ความหมายและองค์ประกอบของชีวิตมนุษย์

วันที่ 09 พค. พ.ศ.2560

ความหมายและองค์ประกอบของชีวิตมนุษย์

GB 406 สรรพศาสตร์ในพระไตรปิฎก , ความรู้ทั่วไปทางพระพุทธศาสนา , DOU , พระไตรปิฎก , ความหมายและองค์ประกอบของชีวิตมนุษย์ , มนุษย์

          คำว่า "มนุษย์" มาจากภาษาบาลีว่า "มนุสฺส " ซึ่งมาจาก มน  อุสฺส "มน" แปลว่า "ใจ" ส่วน "อุสฺส " แปลว่า "สูง" คำว่า มนุสฺส หรือ มนุษย์ จึงแปลว่า "ผู้มีใจสูง" ดังนั้นผู้ที่เป็นมนุษย์ที่แท้จริงจึงต้องเป็นผู้มีใจสูง คือ มีศีลธรรมและมีความประพฤติที่ดีงาม

     ส่วนองค์ประกอบของชีวิตมนุษย์นั้น นักศึกษาคงได้เรียนรู้กันมาบ้างแล้วว่า ชีวิตของมนุษย์และสัตว์ทั้งหลายประกอบขึ้นจากขันธ์ 5 หรือ เรียกย่อๆ ว่า นามและรูป คำว่า ขันธ์หมายความว่าสิ่งที่เป็นกลุ่ม เป็นกอง หรือเป็นพวก ๆ

        ขันธ์ 5 จึงหมายถึงสิ่งที่ประชุมกันเข้าเป็นหน่วยรวม ซึ่งบัญญัติเรียกว่าสัตว์ บุคคลตัวตน เรา เขาสิ่งที่แยกกันไว้เป็นกลุ่ม เป็นกอง หรือเป็นพวกๆ จำนวน 5 อย่าง คือ รูป เวทนา สัญญาสังขาร วิญญาณ โดยรูปนั้นเรียกว่า "รูปขันธ์" เป็นส่วนของ "ร่างกาย" อีก 4 อย่าง คือ เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ เรียกรวมว่า "นามขันธ์" เป็นส่วนของ "ใจ"

        รูปขันธ์ คือร่างกายประกอบข้ึนจากธาตุ 4 ได้แก่ ธาตุดิน ธาตุน้ำ ธาตุไฟ และธาตุลม

        ธาตุดิน มีธรรมชาติเป็นของแข็ง กระด้าง ได้แก่ ผม ขน เล็บ ฟัน หนัง เนื้อ เอ็น กระดูก เยื่อในกระดูก ม้าม หัวใจ ตับ พังผืด ไต ปอดไส้ใหญ่ ไส้น้อย อาหารใหม่ อาหารเก่า หรือ ธรรมชาติที่แข็ง ธรรมชาติที่กระด้าง ความแข็ง ภาวะที่แข็งอื่นๆ

        ธาตุน้ำ มีความเอิบอาบ มีความเหนียว เกาะกุมรูปหรือธาตุดินเอาไว้ ได้แก่ ดี เสลด หนอง เลือด เหงื่อ มันข้น น้ำตา เปลวมัน น้ำลาย น้ำมูก ไขข้อ มูตร หรือ ความเอิบอาบ ธรรมชาติที่เอิบอาบ ความเหนียว ธรรมชาติที่เหนียว ธรรมชาติที่เกาะกุมรูปอื่นๆ

       ธาตุไฟ หมายถึง ความร้อน ความอุ่น ได้แก่ ไฟที่ทำให้ร่างกายอบอุ่น ไฟที่ทำให้ร่างกายทรุดโทรมแก่ลง ไฟที่ทำให้ร่างกายเร่าร้อน ไฟที่ทำให้ของกินของดื่มของเคี้ยวของลิ้มถึงความย่อยไปด้วยดี หรือ ความร้อน ความอุ่น ธรรมชาติที่อบอุ่นอื่นๆ

      ธาตุลม หมายถึง ความพัดไปมา ความเคร่งตึงแห่งรูป ได้แก่ ลมพัดขึ้นเบื้องบน ลมพัดลงเบื้องต่ำ ลมในท้อง ลมในไส้ ลมพัดไปตามตัว ลมศัสตรา ลมมีดโกน ลมเพิกหัวใจ ลมหายใจเข้า ลมหายใจออก หรือ ความพัดไปมา ความเคร่งตึงแห่งรูปอื่นๆ


