ฆราวาสธรรม คุณสมบัติของผู้ชนะความจน - ความเจ็บ - ความโง่

วันที่ 24 พย. พ.ศ.2559

ฆราวาสธรรม คุณสมบัติของผู้ชนะความจน - ความเจ็บ - ความโง่

สูตรสำเร็จการพัฒนาองค์กรและเศรษฐกิจ , กลุ่มวิชาความรู้ทั่วไปทางพระพุทธศาสนา , DOU , พระพุทธศาสนา , วัดพระธรรมกาย , เรียนพระพุทธศาสนา , หนังสือเรียน DOU , พระโพธิสัตว์ , ความรู้พื้นฐานทางพระพุทธศาสนา , มงคลชีวิต , พุทธวิธี , ฆราวาสธรรม , คุณสมบัติของผู้ชนะความจน - ความเจ็บ - ความโง่

  ความสำเร็จในการสร้างตัวสร้างฐานะไม่ได้ตกลงมาจากท้องฟ้า คนจะสร้างตัวสร้างฐานะได้สำเร็จ ต้องเอาชนะปัญหาความยากจนความเจ็บความโง่ ให้ได้ก่อน โดยอันดับแรกต้องรู้จักสร้างตัวให้ถูกวิธี จึงจะมีคุณสมบัติที่ดีไปใช้ในการสร้างฐานะให้มั่นคง

       พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงให้หลักในการสร้างตัวไว้ว่า

       "บุคคลใดอยู่ครองเรือนประกอบด้วยศรัทธา มี ธรรม 4 ประการนี้ คือสัจจะ ทมะ ขันติ จาคะ บุคคลนั้นแล ละโลกนี้ไปแล้ว ย่อมไม่เศร้าโศก"

      จากพุทธพจน์บทนี้ ย่อมแสดงให้เห็นว่า ผู้ที่จะมีชีวิตไม่เศร้าโศก คือ เอาชนะความจน-ความเจ็บ-ความโง่ได้นั้น ต้องประกอบด้วย คุณสมบัติ 2 ประการ

1. เป็นผู้มีศรัทธาในการดำเนินชีวิต
2. เป็นผู้มีฆราวาสธรรม คือสัจจะ ทมะ ขันติ จาคะ


2.1 ใครคือผู้มีศรัทธา
         พระสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสว่าการดำเนินชีวิตของผู้ครองเรือนที่ถูกต้องนั้น ต้องดำเนินชีวิตด้วยศรัทธา

         ศรัทธา แปลว่า ความเชื่อมั่น ความไว้วางใจ

         ศรัทธา มี 2 ความหมายดังนี้

       นัยที่ 1  ศรัทธา คือ ความไว้วางใจในพระปัญญาธิคุณ พระบริสุทธิคุณ และพระมหากรุณาธิคุณของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า

     นัยที่ 2  ศรัทธา คือ ความเชื่อมั่นในพระธรรมคำสอนของพระพุทธองค์ว่าถูกต้องจริงดีจริง และเป็นประโยชน์จริง จึงลงมือปฏิบัติตามด้วยความเต็มใจ

       ศรัทธาเบื้องต้น เกิดขึ้นจากการได้ฟังธรรมและเกิดความเข้าใจถูกต้องตามความเป็นจริงในเรื่องโลกและชีวิต 10 ประการ ได้แก่

1) ทานที่ให้แล้วมีผล
2) ยัญที่บูชาแล้วมีผล
3) การสังเวยที่บวงสรวงแล้วมีผล
4) ผลวิบากของกรรมที่ทำดีทำชั่วแล้วมีผล
5) โลกนี้มี
6) โลกหน้ามี
7) แม่มีพระคุณ
8) พ่อมีพระคุณ
9) สัตว์ที่เกิดแบบโอปปาติกะมีจริง
10) พระอรหันต์ผู้หมดกิเลสดำเนินไปชอบ และสอนให้ผู้อื่นหมดกิเลสมีจริง

     ผู้ที่มีความเข้าใจถูกต้องในเรื่องโลกและชีวิตทั้ง 10 ประการนี้ เรียกว่า "ผู้มีศรัทธาเบื้องต้น" หรือเรียกอีกอย่างว่า "ผู้มีสัมมาทิฏฐิเบื้องต้น"


