ความเจ็บป่วยเนื่องจากโครงสร้างของร่างกายเสียสมดุล

วันที่ 15 พค. พ.ศ.2560

รู้ทันโรคจากภาวะปกติของร่างกาย
ความเจ็บป่วยเนื่องจากโครงสร้างของร่างกายเสียสมดุล "

 

GB 410 การรักษาสุขภาพตามพุทธวิธี , ความรู้ทั่วไปทางพระพุทธศาสนา , DOU , ดุลยภาพบำบัดในสมัยพุทธกาล , ความเจ็บป่วยเนื่องจากโครงสร้างของร่างกายเสียสมดุล , ภาวะปกติของร่างกาย

     ถ้าเปรียบเทียบร่างกายกับรถยนต์ โครงกระดูกเปรียบเหมือนแชสซีของรถยนต์ กล้ามเนื้อเส้นเอ็นและพังผืดเปรียบเสมือนตัวถังของรถยนต์ ถ้าแชสซีบิด ตัวถังก็บิดตามไปด้วย เวลาเคลื่อนไปล้อก็ไม่ตรงเพราะรถเสียศูนย์ ในทำนองเดียวกัน ถ้าโครงสร้างของร่างกายสมดุลความผิดปกติ คือ ความเจ็บป่วย ย่อมเกิดขึ้นแก่คนเรา

     เนื่องจากคนเรามีการเคลื่อนไหว กล้ามเนื้อ เส้นเอ็น และพังผืด จึงต้องมีการยืดๆ หดๆ อยู่ตลอดเวลา โดยปกติกล้ามเนื้อ เส้นเอ็น และพังผืด เมื่อหดตัวในช่วงเวลาหนึ่งแล้วก็จะคลายโดยอัตโนมัติ ทำให้ช่วงเวลาปกติที่หดตัว แม้การไหลเวียนต่างๆ ถูกปิดกั้นอยู่ก็ตาม การทำงานของร่างกายก็ยังเป็นไปได้ตามปกติ แต่ถ้าหดแล้วไม่คลาย การไหลเวียนต่างๆ ถูกปิดกั้นตลอดเวลาการทำงานของร่างกายก็ผิดปกติ ทำนองเดียวกับการหายใจเข้าออก ก็มีจังหวะตามธรรมชาติขณะที่หายใจออกหรือกลั้นหายใจ ปอดก็ยังมีออกซิเจนสำรองให้ร่างกายใช้งานได้ตามปกติอยู่ได้นานในช่วงเวลาหนึ่ง แต่ถ้าหากขาดออกซิเจนนานเกินไป จนที่สำรองไว้หมด การทำงานของปอดก็มีปัญหา ร่างกายก็เกิดความผิดปกติตามมา

    ถ้าโครงสร้างของร่างกายเสียสมดุล ก็จะเกิดแรงดึงรั้ง ทั้งกล้ามเนื้อ เส้นเอ็นและพังผืดอยู่ตลอดเวลาของการเสียสมดุลนั้น ทำให้การไหลเวียนถูกปิดกั้น เส้นเลือดและท่อน้ำเหลืองถูกบีบรัดมีผลให้การไหลเวียนไปยังเส้นประสาทก็บกพร่องตามไปด้วย เส้นประสาทจึงไม่สามารถส่งสัญญาณได้ตามปกติ อวัยวะที่ถูกปิดกั้นดังกล่าวเป็นเวลานาน อวัยวะนั้นก็ทำงานผิดปกติ

     ยิ่งกว่านั้น ปัญหาการดึงรั้งของกล้ามเนื้อ เส้นเอ็น และพังผืดที่เกิดขึ้น ณ จุดใดจุดหนึ่งยังสามารถส่งผลกระทบไปถึงจุดอื่นๆ ทั่วร่างกายได้อีกด้วย ทั้งนี้เพราะพังผืดเป็นแผ่นที่เชื่อมโยงไปทั่วร่างกาย หากเปรียบเทียบพังผืดเสมือนเสื้อที่กำลังใส่อยู่ เมื่อส่วนใดส่วนหนึ่งถูกดึงส่วนอื่นก็พลอยถูกดึงรั้งตามไปด้วย ดังนั้นเมื่อมีการดึงรั้งของพังผืดเกิดขึ้น ณ จุดใด ย่อมจะสามารถส่งผลกระทบไปยังจุดอื่นได้ด้วย

   โครงสร้างของร่างกายที่เสียสมดุลจะเป็นปัจจัยหลักในการปิดกั้นการทำงานของอวัยวะต่างๆ อวัยวะที่ได้รับผลกระทบนั้น ก็ทำงานผิดปกติ ซึ่งเป็นสาเหตุของความเจ็บป่วย เกิดเป็นโรคต่างๆ คุกคามร่างกายให้ได้รับความทุกข์ทรมาน


1. ตัวอย่างโรคต่างๆ ที่เกิดขึ้นเพราะโครงสร้างของร่างกายเสียสมดุล
   สาเหตุของการเกิดโรคที่ได้กล่าวมาแล้วในบทแรก มีทั้งสาเหตุที่เกิดจากปัจจัยภายนอก เช่นการได้รับเชื้อโรค การได้รับสารพิษ เป็นต้น และสาเหตุจากปัจจัยภายในตัวของเราเอง ได้แก่การทำงานผิดปกติของอวัยวะต่างๆ อันเนื่องมาจากโครงสร้างของร่างกายที่เสียสมดุล

    โรคที่เกิดจากการเสียสมดุลมีได้สารพัดรูปแบบ แล้วแต่ว่าเส้นประสาทหรือเส้นเลือดส่วนไหนได้รับผลกระทบ

