ขั้นตอนการบวช

วันที่ 12 กพ. พ.ศ.2563

ขั้นตอนการบวช

ขั้นตอนการบวช

      การบวชพระที่ใช้ในปัจจุบัน ซึ่งมีอยู่ ๒ แบบด้วยกัน คือ แบบอุกาสะ และแบบเอสาหัง โดยคำว่า "อุกาสะ" แปลว่า ขอโอกาส ส่วนคำว่า "เอสาหัง" แปลว่า ข้าพเจ้านั้น ในประเทศไทย การบวชพระแบบอุกาสะนั้น จะใช้กันในคณะสงฆ์ฝ่ายมหานิกาย ซึ่งเป็นแบบเดิมที่ใช้กันมาแต่โบราณกาล ส่วนการบวชพระแบบเอสาหัง จะใช้ในคณะสงฆ์ธรรมยุตินิกาย โดยการประยุกต์มาจากแบบอุกาสะ เพื่อย่อขั้นตอนให้สั้นขึ้น มีใช้มาตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ ๔ พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว โดยยึดรูปแบบมาจากพระสงฆ์ประเทศพม่า

การกำหนดฤกษ์ยาม
      ก่อนจะทำการบวชจะต้องหาฤกษ์ยามอันเป็นมงคลหรือหากำหนดการที่แน่นอนลงไป โดยพ่อแม่ต้องนำบุตรชายผู้ที่จะบวช ไปพบกับอุปัชฌาย์หรือท่านเจ้าอาวาส เพื่อให้ท่านตรวจวันเดือนปี เมื่อเห็นว่ามีอายุครบ ๒๐ ปีบริบูรณ์ จึงดูฤกษ์ยามกำหนดวันบวชให้ ในการไปหาอุปัชฌาย์นั้น ต้องนำดอกไม้ธูปเทียนเครื่องสักการะไปด้วย

การลาญาติผู้ใหญ่ หรือผู้ที่เคารพนับถือ
      เป็นเรื่องที่ผู้จะบวชพึงทำ วิธีปฏิบัติคือ ให้เตรียมกระทงดอกไม้มีกรวยครอบ พร้อมธูปเทียนแพวางลงบนพาน เมื่อไปถึงผู้ที่จะรับการลา ก็เข้าไปกราบแบบเบญจางคประดิษฐ์สามครั้ง เปิดกรวยกระทงดอกไม้แล้วยกขึ้นประคองต่อหน้าผู้รับการลาพร้อมกับกล่าวคำขอขมาว่า "กรรมใดที่ข้าพเจ้าได้เคยล่วงเกินต่อท่าน ด้วยกายก็ดี ด้วยวาจาก็ดี ด้วยใจก็ดี ทั้งต่อหน้า และลับหลัง ทั้งที่รู้และไม่รู้ เพื่อความบริสุทธิ์แห่งเพศพรหมจรรย์ ขอท่านโปรดอโหสิกรรมนั้นแก่ข้าพเจ้าด้วย เทอญ" ญาติผู้ใหญ่จะเอื้อมมือมาแตะพาน แล้วกล่าวว่า สาธุ ข้าพเจ้ายินดีอโหสิกรรมให้เธอทุกอย่าง และขอให้เธอจงอโหสิกรรมแก่ข้าพเจ้าด้วย ข้าพเจ้าขออนุโมทนาต่อท่านที่ได้บวชในพระพุทธศาสนา ทดแทนคุณบิดามารดา และจงเป็นศาสนทายาท สืบต่อพระพุทธศาสนาด้วยดีในเพศพรหมจรรย์ เทอญ" จบแล้ว นาค จึงเอาพานวางที่พื้น กราบเบญจางคประดิษฐ์อีกสามครั้ง แล้วนั่งพับเพียบ เมื่อสนทนาพอสมควรแก่เวลาแล้ว บอกลาท่าน ท่านจะมอบพานดอกไม้ เทียนแพคืนให้ เพื่อจะได้นำไปใช้ลาท่านผู้อื่นต่อไป

การปลงผม
      ถ้าในงานบวชนาคนั้นมีพิธีทำขวัญนาคด้วย ก็จะปลงผมก่อนวันบวชหนึ่งวัน แล้วนุ่งขาวห่มขาวเข้า พิธีทำขวัญนาค ถ้าไม่มีการทำขวัญนาคก็จะปลงผมในวันบวช โดยพ่อแม่หรือญาติผู้ใหญ่ หรือพระภิกษุที่คุ้นเคยเป็นผู้ขลิบปลายผมให้ก่อนเป็นพิธี ต่อจากนั้นก็ให้ผู้ที่โกนผมเป็นผู้โกนผม หนวด เครา คิ้ว ให้หมดจด อาบน้ำแล้ว นุ่งขาวห่มขาว เตรียมเข้าโบสถ์เพื่อทำพิธีบรรพชาอุปสมบท
      โกนผมนาค เริ่มโดยพ่อแม่และญาติผู้ใหญ่ หรือผู้ที่มาร่วมบุญงานบวชพระในครั้งนี้ ทำการขลิบผมให้นาคเป็นปฐมฤกษ์ จากนั้นพระสงฆ์จะทำการโกนผมให้นาค ตามประเพณีการบวชพระที่ปฏิบัติโดยทั่วกันนั้น ผมนาคที่โกนแล้วจะห่อด้วยใบบัวแล้วนาไปลอยที่แม่น้ำหรือวางไว้ใต้ร่มโพธิ์ โดยเชื่อว่าจะทำให้เกิดความร่มเย็นเป็นสุข ในการปลงผมนั้นจะปลงที่บ้านหรือที่วัดก็ได้แล้วแต่ความสะดวก แต่โดยทั่วไปนิยมปลงผมที่วัดมากกว่า เนื่องจากญาติหรือแขกผู้มีเกียรติที่มาร่วมงานจะได้มีโอกาสร่วมพิธีตัดผมนาค อีกทั้งยังเป็นการประหยัดเวลาของเจ้าภาพและแขกที่มาร่วมงานอีกด้วย เพราะเมื่อปลงผมเสร็จจะได้ทำพิธีเวียนประทักษิณรอบสีมา และเข้าอุโบสถประกอบพิธีอุปสมบทต่อไป


