ปฐมเหตุบัญญัติวัจจกุฎีวัตร ครั้งที่ ๓

วันที่ 08 ตค. พ.ศ.2562

ปฐมเหตุบัญญัติวัจจกุฎีวัตร ครั้งที่ ๓

หลังจากสงฆ์ประพฤติถูกต้องตามแบบแผนพระวินัยในเรื่อง

๑) การชำระหลังถ่ายอุจจาระ

๒) การเข้าวัจจกุฎีตามลำดับผู้มาถึงแล้ว

๓) ก็มีเหตุ ให้พระผู้มีพระภาคเจ้าต้องทรงบัญญัติพระวินัยการใช้ห้องสุขาเพิ่มอีก ดังมีเรื่องว่า

 

             พระฉัพพัคคีย์ซึ่งเป็นกลุ่มภิกษุจำนวน ๖ รูป คือ

๑. พระปัณฑุกะ

๒.พระโลหิตกะ

๓. พระเมตติยะ

๔. พระภุมมชกะ

๕. พระอัสสชิ (คนละองค์กับพระอัสสชิหนึ่งในปัญจวัคคีย์ ผู้เป็นพระอรหันต์ ๕ รูปแรกในพระพุทธศาสนา)

๖. พระปุนัพพสุกะ

 

              ท่านเหล่านี้ได้ทำเรื่องไม่สมควรอย่างยิ่ง คือ ขาดสติสัมปชัญญะอย่างมากในการใช้ห้องสุขา ได้แก่ เข้าวัจจกุฎีเร็วไปบ้าง เวิกผ้าเข้าไปบ้าง ถอนหายใจใหญ่พลางถ่ายอุจจาระบ้าง เคี้ยวไม้ชำระฟันพลาง ถ่ายอุจจาระบ้าง ถ่ายอุจจาระนอกรางอุจจาระบ้าง ถ่ายปัสสาวะนอกราง ปัสสาวะบ้าง บ้วนเขฬะ คือ นํ้าลาย ลงในรางปัสสาวะบ้าง ชำระด้วยไม้หยาบ คือ เช็ดก้นด้วยไม้ขรุขระบ้าง ทิ้งไม้ชำระลงในช่องถ่ายอุจจาระบ้าง ออกมาเร็วเกินไปบ้าง เวิกผ้าออกมาบ้าง ชำระมีเสียงดัง คือ ล้างก้นมีเสียง ดังบ้าง เหลือนํ้าไว้ในกระบอกชำระบ้าง

 

บรรดาภิกษุผู้มีความมักน้อยรักสันโดษคือ ภิกษุผู้รักการฝึกฝนตน เป็น ผู้รักการฝึกตัวตามพระธรรมวินัย ต่างพิจารณาโทษ การกระทำดังกล่าวด้วยกุศลจิต ได้กล่าวเตือนให้เห็นโทษ พร้อมกันนั้นด้วยจิตที่รักพระพุทธศาสนาเป็นอย่างยิ่ง ได้มีความคิดว่า หากปล่อยปละละเลย พฤติกรรมการใช้ห้องสุขาของพระฉัพพัคคีย์ ความเสื่อมเสีย ความไม่เคารพเลื่อมใสศรัทธา ต่อพระรัตนตรัยจักบังเกิดขึ้นแก่บริษัท ๔ จึงพากันไปกราบทูลเรื่องนี้แด่พระผู้มีพระ ภาคเจ้า พระองค์ก็ทรงสอบถาม

 

พระผู้มีพระภาคเจ้า “ดูกรภิกษุทั้งหลาย ข่าวว่าพระฉัพพัคคีย์ เข้าวัจจกุฎีเร็วเกินไปบ้าง...เหลือนํ้าไว่ในกระบอกชำระบ้าง จริงหรือ”

ภิกษุ “จริง พระพุทธเจ้าข้า”

พระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงทำธรรมีกถา คือ ทรงแสดงธรรมชี้คุณ-โทษ การมี-ไม่มีสติสัมปชัญญะ และความสำรวม-ไม่สำรวมในการใช้ห้องสุขา แล้ว ทรงรับสั่งแก่ภิกษุทั้งหลายว่า

 

"ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย 

เพราะเหตุนั้นเเล  เราจักบัญญัติวัจจกุฎีวัตรเเก่ภิกษุทั้งหลาย 

โดยประการที่ภิกษุท้้งหลาย 

พึงปฎิบัติเรียบร้อยในวัจจกุฎี"

 

ข้อบัญญัติวัจจกุฎีวัตร

[๔๓๗] ภิกษุใดไปวัจจกุฎี

  • ภิกษุนั้นยืนอยู่ข้างนอกพึงกระแอมขึ้น คือทำเสียงแอมในคอคล้าย ไอ เพื่อให้เขารู้ หรือระวัง
  • แม้ภิกษุผู้นั่งอยู่ข้างในก็พึงกระแอมรับ คือทำเสียงแอมในคอคล้าย ไอ เพื่อให้เขารู้ หรือระวัง
  • พึงพาดจีวรไว้บนราวจีวรหรือบนสายระเคียง คือ ราวตากสบงจีวรที่ มีลักษณะขึงเส้นเชือก แล้วเข้าวัจจกุฎีทำให้เรียบร้อย ไม่ต้องรีบร้อน
  • ไม่ควรเข้าไปเร็วนัก
  • ไม่พึงเวิกผ้า คือไม่ควรเลิก เปิดหรือแหวกผ้าแต่บางส่วนเข้าไป
  • ยืนบนสุขภัณฑ์แล้วจึงค่อยเวิกผ้า
  • ไม่ควรถอนหายใจใหญ่พลางถ่ายอุจจาระ
  • ไม่ควรเคี้ยวไม้ชำระฟันพลางถ่ายอุจจาระ
  • ไม่ควรถ่ายอุจจาระนอกรางอุจจาระ
  • ไม่ควรถ่ายปัสสาวะนอกรางปัสสาวะ
  • ไม่ควรบ้วนเขฬะ คือ นํ้าลาย ลงในรางปัสสาวะ
  • ไม่ควรชำระด้วยไม้หยาบ คือ เช็ดก้นด้วยไม้หยาบขรุขระ เพราะอาจเป็นแผลได้
  • ไม่ควรทิ้งไม้ชำระลงในช่องถ่ายอุจจาระ
  • ยืนบนเขียงถ่ายแล้วควรปิดผ้า
  • ไม่ควรออกมาเร็วนัก
  • ไม่ควรเวิกผ้า คือเลิก เปิด หรือแหวกผ้าแต่บางส่วนออกมา
  • ยืนบนเขียงชำระแล้วเวิกผ้า คือเลิกหรือเปิดผ้า
  • ไม่ควรชำระให้มีเสียงดังจะปุจะปุ หมายถึง มีเสียงดังขณะชำระล้าง
  • ไม่ควรเหลือนํ้าไว้ในกระบอกชำระ/ขันนํ้า
  • ยืนบนเขียงชำระ คือบนสุขภัณท์เเล้วพึงปิดผ้า
  • ถ้าวัจจกุฎีอันภิกษุถ่ายไว้เลอะเทอะ ต้องล้างเสีย
  • ถ้าตะกร้าใส่ไม้ชำระรวมถึงกระดาษชำระเต็ม พึงเทไม้ชำระ คือ กระดาษชำระ
  • ถ้าวัจจกุฎีรก พึงกวาดวัจจกุฎี
  • ถ้าชานภายนอกบริเวณซุ้มประตูรก พึงกวาดเสีย
  • ถ้านํ้าในหม้อชำระ คือ ถังน้ำไม่มี พึงตักนํ้าใส่ใว้ในถังน้ำ

 

