วิชชาธรรมกาย

วันที่ 19 เมย. พ.ศ.2562

วิชชาธรรมกาย

คำว่า “วิชชาธรรมกาย” ประกอบด้วย ๒ คำ คือ คำ ว่า “วิชชา” กับดาวคำ ว่า “ธรรมกาย”
คำ ว่า “วิชชา” แตกต่างจากคำ ว่า “วิชา” ในทางโลกที่เราได้เคยศึกษาเล่าเรียนกัน
วิชาทางโลกนั้นเป็นความรู้ที่เกิดขึ้นใน ๒ ระดับ คือ
ระดับสุตมยปัญญา กับ จินตามยปัญญา

สุตมยปัญญา คือ ความรอบรู้ที่เกิดจากการได้ยิน ได้ฟัง ได้อ่าน
ได้ศึกษาเล่าเรียนมา เป็นการรู้จำคือ จำ ในสิ่งที่ผู้รู้ ไม่ว่าจะมีความรู้สมบูรณ์หรือไม่สมบูรณ์ก็ตาม ได้บันทึกเรื่องราวสิ่งที่รู้เห็นเอาไว้เป็นวิทยาทานให้ได้ศึกษากันสืบต่อมา
จินตามยปัญญา คือ ความรู้ที่เกิดจากการนำ มาคิดพิจารณา
หาเหตุผลแบบนักคิดทั่วไป ความคิดบางครั้งถูกบ้าง ผิดบ้าง
นี่เป็นปัญญาใน ๒ ระดับ แต่ปัญญาในพระพุทธศาสนามี ๓ ระดับ
ระดับที่ ๓ คือ ภาวนามยปัญญา เป็นปัญญาที่เกิดจากการฝึกฝนลงมือปฏิบัติแล้ว ในระดับที่อยู่นอกเหนือเหตุผลธรรมดา เราจะอาศัยเหตุผลธรรมดามาใช้ไม่ได้เลย เพราะภาวนามยปัญญาเป็นความรู้ที่เกิดจากการเห็นแจ้ง คือ จิตต้องเกิดดวงสว่างขึ้นมา และความสว่างนั้นนำ  ไปสู่จักษุ ธรรมจักษุเกิดขึ้น หรือญาณทัสนะเกิดขึ้น สว่างแล้วจึงเห็น เห็นแล้วจึงรู้
เพราะฉะนั้น “วิชชา” จึงหมายถึง ความรู้แจ้งที่เกิดจากการเห็นแจ้ง ความเห็นที่เกิดจากจิตที่บริสุทธิ์จากกิเลสทั้งหลายแล้ว เกิดปัญญาบริสุทธิ์ รู้เห็นไปตามความเป็นจริง รู้ทั่วถึง รู้พร้อม แล้วก็รู้ไปสู่เป้าหมาย เหมือนของที่อยู่ในที่มืดดึงมาอยู่กลางแจ้งเราก็จะเห็นชัดเจน เช่น เชือกเปียกน้ำ ถ้าอยู่ในที่มืด ๆ บางทีเราอาจจะคิดว่าเป็นงู หรือเป็น

ตัวอะไรที่มันยาว ๆ หรืออาจจะเป็นเชือก ต้องใช้สมมติฐานด้นเดาถูกบ้างผิดบ้าง แต่ว่าเมื่อลากมาอยู่กลางแจ้ง ก็รู้ชัดว่านี่แค่เชือก

เปียกน้ำเท่านั้น
คำ ว่า “ธรรมกาย” ในพจนานุกรม แปลว่า หมวดหมู่แห่งธรรม
เขาแปลได้แค่นั้น คือ ธรรม ๘๔,๐๐๐ พระธรรมขันธ์ รวมประชุมกัน
เรียกว่า หมวดหมู่แห่งธรรม
มีนักศึกษาชาวตะวันตกสองสามีภรรยาเขาได้ค้นคว้ารวบรวม
ความหมายของคำ ว่า “ธรรม” ที่มีอยู่ในพระไตรปิฎกได้ ๕๐ กว่าความหมาย
มีความหมายหนึ่งที่น่าสนใจ เขาบอกว่า ธรรม มีลักษณะเป็นดวงกลม ๆ ใส ๆ สว่าง ๆ และมีตัวตน เพราะฉะนั้น “ธรรมกาย” คือ กายที่ประกอบไปด้วยธรรม ๘๔,๐๐๐ พระธรรมขันธ์ รวมประชุมเกิดเป็นก้อนกาย
เป็นกายที่มีลักษณะมหาบุรุษครบถ้วนทุกประการ
เพราะฉะนั้น “วิชชาธรรมกาย” ก็คือความรู้แจ้งที่เกิดจากการเห็นแจ้งด้วยธรรมจักษุ แล้วก็รู้ได้ด้วยญาณทัสนะของธรรมกายนั่นเอง นี่เป็นเรื่องสำ คัญ
วิชชาธรรมกายเกิดขึ้นได้ด้วยธรรมกาย เป็นที่ประชุมรวมอยู่ตรงนั้น
มีอยู่ในกลางกายของมนุษย์ทุกคน มีมาดั้งเดิมตั้งแต่ดึกดำ บรรพ์โน้น
เริ่มต้นเมื่อไร ไม่มีใครทราบ

