พระพุทธศาสนาในตะวันตก
ภาพรวมพระพุทธศาสนาในตะวันตก
สถานการณ์พระพุทธศาสนาในตะวันตกยุคปัจจุบันมีความตื่นตัวและเจริญเติบโตรวดเร็วมาก จากการศึกษาของเฮนรี ซี.ฟินนี่ (Henry C. Finney) พบว่า ในประเทศเยอรมนีมีอัตราการเพิ่มขึ้นของศูนย์นั่งสมาธิทางพระพุทธศาสนาประมาณ 10 เท่าตัวภายในระยะเวลา 22 ปี โดยในปี พ.ศ.2518 มีศูนย์นั่งสมาธิอยู่ประมาณ 40 ศูนย์ แต่ในปี พ.ศ.2540 มีจำนวนเพิ่มขึ้นมากกว่า 400 ศูนย์ ในสหราชอาณาจักรหรือประเทศอังกฤษมีอัตราการเติบโตประมาณ 4.5 เท่าภายในระเวลา 18 ปี กล่าวคือ ในปี พ.ศ.2522 มีศูนย์นั่งสมาธิอยู่ประมาณ 74 ศูนย์ แต่ในปี พ.ศ.2540 มีจำนวนเพิ่มขึ้นเป็น 340 ศูนย์
ในประเทศฝรั่งเศส มีการสำรวจความเห็นของเยาวชนใน พ.ศ.2540 พบว่า มีเยาวชนถึง 5,000,000 คนที่มีความพึงพอใจต่อคำสอนของพระพุทธศาสนา ส่วนประเทศสหรัฐอเมริกา ในปี พ.ศ.2503 มีพุทธศาสนิกชนอยู่ประมาณ 200,000 คน3ส แต่ในปี พ.ศ.2547 มีจำนวนเพิ่มขึ้นเป็น 3,000,000 คน หรือเพิ่มขึ้น 15 เท่าตัวภายในระยะเวลา 44 ปี นอกจากในตะวันตกแล้ว ประเทศในแถบโอเชียเนีย เช่น ออสเตรเลีย เป็นต้น เฮนรี ซี.ฟินนี่ พบว่ามีอัตราการเติบโตของพระพุทธศาสนาสูงเช่นกัน คือ ในปี พ.ศ.2524 มีพุทธศาสนิกชนอยู่ 35,000 คน แต่ในปี พ.ศ.2534 เพิ่มขึ้นเป็น 4 เท่าตัวคือประมาณ 140,000 คน และจากผลการวิจัยอัตราการเติบโตของศาสนาต่างๆ ในประเทศออ เตรเลียระหว่างปี พ.ศ.2529 - พ.ศ.2544 พบว่าพระพุทธศาสนามีอัตราการเติบโตรวดเร็วที่สุดดังตารางต่อไปนี้
ออสเตรเลียนแคพิทอลเทอร์ริทอรี (Australian Capital Territory)
แม้จำนวนพุทธศาสนิกชนในตะวันตกและโอเชียเนียปัจจุบันจะยังมีน้อย เมื่อเทียบกับจำนวนประชากรและจำนวนผู้นับถือศาสนาเทวนิยมในแต่ละประเทศ แต่จากแนวโน้มของการเติบโตอันรวดเร็วดังกล่าว เป็นไปได้ว่าในอนาคตจะมีพุทธศาสนิกชนเพิ่มขึ้นอีกมาก นอกจากนี้โดยปกติแล้วชาวตะวันตกแม้จะมีความศรัทธาในพระพุทธศาสนา หรือศรัทธาในศาสนาอื่นนอกเหนือจากศาสนาเดิมของตน ก็มักจะไม่เปิดเผยตนเอง เช่น เซอร์ เอดวิน อาร์โนลด์ ปราชญ์ชาวอังกฤษ ผู้เขียนหนังสือประทีปแห่งเอเชียซึ่งนิยมอ่านกันมากในตะวันตก เขาจะระมัดระวังมากในการประกาศตนต่อสาธารณชนถึงความศรัทธาในพระพุทธศาสนาเพราะคริสต์ศาสนิกชนโดยกำเนิดถือว่า ผู้เปลี่ยนศาสนาเดิมของตนย่อมถูกประณามอย่างร้ายแรง
