องค์ประกอบของโลกและชีวิต

วันที่ 06 มีค. พ.ศ.2563


องค์ประกอบของโลกและชีวิต


            เมื่อเราได้เห็นภาพรวมของโลก รวมทั้งทราบถึงการกำเนิดแบบต่าง ๆ ของชีวิตบนโลก
แล้ว ต่อไปก็ควรได้ศึกษาถึงองค์ประกอบของโลกและชีวิต ว่าประกอบขึ้นมาจากอะไร เหมือน
หรือแตกต่างกันหรือไม่


             ในทางพระพุทธศาสนา ได้มีการบันทึก เรื่ององค์ประกอบของโลกและชีวิตไว้ โดย
กล่าวถึงเรื่อง “ธาตุ” ซึ่งโดยความหมายแล้ว หมายถึง สิ่งที่เป็นต้นเดิมหรือมูลเดิมพระสัมมาสัม
พุทธเจ้าได้ตรัสเรื่องนี้เอาไว้ใน “ธาตุวิภังค์” มีเนื้อความดังนี้


ธาตุวิภังค์1


ธาตุ ๖ คือ

๑) ปฐวีธาตุ          (ธาตุดิน)
๒) อาโปธาตุ         (ธาตุน้ำ)
๓) เตโชธาตุ          (ธาตุไฟ)
๔) วาโยธาตุ          (ธาตุลม)
๕) อากาสธาตุ         (ธาตุคือที่ว่าง)
๖) วิญญาณธาตุ         (ธาตุคือวิญญาณ)


บรรดาธาตุ ๖ นั้น ...


ปฐวีธาตุ เป็นไฉน


ปฐวีธาตุมี ๒ อย่าง คือ ปฐวีธาตุที่เป็นภายในก็มี ที่เป็นภายนอกก็มี


ในปฐวีธาตุ ๒ อย่างนั้น ปฐวีธาตุที่เป็นภายใน เป็นไฉน


              ธรรมชาติที่แข็ง ธรรมชาติที่กระด้าง ความแข็ง ภาวะที่แข็ง เป็นภายในตน มีเฉพาะตน ที่
กรรมอันประกอบด้วยตัณหาและทิฏฐิยึดถือ  ซึ่งเป็นภายในตน เช่น ผม ขน เล็บ ฟัน หนัง เนื้อ
เอ็น กระดูก เยื่อในกระดูก ไต หัวใจ ตับ พังผืด ม้าม ปอด ไส้ใหญ่ ไส้น้อย อาหารใหม่ อาหารเก่า
หรือธรรมชาติที่แข็ง ธรรมชาติที่กระด้าง ความแข็ง ภาวะที่แข็ง เป็นภายในตน มีเฉพาะตน ที่
กรรมอันประกอบด้วยตัณหาและทิฏฐิยึดถือ ซึ่งเป็นภายในตน แม้อื่นใดมีอยู่ นี้เรียกว่า ปฐวีธาตุที่
เป็นภายใน


ปฐวีธาตุที่เป็นภายนอก เป็นไฉน


               ธรรมชาติที่แข็ง ธรรมชาติที่กระด้าง ความแข็ง ภาวะที่แข็ง เป็นภายนอกตน ที่กรรมอัน
ประกอบด้วยตัณหาและทิฏฐิ ไม่ยึดถือ ซึ่งเป็นภายนอกตน เช่น เหล็ก โลหะ ดีบุกขาว ดีบุกดำ เงิน
แก้วมุกดา แก้วมณี แก้วไพฑูรย์ สังข์ ศิลา แก้ว ประพาฬ เงินตรา ทอง แก้วมณีแดง แก้วมณีลาย
หญ้า ท่อนไม้ ก้อนกรวด กระเบื้อง แผ่นดิน แผ่นหิน ภูเขา หรือธรรมชาติที่แข็ง ธรรมชาติที่
กระด้าง ความแข็ง ภาวะที่แข็ง เป็นภายนอกตน ที่กรรมอันประกอบด้วยตัณหาและทิฏฐิไม่ยึดถือ
ซึ่งเป็นภายนอกตน แม้อื่นใดมีอยู่ นี้เรียกว่า ปฐวีธาตุที่เป็นภายนอก


             ประมวลย่อปฐวีธาตุที่เป็นภายในและปฐวีธาตุที่เป็นภายนอกเข้าเป็นหมวดเดียวกัน
เรียกว่า ปฐวีธาตุ (๑)


