ไม่มีพระเจ้าอื่น นอกเหนือไปจากพระองค์ เรื่องการสร้างโลกที่ปรากฏในคัมภีร์พันธสัญญาเดิมนั้นกล่าวว่า โลกนี้แรกมีแต่ความมืดมน พระเจ้าเป็นผู้สร้างสรรพสิ่งและสัตว์ในโลกโดยลำดับการสร้างดังนี้

วันที่ 1    ทรงสร้างแสงสว่าง เพื่อทำลายความมืด ส่วนสว่างเรียกว่า กลางวัน ส่วนมืดเรียกว่า กลางคืน

วันที่ 2    ทรงสร้างฟากฟ้าอากาศ

วันที่ 3    ทรงสร้างแผ่นดินและพืชผลทุกชนิดบนแผ่นดิน

วันที่ 4    ทรงสร้างดวงอาทิตย์ประจำกลางวัน สร้างดวงจันทร์ และดวงดาวประจำ    กลางคืน

วันที่ 5  ทรงสร้างสรรพสัตว์

วันที่ 6    ทรงสร้างมนุษย์ให้เป็นเจ้าของพืชและสัตว์เหล่านั้น

วันที่ 7    ไม่ทรงสร้างอะไร ถือเป็นวันซาบัท มนุษย์ต้องหยุดการทำงานเหมือนพระเจ้า

4.3 เรื่องดวงวิญญาณ

   ชาวยิวมีความเชื่อเกี่ยวกับการกลับฟื้นคืนมาใหม่ของดวงวิญญาณ โดยเชื่อว่าพระเจ้าได้ประทานความสุขทุกข์ให้แก่สัตวโลกด้วยพระมหากรุณา และเชื่อว่าการกระทำของมนุษย์จะได้รับการพิพากษาในวันสุดท้ายแห่งการสิ้นโลก ผู้กระทำดีพระเจ้าจะทรงนำไปสู่สวรรค์ ผู้กระทำความชั่วจะต้องไต่สะพานลงนรก เมื่อดับจิตดวงวิญญาณจะวนเวียนอยู่ใกล้ร่างเป็นเวลา 3 วัน ได้รับคำพิพากษาว่าจะให้ไปทางใด ก็จะไปทางนั้น สวรรค์มีอยู่ 7 ชั้น และนรกมีอยู่ 7 ชั้น

      คติทางศาสนายิวในกาลต่อมาแบ่งออกเป็น 3 พวก ดังนี้

      1.  ฟาริซี เป็นพวกเชื่อมั่นในลัทธิและจารีตเก่า โดยเชื่อว่าสิ่งที่ปฏิบัติมาก่อนมี ความสำคัญยิ่งกว่าจารึกในคัมภีร์

      2.  ซาดดูคูส เป็นพวกศาสนาปฏิรูป ทอดทิ้งการปฏิบัติพิธีกรรมโบราณ เปลี่ยนแปลงให้เหมาะกับยุคสมัย

      3.   เอสเสนเนส เป็นพวกที่ประพฤติพรหมจรรย์อย่างเคร่งครัด ไม่ยอมแต่งงาน ชอบความสงบ ไม่นิยมพลีกรรม ไม่นิยมโรงสวด แต่นิยมบูชาแสงสว่าง เช่น ดวงอาทิตย์ และดวงไฟ

      ศาสนายิวสอนง่ายๆ ดังนี้

1.    ร่างกายคือเปลือกของวิญญาณ
2.    คนมีเก็บพระเจ้าไว้ในกระเป๋า คนจนเก็บพระเจ้าไว้ในหัวใจ
3.    อย่าแก้แค้นหรือผูกพยาบาทผู้ใดผู้หนึ่ง แต่จงรักเพื่อนบ้านเหมือนรักตัวท่านเอง
4.    อย่าโกรธแค้นพี่น้องของเจ้าแม้ด้วยใจคิด
5.    อย่าก่อทุกข์ให้แม่ม่ายและเด็กกำพร้า
6.    อย่าทำให้แขกผู้มาเยี่ยมรำคาญหรือรังแกเขา

4.4    พระเจ้าเป็นเจ้าสูงสุด

     ยิวหรือฮิบรูเรียกพระเจ้า11) ของตนเองว่า ”พระยะเวห์Ž” (Yahveh) หรือพระเยโฮวาห์ (Jehowah) ซึ่งแปลว่า "เราเป็นผู้ซึ่งเราเป็นŽ” พระเจ้าของฮิบรูนี้ก็คือพระเจ้าองค์เดียวกับ พวกเซมิติค (Semitic) ในสมัยโบราณซึ่งเรียกว่า ”เอลŽ” (EI) เราจะพบคำนี้บ่อยมากในวรรณคดีทางศาสนาของพวกฮีบรู นอกจากนี้ยังมีคำอื่นๆ อีก เช่น ”เอล ชัดไดŽ” (EI Shaddai) ซี่งแปลว่า พระเจ้าผู้ทรงพลัง บางครั้งก็เรียกว่า ”เอล เอลยอนŽ” (EI EIyon) แปลว่า พระเจ้าอันสูงสุด หรือเรียกวˆา ”เอล โอลัมŽ” (EI OIam) แปลว่า พระเจ้าผู้เป็นนิรันดร์ และที่นิยมใช้กันมากที่สุดคือ ”เอโลฮีมŽ” (ELohim) ซึ่งแปลว่า พระเจ้า

