เปรียบเทียบแพทยศาสตร์ในพระไตรปิฎกกับการแพทย์ยุคปัจจุบัน

วันที่ 12 พค. พ.ศ.2560

แพทยศาสตร์ในพระไตรปิฎก
เปรียบเทียบแพทยศาสตร์ในพระไตรปิฎกกับการแพทย์ยุคปัจจุบัน "

 

GB 406 สรรพศาสตร์ในพระไตรปิฎก , ความรู้ทั่วไปทางพระพุทธศาสนา , DOU , พระไตรปิฎก , แพทยศาสตร์ในพระไตรปิฎก , แพทยศาสตร์ , เปรียบเทียบแพทยศาสตร์ในพระไตรปิฎกกับการแพทย์ยุคปัจจุบัน ,  สุขภาพนักสร้างบารมี

       การแพทย์ยุคปัจจุบัน หมายถึง การแพทย์ทั้งหมดที่ใช้กันอยู่ในปัจจุบันทั้งการแพทย์ตะวันตกหรือที่รู้จักกันในนามการแพทย์แผนปัจจุบัน และ การแพทย์ทางเลือกต่างๆ ทั้ง 5 กลุ่มที่กล่าวไว้ในหัวข้อหลักการการแพทย์เบื้องต้นในบทที่ 2 การเปรียบเทียบนั้นจะเปรียบเทียบใน3 ประเด็น คือ แพทยศาสตร์ในพระไตรปิฎกกับการแพทย์แบบองค์รวม เปรียบเทียบการดูแลรักษาสุขภาพร่างกาย และ เปรียบเทียบการดูแลรักษาสุขภาพจิตใจ ดังนี้

1. แพทยศาสตร์ในพระไตรปิฎกกับการแพทย์แบบองค์รวม
      กระบวนทัศน์ของการแพทย์แผนปัจจุบันที่ได้กล่าวไว้ในบทที่ 2 แบ่งเป็น 2 ทัศนะคือวัตถุนิยมเชิงจักรกล (Mechanical Materialism) และ ทัศนะว่าด้วยองค์รวม (Holism)

      โดยทัศนะแรกคือ วัตถุนิยมเชิงจักรกล มองมนุษย์เป็นเหมือนเครื่องยนต์กลไกสามารถอธิบายให้เข้าใจได้ด้วยวิทยาศาสตร์ธรรมชาติ โดยเฉพาะอย่างยิ่งฟิสิกส์และเคมี ชีวิตมนุษย์ถูกแบ่งออกเป็นส่วนๆ เมื่อส่วนใดชำรุดหรือสึกหรอก็จะถูกแยกส่วนออกมาซ่อมให้กลับคืนสู่ภาวะปกติเฉพาะส่วนนั้นๆ ทัศนะนี้แบ่งมนุษย์ออกเป็น 2ส่วน คือ ร่างกาย และ จิตใจ แต่ไม่ได้มองว่า 2 ส่วนนี้สัมพันธ์กัน และแม้ทัศนะนี้จะกล่าวถึงเรื่องจิตใจแต่ก็เป็นจิตใจแบบหุ่นยนต์ที่ปราศจากความรู้สึกนึกคิด เจตนา และจุดประสงค

       ส่วนทัศนะที่สอง คือ ทัศนะว่าด้วยองค์รวม ทัศนะนี้เชื่อว่า ชีวิตมนุษย์ประกอบด้วย 2 ส่วน คือ ร่างกายและจิตใจเช่นกัน แต่มองว่าทั้งสองส่วนนี้เป็นของเนื่องกัน มิได้แยกเป็นอิสระจากกัน การแยกก็เพื่อสะดวกในทางปฏิบัติ แต่หลังจากแยกแล้วจะมีการโยงส่วนต่างๆ เข้าหากันและมองว่าชีวิตมิอาจเข้าใจได้ด้วยวิธีการทางฟิสิกส์เคมีเท่านั้น โดยเฉพาะเรื่องจิตใจไม่อาจอธิบายได้ด้วยวิธีการเหล่านี้ส่วนการรักษาจะมองเฉพาะส่วนไม่ได้แต่ต้องมองทั้งระบบ

