ธรรมกายในศิลาจารึก

วันที่ 14 มิย. พ.ศ.2560

ธรรมกายในศิลาจารึก1

พระพุทธคุณ พระธรรมคุณ พระสังฆคุณ , Pre-Degree , วัดพระธรรมกาย , DOU , ธรรมกาย , ปริญญาตรี , พรีดีกรี , พระพุทธศาสนา , พุทธศาสตร์ , พระไตรปิฎก , สร้างบารมี , หลวงพ่อธัมมชโย , ธรรมกายในศิลาจารึก , พระสัมมาสัมพุทธเจ้า , ประชุมศิลาจารึก

      ในหนังสือ "ประชุมศิลาจารึก ภาคที่ 3" มีจารึกหลักที่ 54 ศิลาจารึกภาษาไทยและมคธ เรื่องพระธรรมกาย มีลักษณะดังรูป

    ศิลาจารึกหลักนี้ ขุดพบโดยนายคุ้ม ที่พระเจดีย์วัดเสือ อำเภอเมือง จังหวัดพิษณุโลกเป็นศิลาที่ชำรุดหักหายไป ที่เหลืออยู่มีลักษณะเป็นหินชนวนสีเขียว กว้าง 48 เซนติเมตรสูง 33 เซนติเมตร หนา 4.5 เซนติเมตร จารึกเมื่อปี พ.ศ. 2092 (สมัยกรุงสุโขทัย) อักษรขอมภาษาไทยและมคธ ปัจจุบันอยู่ในแผนกหนังสือตัวเขียนและจารึก กองหอ มุดแห่งชาติ กรมศิลปากร

พระพุทธคุณ พระธรรมคุณ พระสังฆคุณ , Pre-Degree , วัดพระธรรมกาย , DOU , ธรรมกาย , ปริญญาตรี , พรีดีกรี , พระพุทธศาสนา , พุทธศาสตร์ , พระไตรปิฎก , สร้างบารมี , หลวงพ่อธัมมชโย , ธรรมกายในศิลาจารึก , พระสัมมาสัมพุทธเจ้า , ประชุมศิลาจารึก

จารึกหลักที่ 54 เรื่องพระธรรมกาย

    ข้อความในจารึก มีคำอธิบายเกี่ยวกับ พระธรรมกายไว้อย่างน่าสนใจมาก เช่น มีอยู่ประโยคหนึ่งท่านว่า "พระพุทธลักษณะคือพระธรรมกายนี้ อันโยคาวจรกุลบุตรผู้มีญาณอันกล้าเมื่อปรารถนาซึ่งภาวะแห่งตนเป็นสัพพัญูพุทธเจ้า พึงระลึกเนือง ๆ ฯ" แสดงชัดเจนว่าพระธรรมกายนี้มีรูปลักษณะอยู่ ไม่ใช่เป็นเพียงชื่อเรียกหรือนามธรรมเท่านั้น

      สำหรับคำแปลซึ่งแปลโดย ศาสตราจารย์ฉ่ำ ทองคำวรรณ นั้น เนื่องจากศิลาที่พบหักเหลือจารึกอยู่เพียง 9 บรรทัด เมื่อมีการตรวจสอบกับหนังสือพระธรรมกายาทิ ก็ได้ข้อความเพิ่มเติมโดยสมบูรณ์ดังนี้

     "พระพุทธลักษณะคือพระธรรมกาย มีพระเศียรอันประเสริฐ คือพระสัพพัญญุตญาณมีพระเกศางามประเสริฐ คือพระนิพพานอันเป็นอารมณ์แห่งผลสมาบัติ มีพระนลาฏอันประเสริฐคือ จุตตถฌาน มีพระอุณาโลมอันประเสริฐประกอบด้วยพระรัศมี คือพระปัญญาในมหาวชิร มาบัติ มีพระขนงทั้งคู่อันงามเลิศ คือ พระปัญญาอันประพฤติไปในนีลกสิณ มีพระเนตรทั้งคู่อันประเสริฐ คือ........ ธรรมจักษุ มันตจักษุ ปัญญาจักษุ มีพระโสตทั้งคู่อันประเสริฐ คือ ทิพพ (โสตญาณ) 

        (หมดคำแปลในศิลาจารึกแต่เท่านี้ ต่อไปนี้เป็นคำแปลเพิ่มเติม)

