เนื้อความโดยย่อของทางสายกลาง

วันที่ 04 กค. พ.ศ.2560

เนื้อความโดยย่อของทางสายกลาง
       
แม่บทแห่งธรรม , Dhamma , Pre-Degree , วัดพระธรรมกาย , DOU , ธรรมกาย , ปริญญาตรี , พรีดีกรี , พระพุทธศาสนา , พุทธศาสตร์ , พระไตรปิฎก , มัชฌิมา ปฏิปทา , ธัมมจักกัปปวัตตสูตร , พระสัมมาสัมพุทธเจ้า , พระสารีบุตรแนะนำให้ร้อยกรองธรรมจักร , ปฐมเทศนา , ทางสายกลาง

ปฐมเทศนา
     ภายหลังจากที่พระโพธิสัตว์ได้ตรัสรู้ธรรม บรรลุพระอนุตตรสัมมาสัมโพธิญาณเป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ณ ควงไม้พระศรีมหาโพธิ์ ริมแม่น้ำเนรัญชรา ตำบลพุทธคยา ในคืนเดือนเพ็ญแห่งวิสาขปุรณมีแล้ว พระพุทธองค์ยังทรงประทับนั่งเสวยวิมุตติสุข พิจารณาธรรมอยู่ ณ ควงไม้พระศรีมหาโพธิ์นั้น เมื่อครบ 7 วัน จึงทรงออกจากสมาธิ แล้วเสด็จไปประทับนั่งเสวยวิมุตติสุขต่อ ณ โคนไม้อชปาลนิโครธอีก 7 วัน แล้วจึงเสด็จไปประทับนั่งเสวยวิมุตติสุข ณ โคนไม้จิกตลอด 7 วัน ครั้นแล้วได้เสด็จไปประทับนั่งเสวยวิมุตติสุข ณ โคนไม้เกตก์อีก 7 วัน รวมเวลาตั้งแต่วันตรัสรู้ได้ 28 วัน มเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าได้เสด็จย้อนกลับไปประทับนั่ง ณ โคนไม้อชปาลนิโครธอีกครั้งหนึ่ง

   ขณะที่สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้ากำลังทรงพิจารณาพระสัทธรรมอันล้ำลึกคัมภีรภาพอยู่นั้น ท้าวสหัมบดีมหาพรหมพร้อมด้วยบริวารประมาณหนึ่งหมื่น ได้ลงจากพรหมโลกมากราบทูลอาราธนาพระพุทธองค์ ให้ทรงแสดงพระสัทธรรมเทศนาโปรดเวไนยสัตว์ทั้งหลาย หลังจากที่ทรงพิจารณาดูสรรพเวไนยสัตว์ด้วยพุทธจักขุญาณแล้ว ก็ทรงรับอาราธนาท้าวสหัมบดีมหาพรหม แต่ก็ทรงมีพระพุทธปริวิตกว่า ตถาคตควรจะตรัสเทศนาโปรดบุคคลใดก่อน ในที่สุดก็ทรงตัดสินพระทัยว่า จะเสด็จพระราชดำเนินโดยทรงพระบาท ไปตรัสเทศนาโปรดปัญจวัคคีย์ภิกษุทั้ง 5 ซึ่งพำนักอยู่ ณ ป่าอิสิปตนมฤคทายวัน ใกล้เมืองพาราณสีเป็นแห่งแรก

     ปฐมเทศนา ที่ทรงแสดงแก่ปัญจวัคคีย์ภิกษุทั้ง 5 นี้ มีชื่อปรากฏในพระไตรปิฎกว่า "ธัมมจักกัปปวัตตนสูตร" การที่พระสัทธรรมเทศนาสูตรนี้ได้รับการขนานนามดังกล่าวก็เนื่องด้วยปฐมเทศนานี้ เปรียบประดุจธรรมราชรถ ซึ่งพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงปรารถนาจะใช้บรรทุกสรรพเวไนยสัตว์ทั้งหลายออกจากห้วงวัฏสงสารไปสู่แดนเกษม คือ พระอมตนิพพานโดยมีพระพุทธองค์ทรงเป็นสารถีเอง

