พระพุทธศาสนาในตะวันตก ประเทศรัสเซีย

วันที่ 24 เมย. พ.ศ.2560

พระพุทธศาสนาในตะวันตก
ประเทศรัสเซีย

พระพุทธศาสนาในตะวันตก ประเทศรัสเซีย, DOU, ประวัติศาสตร์พระพุทธศาสนา, พระพุทธศาสนา, ความรู้พระพุทธศาสนา, พระสัมมาสัมพุทธเจ้า, ประเทศรัสเซีย

    ประเทศรัสเซียมีชื่ออย่างเป็นทางการว่า สหพันธรัฐรัสเซีย (Russian Federation) เป็นหนึ่งใน 15 ประเทศที่แยกตัวออกจาก สหภาพโซเวียตเมื่อครั้งที่การปกครองระบอบคอมมิวนิสต์ล่มสลายในปี พ.ศ.2534 รั เซียเป็นประเทศที่ใหญ่ที่สุดในโลก แบ่งการปกครองเป็น 7 เขต ประกอบด้วย เขตสหพันธ์กลาง เขตสหพันธ์ใต้ เขตสหพันธ์ตะวันตกเฉียงเหนือ เขตสหพันธ์ตะวันออกไกล เขตส หพันธ์ไซบีเรีย เขตสหพันธ์อูรัลส์ และเขตสหพันธ์วอลกา ประชากรในประเทศมีประมาณ 142,893,540 คน (พ.ศ.2549)ส่วนใหญ่นับถือศาสนาคริสต์และอิสลาม

     ส่วนพุทธศาสนิกชนมีประมาณ 700,000 คน คิดเป็น 0.5 ของประชากรทั้งหมด โดยมากเป็นนิกายวัชรยานจากทิเบต พระพุทธศาสนาเข้าสู่เขตไซบีเรียครั้งแรก เมื่อพระเจ้าอโศกมหาราชส่งสมณทูตออกประกาศพระศาสนา ซึ่งอยู่ในช่วงปี พ.ศ.276312 อย่างไรก็ตาม จากผลงานวิจัยของนักธรณีวิทยาสหภาพโซเวียต ได้ให้ข้อพิสูจน์อย่างชัดเจนว่า ความสัมพันธ์ทางวันธรรมระหว่างประชาชนในเอเชียกลางกับอินเดียมีสายสัมพันธ์สืบต่อกันมานับจากยุคโมเน โจดาโร และารัปปา วรรณกรรมรัสเซียทั้งหลายจะพรรณนาขนบธรรมเนียมประเพณีวัฒนธรรมของอินเดีย ภาพลักษณ์ประเทศอินเดียในสายตาของชาวรัสเซียก็คือ ดินแดนที่มั่งคั่งประชาชนฉลาด อัจฉริยะ มีสิ่งประหลาดอัศจรรย์เหลือคณนา...

 หลังจากยุคพระเจ้าอโศกมหาราชแล้ว พระพุทธศาสนาเข้าไปสู่ประเทศรัสเซียครั้งสำคัญอีกครั้งหนึ่งในปี พ.ศ.1766 ในสมัยที่รัสเซียตกอยู่ใต้อำนาจการปกครองของเจงกิ ข่านแห่งมองโกล ปกติชาวมองโกเลียจะนับถือศาสนาพุทธ และลัทธิ "เต็งกรี" หรือลัทธิบูชาเทพแต่เจงกิสข่านก็ให้เสรีภาพในการนับถือศาสนา ในพระบรมราชวงศ์ของพระองค์มีผู้นับถือศาสนาเกือบทุกศาสนา และในกลางศตวรรษที่ 17 หรือประมาณ พ.ศ.2193 ลามะจากมองโกลและทิเบตได้เผยแผ่พระพุทธศาสนาเข้าไปยังดินแดนชายฝังตะวันออกของทะสาบไบคาล (Baikal) ตอนใต้ของสหพันธ์ไซบีเรีย ในเวลาไม่นานประชาชนในถิ่นใกล้เคียงคือตูวา(Tuva) และบูเรีย - ตียา (Buryatia) ก็ได้หันมานับถือพระพุทธศาสนาสมาคมและวัดถูกสร้างขึ้นหลายแห่ง นอกจากนี้ ชาวจีนจำนวนหนึ่งได้อพยพเข้าไปอาศัยอยู่ที่คัลมียคียา (Kalmykia) ทางตอนใต้ของไซบีเรีย ชาวจีนเหล่านี้ได้นำพระพุทธศาสนาเข้ามาด้วย

พระพุทธศาสนาในตะวันตก ประเทศรัสเซีย, DOU, ประวัติศาสตร์พระพุทธศาสนา, พระพุทธศาสนา, ความรู้พระพุทธศาสนา, พระสัมมาสัมพุทธเจ้า, ประเทศรัสเซีย

