ประวัติพระมงคลเทพมุนี (สด จนฺทสโร)

วันที่ 22 มิย. พ.ศ.2560

ประวัติพระมงคลเทพมุนี (สด จนฺทสโร)

คู่มือพุทธมามกะ , Pre-Degree , วัดพระธรรมกาย , DOU , ธรรมกาย , ปริญญาตรี , พรีดีกรี , พระพุทธศาสนา , พุทธศาสตร์ , พระไตรปิฎก , สร้างบารมี , หลวงพ่อธัมมชโย , พุทธมามกะ , พระสัมมาสัมพุทธเจ้า , ประวัติพระมงคลเทพมุนี (สด จนฺทสโร)

     ชาติภูมิ : พระเดชพระคุณพระมงคลเทพมุนี หรือหลวงปู่วัดปากน้ำ ภาษีเจริญ มีนามเดิมว่า สด มีแก้วน้อย เกิดเมื่อวันศุกร์ แรม 6 ค่ำ เดือน 11 ปีวอก ตรงกับวันที่ 10 ตุลาคมพ.ศ. 2427 เป็นบุตรของคุณพ่อเงิน แลคุณแม่สุดใจ มีแก้วน้อย ผู้มีอาชีพค้าข้าว ณ อำเภอสองพี่น้อง จังหวัดสุพรรณบุรี

   วัยเด็ก : ในวัยเด็ก พระเดชพระคุณหลวงปู่วัดปากน้ำได้ไปเล่าเรียนเขียนอ่านที่วัด ตามประเพณีของชาวไทยในสมัยก่อน ท่านมีอุปนิสัยของผู้นำและเป็นคนทำอะไรทำจริงมาตั้งแต่เล็กในเวลาศึกษาเล่าเรียน ท่านก็ตั้งใจศึกษาเล่าเรียนอย่างจริงจัง จนสามารถอ่านออกเขียนหนังสืออักษรขอมได้คล่องแคล่ว นับเป็นการสำเร็จการศึกษาของเด็กไทยสมัยนั้น

    หลังจากสำเร็จการศึกษาแล้ว ท่านได้กลับมาช่วยบิดามารดาประกอบอาชีพค้าข้าว จน อายุได้ 14 ปีเศษ บิดาของท่านก็ถึงแก่กรรม ท่านเป็นลูกชายคนโต จึงต้องเป็นผู้หาเลี้ยงครอบครัวแทนบิดา และเนื่องจากท่านเป็นคนรักงาน มีความขยันขันแข็ง กิจการค้าข้าวที่ท่านทำอยู่จึงเจริญขึ้นโดยลำดับ จนเป็นที่รู้จักในยุคนั้นว่า เป็นผู้มีฐานะดีคนหนึ่ง

    อยากบวช : เมื่ออายุได้ 19 ปีเศษ มีเหตุการณ์ที่ทำให้ท่านได้คิดคำนึงถึงความไม่มีสาระในการทำมาหาเลี้ยงชีพ จนเกิดความสังเวชสลดใจ จึงคิดออกบวชเพื่อแสวงหาหนทางพ้นทุกข์ แต่เนื่องจากในขณะนั้นท่านยังไม่อาจวางภาระในการดูแลครอบครัวได้ จึงจุดธูปเทียนบูชาพระและ อธิษฐานว่า "ขออย่าให้ตายเสียก่อนเลย ขอให้ได้บวช และหากบวชแล้วจะไม่คิดสึกจนตลอดชีวิต" จากนั้นท่านจึงขะมักเขม้น ทำงานยิ่งขึ้น จนรวบรวมทรัพย์ได้จำนวนหนึ่ง ซึ่งคะเนว่ามากพอที่มารดาของท่านจะใช้จ่ายไปได้จนตลอดชีวิต แล้วจึงออกบวชเป็นพระภิกษุในพระพุทธศาสนา

     อุปสมบท : เดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2449 เมื่ออายุได้ 22 ปี ท่านได้เข้าอุปสมบท ณ วัดสองพี่น้อง อำเภอ องพี่น้อง จังหวัดสุพรรณบุรี โดยมี พระอาจารย์ดี วัดประตูสาร เป็นพระอุปัชฌาย์ พระครูวินยานุโยค (เหนี่ยง อินฺทโชโต) วัดสองพี่น้อง เป็นพระกรรมวาจาจารย์และพระอาจารย์โหน่ง อินฺทสุวณฺโณ วัดสองพี่น้อง เป็นพระอนุสาวนาจารย์ ได้ฉายาว่า จนฺทสโร

