ต้นไม้

วันที่ 18 พค. พ.ศ.2560

ต้นไม้

 

 

               นี่ต้นทรงบาดาล ยายให้เขาเอามาลูก" คุณยายชี้ให้ข้าพเจ้าดูต้นไม้ที่ขึ้นอยู่ริมน้ำ เป็นไม้พุ่มทรงใหญ่มีดอก สีเหลือง ข้าพเจ้าเพิ่งจะทราบว่า ต้นไม้ชนิดนี้ชื่อทรงบาดาล และในเวลาต่อมาข้าพเจ้าก็ได้รู้จักชื่อของต้นไม้ ต่างๆ อีกมากมาย

               การที่ข้าพเจ้าได้เดินตามคุณยายทำให้ข้าพเจ้าทราบว่า ท่านรักต้นไม้และชอบลูกต้นไม้ยิ่งนัก

               วัดของคุณยายในแผ่นดินผืนแรก พื้นที่ ๑๙๖ ไร่ เต็มไปด้วยพันธุ์ไม้มากมายหลากหลายชนิด ซึ่งดูเหมือนว่าคุณยายจะ คุ้นเคยกับต้นไม้เหล่านี้เป็นอย่างดี

               ตรงริมถนนหน้ากุฏิยายจะมีต้นแก้วลูกเรียงรายอยู่ เป็นต้นแก้วที่ใหญ่มาก ประมาณว่าอายุของต้นแก้วคงเกือบเท่าอายุของวัด คุณยายมักจะบอกพี่อุดม (ปัจจุบันคือพระอุดม ยติสสโร) ว่า "อย่าไปแตะต้องตัดแต่งอะไรต้นแก้วเชียวนะ" เนื่องจากว่า หลวงพ่อท่านรักต้นไม้เช่นกัน ครั้นเวลาต้นแก้วออกผล สีแดง คุณยายก็จะบอก "เก็บเอาเม็ดมันไว้ให้ยายด้วย ยายจะเอาไปปลูก"

               ตรงทางเดินเข้ากุฏิยายจะมีต้นไม้ใหญ่สูงชะลูดเรียงคู่กัน อยู่ฝังละ ๒ ต้น ชื่อต้นแต้ว ตามปกติข้าพเจ้าจะไม่ค่อยได้แหงน มองดูต้นดูใบของมันเท่าใดนัก ต่อเมื่อช่วงฤดูออกดอกและดอก ร่วงหล่นลงมาเต็มพื้นจึงได้แหงนหน้าขึ้นไปมองว่า ดอกนั้นมาจากไหน ถึงช่วงออกดอกผลิใบต้นแต้วจะสวย เวลาดอกร่วง พื้นที่บริเวณนั้นก็ปูด้วยดอกไม้เล็ก ๆ สีขาวอมชมพูม่วงเต็มไปหมด ต้นแต้วนี้คุณยายบอกว่า หลวงพ่อท่านเอามาปลูก

              บริเวณรอบ ๆ กุฏิยาย จะมีพันธุ์ไม้หลายอย่างทั้งไม้หอมชนิดต่าง ๆ เช่น ลำดวน บุนนาค พิกุล มีซุ้มการเวก มีต้นมะม่วงใหญ่อยู่หลังกุฏิ คุณยายบอกว่า "มะม่วงเจ้าคุณทิพย์ ยายเอามาปลูกไว้"ช่วงเวลาออกผลก็จะนำมาถวายพระหรือนำไปให้สาธุชนรับประทาน บางครั้งก่อนถึงเวลาที่จะมีคนมาเก็บผลมะม่วง ก็จะมีบางผลร่วงลงมาอยู่กับพื้นด้วยฝีมือของกระรอกที่วิ่งซุกซนอยู่ทั่วไป คุณยายมักจะบอกให้เก็บเอามารวม ๆ กันไว้ บางครั้ง คุณยายก็บอกว่า "เดี๋ยวทำมาให้ยายกินด้วยนะ"