       นามขันธ์ หมายถึง ใจ ประกอบด้วย เวทนาคือรู้สึกหรือเห็น,สัญญาคือจำ,สังขารคือ คิด และวิญญาณคือรู้ ทั้ง 4 อย่างนี้รวมเข้าเป็นจุดเดียวกันเรียกว่า ใจ

      ขันธ์ 5 นั้นมีสภาวะเป็นไตรลักษณ์ คือ ไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา กล่าวคือ ขันธ์ 5มีการเปลี่ยนแปลงจากเหตุปัจจัยที่เข้ามา ทำให้มีสภาวะที่ไม่เที่ยง และขันธ์ 5 มีความเสื่อมอยู่ตลอดเวลา ทำให้เป็นทุกข์ ทั้งทุกข์ทางกาย ทุกข์ทางใจสลับไปมาตลอด ซึ่งเราไม่สามารถบังคับบัญชาขันธ์ 5 ไม่ให้เสื่อมหรือให้ขันธ์ 5 นี้คง ภาวะเดิมได้ ดังนั้นขันธ์ 5 จึงเป็นอนัตตาไม่ใช่ตัวตนของเรา

     ธรรมชาติที่สำคัญประการหนึ่งของรูปกับนาม คือ มีความสัมพันธ์กัน อิงอาศัยซึ่งกันและกัน รูปคือร่างกายอาศัยใจจึงมีชีวิตอยู่ได้ส่วนนามคือใจอาศัยร่างกายเป็นที่อาศัย ทั้งกายและใจจึงสัมพันธ์กันอิงอาศัยกันแยกกันไม่ได้ อุปมาเหมือนท่อนไม้ องอันที่พิงกันอยู่ จะแยกอันใดอันหนึ่งออกไปไม่ได้ เพราะอีกอันหนึ่งจะไม่อาจตั้งอยู่ได้ต้องล้มลง


ใจไม่ได้เป็นสิ่งเดียวกันกับสมอง
    นักวิทยาศาสตร์และชาวโลกจำนวนไม่น้อยที่คิดว่า "ใจ" กับ "สมอง" เป็นอย่างเดียวกันความจริงแล้วเป็นคนละอย่างกัน มองนั้นเป็นส่วนหนึ่งของร่างกายส่วนใจเป็นอีกสิ่งหนึ่งที่แยกออกมาต่างหาก แต่อาศัยอยู่ในร่างกายและมีความสัมพันธ์กับร่างกาย เนื่องจากใจนั้นเป็นธาตุละเอียดมองไม่เห็นด้วยตาเนื้อ จะเห็นได้ด้วยการเจริญสมาธิภาวนาเท่านั้น ชาวโลกจึงคิดว่ามองนั่นแหละคือใจซึ่งเป็นศูนย์รวมการบังคับบัญชาทั้งหมดของทุกชีวิต เหตุที่คิดอย่างนี้เพราะ มองเป็นธาตุหยาบมองเห็นได้ด้วยตาเนื้อ

     สมองจะทำงานประสานกับใจโดยมีใจเป็นศูนย์กลางการบังคับบัญชา เห็นหรือรู้สึก จำ คิด และรู้ ทั้งหมดรวมอยู่ที่ใจไม่ได้อยู่ที่สมอง คนเราจะฉลาดหรือโง่อยู่ที่ดวงปัญญาในใจเป็นหลักสมองเป็นองค์ประกอบรอง เป็นอุปกรณ์อย่างหนึ่งของการแสดงออกทางปัญญาเท่านั้น ด้วยเหตุนี้นักวิทยาศาสตร์ที่นำ มองของอัลเบิร์ตสไอน์ ไตน์มาศึกษาวิจัยจึงไม่ได้พบอะไรมาก ไม่อาจจะสรุปได้อย่างชัดเจนว่า ไอน์สไตน์ฉลาดกว่าชาวโลกเพราะอะไร เพราะปัจจัยหลักของความฉลาดไม่ได้
อยู่ที่สมองแต่อยู่ที่ใจต่างหาก

     มีตัวอย่างหนึ่งที่น่า นใจซึ่งยืนยันได้เป็นอย่างดีว่า มองกับใจเป็นคนละอย่างกันกล่าวคือ เมื่อปลายเดือนมีนาคมปี พ.ศ.2551สำนักข่าวเอเจนซีรายงานข่าวว่า มีชายคนหนึ่งฟื้นคืนชีพหลังจากที่แพทย์ชี้ว่าสมองของเขาตายมานานกว่า 4 เดือน ชายคนนี้ชื่อ แซค ดันแลป อายุ 21 ปี พ่อแม่ของเขาได้รับการแจ้งจากแพทย์ว่า ลูกชายของพวกเขาเสียชีวิต1 เมื่อวันที่ 19 พฤศจิกายน พ.ศ.2550 ขณะพักรักษาตัวอยู่ที่โรงพยาบาลยูไนเต็ด รีเจินนัล เลธ์แคร์ ซิสเต็ม ใน รัฐเทกซัส สหรัฐอเมริกา หลังได้รับบาดเจ็บจากอุบัติเหตุรถจักรยานยนต์คว่ำ แพทย์ได้เก็บร่างของแซค ดันแลป ไว้โดยใช้เครื่องช่วยหายใจและให้สารอาหารทางหลอดเลือดเพื่อเตรียมนำอวัยวะของเขาไปช่วยเหลือผู้ป่วยรายอื่นต่อไป