     แต่เดิมชาวฮีบรูไม่มีการสร้างวิหารถวายพระเจ้า แต่สร้างเต็นท์นัดพบ (Tent of Meeting) เป็นที่ประกอบพิธีทางศาสนา เมื่อพวกเขาไปที่ใดก็จะแบกหีบแห่งพันธสัญญา (The Ark of the Convenant) ไปด้วย ภายในหีบมีศิลาจารึกบัญญัติ 10 ประการ 2 แผ่น เข้าใจกันว่าน่าจะเป็นแผ่นใหม่ที่โมเสสทำขึ้นมาในภายหลัง ส่วนศิลาจารึกบัญญัติ 10 ประการ ที่เป็น ของเก่านั้น โมเสสได้โยนใส่พวกฮิบรูแตกกระจายในตอนที่ลงมาจากเขา เพราะเห็นความ ไม่ดีงามของพวกฮิบรูที่ทรยศต่อพระเจ้า

   การสร้างค่ายบริสุทธิ์นี้ กระทำต่อเนื่องมาจนกระทั่งในรัชสมัยของพระเจ้าโซโลมอน (961-922 B.C.) จึงมีการสร้างวิหาร ซึ่งมีลักษณะรูปแบบคล้ายๆ กับรูปแบบวิหารของ พวกคานาอัน มีสถานที่ไว้หีบพันธสัญญา มีห้องของพวกนักบวช มีลานกว้าง เป็นที่ทำ พลีกรรมและสังเวยสัตว์ ความคิดในการฆ่าสัตว์เพื่อสร้างความพอพระทัยให้กับพระเจ้าไม่ได้เกิดขึ้นเฉพาะในสมัยของกษัตริย์โซโลมอนเท่านั้น แม้ในยุคก่อนหน้านี้ ซึ่งอาจย้อนขึ้นไปจนถึงยุคของอับราฮัมก็ยังนิยมฆ่าสัตว์เพื่อพลีกรรมถวายพระเจ้า

   ฮอพฟ์เชื่อว่าศาสนาของพวกยิวหรือฮิบรูในยุคแรกๆ คงไม่ได้มีแต่การสังเวยสัตว์เท่านั้น แต่อาจจะมีการฆ่ามนุษย์เพื่อสังเวยพระเจ้าด้วย แม้แต่อับราฮัมเองก็เคยคิดที่จะฆ่าลูกชาย ของตัวเพื่อถวายพระเจ้า เรื่องราวในตอนนี้สามารถอ่านรายละเอียดได้ในคัมภีร์ไบเบิล ภาคพันธสัญญาเดิม บทปฐมกาล (Genesis)

 

5 บทบาทของศาสดาประกาศกในศาสนายิว

     คำว่า ศาสดาประกาศก12) หรือศาสดาพยากรณ์ (The Prophets) นี้ อาจารย์กีรติ บุญเจือ ได้ให้ความหมายว่า ผู้ประกาศชั้นนำจะประกาศคำสอนของตนเองหรือของผู้อื่นก็ได้ ไม่จำเป็นต้องประกาศในนามของพระเจ้าเสมอไป ในศาสนายิวศาสดาประกาศกมีส่วนสำคัญในการโน้มน้าวจูงใจประชาชนให้เกิดศรัทธาในพระเจ้าองค์เดียว มีหน้าที่ในการเผยแผ่ศาสนา แต่ไม่มีหน้าที่ทำพลีกรรมทางศาสนา ศาสดาประกาศกเหล่านี้ได้ช่วยให้ชาวยิวที่หมด ความหวังเริ่มมีความหวังในพระเจ้า และเชื่อว่าพระองค์จะต้องส่งพระเมสสิอาห์ (Messiah) มาช่วยปลดปล่อยความทุกข์ยาก ศาสดาประกาศกหลายคนได้ผลัดกันทำนายเหตุการณ์มาเป็นระยะ พร้อมกับให้ความหวังที่พวกเขาจะได้อยู่ในดินแดนอันอุดมสมบรูณ์ มีอิสรภาพ มีความยิ่งใหญ่เหนือชาติอื่นทั้งหลาย เพราะพวกเขาเป็นชนชาติที่พระเจ้าได้เลือกแล้ว จะให้เป็นชาติยิ่งใหญ่ในอนาคต

   คำสอนของศาสดาประกาศกแต่ละคน ส่งเสริมให้ยิวมีความอดทนมุ่งมั่นที่จะสานความฝันให้เป็นความจริง พวกยิวจึงมีความผูกพันมั่นคง มีความสมานสามัคคีเป็นน้ำหนึ่งใจเดียว และมีความรักเหนียวแน่นในชาติพันธุ์ของตน หลายครั้งที่พวกยิวตกเป็นทาสของชาติที่ใหญ่กว่าตน เมื่อใดที่พวกเขาเริ่มท้อแท้ก็จะเกิดศาสดาประกาศกขี้นมาช่วยกระตุ้นให้พวกเขาได้อดทนต่อไป และเมื่อใดที่พวกเขาเริ่มออกห่างจากพระเจ้า ศาสดาประกาศกจะช่วยย้ำเตือนสติพวกเขา ศาสดาประกาศกบางคนอาจใช้อภินิหารเข้าช่วยเพื่อสร้างศรัทธาในพระเจ้า

ศาสดาประกาศกซึ่งเป็นที่รู้จักกันดีและมีบทบาทในการสอนศาสนา และทำนาย เหตุการณ์ตามที่ปรากฏในพระคริสตธรรมคัมภีร์ภาคพันธสัญญาเดิม มีดังนี้