    พระพุทธศาสนาค่อยๆ เจริญสืบเนื่องกันมาเรื่อยๆ จนกระทั่งปี พ.ศ.2347 ได้มีการจัดตั้งคณะภาษาตะวันออกขึ้นในมหาวิทยาลัยมอสโคว์ มหาวิทยาลัยกาซาน มหาวิทยาลัยขาร์กอฟ อธิการบดีคนแรกของมหาวิทยาลัยขาร์กอฟ คือ ไอ.ริซ กี้ (I.Rizhsky) เขาให้ความสำคัญกับภาษาสันสกฤตมาก ซึ่งเป็นภาษาหนึ่งที่บันทึกคัมภีร์พระพุทธศาสนาแห่งแดนตะวันออก เอ .ยูวารอฟ (S.Uvarov) ประธาน   The Academe of Science  กล่าวพรรณนาความสำคัญของดินแดนตะวันออกไว้ว่า เป็นแหล่งกำเนิดวันธรรมโลก ศาสนาทุกศาสนา ศาสตร์ทุกศาสตร์ปรัชญาทุกลัทธิ ทวีปเอเชียเท่านั้นได้พิทักษ์ไว้ซึ่งของขวัญมหัศจรรย์แห่งการผลิตปรากฏการณ์ทางศีลธรรมอันยิ่งใหญ่

   การศึกษาปรัชญาตะวันออกค่อยๆ ดำเนินสืบต่อมาเรื่อยๆ จนถึงปี พ.ศ.2417 อิแวน มินาเยฟ (Ivan Minayev) ผู้ได้รับการยกย่องว่า เป็นบิดาแห่งสถาบันรัสเซียตะวันออกคดีและพระพุทธศาสนาศึกษา ได้เดินทางไปศรีลังกา อินเดีย และเนปาล เพื่อศึกษาศาสนาต่างๆ ทางตะวันออก อันได้แก่ พระพุทธศาสนา ศาสนาเชน และศาสนาฮินดู บันทึกการเดินทางของเขาได้รับการพิมพ์เผยแพร่ให้ชาวรัสเซียศึกษาในหนังสือชื่อ  Studied of Ceylon and India From the Travel Notes of a Russian  ต่อมาปี พ.ศ.2421 อิแวน มินาเยฟ ได้เดินทางไปประเทศพม่า ซึ่งเป็นดินแดนที่พระพุทธศาสนายังมีชีวิตอยู่ เขาพบว่า คัมภีร์ทรงคุณค่าของพระพุทธศาสนาได้ถูกละเลยทอดทิ้งไว้ในวัดวาอาราม ในห้องสมุด ในบ้าน... เขารวบรวมคัมภีร์มากหลายกลับไปรัสเซีย เรื่องที่ทำให้เขาตื่นตระหนกขณะที่อยู่ในพม่าคือ มิได้มีการศึกษาคัมภีร์พระพุทธศาสนาในพม่าเลย ความฉลาดอัจฉริยะรอบรู้ในภาษาบาลีของเขา ทำให้นักปราชญ์และภิกษุชาวพม่ารวมทั้งชาวอังกฤษพากันตื่นเต้นและประหลาดใจมาก

     การศึกษาอินเดียคดีศึกษาและพระพุทธศาสนาในรัสเซียยุคอิแวน มินาเยฟ จึงถือว่ารุ่งโรจน์มาก และได้รับการพัฒนาถึงขั้นสูงสุดในยุคไฟโอดอร์ เชอบาร์ทสกอย (Fyodor Scherbatskoy) ซึ่งเป็นศิษย์ของเขา งานของปราชญ์ผู้นี้ได้รับการยกย่องว่าเป็นยุคพุทธศาสตร์โลกวรรณกรรมของเขาได้รับการจัดพิมพ์ในประเทศต่างๆ ครั้งแล้วครั้งเล่าอย่างต่อเนื่อง ไฟโอดอร์ เชอบาร์ท กอยมีความสนใจในตรรกวิทยาในพระพุทธศาสนามาก จึงเขียนหนังสือชื่อ Theory of Knowledge and Logic According to Later Buddhists  ขึ้นพิมพ์เผยแพร่ในปี พ.ศ.2446 หนังสือเล่มนี้ทำให้เขาเป็นที่รู้จักกันในระดับนานาชาติ

