งานพัฒนาท้องถิ่นให้เหมาะสมแก่การสร้างความดี

วันที่ 19 ธค. พ.ศ.2559

งานพัฒนาท้องถิ่นให้เหมาะสมแก่การสร้างความดี

สูตรสำเร็จการพัฒนาองค์กรและเศรษฐกิจ , กลุ่มวิชาความรู้ทั่วไปทางพระพุทธศาสนา , DOU , พระพุทธศาสนา , วัดพระธรรมกาย , เรียนพระพุทธศาสนา , หนังสือเรียน DOU , พระโพธิสัตว์ , ความรู้พื้นฐานทางพระพุทธศาสนา , มงคลชีวิต , พุทธวิธี , งานพัฒนาท้องถิ่นให้เหมาะสมแก่การสร้างความดี , พัฒนาท้องถิ่น , เศรษฐศาสตร์เชิงพุทธ

1. การพัฒนาท้องถิ่นคืออะไร
     การพัฒนาท้องถิ่น คือ การพัฒนาถิ่นให้มีสิ่งแวดล้อมที่เหมาะสมต่อการสร้างตัวสร้างฐานะ และการทำความดีของคนดีให้มากยิ่งๆ ขึ้นไป

2. องค์ประกอบของการพัฒนาท้องถิ่น
     การพัฒนาท้องถิ่นเพื่อให้เหมาะสมแก่การสร้างตัวสร้างฐานะและการทำความดีของคนดีนั้น จะต้องพัฒนาให้มีความเจริญใน 4 เรื่องนี้

1. อาวาสเป็นที่สบาย
2. อาหารเป็นที่สบาย
3. บุคคลเป็นที่สบาย
4. ธรรมะเป็นที่สบาย

       บุคคลที่ได้อาศัยอยู่ในท้องถิ่นที่พัฒนาจนกระทั่งที่มีองค์ประกอบ 4 ประการนี้ครบถ้วนย่อมสามารถสร้างตัวสร้างฐานะด้วยอาชีพสุจริตได้ไม่ยาก เพราะความสำเร็จของชีวิตคนนั้นย่อมเกี่ยวข้องกับที่อยู่อาศัยอยู่มาก เช่น ถ้าทำไร่ก็ต้องเลือกที่ดิน ถ้าเล่าเรียนก็ต้องเลือกโรงเรียนถ้าค้าขายก็ต้องเลือกทำเล แม้ที่สุด การบำเพ็ญภาวนาให้หมดกิเลสก็ต้องเลือกสถานที่ทำความเพียร เป็นต้น

      การเริ่มต้นพัฒนาท้องถิ่นให้มีองค์ประกอบ 4 ประการนี้ ต้องเริ่มจากบ้านของตนเอง หรือสถานที่ประกอบกิจการงานก่อนเป็นอันดับแรก ทั้งนี้เพื่อจะได้เป็นต้นแบบที่ดีของสังคม เวลาที่จะไปชักชวนใครให้มาร่วมกันพัฒนาท้องถิ่นให้เจริญก้าวหน้า จะได้มีความน่าเชื่อถือและพูดได้เต็มปากเต็มคำ เพราะสามารถเป็นต้นแบบได้แล้ว อีกทั้งยังเป็นการสร้างศรัทธาได้อย่างง่ายๆและเป็นการป้องกันการจับผิดไปในตัวอีกด้วย นี่คือความสำคัญของถิ่นที่อยู่ที่มีอิทธิพลต่อนิสัยใจคอของผู้อยู่อาศัยและผู้พบเห็นนั่นเอง

1.อาวาสเป็นที่สบาย
    อาวาสเป็นที่สบาย หมายถึง บริเวณที่มีสภาพภูมิศาสตร์ดี มีดินฟ้าอากาศดี มีสาธารณูปโภคพร้อมมูล ไม่มีมลภาวะเป็นพิษ เหมาะสมต่อการอยู่อาศัย การทำงาน และการทำความดี เช่น ถ้าเป็นบ้าน ก็ต้องให้มีต้นไม้ร่มรื่น น้ำประปาไฟฟ้าสะดวก ถ้าเป็นโรงเรียนก็มีสุขลักษณะดี มีอากาศถ่ายเทดี ไม่มีเสียงอึกทึก มีบริเวณกว้างขวาง มีสนามกีฬา เป็นต้น

    อาคารและสถานที่ที่จะทำให้เกิดอาวาสเป็นที่สบายขึ้นมาได้นั้น ต้องมีคุณสมบัติ 3 ประการเป็นอย่างน้อย คือสะอาด สว่างสงบ

   คุณสมบัติขั้นพื้นฐานของอาคารและสถานที่ทั้ง 3 ประการนี้ ได้นำมาจากต้นแบบการฝึกนิสัยในพระพุทธศาสนา นั่นคือ ศีล (สะอาด)สมาธิ (สว่าง) ปัญญา (สงบ) ซึ่งผู้ที่อยู่ในบรรยากาศของความสะอาดสว่างสงบ เช่นนี้ ย่อมไม่มีสิ่งใดชวนให้คิดฟุ้งซ่านในทางชั่ว และทำให้เกิดความสบายอกสบายใจ อารมณ์ดีได้ง่าย เป็นผลทำให้การอยู่อาศัยหรือการทำงานมีประสิทธิภาพไปด้วย

1) ความสะอาด
    1.1) มีความสะอาดของอาคารสถานที่ อาคาร สถานที่ที่มีความสะอาดมากๆ ช่วยให้ผู้ที่พบเห็นเกิดความประทับใจในความสะอาด ไม่เกิดการจับผิดหรือคิดในแง่ลบกับเจ้าของสถานที่

    1.2) มีความร่มรื่นของต้นไม้รอบอาคาร ต้นไม้ช่วยให้มีอุณหภูมิที่ไม่ร้อนเกินไป ให้อากาศที่บริสุทธิ์ มีสีเขียว บายตาช่วยให้ผู้พบเห็นเกิดความสบายใจ ผ่อนคลายจิตใจได้ดี

      1.3) มีอากาศบริสุทธิ์ บริเวณรอบๆ อาคาร สถานที่ ไม่มีมลภาวะอากาศเป็นพิษเช่น กลิ่นเหม็นขยะ ควันพิษคละคลุ้ง เป็นต้น

2) ความสว่าง
      2.1) มีความโปร่งตา ไม่มีมุมลับที่ใช้เป็น ถานที่ทำเรื่องไม่ถูกไม่ควรในที่ลับตาคน

      2.2) มีแสงสว่างเหมาะสม ในเวลากลางวันมีแสงสว่างพอเพียง ไม่มืดทึบ เวลากลางคืนมีแสงไฟฟ้าส่องให้เห็นทั่วถึง

    2.3) มีความปลอดภัย ปลอดภัยจากคนพาล ปลอดภัยจากสัตว์ร้าย ปลอดภัยจากธรรมชาติ เช่น โจรผู้ร้ายสัตว์ร้าย ลมพายุ ไฟไหม้ น้ำท่วม เป็นต้น

3) ความสงบ
    3.1) มีความเป็นระเบียบสิ่งของเครื่องใช้ที่จัดเป็นระเบียบเรียบร้อยจะช่วยสะกดผู้คนให้มีวินัย มีความเคารพสถานที่ มีความระมัดระวังตัว ไม่กล้าทำให้เกิดความเสียระเบียบ

   3.2) มีคุณภาพเสียงที่พอเหมาะ ความดังของมลภาวะทางเสียงภายนอก ไม่เข้าไปรบกวนการอยู่อาศัยและการทำงานในอาคาร หรือความดังของเสียงในอาคารไม่ดังออกมาสร้างความรำคาญภายนอก

   ดังนั้น ความเจริญของคนเรานั้น นอกจากอาศัยความรักดีในตนเองแล้ว ยังต้องอาศัยสิ่งแวดล้อมช่วยด้วย อุปมาเหมือนเมล็ดพันธุ์ต้นโพธิ์ถึงแม้จะงอกงามใหญ่โตได้แค่ไหน แต่เมื่อนำไปปลูกในกระถางแล้ว ก็เป็นเพียงไม้แคระแกรนต้นหนึ่งอยู่ในกระถางเท่านั้น ไม่สามารถจะเติบโตได้เหมือนกับต้นโพธิ์ที่ขึ้นอยู่ตามธรรมชาติ นี่คืออิทธิพลของสิ่งแวดล้อมที่มีผลต่อการพัฒนาเศรษฐกิจและศีลธรรมให้ก้าวไปด้วยกันประการที่หนึ่ง "อาวาสเป็นที่สบาย"


2. อาหารเป็นที่สบาย
    อาหารเป็นที่สบาย หมายถึง บริเวณที่ตนอยู่อาศัยนั้นที่สามารถหาอาหารได้สะดวกเป็นแหล่งผลิตอาหาร หรือเป็นแหล่งทรัพยากรอาหารที่อุดมสมบูรณ์พอสมควร เช่น อยู่ใกล้ตลาดหรือบริเวณที่มีการทำเกษตรกรรมสามารถผลิตอาหารเองได้ เป็นต้น

     1) มาตรวัดความมีอาหารเป็นที่สบาย
เมื่อถึงเวลารับประทานอาหารสถานที่แห่งนั้นต้องมีวิธีการจัดหาอาหารที่ประกอบด้วยคุณสมบัติ 5 ประการ คือ

    1.1) ทันเวลา คือ เมื่อถึงเวลาอาหารก็ได้รับประทานตรงเวลา ไม่เลยเวลาอาหารเพราะน้ำย่อยที่ออกมาตามเวลาจะย่อยเยื่อบุกระเพาะ เป็นเหตุให้เกิดโรคกระเพาะทะลุ หรือกระเพาะอักเสบ

     1.2 ) ปริมาณพอเพียง คือ พอเพียงต่อการเลี้ยง มาชิกทุกคนอย่างทั่วถึง ไม่มีใครต้องอดอยาก

     1.3) ถูกหลักโภชนาการ คือ มีคุณค่าทางอาหารครบหลัก 5 หมู่ ได้แก่ โปรตีน คาร์โบไเดรต ไขมัน เกลือแร่ วิตามิน

     1.4) สะอาด คือ ไม่บูด ไม่เน่า ไม่เสีย ไม่เจือปนด้วยสารพิษ หรือไม่เก็บของสดค้างไว้หลายวัน แล้วจึงค่อยนำมาทำอาหาร