การแต่งกายของนาค
การแต่งกายของนาคนั้นควรแต่งด้วยชุดขาวทั้งหมด ซึ่งจะบ่งบอกถึงความสะอาดบริสุทธิ์ ทั้งกาย วาจา ใจ ของผู้ที่จะบวช การแต่งตัวนาค ไม่ควรมีเครื่องประดับประดามากจนเกินไป เครื่องแต่งตัวนาค ประกอบด้วย
      ๑. เสื้อเชิ้ตแขนยาวสีขาว
      ๒. สบงขาว
      ๓. อังสะขาว
      ๔. เข็มขัด หรือสายรัดสาหรับรัดสบง ในส่วนเข็มขัดนี้ ใช้สาหรับรัดสบงขาว ซึ่งส่วนใหญ่จะนิยมใช้เข็มขัดนาค ในกรณีที่ไม่มีเข็มขัดนาคจะใช้เข็มขัดอย่างอื่นหรือสายรัดแทนก็ได้ ไม่ใช่ข้อกำหนดตายตัว แต่การใช้เข็มขัดนาคเป็นการปฏิบัติตามประเพณีการบวชพระที่นิยม เพื่อให้สอดคล้องกับคำว่า "นาค" ซึ่งเป็นชื่อเรียกผู้ที่จะบวชในพระพุทธศาสนาเท่านั้น
      ๕. เสื้อคลุมนาค
      ๖. สร้อยคอ หากมีสร้อยคอจะสวมให้นาคก็ได้ หรือไม่สวมก็ได้ แต่ไม่ควรคล้องพวงมาลัยให้นาค เพราะจากนาคจะกลายเป็นนักร้องแทน


การทำขวัญนาค
      ตามประเพณีไทยนั้น เมื่อลูกชายบ้านไหนถึงเกณฑ์จะบวชพระแล้ว ผู้หลักผู้ใหญ่ก็จะจัดการให้ผู้บวชนำดอกไม้ธูปเทียนแพใส่พาน ไปบอกกล่าว วงศาคณาญาติที่นับถือ ที่เรียกกันว่า “ลาบวช” จากนั้นจึงมีการสมโภช หรือที่ เรียกว่า “ทำขวัญนาค” ก่อนบวช ๑ วัน แต่สมัยนี้มักทำขวัญนาคในช่วงเช้า แล้วทำพิธีบวชในตอนบ่ายเลยก็มี
      ในวันทำขวัญนาคนั้น “เจ้านาค” ซึ่งโกนหัว โกนคิ้ว โกนหนวด ตัดเล็บเรียบร้อยแล้วจึงนุ่งห่มด้วยเครื่องแต่งกายที่งดงามมีแก้วแหวนเงิน ทองต่าง ๆ อันเป็นสิ่งแสดงความฟุ้งเฟ้อในทางโลกมุ่งจับด้วยผ้ายกทอง ใส่เสื้อครุยปักทอง สไบเฉียงทางไหล่ซ้ายคาดเข็มขัดหัวเพชร ใส่แหวนทั้ง ๘ นิ้ว หรือแล้วแต่ จะมีใส่ จากนั้นไปนั่งหน้าบายศรี หมอทำขวัญนาคก็จะอ่านคำทำขวัญนาคขึ้น ตามทำนอง มีเนื้อความอธิบายถึงชีวิตมนุษย์ตั้งแต่เริ่มเป็นตัว และพ่อแม่ได้ บำรุงเลี้ยงมาด้วยความยากจนเติบใหญ่ ก็ด้วยความปรารถนาอันแรงกล้าที่จะได้เห็นลูกเป็นคนดี และบัดนี้ก็เป็นที่สมประสงค์ที่เจ้านาคจะอุปสมบทใน พระพุทธศาสนา จึงเป็นการสมควรยิ่งที่เจ้านาคจะพึงรักษาความดีอันเป็นมงคลนี้ ไว้แก่ตนต่อไป ชั่วอวสานแห่งชีวิต
      เมื่ออ่านบททำขวัญนาคจบแล้ว พราหมณ์ก็ตั้งต้นทำพิธีสมโภช ด้วยน้ำสังข์จุณเจิม และเวียนเทียนประโคมด้วยดุริยดนตรีตามคติ เป็นที่พรักพร้อมใน ระหว่างวงศาคณาญาติ และเพื่อนฝูงทั้งหลายแล้ววันรุ่งขึ้นจึงเข้าพิธีอุปสมบท มีการแห่เจ้านาคไปสู่วัดอย่างสนุกสนานครึกครื้น


