อริยมรรคมีองค์แปด เป็นบทอธิบายอริยมรรคมีองค์ ๘ แต่ละข้อเพื่อให้เข้าใจง่าย

วันที่ 29 มีค. พ.ศ.2564

อริยมรรคมีองค์แปด เป็นบทอธิบายอริยมรรคมีองค์ ๘ แต่ละข้อเพื่อให้เข้าใจง่าย

อริยมรรคมีองค์แปด
เป็นบทอธิบายอริยมรรคมีองค์ ๘ แต่ละข้อเพื่อให้เข้าใจง่าย

(นำ) (หันทะ มะยัง อะริยัฏฐังคิกะมัคคะปาฐัง ภะณามะ เส.)
(เชิญเถิด เราทั้งหลาย มาสวดพระบาลีว่าด้วยอริยมรรคมีองค์แปดกันเถิด.)
(รับ) อะยะเมวะ อะริโย อัฏฐังคิโก มัคโค,
หนทางนี้แล เป็นหนทางอันประเสริฐ ซึ่งประกอบด้วยองค์แปด ;
เสยยะถีทัง, ได้แก่สิ่งเหล่านี้คือ :-
สัมมาทิฏฐิ, ความเห็นชอบ ;
สัมมาสังกัปโป, ความดำริชอบ ;
สัมมาวาจา, การพูดจาชอบ ;
สัมมากัมมันโต, การทำการงานชอบ ;
สัมมาอาชีโว, การเลี้ยงชีวิตชอบ ;
สัมมาวายาโม, ความพากเพียรชอบ ;
สัมมาสะติ, ความระลึกชอบ ;
สัมมาสะมาธิ. ความตั้งใจมั่นชอบ.

(องค์มรรคที่ ๑)
กะตะมา จะ ภิกขะเว สัมมาทิฏฐิ,
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ความเห็นชอบ เป็นอย่างไรเล่า ?
ยัง โข ภิกขะเว ทุกเข ญาณัง,
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ความรู้อันใดเป็นความรู้ในทุกข์ ;
ทุกขะสะมุทะเย ญาณัง,
เป็นความรู้ในเหตุให้เกิดทุกข์ ;
ทุกขะนิโรเธ ญาณัง,
เป็นความรู้ในความดับแห่งทุกข์ ;
ทุกขะนิโรธะคามินิยา ปะฏิปะทายะ ญาณัง,
เป็นความรู้ในทางดำเนินให้ถึงความดับแห่งทุกข์ ;
อะยัง วุจจะติ ภิกขะเว สัมมาทิฏฐิ.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อันนี้เรากล่าวว่า ความเห็นชอบ.

(องค์มรรคที่ ๒)
กะตะโม จะ ภิกขะเว สัมมาสังกัปโป,
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ความดำริชอบ เป็นอย่างไรเล่า ?
เนกขัมมะสังกัปโป, ความดำริในการออกจากกาม ;
อะพ๎ยาปาทะสังกัปโป, ความดำริในการไม่มุ่งร้าย ;
อะวิหิงสาสังกัปโป, ความดำริในการไม่เบียดเบียน ;
อะยัง วุจจะติ ภิกขะเว สัมมาสังกัปโป.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อันนี้เรากล่าวว่า ความดำริชอบ.

(องค์มรรคที่ ๓)
กะตะมา จะ ภิกขะเว สัมมาวาจา,
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย การพูดจาชอบ เป็นอย่างไรเล่า ?
มุสาวาทา เวระมะณี,
เจตนาเป็นเครื่องเว้นจากการพูดไม่จริง ;
ปิสุณายะ วาจายะ เวระมะณี,
เจดนาเป็นเครื่องเว้นจากการพูดส่อเสียด ;
ผะรุสายะ วาจายะ เวระมะณี,
เจตนาเป็นเครื่องเว้นจากการพูดหยาบ ;
สัมผัปปะลาปา เวระมะณี,
เจตนาเป็นเครื่องเว้นจากการพูดเพ้อเจ้อ ;
อะยัง วุจจะติ ภิกขะเว สัมมาวาจา.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อันนี้เรากล่าวว่า การพูดจาชอบ.

(องค์มรรคที่ ๔)
กะตะโม จะ ภิกขะเว สัมมากัมมันโต,
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย การทำการงานชอบเป็นอย่างไรเล่า ?
ปาณาติปาตา เวระมะณี,
เจตนาเป็นเครื่องเว้นจากการฆ่า ;
อะทินนาทานา เวระมะณี,
เจตนาเป็นเครื่องเว้นจากการถือเอาสิ่งของ ที่เจ้าของไม่ได้ให้แล้ว ;
กาเมสุ มิจฉาจารา เวระมะณี,
เจตนาเป็นเครื่องเว้นจากการประพฤติผิดในกามทั้งหลาย ;
อะยัง วุจจะติ ภิกขะเว สัมมากัมมันโต.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อันนี้เรากล่าวว่า การทำการงานชอบ.