1.    อิสยาห์ (Isaiah) ได‰สอนให้ยิวรู้ว่า พระเยโฮวาห์ไม่ใช่พระเจ้าของยิวเท่านั้น แต่เป็นพระเจ้าของทุกคน
2.    เยเรมีห์ (Jeremiah) ได้ชักชวนให้พวกอิสราเอลและพวกยูดาห์กลับมานับถือพระเจ้า มิฉะนั้นพวกเขาจะต้องถูกลงโทษในการที่ทอดทิ้งพระองค์ แต่กลับไปนับถือพระเจ้าของผู้อื่น
3.    เอเสเคียล (Ezekiel) ได้ทำนายว่า พวกอิสราเอลจะกระทำลามกในเยรูซาเล็ม คือ กระทำการบูชาพระเจ้าอื่นที่ไม่ใช่พระยะโฮวาห์ และพระเจ้าจะลงโทษคนเหล่านี้ ผู้กระทำบาปจะต้องตาย แต่ถ้าคนใดกลับตัวกลับใจพระเจ้าจะให้อภัยคนเหล่านั้น นอกจากนี้ท่านยังได้ทำนายว่ากรุงเยรูซาเล็มจะแตก แต่หลังจากนั้นอิสราเอลและยูดาห์จะได้รวมกันอีก
4.    ดาเนียล (Daniel) ความสามารถของศาสดาประกาศกท่านนี้ คือ สามารถทำนายฝันให้พระเจ้าเนบูคัดเนสซาร์ โดยทำนายว่า ต่อไปพระองค์จะยิ่งใหญ่กว่ากษัตริย์ทั้งปวง และได้ทำนายอีกครั้งหนึ่งว่า อาณาจักรของพระองค์จะต้องถูกแบ่งให้คนมีเดียและคนเปอร์เซีย
5.    โฮเชยา (Hoshea) ได้ทำนายว่า พวกยิวเมื่อหนีจากพระเจ้าแล้ว ต่อไปเขาจะ กลับมานับถือพระเจ้าอีก และได้เผยความผิดของยิวที่บังอาจไปกราบไหว้พระเจ้าองค์อื่น
6.    โยเอล (Joel) ได้ทำนายว่า อาณาจักรของยูดาห์จะฟื้นอีกครั้งและกรุงเยรูซาเล็มจะเป็นที่อาศัยของคนทุกชาติพันธุ์
7.    อาโมส (Amos) ได้ทำนายว่า อาณาจักรยูดาห์จะถูกพระเจ้าทำลายด้วยไฟ และพวกอิสราเอลจะถูกลงโทษ เพราะความเห็นแก่ตัวและความโลภ พวกเขาชอบกระทำการลามกหยาบช้า บุตรและบิดาเข้าหาหญิงคนเดียวกัน พวกเขาดูถูกคนจน และดื่มสุราในสถานที่ของพระเจ้า พวกเขาเอาใจออกห่างจากพระเจ้า พระเจ้าจึงต้องลงโทษด้วยตั๊กแตน ไฟ และสายดิ่ง
8.    โอบาดีห์ (Obadiah) ได้ทำนายว่า เมืองเอโดมจะถูกทำให้ต่ำต้อย
9.    โยนาห์ (Jonah) ได้ทำนายว่า นครนีนะเวห์จะถูกทำลาย
10.    มีคาห์ (Micah) ได้กล่าวโทษบรรดาผู้นำของอิสราเอล และได้ทำนายว่า พระเจ้าทรงครอบครองทั่วสากล
11.    นาฮูม (Nahum) ได้สอนชาวยิวได้สำนึกถึงอำนาจของพระเจ้า โดยเฉพาะเวลาที่พระองค์ทรงพิโรธ
12.    ฮะบากุก (Habakkuk) ได้ทำนายว่า ผู้ทำชั่วถูกลงโทษ ผู้ทำดีและซื่อสัตย์จะ ดำรงอยู่
13.    เศฟันยาห์ (Zephaniah) ได้ทำนายว่า พระเจ้าจะทำลายเอธิโอเปีย อัสซีเรีย นีนะเวห์ พระองค์จะทำให้เมืองโสโดมและโกโมราห์เป็นบ่อเกลือ และพระองค์จะปกป้องอิสราเอล รวมยิวที่เคยแตกให้เป็นพวกเดียวกัน ทำให้มีชื่อเสียงและเป็นที่สรรเสริญของคนทั่วโลก
14.    ฮักกัย (Haggai) ได้ประกาศให้ชาวยิวรู้ว่า เขาได้รับพระวจนะจากพระเจ้าให้มา บอกชาวยิวได้รู้ว่า พวกเขาจะต้องสร้างวิหารให้แก่พระองค์
15.    เศคาริยาห์ (Zechariah) ได้ทำนายว่า เยรูซาเล็มจะได้ฟื้นขึ้น และพระองค์จะไถ่ชนชาติของพระองค์ให้ถึงความรอด
16.    มาลาคี (Malachi) ได้ทำนายว่า วันพิพากษาได้ใกล้เข้ามาแล้ว

 

6. หลักความเชื่อและจุดหมายสูงสุด

เกี่ยวกับการสร้างโลก13)

      ในคัมภีร์ปฐมกาล ได้กล่าวถึงการสร้างโลกของพระเยโฮวาห์ ไว้ดังนี้

      วันแรกทรงสร้างกลางวันและกลางคืน วันที่ 2 ทรงสร้างฟ้า วันที่ 3 ทรงสร้าง แผ่นดิน วันที่ 4 ทรงสร้างดวงอาทิตย์ ดวงจันทร์ และดวงดาวต่างๆ วันที่ 5 ทรงสร้างสัตว์ นก และปลานานาพันธุ์ วันที่ 6 ทรงสร้างมนุษย์ทั้งชายหญิง ให้มาเป็นเจ้าของสัตว์ นก ปลา และพืชพันธุ์ต่างๆ และวันที่ 7 ทรงหยุดสร้าง และทรงตั้งวันที่ 7 ให้เป็นวันบริสุทธิ์ศักดิ์สิทธิ์