       อย่างไรก็ตามในอีก 4 เดือนต่อมา หลังจากครอบครัวได้กล่าวคำอำลาเขาเป็นครั้งสุดท้าย และแพทย์กำลังเตรียมการผ่าตัด ก่อนผ่าตัดแพทย์ได้ใช้มีดขูดที่เท้า รวมถึงกดที่ใต้เล็บมือของเขา เพื่อเช็คปฏิกิริยาตอบสนองเป็นครั้งสุดท้าย ปรากฏว่า เท้าและมือของเขากลับเคลื่อนไหวอีกครั้ง ซึ่งหมายถึง เขายังไม่ตายนั่นเอง หลังจากฟนขึ้นมาและพักรักษาตัวอยู่ที่โรงพยาบาลนาน 48 วัน ในที่สุดแพทย์ก็อนุญาตให้เขากลับบ้านได้

      แซค ดันแลป กล่าวในรายการทูเดย์ของสถานีโทรทัศน์เอ็นบีซีเมื่อวันจันทร์ที่ 24 มีนาคม พ.ศ.2551 ว่า เขาจำอุบัติเหตุที่เกิดขึ้นไม่ได้เลย แต่สามารถจำเรื่องราว 6 ชั่วโมงก่อนที่จะเกิดอุบัติเหตุได้เป็นอย่างดี และจำเรื่องราว 1 ชั่วโมงก่อนที่จะเกิดอุบัติเหตุได้เพียงเล็กน้อย นอกจากนี้สิ่งที่เขาจำได้อย่างแม่นยำก็ คือ ตอนที่แพทย์บอกกับพ่อแม่ของเขาว่า "เขาตายแล้ว..." พ่อของเขา กล่าวว่า เขาได้เห็นผลการเอกซเรย์สมองของลูกชาย ซึ่งในขณะนั้น สมองไม่ทำงานและไม่มีเลือดไหลเวียนอยู่เลย

       ตัวอย่างนี้ยืนยันได้ว่า "ใจ" ซึ่งประกอบด้วย เห็น จำ คิด และรู้ ไม่ได้เป็นสิ่งเดียวกับสมอง เพราะเมื่อแพทย์วินิจฉัยว่า สมองของเขาตายแล้วและบอกกับพ่อแม่ของเขาว่า เขาตายแล้วแต่แซค ดันแลป ยังสามารถรับรู้และจำได้อย่างแม่นยำถึงประโยคนี้ซึ่งแพทย์พูดกับพ่อแม่ของเขา หากเห็น จำ คิด และรู้อยู่ที่ มอง เขาไม่อาจจะรับรู้และจำสิ่งใดได้อีกเลย เพราะแพทย์ระบุว่าตอนนั้น มองของเขาตายแล้วเนื่องจาก มองไม่ทำงานและไม่มีเลือดไหลเวียนอยู่เลย

       ความแตกต่างของใจกับ มองนั้นนักศึกษาจะได้เรียนรู้เพิ่มเติมในเรื่อง "จิตตนิยามกับวิทยาศาสตร์" ในบทวิทยาศาสตร์ในพระไตรปิฎก


ความสัมพันธ์ของจิตกับใจ
     จิตกับใจนั้นเป็นคนละอย่างกันโดยจิตเป็นส่วนหนึ่งของใจ จากที่กล่าวแล้วว่าใจประกอบด้วย เวทนา คือ รู้สึกหรือเห็น,สัญญา คือ จำ ,สังขาร คือ คิด และ วิญญาณ คือ รส