    1.5) รสอร่อย คือ รสชาติที่ถูกใจ ข้อนี้ถือเป็นของแถม เพราะแต่ละคนก็มีความชอบในรสชาติไม่เหมือนกัน วิธีแก้ง่ายๆ ก็คือมีพริกน้ำปลาไว้หนึ่งถ้วย ใครชอบรสไหนก็ปรุงร ชาติในจานอาหารของตนเองตามใจชอบ

    อาหารเป็นหนึ่งในปัจจัย 4 ที่จำเป็นต่อการเลี้ยงชีวิตให้ผ่านไปในแต่ละวัน การมีอาหารเป็นที่สบายย่อมแสดงว่าเป็นผู้มีเศรษฐกิจดี ไม่ต้องอดมื้อกินมื้อ หรืออยู่อย่างอัตคัดขัดสนการมีอาหารรับประทานในแต่ละวันจึงมีอิทธิพลต่อการเกิดความรู้สึกนึกคิดทั้งในทางดีและไม่ดีของคนเราอย่างมาก

     2) วัตถุประสงค์การใช้ปัจจัย 4
    อย่างไรก็ตาม คำว่า "อาหารเป็นที่สบาย" ในหัวข้อนี้ ในทางปฏิบัติแล้ว ไม่ได้จำเพาะเจาะจงที่อาหารเท่านั้น แต่หมายรวมปัจจัย 4 ทั้งหมด ได้แก่ อาหาร เครื่องนุ่งห่ม ที่อยู่อาศัยยารักษาโรค เพราะทั้ง 4 ประการนี้เป็นเครื่องหล่อเลี้ยงชีวิตขั้นต่ำสุด ในการบริโภคใช้สอยนั้นหากสิ่งใดสิ่งหนึ่งขาดหรือน้อยเกินไปก็ตาม มากเกินไปก็ตาม หรือคุณภาพของสิ่งที่ใช้ดีเกินไปหรือน้อยเกินไปก็ตาม ย่อมมีผลกระทบต่อสุขภาพ ชีวิตการทำงาน และฐานะทางสังคม

     นอกจากนี้ปัจจัย 4 ยังหมายรวมถึงสิ่งของเครื่องใช้อื่นๆ ที่เนื่องด้วยปัจจัย 4 เช่น

1.สิ่งของที่เนื่องด้วยเครื่องนุ่งห่ม เช่น เครื่องนอน ผ้าห่ม เข็ม ด้าย เป็นต้น
2.สิ่งของที่เนื่องด้วยอาหาร เช่น ภาชนะ ถ้วย ชาม ช้อน เป็นต้น
3.สิ่งของที่เนื่องด้วยเสนา นะ เช่น ตู้ โต๊ะ เตียง ตั่ง เก้าอี้ เป็นต้น
4.สิ่งของที่เนื่องด้วยยารักษาโรค เช่น เครื่องมือปรุงยา อุปกรณ์การแพทย์ การพยาบาล เป็นต้น

    พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงสอนให้รู้จักวิธีใช้ปัจจัย 4 อย่างถูกวัตถุประสงค์ ทั้งนี้เพื่อให้ชาวพุทธมีมาตรฐานความสบายที่แท้จริง ไม่ฟุ่มเฟือยเกินความจำเป็น อันจะเป็นกระทบต่อเศรษฐกิจและสร้างมลภาวะเป็นพิษต่อสิ่งแวดล้อม

   2.1) เครื่องนุ่งห่ม มีวัตถุประสงค์การใช้ คือ เพื่อบรรเทาความหนาว เพื่อบรรเทาความร้อน เพื่อป้องกันอันตรายจากเหลือบยุง ลม แดดสัตว์เลื้อยคลาน และเพื่อปกปิดอวัยวะที่ทำให้เกิดความละอาย

     2.2) อาหาร มีวัตถุประสงค์การกิน คือ ไม่ใช่มีไว้เพื่อกินเล่น ไม่ใช่มีไว้กินเพราะความอยากกิน ไม่ใช่กินเพื่ออวดฐานะ ไม่ใช่กินเพราะจะตกแต่งสัดส่วนรูปร่างให้สวยงาม แต่กินเพื่อให้มีชีวิตรอด กินเพื่อให้ร่างกายมีกำลัง กินเพื่อป้องกันไม่ให้ร่างกายทุกข์ทรมานเพราะความหิว กินเพื่อจะนำเรี่ยวแรงที่ได้ไปทำความดี

    2.3) ที่อยู่อาศัย มีวัตถุประสงค์ คือ เพื่อปกป้องความหนาวเย็น เพื่อปกป้องความร้อน เพื่อปกป้องอันตรายจากเหลือบยุง ลมแดดสัตว์เลื้อยคลาน เพื่อปกป้องอันตรายจากฤดูกาลต่างๆ ที่เกิดขึ้น และเพื่อความไม่ลำบากกาย

    2.4) ยารักษาโรค มีวัตถุประสงค์ คือ เพื่อกำจัดอันตรายจากโรคภัยไข้เจ็บที่บังเกิดขึ้น เพื่อฟนฟูสุขภาพให้แข็งแรงเมื่อพระพุทธองค์ทรงแนะนำวัตถุประสงค์การใช้สอยปัจจัย 4 และสิ่งที่เนื่องด้วยปัจจัย 4 เช่นนี้แล้ว ก็ทรงสอนให้รู้จักประมาณในการใช้สอย เพราะผู้ที่ใช้สอยปัจจัย 4 ตามวัตถุประสงค์และในจำนวนที่เหมาะสม ย่อมได้รับความสบายต่อสุขภาพ ชีวิต การทำงาน และฐานะทางสังคม


3) รู้จักประมาณในการใช้สอยปัจจัย 4
       คนที่จะรู้จักประมาณในการใช้สอย 4 ได้นั้น ต้องมีความเข้าใจถูกในคำว่า "พอดี" และ "เหมาะสม"

     3.1) "พอดี" คือ ไม่น้อยเกินไป จนกลายเป็นการทรมานตนเองโดยใช่เหตุ ในขณะเดียวกัน ก็ไม่มากเกินไป จนกลายเป็นการพอกพูนกิเลสทำให้กลายเป็นคนฟุ่มเฟือยสุรุ่ยสุร่ายและกลายเป็นการทำลายทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมโดยใช่เหตุผู้ที่รู้จักความพอดีในการบริโภคปัจจัย 4 จะสามารถแยกแยะได้ระหว่าง ความจำเป็น คือ ขาดไม่ได้ หากขาดแล้วมีผลกระทบต่อความเป็นอยู่อย่างมาก

     ความต้องการ คือ ถ้าได้ก็ดี ถ้าไม่มีก็ไม่เป็นไร ถ้าได้สิ่งนั้นมาก็จะมีความสะดวกขึ้นกว่าเดิม แต่ถ้าไม่ได้ก็ไม่ถึงกับเดือดร้อน

     ความอยาก คือ ถึงได้มาหรือไม่ได้มา ก็ไม่ได้กระทบกระเทือน หรือเกิดประโยชน์ต่อชีวิตนัก แต่ที่อยากได้ ก็เพราะตกอยู่ในอำนาจของความอยากอันเป็นกิเลสนอกจากแยกแยะได้แล้ว ยังมี ติคอยคุมใจ ไม่ยอมให้ตนเองตกเป็นทาสของความอยากอีกด้วย

     3.2) "เหมาะสม" คือ มควรแก่ฐานะสมควรแก่กาลเทศะ และเพศภาวะของตนทั้งในแง่ชนิด คุณภาพ วิธีการได้มา วิธีการใช้ และวัตถุประสงค์ในการใช้งานของบางชนิดหากแสวงหามาโดยไม่คำนึงถึงความเหมาะสม เมื่อได้มาแล้ว นอกจากเพิ่มภาระในการดูแลรักษาแล้ว ยังทำให้จิตใจฟุ้งซ่าน และยังขัดต่อความรู้สึกของสังคมและเพื่อนฝูงอีกด้วย

    3.3) ทำไมการรู้จักประมาณปัจจัย 4 จึงเป็นเหตุให้เกิดความสบายเหตุที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าใช้ปัจจัย 4 เป็นเครื่องมือฝึกความพอดีและความเหมาะสมนั้นก็เพราะว่า

     ปัจจัย 4 เป็นเครื่องหล่อเลี้ยงชีวิตถ้าขาดสิ่งใดสิ่งหนึ่ง ชีวิตก็ยากที่จะดำเนินไปโดยราบรื่น เป็นผลเสียต่อสุขภาพกายและสุขภาพจิต ถ้ามากเกินไป ก็เป็นที่มาแห่งความเดือดร้อน โรคภัยไข้เจ็บ และเป็นภาวะในการดูแลรักษา พระพุทธองค์จึงทรง อนให้ควบคุมการประมาณในการจัดหาปัจจัย 4 เข้ามาใช้สอยตั้งแต่ต้น เพราะการที่ใครคนหนึ่งจะควบคุมกิเลสในใจไม่ให้กำเริบเสิบสานได้ ต้องบริหารปัจจัย 4 พื้นฐานให้ลงตัว แล้วความ บายที่เกิดจากการควบคุมความอยากไว้ได้ก็จะเกิดขึ้นตามลำดับ ซึ่งเป็นพื้นฐานที่ทำให้เกิดความก้าวหน้าในการทำความดีอื่นๆ ต่อไป

     ปัจจัย 4 เป็นบ่อเกิดนิสัยชีวิตคนเรานั้นที่ทุกข์ก็เพราะตามใจกิเลสจนเคยตัว การควบคุมกิเลสให้อยู่มือ ก็ต้องฝึกควบคุมใจ และจุดเริ่มต้นของการควบคุมใจ ก็คือ ฝึกประมาณในการใช้สอยปัจจัย 4 เพราะเมื่อฝึกอย่างนี้แล้ว ใจย่อมละเอียดอ่อน ไม่ว่าจะหยิบจะจับทำสิ่งใด ย่อมพอดีลงตัวไปหมด นิสัยมีเหตุมีผล ไม่เอาแต่ใจตัวเองย่อมเกิดขึ้นมา ในที่สุด ย่อมเป็นผู้ควบคุมใจของตนเองได้ดีความสุขย่อมเกิดขึ้นตามลำดับ เหมือนดั่งพุทธพจน์ที่ว่า จิตที่ฝึกดีแล้ว ย่อมนำสุขมาให้ นั่นเอง