             ข้าพเจ้าทราบดีว่าท่านไม่ได้อยากลิ้มรสความอร่อยของ มะม่วงนั้น แต่ท่านอยากลิ้มลองรสชาติแห่งความสำเร็จของผลิตผลที่ท่านปลูกด้วยสองมือของท่านเอง มะม่วงลูกนั้นจึงเป็น ผลผลิตที่น่าลิ้มลอง และเป็นผลผลิตที่มีรสชาติหอมหวานเสมอ สำหรับผู้ที่ได้ลงมือลูกด้วยตนเอง

            มีต้นไม้อีกนิดหนึ่งที่ข้าพเจ้าไม่นึกว่าจะได้พบในบริเวณ หลังกุฏิคุณยายปกติคุณยายมักจะเดินดูบริเวณรอบ ๆ กุฏินาน ๆ ครั้ง จึงจะเห็นท่านเดินลึกเข้าไปถึงริมน้ำ บ่ายวันหนึ่ง ท่านชวนข้าพเจ้าเดินไปทางนั้น เหมือนท่านจะมีญาณหยั่งรู้ว่า พืชพันธุ์ของท่านออกผลผลิตอีกนิดหนึ่งแล้ว เนื่องจากเป็นเส้นทางที่ไม่ค่อยมีใครสัญจรไปมาบ่อยนัก ข้าพเจ้าจึงคอยดูพื้นทาง เดินให้ท่านอย่างระมัดระวังเป็นพิเศษ พลันสายตาก็เหลือบไป เห็นมะตูม ๒ ลูก หล่นอยู่กับพื้นหญ้า ข้าพเจ้าเก็บขึ้น มา คุณยายบอกว่า "มะตูมยายเอามาปลูกไว้เอง" กลับมาที่ห้องเลขาพร้อมมะตูม พี่อารีพันธุ์บอกว่า "เดี๋ยวเอาไปให้ที่ครัวเขาเผา แล้วทุบให้แตกเอาลงต้ม รินเอาน้ำมะตูมมาให้คุณยายดื่ม"

            เดินไปทางห้องเลขา หน้าห้องเลขา จะมีต้นตันหยงปลูกเป็นแถวเรียงรายไปจนสุดถนนหน้ากุฏิหลวงพ่อทัตตชีโว ต้นตันหยงเป็นต้นไม้ใหญ่ขนาดกลาง มีใบเล็ก ๆ ประกอบกันเป็นก้าน เวลาผลิใบใหม่ ๆ ดูนุ่มนวล สีเขียวสดใสถึงเวลาใบร่วง ก็ไม่ทำให้ใบรกพื้นเหมือนไม้อื่น เพราะใบเล็กเป็นฝอยจนผสม กลมกลืนเข้ากันกับพื้นดินได้เป็นอย่างดี

            ในช่วงนั้นหน้าห้องเลขา พื้นส่วนใหญ่เป็นดินยังไม่ได้ปู ด้วยหินเหมือนปัจจุบันนี้ เม็ดตันหยงจากฝักที่ร่วงลงมา ไม่ทราบว่าใช้เวลาพักฟื้นในพื้นดินนานเท่าใด เมื่องอกออกมาจะเห็นต้น กล้าเล็ก ๆ โผล่พ้นดินขึ้นมาเสมอ พอต้นกล้าเขียวแข็งแรงสักหน่อยคุณยายมักจะบอกให้ขุดเอาไปใส่ถุงชำไว้ ข้างหลังห้องเลขา จึงมีกลุ่มถุงต้นกล้าหลายถุงเรียงอยู่

             คุณยายท่านมักจะเดินไปดูและบอกว่า "รดน้ำต้นไม้ให้ยายด้วยนะ" หรือไม่ก็ "เอ เราจะเอาต้นไม้พวกนี้ไปลงปลูกไว้ตรงไหนดี"