   ในวันที่ทรงสร้างมนุษย์ พระเยโฮวาห์ทรงปั้นมนุษย์ขึ้นมาด้วยก้อนดินที่มีรูปร่างคล้ายพระองค์ และทรงระบายลมปราณเข้าไปทางจมูก มนุษย์จึงมีชีวิตขึ้นมา แล้วทรงให้มนุษย์อยู่ในสวนเอเดน มนุษย์คนแรกที่พระองค์ทรงสร้างขึ้นให้ชื่อว่า อาดัม แปลว่า ก้อนดิน ต่อมาทรงสร้างผู้หญิงคนหนึ่งขึ้นมาจากซี่โครงของอาดัมให้เป็นภรรยาของอาดัม ผู้หญิงคนแรกนั้นชื่อว่า อีวา เพราะเป็นมารดาของปวงประชาที่มีชีวิต อาดัมกับอีวาอยู่ในสวนสวรรค์เอเดนอย่างมีความสุข ต่อมามีงูไปยุให้อาดัมและอีวากินผลไม้ที่พระเจ้าทรงห้าม พระเจ้าจึงทรงสาปให้งูต้องเลื้อยคลานแทนที่จะเดินด้วยเท้า และให้เป็นศัตรูกับผู้หญิงตลอดไป ส่วนผู้หญิงก็ต้องมีความทุกข์มากกว่าผู้ชาย นอกจากนี้ทั้งอาดัมและอีวาก็ถูกสาปให้มีบาปตกทอดสู่เผ่าพันธุ์มนุษย์ ตลอดไปอีกด้วย

เกี่ยวกับน้ำท่วมโลก14)

    ในคัมภีร์ปฐมกาลเช่นกัน ได้เล่าถึงน้ำท่วมโลกไว้ว่า เมื่อมีมนุษย์เผ่าพันธุ์อาดัมอีวามากขึ้น มนุษย์ได้ทำความชั่วมากขึ้นทุกที จนพระเยโฮวาห์เห็นว่า โลกเต็มไปด้วยความชั่ว ควรที่จะล้างโลกสักทีหนึ่ง จึงทรงเนรมิตเรือขึ้นมา 1 ลำ ให้โนอาห์และครอบครัวตลอดถึงสัตว์อย่างละคู่อยู่บนเรือลำนั้น แล้วจึงทรงบันดาลให้ฝนตก 40 วัน 40 คืน น้ำจึงท่วมโลก ทุกสิ่งทุกอย่างจมน้ำตายหมด ยกเว้นโนอาห์และครอบครัว ตลอดถึงสัตว์ที่พระเจ้าช่วยเหลือเท่านั้น และเมื่อน้ำเลิกท่วมแล้ว พระยะโฮวาห์ได้ตรัสกับโนอาห์ว่า เราจะตั้งพันธสัญญาของเราไว้กับพวกเจ้าว่า จะไม่ทำลายมนุษย์และสัตว์โดยบันดาลให้น้ำท่วมโลกอีก และจะไม่ให้มีน้ำมาท่วมทำลายโลกอีกต่อไป จึงทรงตั้งรุ้งไว้เหนือเมฆ เพื่อเป็นเครื่องหมายพันธสัญญาระหว่างพระองค์กับโลก คือ ตราบที่พระองค์ทรงเห็นรุ้ง ก็จะทำให้พระองค์ระลึกถึงพันธสัญญาตลอดไป ชาวยิวเชื่อว่าโนอาห์ผู้นั้น ได้เป็นบรรพบุรุษของอับราฮัม ปฐมบรรพบุรุษของยิวนั่นเอง

เกี่ยวกับชีวิตในโลกหน้าและจุดหมายสูงสุดของชีวิต15)

     ศาสนายิวเชื่อว่า คนตายแล้วไม่สูญ วิญญาณจะคอยวันพระเจ้าตัดสินโลก แต่ รายละเอียดเรื่องโลกหน้าหรือเรื่องนรกสวรรค์ไม่มีกล่าวไว้ในคัมภีร์โทราห์ เรื่องดังกล่าวเพิ่งจะมีขึ้นในสมัยหลังที่ชาวยิวได้ติดต่อกับคนที่นับถือศาสนาอื่น โดยมีใจความว่า ผู้ตายที่ทำความดีไว้เมื่อถึงวันตัดสินโลก พระเจ้าจะทรงตัดสินให้มีชีวิตชั่วนิรันดรอยู่กับพระเจ้า และเพื่อนเทวดา ทั้งหลายอย่างมีความสุขบนสวรรค์ (Shekhinah) ผู้ที่เกิดในสวรรค์แล้วจะไม่มีกายเนื้ออีกต่อไป แต่จะเป็นกายทิพย์หรือวิญญาณ ไม่ต้องมีภาระต้องกินต้องดื่ม ไม่มีการสืบพันธุ์ ไม่ต้องทำธุรกิจทุกอย่าง ไม่ริษยา ไม่เกลียด ตลอดทั้งไม่มีการแข่งขันกัน เทพทุกองค์จะสวมมงกุฏ นั่งเสวยสุขในสวรรค์ ส่วนคนชั่วตายไปแล้วจะถูกตัดสินให้ตกนรก (Gehinnon) ทนทุกข์ทรมานตลอดไป โดยไม่มีโอกาสได้กลับมาเกิดอีก แต่มีบางคัมภีร์บอกว่าจะมีเมสไซอาห์ มาอุบัติในโลก และจะช่วยให้สัตว์นรกได้พ้นทุกข์ต่อไป