    ในเพศสมณะ : โดยเหตุที่การบวชของพระเดชพระคุณหลวงปู่วัดปากน้ำฯ เป็นการบวชด้วยหวังจะทำพระนิพพานให้แจ้ง ท่านจึงเริ่มศึกษาพระวินัยและข้อควรปฏิบัติของสงฆ์ตั้งแต่ก่อนบวช คือในระหว่างที่เข้าเป็นนาค ไปท่องคำขอบรรพชาอุปสมบท และเตรียมตัวบวชอยู่ที่วัดเป็นเวลาประมาณ 10 วัน ดังนั้นเมื่อบวชแล้ว ท่านจึงสามารถปฏิบัติตามพระธรรมวินัยได้อย่างถูกต้องตั้งแต่ต้น

    พระเดชพระคุณหลวงปู่วัดปากน้ำฯ ได้ใช้เวลาในชีวิต มณะของท่านอย่างทรงคุณค่ายิ่งนับแต่วันแรกที่บวช ท่านก็เริ่มฝึกธรรมปฏิบัติตามที่ตั้งใจไว้ ควบคู่กับการเรียนคันถธุระ คือ การศึกษาพระปริยัติธรรม เพื่อค้นคว้าหลักธรรมคำสอนขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าที่จารึกไว้เป็นภาษาบาลี โดยเฉพาะคัมภีร์มหาสติปัฏฐาน อันเป็นคัมภีร์ที่ว่าด้วยหลักการปฏิบัติโดยตรง

    ท่านศึกษาธรรมปฏิบัติเรื่อยไปจากสำนักนี้ไปสู่สำนักโน้น ได้ยินใครว่าที่ไหนดีต้องพยายามขอเข้าเป็นศิษย์ศึกษาธรรมปฏิบัติด้วย เช่น พระมงคลทิพมุนี (มุ้ย) อดีตเจ้าอาวาสวัดจักรวรรดิ พระครูฌานวิรัติ (โป) วัดพระเชตุพนฯ พระอาจารย์สิงห์ วัดละครทำพระอาจารย์ปลื้ม วัดเขาใหญ่ ซึ่งล้วนเป็นพระอาจารย์ที่ทรงคุณวิเศษในทางธรรมปฏิบัติเป็นเยี่ยมทางปริยัติ งามทั้งศีลาจารวัตร และมีลูกศิษย์ลูกหามากมาย พระเดชพระคุณหลวงปู่ฝึกฝนธรรมปฏิบัติด้วยความตั้งใจจริง จนครูบาอาจารย์รับรองผลแห่งการปฏิบัติ และชักชวนให้อยู่ช่วยกันสอนผู้อื่นต่อไป แต่ท่านยังคงรู้สึกว่า ความรู้เท่านี้ยังไม่เพียงพอที่จะช่วยตนเองให้พ้นทุกข์ได้

    ด้านการศึกษาพระปริยัติธรรม เมื่อท่านเรียนจนสามารถแปลหนังสือใบลานมหาสติปัฏฐานได้ดังที่ตั้งใจแล้ว จึงหยุดการเล่าเรียนคันถธุระทั้งหมด ตั้งใจปฏิบัติธรรมอย่างจริงจัง โดยศึกษาวิธีการปฏิบัติเพิ่มเติมจากคัมภีร์วิสุทธิมรรค ซึ่งเป็นแบบฉบับของการปฏิบัติธรรม

    ค้นพบวิชชาธรรมกาย : พรรษาที่ 12 ในปี พ.ศ. 2460 ท่านได้จำพรรษาอยู่ที่วัดโบสถ์บน ตำบลบางคูเวียง นนทบุรี โดยตั้งใจจะตอบแทนพระคุณท่านเจ้าอาวาสที่เคยถวายหนังสือให้ท่านเล่าเรียน และจะได้แสดงธรรมโปรดญาติโยม

    เมื่อถึงกลางพรรษา ในวันเพ็ญเดือน 10 ท่านมาหวนคิดคำนึงถึงอายุที่ล่วงเลยไปว่า ผ่านพรรษากาลมานานถึงเท่านี้แล้ว ก็ยังไม่ได้รู้เห็นธรรมแท้ที่พระพุทธองค์ทรงรู้เห็นเลย จึงตั้งสัจจะอธิษฐานทำสมาธิภาวนาอย่างเอาชีวิตเป็นเดิมพันว่า "ถ้าเรานั่งลงไปครั้งนี้ไม่เห็นธรรมที่พระพุทธเจ้าต้องการ เป็นอันไม่ลุกจากที่นี้จนหมดชีวิต" เมื่อตั้งจิตมั่นลงไปอย่างนั้นแล้วท่านก็เริ่มปรารภความเพียร โดยได้แสดงความอ้อนวอนแต่พระพุทธเจ้าว่า