2.2 การดำเนินชีวิตของผู้มีศรัทธา
      ผู้มีศรัทธาย่อมดำเนินชีวิตไปตามความเข้าใจถูกในเรื่องโลกและชีวิต 10 ประการ ที่เรียกว่าสัมมาทิฏฐิเบื้องต้น ดังนี้

       สัมมาทิฏฐิข้อที่ 1 ทานที่ให้แล้วมีผล

      1) ความหมายและขอบเขตของทาน
      คำว่า "ทาน" ในสัมมาทิฏฐิระดับต้น หมายถึง การแบ่งปัน คนเราจะมีชีวิตอยู่ได้ต้องอาศัยปัจจัย 4 คือ ที่อยู่อาศัย อาหาร เสื้อผ้า และยารักษาโรค รองลงมาก็เป็นอุปกรณ์ต่างๆ ที่จำเป็นต่อการทำมาหากิน

       แบ่งปันขั้นพื้นฐานจึงมีอยู่ 3 อย่าง คือ

1. ปันกันอยู่
2. ปันกันกิน
3. ปันกันใช้

       2) ทำไมจึงต้องแบ่งปันกัน
    จุดมุ่งหมายสำคัญเพื่อป้องกันความคิดโลภ และแสดงพฤติกรรมไร้น้ำใจ อันจะนำไปสู่การผิดศีลและผิดกฎหมาย การแบ่งปันอย่างถูกวิธีจึงเป็นไปเพื่อ

1) ป้องกันการอยู่แบบตัวใครตัวมัน
2) ป้องกันปัญหามือใครยาวสาวได้สาวเอาของผู้มีความรู้ความสามารถมากกว่า
3) ป้องกันการเอาเปรียบ เบียดเบียนผู้ด้อยกว่า
4) ป้องกันการกักตุนสินค้าจำเป็นไว้กอบโกยประโยชน์ โดยไม่คำนึงถึงความเดือดร้อนของสังคม

     ประโยชน์ของการแบ่งปันในสังคม ย่อมทำให้เกิดมิตรภาพของความเอื้ออาทร หากแม้จะมีความขัดแย้งในสังคม ก็ง่ายต่อการประนีประนอม เพราะมีความเป็นมิตรต่อกัน ดังที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสว่า ผู้ให้ย่อมผูกมิตรไว้ได้

     สาระสำคัญของสัมมาทิฏฐิข้อที่ 1 ที่ว่า ทานที่ให้แล้วมีผล คือ มีผลให้เราสามารถป้องกันและกำจัดความตระหนี่ และความเห็นแก่ตัวออกจากใจได้ ขณะเดียวกันก็เป็นการเพิ่มพูนความปรารถนาดีต่อกันและกันระหว่างผู้ให้และผู้รับ


สัมมาทิฏฐิข้อที่ 2 ยัญที่บูชาแล้วมีผล

       1) ความหมายของการบูชายัญ
    คำว่า "บูชายัญ" ตามนัยที่กล่าวนี้หมายถึงสังคมสงเคราะห์ คือ การให้ความช่วยเหลือกลุ่มชนในสังคมที่ประสบปัญหาทางกายภาพ ปัญหาทางเศรษฐกิจ หรือปัญหาจากภัยธรรมชาติ เป็นต้น เพื่อช่วยเหลือกลุ่มบุคคลเหล่านี้อย่างน้อย 3 ประการ คือ

1. ให้สามารถมีชีวิตอยู่ได้
2. ให้โอกาสได้รับการศึกษาพันาให้เป็นพลเมืองดีของชาติ
3. สามารถแก้ปัญหาเร่งด่วนที่ตนกำลังเผชิญอยู่ได้สำเร็จ

       นอกจากนี้ยังมีสมณพราหมณ์ คือ พระภิกษุสงฆ์ที่ทำหน้าที่เผยแผ่ธรรมะ เป็นครูสอนศีลธรรมให้สังคม ให้ตั้งอยู่ในสัมมาทิฏฐิ ซึ่งท่านจำเป็นต้องอาศัยจตุปัจจัยจากญาติโยม เพื่อให้ปลอดกังวลและมีเวลาในการศึกษา ประพฤติปฏิบัติธรรม และเผยแผ่ศีลธรรมแก่คนในสังคม