             จากห้องเลขา เดินผ่านศาลาดุสิต ด้านข้างศาลาจะมีกลุ่มต้นโมก ซึ่งมักจะออกดอก สีขาวเล็ก ๆ ดูน่ารัก มีกลิ่นหอมอ่อน ๆ ฝักอ่อน สีเขียวเข้มมีลักษณะคล้ายกรรไกร ฝักที่แก่จะเป็น สีน้ำตาล เมื่อปริแตกออกมาที่เม็ดจะมีขนฟู ๆ ปลิวลอยไปตามลม เวลาคุณยายเดินผ่านต้นโมกบางครั้งก็จะเอามือไปจับหรือโน้มกิ่งลงมาดูใกล้ ๆ คุณยายจะเรียก ต้นโมก ว่า ต้นกรรไกร

             ด้านตรงข้ามของถนนจะมีต้นพุดอยู่ ๒๓ ต้น คุณยายให้พี่ระดิษฐ์เอามาปลูกไว้ช่วงที่เอามาปลูกใหม่ ๆ เวลาเดินผ่านคุณยายก็จะแวะดูว่ามีใครรดน้ำหรือเปล่า ดอกพุดเป็นดอกไม้อีกชนิดหนึ่งที่คุณยายชอบ ที่กุฏิคุณยายตรงบริเวณก่อนจะขึ้นบันไดก็มีต้นพุดต้นใหญ่อยู่ต้นหนึ่ง มีดอกเยอะ คุณยายมักจะเดินไปรอบ ๆ เพื่อชื่นชมกับดอกที่ออกใหม่

             ที่ครัวยามาด้านแท้งค์น้ำ ข้าพเจ้ายังจำต้นกล้วยที่คุณยายชี้ให้ข้าพเจ้าดูเป็นกอแรกได้ดี แม้เวลาผ่านมาเป็น ๑๐ ปีแล้ว ปัจจุบันต้นกล้วยกอนั้นก็ยังอยู่ คุณยายบอกว่า "ยายชอบปลูกต้นกล้วย เวลามันออกลูกแล้วเอามากินได้ เมื่อตัดเครือออกแล้ว ตัดต้นเก่าทิ้ง ต้นใหม่ก็จะแตกหน่อขึ้นมาแทน"

             อีกประการหนึ่ง ต้นกล้วยจะช่วยคลุมดินไว้ไม่ให้วัชพืชขึ้น คุณยายท่านจะมีภาษาของท่านว่า "ปลูกกล้วยไว้ปราบไอ้เปาะแปะ" ไอ้เปาะแปะของคุณยายคือต้นต้อยติ่งนั่นเอง เวลาฝักมันโดนน้ำก็จะดังเปาะแปะ ๆ จะเห็นได้ว่าในบริเวณวัดเขตกำแพง ๑๙๖ ไร่ จะมีกอกล้วยกระจายอยู่ทั่วไป ไม่ว่าซอกมุมไหนที่พอ จะเห็นที่ว่างคุณยายจะให้เอากล้วยไปลงปลูกไว้

             พูดถึงต้นเปาะแปะหรือพวกหญ้าวัชพืชทั้งหลาย ถ้าเห็นที่ใดท่านก็จะถอนทิ้งทันที แม้แต่ต้นไม้ที่เป็นเถาที่ขึ้นรกเลื้อย พันต้นไม้อื่น เช่น ต้นตำลึงถ้าโผล่ยอดเลื้อยพันผิดที่ไปพันต้นเข็มบ้าง ต้นแก้วบ้าง คุณยายก็ไม่เอาไว้ท่านจะตรงดิ่งเข้าไปถอนทิ้งทันทีโดยไม่ลังเล แม้ท่านจะรับประทานแกงจืดตำลึงอยู่บ่อย ๆ ก็ตาม เวลาเดินตามท่าน ข้าพเจ้าจึงต้องคอยมองซ้ายแลขวาให้ดี จะได้ถอนต้นเหล่านี้ให้ทันก่อนที่ท่านจะต้องลงมือถอนเองเพื่อที่จะได้ช่วยเบาแรงท่าน