      ต่อไปนี้คือตัวอย่างของโรคและอาการป่วยไข้ซึ่งเกิดจากโครงสร้างของร่างกายที่เสียสมดุล

     1) อาการปวดต่างๆ เช่น ปวดศีรษะ ไมเกรน ปวดคอ ปวดหลัง ปวดกล้ามเนื้อ ปวดกระดูก ปวดข้อ ปวดประสาท เป็นต้น

       2) โรคเกี่ยวกับตา หู คอ จมูก เช่น ตาแห้ง ตาระคายเคืองเรื้อรัง ตาแพ้แสง เจ็บคอบ่อยหรือเรื้อรัง ปัญหาบางอย่างเกี่ยวกับการได้ยินและการทรงตัว อาการคัดจมูกน้ำมูกไหล แบบที่เรียกว่า ภูมิแพ้ เป็นต้น

    3) โรคเกี่ยวกับกระดูก ข้อ และกล้ามเนื้อ เช่น ปวดข้อ ข้อเสื่อม ข้อกระดูกคอหรือกระดูกสันหลังเสื่อม ปัญหาเกี่ยวกับหมอนรองกระดูกสันหลัง กล้ามเนื้ออ่อนแรง เป็นต้นนอกจากนี้ยังมีโรคและอาการอื่นๆ อีก เช่น อ่อนเพลีย เวียนศีรษะ ใจสั่น เหนื่อยง่าย
ปวดเมื่อย ท้องอืด ซึมเศร้า นอนไม่หลับ หอบหืด โรคกระเพาะ พาร์กินสัน เป็นต้น


2. ความรู้พื้นฐานที่นำไปสู่ความเข้าใจของการเกิดโรค
     การที่จะเข้าใจถึงการเกิดโรคต่างๆ ได้โดยง่าย จำเป็นต้องมีความรู้พื้นฐานบางประการ คือ

1) ความรู้พื้นฐานเรื่องอาการปวด
 ถ้าพิจารณาตามหลักสรีรวิทยาก็สามารถอธิบายได้ว่า อาการที่คนเรารู้สึกเจ็บปวดเกิดขึ้นเพราะเนื้อเยื่อในบริเวณที่เจ็บปวดขาดเลือดไปเลี้ยง และกำลังเกิดอันตรายต่อเนื้อเยื่อบริเวณนั้น เช่น กำลังอักเสบหรือกำลังถูกทำลาย ระบบประสาทจึงส่งสัญญาณเตือนเพื่อให้ร่างกายหาทางแก้ไข

2) ความรู้พื้นฐานเรื่องระบบประสาท
    ระบบประสาทในร่างกายมนุษย์ประกอบด้วยสมอง ไขสันหลัง และเส้นประสาท โดยสมองและไขสันหลังทำหน้าที่เป็นศูนย์กลางในการควบคุมการทำงานของร่างกาย อาศัยการ สื่อสารส่งสัญญาณผ่านไปทางเส้นประสาท ซึ่งเส้นประสาทจะแยกออกจากศูนย์กลางไปเป็นคู่ๆ เส้นประสาทที่แยกออกทางด้านซ้ายจะไปเลี้ยงร่างกายทางด้านซ้ายส่วนเส้นประสาทที่แยกออกทางด้านขวาก็จะไปเลี้ยงร่างกายทางด้านขวา แต่ละคู่มีอวัยวะเป้าหมายที่กำหนดไว้ชัดเจน

GB 410 การรักษาสุขภาพตามพุทธวิธี , ความรู้ทั่วไปทางพระพุทธศาสนา , DOU , ดุลยภาพบำบัดในสมัยพุทธกาล , ความเจ็บป่วยเนื่องจากโครงสร้างของร่างกายเสียสมดุล , ภาวะปกติของร่างกาย

องค์ประกอบเส้นประสาทแต่ละคู่
      เส้นประสาทแต่ละคู่แบ่งออกเป็น 2ส่วน คือ
     ส่วนที่ 1 เส้นประสาท มอง ได้แก่ เส้นประสาทที่แยกออกจากส่วนต่างๆ ของสมอง มีทั้งหมด 12 คู่ แยกไปตามอวัยวะต่างๆ ของส่วนหัวและคอ เช่น ตา หู จมูก ลิ้น กล่องเสียง กล้ามเนื้อบนใบหน้า เป็นต้น แต่มีพิเศษอยู่คู่หนึ่ง นอกจากเลี้ยงอวัยวะส่วนดังกล่าวแล้วยังแยกไปเลี้ยงอวัยวะภายในช่องอกและช่องท้องด้วย

      ส่วนที่ 2 เส้นประสาทไขสันหลัง ได้แก่  เส้นประสาทที่ออกจากไขสันหลังตั้งแต่ระดับต้นคอจนถึงก้นกบ มีทั้งหมด 31 คู่ แยกไปตามอวัยวะต่างๆ ของส่วนคอ ลำตัว แขน ขา และอวัยวะภายใน


หน้าที่เส้นประสาทแต่ละคู่
      เส้นประสาทแต่ละคู่ มีการแบ่งหน้าที่ในการควบคุม การทำงานของอวัยวะต่างๆ เป็น 3 หน้าที่ คือ

    1) นำกระแสประสาทรับความรู้สึกต่างๆ เข้าสู่ระบบประสาทศูนย์กลาง เช่น เจ็บ ปวดร้อน เย็น เป็นต้น

 2) นำคำสั่งเกี่ยวกับการควบคุมการทำงานของกล้ามเนื้อ เพื่อให้เกิดการทรงตัวและการเคลื่อนไหวของร่างกาย ซึ่งการสั่งการทำงานถูกควบคุมภายใต้อำนาจจิตใจ