     เมื่อนำหลักแพทยศาสตร์ในพระไตรปิฎกมาเปรียบเทียบกับกระบวนทัศน์ของการแพทย์แผนปัจจุบันแล้วพบว่า หลักแพทยศาสตร์ในพระไตรปิฎกมีความ อดคล้องกับกระบวนทัศน์ว่าด้วยองค์รวมในประเด็นที่ว่า ร่างกายกับจิตใจสัมพันธ์กัน แต่ทั้งนี้หลักการแพทย์ในพระพุทธศาสนามีความลึกซึ้งกว่าเพราะมีความเข้าใจเรื่องจิตใจอย่างกระจ่างชัด และได้กล่าวถึงเรื่องบาปที่ถูกเก็บไว้ในใจอันเป็นสาเหตุสำคัญ อย่างหนึ่งที่ทำให้เกิดการเจ็บป่วยทั้งทางร่างกายและทางจิตใจซึ่งการรักษานั้นจะต้องใช้ธรรมโอ ถคือบุญเป็นเครื่องชำระล้างบาปนั้นออกไปจึงจะทำให้ผู้ป่วยหายจากโรคได้


2. เปรียบเทียบการดูแลรักษาสุขภาพร่างกาย
     ในหัวข้อนี้จะเปรียบเทียบ 4 ประเด็น คือ ดุลยภาพบำบัดในสมัยพุทธกาลกับยุคปัจจุบัน เปรียบเทียบยาในสมัยพุทธกาลกับยุคปัจจุบัน การผ่าตัดในสมัยพุทธกาลกับการผ่าตัดในปัจจุบัน และการขับพิษในสมัยพุทธกาลกับยุคปัจจุบัน ดังนี้

1) ดุลยภาพบำบัดในสมัยพุทธกาลกับยุคปัจจุบัน
      จากที่กล่าวถึงสาเหตุของโรคประการที่ 6 ว่า โรคเกิดแต่การผลัดเปลี่ยนอิริยาบถไม่สม่ำเสมอ เช่น นั่งนานเกินไป เป็นต้น พระผู้มีพระภาคเจ้าและพระภิกษุในสมัยพุทธกาลจึงป้องกันโรคด้วยการเปลี่ยนอิริยาบถให้สม่ำเสมอ และกิจวัตรของพระภิกษุมีหลากหลาย จึงทำให้การผลัดเปลี่ยนอิริยาบถเป็นไปอย่าง มดุล คือ มีทั้งนั่งสมาธิ บิณฑบาต เดินจงกรม กวาดวัดสำเร็จสีหไสยาสน์ บริหารร่างกายด้วยการ "ดัดกาย" ผ่อนคลายกล้ามเนื้อด้วยการ "บีบนวด" การบิณฑบาต เดินจงกรม และกวาดวัดนั้นถือได้ว่าเป็นการออกกำลังกายแบบบรรพชิต

    หากกล่าวในภาษาปัจจุบันก็กล่าวได้ว่าการผลัดเปลี่ยนอิริยาบถให้สม่ำเสมอและกิจวัตรอันหลากหลายนั้นเป็นไปเพื่อสร้าง "ดุลยภาพแห่งอิริยาบถ" หรือ อาจเรียกว่า "ดุลยภาพบำบัด" นั่งเอง เพราะดุลยภาพบำบัด หมายถึง "วิธีการป้องกันบำบัดรักษาโรคและบำรุงสุขภาพด้วยการปรับความ มดุลโครงสร้างของร่างกาย" ซึ่งมีวิธีการปฏิบัติ 4 วิธี คือ การระวังรักษาอิริยาบถต่างๆ ให้สมดุลตลอดเวลา การบริหารจัดโครงสร้างร่างกายให้สมดุลการออกกำลังกายเพื่อเสริมประสิทธิภาพในการรักษาสมดุล และ การผ่อนคลายกล้ามเนื้อและเส้นเอ็นด้วยการนวด

2) เปรียบเทียบยาในสมัยพุทธกาลกับยุคปัจจุบัน
    ยารักษาโรคที่ปรากฏอยู่ในพระไตรปิฎกนั้น ปัจจุบันถูกนำมาใช้ในวงการแพทย์หลายวงการทั้งการแพทย์ทางเลือกและการแพทย์แผนปัจจุบัน โดยเฉพาะยาสมุนไพรนั้นจะเห็นว่าเป็นยาที่การแพทย์แผนไทยนำมาใช้เป็นยาหลักในการรักษาโรค รายชื่อสมุนไพรต่างๆ ที่ปรากฎอยู่ในพระไตรปิฎก เมื่อนำมาเทียบกับยาสมุนไพรในตำราแพทย์แผนไทยแล้วพบว่าเหมือนกันมาก และที่สำคัญตามหลักการที่สรุปได้จากพระไตรปิฎกที่ว่าสรรพสิ่งในธรรมชาตินำมาทำยาได้หมดถ้าเรารู้คุณสมบัติส่วนที่เป็นยาของสิ่งนั้นๆ จึงสรุปได้ว่า ยาสมุนไพรทุกชนิดรวมทั้งยาที่การแพทย์แผนปัจจุบันสกัดออกมาจากธรรมชาติ ทั้งหมดเป็นยาที่อยู่ในหลักการนี้ทั้งสิ้น