(องค์มรรคที่ ๕)
กะตะโม จะ ภิกขะเว สัมมาอาชีโว,
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย การเลี้ยงชีวิตชอบ เป็นอย่างไรเล่า ?
อิธะ ภิกขะเว อะริยะสาวะโก,
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สาวกของพระอริยเจ้า ในธรรมวินัยนี้ ;
มิจฉาอาชีวัง ปะหายะ, ละการเลี้ยงชีวิตที่ผิดเสีย ;
สัมมาอาชีเวนะ ชีวิกัง กัปเปติ,
ย่อมสำเร็จความเป็นอยู่ด้วยการเลี้ยงชีวิตที่ชอบ ;
อะยัง วุจจะติ ภิกขะเว สัมมาอาชีโว.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อันนี้เรากล่าวว่า การเลี้ยงชีวิตชอบ.

(องค์มรรคที่ ๖)
กะตะโม จะ ภิกขะเว สัมมาวายาโม,
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ความพากเพียรชอบ เป็นอย่างไรเล่า ?

อิธะ ภิกขะเว ภิกขุ,
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ;

อะนุปปันนานัง ปาปะกานัง อะกุสะลานัง ธัมมานัง อะนุปปาทายะ, ฉันทัง ชะเนติ, วายะมะติ, วิริยัง อาระภะติ, จิตตัง ปัคคัณหาติ ปะทะหะติ,
ย่อมทำความพอใจให้เกิดขึ้น, ย่อมพยายาม, ปรารภความเพียร, ประคองตั้งจิตไว้, เพื่อจะยังอกุศลธรรม อันเป็นบาป ที่ยังไม่เกิดไม่ให้เกิดขึ้น ;

อุปปันนานัง ปาปะกานัง อะกุสะลานัง ธัมมานัง ปะหานายะ, ฉันทัง ชะเนติ, วายะมะติ, วิริยัง อาระภะติ, จิตตัง ปัคคัณหาติ ปะทะหะติ,
ย่อมทำความพอใจให้เกิดขึ้น, ย่อมพยายาม, ปรารภความเพียร, ประคองตั้งจิตไว้, เพื่อจะละอกุศลธรรมอันเป็นบาปที่เกิดขึ้นแล้ว ;

อะนุปปันนานัง กุสะลานัง ธัมมานัง อุปปาทายะ, ฉันทังชะเนติ, วายะมะติ, วิริยัง อาระภะติ, จิตตัง ปัคคัณหาติ ปะทะหะติ,
ย่อมทำความพอใจให้เกิดขึ้น, ย่อมพยายาม, ปรารภความเพียร, ประคองตั้งจิตไว้, เพื่อจะยังกุศลธรรมที่ยังไม่เกิดให้เกิดขึ้น ;

อุปปันนานัง กุสะลานัง ธัมมานัง ฐิติยา, อะสัมโมสายะ, ภิยโยภาวายะ, เวปุลลายะ, ภาวะนายะ, ปาริปูริยา, ฉันทังชะเนติ, วายะมะติ, วิริยัง อาระภะติ, จิตตัง ปัคคัณหาติ ปะทะหะติ,
ย่อมทำความพอใจให้เกิดขึ้น, ย่อมพยายาม, ปรารภความเพียร, ประคองตั้งจิตไว้, เพื่อความตั้งอยู่, ความไม่เลอะเลือน, ความงอกงามยิ่งขึ้น, ความไพบูลย์, ความเจริญ, ความเต็มรอบ, แห่งกุศลธรรมที่เกิดขึ้นแล้ว ; 

อะยัง วุจจะติ ภิกขะเว สัมมาวายาโม.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อันนี้เรากล่าวว่า ความพากเพียรชอบ.