                ดูกรภิกษุทั้งหลาย นี้แล เป็นวัจจกุฏีวัตรของภิกษุทั้งหลาย ซึ่งภิกษุทั้งหลาย พึงประพฤติเรียบร้อยในวัจจกุฏิ ฯ

 

จากข้อบัญญ้ติวัจจกุฎีวัตร แสดงให้เห็นถึงพระมหากรุณาธิคุณของพระผู้มีพระภาคเจ้า ที่มีต่อชาวโลกว่า มิได้ทรงรังเกียจ มิได้ทรงย่อท้อ ต่อการอบรมสั่งสอนชาวโลกให้บรรลุธรรม เฉกเช่นพระองค์เลย แม้ทรงกำเนิดในขัตติยะ ราชตระกูล พรั่งพร้อมด้วยเบญจกามคุณอันประณีตเป็นเลิศ ได้รับความสะดวกสบาย บำรุงบำเรอเหนือมนุษย์ทั้งหลาย แต่พระองค์กลับทรงทอด ทิ้งอย่างไม่อาลัยใยดี เพื่อแสวงหาหนทางพ้นทุกข์ที่แท้จริง และเมื่อทรงค้น พบแล้ว ก็ทรงจัดลำดับการฝึกให้ลุ่มลึกไปตามลำดับธรรมชาติผู้ฟ้ง โดยเริ่ม จากการฝึกความสะอาด มีระเบียบ ผ่านการบำเพ็ญวัตรให้ถูกต้อง ประณีต ปฏิบัติด้วยใจที่ผ่องใส สำรวม กาย วาจา ใจ จนได้เอกัคคตาจิต คือ จิตหยุด นิ่ง แน่วแน่อยู่ภายในตัว เป็นมรรคสมาธิ เพื่อการบรรลุธรรม

 

               พระมหากรุณาธิคุณของพระผู้มีพระภาคเจ้า ในการพาชาวโลกไปสู่ฝั่งพระนิพพาน เพื่อจะได้หมดทุกข์แท้จริง เข้าถึงเอกันตบรมสุขเฉกเช่นพระองค์ นั้น ประจักษ์ชัดจากการที่ทรงลดพระองค์ลงมา เคี่ยวเข็ญสอนพระลูกชาวบ้าน ผู้มีวรรณะตํ่าอย่างพระฉัพพัคคีย์ ซึ่งเกิดในครอบครัวที่ขาดการอบรม ที่ถูกต้อง ขาดต้นแบบความประพฤติที่ดีงาม ท่านจึงได้นิสัยมักง่าย สกปรก ไร้ระเบียบ ติดตัวมา ทำให้แม้เรื่องความสะอาด ความมีระเบียบขั้นพื้นฐาน ในชีวิตประจำวัน เกี่ยวกับสุขอนามัยของตน ได้แก่ การขับถ่าย การใช้ห้อง สุขา ก็ปฏิบ้ติไม่ถูกต้อง ทำความสกปรก เลอะเทอะ รุ่มร่าม ไร้ระเบียบ เป็น ที่รำคาญใจของพระผู้อยู่ร่วมด้วย นำมาซึ่งการกระทบกระทั่ง ทำให้ใจขุ่นมัว ตลอดเวลา

 

แต่แม้กระนั้นพระผู้มีพระภาคเจ้าและบรรดาภิกษุผู้มักน้อยรักสันโดษ คือ ผู้รักการฝึกตัวได้ฝึกตัวมาดีแล้ว ก็ไม่ทอดทิ้งกลุ่มพระฉัพพัคคีย์ หรือพระภิกษุชาติพราหมณ์รูปที่ไม่ล้างก้น หรือแม้แต่พระภิกษุและชาวโลกวรรณะ ใดๆก็ตาม ขอเพียงให้บุคคลเหล่านั้นมีธาตุแท้แห่งความรักดี และอดทน ยอมรับการฝึกตามพระธรรมวินัย พระพุทธองค์ก็ทรงทุ่มเทเคี่ยวเข็ญการฝึกให้ ดังที่ทรงสอนวิธีใช้ห้องสุขาที่ถูกต้องว่า ผู้หมดกิเลสใช้ห้องสุขาอย่างไร ดังในวัจจกุฎีวัตร ซึ่งวิธีใช้ห้องนั้าเช่นนั้น ย่อมเป็นแบบแผนความประพฤติที่ ละเอียดลออ ประณีต หากผู้ใดประพฤติตามย่อมมีใจผ่องใส ความประพฤติ ทางกาย วาจา ย่อมเปี่ยมด้วยความสำรวมระวัง มิให้อาสวะเข้าแทรกกำเริบ ซึ่งนับเป็นพระมหากรุณาธิคุณหาที่สุดมิได้

