บุคคลหาได้ยากในโลก

วันที่ 19 กค. พ.ศ.2560

บุคคลหาได้ยากในโลก

พุทธธรรมทีปนี 1 , Dhamma , Pre-Degree , วัดพระธรรมกาย , DOU , ธรรมกาย , ปริญญาตรี , พรีดีกรี , พระพุทธศาสนา , พุทธศาสตร์ , พระไตรปิฎก , พระสัมมาสัมพุทธเจ้า , บุคคลหาได้ยากในโลก , บุพการี , กตัญูกตเวที

       บุคคลหาได้ยากมี 2 อย่าง

1. บุพการี         บุคคลผู้ทำอุปการะก่อน
2. กตัญูกตเวที  บุคคลผู้รู้อุปการะที่ท่านทำแล้ว และทำตอบแทน

     1. บุพการี หมายถึง บุคคลผู้ทำอุปการะแก่ผู้อื่นก่อน ได้แก่ พระสัมมาสัมพุทธเจ้าเป็นบุพการีของพุทธบริษัท มารดาบิดาเป็นบุพการีของบุตร อุปัชฌาย์อาจารย์เป็นบุพการีของศิษย์แม้พระมหากษัตริย์ก็จัดเป็นบุพการีของพสกนิกรส่วนบุคคลอื่นผู้ทำอุปการะก่อนก็ควรสงเคราะห์เข้าในข้อนี้ บุคคลอย่างนี้หาได้ยากในโลก

    2. กตัญญู หมายถึง ผู้รู้อุปการคุณ ได้แก่ พุทธบริษัทผู้รู้อุปการคุณของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า บุตรผู้รู้อุปการคุณของมารดาบิดา ศิษย์ผู้รู้อุปการคุณของอุปัชฌาย์อาจารย์ แม้พสกนิกรผู้รู้อุปการคุณของพระมหากษัตริย์ หรือบุคคลผู้รู้อุปการคุณของผู้อุปการะตนก่อน

      กตเวที หมายถึง การตอบแทนคุณผู้มีอุปการคุณ ด้วยวัตถุสิ่งของ ด้วยการทำกิจให้ด้วยสัมมาคารวะ ด้วยการตั้งอยู่ในโอวาท คำสั่งสอน ด้วยประกาศคุณให้ปรากฏ

   ฉะนั้น กตัญูกตเวที คือ ผู้รู้อุปการคุณของผู้อื่นแล้วกระทำการตอบแทนคุณของท่านยังคุณของท่านให้ปรากฏ คนตาบอด ย่อมมองไม่เห็นโลกแม้ดวงอาทิตย์จะส่องสว่างอยู่ฉันใดคนใจบอด ย่อมไม่มีความกตัญูแม้จะได้รับความเมตตากรุณาจากผู้มีอุปการคุณฉันนั้น

     ความกตัญญู คือความรู้คุณ หมายถึง ความเป็นผู้มีใจกระจ่าง มีสติปัญญาบริบูรณ์รู้อุปการคุณที่ผู้อื่นกระทำแล้วแก่ตน ผู้ใดก็ตามที่ทำคุณแก่ตนแล้ว ไม่ว่าจะมากก็ตามน้อยก็ตาม เช่น เลี้ยงดูสั่งสอน ให้ที่พัก ให้งานทำ ฯลฯ ย่อมระลึกถึงด้วยความซาบซึ้งอยู่เสมอ ไม่ลืมอุปการคุณนั้นเลย


สิ่งที่ควรกตัญญู 5 ประการ
      1. กตัญญูต่อบุคคล คือใครก็ตามที่เคยมีพระคุณต่อเรา ไม่ว่าจะมากน้อยเพียงไร จะต้องกตัญูรู้คุณท่าน ติดตามระลึกถึงเสมอด้วยความซาบซึ้ง พยายามหาโอกาสตอบแทนคุณท่านให้ได้