    ส่วนประกอบสำคัญประการหนึ่ง ที่จะทำให้รถแล่นไปสู่ที่หมายก็คือล้อรถ หรือที่เรียกว่าจักร นั่นเอง ดังนั้นล้อแห่งธรรมราชรถจึงได้ชื่อว่า จักรธรรม หรือ ธรรมจักร

     ตามธรรมดา "ล้อ" หรือ "จักร" ย่อมประกอบด้วยส่วนสำคัญ 3ส่วน คือ ดุม กำ และ กงส่วน "จักรธรรม" นี้ มเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงอุปมาเปรียบ โพธิปักขิยธรรม เป็นดุม ปฏิจจสมุปบาทธรรม เป็นกำ และอริยสัจ 4 เป็นกง

    โพธิปักขิยธรรม ธรรมที่เกื้อหนุนแก่อริยมรรคมี 37 ประการ คือ สติปัฏฐาน 4 สัมมัปปธาน 4 อิทธิบาท 4 อินทรีย์ 5 พละ 5 โพชฌงค์ 7 มรรคมีองค์ 8

      ปฏิจจสมุปบาท สภาพอาศัยปัจจัยเกิดขึ้น มีองค์ 12 คือ

เพราะมีอวิชชา        เป็นปัจจัย         จึงมีสังขาร
เพราะมีสังขาร         เป็นปัจจัย        จึงมีวิญญาณ
เพราะมีวิญญาณ      เป็นปัจจัย         จึงมีนามรูป
เพราะมีนามรูป        เป็นปัจจัย         จึงมีสฬายตนะ
เพราะมีสฬายตนะ    เป็นปัจจัย         จึงมีผัสสะ
เพราะมีผัสสะ          เป็นปัจจัย         จึงมีเวทนา
เพราะมีเวทนา         เป็นปัจจัย         จึงมีตัณหา
เพราะมีตัณหา         เป็นปัจจัย         จึงมีอุปาทาน
เพราะมีอุปาทาน      เป็นปัจจัย         จึงมีภพ
เพราะมีภพ             เป็นปัจจัย         จึงมีชาติ
เพราะมีชาติ            เป็นปัจจัย         จึงมีชรามรณะ

     ตราบใดที่ ดุม กำ และกง ยังวางแยกกันอยู่ ตราบนั้น "ล้อ" หรือ "จักร" ย่อมไม่บังเกิดขึ้นต่อเมื่อนายช่างผู้ชาญฉลาดนำอุปกรณ์ทั้ง 3 อย่างนั้นประกอบเข้าด้วยกันอย่างสนิทแนบแน่น "จักร" ที่แข็งแรงมั่นคง พร้อมที่จะนำมาใช้งานอย่างมีประสิทธิภาพจึงจะบังเกิดขึ้น ข้อนี้ฉันใดขณะที่ทรงแสดงพระธรรมเทศนาธัมมจักกัปปวัตตนสูตรก็ฉันนั้น กล่าวคือพระสัมมาสัมพุทธเจ้าได้ตรัสเทศนาพระธรรมทั้ง 3 หมวดดังกล่าวแล้ว โดยมีความสัมพันธ์โยงใยกันอย่างใกล้ชิด โดยเหตุนี้ พระธรรมเทศนาที่พระพุทธองค์ทรงแสดงแก่พระปัญจวัคคีย์ภิกษุทั้ง 5 จึงได้ชื่อว่า "ธัมมจักกัปปวัตตนสูตร" เป็นพระธรรมอันจะนำผู้ปฏิบัติไปสู่ความเจริญ และไปสู่ความหลุดพ้นในที่สุดนอกจากพระสัมมาสัมพุทธเจ้าแล้ว จะหานักปราชญ์ราชบัณฑิตผู้ใดที่จะทรงปัญญาสามารถตรัสรู้และตรัสเทศนาธัมมจักกัปปวัตตนสูตรนี้มิได้เลย