 

7. สถานที่ทำพิธีกรรมและนักบวช

    แต่เดิมมาพวกบรรพบุรุษของยิว คือ ฮิบรู ไม่เคยสร้างโบสถ์ เมื่อทำพิธีกรรมทางศาสนา พวกเขาจะทำในเต็นท์ใดเต็นท์หนึ่งซึ่งเรียกว่า ”เต็นท์นัดพบŽ” (Tent of Meeting) ภายในประดิษฐานหีบพันธสัญญา (The Ark of the Covenant) ภายในหีบมีแผ่นหินสองแผ่นจารึกบัญญัติ 10 ประการ เมื่อพวกยิวเร่ร่อนไปที่ใด พวกเขาจะแบกหีบนี้ไปด้วยเหมือนกับมีพระเจ้าอยู่ ใกล้ตัว ทำให้เกิดความอบอุ่น และไม่กล้าทำผิดทางศีลธรรม เมื่อพักที่ใดก็จะกางเต็นท์ ให้กับหีบพันธสัญญาแยกต่างหากจากที่พัก ใช้เป็นที่นัดพบทำพิธีกรรมทางศาสนา ตลอดจนสวดมนต์ร่วมกัน ยิวเริ่มมาสร้างวิหารในสมัยของพระเจ‰าโซโลมอนโดยมีรูปแบบเหมือนกับวิหารของพวกคานาอัน

     ต่อมาวิหารที่สร้างในสมัยของกษัตริย์โซโลมอนได้ถูกทำลายไป จนกระทั่งในภายหลังพวกยิวได้สร้างสถานที่ทำพิธีกรรมตามแบบฉบับของพวกตนเรียก ”สถานที่นมัสการ”Ž (Synagogue) อันเป็นที่ชุมนุมทางศาสนา แต่ละกลุ่มของพวกยิวจะปกครองตนเองโดยมีพวก แรบไบ (rabbi) ซึ่งฮอพฟ์16) ได้ให้ความหมายไว้ว่า ”ครูของฉันŽ” (my master) ทำหน้าที่ตีความบทบัญญัติ ทั้งนี้เพราะศาสนายิว เชื่อว่าคัมภีร์โทราห์นั้นไม่ได้เกิดจากมนุษย์ แต่เป็นพระวจนะของพระเจ้า จึงจำเป็นต้องมีบุคคลที่มีเวลามากพอที่จะศึกษาคัมภีร์อย่างละเอียด มีความสนใจอย่างจริงใจ มีความฉลาด และมีความสามารถที่จะถ่ายทอดความรู้นี้ให้แก่ผู้อื่นได้อย่างถูกต้องสมบูรณ์

     ดังนั้น แรบไบ ก็คือผู้เชี่ยวชาญทางศาสนานั่นเอง แต่ไม่ใช่ผู้ที่ทำพิธีทางศาสนา เพราะหน้าที่นี้เป็นของพวกยิวตระกูลเลวี (Levites) ซึ่งแต่เดิมมาในอดีตพวกเลวีทำหน้าที่ทางศาสนาในตำแหน่งปุโรหิตมีหน้าที่ปฏิบัติงานต่างๆ ภายในเต็นท์นัดพบ เช่น ดูแลหีบพระบัญญัติ ดูแลโต๊ะ คันประทีป แท่นบูชา เครื่องใช้นมัสการ การถวายอาหาร การดูแลน้ำมันตามตะเกียง นอกจากนี้ยังต้องทำหน้าที่หามหีบพระบัญญัติเร่ร่อนไปตามถิ่นต่างๆ ตระกูลเลวีทำหน้าที่นี้ ต่อเนื่องกันมาช้านานจนกระทั่งปัจจุบันนี้ นักบวชยิวจะต้องมาจากตระกูลเลวี ส่วนพวก แรบไบนั้นอาจเป็นใครก็ได้ แต่ต้องเป็นฆราวาสที่มีความเชี่ยวชาญ มีความรู้ความสามารถ ในการตีความพระคัมภีร์

 

8. พิธีกรรมที่สำคัญ

1.    วันสะบาโต (Sabbath) หรือซาบัท

    ศาสนายิวเชื่อว่าพระเจ้าสร้างโลกใน 6 วัน วันที่ 7 พระเจ้าได้สร้างทุกอย่างสำเร็จหมดแล้วจึงหยุดในวันนี้ และให้วันที่เจ็ดเป็นวันที่จิตสงบ เพื่อระลึกถึงพระผู้เป็นเจ้า วันนี้เริ่ม ตั้งแต่ตอนเย็นพระอาทิตย์ตกของวันศุกร์ไปจนกระทั่งถึงตอนเย็นพระอาทิตย์ตกของวันเสาร์ ชาวยิวจะจัดทำพิธีภายในบ้านด้วยการจุดเทียนและสวดมนต์ จากนั้นจะนำอาหารที่ดีที่สุดมาเลี้ยงกันในตอนเย็นวันศุกร์ แล้วอวยพรด้วยการราดเหล้าไวน์บนขนมปัง พอถึงวันเสาร์ ตอนเช้าทุกคนจะเข้าสถานที่นมัสการ (Synagogue) เพื่อฟังธรรม อ่านพระคัมภีร์โทราห์ ชาวยิวอนุรักษ์บางกลุ่มจะถูกห้ามเปิดไฟ ห้ามขับขี่ยวดยานพาหนะ ห้ามสูบบุหรี่ ห้ามใช้เงิน แต่กระทำจิตให้สงบเหมือนกับการเข้าเงียบ หรือการทำสมาธิ