    2. กตัญญูต่อสัตว์ คือสัตว์ที่มีคุณต่อเรา จะต้องใช้ด้วยความกรุณาปรานี อย่าใช้งานหนักจนเป็นการทรมาน ขณะเดียวกันต้องเลี้ยงดูให้อาหารอย่าให้อดอยาก

       3. กตัญญูต่อสิ่งของ คือของสิ่งใดก็ตามที่มีคุณต่อเรา เช่น หนังสือธรรมะ หนังสือเรียนสถานศึกษา วัด ต้นไม้ ป่าไม้ วัสดุอุปกรณ์ที่ใช้ในการหาเลี้ยงชีพ ฯลฯ จะต้องปฏิบัติต่อสิ่งเหล่านี้ให้ดี ไม่ลบหลู่ดูแคลน ไม่ทำลาย

      4. กตัญูต่อบุญ คือรู้ว่าคนเราเกิดมามีอายุยืนยาว ร่างกายแข็งแรง ผิวพรรณดี สติปัญญาเฉลียวฉลาด มีความสุขความเจริญ มีความก้าวหน้า มีทรัพย์สมบัติมาก ก็เนื่องมาจากผลของบุญ จะไปสวรรค์กระทั่งไปนิพพานได้ ก็ด้วยบุญ จึงกล่าวได้ว่า ทุกอย่างสำเร็จได้ด้วยบุญทั้งบุญเก่าที่ได้สั่งสมมาดีแล้ว และบุญใหม่ที่เพียรสร้างขึ้นประกอบกัน จึงมีความรู้คุณของบุญมีความอ่อนน้อมในตัว ไม่ดูถูกบุญ ตามระลึกถึงบุญเก่าให้จิตใจชุ่มชื่น และไม่ประมาทในการสร้างบุญใหม่ให้ยิ่ง ๆ ขึ้นไป

    5. กตัญญูต่อตนเอง คือรู้ว่าร่างกายของเรานี้เป็นอุปกรณ์สำคัญที่เราจะใช้อาศัยในการทำความดี ใช้ในการสร้างบุญสร้างบารมี เพื่อความสุขความเจริญก้าวหน้าแก่ตนเอง จึงทะนุถนอมดูแลร่างกาย รักษาสุขภาพให้ดี และไม่นำร่างกาย นี้ไปประกอบความชั่ว เช่น ฆ่าสัตว์ ลักทรัพย์ อันเป็นการทำลายตนเอง

      การที่คนเราจะมีความคิดใฝ่ดี ตั้งใจทำความดีสร้าง สมคุณธรรมให้เกิดขึ้นในตัว เป็นสิ่งที่เกิดขึ้นได้ยาก แต่ที่ยากยิ่งกว่านั้นก็คือ ทำอย่างไรจึงจะรักษาความตั้งใจที่ดีนั้นไว้ โดยไม่ท้อถอยไม่เลิกกลางคัน เพราะในการทำความดีย่อมมีอุปสรรค มีปัญหาขัดขวางมากมาย ไหนจะปัญหาภายนอกจากคนรอบข้าง จากสิ่งแวดล้อม ไหนจะปัญหาภายในจากกิเลสรุมล้อมประดังกันเข้ามา เราจะเอาตัวรอด ยืนหยัดสู้ปัญหาทั้งหลายที่เข้ามาผจญได้โดยไม่ท้อถอย ก็ต้องมีสิ่งที่ยึดเหนี่ยวใจไว้ นั่นคือความกตัญญู ดังตัวอย่างยอดทายก ผู้เป็นยอดปฏิคคาหก ดังนี้

     มีเรื่องเล่าว่า บุรุษเข็ญใจคนหนึ่งในบ้านมหาคาม เลี้ยงชีวิตด้วยการขายฟน บุรุษนั้นได้ชื่อตามเหตุการณ์นั้นนั่นแล จึงมีชื่อว่า ทารุภัณฑกมหาติสะ วันหนึ่งเขาพูดกะภรรยาของเขาว่าชื่อว่าความเป็นอยู่ของพวกเราเป็นอย่างไรกัน พระศาสดาตรัสว่า ทลิทททานมีผลมาก แต่เราไม่อาจให้เป็นประจำได้ เราถวายปักขิกภัตแล้ว แม้ ลากภัตอันเกิดขึ้นข้างหน้าเราก็จักถวายภรรยารับคำว่า ดีละนาย แล้วได้ถวายปักขิกภัตตามมีตามได้ในวันรุ่งขึ้น