     ไม่กี่ปีต่อมา การเมืองในรัสเซียก็เปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ คือ ในปี พ.ศ.2460 พรรคบอลเชวิค นำโดย วลาดีมีร์ เลนิน ทำการปฏิวัติล้มล้างระบบกษัตริย์ ซึ่งครั้งนั้นอยู่ในยุคของพระเจ้าซาร์นิโคลัส ที่ 2 เลนินได้จัดตั้งรัฐบาลคอมมิวนิสต์ขึ้น ผลจากการปฏิวัติกระทบต่อพระพุทธศาสนาอย่างมาก วัดและสมาคมต่างๆ ต้องปิดตัวลง หน่วยทหารได้ตั้งที่ทำการอยู่ในเขตวัด พุทธสถานต่างๆ ชำรุดทรุดโทรม พระพุทธรูปและคัมภีร์ทางพระพุทธศาสนาถูกทำลายเหล่าทหารคอมมิวนิสต์ฉีกกระดาษจากคัมภีร์พระพุทธศาสนา ซึ่งบันทึกคำสอนของพระสัมมาสัมพุทธเจ้ามาม้วนทำเป็นมวนบุหรี่แล้วจุดสูบ

พระพุทธศาสนาในตะวันตก ประเทศรัสเซีย, DOU, ประวัติศาสตร์พระพุทธศาสนา, พระพุทธศาสนา, ความรู้พระพุทธศาสนา, พระสัมมาสัมพุทธเจ้า, ประเทศรัสเซีย

   สถานการณ์พระพุทธศาสนาในช่วงนี้จึงระส่ำระสายมาก แต่เมื่อพ้นจากช่วงปฏิวัติไปแล้วก็เริ่มดีขึ้น ในปี พ.ศ.2461 เซอร์จี โอลเดนเบอร์ก ปราชญ์ระดับแนวหน้าด้านพระพุทธศาสนาศิษย์อีกคนหนึ่งของอิแวน มินาเยฟ ได้เข้าพบวลาดีมีร์ เลนิน ผลจากการเข้าพบครั้งนั้น เลนิน อนุญาตให้เขาจัดตั้งกรมประวัติศาสตร์และนิรุกติศาสตร์ขึ้นอย่างเป็นทางการ จึงทำให้การค้นคว้าพระพุทธศาสนาทำได้อย่างสะดวกและได้พัฒนาให้ก้าวหน้าไปมาก ที่สำคัญในเดือนสิงหาคมปี พ.ศ.2462 ประเทศรัสเซียได้จัดงานมหกรรมมรดกพระพุทธศาสนาที่ยิ่งใหญ่ที่สุดของโลกขึ้น ณ นครเปโตกราด ในงานมีการแสดงพุทธศิลป คัมภีร์ทางพระพุทธศาสนา และวิถีชีวิตประจำวันของประชาชนในประเทศที่นับถือพระพุทธศาสนา เช่น จีน ญี่ปุ่น ทิเบต มองโกเลีย ศรีลังกา กล่าวได้ว่า ทุกประเทศในโลกแม้ประเทศไทยเราเองก็ไม่เคยจัดงานมหกรรมพระพุทธศาสนาเช่นนี้มาก่อน ในงานปราชญ์คนสำคัญหลายท่านได้แสดงปาฐกถาธรรมด้วย เช่น เซอร์จี โอลเดนเบอร์ก ปาฐกถาเรื่อง พระพุทธประวัติพระบรมครูแห่งชีวิต เป็นต้น

   วลาดีมีร์ เลนิน เสียชีวิตในปี พ.ศ.2466 จากนั้น โจเซฟ สตาลิน ได้สืบทอดตำแหน่ง ประธานพรรคคอมมิวนิสต์แทน ในยุคของสตาลิน สถานการณ์พระพุทธศาสนาและศาสนาต่างๆ เริ่มตึงเครียดอีกครั้ง ในปี พ.ศ.2473 วัดทั้งหมดในประเทศถูกสั่งปิด พระลามะประมาณ 1,000 รูป ได้รับการกลั่นแกล้งจากรัฐบาล สตาลินนำระบบคอมมูนมาใช้ปกครองประเทศ คือ ห้ามทุกคนมีทรัพย์สินส่วนตัว ทุกอย่างรวมทั้งตัวบุคคลเป็นของพรรคคอมมิวนิสต์ ยุคนั้นมีคนอดตายหลายล้านคนโดยเฉพาะในยูเครนตายถึง 5 ล้านคน ทั้งนี้เป็นเพราะการใช้ระบบรวมผลผลิตที่สตาลินเชื่อว่าจะทำให้เศรษฐกิจดีกว่าที่เคยเป็นมา ผู้ที่ต่อต้านนโยบายจะถูกส่งไปค่ายกักกัน และเสียชีวิตราว 10 ล้านคน สตาลินแก้ปัญหาผู้มีความเห็นขัดแย้งด้วยความตาย เขากล่าวว่า "ความตายแก้ปัญหาได้หมด เมื่อไม่มีคนก็ไม่มีปัญหา" ต่อมาเมื่อรัสเซียเข้าสู่สนามแห่งสงครามโลกครั้งที่ 2 ในปี พ.ศ.2484-2488 สหภาพโซเวียตชนะสงคราม โดยแลกกับชีวิต 20 ล้านคน และชีวิตทหารอีก 10 ล้านคน ยุคนี้จึงถือเป็นยุคมืดของชาวโซเวียต