 

พวกเราเหล่าชาวพุทธ ผู้มุ่งไปสู่ที่สุดแห่งธรรม พึงน้อมนำพระมหากรุณาธิคุณนี้มาปฏิบ้ติตาม ว่าเรานั้นมีกรุณาจิตต่อตนเองและผู้อื่น ในการฝึกฝนตนเองให้เข้าถึงธรรม โดยปฏิบัตผ่านวัจจกุฎีวัตร คือ การใช้ห้องสุขาให้ถูกต้องตามพระธรรมวินัย เมื่อปฏิบัติได้แล้ว เราสมควรมีกรุณาจิต ต่อบุคคลในครอบครัว ต่อเพื่อนสหธรรมิก ต่อเพื่อนร่วมโลก ในการเชิญชวน แนะนำ ให้กำลังใจ บุคคลเหล่านั้นได้ประพฤติวัจจกุฎีวัตร คือ การใช้ห้องสุขา ให้ถูกต้องตามพระธรรมวินัยด้วยตนเองเช่นกัน

 

แม้แต่พระฉัพพัคคีย์ ซึ่งปรากฏในพระวินัยว่ามักเป็นพวกที่ประพฤติไม่ เหมาะสม ทำให้ต้องทรงบัญญัติสิกขาบทบ่อยๆ พระพุทธองค์ก็ไม่เคยทรงบังคับให้ท่านต้องลาสิกขา ทั้งนี้ก็ด้วยเหตุที่พระฉัพพัคคีย์ ท่านมีธาตุแท้ของความรักดี มีสัจจะ ไม่พูดเท็จ เป็นพื้นฐานของจิตใจ และพร้อมที่จะยอมรับการฝึกตน เมื่อพระพุทธองค์ทรงบัญญัติสิกขาบทข้อใด พระฉัพพัคคีย์ก็นัอมรับถือปฏิบัติ ด้วยความเคารพ แต่ด้วยนิสัยดั้งเดิม คือ ความมักง่าย สกปรก ไร้ระเบียบ ที่ติดตัวมาก่อนบวช ก็ไปกระทำความผิดในเรื่องอื่นใหม่ และเมื่อทำผิดพลั้งไปอีกแล้ว พระฉัพพัคคีย์ก็ยอมรับผิด กล้ารับผิด อย่างตรงไปตรงมา ไม่ตะแบง ไม่เฉไฉ ให้เสียเวลา

 

ตรงนี้เป็นข้อคิดให้พวกเราชาวพุทธว่า แม้พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงมีพระมหากรุณาธิคุณต่อชาวโลกมากมายเพียงใด แต่พระองค์ก็ทรงเลือกที่จะโปรด แต่เฉพาะ ๑) ผู้มีสัจจะประจำใจ ๒) ผู้มีความเคารพพร้อม ยอมรับและอดทนต่อการฝึกตนเองตามพระธรรมวินัย เท่านั้น

 

เรียบเรียงจากพระธรรมเทศนาหลวงพ่อทัตตชีโว

จากหนังสือ ล้างก้น ล้างใจ ไปนิพพาน ฉบับเเก้ไข

 ยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคล Total Execution Time: 0.0010629653930664 Mins