การที่เราเคารพกราบไหว้บูชาพระสัมมาสัมพุทธเจ้า เพราะพระองค์ทรงบรรลุวิชชาธรรมกายก่อน แล้วได้ทรงนำ มาเปิดเผยกระทั่งมีผู้รู้แจ้งตามพระองค์ เป็นพยานในการตรัสรู้ธรรมมากมาย แต่หลังจากพระพุทธเจ้าปรินิพพานไปแล้ว ๕๐๐ ปี ความรู้ยิ่งนี้ก็หายไปคงเหลือไว้แต่ชื่อ คือ คำ ว่า “ธรรมกาย” ปรากฏอยู่ในคัมภีร์ในทางพระพุทธศาสนาในนิกายต่าง ๆ ทั้งวัชรยาน มหายาน และเถรวาท แต่ไม่มีใครรู้เลยว่า ธรรมกายนั้นมีลักษณะเป็นอย่างไร เข้าถึงได้อย่างไร
จนกระทั่งเมื่อพระเดชพระคุณหลวงปู่วัดปากน้ำ ภาษีเจริญ ท่านได้สละชีวิตปฏิบัติธรรมกระทั่งเข้าถึงพระธรรมกาย ณ วัดโบสถ์บน บางคูเวียง
จังหวัดนนทบุรี ความลับนี้จึงได้เปิดเผยออกมาสู่ชาวโลกอีกครั้งหนึ่ง
หลวงปู่วัดปากน้ำ ภาษีเจริญ ท่านบวชเมื่ออายุ ๒๒ ปี บวชได้หนึ่งวัน รุ่งขึ้นอีกวันหนึ่งก็ปฏิบัติธรรมแล้วก็ศึกษาทางด้านปริยัติ ศึกษา
หมดทุกสำ นัก แต่ไม่ได้สอบเป็นมหาเปรียญ รู้ว่าสำ นักไหนมีครูดี ชำ นาญในพระไตรปิฎก ท่านก็จะไปศึกษาทุกหนทุกแห่ง ทั้งศึกษาด้วยตัวเองด้วย
จากครูบาอาจารย์ตามสำ นักต่าง ๆ ด้วย
แล้วในที่สุดท่านก็สรุปว่า ความรู้จะสมบูรณ์ได้จะต้องประกอบไปด้วย ๓ ป. คือ ปริยัติ ปฏิบัติ และปฏิเวธ ปริยัติก็คือการศึกษาด้านทฤษฎี

ต้องอ่าน ต้องศึกษา ท่านอ่านหมดในพระไตรปิฎก แล้วก็ปฏิบัติด้วยตนเองเรื่อยมา ไม่ว่างเว้นในการปฏิบัติเลยแม้แต่วันเดียว รู้ข่าวคราวว่า ครูไหนสำนักไหนมีการปฏิบัติ ก็ยอมตนเข้าไปเป็นศิษย์ไปศึกษา ได้เข้าถึงที่สุดแห่งความรู้ของครูบาอาจารย์ ซึ่งได้แค่ดวงสว่างปรากฏอยู่ แล้วครูก็ชวนท่านช่วยกันสั่งสอนศิษย์เช่นเดียวกับครูบาอาจารย์ของท่าน
แต่พระเดชพระคุณหลวงปู่วัดปากน้ำมีความคิดว่า ความรู้แค่นี้เหมือนหางอึ่งนิดเดียว จะไปเป็นครูเขาได้อย่างไร ท่านจึงกราบลามาด้วยความเคารพ แล้วก็ไปศึกษาวิธีการต่าง ๆ ที่มีปรากฏอยู่ในวิสุทธิมรรค ๔๐ วิธี
ก็ศึกษากันมาทั่วหมดทุกสำนัก
แต่ก็ยังไม่จุใจ เพราะท่านมีความรู้สึกว่า ยังไม่ถึงจุดของความรู้ตามที่ได้ศึกษาภาคปริยัติมา ในที่สุดหลังจากที่ศึกษาทั้งทฤษฎีและปฏิบัติตามสำนักต่าง ๆ มาจนย่างเข้าพรรษาที่ ๑๒ ของการบวช ในกลางพรรษา
ขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๑๐ ท่านก็ได้ตัดสินใจอย่างเด็ดขาดว่า
“วันนี้เป็นไงเป็นกัน ถ้าหากว่าไม่ได้บรรลุธรรมที่พระสัมมา
สัมพุทธเจ้าทรงบรรลุ จะไม่ลุกจากที่ จะนั่งปล่อยชีวิตอย่างนี้เรื่อยไป
แม้เนื้อเลือดจะแห้งเหือดหายไป เหลือแต่กระดูกหนังช่างมัน ถ้าไม่รู้
ไม่เห็นธรรมของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ไม่ได้ตายเถอะ”