อาโปธาตุ เป็นไฉน


         อาโปธาตุมี ๒ อย่าง คือ อาโปธาตุที่เป็นภายในก็มี ที่เป็นภายนอกก็มี


ในอาโปธาตุ ๒ อย่างนั้น อาโปธาตุที่เป็นภายใน เป็นไฉน


          ความเอิบอาบ ธรรมชาติที่เอิบอาบ ความเหนียว ธรรมชาติที่เหนียว ธรรมชาติเป็นเครื่อง
เกาะกุมรูป เป็นภายในตน มีเฉพาะตน ที่กรรมอันประกอบด้วยตัณหาและทิฏฐิยึดถือ ซึ่งเป็น
ภายในตน เช่น ดี เสลด หนอง เลือด เหงื่อ มันข้น น้ำตา เปลวมัน น้ำลาย น้ำมูก ไขข้อ มูตร หรือ
ความเอิบอาบ ธรรมชาติที่เอิบอาบ ความเหนียว ธรรมชาติที่เหนียว ธรรมชาติเป็นเครื่องเกาะกุม
รูป เป็นภายในตน มีเฉพาะตน ที่กรรมอันประกอบด้วยตัณหาและทิฎฐิยึดถือ ซึ่งเป็นภายในตน
แม้อื่นใดมีอยู่ นี้เรียกว่า อาโปธาตุที่เป็นภายใน

อาโปธาตุที่เป็นภายนอก เป็นไฉน

            ความเอิบอาบ ธรรมชาติที่เอิบอาบ ความเหนียว ธรรมชาติที่เหนียว ธรรมชาติเป็นเครื่อง
เกาะกุมรูป เป็นภายนอกตน ที่กรรมอันประกอบด้วยตัณหาและทิฏฐิไม่ยึดถือ ซึ่งเป็นภายนอกตน
เช่น น้ำรากไม้ น้ำลำต้น น้ำเปลือกไม้ น้ำใบไม้ น้ำดอกไม้ น้ำผลไม้ นมสด นมส้ม เนยใส เนยข้น
น้ำมัน น้ำผึ้ง น้ำอ้อย น้ำในพื้นดิน น้ำในอากาศ หรือความเอิบอาบ ธรรมชาติที่ซึมซาบ ความ
เหนียว ธรรมชาติที่เหนียว ธรรมชาติเป็นเครื่องเกาะกุมรูป เป็นภายนอกตน ที่กรรมอัน
ประกอบด้วยตัณหาและทิฏฐิไม่ยึดถือ ซึ่งเป็นภายนอกตน แม้อื่นใดมีอยู่ นี้เรียกว่า อาโปธาตุที่
เป็นภายนอก


            ประมวลย่ออาโปธาตุที่เป็นภายในและอาโปธาตุที่เป็นภายนอกเข้าเป็นหมวดเดียวกัน นี้
เรียกว่า อาโปธาตุ (๒)

 


เตโชธาตุ เป็นไฉน


เตโชธาตุมี ๒ อย่าง คือ เตโชธาตุที่เป็นภายในก็มี ที่เป็นภายนอกก็มี

ในเตโชธาตุ ๒ อย่างนั้น เตโชธาตุที่เป็นภายใน เป็นไฉน


               ความร้อน ธรรมชาติที่ร้อน ความอุ่น ธรรมชาติที่อุ่น ความอบอุ่น ธรรมชาติที่อบอุ่น เป็น
ภายในตน มีเฉพาะตน ที่กรรมอันประกอบด้วยตัณหาและทิฏฐิยึดถือ ซึ่งเป็นภายในตน เช่น
เตโชธาตุที่ทำให้ร่างกายอบอุ่น ที่ทำให้ร่างกายทรุดโทรม ที่ทำให้เร่าร้อนและที่ทำให้ของกิน
ของดื่ม ของเคี้ยว ของลิ้ม ถึงความย่อยไปด้วยดี หรือความร้อน ธรรมชาติที่ร้อน ความอุ่น
ธรรมชาติที่อุ่น ความอบอุ่น ธรรมชาติที่อบอุ่น เป็นภายในตน มีเฉพาะตน ที่กรรมอัน
ประกอบด้วยตัณหาและทิฏฐิยึดถือ ซึ่งเป็นภายในตน แม้อื่นใดมีอยู่ นี้เรียกว่า เตโชธาตุที่เป็นภายใน