  จากหลักฐานอันมีปรากฏอยู่นั้น จะพบว่าสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสเทศนาธัมมจักกัปปวัตตนสูตรแก่ปัญจวัคคีย์ภิกษุทั้ง 5 เป็นปฐมแล้ว มิได้ตรัสแสดงสูตรนี้อีกเลยตลอดระยะเวลา 45 พรรษาแห่งการตรัสเทศนาเผยแผ่พระศาสนานั้น ล้วนแต่ทรงแสดงธรรมกถาขยายความแห่งปฐมเทศนาในแต่ละหมวดโดยเอกเทศ ยิ่งกว่านั้นยังเป็นที่ทราบกันทั่วไปในหมู่นักปราชญ์ทั้งหลายว่า การตรัสเทศนาธัมมจักกัปปวัตตนสูตรเป็นปฐมนี้ ถือเป็นพระประเพณีแห่งสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทุก ๆ พระองค์


1.1 ผู้ถ่ายทอดธัมมจักกัปปวัตตนสูตร
  ธัมมจักกัปปวัตตนสูตรอันปรากฏอยู่ในพระไตรปิฎกนั้นเป็นพระสัทธรรมเทศนา ซึ่งพระอานนท์เถระเป็นผู้แสดงถ่ายทอดอีกต่อหนึ่ง โดยท่านได้ปฏิญาณว่า ท่านได้สดับมาโดยตรงเฉพาะพระพักตร์องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า การที่พระอานนท์เถระกล่าวปฏิญาณเช่นนั้น เนื่องมาจากในวันที่ท่านได้รับคัดเลือกจากพระสัมมาสัมพุทธเจ้าให้เป็นพุทธอุปัฏฐากประจำนั้น ก่อนที่ท่านจะน้อมรับหน้าที่ ท่านได้กราบทูลขอพรจากสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า 8 ประการด้วยกัน และสำหรับพรประการสุดท้าย ท่านได้กราบทูลว่าถ้าพระพุทธองค์ทรงแสดงพระธรรมเทศนาเรื่องใด ณ ที่ใดโดยท่านไม่มีโอกาสได้ฟัง ก็ขอพระพุทธองค์ได้โปรดตรัสเทศนาเรื่องนั้นซ้ำอีกครั้งหนึ่งเป็นการเฉพาะสำหรับท่าน ดังนั้นการที่พระอานนท์เถระปฏิญาณว่า ท่านได้สดับมาโดยตรงเฉพาะพระพักตร์ย่อมหมายความว่าพระพุทธองค์ตรัสเทศนาเล่าเรื่องแก่พระอานนท์เถระเป็นการเฉพาะ


1.2 สาระสำคัญแห่งธัมมจักกัปปวัตตนสูตร
   ดังได้กล่าวแล้วว่าสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้านั้น  ทรงตั้งความปรารถนาที่จะรื้อขนสรรพเวไนยสัตว์ทั้งหลายออกจากห้วงสังสารวัฏไปสู่พระนิพพาน ด้วยเหตุนี้พระธรรมเทศนาทั้งปวงที่ทรงแสดงนั้น ไม่ว่าจะเป็นบทสั้นเพียงประโยคเดียว หรือบทยาวเพียงใดก็ตาม จึงเป็นไปเพื่อการบรรลุมรรคผลนิพพานทั้งสิ้นสำหรับพระธรรมเทศนาธัมมจักกัปปวัตตนสูตร นอกจากพระพุทธองค์จะทรงชี้ทางสว่าง คือการปฏิบัติอันจะนำไปสู่เป้าหมายสูงสุดของชีวิตหรือพระนิพพานแล้ว ยังได้ทรงจำแนกให้เห็นอย่างชัดเจนถึงวิธีปฏิบัติอันหาประโยชน์มิได้ มิหนำซ้ำยังกอปรด้วยโทษมหันต์อีกด้วย การที่พระองค์ทรงสามารถยืนยันในคุณและโทษแห่งวิธีปฏิบัติเหล่านั้นได้ ก็เพราะเหตุที่ได้ทรงมีประสบการณ์ประจักษ์แจ้งถ่องแท้ ด้วยพระปัญญาของพระองค์เอง ทั้ง 3 วิธี ซึ่งถือว่าเป็นสาระสำคัญแห่งธัมมจักกัปปวัตตนสูตร คือ

