ทำอย่างไรจึง "มีปัญญา"

วันที่ 15 ธค. พ.ศ.2559

ทำอย่างไรจึง "มีปัญญา"

สูตรสำเร็จการพัฒนาองค์กรและเศรษฐกิจ , กลุ่มวิชาความรู้ทั่วไปทางพระพุทธศาสนา , DOU , พระพุทธศาสนา , วัดพระธรรมกาย , เรียนพระพุทธศาสนา , หนังสือเรียน DOU , พระโพธิสัตว์ , ความรู้พื้นฐานทางพระพุทธศาสนา , มงคลชีวิต , พุทธวิธี , ทำอย่างไรจึง "มีปัญญา" , มีปัญญา , ปัญญา

การเป็นคนมีปัญญามีวิธีการดังนี้

1) ความสำคัญของปัญญา
      ปัญญา คือสิ่งที่ทำให้ตนเองและผู้อื่นพ้นจากภัยทั้งในปัจจุบัน และภัยในอนาคตทั้งยังเป็นเหตุในการทำให้ชีวิตก้าวไปสู่ความเจริญรุ่งเรือง การที่บุคคลใดบุคคลหนึ่งจะมีความก้าวหน้าในชีวิตนอกจากต้องมีความอดทนแล้ว ต้องมีปัญญาเป็นส่วนประกอบด้วย เพราะการมีปัญญานั้นจะเป็นเครื่องมือที่ช่วยให้เรามีช่องทางในการแสวงหาสิ่งที่เป็นประโยชน์ให้กับตัวเองามารถแยกแยะได้ว่าสิ่งใดถูกสิ่งใดผิดสิ่งใดควรทำสิ่งใดไม่ควรทำ อะไรที่เป็นหนทางไปสู่ความเสื่อม และอะไรที่เป็นหนทางไปสู่ความเจริญ ดังนั้นปัญญาย่อมเป็นสิ่งที่ขาดไม่ได้สำหรับชีวิต


2) ต้นแบบในการสร้างปัญญา
    การที่บุคคลใดจะสามารถมีปัญญาที่เพิ่มพูนขึ้นได้นั้น ต้องรู้จักที่จะหาบุคคลมาเป็นต้นแบบของการสร้างปัญญา เพราะตัวของเราไม่สามารถรู้ได้ว่าสิ่งที่เรารู้มานั้นเป็นสิ่งที่ถูกต้อง หรือสมบูรณ์พร้อมแล้วหรือยัง และเราก็ยังไม่สามารถที่จะเข้าใจหรือรู้สิ่งต่างๆ ได้ทั้งหมดด้วยตัวของเราเองได้ ดังนั้นการที่เราจะได้ปัญญานั้นต้องมีต้นแบบ ซึ่งเป็นสิ่งที่สำคัญที่สุด และต้นแบบนั้นก็คือ ครูบาอาจารย์ของเรานั่นเอง

        ต้นแบบในการสร้างปัญญาที่ดีที่สุดก็คือ บัณฑิต และบัณฑิตที่สมบูรณ์ที่สุด ก็คือพระสัมมาสัมพุทธเจ้า

     ในปัจจุบันนี้แม้ว่าเรายังไม่พบพระสัมมาสัมพุทธเจ้า เราก็สามารถแสวงหาปัญญาได้จากพระธรรมคำสอนของพระองค์ที่ยังหลงเหลือไว้ โดยผ่านพระสงฆ์ที่เป็นผู้เก็บรักษาและถ่ายทอดคำสอนของพระองค์

      นอกจากนี้บุคคลที่เรา มควรนำมาเป็นต้นแบบก็คือ บัณฑิต เพราะ บัณฑิต คือผู้ที่ดำเนินชีวิตด้วยปัญญา นอกจากนี้เราต้องแสวงหาความรู้ต่างๆ จากผู้รู้ที่รู้จริงในเรื่องนั้นๆ ที่เราต้องการจะศึกษามาเป็นต้นแบบ ซึ่งอาจจะยังไม่สมบูรณ์พร้อม เราก็ควรใช้หลักที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าให้ไว้มาไตร่ตรองก่อนด้วยว่า เราควรที่จะนำเรื่องใดมาปฏิบัติ เรื่องใดที่ไม่ควรนำมาปฏิบัติตาม


3) วิธีการสร้างปัญญา
        เราสามารถสร้างปัญญาให้เกิดขึ้นในตัวของเรา โดยวิธีการในการสร้างปัญญา คือ

        3.1) การฟัง คือ เราต้องรู้จักเลือกฟังสิ่งที่เป็นสาระ และรู้จักการจับสิ่งที่เป็นสาระสำคัญในเรื่องที่ฟังให้ได้