การนำนาคเข้าโบสถ์
      ตามประเพณีนิยม มักปลงผมนาค และทำขวัญนาคที่บ้านของเจ้านาค วันรุ่งขึ้นจึงมีขบวนแห่ไปยังวัด แล้วแห่นาคไปยังโบสถ์ เวียนโบสถ์สามรอบแบบ ทักษิณาวรรต พร้อมด้วย เครื่องอัฏฐบริขาร ที่ใช้ในการบวช และของที่ถวายพระ จนครบแล้วจะให้นาคมา วันทาสีมา ส่วนเครื่องอัฏฐบริขาร และของถวายพระ จะนำไปตั้งในโบสถ์ก่อน
      การวันทาสีมา นาคจะจุดธูปเทียนที่เสมาหน้าโบสถ์ แล้วนั่งคุกเข่าประนมมือกล่าวคำวันทาสีมา แล้วกราบ ปักดอกไม้ธูปเทียน ณ ที่จัดไว้ เมื่อวันทาเสมาเสร็จแล้ว นำนาคมาที่หน้าโบสถ์ นาคจะโปรยทาน เสร็จแล้วจึงจูงนาคเข้าโบสถ์ โดยบิดาจูงมือข้างขวา มารดาจูงมือข้างซ้าย พวกญาติคอยจับชายผ้าตามส่งข้างหลัง นาคต้องก้าวข้ามธรณีประตูห้ามเหยียบเป็นอันขาด เมื่อพ้นประตูไปแล้วให้เดินตรงไปที่พระประธาน ไหว้พระประธานโดยใช้ดอกไม้ธูปเทียนอีกหนึ่งกำนำไปจุดธูปเทียนบูชาพระประธาน ใช้คำบูชาพระเหมือนคำวันทาเสมาข้างต้น แล้วกลับมานั่ง ณ ที่ซึ่งจัดไว้แถวผนังด้านหน้าของโบสถ์


พิธีบรรพชาอุปสมบท
      เมื่อถึงกำหนด พระสงฆ์ที่ได้รับอาราธนาในพิธีบวชมี
พระอุปัชฌาย์ พระคู่สวด และ พระอันดับ จะเข้าอุโบสถ นั่งตามแผนผังที่คณะสงฆ์กำหนด พิธีเริ่มโดยพ่อแม่ผู้ปกครอง หรือญาติผู้ใหญ่เข้ามานั่งข้างหน้านาค เพื่อจะมอบผ้าไตรให้นาคเข้าทำพิธีบวชต่อพระสงฆ์ต่อไป ซึ่งปฏิบัติเช่นเดียวกับวิธีซ้อมขานนาคที่กล่าวมาแล้ว เมื่อพระอุปัชฌาย์บอก อนุศาสน์เสร็จแล้ว เจ้าภาพ ญาติมิตรถวายของพระอันดับ พระใหม่ถวายพระอาจารย์คู่สวดอีกหนึ่งรูปที่ยังมิได้ถวาย ต่อจากนั้นพระอุปัชฌาย์จะบอกให้พระใหม่มานั่งรับประเคนของบริวารบวชที่ด้านหน้า พระใหม่จะออกมานั่งพับเพียบอยู่ท้ายอาสนสงฆ์ ทอดผ้ากราบไว้ข้างหน้า หากผู้ชายประเคนก็รับของด้วยมือ หากเป็นผู้หญิงก็จับผ้ากราบไว้ โยมผู้หญิงจะวางบนผ้ากราบ เมื่อรับของประเคนหมดแล้ว ให้กลับนั่งหันหน้ามาทางพระสงฆ์ เตรียมกรวดน้ำ

การกรวดน้ำ
      เมื่อเสร็จการรับประเคนแล้ว พระใหม่และพ่อแม่หรือผู้ปกครอง หรือเจ้าภาพในการบวชครั้งนี้ จะกรวดน้ำโดยใช้เต้ากรวดน้ำคนละที่ เมื่อพระอุปัชฌาย์ซึ่งเป็นประธานสงฆ์ในที่นั้น เริ่มบทอนุโมทนาว่า ยถา วารีวหา ปูร ....พระใหม่และญาติที่เป็นเจ้าภาพก็จะกรวดน้ำพร้อมกัน เมื่อขึ้นบท สพฺพีติโย.... ก็กรวดน้ำหมดเต้าพอดี นั่งพนมมือรับพรจากพระสงฆ์ เสร็จแล้วพระใหม่กราบเบญจางคประดิษฐ์ สามครั้ง เป็นอันเสร็จพิธีการบวช หลังจากนั้นพระพี่เลี้ยงจะนำพระใหม่ขึ้นจากโบสถ์ พระใหม่ควรสะพายบาตรด้วยไหล่ขวา มือซ้ายถือพัด ส่วนของอื่นให้ผู้อื่นถือไป พระพี่เลี้ยงจะนำออกทางประตูหน้า

สรุปหน้าที่สาคัญ สำหรับผู้ที่จะอุปสมบท
      ๑. ให้ท่องคำบวช หรือ คำขานนาค อันได้แก่ คำขอบรรพชาอุปสมบท คำสมาทานสิกขาบท คำขอนิสัย คำตอบคำถามของพระกรรมวาจา ฯลฯ ให้จำได้ขึ้นใจ
      ๒. เมื่อใกล้ถึงวันบวช จะต้องไปอยู่วัด เพื่อฝึกซ้อมขั้นตอนพิธีการบรรพชาอุปสมบท จากพระพี่เลี้ยง และดูจากเจ้านาคคนอื่นๆ ที่อุปสมบทก่อนเรา
      ๓. ไปขอ “ฉายา” (ชื่อใหม่ของตน เมื่อบวชเป็นพระแล้ว) จากอุปัชฌาย์หรือเจ้าอาวาส เพื่อใช้ตอบคำถามของพระกรรมวาจาต่อหน้าที่ประชุมสงฆ์ในเวลาทำพิธีบวช
      ๔. ท่องบทสวดมนต์พระปริตรต่างๆ พร้อมบทให้ศีลให้พร บทอนุโมทนา ฯลฯ หลังจากที่บวชเป็นสามเณรหรือภิกษุแล้ว