      และจากที่กล่าวแล้วว่า "น้ำมูตรเน่า" เป็นยาหลักของพระภิกษุในสมัยพุทธกาล ในเรื่องนี้นายแพทย์บรรจบ ชุณหสวัสดิกุล เจ้าของสถานพยาบาลธรรมชาติบำบัด กล่าวว่า น้ำปัสสาวะรักษาโรคได้หลายโรค เช่น โรคปวดหลัง ปวดข้อ ไมเกรน ปวดเมื่อย ภูมิแพ้ ผื่นคันสะเก็ดเงิน มะเร็ง ลำไส้ใหญ่อักเสบเรื้อรัง ฯลฯ การดื่มน้ำปัสสาวะบำบัดโรคนั้นให้ดื่มน้ำปัสสาวะของตนเองโดยดื่มก่อนนอนและดื่มตอนเช้าครั้งละ 100 ซี.ซี. การใช้น้ำปัสสาวะบำบัดโรคนั้นอธิบายได้ด้วย หลักพิษต้านพิษ เหมือนกับการทำเซรุ่มแก้พิษงู คือ จะฉีดพิษงูทีละน้อยๆ เข้ากระแสเลือดม้าจนได้ซีรั่มหรือน้ำเหลืองม้าออกมาเพื่อทำเป็นเซรุ่มแก้พิษงูสำหรับน้ำปัสสาวะนั้นจะมีพิษอยู่จำนวนหนึ่งที่ร่างกายขับออกมา เมื่อเราดื่มเข้าไปใหม่พิษนั้นก็จะกลายเป็นเซรุ่มช่วยแก้พิษที่ยังมีอยู่ในร่างกายได้เป็นอย่างดี

3) การผ่าตัดในสมัยพุทธกาลกับการผ่าตัดในปัจจุบัน
    การที่ในสมัยพุทธกาลมีการผ่าตัดนั้นถือว่า วิชาการแพทย์มีความก้าวหน้ามากเพราะประวัติการผ่าตัดของการแพทย์แผนปัจจุบันโดยเฉพาะในประเทศไทยเพิ่งเริ่มขึ้นเมื่อไม่นานมานี้เอง กล่าวคือ การผ่าตัดครั้งแรกของไทยเกิดขึ้น ในวันที่ 27สิงหาคม พ.ศ.2378 สมัยรัชกาลที่ 3 โดยได้มีการผ่าก้อนเนื้องอกที่หน้าผากของผู้ป่วยรายหนึ่งออก

     การผ่าตัดที่มีชื่อเสียงที่สุดซึ่งทำให้คนไทยทั่วไปรู้จักการผ่าตัด คือ การผ่าตัดของหมอบรัดเลย์ หมอสอนศาสนาชาวอเมริกัน ในวันที่ 13 มกราคม พ.ศ.2379 ในวันนั้นหมอบรัดเลย์ได้ทำการผ่าตัดโดยการตัดแขนของพระภิกษุรูปหนึ่งทิ้ง เพราะพระรูปนี้ได้รับบาดเจ็บจากเหตุปนใหญ่ระเบิดทำให้แขนเป็นแผลฉกรรจ์ จึงจำเป็นต้องตัดแขนทิ้งเพื่อรักษาชีวิตไว้

   จะเห็นว่าการผ่าตัดในประเทศไทยเกิดขึ้นช้ากว่าถึงสองพันกว่าปี นอกจากนี้การผ่าตัดที่ปรากฏอยู่ในพระไตรปิฎกนั้นเป็นการผ่าตัดส่วนที่ยากและละเอียดอ่อน คือ ผ่าตัด มองและผ่าตัดลำไส้ส่วนการผ่าตัดครั้งแรกในประเทศไทยนั้นเป็นการผ่าตัดก้อนเนื้อที่หน้าผากและผ่าตัดมือซึ่งง่ายกว่ามาก กว่าที่การแพทย์ในประเทศไทยจะพัฒนาจนถึงขั้นผ่าตัดสมองและลำไส้ได้ก็ใช้เวลาอีกหลายปี