พระพุทธศาสนาในตะวันตก ประเทศรัสเซีย, DOU, ประวัติศาสตร์พระพุทธศาสนา, พระพุทธศาสนา, ความรู้พระพุทธศาสนา, พระสัมมาสัมพุทธเจ้า, ประเทศรัสเซีย

      ช่วงระยะเวลาประมาณ 62 ปี นับตั้งแต่ยุคโจเซฟ สตาลิน เป็นต้นไป ศาสนาต่างๆ ได้รับการกดดันจากพรรคคอมมิวนิสต์อย่างหนัก โดยเฉพาะศาสนาเทวนิยมคือคริส ต์ศาสนาและศาสนาอิสลามซึ่งสอนให้ศรัทธาในพระเจ้า รัฐต้องการแทนที่พระเจ้าด้วยวิทยาศาสตร์อันเป็นศาสตร์ที่ว่าด้วยเหตุผล ถึงแม้พรรคคอมมิวนิสต์จะไม่ได้ใช้เหตุผลในการปกครองก็ตาม ในช่วงนั้นวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งสหภาพโซเวียตกำลังเจริญรุ่งเรือง โซเวียตเป็นชาติแรกที่ประสบความสำเร็จในการส่งดาวเทียมขึ้นไปโคจรในอวกาศ ซึ่งก็คือดาวเทียมสปุตนิค 1 ถูกส่งขึ้นไปในวันที่ 4 ตุลาคม พ.ศ.2500 ด้วยความก้าวหน้าทางวิทยาศาสตร์และแรงกดดันจากรัฐที่มีต่อศาสนาส่งผลให้ชาวรัสเซียกลายเป็นผู้ไม่มีศาสนาและไม่เชื่อในเรื่องพระเจ้าเพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ และยังส่งผลมาถึงยุคปัจจุบัน แม้จะผ่านยุคการปกครองด้วยระบอบคอมมิวนิสต์มาแล้ว จากการสำรวจใน พ.ศ.2545 พบว่ามีชาวรัสเซียประมาณ 32% ที่ไม่มีศาสนาและไม่เชื่อเรื่องการมีอยู่ของพระเจ้า

    เสรีภาพทางศาสนาหวนคืนมาอีกครั้งในยุคของมิฮาอิล กอร์บาชอฟ คือตั้งแต่ปี พ.ศ.2528 เป็นต้นไป กิจการทางพระศาสนาเริ่มกลับมาเจริญรุ่งเรืองอีกหลังจากที่ซบเซาไปหลายสิบปี รัฐบาลสหภาพโซเวียตประกาศใช้กฎหมายว่าด้วยสิทธิเสรีภาพอย่างเป็นทางการในปี พ.ศ.2533 กฎหมายนี้อนุญาตให้ประชาชนเลือกนับถือศาสนาและปฏิบัติกิจกรรมทางศาสนาได้อย่างเสรี ในยุคกอร์บาชอฟนี้ได้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางการเมืองครั้งสำคัญขึ้นอีกครั้งคือในปี พ.ศ.2534 มิฮาอิล กอร์บาชอฟ ได้ประกาศยกเลิกพรรคคอมมิวนิสต์ สหภาพโซเวียตจึงล่มสลายสาธารณรัฐต่างๆ ทั้ง 15สาธารณรัฐแยกตัวเป็นอิสระ ศูนย์กลางของสหภาพโซเวียตนั้นได้เปลี่ยนชื่อใหม่เป็น สหพันธรัฐรัสเซีย ในยุคนี้พระพุทธศาสนาเจริญรุ่งเรืองขึ้นมาก จากการสำรวจพุทธศาสนิกชนในปี พ.ศ.2534 พบว่ามีชาวพุทธอยู่ประมาณ 300,000 คน มีศูนย์พระพุทธศาสนา อยู่ 432 ศูนย์ มีวัดอยู่ 16 วัด มีลามะประมาณ 70 รูป ชาวพุทธโดยส่วนใหญ่อาศัยอยู่ในแถบไซบีเรียและเมืองเลนินกราด พุทธศาสนิกชนเหล่านี้ได้ช่วยกันเผยแผ่สืบทอดอายุของพระพุทธศาสนาให้สืบเนื่องเรื่อยมาตราบกระทั่งปัจจุบัน

 

*----------------------------------------------------------------------------------------------------------*
หนังสือ GB 405 ประวัติศาสตร์พระพุทธศาสนา
กลุ่มวิชาความรู้ทั่วไปทางพระพุทธศาสนา

 ยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคล Total Execution Time: 0.0054587841033936 Mins