        3.2) การอ่าน คือ การรู้จักเลือกสื่อที่เราจะศึกษา นำมาอ่านเพื่อให้เราได้เข้าใจในเรื่องนั้นๆ มากขึ้น เพราะข้อมูลที่ถูกถ่ายทอดออกมาเป็นตัวอักษร จะผ่านการกลั่นกรองพินิจพิจารณามาอย่างละเอียดรอบคอบมากกว่าการพูด และสิ่งที่ออกมาให้เราได้อ่านนั้นย่อมต้องกลั่นเอาความคิดสติปัญญาของผู้เขียนมาไว้แล้ว ดังนั้นการอ่านจึงเป็นการย่นระยะเวลาในการร้างความรู้ให้กับเราอย่างมากทีเดียว ยิ่งถ้าเราอ่านมากเท่าไหร่ก็เท่ากับว่าเราได้รับสติปัญญาของคนมากยิ่งขึ้นเท่านั้น ดังนั้นการอ่านจึงเป็นสิ่งที่ทำให้เราได้ปัญญาอย่างมหาศาลทีเดียว

     3.3) การคิดพิจารณา คือ การนำความรู้ที่ได้จากการฟังและการอ่านมาพิจารณาด้วยปัญญาของเรา โดยไตร่ตรองจนเกิดความรู้ขึ้นมา และสามารถนำความรู้นั้นไปประยุกต์ใช้กับสถานการณ์ต่างๆ ที่เราต้องเจอได้

       3.4) การนั่งสมาธิ คือ การทำใจหยุดนิ่งที่ศูนย์กลางกายฐานที่ 7 เพื่อปล่อยวางเรื่องราวต่างๆ ที่สร้างความกังวลต่างๆ ออกไปจากใจ เพื่อให้ใจเกิดความสุข ดชื่นภายใน เมื่อใจหยุดนิ่งถูกส่วนย่อมเข้าถึงธรรมะภายใน อันเป็นการสร้างปัญญาที่ทำให้ใจ ว่างและมีความสุขในการคิด พูด ทำอยู่ตลอดเวลา ทำให้ไม่ว่าจะต้องไปประสบพบกับแรงกดดันเพียงไหนใจย่อมมีที่พึ่ง ไม่หวั่นไหวอุปสรรคใดๆ โดยง่าย และทำให้ใจมีคุณภาพในการมองหาทางออกได้สำเร็จ


4) วิธีรักษาปัญญา
      การที่บุคคลจะสามารถสร้างและสั่ง มปัญญาให้เกิดขึ้นในตัวได้นั้นไม่สามารถใช้เวลาเพียงชั่ววินาที บางคนใช้เวลาหลายปี บางคนใช้เวลาทั้งชีวิต หรือแม้แต่ต้องใช้เวลาหลายภพหลายชาติเพื่อสร้างปัญญาให้เกิดขึ้นในตัว ดังนั้นเมื่อเรามีปัญญาแล้วเราก็ต้องรู้จักวิธีรักษาปัญญา เพื่อไม่ให้เวลาที่เราสู้อุตส่าห์ใช้เพื่อเป็นทางมาแห่งปัญญาของเรานั้นต้องเสียเปล่าโดยการไม่มีทิฏฐิมานะ

       เพราะบุคคลใดก็ตามหากเกิดทิฏฐิมานะขึ้นในใจแล้วปัญญาที่มีอยู่ย่อมถูกบดบัง และเมื่อเกิดทิฏฐิมานะขึ้นแล้วสิ่งที่เกิดตามมาก็คือ อคติ 4 พอเกิดอคติขึ้นแล้ว ปัญญาที่มีก็เหมือนไม่มี เพราะไม่เลือกทำตามปัญญาที่เห็น แต่กลับไปทำตามกิเลสที่ อนสุดท้ายก็จะทำให้มีวินิจฉัยผิด คำพูด และการกระทำก็จะผิดไปด้วย และเมื่อทำบ่อยๆ เข้า ในที่สุดปัญญาที่มีก็จะเสื่อมไปทีละน้อยในที่สุดปัญญาที่เคยมีก็จะหมดไป

    การที่จะทำให้สามารถมีสิ่งใดมาบดบังปัญญาของเราได้นั้น เราต้องรู้จักใช้ปัญญาของเราให้เต็มประสิทธิภาพ ทำอะไรก็ทำด้วยความตรงไปตรงมามี ติกำกับอยู่เสมอ เพื่อไม่ให้กิเลสทั้งหลายมาเป็นจุดอ่อนในการทำให้ปัญญาที่เราสั่งสมมาต้องหมดไป