      การศึกษาในสถาบันต่างๆ มุ่งเน้นในด้านวัตถุเพื่อการประกอบอาชีพ แต่ขาดการมุ่งพัฒนาในด้านจิตใจ หากสังคมขาดครู อนศีลธรรม คนในสังคมก็จะมีแต่ความเป็นมนุษย์ทางกายเท่านั้น ด้วยเหตุนี้การสงเคราะห์สมณพราหมณ์ผู้ประพฤติปฏิบัติดีปฏิบัติชอบ จึงเป็นหน้าที่รับผิดชอบของทุกคน

       สาระสำคัญของสัมมาทิฏฐิข้อ 2 ที่ว่า ยัญที่บูชาแล้วมีผล คือ มีผลช่วยให้ตนเองสามารถป้องกันและกำจัดความโลภได้อย่างกว้างขวางและยั่งยืนขึ้น ขณะเดียวกันก็สามารถเพิ่มพูนความรักความปรารถนาดีต่อมวลมนุษย์ที่อยู่ร่วมโลกเดียวกันให้กว้างขวางยิ่งๆ ขึ้น


สัมมาทิฏฐิข้อที่ 3 การสังเวยที่บวงสรวงแล้วมีผล

         1) ความหมายของการสังเวยและบวงสรวง
       ผู้คนส่วนมากเห็นคำว่าสังเวยและบวงสรวงแล้ว ก็มักจะนึกถึงพิธีเซ่นสังเวยผีตามแนวไสยศาสตร์ พิธีไหว้เจ้า หรือเซ่นตามธรรมเนียมจีน

       ในพระพุทธศาสนา หมายถึง การนำสิ่งของที่สมควรไปสักการะ หรือมอบให้ผู้ที่ควรบูชามีผลดีจริง ควรทำอย่างยิ่ง

       บุคคลที่ควรบูชาก็คือ บุคคลที่เคยประกอบคุณงามความดีมาแล้วทั้งแก่เราและผู้อื่นแบ่งออกได้เป็น 4 กลุ่ม คือ

1. บุคคลที่มีคุณต่อตัวเราโดยตรง และท่านยังมีชีวิตอยู่ เช่น มารดา บิดา ครูอาจารย์ เป็นต้น
2. บรรพบุรุษและญาติมิตรผู้ล่วงลับไปแล้ว
3. บุคคลที่มีศีลธรรมสูงส่ง เป็นแบบอย่างที่ดีของสังคม
4. สมณพราหมณ์ผู้ประพฤติดี ปฏิบัติชอบ มุ่งมั่นพัฒนาสังคม

        2) จุดมุ่งหมายของการบูชาบุคคลที่ควรบูชา

1. เพื่อแสดงความกตัญูกตเวทีแก่ผู้ที่เคยมีพระคุณ
2. เพื่อแสดงการยอมรับนับถือ ยกย่อง บุคคลที่มีคุณงามความดี
3. เพื่อประกาศเกียรติคุณของท่านนั้นๆ ให้โลกรู้ และยึดถือเป็นแบบอย่าง
4. เพื่อสร้างค่านิยมที่ถูกต้องให้แก่สังคม
5. เพื่อป้องกันตนเองไม่ให้คอยจับผิด คิดอิจฉาริษยาผู้อื่น

       สาระสำคัญของสัมมาทิฏฐิข้อ 3 ที่ว่า การเซ่น รวงมีผล คือ มีผลดีในการส่งเสริมให้ทุกผู้คนในสังคมยึดถือธรรมเป็นใหญ่ มีจิตผ่องใสเกิดกำลังใจในการทำความดีให้ยิ่งๆ ขึ้นไปก่อให้เกิดความสามัคคีของคนในสังคม


สัมมาทิฏฐิข้อที่ 4 ผลวิบากของกรรมที่ทำดี ทำชั่วแล้วมีผล
        1) ความหมายของผลวิบากกรรมของกรรมที่ทำดี ทำชั่ว

        คำว่า "กรรม" ในพระพุทธศาสนา แปลว่า การกระทำโดยเจตนา นั่นคือ การกระทำทางกาย วาจา และใจ ที่เกิดจากความตั้งใจ