ด้วยเหตุนี้จึงยากที่จะประเมินว่าพุทธศาสนิกชนในตะวันตกหรือในโอเชียเนียจริงๆแล้วมีอยู่จำนวนเท่าใด ทั้งนี้เพราะผู้ที่ไม่เปิดเผยตัวยังมีอยู่จำนวนมาก เจน เนทลิเออร์ (Jan Nattier) กล่าวว่า ในประเทศสหรัฐอเมริกา มีชาวพุทธแบบ Night-stand Buddhists กว่า 10,000,000 คน ซึ่งชาวอเมริกันเหล่านี้ชื่นชอบคำสอนของพระพุทธศาสนา บางคนก็ใช้เป็นหลักในการดำเนินชีวิตแต่ไม่ได้ประกาศตนว่าเป็นพุทธศาสนิกชน
พระพุทธศาสนาเริ่มเป็นที่รู้จักของชาวตะวันตกอย่างกว้างขวางเมื่อประมาณศตวรรษที่ 19 นี้เอง โดยเฉพาะในช่วงครึ่งหลังของศตวรรษปราชญ์ตะวันตกหลายท่านได้ผลิตตำราทางพระพุทธศาสนาออกมาเผยแพร่ เช่น อาร์เธอร์ โชเปนเาเออร์ ชาวเยอรมันผู้แต่งตำรายกย่องพระพุทธศาสนาไว้อย่างสูงส่ง หนังสือของเขาสร้างแรงบันดาลใจในการศึกษาพระพุทธศาสนาแก่ชาวตะวันตกจำนวนมาก ศ.ริส เดวิดส์ ชาวอังกฤษ ผู้ก่อตั้ง สมาคมบาลีปกรณ์ ได้แปลพระไตรปิฎกและคัมภีร์ทางพระพุทธศาสนาเป็นภาษาอังกฤษออกเผยแพร่มากมาย ดร.เจมส์ มาร์ติน พีเบิลส์ ปราชญ์ชาวอเมริกันผู้เผยแพร่หนังสือ Controversy at Panadura, Or, Panadura Vadaya ซึ่งเป็นบันทึกการโต้วาทีเรื่องพระพุทธศาสนากับคริสต์ศาสนา ระหว่างท่านคุณานันทเถระกับนักบวชคริสต์
นอกจากนี้ ชาวตะวันตกจำนวนมากรู้จักพระพุทธศาสนาจากผลงานของ เซอร์เอดวิน อาร์โนลด์ ผู้เขียนหนังสือประทีปแห่งเอเชียว่าด้วยพุทธประวัติซึ่งนิยมอ่านกันมากในตะวันตกโดยมีสถิติการพิมพ์กว่า 150 ครั้ง (นับถึงปี พ.ศ.2470) พระพุทธศาสนาในตะวันตกช่วงนี้โดยส่วนใหญ่เป็นนิกายเถรวาท ซึ่งแพร่หลายอยู่ในหมู่นักวิชาการและผู้สนใจศึกษาจากการอ่านตำรา โดยมากจะอยู่ในประเทศอังกฤษและเยอรมนี ทั้งสองประเทศนี้มีปราชญ์เถรวาทอยู่มากมาย พระพุทธศาสนายุคนี้จึงไม่เป็นที่รู้จักของพลเมืองทั่วไปในตะวันตกเท่าที่ควร
ต่อมาในศตวรรษที่ 20 เมื่อพระพุทธศาสนานิกายมหายานเข้าไปเผยแพร่มากขึ้นด้วยความมีเสน่ห์เรียบง่ายและหลากหลายในนิกายต่างๆ ของมหายาน ได้สร้างความสนใจแก่ชาวตะวันตกจำนวนมากทั้งพลเมืองทั่วไปและนักวิชาการ แม้จะเข้าไปหลังแต่กลับได้รับความนิยมมากกว่าเถรวาท จากการค้นหาข้อมูลด้วยระบบกูเกิล (Google) เฉพาะมหายานนิกายเซนอย่างเดียวพบว่า มีคำว่า Zen อยู่ถึง 74,400,000 รายการ ในขณะที่นิกายเถรวาทมีคำว่า Theravana อยู่เพียง 1,390,000 รายการเท่านั้น3 ต่างกันถึง 50 กว่าเท่าหากรวมมหายานนิกายอื่นด้วยคงต่างกันนับ 100 เท่า