     ก็เวลานั้น เป็นเวลาที่พระภิกษุสงฆ์ไม่ขัดข้องด้วยเรื่องปัจจัยทั้งหลาย ภิกษุหนุ่มและสามเณรทั้งหลายฉันโภชนะล้วนประณีต รู้ว่านี้เป็นอาหารไม่สู้ดีก็กระทำปักขิกภัตของคนทั้งสองนั้นให้เป็นแต่สักว่ารับไว้เท่านั้น เมื่อคนทั้งสองนั้นเห็นอยู่นั่นแหละก็ทิ้งเสียแล้วก็ไป ฝ่ายหญิงนั้นเห็นการกระทำนั้น จึงบอกแก่สามี แต่ไม่ได้มีความเดือดร้อนใจว่า พระทิ้งของที่เราถวาย

     สามีของนางกล่าวว่า ก็พวกเราไม่อาจให้พระผู้เป็นเจ้าฉันได้โดยง่าย เพราะเป็นคนจนเราจักกระทำอย่างไรหนอแลจึงจักอาจเอาใจพระผู้เป็นเจ้าได้ ภรรยาของเขากล่าวว่า นาย ท่านพูดว่าอะไรหรือ ธรรมดาคนเข็ญใจทั้งหลายมีบุตรก็มีอยู่มิใช่หรือ นี้ธิดาของท่าน ท่านจงเอาธิดาคนนี้วางเป็นประกันไว้ในตระกูลหนึ่ง เอาทรัพย์มาสัก 12 กหาปณะ แล้วซื้อแม่โคนมมาตัวหนึ่ง เราจักถวาย ลากภัตปรุงกับนม ดแก่พระผู้เป็นเจ้า เราอาจเอาใจของพระผู้เป็นเจ้าเหล่านั้นได้ ด้วยอาการอย่างนี้สามีรับคำว่า ได้ แล้วจึงกระทำอย่างนั้น

    เป็นที่น่าสรรเสริญจริง ๆ ว่าคนในสมัยพุทธกาลนี้ เวลาทำบุญนี่ เขาทำกันจริง ๆ ทำกันอย่างเต็มที่ เต็มกำลังความสามารถกันทีเดียว แม้สละลูกสาวอันเป็นที่รักไปวางประกัน หรือเรียกอีกอย่างว่าจำนอง ก็ยอมทำ เพื่อความตั้งใจที่จะได้ถวายทานกับพระภิกษุ

    ด้วยบุญของคนทั้งสองนั้น แม่โคนมตัวนั้นให้น้ำนม 3 มาณิกะในตอนเย็น ในตอนเช้าให้นมอีก 3 มาณิกะ มาณิกะในที่นี้เป็นมาตราตวงของชาวมคธ คนทั้งสองทำนมสดที่ได้ในตอนเย็นให้เป็นนมเปรี้ยว ในวันรุ่งขึ้นจึงทำให้เป็นเนยใสจากเนยข้นที่ถือเอาจากนมส้มนั้น แล้วถวาย ลากภัตปรุงด้วยนมสดพร้อมกับเนยใสตั้งแต่นั้นมา พระผู้มีบุญจึงจะได้สลากภัตในเรือนของเขา

    วันหนึ่งสามีบอกภรรยาว่า พวกเราพ้นจากเรื่องที่น่าละอายก็เพราะมีลูกสาว ทั้งภัตตาหารในเรือนของเราแห่งเดียว เป็นของควรบริโภคแห่งพระผู้เป็นเจ้าทั้งหลาย เธออย่าประมาทในวัตรอันดีงามนี้จนกว่าพี่จะมา พี่จะทำงานอะไรสักอย่างไถ่ตัวลูกสาว เขาไปยังประเทศหนึ่งทำงานหีบอ้อย โดยเวลา 6 เดือน ได้เงิน 12 กหาปณะ คิดว่าเงินเท่านี้อาจจะไถ่ลูกสาวของเราได้ จึงเอาชายผ้าขอดกหาปณะเหล่านั้นไว้ แล้วเดินทางด้วยตั้งใจว่าจักไปบ้าน