     การรู้ประมาณปัจจัย 4 ทำให้เกิดปัญญาเนื่องจากฝึกความพอดีและความเหมาะสมในการใช้ปัจจัย 4 มามาก ทำให้มีสติรู้เท่าทันในแต่ละวาระจิต มีปัญญามองทะลุสรรพสิ่งต่างๆ ตามความเป็นจริง เมื่อมีสติปัญญามองทะลุถึงความพอดีและเหมาะ มในการใช้ปัจจัย 4 ก็ย่อมเป็นจุดเริ่มต้นของ สติปัญญาที่จะเข้าใจธรรมะละเอียดลึกซึ้ง เช่น เรื่องการเวียนว่ายตายเกิด กฎแห่งกรรม และมรรคผลนิพพานได้ง่าย

    การใช้ปัจจัย 4 คือการใช้บุญ ปัจจัย 4 แต่ละประเภทล้วนเกิดจากบุญ คือเกิดจากบุญที่ตนเองสั่งสมมา ในขณะที่เรายังมีชีวิตอยู่ เราก็ต้องใช้บุญตลอด 24 ชั่วโมง เพราะฉะนั้น ทุกครั้งที่เราใช้ปัจจัย 4 ต้องระลึกว่า กำลังใช้บุญอยู่ หากสุรุ่ยสุร่าย ใช้อย่างไม่ระมัดระวัง ก็หมายถึงกำลังไม่ตระหนักในบุญของตนเอง และบุญของพระนิพพานด้วยเช่นกัน

3. บุคคลเป็นที่สบาย
   บุคคลเป็นที่สบาย หมายถึง บุคคลส่วนใหญ่ในครอบครัวและละแวกที่อยู่อาศัยต้องเป็นคนดีมีศีลธรรม มีความรับผิดชอบ ใฝ่หาความก้าวหน้า ไม่เห็นแก่ตัว ชอบเอารัดเอาเปรียบไม่มีนักเลงอันธพาล

      1) คุณสมบัติของบุคคลเป็นที่สบาย

1.1) ไม่ทำกรรมกิเลส 4 คือ ไม่ฆ่า ไม่ลัก ไม่เจ้าชู้ ไม่พูดปด
1.2) ไม่อคติ 4 คือ ไม่ลำเอียงเพราะโกรธ เพราะรัก เพราะโง่ เพราะกลัว
1.3) ไม่ยุ่งเกี่ยวกับอบายมุข 6 คือ ไม่ดื่มสุรา ไม่เที่ยวกลางคืน ไม่หมกมุ่นในสิ่งบันเทิงเริงรมย์ ไม่เล่นการพนัน ไม่คบคนชั่วเป็นมิตร ไม่เกียจคร้านการงาน
1.4) ทำหน้าที่ปกป้องทิศ 6 จากอันตรายต่างๆ

    ทิศ 6 คือ บุคคลแวดล้อมที่มีความสัมพันธ์กับตัวเราในฐานะต่างๆ กัน เป็นผู้ที่มีผลต่อความสุขและความเจริญของชีวิตเราโดยตรง มี 6 กลุ่ม คือ

1. ทิศเบื้องหน้า  พ่อแม่  ลูก
2. ทิศเบื้องขวา  ครูอาจารย์  ศิษย์
3. ทิศเบื้องหลัง สามี  ภรรยา
4. ทิศเบื้องซ้าย  ตนเอง  เพื่อน
5. ทิศเบื้องล่าง  หัวหน้า  ลูกน้อง
6. ทิศเบื้องบน  สมณะ  คฤหัสถ์

    โดยแต่ละกลุ่มจะมีหน้าที่ที่พึงปฏิบัติต่อกันให้ครบถ้วน เพราะเมื่อปฏิบัติได้ครบถ้วนย่อมเป็นการป้องกันทุกฝ่ายให้ตั้งอยู่ในการไม่ทำกรรมกิเล 4 ไม่อคติ 4 ไม่ยุ่งเกี่ยวกับอบายมุข 6 ไปโดยอัตโนมัติ ซึ่งนั่นจะทำให้ทั้งเขาและเรามีความสุขกายและสุขใจในการอยู่ร่วมกัน

      2) การอยู่ร่วมกันอย่างมีความสุข
   ชีวิตคนเรานั้น มีความขาดแคลนเป็นพื้นฐานอยู่ 4 เรื่องใหญ่ คือ ขาดแคลนทรัพย์ขาดแคลนกำลังใจ ขาดแคลนความช่วยเหลือ และขาดแคลนความปลอดภัย โดยพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงให้วิธีแก้ปัญหาความขาดแคลนไว้ในหลักธรรมเรื่องสังคหวัตถุ 4

2.1) ทาน คือ การแบ่งปันสิ่งของให้เป็นประโยชน์ต่อผู้อื่น
2.2) ปิยวาจา คือ การพูดจาไพเราะให้กำลังใจ
2.3) อัตถจริยา คือ การให้ความช่วยเหลือต่างๆ
2.4) มานัตตตา คือ วางตนให้เหมาะสมกับฐานะอย่างสม่ำเสมอ

    การปฏิบัติสังคหวัตถุ 4 นี้ ย่อมทำให้เกิดการอยู่ร่วมกันอย่างมีความสุข เป็นการผูกใจญาติพี่น้องไว้กับความดี ทำให้รอบๆ ตัวเรามีแต่บุคคลเป็นที่สบาย

   ในทางตรงกันข้าม หากมีสิ่งใดที่สงเคราะห์ช่วยเหลือกันได้ กลับไม่ช่วยเหลือทันทีปล่อยให้เขาตกทุกข์ได้ยากไปต่อหน้าต่อตา ในไม่ช้าญาติพี่น้องของเราคงทนปัญหาไม่ไหว และคิดหารายได้จากมิจฉาอาชีพอย่างแน่นอน เขาก็มีโอกาสที่จะกลายเป็นคนพาลอยู่ข้างกายเราทันที

     เพราะฉะนั้น การอยู่ร่วมกันอย่างมีความสุข และช่วยเหลือกันในยามทุกข์ ต้องอาศัยสังคหวัตถุ 4 ที่ทุกคนมีให้ต่อกัน

     4. ธรรมะเป็นที่สบาย
    ในทางโลก หมายถึง ท้องถิ่นนั้นมีการให้การศึกษาที่ดี มีระบบการปกครองที่ดี ไม่เป็นระบบเผด็จการ และมีมาตรการกำจัดอบายมุขทุกชนิดให้หมดไปอย่างจริงจัง

    ในทางธรรม หมายถึง มีผู้รู้ธรรมะ เป็นบัณฑิตสามารถให้การอบรมศีลธรรม เป็นแบบอย่างในด้านศีลธรรมเป็นอย่างดี และมีการส่งเสริมให้ประชาชนศึกษาธรรมะและปฏิบัติธรรมอย่างจริงจัง

      1) คุณสมบัติของท้องถิ่นที่มีธรรมะเป็นที่สบาย มีอย่างน้อย 3 ประการ คือ

1.1) มีการปกครองด้วยธรรมะ
1.2) มีการศึกษาธรรมะ
1.3) มีการเผยแผ่ธรรมะ

     1.1) มีการปกครองด้วยธรรมะ หมายถึง บ้านหลังนั้น หน่วยงานนั้น ท้องถิ่นนั้นมีผู้นำที่เป็นคนดีมีศีลธรรม ใช้ธรรมะเป็นหลักในการปกครอง และมีวิธีการปกครองโดยไม่ผิดศีลธรรม ดังนี้

     1.1.1) มีความไม่อคติ 4 เป็นหลักการปกครองคำว่า "อคติ" แปลว่า ไม่ตรง หรือ ลำเอียง

    อคติ หมายถึง การกระทำอันเป็นเหตุให้ผู้ไม่ควรได้รับประโยชน์กลับได้รับ ผู้ควรได้รับกลับไม่ได้รับ หรือผู้ควรได้รับมากกลับได้รับน้อยส่วนผู้ที่ควรได้รับน้อยกลับได้รับมาก อคติ มี 4 ประเภท ได้แก่ ลำเอียงเพราะรัก, ลำเอียงเพราะชัง, ลำเอียงเพราะเขลา, ลำเอียงเพราะกลัว

    ลำเอียงเพราะรัก (ฉันทาคติ) คือ ความลำเอียงอันเกิดจากความรักใคร่ชอบพอเป็นพิเศษระหว่างบุคคล จึงเป็นเหตุให้ประพฤติไม่เป็นธรรม ไม่ถูกต้องเหมาะสม เช่น ให้ผลประโยชน์แก่ผู้ไม่ควรได้รับประโยชน์เพราะเห็นแก่ความเป็นญาติ เป็นเพื่อนสนิท เป็นคนโปรดของตนเป็นคนเคยให้สิ่งของแก่ตน เป็นต้น เป็นที่มาของการคอรัปชั่นในสังคมทุกระดับ

    ลำเอียงเพราะชัง (โทสาคติ) คือ ความลำเอียงอันเกิดจากอำนาจความโกรธเคืองความอาฆาตผูกเวรกัน จึงเป็นเหตุให้ประพฤติไม่เป็นธรรม ไม่ถูกต้องเหมาะสม เช่น ไม่ให้ผลประโยชน์แก่ผู้ควรได้รับประโยชน์ หรือทำให้ผู้ควรได้ประโยชน์ต้องเสียประโยชน์ เพราะผูกโกรธที่บุคคลนั้นชอบขัดใจ ชอบทำให้เสียหน้า หรือเรียกสินบนแล้วเขาไม่ยอมจ่ายให้แก่ตน จึงไม่ตั้งอยู่ในความเที่ยงธรรม เป็นที่มาของการกลั่นแกล้งกันในสังคม

     ลำเอียงเพราะเขลา (โมหาคติ) คือ ความลำเอียงอันเกิดจากความโง่เขลาเบาปัญญาความรู้เท่าไม่ถึงการณ์ หรือความใจแคบ ทำให้บุคคลประพฤติในสิ่งที่ไม่เป็นธรรม ยิ่งถ้าความโง่เขลาเข้าไปผสมกับความลำเอียงอีก 3 ประเภท ก็ยิ่งทำให้ดีกรีความไม่เป็นธรรมเพิ่มมากขึ้นเป็นทวีคูณ เป็นที่มาของการทำลายหลักเกณฑ์ที่ถูกต้อง กฎหมายของบ้านเมืองขาดความศักดิ์สิทธิ์สังคมระส่ำระสาย เพราะทำให้จำนวนผู้หลงผิดเพิ่มจำนวนขึ้นอย่างต่อเนื่องตามไปด้วย