(องค์มรรคที่ ๗)
กะตะมา จะ ภิกขะเว สัมมาสะติ,
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ความระลึกชอบ เป็นอย่างไรเล่า ?
อิธะ ภิกขะเว ภิกขุ,
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ;
กาเย กายานุปัสสี วิหะระติ,
ย่อมเป็นผู้พิจารณาเห็นกายในกายอยู่เป็นประจำ ;
อาตาปี สัมปะชาโน สะติมา, วิเนยยะ โลเก อะภิชฌาโทมะนัสสัง,
มีความเพียรเครื่องเผากิเลส มีสัมปชัญญะ มีสติ ; ถอนความพอใจและความไม่พอใจในโลกออกเสียได้ ;
เวทะนาสุ เวทะนานุปัสสี วิหะระติ,
ย่อมเป็นผู้พิจารณาเห็นเวทนาในเวทนาทั้งหลายอยู่เป็นประจำ ;
อาตาปี สัมปะชาโน สะติมา, วิเนยยะ โลเก อะภิซฌา โทมะนัสสัง,
มีความเพียรเครื่องเผากิเลส มีสัมปชัญญะ มีสติ ; ถอนความพอใจและความไม่พอใจในโลกออกเสียได้ ;
จิตเต จิตตานุปัสสี วิหะระติ,
ย่อมเป็นผู้พิจารณาเห็นจิตในจิตอยู่เป็นประจำ ;
อาตาปี สัมปะชาโน สะติมา, วิเนยยะ โลเก อะภิชฌาโทมะนัสสัง,
มีความเพียรเครื่องเผากิเลส มีสัมปชัญญะ มีสติ ; ถอนความพอใจและความไม่พอใจในโลกออกเสียได้ ;
ธัมเมสุ ธัมมานุปัสสี วิหะระติ,
ย่อมเป็นผู้พิจารณาเห็นธรรมในธรรมทั้งหลายอยู่เป็นประจำ ;
อาตาปี สัมปะชาโน สะติมา, วิเนยยะ โลเก อะภิชฌาโทมะนัสสัง,
มีความเพียรเครื่องเผากิเลส มีสัมปชัญญะ มีสติ ; ถอนความพอใจและความไม่พอใจในโลกออกเสียได้ ;
อะยัง วุจจะติ ภิกขะเว สัมมาสะติ.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อันนี้เรากล่าวว่า ความระลึกชอบ.

(องค์มรรคที่ ๘)
กะตะโม จะ ภิกขะเว สัมมาสะมาธิ,
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ความตั้งใจมั่นชอบ เป็นอย่างไรเล่า ?
อิธะ ภิกขะเว ภิกขุ,
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ;
วิวิจเจวะ กาเมหิ, สงัดแล้วจากกามทั้งหลาย ;
วิวิจจะ อะกุสะเลหิ ธัมเมหิ,
สงัดแล้วจากธรรมที่เป็นอกุศลทั้งหลาย ;
สะวิตักกัง สะวิจารัง, วิเวกะชัง ปีติสุขัง ปะฐะมัง ฌานัง อุปะสัมปัชชะ วิหะระติ,
เข้าถึงปฐมฌาน, ประกอบด้วยวิตกวิจาร. มีปีติและสุขอันเกิดจากวิเวกแล้วแลอยู่ ;
วิตักกะวิจารานัง วูปะสะมา,
เพราะความที่วิตกวิจารทั้งสองระงับลง ;
อัชฌัตตัง สัมปะสาทะนัง เจตะโส, เอโกทิภาวัง, อะวิตักกัง อะวิจารัง, สะมาธิชัง ปีติสุขัง ทุติยัง ฌานัง อุปะสัมปัชชะ วิหะระติ,
เข้าถึงทุติยฌาน, เป็นเครื่องผ่องใสแห่งใจในภายใน, ให้สมาธิเป็นธรรมอันเอกผุดมีขึ้น, ไม่มีวิตก ไม่มีวิจาร, มีแต่ปีติและสุขอันเกิดจากสมาธิแล้วแลอยู่ ;
ปีติยา จะ วิราคา, อนึ่ง เพราะความจางคลายไปแห่งปีติ ; 
อุเปกขะโก จะ วิหะระติ, สะโต จะ ส้มปะชาโน, 
ย่อมเป็นผู้อยู่อุเบกขา, มีสติและสัมปชัญญะ ;
สุขัญจะ กาเยนะ ปะฏิสังเวเทติ,
และย่อมเสวยความสุขด้วยนามกาย ;
ยันตัง อะริยา อาจิกขันติ, อุเปกขะโก สะติมา สุขะวิหารีติ,
ชนิดที่พระอริยเจ้าทั้งหลาย ย่อมกล่าวสรรเสริญผู้นั้นว่า "เป็นผู้อยู่อุเบกขา มีสติ อยู่เป็นปกติสุข" ดังนี้ ;
ตะติยัง ฌานัง อุปะสัมปัชชะ วิหะระติ,
เข้าถึงตติยฌาน แล้วแลอยู่ ;
สุขัสสะ จะ ปะหานา, เพราะละสุขเสียได้ ;
ทุกขัสสะ จะ ปะหานา, และเพราะละทุกข์เสียได้ ;
ปุพเพวะ โสมะนัสสะโทมะนัสสานัง อัตถังคะมา,
เพราะความดับไปแห่งโสมนัสและโทมนัสทั้งสอง ในกาลก่อน ;
อะทุกขะมะสุขัง อุเปกขาสะติปาริสุทธิง, จะตุตถัง ฌานัง อุปะสัมปัชชะ วิหะระติ,
เข้าถึงจตุตถฌาน, ไม่มีทุกข์ไม่มีสุข, มีแต่ความที่สติเป็นธรรมชาติบริสุทธิ์ เพราะอุเบกขา แล้วแลอยู่ ;
อะยัง วุจจะติ ภิกขะเว สัมมาสะมาธิ.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อันนี้เรากล่าวว่า ความตั้งใจมั่นชอบ.

 

 ยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคล Total Execution Time: 0.073784148693085 Mins