ข้อมูลนี้เป็นเครื่องชี้วัดได้อย่างหนึ่งว่า พระพุทธศาสนานิกายมหายานเป็นที่สนใจของชาวโลกมาก ไม่ว่าจะเป็นนิกายรินไซเซนจากประเทศญี่ปุ่น ซึ่งดร.ดี ที ซูสุกิ เป็นผู้บุกเบิกเผยแพร่รินไซเซน จากประเทศไต้หวันที่เผยแพร่โดยคณะสงฆ์วัดฝอกวงซัน ซึ่งมีวัดสาขากว่า 250 แห่งทั่วโลก หรือเซนจากเวียดนามนำโดยท่านติช นัทฮันห์ ผู้ที่ทำให้คนเรือนแสนหันมาสนใจพระพุทธศาสนา นอกจากนี้ยังมีมหายานนิกายนิชิเร็นที่รู้จักกันดีในนามองค์กรโซกะกัคไค (Soka Gakkai International = SGI) ซึ่งมี มาชิกกว่า 12 ล้านคนทั่วโลก3 ก็เข้าไปเผยแผ่และได้ผลอย่างดียิ่ง
พระพุทธศาสนามหายานที่สำคัญที่สุดคือแบบทิเบต เพราะได้รับความสนใจมากที่สุดทั้งนี้อาจจะเป็นเพราะความโดดเด่นขององค์ทะไล ลามะ เท็นซิน กยัตโซ ( The 14th Dalai Lama, Tenzin Gyatso) ผู้นำสงฆ์และประชาชนชาวทิเบตในปัจจุบัน ท่านเดินทางไปกว่า 52 ประเทศทั่วโลก เข้าพบผู้นำของแต่ละประเทศ เพื่อสนทนาแลกเปลี่ยนประสบการณ์กับบรรดาผู้นำเหล่านั้น โดยเฉพาะประเทศที่ไม่ได้นับถือพระพุทธศาสนา ท่านเขียนหนังสือเผยแพร่กว่า 50 เล่ม ได้รับรางวัลเกียรติยศกว่า 57 รางวัล รวมทั้งรางวัลโนเบลสาขาสันติภาพในปี พ.ศ.25324 ด้วยเหตุนี้พระพุทธศาสนาทิเบตจึงได้รับความสนใจชาวชาวโลกมากโดยเฉพาะชาวตะวันตก
จากจำนวนศูนย์ (Center) พระพุทธศาสนาทั่วโลกในเว็บไซต์ www.buddhanet.net แสดงให้เห็นว่าอย่างชัดเจนว่า มหายานแบบทิเบตและเซนได้รับความนิยมสูงมากดังตารางที่แสดงในหน้าถัดไป จำนวนศูนย์พระพุทธศาสนาเหล่านี้หมายถึงวัดบ้าง ศูนย์นั่งสมาธิบ้าง เป็นองค์กรทางพุทธศาสนาอื่นๆ บ้าง ข้อมูลที่ยกมานี้เป็นเพียงส่วนหนึ่งซึ่งผู้จัดทำเว็บไซต์ www.buddhanet.net รวบรวมได้ ในความเป็นจริงมีศูนย์พระพุทธศาสนาอีกจำนวนไม่น้อยที่ไม่ได้แจ้งข้อมูลไว้ นอกจากนี้ยังมีบางเว็บไซต์ให้ข้อมูลเฉพาะนิกายได้ล่าสุดกว่า แต่เนื่องจากว่าเว็บไซต์เหล่านั้นไม่ได้ให้ข้อมูลครอบคลุมทุกนิกาย ด้วยเหตุนี้จึงใช้ข้อมูลจากเว็บไซต์นี้เป็นหลัก
ศูนย์พระพุทธศาสนาทั่วโลก
*----------------------------------------------------------------------------------------------------------*
หนังสือ GB 405 ประวัติศาสตร์พระพุทธศาสนา
กลุ่มวิชาความรู้ทั่วไปทางพระพุทธศาสนา