    ลำเอียงเพราะกลัว (ภยาคติ) คือ ความลำเอียงอันเกิดจากความกลัวภัยมาถึงตัว จึงเป็นเหตุให้บุคคลประพฤติไม่เป็นธรรม ไม่ถูกต้องเหมาะสม เพื่อให้ตนเองปลอดภัยไว้ก่อนการกระทำด้วยความลำเอียงเพราะกลัว ย่อมมีผลให้ผู้ควรได้รับประโยชน์กลับไม่ได้รับ ผู้ที่ไม่ควรรับโทษกลับได้รับโทษ เป็นที่มาของการส่งเสริมให้เกิดภัยมืดต่างๆ จากเหล่ามิจฉาชีพ เช่น การเรียกเก็บค่าคุ้มครอง การเก็บส่วย การสร้างพยานเท็จ เป็นต้น

      ครอบครัวใด หน่วยงานใด ท้องถิ่นใด ที่มีผู้นำปกครองด้วยหลักธรรม คือ ความไม่อคติ 4 เช่นนี้ ย่อมส่งเสริมให้เกิดกำลังใจในการทำความดียิ่งๆ ขึ้นไป

      1.1.2) วิธีการปกครองด้วยอปริหานิยธรรมคำว่า "อปริหานิยธรรม" แปลว่า ข้อปฏิบัติที่ไม่นำไปสู่ความเสื่อม

      อปริหานิยธรรมเป็นข้อปฏิบัติที่ผู้นำของครอบครัวใด หน่วยงานใด ท้องถิ่นใด นำไปปฏิบัติแล้ว ย่อมเกิดการทำงานเป็นทีมอย่างมีความสุขและความสามัคคีสามารถป้องกันอคติ 4 ที่อาจเกิดมีขึ้นในตัวได้ และยิ่งปฏิบัติมากเท่าไหร่ ก็มีแต่ทำให้เกิดความเจริญเพียงอย่างเดียว ไม่มีความเสื่อมเกิดขึ้นเลยอปริหานิยธรรม1 มี 7 ข้อ ดังนี้

      (1) หมั่นประชุมกันเนืองนิตย์
   ข้อนี้หมายถึงประชุมปรึกษาหารือกันเป็นประจำเป็นการฟังความคิดเห็นและข้อเสนอของกันและกันก่อนที่จะดำเนินการใดๆ เป็นการเปิดโอกาสให้ผู้อื่นมีส่วนรวม ได้แสดงความคิดเห็นด้วย ซึ่งเป็นแนวทางให้เกิดความสามัคคีและรักษาความสามัคคีของหมู่คณะเข้าไว้ได้

     (2) เมื่อประชุมก็พร้อมเพรียงกันประชุม เมื่อเลิกประชุมก็พร้อมเพรียงกันเลิก และพร้อมเพรียงกันทำกิจที่ควรทำข้อนี้หมายถึงในการประชุมนั้นจะต้องอยู่ในที่ประชุมจนกว่าจะปิดประชุมจะได้พร้อมเพรียงกันเลิกประชุมได้ หากมีกิจการอันใด มีข้อถกเถียงโต้แย้งอันใด หรือมีมติจะให้ทำ

   อะไรกันต่อไป ก็ช่วยกันคิดแก้ไข ช่วยกันคิดหาแนวปฏิบัติจนเป็นที่ถูกต้องและเข้าใจกันทุกฝ่ายเป็นการป้องกันการพูดจาลับหลังในทางเสียหายด้วยอ้างว่ามิได้อยู่ในที่ประชุมหรือมิได้เข้าที่ประชุม เป็นต้น อันจะทำให้เกิดความแตกแยกในที่สุด หลักข้อนี้ถือเป็นหลักสามัคคีธรรมโดยแท้จริง

      (3) ไม่บัญญัติสิ่งที่ไม่ได้บัญญัติไว้ ไม่เพิกถอนสิ่งที่บัญญัติไว้แล้ว ถือปฏิบัติตามข้อที่บัญญัติไว้แล้ว

    ข้อนี้หมายความว่าให้ยึดถือหลักกฎระเบียบ แบบแผน ขนบธรรมเนียมประเพณีที่ส่งเสริมศีลธรรม ซึ่งเคยปฏิบัติกันมาและทำให้เกิดปกติสุขมาโดยตลอดเป็นหลักสำคัญ ไม่เลิกเพิกถอนหรือทอดทิ้งเสียโดยไม่ นใจ โดยเห็นว่าไม่จำเป็นหรือไม่สำคัญอะไร ไม่นำธรรมเนียมประเพณีที่แปลกใหม่เข้ามาปฏิบัติ เพราะแท้จริงระเบียบแบบแผนก็ดี ขนบธรรมเนียมประเพณีก็ดีซึ่งเป็นสิ่งที่ปฏิบัติกันมาย่อมมีความหมายและความขลังศักดิ์สิทธิ์ในตัวเองสามารถหล่อหลอมจิตใจ ความนึกคิดพฤติกรรม การปฏิบัติ ตลอดจนวิถีชีวิตของผู้คนในท้องถิ่นในสังคมนั้นๆ ให้เป็นหนึ่งเดียวกันได้โดยไม่รู้สึก ตลอดถึงทำให้เกิดความสามัคคีในท้องถิ่นในสังคมอย่างชัดแจ้ง เพราะส่วนใหญ่ของเก่าที่เคยปฏิบัติกันมานั้นเป็นกิจกรรมที่คิดร่วมกัน ทำร่วมกันช่วยเหลือกันจัดทำทั้งสิ้น เมื่อเลิกเพิกถอนหรือนำสิ่งใหม่เข้ามาแทนที่ กิจกรรมที่ก่อความสามัคคีก็จะค่อยๆ หมดหายไป ในที่สุดความสามัคคีของหมู่คณะก็หมดไป จะทำอะไรแต่ละอย่างก็จะมุ่งผลประโยชน์เฉพาะตนเป็นหลักโดยไม่คำนึงถึงความเสียหายของส่วนรวม

       (4)สักการะ เคารพ นับถือ บูชาบุคคลที่เป็นผู้ใหญ่ และเชื่อฟังถ้อยคำของท่านเหล่านั้น

     ข้อนี้หมายความว่าให้เคารพนับถือผู้ใหญ่ ให้ความสำคัญแก่ผู้ใหญ่ เชื่อฟังผู้ใหญ่ซึ่งเป็นผู้มีประสบการณ์ ผู้เห็นโลกผ่านงานมามาก รู้เรื่องความเจริญความเสื่อมมาหลายยุคหลายสมัย กำหนดจดจำเรื่องต่างๆ ได้มากและวุฒิภาวะสูง ทั้งยังหนักแน่นสามารถแนะนำ ให้ข้อคิดและเตือนสติ เมื่อเดินทางผิดให้ได้ การมีผู้ใหญ่คอยเตือนคอยบอกเช่นนี้ย่อมมีแต่กำไร ไม่มีขาดทุน เมื่อให้ความสำคัญด้วยความเคารพนับถือเชื่อฟัง ก็จะได้รับสิ่งดีๆ จากผู้ใหญ่ตอบแทนอันจะเป็นอุปการะต่อความเป็นผู้นำของตนตลอดไป

    (5) คุ้มครอง ป้องกันกุลสตรี กุลธิดาทั้งหลาย มิให้ถูกข่มเหงฉุดคร่าขืนใจ ข้อนี้หมายความว่าให้ปกป้องคุ้มครองสตรีและเด็กหญิง มิให้ถูกข่มเหง มิให้ถูกทำร้าย
มิให้ถูกฉุดคร่าขืนใจ ด้วยการออกกฎระเบียบป้องกันไว้และปฏิบัติตามอย่างเคร่งครัด เมื่อมีผู้ล่วงละเมิดต้องกำจัดปราบปรามให้หมดไป ต้องถือว่าเป็นภัยร้ายแรงต่อสังคม เพราะ ตรีไม่ว่าเด็กสาวหรือเด็กหญิงย่อมเป็นที่ห่วงใยของบิดามารดา หากไม่มีความปลอดภัยหรือวางใจไม่ได้เพราะไม่มีหลักประกันใดมาป้องกัน บิดามารดาย่อมห่วงกังวล นอนตาไม่หลับ ไม่มีความโล่งใจทำให้เดือดร้อนเป็นทุกข์ การให้ความสำคัญข้อนี้และดำเนินการอย่างเคร่งครัดย่อมทำให้ครอบครัวอยู่เย็นเป็นสุข หมดความห่วงกังวล หมดความระแวงภัยไปโดยปริยาย

     (6)สักการะ เคารพ นับถือ บูชาเจดียสถานของชาติ ไม่ลบล้างพลีกรรมอันชอบธรรมอันเคยให้ เคยทำแก่เจดียสถานเหล่านั้น

     ข้อนี้หมายความว่าในท้องถิ่นแต่ละท้องถิ่นในประเทศนั้นย่อมจะมีสิ่งที่เคารพนับถือที่เรียกในที่นี้ว่าเจดียสถาน เช่นเจดีย์ ปูชนียสถาน ปูชนียวัตถุประจำอยู่ เล็กบ้างใหญ่บ้างสำคัญน้อยบ้างสำคัญมากบ้างสิ่งเหล่านี้เป็นสิ่งที่บรรพบุรุษสร้างไว้สำหรับเป็นที่เคารพบูชาบ้างเป็นศูนย์รวมจิตใจบ้าง เป็นอนุสรณ์สถานเพื่อระลึกถึงผู้มีพระคุณต่อท้องถิ่น หรือของชาติบ้านเมืองบ้าง ผู้คนในท้องถิ่นได้เคารพสักการะด้วยศรัทธากันมาสร้างความเป็นปึกแผ่นความสามัคคีให้เกิดแก่ท้องถิ่นมา จำต้องดูแลรักษาและปฏิบัติต่อเจดียสถานเหล่านั้นด้วยความเคารพ ไม่เพิกเฉยละเลยหรือปล่อยให้รกร้างไปเสีย เพราะเมื่อขาดการดูแลเอาใจใส่ศูนย์รวมจิตใจก็จะหมดไป กิจกรรมที่มีต่อ ถานที่เหล่านั้นก็จะหมดไป ความรัก ความสามัคคีความเห็นอกเห็นใจกันซึ่งเคยมีมาโดยตลอดก็จะหมดไปด้วย