1. กามสุขัลลิกานุโยค
2. อัตตกิลมถานุโยค
3. มัชฌิมาปฏิปทา

    1. กามสุขัลลิกานุโยค คือ การประกอบตนแสวงหาความสุขจากเบญจกามคุณทั้ง 5 อันประกอบด้วยรูป เสียง กลิ่น รส และสัมผัสทางกาย ซึ่งเป็นเหตุให้ตั้งบ้านเรือน หรือมีครอบครัว เป็นโลกิยะ เป็นกิจแห่งปุถุชน ยิ่งปล่อยใจไปจรดกับกามคุณมากเท่าใด กิเลสตัณหาก็สั่งสมมากขึ้น ๆ ใจจึงยิ่งมืดมัวลง ประดุจดวงอาทิตย์ที่ถูกเมฆหมอกบดบังฉะนั้น ที่ใดถูกครอบงำด้วยความมืด ที่นั้นย่อมหาความสว่างมิได้ ข้อนี้มีอุปมาฉันใด ดวงใจที่จดจ่ออยู่กับเบญจกามคุณก็มีอุปไมยฉันนั้น คือปราศจากแสงสว่างที่จะส่องให้เห็นหนทางอันน้อมไปสู่มรรคญาณ แล้วเกิดปัญญารู้แจ้งในสัจธรรม จนสามารถพัฒนาจิตแห่งตนให้บรรลุโลกุตรธรรมได้ในที่สุด

 กามสุขัลลิกานุโยคหน่วงเหนี่ยวให้สรรพสัตว์ทั้งหลายหลงอยู่ในอวิชชา (ความไม่รู้จริง) จึงต้องเสวยทุกขเวทนาอยู่ในห้วงสังสารวัฏกันมิรู้สุดรู้สิ้น ด้วยเหตุนี้สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าจึงตรัสเทศนาว่า กามสุขัลลิกานุโยคนั้นเป็นธรรมอันเลว เป็นของปุถุชน คือบุคคลผู้หมกอยู่กับกิเลสจะมีประโยชน์สักน้อยนิดก็หาไม่ มิได้เป็นของพระอริยเจ้า บรรพชิตจึงมิควรเสพ คือไม่ควรประพฤติปฏิบัติเลย เพราะไม่สามารถพ้นไปจากข้าศึกคือกิเลสได้ ธรรมนี้ตถาคตได้ตรัสรู้แล้วด้วยพระปัญญาอันยิ่งของพระองค์เอง

   2. อัตตกิลมถานุโยค คือ การทรมานตนโดยหาประโยชน์มิได้ เป็นวิธีการปฏิบัติตนของพวกเดียรถีย์ คือนักบวชภายนอกพระพุทธศาสนา โดยมุ่งหวังจะดับกิเลสแห่งตนเสีย การทรมานตนนั้นมีนานาประการ เช่น นอนบนกองหนาม ตากแดด ย่างไฟ ใช้ไม้เคาะหน้าแข้งหาบทราย อดอาหารหลาย ๆ วัน บางพวกก็บริโภคแต่ผักดองและผลไม้ บางพวกก็บริโภคแต่ปลายข้าว ข้าวสาร หรือรำข้าว เป็นต้น การนอนบนกองหนามย่อมก่อให้เกิดความเจ็บปวด ความกำหนัดยินดีในเรื่องเพศจึงอันตรธานหายไปชั่วขณะ เหล่าเดียรถีย์ก็เข้าใจว่าตนหมดกิเลสการนอนตากแดดที่แผดกล้า หรือ