2.    เทศกาลอพยพ (Passover)

    เทศกาลนี้เริ่มในวันที่ 15 ตามปฏิทินของพวกฮิบรู ประมาณเดือนนิซัน (Nisan) ซึ่งอยู่ในราวเดือนมีนาคม ถึงเมษายน เทศกาลนี้มีทั้งหมด 8 วัน การจัดเทศกาลนี้เพื่อระลึกถึงการที่พวกฮิบรูได้อพยพออกจากอียิปต์ พ้นจากความเป็นทาสไปสู่ความเป็นไท เร่ร่อนหา ดินแดนที่พระเจ้าทรงประทานให้ ในสองคืนแรกของเทศกาลนี้จะมีการเลี้ยงอาหารภายในครอบครัว อาหารนั้นได้แก่ ขนมปังไม่มีเชื้อ แกะย่าง ผักขม ฯลฯ

3.    งานฉลองพืชผลครั้งแรก หรือพิธีชาวูออท (Shavuot)

     งานนี้กระทำหลังจากเทศกาลอพยพแล้ว 50 วัน ตามปฏิทินของฮิบรูอยู่ในช่วงประมาณเดือนพฤษภาคม ถึงมิถุนายน ซึ่งเรียกว่าเดือนสิวัน (Sivan) เป็นการฉลองให้กับการเก็บเกี่ยวพืชผลในไร่ครั้งแรก ในขณะเดียวกันวันนี้จะตรงกับวันที่โมเสสได้รับบัญญัติ 10 ประการที่ภูเขาซีไน (Mt.Sinai) ชาวยิวจะตบแต่งสถานที่นมัสการ (Synagogue) และบ้านเรือน อย่างสวยงาม โดยใช้ดอกไม้และต้นไม้มาประดับอย่างเต็มที่เพื่อแสดงความอุดมสมบูรณ์ที่พระเจ้าได้ประทานมาให้

4.    วันปีใหม่ หรือ รอช ฮาชานาห์ (Rosh Hashanah)

   วันปีใหม่ยิวนิยมฉลองกันในวันแรก และวันที่สองของเดือนติชเร (Tishre) คือ อยู่ในช่วงระหว่างเดือนกันยายน ถึงเดือนตุลาคม ในวันนี้จะมีการสวดมนต์และฉลองกันด้วยขนมหวาน เพื่อว่าปีใหม่ที่มาถึงนี้ได้หวานชื่นและได้รับสิ่งที่สมหวัง

5.    วันชดใช้บาป หรือวันแห่งการแก้ไขความประพฤติ (The Day of Atonement)

    ศาสนายิวเรียกวันนี้ว่า ”ยม คิปปูร์Ž”(Yom Kippur) และเชื่อกันว่าวันนี้เป็นวันที่ ศักดิ์สิทธิ์ที่สุดเพราะมีการยกเลิกบาปและคืนดีต่อกัน อีกทั้งเป็นโอกาสดีที่ทุกคนจะได้สร้างกุศล นิยมฉลองกันในวันที่ 10 ของเดือนติชเร (Tishre) ในวันนี้ชาวยิวจะหยุดงาน หยุดกินอาหาร และไม่ดื่มอะไรทั้งสิ้น แต่จะไปชุมนุมกันที่สถานที่นมัสการ เพื่อสวดมนต์และอภัยบาปต่อกัน

6. งานพิธีกรรมซุกคอท (Sukkot)

    เริ่มต้นในวันที่ 15 ของเดือนติชเร แต่เดิมมาเป็นงานฉลองพืชผลในฤดูใบไม้ร่วง ต่อมาได้เป็นการฉลองเพื่อระลึกถึงวิถีชีวิตของยิวที่ต้องอพยพเร่ร่อน และต้องผูกพันชะตาชีวิตอยู่กับพระมหากรุณาของพระผู้เป็นเจ้า พิธีนี้นิยมจัดในบ้านและจำลองสภาพชีวิตที่เคยเดินทางอยู่ ในทะเลทราย

7. งานเลี้ยงปูริม (Purim) หรือวันแห่งโชคชะตา (The Feast of Lots)

    งานเลี้ยงฉลองนี้ตรงกับวันที่ 14 ของเดือนอาดาร์ (Adar) คืออยู่ในช่วงเวลาระหว่างเดือนกุมภาพันธ์ ถึงเดือนมีนาคม เป็นวันที่ระลึกถึงชัยชนะของพวกยิวที่มีต่อศัตรู นอกศาสนา เป็นวันรื่นเริงวันหนึ่ง ที่มีการแลกของขวัญกันและเลี้ยงฉลองกันด้วยอาหารมื้อพิเศษ นอกจากนี้อาจจะแจกของให้แก่ผู้ยากไร้ด้วย

8.    พิธีกรรมเข้าสุหนัต

     พิธีนี้กระทำเมื่อเด็กชายมีอายุ 8 วัน พวกเขาจะถูกนำเข้าในที่ประชุม จากนั้นผู้ทำสุหนัตซึ่งเรียกว่า โมเฮล (Mohel) จะทำการขลิบหนังหุ้มปลายองคชาติ ในขณะเดียวกันก็มีการ สวดมนต์ให้เด็กด้วยจึงจะถือว่าเด็กนั้นได้พ้นบาป

9.    พิธีบาร์ มิตซวาห์ (Bar Mitzvah)