     มีพระนาสิกประเสริฐสูง คือโคตรภูญาณ มีพระปรางทั้งคู่อันประเสริฐ คือผลแห่งพระญาณอันประพฤติเป็นไปในมรรคผลวิมุตติ มีพระทนต์อันงามประเสริฐ คือโพธิปักขิยญาณอันประเสริฐ 37 ประการ มี องริมพระโอษฐ์งามประเสริฐ คือพระปัญญาอันเป็นโลกิยและโลกุตรมีพระเขี้ยวแก้วทั้ง 4 อันประเสริฐ คือจตุมรรคญาณ มีพระชิวหาอันงามประเสริฐ คือพระปัญญาอันเห็นแจ้งในพระจตุราริยสัจ มีพระหนุอันงามประเสริฐ คือพระญาณอันตรัสรู้ตลอดไปไม่มีที่ขัดข้อง มีปล้องพระศออันประเสริฐ คือพระญาณอันตรัสรู้อนุตตรวิโมกขธรรมมีลำพระศออันรุ่งเรืองงามประเสริฐ คือพระไตรลักษณญาณ มีพระพาหาทั้งสองอันประเสริฐ คือ พระจตุเวสารัชชญาณ มีนิ้วพระหัตถ์อันกลมงามประเสริฐ คือพระปัญญาอันตรัสรู้พระอนุสติกรรมฐาน 10 ประการ มีพื้น พระอุระอันเต็มงามประเสริฐ คือพระญาณอันตรัสรู้พระสัตตสัมโพชฌงค์ มีพระถันทั้งคู่อันประเสริฐ คือพระปัญญาอันรู้อัธยาศัยแห่งสัตว์ทั้งปวง มีท่ามกลางพระองค์อันประเสริฐ คือ ทศพลญาณ มีพระนาภีอันประเสริฐ คือพระปัญญาอันตรัสรู้
พระปฏิจจ มุปบาทธรรม มีบั้นพระองค์อันประเสริฐ คือพระปัญญาอันตรัสรู้อินทรีย์ 5 และพละ 5 มีพระเพลาทั้งคู่อันประเสริฐ คือพระญาณอันประพฤติเป็นไปในสัมมัปปธาน 4 ประการ มีพระชงฆ์ทั้งคู่อันประเสริฐ คือ พระปัญญาอันตรัสรู้ในคลองแห่งทศกุศลกรรมบถ มีพระบาททั้งคู่อันประเสริฐ คือพระญาณอันประพฤติเป็นไปในพระอิทธิบาททั้ง 4 ประการ และพระธรรมกายนั้น ทรงซึ่งผ้าสังฆาฏิ คือศีลสมาธิ ปัญญา ทรงซึ่งมหาปังสุกุลจีวร คือพระปัญญาอันประพฤติเป็นไปพร้อมด้วยหิริและโอตตัปปะ ทรงซึ่งสบงอันประเสริฐ คือพระญาณอันประพฤติเป็นไปในอัฏฐังคิกมรรค ทรงซึ่งรัดประคดอันประเสริฐ คือพระญาณอันประพฤติเป็นไปพร้อมในพระ ติปัฏฐานทั้ง 4 ประการ ฯ

     พระสัมมาสัมพุทธเจ้ารุ่งเรืองยิ่งกว่าเทวดาและมนุษย์ทั้งหลายอื่น ด้วยพระธรรมกายพระญาณที่จัดเป็นพระเศียรเป็นต้น คือมีพระสัพพัญุตญาณเป็นอาทินั้น อันพระพุทธองค์ตรัสเรียกว่า พระธรรมกาย แห่งพระสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์ใด ข้าพเจ้าไหว้ซึ่งพระสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้นผู้เป็นโลกนายก ฯ

   พระพุทธลักษณะคือพระธรรมกายนี้ อันโยคาวจรกุลบุตรผู้มีญาณอันกล้าเมื่อปรารถนาซึ่งภาวะแห่งตนเป็นสัพพัญูพุทธเจ้า พึงระลึกเนือง ๆ ฯ"

 


1 ประชุมศิลาจารึก ภาคที่ 3. (หน้า 99-103) โรงพิมพ์สำนักทำเนียบนายกรัฐมนตรี พระนคร, 2508.

 

 

*----------------------------------------------------------------------------------------------------------*
หนังสือ PD 003 พระพุทธคุณ พระธรรมคุณ พระสังฆคุณ
หนังสือเรียน หลักสูตร Pre-Degree

 

 ยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคล Total Execution Time: 0.0045110980669657 Mins