      โดย "จิต" นั้นคือ "สังขาร" มีสัณฐานเป็น "ดวง" เรียกว่า "ดวงจิต" หรือ "ดวงคิด" และนามขันธ์อีก 3 ประการที่เหลือคือ เวทนาสัญญา และวิญญาณ ก็มีสัณฐานเป็นดวงเช่นเดียวกันเรียกว่า ดวงเห็น ดวงจำ และดวงรู้ ดวงทั้ง 4 นี้ซ้อนกันอยู่เป็นชั้นๆ โดยดวงเห็นหรือดวงเวทนาอยู่ชั้นนอกสุด ดวงจำหรือดวงสัญญาซ้อนอยู่ข้างในดวงเห็น ดวงจิตหรือดวงสังขารซ้อนอยู่ข้างในดวงจำ ดวงรู้หรือดวงวิญญาณ ซ้อนอยู่ข้างในดวงจิต ดังภาพต่อไปนี้

องค์ประกอบของ "ใจ"

องค์ประกอบของ "ใจ"

สถานที่อยู่ของใจ
       ปกติแล้วใจนั้นรวมกันก็ได้แยกกันก็ได้ ถ้ารวมกันเป็นจุดเดียวก็จะซ้อนกันเป็น 4 ชั้นดังภาพข้างต้น เมื่อใจรวมกันจะมีที่ตั้งอยู่ที่ศูนย์กลางกายฐานที่ 6 กล่าวคือ หากนำเส้นด้ายมา 2 เส้น เส้นหนึ่งขึงจากสะดือทะลุหลัง เส้นที่ องขึงจากด้านขวาทะลุด้านซ้ายของลำตัว ดึงให้ตึงให้เส้นด้ายทั้งสองตัดกันเป็นกากบาท ตรงจุดกันนั้นเรียกว่า กลางกัก ณ ตรงนั้นมีดวงธรรมอยู่ดวงหนึ่ง เรียกว่าดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายมนุษย์ หรือดวงมนุษยธรรม มีลักษณะใสบริสุทธิ์เท่าฟองไข่แดงไก่ ใสแบบกระจก ขาวก็แบบกระจกคันฉ่องส่องเงาหน้า

       ใจของเราจะอยู่ในกลางดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายมนุษย์นั้น กล่าวคือ ดวงธรรมนั้นแหละเป็นที่ตั้งของเห็น ของจำ ของคิด ของรู้ ดวงเห็นก็อยู่ในกลางดวงนั้น ดวงจำก็อยู่ในกลางดวงนั้นแต่อยู่ข้างในดวงเห็น ดวงคิดก็อยู่ในกลางดวงนั้น แต่ว่าอยู่ข้างในดวงจำ ดวงรู้ก็อยู่ข้างในกลางดวงนั้น แต่ว่าอยู่ในกลางของดวงคิดอีกทีหนึ่ง

     เมื่อใจแยกกันคือไม่ซ้อนเป็นจุดเดียวกัน หลวงปู่วัดปากน้ำกล่าวไว้ว่า "เห็นน่ะดวงมันอยู่ศูนย์กลางกาย (ฐานที่ 6) จำน่ะดวงมันอยู่ศูนย์กลางเนื้อหัวใจ มันย่อมกว่าดวงเห็นลงมาหน่อยคิดน่ะอยู่ในกลางดวงจำ นั่นย่อมลงมาหน่อย รู้น่ะอยู่ในกลางดวงคิด นั่นย่อมลงมาเท่าดวงตาดำข้างใน นั่นมีหน้าที่รู้..."

       แต่ในเวลาฝึกสมาธิจะต้องรวมใจมาหยุดนิ่งอยู่ที่ศูนย์กลางกายฐานที่ 7 ซึ่งอยู่เหนือสะดือขึ้นมา 2 นิ้วมือ กล่าวคือ อยู่เหนือกลางกักอันเป็นจุดตัดของเส้นด้ายที่กล่าวมาข้างต้น 2 นิ้วมือ เพราะศูนย์กลางกายฐานที่ 7 นี้เป็นประตูสู่การบรรลุมรรคผลนิพพาน ดังที่หลวงปู่วัดปากน้ำกล่าวไว้ว่า "ศูนย์นั้นเป็นสำคัญนัก จะเกิดมาในมนุษย์โลก ก็ต้องเกิดที่ศูนย์นั้น จะไปนิพพานก็ต้องเข้าศูนย์นั้นไปเหมือนกัน แบบเดียวกัน" พระสัมมาสัมพุทธเจ้าและพระอรหันต์ทั้งหลายในอดีตก็นำใจมารวมหยุดอยู่ในตำแหน่งนี้แหละจึงสามารถตรัสรู้ธรรมได้

 

*----------------------------------------------------------------------------------------------------------*
หนังสือ GB 406 สรรพศาสตร์ในพระไตรปิฎก
กลุ่มวิชาความรู้ทั่วไปทางพระพุทธศาสนา

 ยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคล Total Execution Time: 0.0022711992263794 Mins