     (7) ให้ความอารักขา คุ้มครอง ปกป้องอันชอบธรรมแก่พระอรหันต์ทั้งหลาย และตั้งใจปรารถนาให้พระอรหันต์ที่ยังมิได้มาขอให้มาสู่แว่นแคว้น ที่มาแล้วก็ขอให้อยู่เป็นสุข

     ข้อนี้หมายความว่าพระอรหันต์ทั้งหลายได้แก่นักบวชผู้ทรงศีลทรงธรรม ผู้เป็นผู้นำทางจิตวิญญาณด้วยการแนะนำสั่งสอนในสิ่งที่ดีงามให้แก่ประชุมชนนั้น ควรได้รับการอารักขาปกป้องคุ้มครองอย่างเป็นธรรม เพราะท่านเหล่านั้นเป็นผู้ไม่มีอาวุธ ไม่มีทางต่อสู้ป้องกันตนเอง เป็นที่พึ่งพิงทางใจและทางปัญญาในยามคับขัน ท้องถิ่นที่มีผู้ทรงศีลทรงธรรมอยู่ย่อมอบอุ่น เหมือนมีที่พึ่งอยู่ใกล้ตัว ท้องถิ่นใดไม่มีก็เหมือนขาดอะไรที่สำคัญไป ในทางปฏิบัติก็คือให้ความอารักขาคุ้มครองป้องกันศาสนสถาน พระสงฆ์ และนักบวชในศาสนาต่างๆ นั่นเองนอกจากนั้นจะต้องไม่ข่มเหงรังแกให้เดือดร้อนด้วยถืออำนาจหรือด้วยโมหจริต เพราะเมื่อผู้ทรงศีลทรงธรรมยังถูกรังแกข่มเหง ก็ไม่ต้องคิดว่าผู้คนในท้องถิ่นนั้นจะพ้นจากการถูกรังแกและถูกเอารัดเอาเปรียบ

     อปริหานิยธรรมนี้ เป็นข้อปฏิบัติที่เป็นไปเพื่อความสมานสามัคคีกันทั้งด้านความคิดและการกระทำ เพื่อความเป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกัน เพื่อความอบอุ่นในท้องถิ่น เพื่อความอยู่เย็นเป็นสุข เพื่อความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน และเพื่อความเจริญตั้งแต่ระดับครอบครัวจนถึงระดับท้องถิ่น

     โดยสรุป คุณสมบัติของธรรมะเป็นที่สบายประการแรก ก็คือ ท้องถิ่นนั้นต้องมีหลักการปกครองที่เป็นธรรม คือ ไม่ลำเอียงด้วยอคติ 4 คือ ไม่ลำเอียงเพราะรัก ไม่ลำเอียงเพราะชังไม่ลำเอียงเพราะเขลา และไม่ลำเอียงเพราะกลัว นอกจากนี้ ยังต้องมีวิธีดำเนินการบริหารปกครองด้วยอปริหานิยธรรม 7 ประการด้วย ทั้งนี้เพื่อสร้างความสามัคคีเป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกันให้เกิดขึ้นและป้องกันไม่ให้เกิดความลำเอียงในการปกครองไปโดยปริยาย

     1.2) มีการศึกษาธรรมะ หมายถึง ครอบครัวนั้น หน่วยงานนั้น ท้องถิ่นนั้นมีการส่งเสริมให้สมาชิกของตนศึกษาธรรมะและประพฤติปฏิบัติธรรมอยู่เป็นประจำ โดยเป็นการอาราธนาพระภิกษุผู้ทรงภูมิรู้ภูมิธรรมให้มาแสดงธรรม

    มีสิ่งที่น่าคิดอยู่ประการหนึ่ง การเกิดมาเป็นคนนั้น หากเพียงแค่ศึกษาหาความรู้สูงๆ เพื่อให้มีสติปัญญาที่จะทำมาหากินได้สะดวกสบายโดยไม่ติดขัดเท่านี้ยังไม่พอ ยังไม่แน่ว่าจะหาความสุขได้ เพราะความรู้ที่มีอยู่ในโลก ทั่วไปเป็นความรู้เพื่อเลี้ยงปากเลี้ยงท้อง คือเลี้ยงส่วนที่เป็นกายเท่านั้น แต่ส่วนที่เป็นใจยังไม่มีอะไรไปเลี้ยง

    เนื่องจากคนเรามีส่วนสำคัญอยู่ 2 ส่วน คือ กายและใจ ในเมื่อกายก็ต้องการอาหารไปเลี้ยงเพื่อให้พ้นจากโรคคือความหิว และให้ร่างกายเกิดความเจริญเติบโตขึ้น ใจก็เช่นเดียวกันต้องการอาหารคือธรรมะมาหล่อเลี้ยงเพื่อเป็นเครื่องยึดเหนี่ยว ให้พ้นจาก กิเลส คือ ความโลภความโกรธ ความหลง และเพื่อยกระดับจิตใจของเราให้สูงขึ้น จะได้พบกับความสุขควบคู่ไปกับการประกอบอาชีพทำมาหากิน

     1.2.1) กิเลส คือ อะไร 
     ในทางการแพทย์ มีการค้นพบว่า ร่างกายของแต่ละคน ก็ล้วนมีโรคฝังติดตัวกันมาแต่กำเนิด เป็นโรคที่ฝังอยู่ในร่างกาย รอวันที่จะปะทุขึ้นมา ตั้งแต่โรคตับ โรคไต โรคม้าม โรคหัวใจ และโรคอีกสารพัด ยิ่งการแพทย์ก้าวหน้าไปมากเท่าไหร่ ก็ยิ่งค้นพบว่า โรคร้ายนั้นมันฝังตัวอยู่ลึกในรหัสพันธุกรรมของมนุษย์ ที่เรียกว่า ดีเอ็นเอ (DNA), อาร์เอ็นเอ (RNA) แล้วถ้าเจ้าตัวไม่ระมัดระวัง มันก็จะปะทุขึ้นมา ก็อาจทำให้ร่างกายพิการ หรือถึงแก่ชีวิตได้ โรคทางกายเหล่านี้ แพทย์ก็หาทางแก้ไขป้องกันอย่างสุดความรู้ความสามารถ

     ในพระพุทธศาสนา พระสัมมาสัมพุทธเจ้าได้ทรงค้นพบว่า โรคทางกายที่ว่าหนักหนาสาหัสแล้ว ยังร้ายกาจไม่จริง ยังมีโรคอีกชนิดหนึ่งที่ฝังอยู่ในใจ แต่แพทย์ทั่วไปมองไม่เห็นเรียกว่า กิเลส

     กิเลสนี้ มีอยู่ในตัวเราตั้งแต่เมื่อไหร่ เราเองก็ไม่ทราบ รู้แต่ว่าพอเกิดมา กิเลสก็มีอยู่ในตัวเราแล้ว กิเลสเป็นโรคร้ายที่ฝังอยู่ในใจ คอยบีบคั้นให้มนุษย์คิดชั่ว พูดชั่ว ทำชั่ว แล้วผลของความชั่วที่ทำไว้ก็ไม่หายไปไหน มันได้กลายเป็นผลเสียหาย ที่เรียกว่า วิบากกรรม ซึ่งจะย้อนกลับมาจ้องเล่นงานเราให้เดือดร้อนอย่างแสนสาหัสอีกสารพัดในอนาคต กลายเป็นว่าทันทีที่เราทำความชั่ว เราก็ตกเข้าไปสู่วงจรกฎแห่งกรรมที่มีอยู่ประจำโลกนี้ทันที

     ยกตัวอย่างเช่น ใครไปฆ่าสัตว์ตัดชีวิตเอาไว้ ในอนาคตเราเองก็จะถูกตัดรอนชีวิตให้อายุสั้นลงเหมือนอย่างกับที่เราไปทำให้สัตว์ตัวนั้นอายุสั้น ใครที่เคยไปพูดจาใส่ความเขาเอาไว้ในอนาคตตัวเองก็ต้องถูกใส่ความเหมือนอย่างกับที่ตัวเราทำมาก่อน แม้แต่ความคิดอิจฉาริษยาผู้อื่น ใครที่เคยไปคิดอิจฉาริษยาเอาไว้ ถึงเวลาตนเองก็จะถูกผู้อื่นคิดริษยาอีกเหมือนกัน หรือแม้ไม่มีใครมาอิจฉาตัวเอง แต่ก็ทำให้ตัวเองคิดเรื่องอะไรดีๆ ไม่ออกอีกเช่นกัน

     นี่คือวงจรของกฎแห่งกรรมที่มันมีอยู่ประจำโลก และมีกิเลสเป็นตัวบีบคั้นให้เข้าไปติดอยู่ในวงจรของกฎแห่งกรรม

       พระสัมมาสัมพุทธเจ้ายังทรงเห็นทรงรู้อีกด้วยว่า วงจรของกฎแห่งกรรมนั้น ถ้าแต่ละคนยังปราบกิเลสในใจได้ไม่หมด มันจะไม่จบลงง่ายๆ เพราะในขณะที่วิบากกรรมชั่วเก่ายังส่งผลมาไม่หมด แต่กิเล ในใจก็ยังคอยบีบคั้นให้เราสร้างวิบากกรรมชั่วใหม่เพิ่มขึ้นต่อไปอีก

     เพราะฉะนั้น เราจึงต้องตกอยู่ในสภาพ วิบากกรรมเก่ายังไม่ทันหมดไป วิบากกรรมใหม่ก็จ้องเล่นงานอยู่ตลอดเวลา ชีวิตของมนุษย์จึงประสบแต่ความทุกข์เดือดร้อนสารพัดอย่างไม่สิ้นสุดเพราะกิเลสบีบบังคับให้ตกอยู่ในวงจรกฎแห่งกรรมอย่างนี้ตลอดเวลา

      การหลุดพ้นจากวงจรกฎแห่งกรรมได้ จึงมีทางเดียว คือ ต้องกำจัดกิเลสออกไปจากใจให้หมดสิ้น กิเลสจึงเป็นโรคร้ายทางใจที่อันตรายกว่าโรคร้ายทางกายหลายล้านเท่านัก

     พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงทราบถึงความร้ายกาจของกิเลสเป็นอย่างดี ซึ่งพวกเราก็ได้เรียนกันมาแล้วในพุทธประวัติว่า เมื่อสองพันห้าร้อยกว่าปีที่แล้ว พระองค์เองเพื่อต้องการกำจัดกิเลสให้หมดสิ้น ก็ทรงทุ่มชีวิตเป็นเดิมพันในการบำเพ็ญภาวนา ในคืนวันวิสาขบูชาเช่นกัน