   3) นำคำสั่งเกี่ยวกับการควบคุมการทำงานของระบบต่างๆ เช่น ระบบไหลเวียนโลหิตระบบหายใจ ระบบย่อยอาหาร เป็นต้น ให้ทำงานอย่างสมดุลภายในร่างกาย รวมถึงการทำงานของระบบต่างๆ ขณะกำลังหลับ ซึ่งการสั่งการทำงานเกิดขึ้นเองนอกอำนาจจิตใจ เรียกว่า "ระบบประสาทอัตโนมัติ"


ระบบประสาทอัตโนมัติ แบ่งออกเป็น 2 ระบบใหญ่ คือ
    1) พาราซิมพาเธติค ระบบประสาทนี้จะคู่ขนานไปกับเส้นประสาทบางคู่ที่แยกออกมาจาก มอง และที่แยกออกมาจากไขสันหลัง ผ่านสองข้างกระดูกสันหลังส่วนกระเบนเหน็บ

   2) ซิมพาเธติค ระบบประสาทนี้พบในเส้นประสาทที่แยกออกมาจากไขสันหลังเมื่อผ่านช่องของกระดูกสันหลังทั้ง องข้างแล้วก็จะมาผ่านปมประสาทที่มีการเชื่อมประสานกันของเส้นประสาท ซึ่งอยู่ชิดตลอดแนวของกระดูกสันหลัง โดยส่งสัญญาณผ่านปมประสาทตั้งแต่ระดับท้ายทอยไปถึงระดับเอว

  อวัยวะแต่ละแห่งที่ถูกควบคุมโดยระบบประสาทอัตโนมัติ พาราซิมพาเธติคและซิมพาเธติคจะทำหน้าที่ควบคุมการทำงานร่วมกันไปเสมอ แต่จะทำหน้าที่ตรงข้ามกัน กล่าวคือ อวัยวะบางแห่ง ซิมพาเธติคทำหน้าที่กระตุ้น ในขณะที่พาราซิมพาเธติค ทำหน้าที่ยับยั้งอวัยวะบางแห่ง ซิมพาเธติคทำหน้าที่ยับยั้ง ในขณะที่พาราซิมพาเธติคทำหน้าที่กระตุ้น ทั้งนี้ก็เพื่อที่จะรักษาภาวะสมดุลของร่างกายไว้ ตัวอย่างเช่น ในขณะที่เราวิ่ง ร่างกายต้องใช้พลังงานมากซิมพาเธติค ก็จะกระตุ้นหัวใจให้สูบฉีดโลหิตเร็วและแรงขึ้น เพื่อเพิ่มการไหลเวียนโลหิตทั่วร่างกายเมื่อหยุดวิ่ง ร่างกายใช้พลังงานน้อยลง พาราซิมพาเธติคก็จะทำหน้าที่ชะลอหัวใจให้สูบฉีดช้าลงและค่อยๆ กลับมาสู่การสูบฉีดโลหิตในภาวะปกติ เป็นต้น โดยสามารถสรุปการทำหน้าที่ควบคุมอวัยวะต่างๆ ของระบบประสาทอัตโนมัติ ดังแสดงในรูป

GB 410 การรักษาสุขภาพตามพุทธวิธี , ความรู้ทั่วไปทางพระพุทธศาสนา , DOU , ดุลยภาพบำบัดในสมัยพุทธกาล , ความเจ็บป่วยเนื่องจากโครงสร้างของร่างกายเสียสมดุล , ภาวะปกติของร่างกาย


3. ความรู้พื้นฐานเรื่องโครงสร้างกระดูกสันหลัง
    กระดูกสันหลังแต่ละปล้องที่เชื่อมต่อกันแล้ว จะมีช่องว่าง ซึ่งเป็นที่ออกของเส้นประสาทแต่ละคู่ที่แตกออกมาจากไขสันหลัง

GB 410 การรักษาสุขภาพตามพุทธวิธี , ความรู้ทั่วไปทางพระพุทธศาสนา , DOU , ดุลยภาพบำบัดในสมัยพุทธกาล , ความเจ็บป่วยเนื่องจากโครงสร้างของร่างกายเสียสมดุล , ภาวะปกติของร่างกาย

    เมื่อเส้นประสาทคู่ต่างๆ ที่แตกออกมาจากไขสันหลัง ผ่านออกมาจากช่องว่างของกระดูกสันหลังแล้วจะต้องแทรกผ่านกล้ามเนื้อ เส้นเอ็น และพังผืดที่คอยยึดโยงตลอดแนวของกระดูกสันหลังแล้ว แต่ละคู่ก็จะแผ่ไปยังอวัยวะต่างๆ ในบริเวณที่มันทำหน้าที่ทั้งการสั่งการทำงานภายใต้อำนาจจิตใจ และการทำงานนอกอำนาจจิตใจหรือแบบอัตโนมัติ ซึ่งกล้ามเนื้อเส้นเอ็นและพังผืดตลอดแนวทั้งสองข้างของกระดูกสันหลังนี้ จะทำหน้าที่รักษาสมดุลของโครงสร้างและการเคลื่อนไหวของกระดูกสันหลัง

   จากความรู้พื้นฐานทั้งหมดที่ผ่านมา จะเห็นได้ว่า ถ้าโครงสร้างของร่างกายเสียสมดุลโดยเฉพาะที่แกนของกระดูกสันหลัง มีการเกร็งของกล้ามเนื้อตามแนวกระดูกสันหลังเกิดขึ้นในบริเวณใดก็ตาม กล้ามเนื้อ เส้นเอ็น และพังผืด ตามแนวกระดูกสันหลังนี้จะมีการดึงรั้งกันเกิดขึ้นจึงเป็นเหตุให้การไหลเวียนถูกปิดกั้น และการไหลเวียนของเส้นประสาทที่ผ่านออกมาจากช่องว่างของกระดูกสันหลังบริเวณนั้นก็จะบกพร่องตามไปด้วย การส่งสัญญาณจึงบกพร่อง