         กรรมดี หมายถึง การกระทำที่ดีงาม เหมาะสม ไม่ผิดศีล ไม่ผิดธรรม ไม่มีบาป

         กรรมชั่ว หมายถึง การกระทำที่ผิดศีล ผิดธรรม ก่อให้เกิดบาป

        2) เกณฑ์ในการตัดสินกรรมดี กรรมชั่ว

        1. พิจารณาที่ผลสุดท้ายของการกระทำ ดังที่พระพุทธองค์ตรัสว่า "บุคคลทำกรรมใดแล้ว ไม่เดือดร้อนในภายหลัง มีจิตแช่มชื่นเบิกบานได้รับผลกรรมใด กรรมที่ทำแล้วนั้นเป็นกรรมดีบุคคลทำกรรมใดแล้ว ย่อมเดือดร้อนในภายหลัง และมีหน้านองด้วยน้ำตาร้องไห้อยู่ ได้รับผลกรรมใด กรรมที่ทำแล้วนั้นเป็นกรรมชั่ว"

      2. พิจารณาที่ต้นเหตุของการกระทำ ดังที่พระพุทธองค์ตรัสว่า "กรรมที่บุคคลทำด้วยอโลภะ อโทสะ อโมหะ กรรมนั้นเป็นกุศลกรรม ไม่มีโทษ กรรมนั้นมีผลเป็นสุข กรรมใดที่บุคคลทำด้วย โลภะ โทสะ โมหะ กรรมนั้นเป็นอกุศลกรรมมีโทษ กรรมนั้นมีผลเป็นทุกข์"

        สาระสำคัญของสัมมาทิฏฐิข้อ 4 ที่ว่า ผลวิบากของกรรมที่ทำดี ทำชั่ว มีผล คือ ไม่ว่ากาลไหนๆ ในที่สุดแล้ว บุคคลทำดีต้องได้ดีจริง บุคคลทำชั่วต้องได้ชั่วจริง


สัมมาทิฏฐิข้อที่ 5 โลกนี้มี
        1) ความหมายและขอบเขตของโลกนี้
       ตามพระพุทธศาสนา คำว่า โลก มีความหมายกว้างมาก ความหมายอย่างแคบ ยังครอบคลุม 3 เรื่อง ซึ่งมีศัพท์เฉพาะตามความหมายในตัวเอง คือ

1.สังขารโลก หมายถึงสังขารร่างกายของคนและสัตว์ทั้งหลาย อันประกอบด้วยกายกับใจ
2.สัตวโลก หมายถึง หมู่สัตว์ที่มีชีวิตทั้งปวงนอกจากตัวเราเอง เช่น มวลมนุษย์ และสัตว์ดิรัจฉานต่าง ๆ เป็นต้น
3. โอกาสโลก หมายถึง สถานที่ที่สัตวโลกได้อาศัยเป็นที่อยู่ เป็นที่ทำมาหากินและเป็นที่สร้างกรรมดีและชั่ว ซึ่งได้แก่ ผืนดิน ผืนน้ำ ผืนฟ้า นั่นเอง

        2)สาระสำคัญของโลกนี้ ที่ทุกคนต้องทำความเข้าใจให้ถูกต้องถ่องแท้มีอยู่อย่างน้อย 4 ประการ คือ

1. โลกนี้มี หมายความว่า การที่เรามีรูปร่างหน้าตา ฐานะทางความเป็นอยู่สติปัญญาและนิสัย นับตั้งแต่ถือกำเนิดมา เป็นผลมาจากกรรมดีหรือกรรมชั่วที่เราทำไว้เองในอดีตชาติเป็นเหตุสำคัญอย่างหนึ่ง
2. โลกนี้มีความไม่แน่นอน คือ เปลี่ยนแปลงอยู่เสมอ ไม่จีรังยั่งยืน ไม่คงที่
3. โลกนี้มีคุณ เพราะเป็นแหล่งสำหรับสร้างบุญกุศลอันประเสริฐเพียงแหล่งเดียว
4. โลกนี้มีเวลาจำกัด คือ ความตายเป็นตัวจำกัดเวลาแห่งการมีชีวิตของคนเรา

     สาระสำคัญของสัมมาทิฏฐิข้อ 5 ที่ว่าโลกนี้มีคุณเป็นอย่างยิ่ง เหมาะสำหรับใช้สร้างบุญบารมี แต่มีเวลาให้ใช้จำกัด จึงต้องรีบใช้ ใช้อย่างชาญฉลาด ใช้ให้เต็มกำลัง และทะนุถนอมจึงจะคุ้มค่า ที่ได้มาเกิดในโลกนี้


สัมมาทิฏฐิข้อที่ 6 โลกหน้ามี
       1) ความหมายของโลกหน้ามี
        คำว่า "โลกหน้า" มีความหมาย 2 ประการ คือ