4) การขับพิษในสมัยพุทธกาลกับยุคปัจจุบัน
    หลักการแพทย์ในปัจจุบันทั้งการแพทย์แผนตะวันตกและแพทย์ทางเลือกกล่าวถึงการขับพิษของร่างกายไว้อย่างน้อย 4 ช่องทาง คือ การขับพิษทางการหายใจ การขับพิษทางเหงื่อ การขับพิษทางปัสสาวะ และการขับพิษทางอุจจาระ แต่ละช่องทางมีรายละเอียดดังนี้

4.1) การขับพิษทางการหายใจ จะอาศัยระบบการทำงานของปอดเป็นตัวขับพิษออกโดยสารพิษที่ระเหยได้ง่ายจะระเหยออกทางลมหายใจ เช่น เมื่อดื่มสุรา ร่างกายจะขจัดแอลกออล์บางส่วนโดยขับออกทางลมหายใจ

4.2) การขับพิษทางเหงื่อ การทำให้เหงื่อออกเป็นอีกช่องทางหนึ่งของการขับพิษ ซึ่งอาจจะใช้วิธีออกกำลังกาย ทำงาน หรือ อบตัวในห้องอบซาวน่า เป็นต้น เมื่อเหงื่อออกพิษในร่างกายก็จะถูกขับออกมาด้วย

ซาวน่า (Sauna) แปลว่า "การอบไอน้ำ" เป็นวิธีล้างพิษที่นิยมกันมากในปัจจุบัน ซึ่งเป็นวิธีชักนำให้ร่างกายขับเหงื่อโดยใช้ความร้อน ตามด้วยการอาบน้ำหรือแช่ร่างกายด้วยน้ำเย็นการทำซาวน่าจะช่วยล้างพิษที่อยู่ในส่วนที่ลึกที่สุดของร่างกายได้อย่างสะอาด

4.3) การขับพิษทางปัสสาวะ จะใช้กระบวนการทำงานของไต ซึ่งไตจะเป็นผู้ทำหน้าที่กลั่นกรองเอาของเสียออกจากกระแสโลหิต และขับออกมาด้วยน้ำปัสสาวะ

4.4) การขับพิษทางอุจจาระ จะใช้กระบวนการทำงานของตับซึ่งตับทำหน้าที่เป็นโรงงานใหญ่ของร่างกายเพื่อขจัดสารพิษ กล่าวคือ เมื่อเลือดพาสารพิษเข้าสู่ตับ ตับจะทำหน้าที่ขับสารพิษออกไปกับน้ำดีไหลไปสู่ลำไส้ใหญ่แล้วจะออกมากับอุจจาระ

การขับพิษทางอุจจาระที่นิยมทำกันมากในปัจจุบันคือ "การสวนทวาร" ซึ่งจะใช้น้ำกาแฟสวนเข้าไปในทวารด้วยท่อสายยางเล็กๆ เพื่อกระตุ้นให้ขับถ่ายเอาสารพิษออกมา

      การสวนทวารเป็นวิธีการหนึ่งของการทำดีท็อกซ์ (Detox) หรือ การขับพิษซึ่งทำได้อีกหลายวิธี เช่น อบซาวน่า การกินอาหารให้น้อยลง การกินอาหารมีกากใย การอดอาหาร หรือการกินอาหารเพียงชนิดเดียวในหนึ่งวัน เช่น กินฝรั่งอย่างเดียว กินผักบุ้งอย่างเดียว เป็นต้น

      ดีท็อกซ์ (Detox) มาจากคำเต็มว่า ดีท็อกซิฟิเคชั่น (Detoxification) หมายถึง การกำจัด "ท็อกซิน" หรือพิษออกจากร่างกาย1 เพราะการที่เรารับประทานอาหารไม่ถูกหลักอนามัยเป็นระยะเวลานานๆ จะทำให้สารพิษสะสมอยู่ในร่างกายจึงจำเป็นต้องขับออก


เปรียบเทียบการขับพิษในสมัยพุทธกาลกับยุคปัจจุบัน
     จะเห็นว่า วิธีการขับพิษของการแพทย์ยุคปัจจุบันที่กล่าวมานั้น เป็นวิธีที่มีมาตั้งแต่สมัยพุทธกาลแล้ว เช่น การขับพิษทางเหงื่อด้วยการออกกำลังกาย พระภิกษุ มัยพุทธกาลก็ใช้วิธีนี้เช่นกัน แต่สมัยนั้นพระภิกษุออกกำลังกายด้วยการเดินจงกรม บิณฑบาต หรือ กวาดวัดเป็นต้น ซึ่งเป็นวิธีออกกำลังกายที่เหมาะสมกับเพศนักบวช