             ที่ริมโค้งน้ำข้างอาคารดาวดึงส์จะมีต้นมะยมยืนคู่กันอยู่ ๒ ต้นท่านบอกว่า "ยายเอามาปลูกไว้" คงเป็นมะยมพันธุ์ดี เพราะมีรสเปรี้ยวเพียงเล็กน้อย ออกลูกเป็นพวงดกทุกปี มีอยู่ครั้งหนึ่งคุณยายเดินมาดูเห็นมีลูกดกเต็มไปหมด จึงให้เด็ก ๆ ที่ครัวมาช่วยกันเก็บ คุณยายท่านยืนดูเด็ก ๆช่วยกันเก็บด้วยความเบิกบาน บางคนเอาตะกร้อสอยเก็บบนต้น บางคนก็คอยเก็บลูกที่หล่นลงมาตามพื้นหญ้า บางคนก็คอยเอากระชอนช้อนลูกที่ตกลงไปในน้ำขึ้นมา รวม ๆ แล้วได้มะยมเป็นกระป๋อง คุณยายก็จะมอบหมายให้ "คุณเล็ก" เอากลับไปที่ครัว เพื่อแปรรูปมะยมในรูปแบบต่าง ๆ แจกจ่ายกันรับประทานต่อไป

             บริเวณวัดพระธรรมกายมองไปทางไหนมีแต่ความร่มรื่น นี่ต้นประดู่ยายปลูก ฝั่งโน้นติดกำแพงใกล้น้ำต้นกระถินณรงค์หลังโบสถ์มีต้นกันเกราเวลาออกดอกส่งกลิ่นหอม และต้นอื่น ๆ อีกเยอะแยะมากมาย... เคยได้ฟังหลวงพี่วิชเชสโกท่านเทศน์ให้ฟังว่า กว่าจะเหลือเป็นต้นไม้ที่ขึ้นให้เห็นกันอยู่ทุกวันนี้ ผ่านการปลูกแล้วปลูกอีกไม่รู้ว่ากี่รอบ บางต้นปลูกแล้วก็ตายเพราะดินเปรี้ยวบ้าง บางต้นปลูกแล้วก็โดนไถกลบทิ้งเพราะการก่อสร้างบ้างแต่คุณยายก็ยังคงนำลูกศิษย์ลูกหาลงปลูกต้นไม้ครั้งแล้วครั้งเล่า อย่างไม่ย่อท้อหรือหมดกำลังใจ

             ข้าพเจ้านึกในใจว่า บนพื้นที่แผ่นดินผืนแรก ๑๙๖ ไร่นี้ มีพื้นดินตรงไหนบ้างหนอที่คุณยายไม่เคยเหยียบย่างย่ำเท้าไป มีต้นไม้ต้นไหนบ้างหนอที่คุณยายไม่รู้จักคุ้นเคย

            ต้นไม้ทั้งหลายเหล่านี้ปลูกด้วยหยาดเหงื่อ แรงกาย แรงใจ และด้วยความรัก โดยหวังว่าในวันข้างหน้าจะเติบใหญ่ แตกกิ่งก้านสาขาออกดอกผลให้ร่มเงาและความร่มเย็นแก่ผู้ที่ได้มาพักพิงอาศัย

             "จุ๊กกรู้ กรุ๊ก ๆ ๆ " เสียงนกเขาร้อง

             คุณยายบอกว่า "วัดเราต้นไม้เยอะ นกกามันยังได้มาอาศัย ถ้าอยู่ที่อื่นมาร้องจุ๊กกรูอย่างนี้ ถูกเขาจับไปขายใส่กรงหมดแล้ว"

             "...ยายเป็นเช่นโพธิพฤกษ์ ให้ระลึกและพึ่งพาศิษย์ดั่งสกุณา ได้อาศัยใต้บารมี"

 

 

 ยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคล Total Execution Time: 0.0014562646547953 Mins