     ในสมัยนั้น พระปิณฑปาติยติสสเถระอยู่ในอัมพริยมหาวิหาร คิดว่าจักไปมหาวิหารไหว้พระเจดีย์ จึงออกจากที่อยู่ของตนไปยังบ้านมหาคาม เดินไปทางนั้นเหมือนกัน อุบาสกนั้นเห็นพระเถระแต่ไกล คิดว่าเรามาผู้เดียว จักไปฟังธรรมกถากัณฑ์หนึ่ง พร้อมกันกับพระผู้เป็นเจ้ารูปนี้ เพราะผู้มีศีลหาได้ยากตลอดมาทุกเวลา จึงรีบไปให้ทันพระเถระ ไหว้แล้วเดินไปด้วยกัน

     เมื่อเวลาฉันภัตตาหารใกล้เข้ามาจึงคิดว่า ห่อภัตตาหารไม่มีอยู่ในมือเรา และก็ถึงเวลาฉันภิกษาหารของพระผู้เป็นเจ้าแล้ว ทั้งค่าใช้สอยนี้ก็มีอยู่ในมือเรา ในเวลาถึงประตูบ้านแห่งหนึ่ง เราจักถวายบิณฑบาตแก่พระผู้เป็นเจ้า เมื่อความคิดของเขาสักว่าพอเกิดขึ้นอย่างนี้เท่านั้น คนผู้หนึ่งถือห่อภัตตาหารมาถึงที่นั้นพอดี อุบาสกเห็นคนผู้นั้นแล้วก็กล่าวว่า ท่านผู้เจริญโปรดคอยหน่อยเถิด ๆ แล้วเข้าไปหาคนผู้นั้นกล่าวว่า "บุรุษผู้เจริญ ฉันจะให้กหาปณะแก่ท่านท่านจงให้ห่อภัตตาหารแก่ฉัน"

      บุรุษผู้นั้นคิดว่า ภัตตาหารแม้นี้จะมีราคาแม้สักมา กหนึ่งในเวลานี้ก็หามิได้แต่อุบา กนี้ให้เรากหาปณะหนึ่ง เป็นครั้งแรกทีเดียว เหตุในเรื่องนี้จักมี ครั้นคิดแล้วจึงกล่าวว่า "โดยกหาปณะหนึ่ง เราจะไม่ให้"

      อุบาสกกล่าวว่า "ถ้าอย่างนั้น ท่านจงถือเอา 2 กหาปณะ จงถือเอา 3 กหาปณะ" โดยทำนองนี้ประสงค์จะให้กหาปณะเหล่านั้นแม้ทั้งหมด บุรุษนอกนี้สำคัญว่า กหาปณะแม้อื่นของอุบาสกนั้นมีอยู่อีก จึงกล่าวว่า เราไม่ให้

    ครั้งนั้น อุบาสกนั้นกล่าวกะบุรุษนั้นว่า "ท่านผู้เจริญ ถ้ากหาปณะแม้อื่นของเราพึงมีอยู่ไซร้เราพึงให้กหาปณะแม้เหล่านั้น แต่เราจะถือเอาเพื่อประโยชน์แก่ตนเองก็หามิได้เลยเรานิมนต์พระผู้เป็นเจ้ารูปหนึ่งให้นั่งอยู่ที่โคนไม้ต้นหนึ่ง กุศลจักมีแก่ท่านด้วย ท่านจงให้ภัตตาหารนั้นแก่เราเถิด"

