ประวัติศาสตร์และพระพุทธศาสนาคืออะไร

วันที่ 08 กพ. พ.ศ.2560

ประวัติศาสตร์คืออะไร

    ประวัติศาสตร์คืออะไร นักศึกษาหลายท่านคงคิดว่า เป็นคำถามที่ไม่น่าจะถาม เพราะคำตอบชัดแก่ใจของนักศึกษาดีอยู่แล้ว แต่เชื่อหรือไม่ว่าสิ่งที่นักศึกษาคิดว่ารู้แล้ว ความรู้นั้นกลับไม่ตรงกัน แต่ละคนจะให้นิยามแตกต่างกันตามความคิดและประสบการณ์ของตน ถ้ารู้จริงสิ่งที่รู้นั้นก็ควรจะตรงกัน เพราะในเรื่องเดียวกันสิ่งที่ถูกต้องมีเพียงหนึ่งเดียว
แม้แต่นักประวัติศาสตร์เองที่เกือบทั้งชีวิตทุ่มเทศึกษาในเรื่องนี้มายาวนาน ก็ยังให้คำตอบไม่ตรงกันเสียทีเดียว

      ศ.ดร.นิธิ เอียวศรีวงศ์ ให้ความหมายว่า ประวัติศาสตร์ คือ "การศึกษาความเป็นมา ของมนุษยชาติหรือสังคมใดสังคมหนึ่งตั้งแต่อดีต ปัจจุบัน ถึงอนาคต โดยอาศัยวิธีการ บางประการที่เป็นที่รู้จักกันว่าวิธีของประวัติศาสตร์ "

      ดร.สืบแสง พรหมบุญ ให้ความหมายของประวัติศาสตร์ไว้ 2 ประการ ในความหมายที่กว้างที่สุด ประวัติศาสตร์ หมายถึง "ประสบการณ์ทั้งมวลในอดีตของมนุษย์"ส่วนอีกความหมายหนึ่งหมายถึง"การเขียนข้อเท็จจริงของเหตุการณ์และประสบการณ์ในอดีตที่นักประวัติศาสตร์เห็นว่ามีคุณค่าขึ้นมาใหม่โดยอาศัยการค้นคว้า การวิเคราะห์ และการตีความจากหลักฐาน
ทั้งปวงที่มีอยู่"

      วิกิพีเดียสารานุกรมเสรี ให้ความหมายประวัติศาสตร์ไว้ว่า "การศึกษาประวัติของมนุษยชาติ ซึ่งหมายถึง ความทรงจำของสังคมมนุษย์ในอดีตที่ได้รับการบันทึกไว้ คำว่าประวัติศาสตร์ มาจากการ มา คำว่า "ประวัติ" ซึ่งหมายถึง เรื่องราวความเป็นไป กับคำว่า"ศาสตร์" ซึ่งแปลว่า ความรู้ เข้าด้วยกัน เพื่อบัญญัติใช้หมายถึง คำว่า ฯ ในภาษาอังกฤษ"

      รศ.นันทนา กปิลกาญจน์ กล่าวไว้ว่า "ประวัติศาสตร์เป็นศาสตร์ที่ศึกษาอดีตอย่างเป็นระบบ ครอบคลุมและแทรกซึมอยู่ในทุกสาขาวิชา จะไม่มีวิชาใดที่มีลักษณะเป็นวิชาขึ้นได้โดยไม่อาศัยประวัติศาสตร์เลย ในทางนิติศาสตร์ก็ต้องศึกษาถึงอดีตและการตัดสินคดีในอดีตในทางแพทย์ศาสตร์ก็ต้องศึกษาถึงลักษณะอาการของโรคและวิธีการรักษาจากอดีต เราต้องมี
วิชาประวัติปรัชญา ประวัติสังคมวิทยา ประวัติการเกษตร เป็นต้น วิชาประวัติศาสตร์ไม่ใช่วิชาที่ศึกษาเฉพาะสิ่งที่บันทึกอยู่ในตำราหรือในหนังสือประวัติศาสตร์เท่านั้น ประวัติศาสตร์ที่ไม่ได้จดบันทึกนั้นมีมากกว่าประวัติศาสตร์ที่จดบันทึกเอาไว้เป็นหมื่นเป็นแสนหรือเป็นล้านเท่า"

จากความหมายของประวัติศาสตร์ที่กล่าวมาทั้งหมดจึง รุปได้ว่า คำว่า "ประวัติศาสตร์" มีความหมายใน 2 ลักษณะคือ

1) ประวัติศาสตร์ หมายถึง เหตุการณ์ทั้งหมดที่เกิดขึ้นในอดีต และสิ่งที่มนุษย์ได้กระทำ
    หรือสร้างแนวความคิดไว้ทั้งหมด ตลอดจนเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นโดยธรรมชาติที่มีผลต่อมนุษยชาติ
2) ประวัติศาสตร์ หมายถึง เหตุการณ์ในอดีตที่นักประวัติศาสตร์ได้สืบสวนค้นคว้า
    แสวงหาหลักฐานมารวบรวม วิเคราะห์ ตีความหมาย และเรียบเรียงขึ้น โดยหยิบยกขึ้นมา
    ศึกษาเฉพาะแต่สิ่งที่ตนเห็นว่ามีความหมายและมีความสำคัญ