ขั้นตอนและบทที่ต้องท่องจำ 
- ใช้ในพิธีบวชแบบมหานิกาย
(อุกาสะ)
รับผ้าไตรอุ้มประนมมือแล้วเดินเข้าไปในที่ประชุมสงฆ์ในพิธี (สังฆนิบาต) แล้ววางผ้าไตรไว้ข้างตัวด้านซ้าย รับเครื่องสักการะถวายพระอุปัชฌาย์ กราบด้วยเบญจางคประดิษฐ์ ๓ ครั้ง แล้วอุ้มผ้าไตรประนมมือยืนขึ้นเปล่งวาจาขอบรรพชาว่า 
อุกาสะ วันทามิ ภันเต 
สัพพัง อะปะราธัง ขะมะถะ เม ภันเต 
มะยา กะตัง ปุญญัง สามินา อะนุโมทิตัพพัง 
สามินา กะตัง ปุญญัง มัยหัง 
ทาตัพพัง สาธุ สาธุ อะนุโมทามิ 
อุกาสะ การุญญัง กัตตะวา ปัพพัชชัง เทถะ เม ภันเต 

(นั่งคุกเข่าลง แล้วประนมมือว่า) 

อะหัง ภันเต ปัพพัชชัง ยาจามิ 
ทุติยัมปิ อะหัง ภันเต ปัพพัชชัง ยาจามิ 
ตะติยัมปิ อะหัง ภันเต ปัพพัชชัง ยาจามิ 

(กล่าว ๓ ครั้งว่า) 

สัพพะทุกขะ นิสสะระณะนิพพานะ สัจฉิกะระณัตถายะ 
อิมัง กาสาวัง คะเหตะวา ปัพพาเชถะ มัง ภันเต 
อะนุกัมปัง อุปาทายะ
(เสร็จแล้วพระอุปัชฌาจะมารับผ้าไตร แล้วว่าต่อไป) (กล่าว ๓ ครั้งว่า) 
สัพพะทุกขะ นิสสะระณะนิพพานะ สัจฉิกะระณัตถายะ 
เอตัง กาสาวัง ทัตตะวา ปัพพาเชถะ มัง ภันเต 
อะนุกัมปัง อุปาทายะ 

พระอุปัชฌาย์ให้โอวาทและบอก ตะจะปัญจะกะ กัมมัฏฐาน แล้วให้ว่าตามไปทีละบท โดยอนุโลม (ไปข้างหน้า) และปฏิโลม (ทวนกลับ) ดังนี้ 
เกสา โลมา นะขา ทันตา ตะโจ (อนุโลม) 
ตะโจ ทันตา นะขา โลมา เกสา (ปฏิโลม)

      พระอุปัชฌาย์ ชักอังสะออกจากไตรมาสวมให้ผู้บวช แล้วสั่งให้ออกไปครองผ้าครบไตรจีวรตามระเบียบ ครั้นเสร็จแล้วรับเครื่องไทยทานเข้าไปหาพระอาจารย์ ถวายท่านแล้วกราบ ๓ ครั้ง ยืนประนมมือเปล่งวาจาขอสรณะและศีลดังนี้ 
อุกาสะ วันทามิ ภันเต 
สัพพัง อะปะราธัง ขะมะถะ เม ภันเต
มะยา กะตัง ปุญญัง สามินา อะนุโมทิตัพพัง 
สามินา กะตัง ปุญญัง มัยหัง ทาตัพพัง 
สาธุ สาธุ อะนุโมทามิ 
อุกาสะ การุญญัง กัตตะวา 
ติสะระเณนะ สะหะ 
สีลานิ เทถะ เม ภันเต 
(นั่งคุกเข่าขอสรณะและศีลดังต่อไปนี้) 
อะหัง ภันเต สะระณะสีลัง ยาจามิ 
ทุติยัมปิ อะหัง ภันเต สะระณะสีลัง ยาจามิ 
ตะติยัมปิ อะหัง ภันเต สะระณะสีลัง ยาจามิ 

(พระอาจารย์กล่าวคำนมัสการให้ผู้บรรพชาว่าตามดังนี้) 
นะโม ตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมาสัมพุทธัสสะ (๓ จบ) 
พระอุปัชฌาย์จะกล่าวว่า
เอวัง วะเทหิ หรือ ยะมะหัง วะทามิ ตัง วะเทหิ 
ให้รับว่า อามะ ภันเต แล้วท่านจะว่านำสรณคมน์ก็ให้ว่าตามดังนี้ 
พุทธัง สะระณัง คัจฉามิ 
ธัมมัง สะระณัง คัจฉามิ 
สังฆัง สะระณัง คัจฉามิ 
ทุติยัมปิ พุทธัง สะระณัง คัจฉามิ 
ทุติยัมปิ ธัมมัง สะระณัง คัจฉามิ 
ทุติยัมปิ สังฆัง สะระณัง คัจฉามิ 
ตะติยัมปิ พุทธัง สะระณัง คัจฉามิ 
ตะติยัมปิ ธัมมัง สะระณัง คัจฉามิ 
ตะติยัมปิ สังฆัง สะระณัง คัจฉามิ