    เส้นประสาทคู่ต่างๆ ที่ผ่านออกมาจากช่องว่างของกระดูกสันหลัง ถือได้ว่ามีความสำคัญอย่างยิ่ง เพราะเป็นจุดเริ่มต้นของการส่งสัญญาณไปสู่อวัยวะต่างๆ ทั้งการทำงานภายใต้อำนาจจิตใจและการทำงานนอกอำนาจจิตใจหรือแบบอัตโนมัติ เมื่อเกิดการปิดกั้น การส่งสัญญาณสั่งการทำงานที่ต้นทางเสียแล้ว อวัยวะต่างๆ ที่อยู่ระหว่างทางและปลายทาง ย่อมได้รับผลกระทบยิ่งนานเท่าไหร่ ก็ยิ่งเสียหายมากเท่านั้น ทำนองเดียวกับกิ่งไม้ใหญ่ที่หักร่องแร่งคาต้น ใบไม้หรือผลของกิ่งนั้นย่อมค่อยๆ เหี่ยวแห้งไปตามลำดับ และโดยเหตุที่ระบบประสาทอัตโนมัติซิมพาเธติคผ่านออกมาจากใต้กล้ามเนื้อ เส้นเอ็น และพังผืดตลอดแนวของกระดูกสันหลัง จึงมีโอกาสถูกปิดกั้น และทำให้เกิดความผิดปกติในการควบคุมการทำงานแบบซิมพาเธติคได้มากกว่าพาราซิมพาเธติค ในขณะที่เกิดการดึงรั้งของกล้ามเนื้อ เส้นเอ็น และพังผืดตามแนวกระดูกสันหลัง


อาการที่แสดงถึงการเสียดุลยภาพภายในร่างกาย
     อาการที่แสดงถึงการเสียดุลยภาพต่างๆ ดังกล่าวแล้ว อาจจัดลำดับพอสังเขปได้ดังนี้

1) โครงสร้างกระดูกในร่างกายเอียงไปด้านใดด้านหนึ่ง
2) กล้ามเนื้อในบริเวณใดบริเวณหนึ่งเกิดอาการเกร็ง
3) กล้ามเนื้อ เส้นเอ็น และพังผืด บริเวณที่เกิดอาการเกร็ง เกิดการดึงรั้งกัน
4) การดึงรั้งทำให้การไหลเวียนของเส้นเลือดแดง เส้นเลือดดำ และท่อน้ำเหลืองถูกปิดกั้น
5) เมื่อการไหลเวียนไปยังเส้นประสาทไม่เพียงพอ การส่งสัญญาณจึงบกพร่อง
6) การส่งสัญญาณบกพร่อง จึงทำให้อวัยวะต่างๆ ทำงานผิดปกติ ยิ่งนานเท่าไรก็เสียหายมากเท่านั้น
7) อาการของโรคที่เกิดจากการทำงานผิดปกติของอวัยวะนั้น ก็ปรากฏขึ้น


3. ตัวอย่างและสาเหตุของการเกิดโรคที่เกิดจากการเสียดุลยภาพ

1) ไมเกรน (โรคปวดศีรษะรุนแรงเรื้อรัง)
    บางคนมีอาการปวดศีรษะอย่างรุนแรงและเรื้อรัง มักจะสงสัยว่า ตนเองอาจจะมีเนื้องอกในสมอง จึงไปขอให้แพทย์เอ็กซเรย์ดู แต่ก็ไม่พบความผิดปกติใดๆ บางคนบอกว่าตนปวดศีรษะเนื่องจากความเครียด แต่บางคนทั้งๆ ที่เครียดก็ไม่รู้สึกปวดศีรษะ

   สาเหตุสำคัญที่ทำให้เกิดไมเกรน คือ โครงสร้างของร่างกายบริเวณคอถึงศีรษะอยู่ในภาวะเสียสมดุล จึงส่งผลให้กล้ามเนื้อ เส้นเอ็น และพังผืดตามแนวกระดูกสันหลังที่อยู่บริเวณฐานต้นคอ หรือตรงฐานกะโหลกศีรษะเกิดการเกร็งและดึงรั้งกัน เป็นเหตุให้การไหลเวียนถูกปิดกั้น และเมื่อการไหลเวียนไปยังเส้นประสาทในบริเวณนี้ไม่เพียงพอ ทำให้การส่งผ่านสัญญาณระหว่างศูนย์กลางของระบบประสาท กับสัญญาณที่จะขึ้นไปหากล้ามเนื้อบนศีรษะไปแบบไม่สมบูรณ์ กล้ามเนื้อบนศีรษะจึงเกร็งตัวอยู่ตลอดเวลา เพราะหลักธรรมชาติของร่างกาย คือถ้าไม่มีสัญญาณประสาทมาเลย กล้ามเนื้อจะเปลี้ยไม่มีการหดตัว แต่ถ้ามีบ้างไม่มีบ้างจะเกร็ง

   กล้ามเนื้อบนศีรษะเกร็งตัว ทำให้การไหลเวียนถูกปิดกั้น จึงเกิดอันตรายต่อเนื้อเยื่อบริเวณนี้เพราะเลือดไปหล่อเลี้ยงไม่เพียงพอ จึงทำให้มีอาการปวด เมื่ออาการเกร็งมีอยู่ตลอด ไม่ยอมคลายจึงทำให้เกิดอาการปวดศีรษะอย่างรุนแรงและเรื้อรังที่เรียกว่า "ไมเกรน"