    ประวัติศาสตร์ในความหมายประการที่ 2 นั้น เริ่มต้นจากมีเหตุการณ์หรือพฤติกรรมมนุษย์เกิดขึ้นซึ่งมีมากและเกิดขึ้นตลอดเวลาส่วนใหญ่มักถูกลืมหรือผ่านไปโดยไม่มีใครสังเกตฉะนั้นประวัติศาสตร์จึงต้องอาศัยผู้บันทึก ผู้สังเกต และผู้จดจำสร้างหลักฐานไว้ โดยหลักฐานนั้นอาจจะเป็นคัมภีร์ ตำรา ภาพวาด โบราณ ถาน โบราณวัตถุ พงศาวดาร ศิลาจารึก เป็นต้น
ผู้สร้างหลักฐานนี้จะเป็นใครก็ได้ ไม่จำเป็นที่จะต้องมีผู้รับผิดชอบโดยตรง และเมื่อเกิดหลักฐานขึ้นแล้ว ประวัติศาสตร์จำต้องอาศัยนักประวัติศาสตร์ ทำหน้าที่รวบรวม ตรวจตรา พิจารณาไตร่ตรอง ตีความหมายของหลักฐานผ มผสานกับความรู้และประสบการณ์ในชีวิตมาวิเคราะห์และเรียบเรียงขึ้น

แต่สิ่งที่จะมองข้ามไปไม่ได้คือ ความจริงที่ว่าวันหนึ่งๆ มีการกระทำของมนุษย์มากมาย และไม่มีใครสามารถจำลองอดีตมาได้โดย มบูรณ์ ฉะนั้นเหตุการณ์ที่นักประวัติศาสตร์เรียบเรียงขึ้นจึงเป็นเรื่องราวเพียง 1 ใน 100 หรือ 1 ใน 1,000 ของเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น และไม่แน่เสมอไปว่าจะถูกต้องที่สุดหรือสำคัญที่สุด หากแต่เป็นเพียงเรื่องราวของความสัมพันธ์
ระหว่างเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นและการตีความหมายในทัศนะของนักประวัติศาสตร์ เหตุการณ์ในประวัติศาสตร์ซึ่งเป็นที่ยอมรับกันว่า เชื่อถือได้แน่นอนแล้วนั้น ไม่จำเป็นต้องคงอยู่ในรูปนั้นเสมอไป ประวัติศาสตร์อาจจะเปลี่ยนแปลงได้ทุกเวลา เมื่อพบหลักฐานใหม่ที่เชื่อถือได้ หลักฐานใหม่แม้เพียงอย่างเดียว ถ้ามีน้ำหนักดีพอก็อาจจะเปลี่ยนเรื่องราวของประวัติศาสตร์ได้

ประวัติศาสตร์พระพุทธศาสนาคืออะไร
   ประวัติศาสตร์พระพุทธศาสนาจึงหมายถึง เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นกับพระพุทธศาสนาในอดีตจนถึงปัจจุบัน ซึ่งนักประวัติศาสตร์ได้ศึกษาค้นคว้าเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นเหล่านั้นจากหลักฐานต่างๆ ที่ค้นพบ วิเคราะห์ตีความหมายด้วยความรู้และประสบการณ์ของตน แล้วเรียบเรียงขึ้นเป็นตำราประวัติศาสตร์พระพุทธศาสนาให้บุคคลในยุคหลังได้ศึกษาค้นคว้าต่อไป

   ในการศึกษาผลงานทางประวัติศาสตร์ นักศึกษาต้องยอมรับความจริงอย่างหนึ่งว่าเป็นการศึกษาข้อเท็จจริงซึ่งเกิดขึ้นในอดีตผ่านการตีความของนักประวัติศาสตร์ ซึ่งจะพบเสมอว่านักประวัติศาสตร์แต่ละท่านมักจะตีความไม่ตรงกันในหลายๆ ประเด็น เช่น ประเด็นปัจจุบันควรจะเป็นพุทธศักราชที่เท่าไร นักประวัติศาสตร์ได้เสนอทฤษฎีที่ไม่ตรงกันหลายสิบทฤษฎี
จนทำให้ผู้อ่านไม่รู้จะเชื่อตามทฤษฎีไหนดี ในประเด็นนี้ นักศึกษาควรทำใจเป็นกลางและยอมรับว่าเป็นเรื่องปกติธรรมดาของการศึกษาเหตุการณ์ในอดีต ซึ่งยากที่จะชี้ชัดลงไปว่าข้อเท็จจริงคืออะไร แต่ทั้งนี้ก็ไม่ได้หมายความว่าประวัติศาสตร์ทั้งหมดจะเชื่อถือไม่ได้ เพราะประวัติศาสตร์ส่วนใหญ่มีข้อเท็จจริงที่เป็นหลักฐานยืนยันชัดเจน และนักประวัติศาสตร์มี
ความเห็นตรงกัน


GB 405 ประวัติศาสตร์พระพุทธศาสนา
กลุ่มวิชาความรู้ทั่วไปทางพระพุทธศาสนา

 ยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคล Total Execution Time: 0.0031562487284342 Mins