      บุรุษนั้นพูดว่า "ท่านผู้เจริญ ถ้าอย่างนั้น ท่านจงเอาไป จงนำกหาปณะเหล่านั้นมา" ได้ถือเอากหาปณะแล้วให้ห่อภัตตาหารไป อุบา กถือภัตตาหารเข้าไปหาพระเถระแล้วกล่าวว่า "นำบาตรออกมาเถิดครับ ท่าน" พระเถระนำบาตรออกมา เมื่ออุบาสกถวายภัตตาหารเข้าไปได้ครึ่งหนึ่ง ก็ปิดบาตรเสีย อุบาสกกล่าวว่า "มีส่วนเดียวเท่านั้น กระผมไม่อาจบริโภคจากส่วนเดียวนี้ ภัตตาหารนี้กระผมเที่ยวหาได้มา ก็เพื่อประโยชน์แก่ท่านเท่านั้น ขอท่านจงรับภัตตาหารนั้นเถิด เพื่ออนุเคราะห์กระผม" พระเถระคิดว่า มีเหตุผล จึงรับมาฉันทั้งหมด อุบาสกได้กรองน้ำดื่มด้วยเครื่องกรองน้ำแล้วถวายต่อ จากนั้นเมื่อพระเถระทำภัตกิจเสร็จแล้ว แม้ทั้งสองก็เดินทางไปด้วยกัน

     พระเถระถามอุบาสกว่า "เพราะเหตุไรท่านจึงไม่บริโภค" อุบาสกนั้นบอกเรื่องราวในการไปของตนทั้งหมด พระเถระฟังความเป็นไปนั้นแล้ว ลดใจคิดว่า อุบาสกทำสิ่งที่ทำได้ยากก็เราบริโภคบิณฑบาตเห็นปานนี้ ควรเป็นผู้กตัญูต่ออุบาสกนี้ เราได้เสนา นะอันเป็นสัปปายะแล้ว เมื่อผิวหนัง เนื้อ และเลือด แม้จะแห้งไปในเสนาสนะนั้นก็ตามที ยังไม่บรรลุพระอรหัตโดยนั่งขัดสมาธิอยู่นั่นแหละ จักไม่ลุกขึ้น

    พระปิณฑปิยติสสะเถระรูปนี้ ท่านฟังแล้วไม่ได้ ลดใจเพียงอย่างเดียว ท่านมีความคิดที่จะตอบแทนคุณอุบาสก ด้วยการทำกิจอันควรของนักบวชคือตั้งใจทำความเพียรอย่างอุกฤษฏ์เพื่อให้บรรลุมรรคผลนิพพาน พระเถระเข้าไปยังติสสมหาวิหาร กระทำอาคันตุกวัตร หมายความว่า ทำตามระเบียบปฏิบัติสำหรับผู้จรมา แล้วเข้าไปยังเสนาสนะที่เจ้าหน้าที่จัดให้ ลาดเครื่องลาดแล้วนั่งบนเครื่องลาดนั้น แม้จะนั่งตลอดคืน ใจของพระเถระก็ยังไม่สงบ แม้แสงสว่างจากภายในก็ไม่เห็น

    พอรุ่งขึ้น ท่านไม่ยอมออกบิณฑบาต มุ่งมั่นในการบำเพ็ญกรรมฐานต่อไปอย่างไม่ลดละความเพียร เวลาผ่านไปถึงอรุณที่ 7 ท่านก็ได้บรรลุพระอรหัตพร้อมด้วยปฏิสัมภิทา แล้วคิดว่า รีระเมื่อยล้าเหลือเกิน ชีวิตของเราจักดำเนินไปได้นานไหมหนอ พระเถระเห็นด้วยญาณทัสสนะว่าสรีระนั้นจะสืบต่อไปไม่ไหว จึงถือบาตรและจีวรเดินเข้าไปท่ามกลางวิหาร ตีกลองให้ภิกษุสงฆ์ประชุมกัน

      พระสังฆเถระถามว่า "ใครให้ภิกษุสงฆ์ประชุม"

      พระเถระตอบว่า "กระผมขอรับ"