2) สายตาผิดปกติ
  เรื่องสายตาผิดปกติ มีการถ่ายทอดความรู้ต่อเนื่องกันมานานแล้วว่าสายตาสั้นเกิดจากแสงที่ผ่านกระจกตาและเลนส์ โฟกั ตกไม่ถึงจอประสาทตา เป็นเหตุให้การเห็นไม่ชัดเจนจึงแก้ได้โดยการเอาเลนส์เว้ามาไว้หน้ากระจกตา เพื่อให้ลำแสงถ่างออกเล็กน้อย โฟกัสก็จะตกที่จอประสาทตาพอดีสายตายาวก็ตรงข้ามกัน คือโฟกัสตกเลยจอประสาทตา จึงใช้เลนส์นูนมาไว้หน้ากระจกตา เพื่อให้ลำแสงแคบลงเล็กน้อย โฟกัสก็จะตกที่จอประสาทตาพอดี

   คนที่สายตาปกติ เวลามองอะไรไม่ว่าใกล้หรือไกลก็ชัด ก่อนอื่นต้องทำความเข้าใจให้ถูกว่าเลนส์ตา ไม่ใช่แข็งเป็นแก้ว แต่เป็นเนื้อเยื่อใสๆ ที่ยืดหดได้โดยอาศัยกล้ามเนื้อที่อยู่รอบๆ เลนส์ตาทำหน้าที่ปรับเลนส์ให้ภาพที่เห็นผ่านเลนส์แล้วไปตกที่จอประสาทตาด้านหลังเลนส์พอดีการเห็นของเขาจึงชัดเจนทั้งใกล้และไกล

   กล้ามเนื้อที่อยู่รอบๆ เลนส์ตานั้นมีการทำงานโดยได้รับสัญญาณประสาทอัตโนมัติที่ออกมาจากไขสันหลัง แล้วผ่านปมประสาทในบริเวณท้ายทอย ถ้าจอประสาทตารับภาพได้ไม่ชัด มันก็จะรายงานไปยังศูนย์ประสาทอัตโนมัติในสมองทันที ครั้นแล้วศูนย์ประสาทอัตโนมัติก็จะสั่งการกลับมาตามเส้นทางเดิม ให้กล้ามเนื้อที่อยู่รอบเลนส์ตาหดหรือคลายเพื่อปรับเลนส์ให้ภาพไปตกพอดี

    คนที่สายตาผิดปกติ ก็เพราะการทำงานของกล้ามเนื้อรอบเลนส์ตานั้นผิดปกติ ผลจากการศึกษาค้นคว้าวิจัยพบว่า ผู้ที่มีสายตาผิดปกติส่วนใหญ่ กล้ามเนื้อบริเวณท้ายทอยและพังผืดลึกๆ ใต้กล้ามเนื้อเกร็งตึงจนไปปิดกั้นการไหลเวียน และทำให้เส้นประสาทในบริเวณนั้นส่งสัญญาณประสาทบกพร่อง การทำงานของกล้ามเนื้อรอบเลนส์ตาในการปรับโฟกัสของเลนส์จึงบกพร่องไป ไม่ใช่เพราะเลนส์ตาผิดปกติ

3) อาการปวดหู อาการหูอื้อ
    บางคนปวดหู บางคนหูอื้อได้ยินไม่ชัด จึงไปหาแพทย์ ครั้นแพทย์ใช้เครื่องมือส่องตรวจดูในช่องหู หากตรวจไม่พบความผิดปกติใดๆ ในช่องหู เช่น การติดเชื้อสิ่งแปลกปลอม เป็นต้นเมื่อคนนั้นลองใช้นิ้วมือกดลงที่แอ่งใต้หูจะพบว่า รู้สึกเจ็บมาก ทั้งนี้เพราะกล้ามเนื้อคอตรงบริเวณนั้นตึงมาก ดึงรั้งอยู่ตลอดเวลา เนื่องจากเสียสมดุล จนไปบีบรัดท่อที่เชื่อมระหว่างภายในช่องหูส่วนกลางกับภายในลำคอ ซึ่งทำหน้าที่ในการระบายอากาศ เมื่อไม่สามารถระบายอากาศจากภายในช่องหูส่วนกลางได้ จึงเกิดอาการปวดหูและหูอื้อ

4) อาการเวียนศีรษะ
     ในวงการแพทย์มักกล่าวกันว่า อาการเวียนศีรษะเกิดจากระดับน้ำในหูไม่เท่ากัน ซึ่งยังค้นไม่พบว่าได้มีการวัดกันจริงๆ แต่สิ่งที่ได้พบในคนไข้ที่มีอาการเวียนศีรษะก็คือ กล้ามเนื้อบริเวณคอตึงมาก จนกระทั่งไปปิดกั้นการไหลเวียนของเลือดที่ไปเลี้ยงอวัยวะที่ทำหน้าที่ควบคุมการทรงตัวส่งผลให้อวัยวะที่ทำหน้าที่ควบคุมการทรงตัวบกพร่อง

5) โรคภูมิแพ้
  ผู้ที่เป็นโรคภูมิแพ้จะมีอาการน้ำมูกไหลไม่หยุด ทั้งนี้เพราะระบบประสาทอัตโนมัติซิมพาเธติคที่ทำหน้าที่ควบคุมการหยุดหลั่งน้ำมูก ซึ่งผ่านมาทางคอและทางท้ายทอยถูกปิดกั้นไม่สามารถส่งสัญญาณได้ตามปกติ เนื่องจากกล้ามเนื้อในบริเวณนี้ มีอาการเกร็งและดึงรั้งกันเกิดขึ้น