     การนอนย่างตนเองบนกองไฟ ย่อมรู้สึกร้อนระอุ ความกำหนัดยินดีต่าง ๆ ในกามคุณ 5 ที่เกิดขึ้นในจิตใจจึงหายไปชั่วขณะ ผู้ปฏิบัตินอกบวรพุทธศาสนาเหล่านั้นก็เข้าใจว่าตนหมดกิเลสแล้วบางพวกเมื่อเกิดรู้สึกกำหนัดยินดีขึ้นมา มิรู้ที่จะทำประการใด จึงใช้ไม้เคาะหน้าแข้งของตนแรง ๆ ยิ่งรู้สึกเจ็บปวดตรงที่ถูกเคาะรุนแรงเพียงใดความกำหนัดยินดีก็ปลาสนาการไปรวดเร็วเพียงนั้น แต่ก็เพียงชั่วขณะ บางพวกก็ไปหาบทรายมากองเป็นเนินสูง ความเหน็ดเหนื่อยจากการออกแรงหาบหาม ย่อมจะกำจัดความกำหนัดยินดีให้สิ้นไปได้ชั่วคราว การบริโภคแต่ผักดองและผลไม้ การอดอาหารหลาย ๆ วัน หรือการบริโภคแต่ปลายข้าวและข้าวสาร ก็ล้วนมี
จุดมุ่งหมายที่จะทำให้ร่างกายอ่อนกำลังลง เพื่อว่าความกำหนัดยินดีในกามคุณ 5 จะได้ไม่บังเกิดขึ้น เมื่อทำเช่นนั้นอย่างต่อเนื่องแล้ว ก็หลงเข้าใจผิดว่าตนหมดกิเลสโดยสิ้นเชิง

   โดยเหตุนี้สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าจึงตรัสเทศนาว่าอัตตกิลมถานุโยค เป็นการทรมานตนโดยหาประโยชน์มิได้แม้แต่น้อยนิด เป็นการทำลายตนเองของคนงมงาย โง่เขลาแต่อวดฉลาด เป็นการปฏิบัติของคนพาล ซึ่งถูกครอบงำด้วยมิจฉาทิฏฐิ จะมีความเจริญก็หาไม่ มิได้เป็นการประพฤติปฏิบัติของพระอริยเจ้า บรรพชิตจึงมิควรเสพ เพราะไม่สามารถช่วยให้หลุดพ้นไปจากข้าศึกคือกิเลสได้ ธรรมนี้ตถาคตได้ตรัสรู้แล้ว ด้วยปัญญาอันยิ่งของพระองค์

     3. มัชฌิมาปฏิปทา ได้แก่ ข้อปฏิบัติอันเป็นสายกลาง ห่างจากข้อปฏิบัติทั้งสองอย่างดังกล่าวแล้ว เป็นข้อปฏิบัติอันเป็นไปเพื่อความสงบรำงับ เพื่อความรู้ยิ่ง เพื่อความรู้ดี เพื่อความดับตัณหา เพื่อพ้นไปจากข้าศึกคือกิเลสเป็นทางของพระอริยเจ้าผู้ละจากสภาวะฆราวาสออกบรรพชาในพระพุทธศาสนาแล้ว พึงปฏิบัติตามหนทางสายกลางนี้เท่านั้น ซึ่งประกอบด้วยองค์ 8 คือ