     งานนี้ไม่ใช่เทศกาลประจำปี แต่มีความสำคัญต่อวิถีชีวิตในสังคมยิว คือ เด็กชายยิว เมื่ออายุ 13 ปี จะต้องเข้าพิธีเพื่อแสดงว่าพวกเขาได้ก้าวเข้าสู่ความเป็นผู้ใหญ่หลังจากที่ผ่านพ้นอายุ 13 ปีไปแล้ว ในวันสะบาโตต่อมา เขาจะต้องอ่านพระคัมภีร์ที่สถานที่นมัสการ และมีโอกาสที่จะได้แสดงสุนทรพจน์ทางศาสนา ในวันนี้จะมีการให้ของขวัญแก่ผู้ที่อายุครบ 13 ปี

10.    พิธีแต่งงาน (Kiddushin)

    พิธีแต่งงานของยิวเรียก ”คิดดูชิน”Ž จัดว่าเป็นพิธีที่มีความสำคัญมาก เพราะเป็นการเพิ่มผลผลิตตามเจตจำนงของพระผู้เป็นเจ้า และเป็นการสัญญาระหว่างคน 2 คน ที่จะใช้ชีวิต ร่วมกันอย่างซื่อสัตย์ ฉะนั้นจึงต้องมีสักขีพยาน และมอบของมีค่าคือแหวน เพื่อเป็นพยานรักโดยเจ้าบ่าวเป็นผู้ให้แก่เจ้าสาว จากนั้นจึงดื่มไวน์ร่วมแก้วเดียวกัน เสร็จแล้วเจ้าสาวจะทุบแก้ว และมอบเอกสารการแต่งงานให้เจ้าบ่าว

11. พิธีไว้ทุกข์

     พิธีนี้เริ่มตั้งแต่ทำศพผู้ตายให้สะอาดแล้วแต่งตัวด้วยชุดขาว จากนั้นนำไปทำพิธีศพ ให้เร็วที่สุดจึงจะไว้ทุกข์ 7 วันหลังจากทำพิธีฝังศพแล้ว ผู้ไว้ทุกข์จะต้องนั่งสงบเสงี่ยมภายในบ้าน ยกเว้นวันสะบาโตจะต้องไปสถานที่นมัสการเพื่อสวดมนต์ บางแห่งอาจจะไว้ทุกข์อีก 11 เดือนในการฝังศพนี้จะมีการสลักชื่อบนป้ายหินในสุสาน เพื่อระลึกถึงผู้ตาย และเมื่อครบรอบทุกปี ญาติพี่น้องจะต้องไปที่สุสานของผู้ตายเพื่อสวดมนต์ให้

12. พิธีสวดมนต์

     พวกยิวสวดมนต์ 3 เวลา คือ เวลาเช้า เวลาบ่าย และเวลาเย็น ซึ่งอาจจะสวดที่ใด ก็ได้ เพื่อผูกจิตของตนให้แนบแน่นกับพระเจ้า

 

9. นิกายในศาสนา

ศาสนายิวมีนิกายที่สำคัญ 4 นิกาย ดังนี้

    1. นิกายออร์ทอดอกซ์ เป็นพวกหัวเก่า ถือคัมภีร์โทราห์ หรือกฎบัญญัติ ได้แก่ คัมภีร์ 5 เล่มแรกของพันธสัญญาเดิม นิกายนี้เคร่งครัดมาก ปฏิบัติตามตัวหนังสือ และพวกนี้เชื่อว่าอิสราเอลเป็นมาตุภูมิของตน

   2. นิกายปฏิรูป เป็นนิกายที่นับถือกันในหมู่ปัญญาชนสมัยใหม่ นิยายนี้มีความเห็นว่า คัมภีร์และกฎหมายต่างๆ อาจปรับปรุงแก้ไขได้ ไม่ใช่ถือกันตามตัวหนังสือในคัมภีร์ ต้องมีการปรับปรุงแก้ไขให้เข้ากับชีวิตและความเป็นไปของสังคมในปัจจุบัน กฎอันใดที่ ไม่เหมาะกับสังคมสมัยใหม่ก็ควรยกเลิกเสีย พิธีกรรมต่างๆ ทำกันอย่างรวบรัด นิกายนี้เชื่อว่า ศาสนายิวต้องเป็นศาสนาสากลของโลก นิกายนี้ไม่เชื่อเรื่องการเสด็จมาของพระเมสสิอาห์ และการสร้างประเทศอิสราเอลใหม่

    3. นิกายอนุรักษŒนิยม เป็นนิกายที่ประนีประนอมความคิดระหว่าง 2 นิกายแรก โดยถือศาสนายิวเป็นแก่นแท้ของชีวิตชาวยิวทุกคน ต้องพยายามยึดมั่นในขนบธรรมเนียมและจารีต ประเพณีเก่าๆ ให้มาก แต่ในส่วนที่ล้าสมัยก็อาจปรับปรุงใหม่ได้

    4. นิกายบูรณปฏิสังขรณ์ เป็นนิกายที่แยกมาจากนิกายอนุรักษนิยม เป็นนิกายที่มี หัวรุนแรงมาก เพราะได้รับอิทธิพลจากลัทธิปรัชญาแบบปฏิบัตินิยม และธรรมชาตินิยมในสหรัฐอเมริกา นิกายนี้ถือเรื่องเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็นและความเชื่อได้อย่างเต็มที่

 