5) วิธีการเพิ่มพูนปัญญา
       การที่เราได้ปัญญาจากการฟัง การอ่าน และการคิดพิจารณานั้น ยังเป็นแค่ปัญญาในทางโลกส่วนปัญญาที่สมบูรณ์นั้นต้องมีปัญญาในทางธรรมด้วย

     ปัญญาในทางธรรมนั้นเกิดจาก การทำภาวนา ซึ่งเป็นปัญญาขั้นสูง จะเกิดจากการทำสมาธิภาวนา จากใจหยุดใจนิ่งเท่านั้น เพราะการทำสมาธิภาวนาจะทำให้เรามีสติ และรู้เห็นสิ่งต่างๆ ไปตามความเป็นจริง ไม่มีกิเลสตัวใดมาบดบังปัญญาที่เกิดจากการทำภาวนาได้ และยิ่งถ้าเราทำสมาธิอย่างสม่ำเสมอ เราก็จะยิ่งมีสติ และมีใจที่มีพลังที่สามารถเอาชนะอำนาจกิเลสในตัวได้ จนสามารถกำจัดกิเลสได้หมดเป็นพระอรหันต์ในที่สุด


6) ประโยชน์ของการทำภาวนา

1. ย่อมมีสุขภาพจิตที่ดี คุณภาพของใจดีขึ้น
2. ส่งเสริมสมรรถภาพของใจ ทำให้คิดอ่านได้รวดเร็ว
3. ทำให้สามารถแยกแยะได้ว่าสิ่งใดมีประโยชน์สิ่งใดไม่มีประโยชน์
4. ทำให้เป็นผู้มีบุคลิกภาพดี ง่าผ่าเผยองอาจในทุกสถานที่
5. ช่วยให้วางตัวได้เหมาะสมกับกาลเทศะ
6. ช่วยคลายเครียด
7. ส่งเสริมประสิทธิภาพในการศึกษาเล่าเรียน หรือการทำงาน
8. ทำให้เป็นผู้มีสัมมาทิฏฐิ เชื่อในกฎแห่งกรรม
9. ทำให้เป็นผู้มีความมักน้อยสงบ และมีความสันโดษ
10. สามารถรักษาปัญญาที่มีอยู่แล้วไว้ได้
11. ย่อมมีปัญญาเจริญงอกงามยิ่งๆ ขึ้นไป
12. สามารถกำจัดกิเลสในตัว จนกระทั่งหมดกิเลสเป็นพระอรหันต์


7) โทษของการไม่ทำภาวนา

1. สุขภาพจิตย่อมไม่สมบูรณ์
2. คิดอ่านอะไรก็เชื่องช้าสมรรถภาพของใจทำงานได้ไม่เต็มความสามารถ
3. ไม่สามารถแยกแยะได้ว่าสิ่งใดมีประโยชน์หรือไม่มีประโยชน์
4. เป็นผู้ไม่องอาจท่ามกลางชุมชน
5. ขาดความมั่นคงทางอารมณ์
6. เมื่อเกิดปัญหาย่อมหาทางออกที่เหมาะสมไม่ได้
7. มักถูกชักชวนไปทำความชั่วได้ง่าย
8. เป็นคนมักโกรธ ไม่รู้จักการควบคุมอารมณ
9. อดทนต่อสิ่งที่มากระทบได้น้อย
10. ปัญญาที่มีอยู่แล้วย่อมเสื่อมไป
11. ไม่สามารถสร้างปัญญาให้เจริญงอกงามขึ้นได้
12. ไม่สามารถคุ้มครองตนให้พ้นจากความชั่วทั้งหลายได้

     บุคคลใดก็ตามแม้ว่าจะมีปัญญาทางโลกมามากมายสักเพียงใด แต่ถ้าขาดปัญญาทางธรรม และการเจริญสมาธิภาวนาแล้ว ย่อมกลับไปตกต่ำได้ เพราะธรรมชาติของใจย่อมไหลไปตามอำนาจกิเลสหากไม่รู้จักฝึกฝนจิตอย่างดีแล้วก็จะไม่สามารถประคับประคองตนให้รอดพ้นจากอำนาจกิเลสได้ ดังนั้นเราจึงควรหมั่นเจริญสมาธิภาวนา เพื่อพัฒนาปัญญาของตนให้รุ่งเรืองยิ่งๆ ขึ้นไป เพื่อสามารถกำจัดกิเลสในตัวได้หมด กระทั่งเป็นพระอรหันต์ นั่นจึงจะถือว่าเป็นปัญญาที่สมบูรณ์

 


GB 304 สูตรสำเร็จการพัฒนาองค์กรและเศรษฐกิจ
กลุ่มวิชาความรู้ทั่วไปทางพระพุทธศาสนา

 ยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคล Total Execution Time: 0.012846183776855 Mins