1. สัมมาทิฏฐิ หมายถึง ปัญญาอันเห็นชอบ
2. สัมมาสังกัปปะ หมายถึง ความดำริชอบ
3. สัมมาวาจา หมายถึง วาจาชอบ
4. สัมมากัมมันตะ หมายถึง การงานชอบ
5. สัมมาอาชีวะ หมายถึง ความเลี้ยงชีวิตชอบ
6. สัมมาวายามะ หมายถึง ความเพียรชอบ
7. สัมมาสติ หมายถึง ความระลึกชอบ
8. สัมมาสมาธิ หมายถึง ความตั้งจิตมั่นชอบ

    มัชฌิมาปฏิปทา หรือข้อปฏิบัติอันเป็นสายกลาง 8 ประการนี้ มีชื่อเป็นภาษาบาลีว่าพระอัฏฐังคิกมรรค ซึ่งอาจจะย่อลงได้เป็นไตรสิกขา คือ อธิศีลสิกขา อธิจิตตสิกขา และอธิปัญญาสิกขา หรือเรียกกันง่าย ๆ ว่า ศีลสมาธิ ปัญญา เป็นแนวปฏิบัติอันเป็นปัจจัยให้เจ้าชายสิทธัตถะบรรลุพระสัมมาสัมโพธิญาณตรัสรู้เป็นพระสัพพัญูพุทธเจ้า ทรงประจักษ์แจ้งในอริยสัจ 4 อันประกอบด้วย

1. ทุกขอริยสัจ คือทุกข์อย่างแท้จริง
2. ทุกข มุทัยอริยสัจ คือเหตุให้เกิดทุกข์อย่างแท้จริง
3. ทุกข์นิโรธอริยสัจ คือความดับทุกข์อย่างแท้จริง
4. ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา คือข้อปฏิบัติให้ถึงความดับทุกข์อย่างแท้จริง

     มรรคมีองค์ 8 นี้ นอกจากจะเป็นปัจจัยให้เจ้าชายสิทธัตถะทรงบรรลุอาสวักขยญาณ คือ ญาณหยั่งรู้ในธรรมอันเป็นเหตุให้สิ้นอา วกิเล กลายเป็นพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าแล้ว ยังส่งให้พระพุทธองค์ทรงบรรลุพระ อุปาทิเสสนิพพาน หรือที่เรียกว่า นิพพานเป็น คือดับกิเลสโดยสิ้นเชิง แต่ยังทรงมีเบญจขันธ์เหลืออยู่และภายหลังต่อมาก็ทรงบรรลุพระอนุปาทิเสสนิพพาน หรือที่เรียกว่านิพพานตายในที่สุด เมื่อเสด็จดับขันธปรินิพพานแล้วธรรมกายของพระพุทธองค์ก็เสด็จประทับอยู่ ณ อายตนนิพพานอันเป็นอมตะตลอดไป

   โดยเหตุนี้สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าจึงตรัสว่ามรรคมีองค์ 8 นี้ เป็นธรรมอันอุดมล้ำเลิศยิ่ง เปรียบประดุจรัตนยานอันประเสริฐเยี่ยมยอดสามารถนำผู้ปฏิบัติไปสู่พระนิพพานได้เที่ยงแท้ ธรรมนี้ตถาคตได้ตรัสรู้แล้ว ด้วยปัญญาอันยิ่งของพระองค์เอง


1.3 ญาณทัสสนะอันมีปริวัฏฏ์ 3 มีอาการ 12
   ดังได้กล่าวแล้วว่า มรรคมีองค์ 8 เป็นข้อปฏิบัติอันเป็นปัจจัยให้เจ้าชายสิทธัตถะบรรลุพระสัมมาสัมโพธิญาณ ตรัสรู้แจ้งในอริยสัจ 4 ประการ เกี่ยวกับเรื่องนี้พระสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสว่าพระญาณหรือปัญญาอันรู้แจ้งในอริยสัจ 4 นั้น พระองค์ได้ทรงทบทวนถึง 3 รอบ แล้วจึงกล้าตรัสปฏิญาณว่า พระองค์ได้ทรงบรรลุพระอนุตตรสัมมาสัมโพธิญาณแล้ว ดังนั้นญาณทัสสนะอันรู้แจ้งในอริยสัจ 4 จึงได้ชื่อว่า ญาณทัสสนะอันมีปริวัฏฏ์ 3 มีอาการ 12 ซึ่งได้แก่