      พระพุทธองค์ทรงตั้งสัตยาธิษฐานว่า "แม้เลือดเนื้อต้องแห้งเหือดหายไป เหลือแต่หนังเอ็นหุ้มกระดูกก็ตามที หากไม่บรรลุธรรมอันเป็นเครื่องดับทุกข์ทั้งปวงแล้ว ก็จะไม่ขอลุกขึ้นจากที่นี้"

     นั่นคือพระองค์ทรงเอาชีวิตเป็นเดิมพันเพื่อกำจัดกิเลส ให้หมดสิ้นอย่างไม่ห่วงอาลัยในชีวิตของพระองค์เองแม้แต่น้อยเลย แล้วในที่สุดพระองค์ก็ทรงสามารถปราบกิเลส ให้หมดสิ้น และตรัสรู้ธรรมเป็นพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าได้สำเร็จด้วยพระองค์เอง

    เมื่อพระองค์ตรัสรู้แล้ว ก็ไม่ได้ทรงหวงแหนความรู้ในการกำจัดกิเลส แม้แต่น้อย พระองค์ทรงมีมหากรุณาต่อชาวโลก ใครที่พอมีแววว่าจะสามารถกำจัดกิเลส ตามพระองค์ไปได้ แม้อยู่ไกลแสนไกลแค่ไหน พระองค์ก็เสด็จไปสั่งสอนวิธีการขจัดกิเลสให้แก่เขา พระองค์ทรงทุ่มเทชีวิตตลอดวันตลอดคืนเพื่อช่วยเหลือชาวโลกให้พ้นทุกข์อย่างแท้จริง ในสมัยพุทธกาล มีชาวโลกที่สามารถกำจัดกิเลส ได้หมดสิ้น บรรลุธรรมเป็นพระอรหันต์ติดตามพระองค์เข้าพระนิพพานไปจำนวนมาก อาทิเช่น พระปัญจวัคคีย์ พระสารีบุตร พระโมคคัลลานะ เป็นต้น

     การที่พระองค์ทรงกำจัดกิเลสได้เด็ดขาดแล้วนี้เอง จึงไม่มีศาสดาใดเป็นผู้มีความเชี่ยวชาญในเรื่องการกำจัดกิเลสเท่ากับพระองค์อีกแล้ว และนี่คือสาเหตุที่ทำให้พระองค์ทรงเป็นศาสดาเอกของโลก เพราะไม่มีศาสดาใดที่สามารถมองเห็นกิเลส และบอกวิธีกำจัดกิเลสได้อย่างยอดเยี่ยมเหมือนกับพระองค์นั่นเอง

       - กิเลส มี 3 ตระกูลใหญ่ คือ

กิเลสตระกูลที่ 1 เรียกว่า โลภะ
กิเลสตระกูลที่ 2 เรียกว่า โทสะ
กิเลสตระกูลที่ 3 เรียกว่า โมหะ

      โลภะ คือ กิเลสที่กำเริบขึ้นแล้ว ทำให้ใจคิดอยากได้ของคนอื่นในทางที่ผิด เช่น ลักขโมยหลอกลวง ฉ้อโกง เป็นต้น

      โทสะ คือ กิเลสที่กำเริบขึ้นมาแล้ว ทำให้ใจคิดทำลายให้เสียหายยับเยิน เช่น ไม่ชอบใครขึ้นมา ก็ต่อยตีเขาให้ยับเยิน ลงมือเผาทำลายทรัพย์สิ่งของมีค่าของเขา เป็นต้น

       โมหะ คือ กิเลส ที่กำเริบขึ้นมาแล้ว ทำให้ใจลุ่มหลงในสิ่งผิดว่าเป็นถูก คิดทำอะไรก็คิดอย่างโง่ๆ ไม่มีความรอบคอบ เช่น คิดอิจฉาตาร้อนเขาบ้าง คิดลุ่มหลงว่าตัวเป็นผู้วิเศษกว่าคนอื่นบ้าง ทั้งๆ ที่ยังไงวันหนึ่งก็ต้องตายเหมือนกันหมด เป็นต้น

       1.2.2) อานิสงส์ของการศึกษาธรรมะมีอะไรบ้าง
    การที่เราจะทำให้ใจหายทุกข์ได้ ก็คือต้องกำจัดกิเลสให้หมดสิ้น และจุดเริ่มต้นของการกำจัดกิเลส ก็คือ ต้องศึกษาพระธรรมคำสอนของพระองค์ให้เข้าใจอย่างถูกต้อง และทุ่มชีวิตปฏิบัติธรรมเหมือนอย่างกับที่พระพุทธองค์และเหล่าพระอรหันต์ทรงทำมาแล้ว จึงจะสามารถกำจัดกิเลสได้จริง

       พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงแสดงประโยชน์ของการศึกษาธรรมะไว้อย่างน้อย 5 ประการ

     (1) เป็นการเพิ่มพูนความรู้ใหม่ เพราะผู้แสดงธรรมย่อมจะศึกษาค้นคว้าขบคิด นำข้อธรรมะต่างๆ มาแสดง ทำให้เราได้ยินได้ฟังธรรมะที่ไม่เคยได้ยินได้ฟังมาก่อน

     (2) เป็นการทบทวนความรู้เดิม คือถ้าหัวข้อธรรมะที่ผู้นำมาแสดงนั้น ตรงกับสิ่งที่เราเคยศึกษามาแล้ว ก็จะทำให้เราได้ทบทวนความรู้เดิมให้เกิดความเข้าใจแตกฉานสามารถจดจำได้แม่นยำขึ้น

   (3) เป็นการปลดเปลื้องความสงสัยเสียได้คือถ้าผู้ฟังยังมีความลังเลสงสัยในการละชั่วบางอย่าง หรือการทำความดีบางอย่างเมื่อได้ฟังธรรมะเพิ่มเติมแล้ว จะทำให้ความลังเลสงสัยนั้นหมดไป ตัดสินใจละความชั่ว ทำความดีง่ายขึ้น

    (4) เป็นการปรับความเห็นให้ตรง คือในระหว่างการดำเนินชีวิตสู่เป้าหมายสูงสุดของชีวิตคนเรานั้น เราจะถูกมารคือกิเลสและสิ่งแวดล้อมที่ไม่ดีต่างๆ ทำให้มีความเห็นผิดๆ เกิดขึ้นได้ แล้วทำให้การดำเนินชีวิตวกวนเฉไฉผิดเป้าหมายไป การศึกษาธรรมจะช่วยให้เราเกิดความสำนึกตัวว่า ความคิดเห็นของเราได้บิดเบือนไปอย่างไร แล้วจะได้เลิกความเห็นผิดเสียประคองความเห็นที่ถูกไว้

   (5) เป็นการฝึกอบรมจิตใจให้สูงขึ้น คือการฟังธรรมจะเป็นเครื่องเตือนสติเรา ทำให้ใจของเราเลิกละจากความคิดฟุ้งซ่านในเรื่องกาม ความคิดพยาบาทอาฆาต ความคิดเบียดเบียนผู้อื่น และ สอดส่องชี้ให้เราเห็นถึงจุดอ่อนข้อบกพร่องในตัว ซึ่งจะต้องปรับปรุงแก้ไข ยกระดับจิตใจของเราให้สูงขึ้นๆ จนกระทั่งสามารถขจัดข้อบกพร่องได้เด็ดขาด บรรลุมรรคผลนิพพานในที่สุด

   จากอานิสงส์การศึกษาธรรมะที่พระพุทธองค์ทรงแสดงไว้ 5 ประการนี้ ย่อมชี้ให้เห็นว่าครอบครัวใด หน่วยงานใด ท้องถิ่นใดก็ตาม เมื่อมีการศึกษาธรรมะแล้วสมาชิกของที่นั่นย่อมามารถควบคุมกิเลสในใจไว้ได้ แล้วความเดือดเนื้อร้อนใจต่างๆ เพราะกิเลสกำเริบก็จะไม่เกิดขึ้นตามมา นั่นก็หมายความว่า งานที่แท้จริงของมนุษย์เรานั้น ก็คือ งานศึกษาธรรมะและปฏิบัติธรรมะเพื่อกำจัดกิเลสถานที่แห่งใดยิ่งส่งเสริมให้มีการศึกษาธรรมะมากเท่าไหร่ ย่อมพบแต่ความสุขในจิตใจอันเกิดจากปฏิบัติธรรมะมากเท่านั้น

    โดยสรุป คุณสมบัติของธรรมะเป็นที่ บายประการที่สอง ก็คือ ท้องถิ่นนั้นต้องมีการส่งเสริมให้ประชาชนศึกษาธรรมะด้วยการหมั่นฟังธรรมเป็นประจำ เพื่อให้ใจมีปัญญารู้เท่าทันกิเลสจะได้สามารถหาทางสงบระงับกิเลสที่เกิดขึ้นแล้วให้สลายไปได้ อีกทั้งยังเป็นหนทางป้องกันไม่ให้กิเลสได้ช่องทางกำเริบเสิบสานขึ้นมาในใจด้วย เป็นเหตุให้ไม่ติดเหยื่อล่อทางใจจากอบายมุขได้ง่าย ผลสุดท้าย ย่อมทำให้ท้องถิ่นตรงนั้นอยู่ร่วมกันด้วยความสงบสุข

     1.3) มีการเผยแผ่ธรรมะ หมายถึง มีพระภิกษุผู้ทรงศีลธรรมประจำอยู่ที่ท้องถิ่นนั้นทำหน้าที่เป็นครูสอนศีลธรรมประจำท้องถิ่น มีเทคนิควิธีการที่ อนให้ประชาชนรู้ว่า อะไรถูกผิด อะไรดีชั่ว อะไรบุญบาป อะไรควรไม่ควรทำ จนกระทั่งเกิดศรัทธาที่จะกำจัดกิเลสในตัวด้วยการประพฤติปฏิบัติธรรมให้เพิ่มพูนยิ่งๆ ขึ้นไป โดยมีสถานที่ คือ วัดเป็นโรงเรียนสอนศีลธรรมประจำท้องถิ่น

       1.3.1) ธรรมะคืออะไร
     ธรรมะ แปลว่า ความจริงตามธรรมชาติ เช่น คนเราต้องเกิด ต้องแก่ ต้องเจ็บ ต้องตาย นี่เป็นธรรมะคือความจริงตามธรรมชาติ