นี่เป็นความอัศจรรย์ของภิกษุหนุ่มวัย ๓๓ ปี ซึ่งยังไม่ได้รู้เรื่องราวอะไรเลยเกี่ยวกับหนทางไปนิพพาน ได้ศึกษาแต่พระปริยัติ
แล้วในที่สุดวันนั้น ตามประวัติที่ท่านบันทึกเอาไว้ ท่านได้ทำ ความเพียรที่วัดโบสถ์บน บางคูเวียง ปัจจุบันนี้ในโบสถ์นั้นก็ยังมีพระพุทธรูปองค์ดั้งเดิมอยู่ ที่นั่งก็ลุ่ม ๆ ดอน ๆ ไม่ราบเรียบ ท่านก็เลือกเอามุมหนึ่งเป็นสถานที่นั่งสมาธิ ตัดสินใจยอมสละแม้ชีวิต เอานิ้วจุ่มน้ำมันก๊าดเพื่อจะขีดวงกันมดที่ไต่ตามช่องแตกของพื้นหินไม่ให้มารบกวน แต่ขีดไปได้ครึ่งหนึ่งท่านก็นึกละอายใจว่า สละชีวิตแล้วยังมากลัวมดอีก จึงตัดสินใจหลับตาปล่อยชีวิตไปเลย
ท่านบอกว่า ค่อนคืนทีเดียวจึงได้บรรลุถึงธรรมกาย บรรลุถึงธรรมกาย แล้วท่านก็บอก โอ! มันยากอย่างนี้นี่เอง มันต้องดับก่อนแล้วจึง
เกิด คือ ใจต้องหยุดต้องนิ่งเสียก่อน ถูกส่วนถึงจะเห็นไปตามลำ ดับ เห็นไปได้ ๕ กายจนกระทั่งถึงกายธรรม พอถึงกายธรรมเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันเข้าก็รู้ว่านี่แหละ คือ กายธรรม เป็นกายตรัสรู้ธรรมอยู่ศูนย์กลางกายฐานที่ ๗
ท่านตรวจตราทบทวนดูอย่างดีทีเดียว จนกระทั่งมั่นใจว่า นี่ถูกทาง
พระสัมมาสัมพุทธเจ้าแล้ว ท่านก็ทบทวนทำ ความเพียรไปทั้งคืน

จนกระทั่งติดอยู่ในกลางท่าน แล้วต่อมาท่านก็เห็นในญาณทัสนะว่า จะมีผู้บรรลุธรรมกายตามท่านอยู่ที่วัดบางปลา อำ เภอบางเลน จังหวัดนครปฐม
ภายในพรรษานั้น ท่านก็ทบทวนแล้วก็ศึกษาวิชชาธรรมกายด้วยธรรมกายภายในกลางกายเรื่อยไป ในที่สุดออกพรรษาแล้วก็ได้ไปที่วัดบางปลา มีผู้บรรลุธรรมตามท่าน เป็นพระภิกษุ ๓ รูป ฆราวาส ๔ ท่าน ตรงตามที่ท่านได้เห็นในญาณทัสนะ แล้วก็เริ่มเผยแผ่ธรรมเรื่อยมาจนกระทั่งได้มาเป็นเจ้าอาวาสวัดปากน้ำภาษีเจริญ
เพราะฉะนั้น การที่หลวงปู่วัดปากน้ำ ภาษีเจริญ ได้ค้นพบ “วิชชาธรรมกาย” ทำให้พวกเราทั้งหลายรู้จัก “ธรรมกาย” ว่ามีอยู่ในกลางกายของมนุษย์ทุกคน เป็นที่พึ่งที่ระลึกอันสูงสุด และเป็นเป้าหมายของการเกิดมาเป็นมนุษย์ ที่ต่างเกิดมาก็เพื่อแสวงหาธรรมกาย พระเดชพระคุณหลวงปู่วัดปากน้ำ ภาษีเจริญ จึงเป็นบุคคลสำ คัญที่มีพระคุณต่อชาวโลกและเป็นบุคคลที่ควรแก่การเคารพบูชาเป็นอย่างยิ่ง
๒ กันยายน พ.ศ. ๒๕๔๔

จากหนังสือ คำสอนคุณครูไม่ใหญ่ 2

 ยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคล Total Execution Time: 0.0010610659917196 Mins