ผลทางจิตใจของการอธิบายเรื่องนิพพาน 2 แบบ

วันที่ 23 มิย. พ.ศ.2560

ผลทางจิตใจของการอธิบายเรื่องนิพพาน 2 แบบ

คู่มือพุทธมามกะ , Pre-Degree , วัดพระธรรมกาย , DOU , ธรรมกาย , ปริญญาตรี , พรีดีกรี , พระพุทธศาสนา , พุทธศาสตร์ , พระไตรปิฎก , สร้างบารมี , หลวงพ่อธัมมชโย , พุทธมามกะ , พระสัมมาสัมพุทธเจ้า , นิพพาน , ผลทางจิตใจของการอธิบายเรื่องนิพพาน 2 แบบ

     ทัศนะหรือมุมมองที่คนมีต่อสิ่งใดสิ่งหนึ่ง ย่อมมีอิทธิพลอย่างมากต่อจิตใจและพฤติกรรมของคน เช่น คนที่เห็นว่าตายแล้วสูญ มักจะเห็นว่าชีวิตสั้น และมีแนวโน้ม ที่จะทำให้ชีวิต มีความสุขสำราญมากที่สุด โดยไม่คำนึงถึงวิธีการว่า จะเป็นกุศลหรืออกุศล ขอให้สุขสำราญก็แล้วกัน เพราะตายแล้วก็สูญ ไม่ต้องไปเกิดเสวยผลกรรมที่ไหนอีกส่วนคนที่เชื่อเรื่องตายแล้วเกิด มักจะมีท่าทีรับผิดชอบต่อการกระทำมากขึ้น จะคำนึงถึงความดีความชั่วมากขึ้นเพราะการกระทำใดๆ จะส่งผลถึงชาติหน้าหรือชาติต่อ ๆ ไป

      การมองนิพพานในแง่บวกหรือแง่ลบ ก็มีอิทธิพลเหนือจิตใจของบุคคลเช่นเดียวกัน

   การมองนิพพานแบบลบ เห็นว่านิพพานเป็นความสูญ ความว่าง ทำให้นิพพานขาดเสน่ห์ไม่ดึงดูด ให้คนอยากบรรลุ ไม่กระตุ้นให้คนอยากปฏิบัติเพื่อบรรลุนิพพาน เพราะเกิด ความรู้สึกว่าอุตส่าห์ปฏิบัติแทบล้มแทบตาย ในที่สุดกลับพบแต่ความว่างเปล่า

     มีนักปราชญ์บางคนกล่าวว่า พระพุทธศาสนาแบบเถรวาทเสื่อมความนิยมจากอินเดียอย่างรวดเร็ว ก็เพราะ อนว่านิพพานเป็นความว่างเปล่านี้เอง เมื่อหลวงจีนยานฉว่างไปสืบทอดพระพุทธศาสนาในอินเดีย ในพุทธศตวรรษที่ 12 นั้นได้พบว่า พระพุทธศาสนาเถรวาทเหลืออยู่น้อยมาก แต่พระพุทธศาสนามหายานกลับเจริญรุ่งเรือง จนกระทั่งมีมหาวิทยาลัยนาลันทา วิกรมศิลา และโอทันตปุรี พระพุทธโฆษาจารย์ ซึ่งเป็นพระภิกษุเถรวาทที่ยังหลงเหลืออยู่แถวพุทธคยา ต้องเดินทางไปถึงเกาะลังกา เพื่อศึกษาพระพุทธศาสนาแบบเถรวาท และได้แปลคัมภีร์ต่าง ๆ จากภาษาสิงหลเป็นภาษามคธ พระพุทธศาสนาแบบมหายานเพิ่งจะหายไปจากอินเดีย เมื่อถูกกองทัพมุ ลิมเตอร์กทำลาย เมื่อพุทธศตวรรษที่ 18นี้เอง บางท่านถึงกับกล่าวว่า พระพุทธศาสนาแบบเถรวาท เป็นศาสนากลวงข้างใน คือ เมื่อค้นเข้าไปถึงแก่นแล้ว กลับพบแต่ความว่างเปล่า เพราะฉะนั้นจึงไม่สามารถจะยืนหยัดต่อสู้กับศาสนาที่แน่นข้างในอย่างศานาฮินดูได้

     ส่วนการนำเสนอนิพพานแบบเป็นรูปธรรม เป็นอายตนะที่เป็นบรมสุขนั้น เข้าใจง่ายกว่ามีเสน่ห์ดึงดูดชวนให้ไปมากกว่า เพราะฉะนั้นในเมืองไทยเอง จึงเคยเสนอนิพพานในรูปของเมืองแก้ว กล่าวแล้วคือ พระนฤพาน คนสมัยก่อนจึงอยากบรรลุถึงนิพพานกัน เวลาทำบุญทำทานก็ตั้งความปรารถนาว่า "นิพฺพานปจฺจโย โหตุ" ขอกุศลผลบุญครั้งนี้ จงเป็นปัจจัยสู่พระนิพพานเถิด

      เวลานี้มีคนน้อยคนที่อยากไปนิพพาน เพราะนักปราชญ์ฝ่ายเถรวาทเน้นด้านลบของนิพพานมากเกินไป

    อย่างไรก็ตาม ไม่ว่าใครจะอธิบายในแง่ลบหรือแง่บวก นิพพานที่แท้จริงก็คงเป็นตัวของตัวเองอยู่อย่างนั้น หาได้เป็นลบหรือเป็นบวกไปตามคำอธิบายของคนไม่ แต่การอธิบายในแง่บวก อาจจะเป็นอุบายวิธีที่ดีกว่าในการเชิญชวนให้คนอยากปฏิบัติเพื่อบรรลุนิพพาน และเมื่อบรรลุแล้ว เขาก็จะเห็นประจักษ์แจ้งด้วยตนเอง การอธิบายในแง่บวกหรือแง่ลบ จะไม่มีความหมายใด ๆ ทั้งสิ้น

 

 

*----------------------------------------------------------------------------------------------------------*
หนังสือ PD 004 คู่มือพุทธมามกะ
หนังสือเรียน หลักสูตร Pre-Degree

 

 ยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคล Total Execution Time: 0.0011222839355469 Mins