      1. ชีวิตหลังความตาย หมายความว่า เมื่อคนเรา รวมทั้งสัตวโลกทั้งมวล ตายแล้วไม่สูญหมด จะสูญสิ้นก็แต่เฉพาะร่างกายซึ่งถูกเผาหรือถูกฝังลงดินส่วนใจยังไม่สูญ ตราบใดที่ใจยังมีกิเลสจะต้องไปเกิดมีชีวิต อาศัยในร่างกายใหม่ต่อไปอีก

      2. สถานที่สถิตของชีวิตหลังความตาย เป็นเรื่องที่แน่นอนว่า เมื่อมีการถือกำเนิดของชีวิตก็จำเป็นต้อง ถานที่รองรับชีวิตนั้น

สาระสำคัญของสัมมาทิฏฐิข้อ 6 ที่ว่าโลกหน้ามี คือ โลกหน้ามีจริงตายแล้วไม่สูญความเป็นไปของโลกหน้าเป็นผลของกรรมดีหรือกรรมชั่วที่เราทำเอาในโลกนี้เป็นหลัก เราทุกคนจึงต้องไม่ประมาท


สัมมาทิฏฐิข้อที่ 7 มารดามี
        1) ความหมายของมารดามี
     คำว่า "มารดามี" มีความหมายว่า มารดามีพระคุณต่อบุตร แม้ชาวพุทธโดยทั่วไปจะตระหนักว่ามารดามีพระคุณต่อตนอย่างใหญ่หลวง ถึงกับมีถ้อยคำอุปมาอุปไมยมาเป็นเวลาช้านานแล้วว่า ถ้าจะให้โลกคือแผ่นดินแทนปากกา จุ่มน้ำในมหาสมุทรแทนน้ำหมึก เขียนพรรณนาพระคุณของแม่ บนแผ่นฟ้าซึ่งใช้แทนกระดาษ จนกระทั่งน้ำในมหาสมุทรเหือดแห้งไปหมด ก็จะยังสามารถประกาศพระคุณของแม่ได้ครบถ้วนสมบูรณ์

    อย่างไรก็ตาม ความรู้สึกกตัญูขนาดนี้ก็ถือว่า ยังเป็นความเข้าใจถูกในระดับผิวเผินเท่านั้นเพราะมองเห็นเพียงแต่ว่า มารดาต้องเหนื่อยยากลำบาก ประคบประหงมเลี้ยงดูบุตรตั้งแต่ยังเป็นทารกอยู่ในครรภ์ กว่าจะเลี้ยงลูกแต่ละคนจนเติบใหญ่สามารถทำมาหากินเลี้ยงชีวิตได้ด้วยตนเองนั้น มารดาต้องเหนื่อยยากอยู่แสนนาน แท้ที่จริง พระคุณอันยิ่งใหญ่ของมารดาตามนัยที่พระพุทธองค์ตรัสว่า "มารดามี" นั้นหมายถึง พระคุณของมารดาที่มีต่อบุตรซึ่งอาจสรุปได้เป็น 3 ประการหลักคือ

1. ให้ชีวิตแก่บุตร
2. ให้ต้นแบบร่างกายที่เป็นมนุษย์ ซึ่งเหมาะกับการทำความดีด้วยประการทั้งปวง ไม่มีสัตว์โลกชนิดใดๆ เทียบเทียมได้ แม้เทวดาก็สู้ไม่ได้
3. ให้ต้นแบบจิตใจที่เป็นมนุษย์

    สาระสำคัญของสัมมาทิฏฐิข้อ 7 ที่ว่ามารดามี คือ มารดามีพระคุณต่อบุตรอย่างยิ่งบุตรทุกคนต้องตั้งใจตอบแทนพระคุณท่าน ให้เต็มความรู้ความสามารถของตน


สัมมาทิฏฐิข้อที่ 8 บิดามี
        1) ความหมายของบิดามี

     บิดามี ความหมายว่า บิดามีพระคุณต่อบุตรจริง พระคุณอันยิ่งใหญ่ของบิดาก็ทำนองเดียวกับของมารดานั่นเอง คือ