10. สัญลักษณ์ของศาสนา

      ศาสนายิวใช้เครื่องหมายเดิม คือ เชิงเทียน 7 กิ่ง แต่ปัจจุบันใช้รูปสามเหลี่ยม ซ้อนกัน 2 รูปเป็นดาว 6 แฉก ซึ่งเป็นตราเครื่องหมายประจำของกษัตริย์เดวิด และเป็นเครื่องหมายในผืนธงชาติอิสราเอลด้วย นอกจากนี้ชาวยิวถือว่ามหาวิหาร ณ กรุงเยรูซาเลม ที่กษัตริย์โซโลมอนทรงสร้างขึ้น ก่อนคริสต์ศักราช 900 ปี เป็นเครื่องหมายศักดิ์สิทธิ์ ขณะนี้เหลือแต่ซากกำแพง เรียกว่า กำแพงร้องไห้ (Wailing Wall) เป็นสถานที่ชาวยิวทั่วโลกต่าง หลั่งไหลกันไปไหว้ ถือว่ากำแพงนี้เป็นสัญลักษณ์แห่งความเป็นเอกภาพของชาวยิว ชาวยิวจะจูบกำแพงนี้แล้วซบศีรษะกับกำแพงร้องไห้ เพื่อรำลึกถึงความยิ่งใหญ่ของชาติยิวในอดีต โดยเฉพาะในวันศุกร์

 

11. ฐานะของศาสนาในปัจจุบัน

    ดังแสดงมาแล้วว่า ศาสนายิวเป็นศาสนาของชนชาวยิว คือมีแต่ชาวยิวเท่านั้นที่นับถือศาสนานี้ จะมีชนชาติอื่นที่นับถือศาสนายิวอยู่บ้าง แต่ก็เพียงเล็กน้อยเท่านั้น อนึ่งชาวยิวก็มิได้มีแต่ในประเทศอิสราเอล หากแต่มีกระจัดกระจายอยู่ทั่วไป ดังนั้นศาสนิกของศาสนายิวจึงมีทั้งในประเทศอิสราเอลและต่างประเทศ ในสหรัฐอเมริกามีประมาณ 5 ล้านคน ในแคนาดา ประมาณ 1 ล้านคน ในทวีปยุโรปประมาณ 3 ล้าน 5 แสนคน และในทวีปเอเชียประมาณ 3 ล้านคน ซึ่งในจำนวนนี้เกือบทั้งหมดอยู่ในประเทศอิสราเอล เพราะฉะนั้นศาสนิกของศาสนายิวจึงมีทั้งหมดประมาณ 12-13 ล้านคน จำนวนศาสนิกของศาสนายิวเพิ่มมากขึ้นทุกปี นับตามการเพิ่มของประชากรยิว และในวงการศาสนายิวดูจะไม่สนใจที่จะเผยแผ่ศาสนายิวให้กว้างขวางออกไปแก่คนภายนอก แต่ดูจะพอใจที่จะเผยแผ่ไปในหมู่ชาวยิวเท่านั้น ดังนั้นจำนวนศาสนิกของศาสนายิวจึงไม่อาจเปรียบเทียบกับจำนวนศาสนิกของศาสนาคริสต์หรือศาสนาอิสลามได้ ทั้งๆ ที่ทั้ง 2 ศาสนาหลังมีกำเนิดมาจากศาสนายิวก็ตาม

 

 


1) องค์การเผยพระคริสต์ธรรม. พระคริสต์ธรรมคัมภีร์ ภาคพันธสัญญาเดิม ฉบับ 1971, 2514 หน้า 17-18.
2) , 3) องค์การเผยพระคริสต์ธรรม. พระคริสต์ธรรมคัมภีร์ ภาคพันธสัญญาเดิม 1971 : ปฐมกาล 2 : 7, 2514 หน้า 18.
4) องค์การเผยพระคริสต์ธรรม. พระคริสต์ธรรมคัมภีร์ ภาคพันธสัญญาเดิม 1971 : ปฐมกาล 2 : 7, 2514 หน้า 25.
5) องค์การเผยพระคริสต์ธรรม. พระคริสต์ธรรมคัมภีร์ ภาคพันธสัญญาเดิม ฉบับ 1971, 2541 หน้า 75-78.
6) องค์การเผยพระคริสต์ธรรม. พระคริสต์ธรรมคัมภีร์ ภาคพันธสัญญาเดิม ฉบับ 1971, 2541 หน้า 100.
7) ดอกบัวขาว. นานาศาสนา, 2507 หน้า 301.
8) องค์การเผยแผ่พระคริสต์ธรรม. พระคริสต์ธรรมคัมภีร์ ภาคพันธสัญญาเดิม ฉบับ 1971, 2514 หน้า 101.
9) จำนงค์ ทองประเสริฐ. ศาสนาสากล, 2520 หน้า 87-88.
10) องค์การเผยแผ่พระคริสต์ธรรม. พระคริสต์ธรรมคัมภีร์ ภาคพันธสัญญาเดิม ฉบับ 1971, 2514 หน้า 356-404.
11) Hopfe. Lewis M. Religion of the World.3rd ed, 1983 p. 329
12) พระคริสตธรรมไทย, สมาคม. พระคริสต์ธรรมคัมภีร์, 1993 หน้า 1360-1946.
13) , 14) องค์การเผยแผ่พระคริสต์ธรรม. พระคริสต์ธรรมคัมภีร์ ภาคพันธสัญญาเดิม ฉบับ 1971 : คัมภีร์ปฐมกาล, 2514 หน้า 1-3.
15) Tiwari Nath Kedar. Comparative Religion} 1983 p. 122-123.
16) Hopfe, Lewis M. Religion of the World. 3rd ed, 1983 p.334.


หนังสือ DF 404 ศาสนศึกษา
กลุ่มวิชาการทำหน้าที่กัลยาณมิตร

 ยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคล Total Execution Time: 0.0012938181559245 Mins