   เรือนไฟในสมัยพุทธกาลก็คือ ห้องอบซาวน่าในยุคปัจจุบันนี่เอง เพราะมีวัตถุประสงค์รูปแบบและวิธีการคล้ายคลึงกันมาก จนอาจกล่าวได้ว่าห้องอบซาวน่าในปัจจุบันถอดแบบออกมาจากพระไตรปิฎกเลยก็ว่าได้

      การขับพิษทางอุจจาระก็เช่นกัน พระภิกษุ มัยพุทธกาลขับพิษทางอุจจาระด้วยการฉันยาถ่ายบ้าง และด้วยวิธีการสูดดมก้านบัวที่อบด้วยตัวยาแบบพระสัมมาสัมพุทธเจ้าบ้าง ซึ่งจะเห็นว่าด้วยวิธีการนี้ทำให้พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงถ่ายถึง 30 ครั้ง โดยมีจุดประสงค์เพื่อขับพิษที่สะสมอยู่ในพระวรกายโดยเฉพาะ

    การขับพิษด้วยการกินอาหารให้น้อยลงนั้นสอดคล้องกับการฉันภัตตาหารเพียงมื้อเดียวของพระภิกษุในสมัยพุทธกาล ซึ่งพระสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสว่า การฉันมื้อเดียวเป็นเหตุให้มีอาพาธน้อย ทั้งนี้อาจเป็นเพราะเมื่อฉันน้อยแต่เพียงพอต่อความต้องการของร่างกาย พิษที่เข้าสู่ร่างกายจึงมีน้อยไปด้วย เมื่อพิษมีน้อยร่างกายก็สามารถขับพิษได้เองตามธรรมชาติ


3. เปรียบเทียบการดูแลรักษาสุขภาพจิตใจ
    อาจกล่าวได้เกือบทุกวงการในปัจจุบันเริ่มให้ความสนใจและให้ความสำคัญกับเรื่องจิตใจมากขึ้น ทางการแพทย์แผนตะวันตกก็เช่นกัน เริ่มตระหนักถึงความสัมพันธ์ของร่างกายกับจิตใจว่าทั้งสองส่วนนี้ไม่อาจแยกจากกันเด็ดขาด ร่างกายกับจิตใจส่งผลถึงกันและกันอย่างใกล้ชิด

     มีงานวิจัยจำนวนมากซึ่งสนับสนุนสิ่งที่ได้กล่าวมานี้ ล่าสุดนักวิจัยจากมหาวิทยาลัยเทล อาวีฟ ในอิสราเอล พบว่าความเครียดมีผลต่อการเติบโตของมะเร็ง เพราะจะทำให้ภูมิคุ้มโรคอ่อนแอลง ศาสตราจารย์ เบนเอลิยาฮู กล่าวว่า งานศึกษาของพวกเรา แสดงให้เห็นว่าความกลัวที่เกิดขึ้นในจิตใจ อาจจะมีความสำคัญไม่น้อยไปกว่า ความเสียหายของเนื้อเยื่อในเชิงกายภาพที่เข้าไปกดความสามารถของภูมิคุ้มกัน

    และที่สำคัญในช่วงทศวรรษที่ผ่านมานี้มีการวิจัยจำนวนมากที่ยืนยันตรงกันว่า การสวดมนต์ และการนั่งสมาธิ ซึ่งเป็นการทำจิตใจให้สงบและก่อให้เกิดบุญกุศลตามหลักพระพุทธศาสนานั้นสามารถรักษาโรคได้ดังตัวอย่างต่อไปนี้

1) งานวิจัยเรื่องสวดมนต์รักษาโรค
    มีงานวิจัยถึง 150 ชิ้นที่ระบุว่า การเปล่งเสียงสวดมนต์ "สามารถบำบัดและรักษาอาการป่วยได้ อย่างน่าอัศจรรย์" แม้แต่โรคหัวใจและโรคเอดส์ก็สามารถรักษาได้ 1 นายแพทย์วิธาน ฐานะวุฑฒ์ ผู้ดำเนินโครงการหัวใจใหม่ ชีวิตใหม่ จังหวัดเชียงรายได้ทดลองแบ่งคนไข้โรคหัวใจจำนวน 393 คน ออกเป็น 2 กลุ่ม คือ กลุ่มที่รักษาแบบปกติกับกลุ่มที่สอดแทรกวิธีรักษาด้วยการสวดมนต์สิ่งที่พบคือ กลุ่มที่มีการสวดมนต์อาการของโรคหัวใจดีขึ้น เมื่อเปรียบเทียบกับผู้ป่วยประเภทเดียวกัน แต่ได้รับการรักษาแบบปกติ "โรคเอดส์" ก็เช่นกัน ผลการวิจัยพบว่าอัตราการเสียชีวิตของผู้ป่วยที่ผ่านการรักษาด้วยการสวดมนต์ มีตัวเลขการเสียชีวิตลดลงกว่าครึ่งของผู้ที่รักษาอาการตามปกติ