    "ขอพระองค์ได้ทรงพระกรุณาโปรดข้าพระพุทธเจ้า ทรงประทานธรรมที่พระองค์ได้ตรัสรู้อย่างน้อยที่สุดแลง่ายที่สุดที่พระองค์ได้ทรงรู้แล้วแก่ข้าพระพุทธเจ้า ถ้าข้าพระพุทธเจ้ารู้ธรรมของพระองค์แล้ว เป็นโทษแก่ศาสนาของพระองค์แล้ว ขอพระองค์อย่าทรงประทานเลย ถ้าเป็นคุณแก่พระศาสนาของพระองค์แล้ว ขอพระองค์ได้ทรงพระกรุณาโปรดพระราชทานแก่ข้าพระองค์ ข้าพระองค์รับเป็นทนายศาสนา ในศาสนาของพระองค์จนตลอดชีวิต" ด้วยการทำความเพียรอย่างไม่อาลัยในชีวิต ในที่สุดท่านก็เข้าถึงธรรมกายกลางดึกคืนนั้นเอง

     ณ เวลานั้น ท่านเข้าใจอย่างชัดเจนด้วยตนเองว่า ธรรมของพระสัมมาสัมพุทธเจ้านี้ลึกซึ้งนัก พ้นวิสัยของการที่จะตรึกนึกคิดหรือคาดคะเนเอาได้ เพราะถ้ายังตรึกนึกคิดอยู่ก็เข้าไม่ถึงจะเข้าถึงได้ต้องทำให้ใจ คือ ความรู้ตรึก รู้นึก รู้คิด รวมหยุดเป็นจุดเดียวกัน พอหยุดก็ดับดับแล้วจึงเกิด ในเวลาต่อมาท่านจึงกล่าว รุปไว้เป็นประโยคสั้น ๆ ว่า "หยุดเป็นตัวสำเร็จ"

    การเข้าถึงพระธรรมกายของพระเดชพระคุณหลวงปู่วัดปากน้ำฯ นี้ นับเป็นการค้นพบที่ยิ่งใหญ่ เพราะมิได้เป็นเพียงการปฏิบัติตามหรือจดจำจากตำรา แต่เป็นการรู้เห็นและเข้าถึงธรรมจริงแท้ที่มีอยู่ภายในด้วยตนเอง โดยการดำเนินจิตเข้าไปในหนทางสายกลางอันเป็นหนทางสู่ความพ้นทุกข์

    ในหนทางสายกลางนี้ หากผู้ใดดำเนินจิตเข้าไปจนถึงที่สุดได้แล้ว ย่อมจะดับต้นเหตุแห่งทุกข์คือกิเลสอาสวะทั้งมวลให้หมดสิ้น เข้าถึงสุขอันยั่งยืน อันเป็นสุดยอดแห่งความปรารถนาของทุกชีวิตได้ ด้วยเหตุนี้ การค้นพบของท่านจึงเป็นประโยชน์อย่างยิ่งต่อมนุษยชาติและเหนือสิ่งอื่นใด การเข้าถึงพระธรรมกายของท่าน ยังเป็นพยานยืนยันพระดำรัสของสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ที่ตรัสไว้แก่เหล่าพระสงฆ์สาวกว่า "ธรรมกายเป็นชื่อของตถาคต"

     ไม่ใช่เรื่องง่ายเลย ที่ใครสักคนจะสามารถรู้เห็นธรรมอันลึกซึ้งยิ่งไปกว่าสิ่งที่ได้เล่าเรียนมาเช่นนี้ โดยเพียงแต่ศึกษาวิธีการและนำมาปฏิบัติตามเท่านั้น นอกเสียจากว่า บุคคลผู้นั้นจะมีบุญบารมีอันยิ่งใหญ่ที่ได้สั่งสมมาแต่ครั้งอดีต และเป็นผู้มีความเพียรอันเลิศ ดังนั้น การเข้าถึงพระธรรมกายของพระเดชพระคุณหลวงปู่วัดปากน้ำ ณ วัดโบสถ์บน บางคูเวียง ในวันเพ็ญเดือน 10 ครั้งนั้นจึงเป็นดุจประกาศนียบัตรรับรองความเป็นคนจริงและปฏิปทาอันถูกต้องของท่านได้อย่างชัดเจน ยิ่งกว่านั้นยังเป็นเครื่องยืนยันว่า พระธรรมกายอันเป็นแหล่งแห่งความสุข ความบริสุทธิ์ และความรู้แจ้งนั้น มีอยู่จริงภายในตัวของมนุษย์ทุกคน