      พอจบแล้วทางพระอุปัชฌาย์จะบอกว่า ติสะระณะคะมะนัง นิฏฐิตัง ก็ให้รับว่า อามะ ภันเต ต่อจากนั้นก็สมาทานสิกขาบท ๑๐ ประการโดยว่าตามท่านไปเรื่อยๆ ดังนี้ 
ปาณาติปาตา เวรมณี สิกขาปะทัง สมาทิยามิ 
อทินนาทานา เวรมณี สิกขาปะทัง สมาทิยามิ
      อะพรหมจริยา เวรมณี สิกขาปะทัง สมาทิยามิ 
      มุสาวาทา เวรมณี สิกขาปะทัง สมาทิยามิ 
      สุราเมรยะมัชชะปมาทัฏฐานา เวรมณี สิกขาปะทัง สมาทิยามิ 
      วิกาละโภชนา เวรมณี สิกขาปะทัง สมาทิยามิ 
      นัจจะคีตะวาทิตะวิสูกะทัสสนา เวรมณี สิกขาปะทัง สมาทิยามิ 
      มาลาคันธะวิเลปะนะธารณะมัณฑนะวิภูสะนัฏฐานา เวรมณี สิกขาปะทัง สมาทิยามิ 
      อุจจาสะยะนะมะหาสะยะนา เวรมณี สิกขาปะทัง สมาทิยามิ 
      ชาตะรูปะ ระชะตะ ปฏิคคหณา เวรมณี สิกขาปะทัง สมาทิยามิ 

      (พระจะกล่าว ๓ ครั้งว่า) 

     
อิมานิ ทะสะ สิกขาปะทานิ สมาทิยามิ (เสร็จแล้วพึงกราบลง ๑ หน แล้วยืนขึ้นว่าดังนี้) 
     
วันทามิ ภันเต สัพพัง อะปะราธัง ขะมะถะ เม ภันเต 
      มะยา กะตัง ปุญญัง สามินา อะนุโมทิตัพพัง 
      สามินา กะตัง ปุญญัง มัยหัง ทาตัพพัง 
      สาธุ สาธุ อะนุโมทามิ
(คุกเข่าลงกราบ ๓ ครั้ง) 

      ต่อจากนั้นให้รับบาตรอุ้มเข้าไปหาพระอุปัชฌาย์ในสังฆสันนิบาต 
วางไว้ข้างตัวด้านซ้าย 
      รับเครื่องไทยทานถวายท่านแล้วกราบ ๓ ครั้ง เสร็จแล้วยืนขึ้นประนมมือกล่าวดังนี้ 
     
อุกาสะ วันทามิ ภันเต สัพพัง อะปะราธัง ขะมะถะ เม ภันเต 
      มะยา กะตัง ปุญญัง สามินา อะนุโมทิตัพพัง 
      สามินา กะตัง ปุญญัง มัยหัง ทาตัพพัง 
      สาธุ สาธุ อะนุโมทามิ 
      อุกาสะ การุญญัง กัตตะวา นิสสะยัง เทถะ เม ภันเต 

      (นั่งคุกเข่า) 

     
อะหัง ภันเต นิสสะยัง ยาจามิ 
      ทุติยัมปิ อะหัง ภันเต นิสสะยัง ยาจามิ 
      ตะติยัมปิ อะหัง ภันเต นิสสะยัง ยาจามิ 

      (กล่าว ๓ ครั้งว่า) 

     
อุปัชฌาโย เม ภันเต โหหิ 
      พระอุปัชฌาย์จะกล่าวรับว่า โอปายิกัง ปะฏิรูปัง ปาสาทิเกนะ สัมปะเทหิ ผู้บวชพึงรับว่า 
      อุกาสะ สัมปะฏิจฉามิ
๓ ครั้งแล้วว่าดังนี้ 
      (กล่าว ๓ ครั้งว่า)

      อัชชะตัคเคทานิ เถโร มัยหัง ภาโร อะหัมปิ เถรัสสะ ภาโร (เสร็จแล้วยืนขึ้นว่าดังนี้) 
     
วันทามิ ภันเต สัพพัง อะปะราธัง ขะมะถะ เม ภันเต 
      มะยา กะตัง ปุญญัง สามินา อะนุโมทิตัพพัง 
      สามินา กะตัง ปุญญัง มัยหัง ทาตัพพัง 
      สาธุ สาธุ อะนุโมทามิ
(คุกเข่าลงกราบ ๓ ครั้ง)
      ลำดับต่อไปพระอุปัชฌาย์หรือพระอาจารย์จะเอาบาตรมีสายโยคคล้องตัวผู้ขอบวช แล้วบอกบาตรและจีวร ผู้บวชก็รับเป็นทอด ๆ ไปดังนี้

      อะยันเต ปัตโต                    (รับว่า) อามะ ภันเต
      อะยัง สังฆาฏิ                     
 (รับว่า) อามะ ภันเต
      อะยัง อุตตะราสังโค            
(รับว่า) อามะ ภันเต
      อะยัง อันตะระวาสะโก        
 (รับว่า) อามะ ภันเต

      จากนั้นพระอาจารย์ท่านจะบอกให้ออกไปข้างนอกว่า คัจฉะ อะมุมหิ โอกาเส ติฏฐาหิ ผู้บวชก็ถอยออกไปยืนอยู่ในที่ที่กำหนดไว้ (ส่วนใหญ่จะเป็นบริเวณทางเข้าโบสถ์) ต่อจากนี้พระอาจารย์จะสวดถามอันตรายิกธรรม ให้รับ นัตถิ ภันเต ๕ ครั้ง และต่อด้วย อามะ ภันเต อีก ๘ ครั้งดังต่อไปนี้