    บทสวดมนต์ที่นำมาใช้ในการทดลองนั้นมีดังนี้คือ ชัยมงคลคาถาหรือบทพาหุง, มงคลสูตร เมตตปริตร, โพชฌงคปริตร และรัตนสูตร เป็นต้น โดยเฉพาะบทโพชฌงคปริตรนั้นเป็นบทเดียวกันกับที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้ามักใช้แสดงธรรมแก่ภิกษุอาพาธ การสวดมนต์นั้นถือเป็นการทำสมาธิวิธีหนึ่งทำให้ใจเกิดความสมดุล ซึ่งส่งผลต่อร่างกายให้ปรับตัวเข้าสู่ภาวะสมดุลได้ง่ายขึ้น และการสวดมนต์ยังก่อให้เกิดบุญมากเพราะขณะสวดใจจะตรึกระลึกถึงพระรัตนตรัย บุญที่เกิดขึ้นนี้ก็จะช่วยชำระล้างบาปในใจอันเป็นเหตุแห่งโรคให้หมดไปจึงทำให้หายป่วยในที่สุด

2) งานวิจัยเรื่องการนั่งสมาธิรักษาโรค
     ปัจจุบันมีงานวิจัยและบทความเรื่องการนั่งสมาธิรักษาโรคจำนวนมาก จากการค้นข้อมูลเฉพาะภาษาอังกฤษและภาษาไทยด้วยระบบกูเกิล (google) พบงานวิจัยและบทความที่กล่าวถึงเรื่องนี้ถึง 545,360 รายการ โดยพบคำว่า "Meditation Therapy" 409,000 รายการ, "สมาธิบำบัด" 27,100 รายการ , "สมาธิบำบัดโรค" 17,000 รายการ, "สมาธิรักษาโรค" 73,100 รายการ, "บำบัดโรคด้วยสมาธิ" 16,100 รายการ และ "รักษาโรคด้วยสมาธิ" 3,060 รายการ

  หากค้นข้อมูลด้วยภาษาอื่นๆ ด้วยคงจะได้ข้อมูลเรื่องสมาธิบำบัดนี้หลายล้านรายการข้อมูลจำนวนมากมหาศาลนี้ยืนยันได้เป็นอย่างดียิ่งว่า โลกยุคปัจจุบันกำลังย้อนกลับมาให้ความสำคัญกับจิตใจ กล่าวคือสมาธิบำบัดและหลักธรรมต่างๆ ซึ่งมีกล่าวไว้ในพระไตรปิฎกกว่า 2,500 ปี ซึ่งแต่เดิมชาวโลกจำนวนไม่น้อยที่เชื่อว่าเป็นของโบราณล้าสมัย ไม่อาจสู้กับการแพทย์แผนตะวันตกซึ่งพันามาจากวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีล้ำยุคได้ แต่วันนี้ชาวโลกจำนวนมากเริ่มนำของที่เคยคิดว่าล้า มัยนี้เข้ามาเป็นส่วนหนึ่งของการดำเนินชีวิตกันแล้ว ปัจจุบันสมาธิและคำสอนของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าถือว่าเป็น "เทรนด์ใหม่" หรือ แนวโน้มใหม่ ที่ใครๆ ก็พูดถึงและศึกษากันอย่างกว้างขวาง ทั้งเพื่อการบำบัดโรค เพื่อความสงบสุขของจิตใจ และเพื่อศึกษาค้นคว้าทางใจด้วยสมถวิปัสสนาขั้นสูง

 

*----------------------------------------------------------------------------------------------------------*
หนังสือ GB 406 สรรพศาสตร์ในพระไตรปิฎก
กลุ่มวิชาความรู้ทั่วไปทางพระพุทธศาสนา

 ยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคล Total Execution Time: 0.0017754673957825 Mins