      พระสังฆเถระถามว่า "เพื่ออะไร ท่านสัตบุรุษ"

     พระเถระตอบว่า "กรรมอื่นไม่มีดอกขอรับ แต่ว่าท่านใดมีความสงสัยในมรรคหรือผลท่านผู้นั้นจงถามกระผมเถิด"

    พระสังฆเถระถามว่า "ท่านสัตบุรุษ ภิกษุทั้งหลายเช่นท่าน ย่อมไม่กล่าวคุณที่ไม่มีอยู่ความสงสัยในมรรคหรือผลนี้ไม่มีแก่พวกเรา ก็อะไรเป็นเหตุให้เกิดความสังเวชแก่ท่าน ท่านทำอะไรให้เป็นปัจจัย พระอรหัตนี้จึงบังเกิดขึ้น"

     พระเถระตอบว่า "ท่านขอรับ ในวัลลิยวิถี ในบ้านมหาคามนี้ มีอุบาสกชื่อ ทารุภัณฑกมหาติสสะ จำนองธิดาของตนไว้ภายนอกแล้วเอาทรัพย์มา 12 กหาปณะ ซื้อแม่โคนมมาตัวหนึ่งเริ่มตั้ง ลากภัตนม ดแก่พระสงฆ์ เขาคิดว่า เราจักไถ่ธิดาจึงทำการรับจ้างอยู่ในโรงหีบอ้อยถึง 6 เดือน ได้ทรัพย์ 12 กหาปณะ แล้วจึงเดินไปบ้านของตนด้วยหวังใจว่า จักไถ่ธิดา เห็นกระผมในระหว่างทาง ในเวลาภิกษาจารได้ให้กหาปณะทั้งหมด แล้วถือเอาห่อภัตตาหารมาถวายกระผมทั้งหมด กระผมฉันบิณฑบาตนั้นแล้วมาที่นี้ ได้เสนาสนะอันเป็นสัปปายะแล้วคิดว่า เราจักกระทำความยำเกรงต่อบิณฑบาตดังนี้ จึงได้ทำคุณวิเศษให้เกิดขึ้นขอรับ"

    บริษัทสี่ที่ประชุมกันอยู่ที่นั้นได้ให้สาธุการแก่พระเถระ ชื่อว่าผู้สามารถเพื่อดำรงตามภาวะของตนไม่มีเลย พระเถระนั่งพูดอยู่ในท่ามกลางสงฆ์ กำลังพูดอยู่นั่นแลอธิษฐานว่า กูฏาคาร (หมายถึงเรือนมียอด) ของเราจงเคลื่อนไป ในเวลาที่ทารุภัณฑกมหาติสสะเอามือถูกต้องเท่านั้นดังนี้แล้วก็ปรินิพพานด้วยอนุปาทิเสนิพพานธาตุ

     พระเจ้ากากวัณณติสมหาราชทรงสดับว่า พระเถระรูปหนึ่งปรินิพพาน จึงเสด็จไปยังวิหารทรงทำสักการะสัมมานะแล้ว ตรัสสั่งให้ตระเตรียมกูฏาคารแล้วยกพระเถระขึ้นใส่ในกูฏาคารนั้น ทรงดำริว่า เราจักไปที่เชิงตะกอนเดี๋ยวนี้ จึงทรงยกกูฏาคาร ก็ไม่อาจให้เคลื่อนที่ได้พระราชารับสั่งถามภิกษุสงฆ์ว่า "ท่านผู้เจริญ คำพูดอะไรที่พระเถระกล่าวไว้มีอยู่หรือ"

     ภิกษุทั้งหลายจึงทูลเรื่องราวที่พระเถระกล่าวไว้ พระราชารับสั่งให้เรียกอุบาสกนั้นมาแล้วตรัสถามว่า "ในที่สุด 7 วันจากวันนี้ไป เธอถวายภัตตาหารแก่ภิกษุไร ๆ ผู้เดินทางหรือ"

        อุบาสกทูลว่า "ถวายพระเจ้าข้า ข้าแต่สมมติเทพ"