      พระจะถามว่า            ผู้บวชกล่าวรับว่า
     
กุฏฐัง                        นัตถิ ภันเต
      คัณโฑ                      นัตถิ ภันเต
      กิลาโส                      นัตถิ ภันเต
      โสโส                        นัตถิ ภันเต
      อะปะมาโร                 นัตถิ ภันเต
      มะนุสโสสิ๊                  อามะ ภันเต
      ปุริโสสิ๊                     อามะ ภันเต
      ภุชิสโสสิ๊                   อามะ ภันเต
      อะนะโณสิ๊                 อามะ ภันเต
      นะสิ๊ ราชะภะโฏ          อามะ ภันเต

      อะนุญญาโตสิ๊ มาตาปิตูหิ                         อามะ ภันเต
      ปะริปุณณะวีสะติวัสโสสิ๊                           อามะ ภันเต
      ปะริปุณณันเต ปัตตะจีวะรัง อามะ ภันเต       อามะ ภันเต
      กินนาโมสิ                                           อะหัง ภันเต ...
*(ชื่อพระใหม่) นามะ 
      โก นามะ เต อุปัชฌาโย                           อุปัชฌาโย เม ภันเต อายัสสะมา...

      *หมายเหตุ ผู้บวชจะต้องทราบชื่อทางพระที่พระตั้งให้ใหม่ก่อนวันบวชและต้องจาชื่อพระอุปัชฌาย์ให้ได้ด้วย 
      เสร็จแล้วกลับเข้ามาข้างในที่ประชุมสงฆ์ กราบลงตรงหน้าพระอุปัชฌาย์ ๓ ครั้ง นั่งคุกเข่า
      ประนมมือเปล่งวาจาขออุปสมบทดังนี้ 
     
สังฆัมภันเต อุปะสัมปะทัง ยาจามิ 
      อุลลุมปะตุ มัง ภันเต สังโฆ อะนุกัมปัง อุปาทายะ 
      ทุติยัมปิ ภันเต สังฆัง อุปะสัมปะทัง ยาจามิ 
      อุลลุมปะตุ มัง ภันเต สังโฆ อะนุกัมปัง อุปาทายะ 
      ตะติยัมปิ ภันเต สังฆัง อุปะสัมปะทัง ยาจามิ 
      อุลลุมปะตุ มัง ภันเต สังโฆ อะนุกัมปัง อุปาทายะ 

      ต่อมาพระอาจารย์สวดสมมติตนถามอันตรายิกธรรม ผู้บวชก็รับว่า นัตถิ ภันเต ๕ ครั้ง และ อามะ ภันเต ๘ ครั้ง บอกชื่อพระใหม่ของตัวเอง และชื่อพระอุปัชฌาย์แบบที่ผ่านมาอย่างละหนึ่งครั้ง เสร็จแล้วก็นั่งฟังพระสวดกรรมวาจาอุปสมบทไปจนจบ พอจบแล้วท่านก็จะเอาบาตรออกจากตัว ให้กราบลง ๓ ครั้ง นั่งพับเพียบฟังพระอุปัชฌาย์บอกอนุศาสน์ไปจนจบ แล้วก็กล่าวรับว่า อามะ ภันเต เสร็จพิธีก็กราบพระอุปัชฌาย์ ๓ ครั้ง ถ้ามีเครื่องไทยทานก็ให้รับไทยทานถวายพระอันดับ เวลากรวดน้าก็ให้ตั้งใจราลึกถึงผู้มีพระคุณอุทิศส่วนกุศลแด่ท่าน ขั้นตอนต่อไปก็นั่งฟังพระท่านอนุโมทนาต่อไปจนจบเป็นอันเสร็จพิธี

ขั้นตอนและบทที่ต้องท่องจำ
      - ใช้ในพิธีบวชแบบธรรมยุต (เอสาหัง)
รับผ้าไตรอุ้มประนมมือแล้วเดินเข้าไปในที่ประชุมสงฆ์ในพิธี (สังฆนิบาต) แล้ววางผ้าไตรไว้ข้างตัวด้านซ้าย รับเครื่องสักการะถวายพระอุปัชฌาย์ กราบด้วยเบญจางคประดิษฐ์ ๓ ครั้ง แล้วอุ้มผ้าไตรประนมมือยืนขึ้นเปล่งวาจาขอบรรพชาว่า 
     
เอสาหัง ภันเต สุจิระปะรินิพพุตัมปิ 
      ตัง ภะคะวันตัง สะระณัง คัจฉามิ 
      ธัมมัญจะ ภิกขุสังฆัญจะ 
      ละเภยยาหัง ภันเต 
      ตัสสะ ภะคะวะโต ธัมมะวินะเย ปัพพัชชัง 
      ละเภยยัง อุปะสัมปะทัง 
      ทุติยัมปาหัง ภันเต สุจิระปะรินิพพุตัมปิ
      ตัง ภะคะวันตัง สะระณัง คัจฉามิ 
      ธัมมัญจะ ภิกขุสังฆัญจะ 
      ละเภยยาหัง ภันเต 
      ตัสสะ ภะคะวะโต ธัมมะวินะเย ปัพพัชชัง 
      ละเภยยัง อุปะสัมปะทัง 
      ตะติยัมปาหัง ภันเต สุจิระปะรินิพพุตัมปิ 
      ตัง ภะคะวันตัง สะระณัง คัจฉามิ 
      ธัมมัญจะ ภิกขุสังฆัญจะ 
      ละเภยยาหัง ภันเต 
      ตัสสะ ภะคะวะโต ธัมมะวินะเย ปัพพัชชัง 
      *ละเภยยัง อุปะสัมปะทัง 
      อะหัง ภันเต ปัพพัชชัง ยาจามิ อิมานิ กาสายานิ วัตถานิ คะเหตะวา
      ปัพพาเชถะ มัง ภันเต อะนุกัมปัง อุปาทายะ 
      ทุติยัมปิ อะหัง ภันเต ปัพพัชชัง ยาจามิ อิมานิ กาสายานิ วัตถานิ คะเหตะวา 
      ปัพพาเชถะ มัง ภันเต อะนุกัมปัง อุปาทายะ 
      ตะติยัมปิ อะหัง ภันเต ปัพพัชชัง ยาจามิ อิมานิ กาสายานิ วัตถานิ คะเหตะวา 
      ปัพพาเชถะ มัง ภันเต อะนุกัมปัง อุปาทายะ 