     1.สัจจญาณ คือ ทรงมีพระญาณหยั่งรู้อริยสัจ 4 แต่ละอย่าง ๆ ตาม ภาวะที่เป็นจริงว่า

นี้คือทุกขอริยสัจ
นี้คือทุกขสมุทัยอริยสัจ
นี้คือทุกขนิโรธอริยสัจ
นี้คือทุกขนิโรธคามินีปฏิปทาอริยสัจ

     2. กิจจญาณ คือ ทรงมีพระญาณหยั่งรู้กิจอันจะต้องทำในพระอริยสัจ 4 แต่ละอย่างว่า

ควรกำหนดรู้ทุกขอริยสัจ
ควรละทุกขสมุทัยอริยสัจนั้นเสีย
ควรทำให้แจ้งในทุกขนิโรธอริยสัจ
และควรปฏิบัติทุกขนิโรธคามินีปฏิปทาอริยสัจให้ยิ่ง ๆ ขึ้นไป

     3. กตญาณ คือ ทรงมีพระญาณหยั่งรู้กิจอันทรงกระทำแล้วในอริยสัจ 4 แต่ละอย่างว่า

ได้ทรงกำหนดรู้ทุกขอริยสัจแล้ว
ได้ทรงละทุกขสมุทัยอริยสัจแล้ว
ได้ทรงทำให้แจ้งแล้วในทุกขนิโรธอริยสัจ
ได้ทรงปฏิบัติทุกขนิโรธคามินีปฏิปทาอริยสัจแล้ว


ญาณทัสสนะอันมีปริวัฏฏ์ 3 มีอาการ 12 นี้ อาจแสดงด้วยตารางต่อไปนี้คือ

แม่บทแห่งธรรม , Dhamma , Pre-Degree , วัดพระธรรมกาย , DOU , ธรรมกาย , ปริญญาตรี , พรีดีกรี , พระพุทธศาสนา , พุทธศาสตร์ , พระไตรปิฎก , มัชฌิมา ปฏิปทา , ธัมมจักกัปปวัตตสูตร , พระสัมมาสัมพุทธเจ้า , พระสารีบุตรแนะนำให้ร้อยกรองธรรมจักร , ปฐมเทศนา , ทางสายกลาง

    สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงแสดงแก่พระปัญจวัคคีย์ว่า พระญาณทัสสนะ หรือปัญญาอันรู้เห็นในอริยสัจ 4 อันมีรอบ 3 อาการ 12 ของพระองค์นั้นหมดจดดีแล้ว จึงทรงกล้ายืนยันว่าพระองค์ตรัสรู้พระสัมมาสัมโพธิญาณอันยอดเยี่ยมทั้งในโลกมนุษย์ ในเทวโลก มารโลก พรหมโลก ในหมู่สัตว์ หมู่สมณะ พราหมณ์ เทวดา และมนุษย์ อาสวกิเลสของพระองค์ไม่กลับกำเริบขึ้นอีกแล้ว พระชาตินี้เป็นที่สุด จะมีภพใหม่อีกก็หาไม่


1.4 ปฐมสาวกผู้มีวาสนาบารมีสูงสุด
    ขณะเมื่อสิ้นกระแสพระธรรมเทศนาแห่งองค์สมเด็จพระผู้ทรงพระภาคเจ้าแล้ว ดวงตาเห็นธรรม ปราศจากธุลีคือราคะ ปราศจากมลทินคืออกุศลธรรม ได้เกิดแก่พระโกณฑัญญเถระคือเห็นด้วยธรรมจักษุ หรือดวงตาแห่งธรรมกายว่า "สิ่งใดสิ่งหนึ่งที่มีความเกิดขึ้นสิ่งนั้นย่อมมีความดับไปเป็นธรรมดา" หมายความว่าสังขาร ทั้งหลายล้วนแต่เกิดดับทั้งสิ้น