        พระราชาตรัสถามว่า "เธอถวายทำนองไหน"

      อุบาสกนั้นจึงกราบทูลเหตุการณ์นั้นทั้งหมด ครั้นทรง ดับวีรกรรมอันยิ่งใหญ่ของอุบาสกแล้ว พระราชาจึงทรงสั่งอุบาสกนั้นไป ณ ที่ตั้งกูฏาคารของพระเถระด้วยพระดำรัสว่า "เธอจงไปดูซิว่า เป็นพระเถระรูปที่เธอได้ถวายภัตตาหารระหว่างทางหรือเปล่า" อุบาสกนั้นไปแล้วเลิกม่านขึ้นเห็นหน้าพระเถระก็จำได้ รีบกลับมากราบทูลว่า "ข้าแต่สมมติเทพ เป็นพระผู้เป็นเจ้าของข้าพระองค์"

     ลำดับนั้น พระราชารับสั่งให้พระราชทานเครื่องประดับชุดใหญ่แก่อุบาสกนั้น ตรัสกะอุบาสกผู้ประดับเสร็จแล้วว่า "ท่านมหาติสะผู้พี่ชาย ท่านจงไปไหว้พระผู้เป็นเจ้าของเราแล้วจึงยกกูฏาคารขึ้น"

      อุบาสกรับพระดำรัสว่า "ขอรับใส่เกล้า ข้าแต่สมมติเทพ" แล้วไปไหว้เท้าพระเถระ เอามือทั้งสองยกขึ้นทูนไว้เหนือกระหม่อมของตน ขณะนั้นเอง กูฏาคารลอยไปทางอากาศประดิษฐานอยู่ ณ ข้างบนของเชิงตะกอน ในกาลนั้น เปลวไฟลุกขึ้นเองจากมุมแม้ทั้ง 4 ของเชิงตะกอน

    สรุป ความกตัญูเป็นแรงผลักดันให้เรามีกำลังในการทำความดีอย่างไม่ลดละ ทำอย่างเต็มที่เต็มกำลังสุดความสามารถ ยิ่งถ้ามีความกตัญูมาก ๆ แล้ว ก็สามารถที่จะเอาชีวิตเป็นเดิมพันได้ เหมือนอย่างที่พระปิณฑปาติยติ เถระที่ท่านเอาชีวิตเป็นเดิมพัน ยอมสละชีวิตเพื่อตอบแทนคุณของอุบาสกนั้น ในที่สุดท่านก็สามารถทำได้สำเร็จ และนอกจากจะตอบแทนคุณได้แล้ว ยังสามารถที่จะบรรลุประโยชน์สูงสุดของตัวเองคือบรรลุมรรคผลนิพพาน
ได้ด้วย จึงนับได้ว่าความกตัญญูเป็นหนทางนำไปสู่มรรคผลนิพพานโดยแท้


1.1 อานิสงส์ของความกตัญู

1. ทำให้รักษาคุณความดีเดิมไว้ได้
2. ทำให้สร้างคุณความดีใหม่เพิ่มได้อีก
3. ทำให้เกิดสติ ไม่ประมาท
4. ทำให้เกิดหิริโอตตัปปะ
5. ทำให้เกิดขันติ
6. ทำให้จิตใจผ่องใสมองโลกในแง่ดี
7. ทำให้เป็นที่สรรเสริญของคนดี
8. ทำให้มีคนอยากคบหาสมาคม
9. ทำให้ทั้งมนุษย์และเทวดาอยากช่วยเหลือ
10. ทำให้ไม่มีเวรไม่มีภัย
11. ทำให้ลาภผลทั้งหลายเกิดขึ้นโดยง่าย
12. ทำให้บรรลุมรรคผลนิพพานโดยง่าย
ฯลฯ

 

 

*----------------------------------------------------------------------------------------------------------*
หนังสือ PD 007 พุทธธรรมทีปนี 1
หนังสือเรียน DOU หลักสูตร Pre-Degree

 

 ยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคล Total Execution Time: 0.0015169501304626 Mins