เตโชธาตุที่เป็นภายนอก เป็นไฉน


             ความร้อน ธรรมชาติที่ร้อน ความอุ่น ธรรมชาติที่อุ่น ความอบอุ่น ธรรมชาติที่อบอุ่น เป็น
ภายนอกตน ที่กรรมอันประกอบด้วยตัณหาและทิฏฐิไม่ยึดถือ ซึ่งเป็นภายนอกตน เช่น ไฟฟืน ไฟ
สะเก็ดไม้ ไฟหญ้า ไฟมูลโค ไฟแกลบ ไฟหยากเยื่อ ไฟอสนิบาต ความร้อนแห่งไฟ ความร้อน
แห่งดวงอาทิตย์ ความร้อนแห่งกองฟืน ความร้อนแห่งกองหญ้า ความร้อนแห่งกองข้าวเปลือก
ความร้อนแห่งกองขี้เถ้า หรือความร้อน ธรรมชาติที่ร้อน ความอบอุ่น ธรรมชาติที่อบอุ่น  เป็น
ภายนอกตน ที่กรรมอันประกอบด้วยตัณหาและทิฏฐิไม่ยึดถือ ซึ่งเป็นภายนอกตน เเม้อื่นใดมีอยู่

นี้เรียกว่า เตโชธาตุที่เป็นภายนอก


           ประมวลย่อเตโชธาตุที่เป็นภายในและเตโชธาตุที่เป็นภายนอกเข้าเป็นหมวดเดียวกัน
เรียกว่า เตโชธาตุ (๓)


วาโยธาตุ เป็นไฉน


              วาโยธาตุมี ๒ อย่าง คือ วาโยธาตุที่เป็นภายในก็มี ที่เป็นภายนอกก็มี


ในวาโยธาตุ ๒ อย่างนั้นวาโยธาตุที่เป็นภายใน เป็นไฉน

             ความพัดไปมา ธรรมชาติที่พัดไปมา ธรรมชาติเครื่องค้ำจุนรูป เป็นภายในตน มีเฉพาะตน
ที่กรรมอันประกอบด้วยตัณหาและทิฏฐิยึดถือ ซึ่งเป็นภายในตน เช่น ลมพัดขึ้นเบื้องบน ลมพัด
ลงเบื้องต่ำ ลมในท้อง ลมในไส้ ลมพัดไปตามตัว ลมศัสตรา2 ลมมีดโกน ลมเพิกหัวใจ ลมหายใจ
เข้า ลมหายใจออก หรือความพัดไปมา ธรรมชาติที่พัดไปมา ธรรมชาติเครื่องค้ำจุนรูปเป็นภายใน
ตน มีเฉพาะตน ที่กรรมอันประกอบด้วยตัณหาและทิฏฐิยึดถือ ซึ่งเป็นภายในตน แม้อื่นใดมีอยู่ นี้
เรียกว่า วาโยธาตุที่เป็นภายใน


วาโยธาตุที่เป็นภายนอกเป็นไฉน


              ความพัดไปมา ธรรมชาติที่พัดไปมา ความเคร่งตึงแห่งรูป เป็นภายนอกตน ที่กรรมอัน
ประกอบด้วยตัณหาและทิฏฐิไม่ยึดถือ ซึ่งเป็นภายนอกตน เช่น ลมตะวันออก ลมตะวันตก ลม
เหนือ ลมใต้ ลมมีฝุ่นละออง ลมไม่มีฝุ่นละออง ลมหนาว ลมร้อน ลมอ่อน ลมแรง ลมดำ ลมบน
ลมกระพือปีก ลมปีกครุฑ ลมใบกังหัน ลมพัดโบก หรือความพัดไปมา ธรรมชาติที่พัดไปมา
ธรรมชาติเครื่อง ค้ำจุนรูป เป็นภายนอกตน ที่กรรมอันประกอบด้วยตัณหาและทิฏฐิไม่ยึดถือ ซึ่ง
เป็นภายนอกตน แม้อื่นใดมีอยู่ นี้เรียกว่าวาโยธาตุที่เป็นภายนอก


             ประมวลย่อวาโยธาตุที่เป็นภายในและวาโยธาตุที่เป็นภายนอกเข้าเป็นหมวดเดียวกัน เรียกว่า วาโยธาตุ (๔)