    ธรรมะ แปลว่า ความดีความถูกต้อง เช่น การให้ทานเป็นความดี การรักษาศีลมีเมตตากรุณาเป็นความดี ความกตัญูกตเวทีต่อพ่อแม่เป็นความดี ใครปฏิบัติตามสิ่งเหล่านี้เรียกว่า ปฏิบัติธรรม

    พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงเป็นผู้ค้นพบธรรมะ โดยพระองค์ทรงค้นพบว่า ชีวิตของคนเรานั้นเกิดมาพร้อมกับความไม่รู้และมีทุกข์ประจำและทุกข์จรคอยตามเล่นงานอยู่ตลอดเวลา พระองค์จึงทรงทุ่มเทชีวิตเพื่อกำจัดความไม่รู้และกำจัดทุกข์มาข้ามภพข้ามชาติจนกระทั่งในที่สุด ก็พบว่า ในตัวของมนุษย์ทุกคนนั้น มีธรรมชาติบริสุทธิ์ชนิดหนึ่งซ่อนอยู่ภายใน หากใครเข้าถึงธรรมชาติบริสุทธิ์ชนิดนี้ได้ ทุกข์ที่มีอยู่ก็จะหายไปและเกิดความรู้ที่ถูกต้องจริงขึ้นมา แล้วพระองค์ก็เรียกธรรมชาติบริสุทธิ์นี้ว่า "ธรรมะ"

      ธรรมะในพระพุทธศาสนา แบ่งเป็น 3 ระดับ
    (1) ธรรมะในระดับคำสอน หมายถึง คำสั่งสอนของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าที่ทรงสอนให้มนุษย์พ้นจากทุกข์ทั้งปวง โดยสรุปแล้วสามารถแบ่งเนื้อหาออกเป็น 3 เรื่องใหญ่

    1. ทรงสอนให้เข้าใจถูกในเรื่องราวความเป็นจริงของชีวิตและลักษณะของธรรมะอันเป็นธรรมชาติบริสุทธิ์ที่อยู่ในตัว

     2. ทรงสอนให้ตั้งใจปฏิบัติมรรคมีองค์ 8 อย่างถูกวิธี เพื่อให้สามารถเข้าไปรู้ไปเห็นธรรมชาติบริสุทธิ์ที่อยู่ในตัว

     3. ทรงสอนให้สามารถทำใจให้เป็นอันหนึ่งอันเดียวกับธรรมชาติบริสุทธิ์ในตัว เพื่อกำจัดกิเลสที่หมักหมมอยู่ในใจมาหลายภพหลายชาติให้หมดสิ้นไปอย่างถาวร

   สำหรับธรรมะในความหมายนี้ หมายถึงคำสอนของพระพุทธองค์ที่ได้ถูกบันทึกไว้ในพระไตรปิฎกทั้งหมด ธรรมะที่บันทึกอยู่ในพระไตรปิฎกนี้ จึงเปรียบเหมือนแผนที่
ขุมทรัพย์ที่บอกให้รู้เรื่องราวความจริงของชีวิต บอกวิธีการปฏิบัติเพื่อการพ้นทุกข์ และบอกผลลัพธ์ที่ได้จากการกำจัดกิเลสและทุกข์ทั้งปวงหมดสิ้นไป

     (2) ธรรมะในระดับนิสัย หมายถึง นิสัยดีๆ ที่เกิดจากการตั้งใจปฏิบัติมรรคมีองค์ 8 อย่างจริงจัง ด้วยการละเว้นความชั่ว ทำความดี กลั่นใจให้ผ่องใสเพื่อการเข้าถึงธรรมชาติบริสุทธิ์ในตัว และการกำจัดกิเล อันเป็นเหตุแห่งทุกข์ทั้งปวงให้หมดสิ้นไป

      ในระหว่างที่เราตั้งใจปฏิบัติมรรคมีองค์ 8 อยู่นั้น แม้ว่าตอนนี้ เราจะยังไม่เห็นธรรมะในตัวก็ตาม แต่ว่ากิเลสก็ได้ถูกกำจัดออกไปบางส่วนแล้วสิ่งที่ได้กลับมาก็คือ เราได้มีนิสัยดีๆ เกิดขึ้นมาในตัวหลายอย่างโดยอัตโนมัติ โดยเฉพาะนิสัยรักการทำทาน นิสัยรักการรักษาศีล นิสัยรักการทำภาวนา เป็นต้น นิสัยเหล่านี้ มีส่วนสำคัญอย่างมากที่ช่วยให้ใจสงบนิ่งได้เร็วเพราะฉะนั้น นิสัยดีๆ ที่ได้จากการฝึกฝนอบรมตนเอง ก็เรียกว่า ธรรมะ เหมือนกัน เพราะล้วนเป็นผลลัพธ์ที่เกิดอย่างค่อยเป็นค่อยไปมาตามลำดับจากการปฏิบัติมรรคมีองค์ 8 เพื่อเข้าถึงธรรมชาติบริสุทธิ์ที่อยู่ภายในตัวของเรานั่นเอง

     (3) ธรรมะในระดับธรรมชาติบริสุทธิ์ หมายถึง ธรรมชาติบริสุทธิ์อยู่ในตัวมนุษย์ทุกคน หากใครเข้าถึงได้แล้ว ย่อมทำให้ใจเกิดความบริสุทธิ์ผุดผ่องตามธรรมะนั้นไปได้และหากใจของใครสามารถเป็นอันหนึ่งอันเดียวกับธรรมที่เข้าถึงนี้ได้ กิเลสย่อมหมดสิ้นไปจากใจ ทุกข์ทั้งปวงย่อมถูกดับจนหมดสิ้นไปด้วย

 ใครก็ตามที่เข้าถึงธรรมะในตัวนี้ได้แล้ว ย่อมทราบถึงคุณวิเศษของธรรมะนี้ด้วยตัวเองส่วนว่าธรรมะหรือธรรมชาติที่บริสุทธิ์ที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงรู้ทรงเห็นนี้ มีมากมายขนาดไหน พระพุทธองค์ก็ทรงเล่าว่า มีมากมายยิ่งกว่าธรรมะที่พระองค์นำมา สอนเสียอีก ธรรมะที่พระองค์ทรงนำมาสอนนั้น อุปมาเหมือนกับใบไม้แค่ในกำมือ แต่ธรรมะที่พระองค์ทรงรู้ทรงเห็น แต่ไม่ได้นำมาสอนนั้น มีมากกว่าใบไม้ทั้งป่าเสียอีก

      1.3.2) เหตุใดต้องเผยแผ่ธรรมะ
    โลกนี้เปรียบเหมือนหม้อน้ำที่ตั้งอยู่บนเตาไฟใหญ่ แล้วก็มีประชากรโลกกว่าหกพันล้านคน ซึ่งเปรียบเหมือนฟนในเตาหกพันล้านดุ้นเผาผลาญอยู่ ก็เท่ากับว่าความร้อนในตัวของแต่ละคน ก็มีส่วนทำให้โลกร้อนขึ้นทั้งนั้น แต่ถ้าต่างคนต่างก็ชักฟืนของตัวเองออกจากเตา ความร้อนของโลกก็จะถูกลดลงไป อย่างน้อยที่สุด แม้ว่าความร้อนของโลกจะยังไม่หมดแต่โลกก็ไม่ได้ร้อนเพราะเรา

    การแก้ไขปัญหาอะไรก็ตาม ทุกคนต้องดูข้อบกพร่องตัวเองก่อน จะต้องนับหนึ่งที่ตัวเองก่อน แก้ไขตัวเองเป็นคนแรก เมื่อแก้ไขตัวเองเป็นคนแรกแล้ว ก็ต้องชักชวนคนอื่นให้ทำความดีตามมา โดยชักชวนในสิ่งที่ตนเองสามารถเป็นตัวอย่างที่ดีได้แล้ว

     แต่คนส่วนมากในโลกนี้ รักที่จะตั้งกฎเกณฑ์ให้คนอื่นแก้ไขก่อน แต่ตัวเองจะแก้ไขข้อบกพร่องของตัวไว้เป็นคนสุดท้าย เรื่องร้อนๆ ในโลกนี้ ไม่ว่าเกิดขึ้นที่ไหนก็ตาม มักล้วนมุ่งไปแก้ไขที่ฝ่ายตรงข้าม แล้วไม่แก้ไขตัวเองก่อน เพราะฉะนั้น ยิ่งแก้จึงยิ่งร้อน ยิ่งแก้ยิ่งจับผิดยิ่งแก้ตัวเองก็ยิ่งสร้างปัญหาไปด้วยโดยไม่รู้ตัว

      นอกจากนี้ ความที่โลกนี้มีการ สื่อสารกันได้กว้างขวาง จึงทำให้เกิดการแทรกแซงจากภายนอกเข้าไปอีก กลายเป็นการสาดน้ำมันเข้ากองไฟเข้าไปอีก กลายเป็นยิ่งเพิ่มปัญหา คนในโลกนี้ ตอนลืมตาก็มองเห็นคนทั้งโลก แต่ไม่เคยเห็นหน้าตัวเองเลย

     ลูกนัยน์ตาของตัวเองยิ่งร้าย เห็นแต่คนอื่น ลูกนัยน์ตาตัวเองกลับไม่เห็น อย่างดีก็เห็นแค่เงาในกระจก เมื่อมีความผิดอะไรขึ้นมา ก็วิจารณ์จับผิดชาวบ้านได้หมด ความผิดจึงไปตกที่คนอื่นทั้งหมด จนไม่มีใครดี

    เมื่อทุกคนคิดอย่างนี้ ตัวเองก็ไม่ยอมแก้ไขข้อบกพร่องของตัวเอง มันก็มีแต่พังกับพังเพราะหลงว่าตัวเองดี ทั้งที่มีความไม่ดีตั้งเยอะ

     เพราะฉะนั้น การจะเริ่มต้นแก้ไขอะไรก็ตาม ต้องเริ่มจากมองเห็นข้อบกพร่องของตนเองก่อนทำอย่างไรจึงจะเห็นข้อบกพร่องของตนเอง ก็ทำได้โดยหลับตาทำสมาธิให้ใจเป็นกลางพอใจเป็นกลาง ก็จะเห็นพฤติกรรมของตัวเอง ถูกก็มองเห็น ผิดก็มองเห็น แล้วก็ลงมือแก้ไขให้ตรงจุด ที่ถูกก็ทำให้ถูกยิ่งขึ้นไป ที่ผิดก็แก้ไขให้ถูกด้วยวิธีที่ต่างคนก็เริ่มต้นแก้ไขที่ตัวเองนี้ โดยไม่ปล่อยให้ใครมาแทรกแซง เดี๋ยวก็แก้ไขได้ ยกเว้นว่า คนๆ นั้นเป็นคนบ้าสติไม่ดี หรือคนตายไปแล้วเท่านั้นที่แก้ไขไม่ได้