    ในภาวะปกติ เมื่อมีสิ่งใดมากระตุ้นร่างกาย เช่น ขี้ฝุ่น ระบบประสาทพาราซิมพาเธติคก็จะส่งสัญญาณให้น้ำมูกไหลออก มาปะทะและจับผงฝุ่นนั้นไว้ ครั้นเมื่อเก็บรวบรวมผงฝุ่นได้หมดแล้ว ระบบประสาทซิมพาเธติคก็จะส่งสัญญาณสั่งให้น้ำมูกหยุดไหล แต่โดยเหตุที่เส้นประสาทซิมพาเธติคไม่สามารถส่งสัญญาณได้ตามปกติ น้ำมูกจึงไหลอยู่เรื่อยๆ ไม่ยอมหยุดจึงเกิดเป็นโรคภูมิแพ้ขึ้น

6) โรคหอบหืด
     เมื่อมีสิ่งเร้ามากระตุ้น เช่น ความเย็น ฝุ่นละออง ควัน เกสรดอกไม้ เป็นต้น มักจะมีอาการอึดอัดแน่นหน้าอก หายใจลำบาก มีเสียงหายใจดังวีด มักจะมีอาการไอถี่ๆ และมีเสลดเหนียวเกิดขึ้น นี่คืออาการของโรคหอบหืด

    ในภาวะปกติ เมื่อมีสิ่งแปลกปลอมหลุดเข้าไปสู่หลอดลม ระบบประสาทพาราซิมพาเธติคจะส่งสัญญาณสั่งให้หลอดลมหดตัว และหลั่งสารเมือกออกมาจับสิ่งแปลกปลอมนั้น เพื่อนำเข้าสู่กระบวนการทำลายต่อไป หลังจากนั้นระบบประสาทซิมพาเธติค ก็จะส่งสัญญาณสั่งให้หลอดลมคลายตัวกลับสู่ภาวะปกติ

    แต่ถ้าเมื่อใดระบบประสาทซิมพาเธติคถูกปิดกั้นการทำงานเนื่องจากการเกร็งของกล้ามเนื้อตามแนวกระดูกสันหลัง ในบริเวณที่ออกของเส้นประสาทที่แตกจากไขสันหลัง ทำให้หลอดลมที่หดตัวแล้วไม่ยอมคลาย หลอดลมจึงตีบอยู่ ทำให้หายใจไม่สะดวก รวมทั้งไม่ได้รับสัญญาณให้เมือกหยุดหลั่ง ร่างกายจึงต้องขับเมือกออก ทำให้มีอาการไอมาก

7) โรคกระเพาะอาหารอักเสบ
    ในภาวะปกติ เมื่ออาหารถึงกระเพาะ ระบบประสาทพาราซิมพาเธติค จะเป็นตัวเร่งการผลิตกรดออกมาจำนวนมาก เพื่อย่อยอาหาร ขณะเดียวกันก็ทำหน้าที่ให้กระเพาะบีบตัวเพื่อคลุกเคล้าอาหารและขับเคลื่อนอาหารไปสู่ลำไส้ต่อไปส่วนระบบประสาทซิมพาเธติคจะทำหน้าที่เป็นตัวยับยั้งการผลิตกรดให้ลดน้อยลง และคลายการบีบตัวของกระเพาะอาหาร

  จากการศึกษาได้พบว่า เมื่อกล้ามเนื้อตามแนวกระดูกสันหลังตึง การไหลเวียนถูกปิดกั้นทำให้สัญญาณประสาทซิมพาเธติคบกพร่อง กรดจึงหลั่งไม่หยุด เมื่อกรดมีจำนวนมาก ก็กัดทำลายกระเพาะ ทำให้เยื่อบุกระเพาะเกิดการอักเสบ บางครั้งกรดก็ล้นขึ้นมาที่หลอดอาหาร ทำให้เกิดอาการปวดแสบปวดร้อนที่หน้าอก หรือมีอาการเรอเหม็นเปรี้ยว หรือกระเพาะบีบตัว แล้วไม่คลายก็ทำให้เกิดอาการจุกที่ลิ้นปี เป็นต้น

8) โรคปวดข้อ
    ในภาวะปกติ คนเราย่อมไม่มีอาการปวดข้อ ทั้งนี้ก็เพราะกล้ามเนื้อ เส้นเอ็น และพังผืดซึ่งทำหน้าที่พยุงและควบคุมการเคลื่อนไหวของข้อ ไม่ว่าจะหมุนซ้ายหรือหมุนขวา ก็จะทำงานประสานสัมพันธ์กันอย่างไม่ผิดพลาดคลาดเคลื่อน จึงไม่เจ็บไม่ปวด อย่างไรก็ตาม ถ้าเมื่อใดสมองสั่งการมายังกล้ามเนื้อที่ทำงานเกี่ยวข้องกับข้อ แต่มีกล้ามเนื้อบางมัดได้รับสัญญาณไม่สมบูรณ์ทำให้การทำงานของกล้ามเนื้อไม่สัมพันธ์กัน ก่อให้เกิดการดึงรั้งของข้อและเนื้อเยื่อ จนเกิดการเจ็บปวดขึ้น นานๆ เข้าก็เกิดอาการอักเสบ การสึก และการเสื่อมของข้อได้

   ทำไมกล้ามเนื้อบางมัดจึงไม่ได้รับสัญญาณ หรือได้รับสัญญาณแต่ไม่ มบูรณ์ ที่เป็นเช่นนี้ก็เพราะเส้นประสาทที่มาเลี้ยงกล้ามเนื้อส่วนนั้นผ่านบริเวณที่มีการเกร็งและดึงรั้งของกล้ามเนื้อและพังผืดส่วนใหญ่พบที่บริเวณแนวกระดูกสันหลัง ทำให้ไม่สามารถส่งผ่านสัญญาณที่สมองสั่งมาให้ทำงานอย่างสัมพันธ์กันได้ตามปกติ หากไม่ได้รับการแก้ไขอย่างถูกวิธี ผลร้ายที่ตามมาอีกคือกล้ามเนื้อส่วนนั้นจะอ่อนแอลงอีกด้วย