    ส่วนเหล่าภุมเทวดาทั้งหลาย (เทวดาที่อาศัยอยู่บนพื้นดินปะปนกับมนุษย์) ต่างสรรเสริญว่า พระธัมมจักกัปปวัตตนสูตรนี้ประเสริฐยิ่งนัก จะหาสิ่งใดเสมอเหมือนมิได้อันสมณะและพราหมณ์ตลอดจนเทพยดา มาร พรหม หรือใคร ๆ ในโลกย่อมไม่สามารถที่จะแสดงพระธรรมเทศนาเช่นพระองค์ได้ เสียงสรรเสริญของเหล่าเทพยดาดังสะเทือนเลื่อนลั่นได้ยินขึ้นไปในหมู่เทพยดาชั้นต่าง ๆ สูงขึ้นไปตามลำดับ จนกระทั่งถึงพรหมโลกทั้งหมื่นโลกธาตุเกิดหวั่นไหวสะเทือนสะท้าน ทั้งบังเกิดแสงสว่างอันยิ่งใหญ่สุดที่จะประมาณ

   ลำดับนั้น องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงรู้วาระจิตของพระอัญญาโกณฑัญญะ จึงทรงเปล่งพระอุทานว่า "อัญญาสิ วต โภ โกณฑัญโญ อัญญาสิ วต โภ โกณฑัญโญ" แปลความว่า "ท่านผู้เจริญ โกณฑัญญะกำลังรู้แล้วหนอ" เพราะเหตุนี้คำว่า "อัญญาโกณฑัญญะ" จึงได้เป็นชื่อของท่านพระโกณฑัญญะต่อมาในภายหลัง

   อันที่จริงนั้น พระปัญจวัคคีย์ทั้ง 5 ดำรงอยู่ในสมณเพศมาเป็นเวลานาน ย่อมเป็นผู้อุดมด้วยศีล และสมาธิสิ่งที่ยังบกพร่องอยู่ ก็เฉพาะปัญญาอันรู้แจ้งเห็นแจ้งซึ่งหนทางพ้นทุกข์ครั้นเมื่อสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงชี้โทษแห่งกามสุขัลลิกานุโยค และอัตตกิลมถานุโยคให้พร้อมทั้งทรงประทานอรรถาธิบายถึงคุณแห่งมัชฌิมาปฏิปทาหรือทางสายกลาง อันประกอบด้วยข้อปฏิบัติ 8 ประการนั้นแล้ว ย่อมเป็นเรื่องง่ายที่จะก่อให้เกิดปัญญารู้แจ้งสำหรับพระปัญจวัคคีย์ทั้ง 5 โดยเฉพาะอย่างยิ่งสำหรับพระโกณฑัญญะผู้กอปรด้วยบุญบารมีเหนือกว่า
บรรพชิตผู้เป็นสหาย จึงบังเกิด "ธรรมจักษุ" มีดวงตาเห็นธรรม คือเห็นพระอริยสัจ 4 ด้วยดวงตาแห่งธรรมกายในตนเอง มิใช่เห็นด้วยมัง จักษุหรือตาเนื้อแห่งเบญจขันธ์ บรรลุโสดาปัตติผล เป็นพระโสดาบัน อริยบุคคลอันดับแรกในบวรพุทธศาสนา

 

 

*----------------------------------------------------------------------------------------------------------*
หนังสือ PD 006 แม่บทแห่งธรรม
หนังสือเ
รียน หลักสูตร Pre-Degree

 ยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคล Total Execution Time: 0.0014161507288615 Mins