   ดังนั้น การเผยแผ่ธรรมะจึงมีจุดประสงค์เพื่อกระจายวิธีกำจัดทุกข์ร้อนให้ทั่วถึงทุกคนอย่างมากที่สุด ยิ่งกระจายออกไปกว้างไกลเท่าไหร่ ยิ่งทำให้ท้องถิ่นนั้น ประเทศนั้นมีความสงบสุขมากยิ่งขึ้น เมื่อเป็นอย่างนี้ ทุกคนก็เพียงแต่ตั้งใจแก้ไขตัวเอง โลกที่เคยร้อนก็จะเย็นลงตามลำดับๆ โดยมีการเผยแผ่ธรรมะเป็นจุดเริ่มต้นนั่นเอง

      1.3.3) ทำอย่างไรธรรมะจึงจะเผยแผ่ไปในท้องถิ่น
     การเผยแผ่ธรรมะไปในท้องถิ่นจะเกิดขึ้นได้ก็ต่อเมื่อประชาชนมีศรัทธา พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงชี้ให้เห็นว่าศรัทธานั้นเป็นผลที่เกิดขึ้นหลังการฟังธรรม ประเด็นสำคัญก็คือทำอย่างไรประชาชนถึงอยากจะฟังธรรม

     ธรรมชาติของมนุษย์นั้น ย่อมหนีร้อนมาพึ่งเย็น ถานที่แห่งใดก็ตามที่เขาเชื่อว่าสามารถให้ความเย็นใจแก่เขาได้ เขาย่อมไปที่แห่งนั้น ปู่ย่าตาทวดในอดีตจึงนิยมสร้างวัดวาอารามไว้ใกล้หมู่บ้าน และเดินทางไปนิมนต์พระภิกษุผู้ประพฤติดีปฏิบัติชอบมาอยู่ประจำเพื่อเป็นครูสอนศีลธรรมประจำหมู่บ้าน ซึ่งก็เป็นเหตุให้เกิดวัดวาอารามต่างๆ ทั่วประเทศในสมัยนั้น และมีหลักฐานตราบมาถึงทุกวันนี้

      พระอาจารย์ในสมัยก่อน ท่านมีคาถาเรียกคนเข้าวัดด้วยการทำวัดให้เป็นสถานที่เย็นกายเย็นใจ ใครก็ตามเพียงแค่เดินเฉียดปากประตูวัดเท่านั้น ก็สัมผัสได้ถึงความ สงบกายสงบใจ อยากจะเข้าไปฟังธรรมในวัด คาถาเรียกคนเข้าวัดของท่านนั้น มีอยู่ 3 ประการ

      1) ขยันกวาดวัด หมายถึง การหมั่นดูแลวัดให้มีความสะอาดอยู่เสมอ เพราะถ้าวัดไม่สะอาดกว่าบ้านที่เขาอยู่ ประชาชนที่ไปวัดย่อมเกิดความคิดในแง่ดีได้ยาก เป็นผลให้เกิดความคิดจับผิดได้ เพราะมีความรู้สึกว่ามาวัดแล้ว มองไปทางไหนก็มีแต่ความไม่สบายตาไม่สบายใจ เห็นแต่ขยะเกลื่อนวัดไปหมด แต่ถ้าวัดสะอาดกว่าบ้านที่เขาอยู่ เพียงแค่เห็นความสะอาดเป็นระเบียบภายในวัด ก็ทำให้ใจเกิดความสงบ และเกิดความคิดในแง่ดีได้ง่ายเท่ากับกรองความร้อนในใจของเขาให้เบาบางลงไประดับหนึ่ง และทำให้อยากมาวัดอีก

      2) ขยันเทศน์สอน หมายถึง การหมั่นศึกษาค้นคว้าธรรมะทั้งในแง่ทฤษฎีและในแง่ปฏิบัติอยู่เสมอ แล้วนำมาฝึกอบรมตัวเองก่อน จากนั้นจึงนำสิ่งที่ฝึกฝนอบรมตนเองได้นั้น มาเทศน์ อนชนิดที่บ่งความทุกข์ออกจากใจผู้ฟัง ไม่ว่าผู้ฟังจะอยู่ในวัยไหนเพศใด ก็ต้องเทศน์ให้ตรงประเด็นของเขา เทศน์ให้เหมือนบ่งหนองออกจากแผล คือ ให้เขาฟังตามได้ง่าย ตรองตามเหตุผลได้ง่าย และส่องหนทางปฏิบัติที่เกิดประโยชน์ต่อชีวิตเขาอย่างชัดเจน เมื่อนั้นความทุกข์ร้อนในใจของประชาชนย่อมคลายตัวลงไป ทำให้อยากมาวัดอีก

      3) ขยันนั่งสมาธิ หมายถึง การหมั่นทำภาวนากลั่นจิตใจให้ผ่องใสอยู่เสมอ ซึ่งวิธีนี้เป็นการมุ่งสร้างความ งบสุขให้เกิดขึ้นในจิตใจโดยตรง ตามธรรมดาของคนเรานั้น ถึงแม้จะเทศน์สอนดีขนาดไหน แต่ผู้ฟังจะไม่สามารถจดจำไปได้ทั้งหมด เพราะจิตใจของชาวโลกนั้น มีเรื่องมากมายต้องคิดกังวล เพียงแค่เดินออกนอกประตูวัดไปเท่านั้น ความ งบที่เพิ่งได้จากการฟังธรรมเมื่อสักครู่ ก็แทบจะเลือนหายไปหมดสิ้นทีเดียว ดังนั้น นอกจากการเทศน์ อนแล้ว พระภิกษุยังต้องนำญาติโยมนั่งสมาธิด้วย เพื่อให้เขาเมื่อกลับไปถึงบ้านแล้ว แม้จะจำคำเทศน์ อนไม่ได้แต่ก็รู้จักวิธีสงบจิตใจของตนเองเป็น เพราะได้เคยฝึกนั่งสมาธิที่วัดมาแล้ว แต่เนื่องจากการนั่งมาธิท่ามกลางสิ่งแวดล้อมที่มีแต่งานและปัญหารอให้แก้ไขตลอดเวลา กว่าใจจะ งบได้ก็ใช้เวลานาน ไม่เหมือนมานั่งที่วัด นี่ก็เป็นอีกสาเหตุหนึ่งที่ทำให้ประชาชนอยากกลับมาวัดอีก เพราะมาวัดแล้วนั่งสมาธิได้ความสงบจิตใจมากกว่าอยู่ที่บ้าน

    คาถาทั้ง 3 ประการนี้ พระภิกษุใน มัยก่อนใช้เป็นหลักในการพัฒนาวัดให้เป็นโรงเรียน อนศีลธรรมประจำหมู่บ้าน เป็นเหตุให้ธรรมะเผยแพร่ไปทั่วท้องถิ่น บางท่านอาจคิดค้านว่าสมัยนี้เป็นยุคเทคโนโลยี ใครเขาจะไปสนใจศึกษาธรรมะกัน ธรรมะเป็นของคร่ำครึล้าสมัยไม่น่าสนใจ เพียงแค่ความคิดเริ่มต้นอย่างนี้ ก็กลายเป็นการตัอนาคตที่สดใสของตนเองออกไปจากชีวิตอย่างน่าเสียดาย เพราะไม่ว่าเทคโนโลยีจะก้าวล้ำนำสมัยไปไกลสักเพียงไหนมนุษย์เราเมื่อถึงคราวมีความทุกข์ ยังต้องการหนีร้อนไปพึ่งเย็นอยู่ดี แต่เพราะไม่รู้มาก่อนว่าการเข้าวัดมีประโยชน์อย่างไร ย่อมหาทางดับร้อนในใจของตนเองด้วยการไปฟังเพลง เที่ยวกลางคืน ตามผับ ตามบาร์ต่างๆ ที่เป็นแหล่งอบายมุข เพราะเข้าใจว่าจะช่วยดับทุกข์ในใจตนเองได้แต่ผลสุดท้ายกลับกลายเป็นเพิ่มทุกข์หนักให้ตนเองมากขึ้นไปอีก

    ดังนั้น ขอเพียงแต่วัดต่างๆ ยังยืนหยัดพัฒนาวัดให้เป็นโรงเรียนสอนศีลธรรมสำหรับท้องถิ่นด้วยคาถา 3 ประการนี้ ในไม่ช้าวัดที่แม้ประชาชนทั้งคนเด็ก คนแก่ คนหนุ่ม คนสาวที่ห่างเหินวัดไปนาน ก็จะมีประชาชนกลับมาปฏิบัติธรรมอย่างหนาแน่นตามเดิม เพราะวัดเป็นที่พึ่งในยามหนีร้อนมาพึ่งเย็นของประชาชนได้เหมือนเดิม เมื่อนั้นญาติโยมย่อมเกิดศรัทธาและมาเป็นกำลังช่วยกันคนละไม้คนละมือให้พระภิกษุทำงานแผ่ขยายธรรมะออกไปทั่วท้องถิ่นได้อย่างเต็มที่

     โดยสรุป คุณสมบัติข้อที่สามของธรรมะเป็นที่สบาย คือ ท้องถิ่นนั้นมีการส่งเสริมให้พระภิกษุผู้ทรงศีลธรรมในท้องถิ่นนั้นสามารถทำงานเผยแผ่ธรรมะได้เต็มที่ ด้วยการร่วมใจกันช่วยพระภิกษุท่านพันาวัดให้มีความสะอาดร่มรื่น ตั้งใจศึกษาธรรมะที่ท่านเทศน์สอน และหมั่นมาบำเพ็ญภาวนาที่วัดกับท่านเป็นประจำ ทั้งนี้เพื่อเป็นการสร้างวิถีชีวิตของคนทุกเพศทุกวัยให้หันมาติดธรรมะแทนการติดอบายมุขนั่นเอง

 


GB 304 สูตรสำเร็จการพัฒนาองค์กรและเศรษฐกิจ
กลุ่มวิชาความรู้ทั่วไปทางพระพุทธศาสนา

 ยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคล Total Execution Time: 0.0012970010439555 Mins