     เผยแผ่วิชชาธรรมกาย : หลังจากรู้เห็นธรรมแล้ว ในครั้งแรกพระเดชพระคุณหลวงปู่วัดปากน้ำฯ คิดจะปลีกตัวหลีกเร้นไปหาความ งบ งัดตามป่าเขาหรือในชนบท เช่นเดียวกับพระภิกษุที่ใฝ่ใจในการปฏิบัติ มัยนั้น แต่เมื่อนึกถึงเพื่อนมนุษย์ที่ยังตกทุกข์ ไร้ที่พึ่งอีกจำนวนมาก ท่านจึงคิดจะสอนเพื่อสงเคราะห์เพื่อนมนุษย์ ตามอัธยาศัยที่รักการบำเพ็ญประโยชน์อันเป็นปกติวิสัยของท่าน

    ครั้นออกพรรษา รับกฐินแล้ว ท่านจึงเดินทางไปปฏิบัติธรรม และสอนที่วัดบางปลาตำบลบางเลน จ.นครปฐม เวลาผ่านไปราว 4 เดือน ก็มีพระภิกษุปฏิบัติได้เป็นพยานในการบรรลุธรรมจำนวน 3 รูป และฆราวา อีก 4 คน การสอนครั้งนี้ นับเป็นจุดเริ่มต้นของการเผยแผ่วิชชาธรรมกาย

     ต่อมาท่านได้เดินธุดงค์ไปสอนในที่ต่าง ๆ อีกหลายแห่ง มีประชาชนมาศึกษาธรรมปฏิบัติกันเป็นจำนวนมาก และต่างได้รับผลดีตามกำลังแห่งการปฏิบัติของตน ๆ

   เจ้าอาวาสวัดปากน้ำ : ในราวกลางปี พ.ศ. 2461 ท่านได้รับการแต่งตั้งให้เป็นเจ้าอาวาส วัดปากน้ำ ภาษีเจริญ จึงเดินทางออกจากวัดพระเชตุพนฯ มาจำพรรษาที่วัดปากน้ำฯซึ่งในขณะนั้นมี ภาพกึ่งวัดร้าง ควรปรับปรุงแก้ไขให้เรียบร้อย

   ในระยะแรก การบริหารและการพันาวัดไม่ราบรื่นนัก เนื่องจากพระเก่าและชาวบ้านที่นั้น มีอัธยาศัยเป็นนักเลง ปกครองดูแลยาก แต่ท่านก็มิได้ย่อท้อ เร่งรัดกวดขันพระภิกษุสามเณรให้ประพฤติถูกต้องตามพระธรรมวินัย และเปิดสอนธรรมปฏิบัติแก่พระภิกษุสามเณรอุบาสก อุบาสิกา และประชาชนทั่วไป อย่างจริงจัง เมื่อมีประชาชนมาปฏิบัติธรรมได้รับผลดีเป็นจำนวนมาก และต่างเล่าขานกันต่อไปในวงกว้าง ชื่อของท่านจึงเป็นที่รู้จักในนาม "หลวงพ่อวัดปากน้ำ ภาษีเจริญ"

   พระเดชพระคุณหลวงปู่วัดปากน้ำฯ เป็นพระมหาเถระผู้ถึงพร้อมทั้งปริยัติ ปฏิบัติ ปฏิเวธ ได้สร้างคุณประโยชน์ไว้แก่พระพุทธศาสนามากมาย โดยเฉพาะการค้นพบวิชชาธรรมกายและการเผยแผ่วิชชาธรรมกาย ท่านได้ทุ่มเทค้นคว้าศึกษาวิชชาธรรมกาย และเทศน์สอนให้คนจำนวนมากได้เข้าถึงพระธรรมกายในตัว

       จนกระทั่งปี พ.ศ. 2498 ท่านได้เรียกประชุมศิษย์ทั้งหมด พร้อมทั้งปรารภว่า อีก 5 ปี ท่านจะมรณภาพ ให้ทุกคนช่วยกันเผยแผ่วิชชาธรรมกายไปทั่วโลกให้ได้ เพราะวิชชานี้เป็นแก่นแท้ของชีวิตสามารถช่วยคนทั้งโลกให้หลุดพ้นจากห้วงทุกข์แห่งการเวียนว่ายตายเกิด และนำพาสันติสุขมาสู่โลกได้จริง

     ด้วยคำปรารภดังกล่าว ภายหลังจากที่พระเดชพระคุณหลวงปู่วัดฯ ท่านมรณภาพ ในปี พ.ศ. 2502 แล้ว คุณยายอาจารย์มหารัตนอุบาสิกาจันทร์ ขนนกยูง ซึ่งเป็นศิษย์เอกท่านหนึ่งของพระเดชพระคุณหลวงปู่วัดปากน้ำฯ ในฝ่ายธรรมปฏิบัติ ได้ใช้เวลาทั้งชีวิตของท่านในการเผยแผ่วิชชาธรรมกายจนเป็นที่มาของการก่อเกิดวัดพระธรรมกายในวันนี้

 

 

 

 

 ยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคล Total Execution Time: 0.014731017748515 Mins