อากาสธาตุ เป็นไฉน


             อากาสธาตุมี ๒ อย่าง คือ อากาสธาตุที่เป็นภายในก็มี ที่เป็นภายนอกก็มี

ในอากาสธาตุ ๒ อย่างนั้น อากาสธาตุที่เป็นภายใน เป็นไฉน

            อากาศ ธรรมชาติที่นับว่าอากาศ ความว่างเปล่า ธรรมชาติที่นับว่าความว่างเปล่า ช่องว่าง
ธรรมชาติที่นับว่าช่องว่าง ซึ่งเนื้อและเลือดไม่ถูกต้องแล้ว เป็นภายในตน มีเฉพาะตน ที่กรรมอัน
ประกอบด้วยตัณหาและทิฏฐิยึดถือ ซึ่งเป็นภายในตน เช่น ช่องหู ช่องจมูก ช่องปาก ช่องสำหรับ
กลืนของกิน ของดื่ม ของเคี้ยว ของลิ้ม ช่องที่พักอยู่แห่งของกิน ของดื่ม ของเคี้ยว ของลิ้มและ
ช่องสำหรับของกิน ของดื่ม ของเคี้ยว ของลิ้มไหลลงเบื้องต่ำ หรืออากาศ ธรรมชาติที่นับว่า
อากาศ ความว่างเปล่า ธรรมชาติที่นับว่าความว่างเปล่า ช่องว่าง ธรรมชาติที่นับว่าช่องว่าง ซึ่งเนื้อ
และเลือดไม่ถูกต้องแล้ว เป็นภายในตน มีเฉพาะตน ที่กรรมอันประกอบด้วยตัณหาและทิฏฐิ
ยึดถือ ซึ่งเป็นภายในตน แม้อื่นใดมีอยู่ นี้เรียกว่า อากาสธาตุที่เป็นภายใน


อากาสธาตุที่เป็นภายนอก เป็นไฉน


             อากาศ ธรรมชาติที่นับว่าอากาศ ความว่างเปล่า ธรรมชาติที่นับว่าความว่างเปล่า ช่องว่าง
ธรรมชาติที่นับว่าช่องว่างซึ่งมหาภูตรูป ๔3 ไม่ถูกต้องแล้ว เป็นภายนอกตน ที่กรรมอัน
ประกอบด้วยตัณหาและทิฏฐิไม่ยึดถือ ซึ่งเป็นภายนอกตน นี้เรียกว่า อากาศธาตุที่เป็นภายนอก


           ประมวลย่ออากาศธาตุที่เป็นภายในและอากาศธาตุที่เป็นภายนอกเข้าเป็นหมวดเดียวกัน นี้เรียกว่า อากาสธาตุ (๕)


วิญญาณธาตุ เป็นไฉน


             จักขุวิญญาณธาตุ โสตวิญญาณธาตุ ฆานวิญญาณธาตุ ชิวหาวิญญาณธาตุ กายวิญญาณธาตุ
และมโนวิญญาณธาตุ นี้เรียกว่า วิญญาณธาตุ (๖)

 

 เหล่านี้เรียกว่า ธาตุ ๖


             สรรพสัตว์และสรรพสิ่งล้วนแล้วแต่ประกอบขึ้นมาจากธาตุต่าง ๆ รวมกันเกิดขึ้น  ตั้งอยู่
ระยะหนึ่ง ไม่นานก็ต้องแตกทำลายสลายกลายเป็นธาตุต่าง ๆ ดังเดิม

 

เชิงอรรถอ้างอิง

1พระอภิธรรม สุตตันตภาชนีย์ เล่ม ๓๕ หน้า ๑๓๔

2ลมที่พัดหมุนไป ประดุจตัดสิ่งที่ต่อกันไว้ที่ผูกกันไว้ด้วยมีดโกน คำว่า ขุรกวาตา อธิบายว่า ลมที่เฉือดเฉือน

ประดุจเฉือนหทัยด้วยมีดอันคม

3รูปใหญ่, รูปต้นเดิม คือ ธาตุ ๔ ได้แก่ ดิน (ปฐวี), น้ำ (อาโป), ไฟ (เตโช) และลม (วาโย)

 ยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคล Total Execution Time: 0.013739633560181 Mins