1. ให้ชีวิต
2. เป็นต้นแบบทางกาย
3. เป็นต้นแบบทางใจ

     เนื่องจากมารดาต้องอุ้มครรภ์อยู่เป็นเวลานานถึง 9 เดือน 10 เดือน ทำให้บางคนมองว่ามารดามีพระคุณมากกว่าบิดา จึงมักจะมีคำถามว่าพ่อกับแม่ใครมีพระคุณมากกว่ากัน 

      ในแง่ของการให้กำเนิดนั้น ตอบได้ว่า มีเสมอกัน เพราะถ้าไม่มีพ่อแม่ก็มีลูกไม่ได้ แต่พ่อที่ไม่ได้ทำหน้าที่อบรมเลี้ยงดูลูก ย่อมไม่เป็นต้นแบบทางใจให้แก่ลูก

      บุคคลที่สามารถตรองเห็นพระคุณของแม่ ย่อมมีใจสว่าง เกิดปัญญา ตรองเห็นพระคุณของพ่อตามมาได้โดยง่าย

         สาระสำคัญของสัมมาทิฏฐิข้อ 8 ที่ว่าบิดามี คือ บิดามีพระคุณต่อบุตรอย่างยิ่ง เช่น เดียวกับมารดา


สัมมาทิฏฐิข้อที่ 9สัตว์ที่เป็นโอปปาติกะมี
        1) ความหมายของสัตว์ที่เป็นโอปปาติกะ
      อุปปาติกะหรือโอปปาติกะ หมายถึงสัตวโลกที่ผุดขึ้นโดยไม่ต้องอาศัยพ่อแม่ แต่อาศัยกรรมในอดีต เช่น เทวดา พรหมสัตว์นรก เปรต และอสุรกาย

         ความรู้เรื่องกำเนิด 4 จะทำให้เกิดความเข้าใจเรื่องโอปปาติกะได้ไม่ยาก

         พระพุทธศาสนาอธิบายว่า การเกิดของสัตวโลกแบ่งออกเป็น 4 ประเภท เรียกว่า กำเนิด 4 คือ

        1. อัณฑชะกำเนิด คือ เกิดในฟองหรือจากฟอง เช่น ไก่ นก เป็นต้น

      2. ชลาพุชะกำเนิด คือ เกิดในครรภ์ หรือจากครรภ์ ได้แก่สัตว์ที่เลี้ยงลูกด้วยน้ำนมเป็นส่วนมาก เช่น คนสุนัข เป็นต้น

     3.สังเสทชะกำเนิด คือ เกิดในสิ่งโสโครก หรือจากสิ่งโสโครกในซากศพบูดเน่าในน้ำเน่า อาหารบูดเน่า ได้แก่ จุลินทรีย์สัตว์เซลล์เดียวชนิดต่างๆ เป็นต้น

      4. โอปปาติกะกำเนิด คือสัตว์ที่เกิดผุดขึ้นโดยไม่ต้องอาศัยพ่อแม่ แต่อาศัยผลกรรมในอดีตได้แก่ เทวดา พรหมสัตว์นรก เปรต อสุรกาย และเมื่อเกิดแล้วก็โตทันที

       กำเนิด 3 ประเภทแรก เป็นเรื่องเข้าใจง่ายสำหรับผู้คนโดยทั่วไป เพราะเป็นเรื่องจริงที่ได้รู้ได้เห็นกันในชีวิตประจำวันส่วนกำเนิดในข้อ 4 นั้น ไม่สามารถมองเห็นได้ด้วยตาเปล่าและปัจจุบันยังไม่มีเครื่องมือวิทยาศาสตร์ใดๆ ให้ส่องดูได้ กระนั้นก็ตาม ผู้ที่มีใจ ว่างสามารถตรองหาเหตุผลจนเกิดความเข้าใจถูกทั้ง 8 ข้อ ดังที่ผ่านมาแล้ว ถ้าได้รับการอธิบายชี้แนะที่เหมาะสมจากผู้มีธรรม ก็สามารถตรองตามและเกิดความเข้าใจได้โดยไม่ยากนัก

      เช่นกรณีของผึ้งกับแมลงวัน แมลงทั้งคู่มีการเสพคุ้นต่างกัน ถ้านำมาขังไว้ในที่เดียวกันสักระยะหนึ่ง แล้วปล่อยออกไป แมลงทั้ง องตัวก็จะแยกกันไปสู่ ณ ที่ที่มันเสพคุ้น แมลงผึ้งย่อมบินไปหาน้ำหวานตามดอกไม้ส่วนแมลงวันย่อมบินไปสู่ที่ กปรกโ โครก