   ตามธรรมดาเมื่อมีอาการปวดข้อ คนเราก็สนใจดูแลเฉพาะแต่ตรงข้อ หรืออย่างมากก็บอกว่ากล้ามเนื้อตรงบริเวณข้อไม่แข็งแรง จึงพยายามบริหารกล้ามเนื้อตรงข้อนั้นให้แข็งแรงแต่ความจริงมีอยู่ว่า กล้ามเนื้อที่ไม่ได้รับสัญญาณประสาทจาก มอง จะบริหารอย่างไรก็ยากที่จะกลับมาแข็งแรงเหมือนเดิม ทั้งนี้เพราะกล้ามเนื้อจะพัฒนาให้กลับแข็งแรงตามปกติได้ต้องอยู่ในสภาพที่สมบูรณ์ขององค์ประกอบหลักทั้ง 3 ประการ

9) หลังโก่ง หลังแอ่น หลังคด
   ภาพหลังโก่ง หลังแอ่น และหลังคด ก็มีสาเหตุทำนองเดียวกับการปวดข้อ จะต่างกันก็ตรงที่ตำแหน่งการดึงรั้งของกล้ามเนื้อ เส้นเอ็น และพังผืด

GB 410 การรักษาสุขภาพตามพุทธวิธี , ความรู้ทั่วไปทางพระพุทธศาสนา , DOU , ดุลยภาพบำบัดในสมัยพุทธกาล , ความเจ็บป่วยเนื่องจากโครงสร้างของร่างกายเสียสมดุล , ภาวะปกติของร่างกาย

GB 410 การรักษาสุขภาพตามพุทธวิธี , ความรู้ทั่วไปทางพระพุทธศาสนา , DOU , ดุลยภาพบำบัดในสมัยพุทธกาล , ความเจ็บป่วยเนื่องจากโครงสร้างของร่างกายเสียสมดุล , ภาวะปกติของร่างกาย

    หลังโก่ง เกิดขึ้นเพราะมีการดึงรั้งเกิดขึ้นที่กล้ามเนื้อ เส้นเอ็น และพังผืดด้านหน้าหลังแอ่น เกิดขึ้นเพราะมีการดึงรั้งเกิดขึ้นที่กล้ามเนื้อ เส้นเอ็น และพังผืดด้านหลังส่วนหลังคด เกิดขึ้นเพราะกล้ามเนื้อ เส้นเอ็น และพังผืดบริเวณสีข้างซีกซ้ายหรือซีกขวามีการดึงรั้ง

    จากสาเหตุของโรคที่ยกมาเป็นตัวอย่างนี้ กล่าวได้ว่า การที่กล้ามเนื้อ เส้นเอ็น และพังผืดในส่วนต่างๆ ของร่างกาย มีการหดและดึงรั้งอย่างต่อเนื่อง โดยขาดการผ่อนคลายตามปกติ แล้วส่งผลกระทบต่อการทำหน้าที่ของอวัยวะ และระบบต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง จึงเป็นเหตุให้เกิดการเจ็บป่วยขึ้น ทั้งหมดล้วนมีสาเหตุมาจากโครงสร้างของร่างกายเสียสมดุล


4. สาเหตุที่ทำให้ร่างกายเสียสมดุล
     โครงสร้างของร่างกายเสียสมดุล มีสาเหตุ 3 ประการ คือ

    1) ถูกแรงกระทบกระแทกจากภายนอก เมื่อร่างกายถูกกระทบกระแทกจากภายนอกทำให้โครงสร้างของร่างกายบิด ผิดรูปไป แม้ไม่มากนักแต่ก็เสียความสมดุลไปแล้ว ซึ่งส่งผลให้มุมการดึงของกล้ามเนื้อเส้นเอ็นและพังผืดผิดรูปไปด้วย จึงทำให้เกิดการตึงค้าง เป็นเหตุให้ระบบการไหลเวียนในบริเวณนั้นทำงานไม่สะดวก ตัวอย่างเช่น เด็กหกล้ม ก้นกระแทกผิดมุมเพียงหน่อยเดียว กล้ามเนื้อก็เกร็ง หรือแม้ไม่ผิดมุม กล้ามเนื้อก็ช้ำ การที่กล้ามเนื้อเกร็งก็เพราะต้องการปกป้องตัวเอง อาการเกร็งของกล้ามเนื้อ นอกจากจะปิดกั้นการไหลเวียนบริเวณนั้นแล้ว ยังปิดกั้นสัญญาณประสาทที่ส่งไปทำงานยังส่วนอื่นอีกด้วย หรือการคลอดโดยปกติเมื่อทารกคลอดจากท้องแม่ ทารกจะค่อยๆ ลีบตัวออกมาตามธรรมชาติ เมื่อทารกคนไหนคลอดยาก แพทย์จะต้องใช้คีมดึงออก หรือผ่าท้องออก การคลอดที่มิได้เป็นไปตามธรรมชาติล้วนเป็นเหตุให้กล้ามเนื้อ เส้นเอ็น และพังผืด ดึงรั้งผิดปกติไป ทารกที่คลอดผิดธรรมชาติ จึงมีโอกาสเจ็บป่วยด้วยโรคประจำตัวตั้งแต่เด็ก