*หมายเหตุ ถ้าบวชเป็นสามเณรให้ละคำว่า ละเภยยัง อุปะสัมปะทัง ออก
พระอุปัชฌาย์รับเอาผ้าไตรจากผู้บวชวางไว้ตรงหน้าตัก ให้โอวาทและบอก ตะจะปัญจะกะ กัมมัฏฐาน แล้วให้ว่าตามไปทีละบท โดยอนุโลม (ไปข้างหน้า) และปฏิโลม (ทวนกลับ) ดังนี้ 
     
เกสา โลมา นะขา ทันตา ตะโจ (อนุโลม) 
     
ตะโจ ทันตา นะขา โลมา เกสา (ปฏิโลม) 
พระอุปัชฌาย์ชักอังสะออกจากไตรมาสวมให้ผู้บวช แล้วสั่งให้ออกไปครองผ้าครบไตรจีวรตามระเบียบ ครั้นเสร็จแล้วเข้าไปหาพระอาจารย์ รับเครื่องสักการะถวายท่านแล้วกราบ ๓ ครั้ง นั่งคุกเข่าเปล่งวาจาขอสรณะและศีลดังนี้ 
 
    อะหัง ภันเต สะระณะสีลัง ยาจามิ 
      ทุติยัมปิ อะหัง ภันเต สะระณะสีลัง ยาจามิ 
      ตะติยัมปิ อะหัง ภันเต สะระณะสีลัง ยาจามิ 

      (พระอาจารย์กล่าวคานมัสการให้ผู้บรรพชาว่าตามดังนี้) 
     
นะโม ตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมาสัมพุทธัสสะ (๓ จบ) 
      พระอุปัชฌาย์จะกล่าวว่า
เอวัง วะเทหิ หรือ ยะมะหัง วะทามิ ตัง วะเทหิ       ให้รับว่า อามะ ภันเต แล้วท่านจะว่านาสรณคมน์ก็ให้ว่าตามดังนี้ 
     
พุทธัง สะระณัง คัจฉามิ 
      ธัมมัง สะระณัง คัจฉามิ 
      สังฆัง สะระณัง คัจฉามิ 
      ทุติยัมปิ พุทธัง สะระณัง คัจฉามิ
      ทุติยัมปิ ธัมมัง สะระณัง คัจฉามิ 
      ทุติยัมปิ สังฆัง สะระณัง คัจฉามิ 
      ตะติยัมปิ พุทธัง สะระณัง คัจฉามิ 
      ตะติยัมปิ ธัมมัง สะระณัง คัจฉามิ 
      ตะติยัมปิ สังฆัง สะระณัง คัจฉามิ 

      พอจบแล้วทางพระอุปัชฌาย์จะบอกว่า ติสะระณะคะมะนัง นิฏฐิตัง ก็ให้รับว่า อามะ ภันเต ต่อจากนั้นก็สมาทานสิกขาบท ๑๐ ประการโดยว่าตามท่านไปเรื่อยๆ ดังนี้ 
     
ปาณาติปาตา เวรมณี 
      อทินนาทานา เวรมณี 
      อะพรหมจริยา เวรมณี 
      มุสาวาทา เวรมณี 
      สุราเมรยะมัชชะปมาทัฏฐานา เวรมณี 
      วิกาละโภชนา เวรมณี 
      นัจจะคีตะวาทิตะวิสูกะทัสสนา เวรมณี 
      มาลาคันธะวิเลปะนะธารณะมัณฑนะวิภูสะนัฏฐานา เวรมณี 
      อุจจาสะยะนะมะหาสะยะนา เวรมณี 
      ชาตะรูปะ ระชะตะ ปฏิคคหณา เวรมณี 

      (และกล่าว ๓ ครั้งว่า) 

      อิมานิ ทะสะ สิกขาปะทานิ สมาทิยามิ (เสร็จแล้วรับบาตรอุ้มเข้าไปหาพระอุปัชฌาย์ในที่ประชุมสงฆ์ วางไว้ข้างตัวด้านซ้าย รับเครื่องสักการะถวายท่านแล้วกราบ ๓ ครั้ง นั่งคุกเข่าประนมมือกล่าวดังนี้) 
     
อะหัง ภันเต นิสสะยัง ยาจามิ 
      ทุติยัมปิ อะหัง ภันเต นิสสะยัง ยาจามิ 
      ตะติยัมปิ อะหัง ภันเต นิสสะยัง ยาจามิ 
      อุปัชฌาโย เม ภันเต โหหิ
(ตรงนี้ว่า ๓ ครั้ง) 