       คนดีนั้นเปรียบได้กับผึ้ง คิดสร้างแต่กรรมดีจนคุ้นเป็นนิสัยส่วนคนเลวนั้นเปรียบได้กับแมลงวัน คือ ชอบทำแต่กรรมชั่วเป็นอาจิณ เมื่อละโลกนี้ไปแล้วย่อมไปในร่างที่เหมาะสม กับกรรมดีกรรมชั่วที่ตนเองได้ทำไว้

       สาระสำคัญยิ่งของสัมมาทิฏฐิข้อที่ 9 ก็คือ โอปปาติกะมีจริง นรกและ วรรค์ซึ่งเป็นที่เกิดที่อยู่ของเหล่าโอปปาติกะก็มีจริง ทั้งนรกและ วรรค์ต่างอยู่พ้นจากโลกมนุษย์ และสายตามนุษย์แต่ยังไม่พ้นการเวียนว่ายตายเกิด ไม่พ้นจากอำนาจกิเลสและไม่พ้นทุกข์


สัมมาทิฏฐิข้อที่ 10 สมณพราหมณ์ทั้งหลาย ผู้ดำเนินไปชอบ ปฏิบัติชอบ
       ซึ่งประกาศโลกนี้โลกหน้าให้แจ่มแจ้ง เพราะรู้ยิ่งด้วยตนเอง มีอยู่ในโลก
       1) ความหมายและขอบเขต
        ประการแรก สมณพราหมณ์ท่านนั้นๆ ย่อมหมายถึง พระอรหันต์

        ประการที่สอง ประกาศโลกนี้โลกหน้าให้แจ่มแจ้ง ย่อมหมายถึง ความรู้แจ้งในสังสารวัฏ คือ การเวียนว่ายตายเกิดนั่นเอง

        ประการที่สามสาเหตุที่ท่านรู้ยิ่งด้วยตนเอง ก็เพราะท่านตั้งใจทุ่มเทประพฤติดี ปฏิบัติชอบด้วยการละกรรมชั่วทั้งปวง ทำกรรมดีให้ถึงพร้อม และทำใจให้ผ่องใสอย่างไม่ลดละ ถึงขั้นสว่างโพลงเกิดทิพยจักษุ ธรรมจักษุหรือญาณทัสสนะไปตามลำดับ จนสามารถรู้แจ้งโลกนี้โลกหน้า ได้ด้วยตนเอง รู้วิธีประกาศโลกนี้โลกหน้า เป็นกัลยาณมิตรแก่ชาวโลก

     สาระสำคัญของสัมมาทิฏฐิข้อ 10 ที่ในโลกนี้ สมณพราหมณ์ทั้งหลายผู้ดำเนินไปชอบปฏิบัติชอบซึ่งประกาศโลกนี้โลกหน้าให้แจ่มแจ้ง เพราะรู้ยิ่งด้วยตนเองในโลกนี้มีอยู่ หมายความว่าพระสัมมาสัมพุทธเจ้าตลอดจนพระอรหันต์ ผู้สามารถรู้แจ้งโลกนี้โลกหน้า ด้วยวิริยอุตสาหะยิ่งของท่านเองมีจริงท่านเหล่านั้นเปียมล้นด้วยมหากรุณา ได้ ละชีวิตบำเพ็ญตนเป็นกัลยาณมิตรให้แก่ชาวโลกเสมอมา

        สรุป ผู้มีศรัทธาย่อมดำเนินชีวิตอย่างผู้มีสัมมาทิฏฐิเบื้องต้น 10 ประการ ทำให้เป็นผู้มีปัญญาตัดสินใจเรื่องราวต่างๆ ในโลกและชีวิตได้ถูกต้องตามความเป็นจริงว่า อะไรถูกผิดอะไรดีชั่ว อะไรบุญบาป อะไรควรไม่ควรทำ เป็นเหตุให้คิดดี พูดดี และทำดีได้อย่างถูกต้องส่งผลให้กำจัดความทุกข์ในชีวิตได้จริง และมีแต่ความสุขความเจริญในชีวิต


 


GB 304 สูตรสำเร็จการพัฒนาองค์กรและเศรษฐกิจ
กลุ่มวิชาความรู้ทั่วไปทางพระพุทธศาสนา

 ยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคล Total Execution Time: 0.0018397013346354 Mins