    2) ตัวเองทำตัวเอง ในชีวิตประจำวันของคนเรา มักจะมีการใช้ท่าทางผิดปกติอย่างต่อเนื่องเช่น การนั่งในท่าที่ผิด นั่งหลังโก่ง หลังงอ ไหล่ห่อ คางยื่น เป็นต้น ท่าทางเหล่านี้ล้วนทำให้ร่างกายเสียสมดุล เพราะเป็นเหตุให้กล้ามเนื้อ เส้นเอ็น และพังผืดดึงรั้งกันส่งผลให้ระบบต่างๆ ในร่างกายถูกปิดกั้น ภาวะที่ "ตัวเองทำตัวเอง" นี้เป็นสาเหตุที่ทำให้โครงสร้างของร่างกายเสียสมดุล ซึ่งคนส่วนมากไม่ทราบหรือไม่สนใจ

     3) สองอย่างประกอบกัน หมายถึงสาเหตุทั้งประการที่ 1 และ 2 มาผสมรวมกันที่พบบ่อย คือ เมื่อภาวะเสียสมดุลของร่างกายที่เกิดจากสาเหตุประการที่ 1 ทำให้เกิดการดึงรั้งของกล้ามเนื้อ เส้นเอ็น และพังผืด แทนที่เจ้าตัวจะคิดแก้ไขให้กลับสู่สภาพปกติตามเดิมด้วยสติปัญญาของตน แต่กลับยอมโอนอ่อนผ่อนตาม พอใจที่จะอยู่ในท่าผิดปกติเช่นนั้นต่อไป ทำให้สาเหตุประการที่ 2 ตัวเองทำตัวเองตามมา

    ตัวอย่างเช่น เมื่อคนเรามีอาการเคล็ดขัดยอก เนื่องจากถูกแรงกระทบกระแทกจากภายนอกไม่ว่าจะเป็นการลื่นหกล้ม หรือเหตุอื่นใดก็ตาม จนทำให้กล้ามเนื้อ เส้นเอ็น และพังผืดด้านหน้าเกิดการดึงรั้งมาก จึงไม่สามารถนั่งตัวตรงได้ เพราะถ้านั่งตัวตรงก็จะทำให้รู้สึกปวดเมื่อยจึงนั่งหลังงอตามการดึงรั้งของกล้ามเนื้อด้านหน้า เพราะเป็นท่านั่งที่ทำให้เจ้าตัวรู้สึกสบาย ความรู้สึกสบายนั่นคือ แรงดึงของกล้ามเนื้อทางด้านหน้าและด้านหลังเกิดความสมดุลกันแล้ว

    ความสมดุลระหว่างแรงดึงของกล้ามเนื้อทางด้านหน้า และด้านหลัง เกิดขึ้นโดยสมองนั่นเองที่ส่งสัญญาณสั่งการผ่านมาทางเส้นประสาท ให้กล้ามเนื้อด้านหลังยืดหยุ่น เพื่อให้เกิดแรงดึงสมดุลกับการดึงรั้งของกล้ามเนื้อด้านหน้า แต่สมองไม่รู้เลยว่า การสั่งการทำงานเช่นนี้ร่างกายต้องนั่งหลังโก่ง รู้แต่เพียงว่า นั่งสบายแล้ว แต่ทว่าความสบายนั้นเกิดจากท่าทางที่ไม่ถูกต้องซึ่งจะเป็นเหตุปัจจัยให้เกิดการดึงรั้งของกล้ามเนื้อในบริเวณอื่นๆ ต่อไปอีก โครงสร้างของร่างกายก็จะเสียสมดุลมากขึ้น

   จากสาเหตุดังกล่าว จะเห็นว่าการกระทำของตัวเราเองเป็นสาเหตุหลัก เพราะถึงแม้ตัวเราจะถูกแรงกระทบกระแทกจากภายนอก แต่ถ้าตัวเราเองรู้จักวิธีแก้ไข ร่างกายก็ยังสามารถอยู่ในภาวะที่สมดุลได้

     อนึ่ง กระดูกทั้งหลายไม่สามารถเคลื่อนไหวด้วยตัวของมันเองได้ ดังนั้นโครงสร้างของร่างกายจะอยู่ในภาวะสมดุล หรือจะบิดจะเอียงไปอย่างไร ย่อมขึ้นอยู่กับกล้ามเนื้อ เส้นเอ็น และพังผืดที่ยึดโยงกระดูกให้ทำงานได้อย่างสมดุล ถ้าเราฝึกสั่งกล้ามเนื้อของเราให้ปฏิบัติให้ถูกมันก็จะยึดกระดูกของเราให้อยู่ในที่ตามปกติ แต่ถ้าเราปล่อยปละละเลย ไม่ว่ากล้ามเนื้อมันจะดึงไปทางไหนก็ไม่ใส่ใจ ปล่อยให้ตัวห่อตัวงอไปเรื่อยๆ โครงสร้างของร่างกายก็จะเสียสมดุลมากขึ้นเรื่อยๆ

  สรุปได้ว่าสาเหตุของความเจ็บป่วยหลายๆ โรค มาจากตัวเราเอง ดังนั้นเราจึงต้องมีสติควบคุมกำกับการทำงานของกล้ามเนื้อ เส้นเอ็น และพังผืด ให้อยู่ในภาวะสมดุลอยู่เสมอ ร่างกายก็จะอยู่ในภาวะปกติตลอดเวลา ทำให้มีสุขภาพร่างกายสมบูรณ์ แข็งแรง ไม่ต้องทนทุกข์ทรมานด้วยโรคภัยไข้เจ็บนานัปการ

 

*----------------------------------------------------------------------------------------------------------*
หนังสือ GB 410 การรักษาสุขภาพตามพุทธวิธี
กลุ่มวิชาความรู้ทั่วไปทางพระพุทธศาสนา

 ยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคล Total Execution Time: 0.0012282172838847 Mins