      พระอุปัชฌาย์จะกล่าวว่า โอปายิกัง ปะฏิรูปัง ปาสาทิเกนะ สัมปาเทหิ ให้รับว่า สาธุ ภันเต ทุกครั้งไป 
     
อัชชะตัคเคทานิ เถโร มัยหัง ภาโร อะหัมปิ เถรัสสะ ภาโร (กล่าวตรงนี้ ๓ ครั้ง เสร็จแล้วกราบลง ๓ ครั้ง) 
      พระอาจาย์จะเอาสายคล้องตัวผู้บวช บอกบาตรและจีวรก็ให้ผู้บวชรับว่า
อามะ ภันเต ๔ ครั้งดังนี้ 
     
อะยันเต ปัตโต              (รับว่า) อามะ ภันเต 
      อะยัง สังฆาฏิ
                (รับว่า) อามะ ภันเต 
      อะยัง อุตตะราสังโค       
(รับว่า) อามะ ภันเต 
      อะยัง อันตะระวาสะโก    
(รับว่า) อามะ ภันเต 
      จากนั้นพระอาจารย์ท่านจะบอกให้ออกไปข้างนอกว่า คัจฉะ อะมุมหิ โอกาเส ติฏฐาหิ ผู้บวชก็ถอยออกไปยืนอยู่ในที่ที่กาหนดไว้ (ส่วนใหญ่จะเป็นบริเวณทางเข้าโบสถ์) ต่อจากนี้
      พระอาจารย์จะสวดถามอันตรายิกธรรม ให้รับ
นัตถิ ภันเต ๕ ครั้ง และต่อด้วย อามะ ภันเต อีก ๘ ครั้งดังต่อไปนี้
พระจะถามว่า                  ผู้บวชกล่าวรับว่า

กุฏฐัง                                 นัตถิ ภันเต
คัณโฑ นัตถิ ภันเต               นัตถิ ภันเต
กิลาโส นัตถิ ภันเต               นัตถิ ภันเต
โสโส นัตถิ ภันเต                 นัตถิ ภันเต
อะปะมาโร                           นัตถิ ภันเต
มะนุสโสสิ๊                            อามะ ภันเต
ปุริโสสิ๊                                 อามะ ภันเต
ภุชิสโสสิ๊                              อามะ ภันเต
อะนะโณสิ๊                            อามะ ภันเต
นะสิ๊ ราชะภะโฏ                     อามะ ภันเต
อะนุญญาโตสิ๊ มาตาปิตูหิ       อามะ ภันเต
ปะริปุณณะวีสะติวัสโสสิ๊          อามะ ภันเต
ปะริปุณณันเต ปัตตะจีวะรัง อามะ ภันเต      อามะ ภันเต 
กินนาโมสิ                             อะหัง ภันเต
...*(ชื่อพระใหม่) นามะ 
โก นามะ เต อุปัชฌาโย          อุปัชฌาโย เม ภันเต อายัสสะมา...


*(ชื่อพระอุปัชฌาย์) นามะ 
*หมายเหตุ ผู้บวชจะต้องทราบชื่อทางพระที่พระตั้งให้ใหม่ก่อนวันบวชและต้องจำชื่อพระอุปัชฌาย์ให้ได้ด้วย 
เสร็จแล้วกลับเข้ามาข้างในที่ประชุมสงฆ์ กราบลงตรงหน้าพระอุปัชฌาย์ ๓ ครั้ง นั่งคุกเข่าประนมมือ
เปล่งวาจาขออุปสมบทดังนี้ 

สังฆัมภันเต อุปะสัมปะทัง ยาจามิ 
อุลลุมปะตุ มัง ภันเต สังโฆ อะนุกัมปัง อุปาทายะ 
ทุติยัมปิ ภันเต สังฆัง อุปะสัมปะทัง ยาจามิ 
อุลลุมปะตุ มัง ภันเต สังโฆ อะนุกัมปัง อุปาทายะ 
ตะติยัมปิ ภันเต สังฆัง อุปะสัมปะทัง ยาจามิ 
อุลลุมปะตุ มัง ภันเต สังโฆ อะนุกัมปัง อุปาทายะ 

ถ้ากล่าวพร้อมกันให้เปลี่ยนคาว่า ยาจามิ เป็น ยาจามะ และเปลี่ยน มัง เป็น โน 
ต่อมาพระอาจารย์สวดสมมติตนถามอันตรายิกธรรม ผู้บวชก็รับว่า นัตถิ ภันเต ๕ ครั้ง และ อามะ ภันเต ๘ ครั้ง บอกชื่อพระใหม่ของตัวเอง และชื่อพระอุปัชฌาย์แบบที่ผ่านมาอย่างละหนึ่งครั้ง เสร็จแล้วก็นั่งฟังพระสวด  กรรมวาจาอุปสมบทไปจนจบ พอจบแล้วท่านก็จะเอาบาตรออกจากตัว ให้กราบลง ๓ ครั้ง 
นั่งพับเพียบฟังพระอุปัชฌาย์บอกอนุศาสน์ไปจนจบ แล้วก็กล่าวรับว่า อามะ ภันเต เสร็จพิธีก็กราบ ๓ ครั้ง ถ้ามีเครื่องไทยทานก็ให้รับไทยทานถวายพระอันดับ เวลากรวดน้ำก็ให้ตั้งใจรำลึกถึงผู้มีพระคุณอุทิศส่วนกุศลแด่ท่าน ขั้นตอนต่อไปก็นั่งฟังพระท่านอนุโมทนาต่อไปจนจบเป็นอันเสร็จพิธี

 

 ยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคล Total Execution Time: 0.015280866622925 Mins