อุทยัพพยญาณ

วันที่ 30 ตค. พ.ศ.2566

30-10-66_2b.png

๔. อุทยัพพยญาณ


                    อุทยัพพยญาณ คือ ญาณที่เป็นไปด้วยอำนาจการพิจารณาความเกิดขึ้นและความดับแห่งสังขารทั้งหลาย ญาณนี้มี ๒ อย่าง คือ อย่างอ่อน (ตรุณ) และอย่างแก่ (พลว)

                    อย่างอ่อน ยังมีวิปัสสนูปกิเลสเกิดปะปนอยู่ เรียกว่ามัคคญาณทัสสนวิสุทธิคืออยู่ระหว่างวินิจฉัยว่า ทางหรือมิใช่ทาง ถ้ายังพอใจ ติดใจวิปัสสนูปกิเลส เรียกว่าอมัคคะถ้าไม่พอใจเรียก มัคคะ พลวอุทยัพพยญาณ เป็นญาณอย่างแก่ ผ่านพ้นวิปัสสนูกิเลสไปได้ดำเนินตามมัคคปฏิปทาโดยตรง

                    อุทยัพพยานุปัสสนาญาณ คือปัญญาที่เห็นเนือง ๆ ในความปรวนแปรของปัจจุบันธรรมทั้งหลาย คือ ปัญญาที่เห็นนามรูปที่เกิดขึ้นหรือมีอาการใหม่ในปัจจุบันขณะนั้นว่าเป็นอุทยะ และเห็นความปรวนแปรกำลังดับลง สิ้นไป แตกดับไป เป็นวยะ

                    ผู้ปฏิบัติควรพิจารณาว่า ก่อนที่นามรูปจะเกิดขึ้น นามรูปก็มิได้มีอยู่ก่อนในที่ใด ๆแม้เมื่อเกิดอยู่ก็ไม่ได้มาจากที่ใด เมื่อกำลังจะดับไป ก็ไม่ได้ไปสู่ที่ใดเหมือนการบรรเลงพิณ ก่อนที่เสียงจะเกิด ก็ไม่มีที่เก็บเสียงไว้ก่อน เมื่อเสียงกำลังดังอยู่ เสียงก็ไม่ได้มาจากที่อื่น แต่มีเสียงได้เพราะอาศัยการบรรเลง เมื่อเลิกบรรเลงเสียงพิณหายไป ก็ไม่ได้ไปเก็บอยู่ในที่ใด เปรียบได้เช่นเดียวกันกับรูปและนามที่เกิดอยู่

                    การเกิดดับของขันธ์ ๕ มีลักษณะขันธ์ ๑๐ อย่าง รวมเป็น ๕๐ คือ
                    ในรูปขันธ์ ฝ่ายเกิด พิจารณาให้เห็นได้โดยเห็นรูปขันธ์เกิดเพราะ

                       ๑. อวิชชา                        ๔. อาหาร
                       ๒. ตัณหา                        ๕. ลักษณะแห่งการเกิด
                       ๓. กรรม

                    ฝ่ายดับ ก็เห็นว่าดับเพราะ ๑. - ๔. เหมือนฝ่ายเกิด และ ๕. ลักษณะของความแปรปรวน
                    ในเวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์ สังขารขันธ์ ฝ่ายเกิด ให้เห็นว่าเกิดเพราะ

                       ๑. อวิชา                            ๔. ผัสสะ
                       ๒. ตัณหา                          ๕. ลักษณะแห่งการเกิด   
                       ๓. กรรม

                   ฝ่ายดับ ดับเพราะ ๑. - ๔. เหมือนฝ่ายเกิด และ ๕ ลักษณะของความแปรปรวน
                   ในวิญญาณขันธ์ ฝ่ายเกิด เกิดได้เพราะ ๑ - ๓. อวิชชา ตัณหา กรรม และ ๔.
                   นามรูป ๕. ลักษณะเกิด
                   ฝ่ายดับ ดับได้เพราะ ๑. - ๔. เหมือนฝ่ายเกิด และ ๕ ลักษณะของความแปรปรวน

                   ตามที่กล่าวมาแล้ว การเห็นการเกิดขึ้น และการดับไป โดยอาศัยของ ๔ อย่างเป็นการเห็นโดยความที่สิ่งนั้น ๆ เป็นปัจจัยให้เกิดหรือให้ดับ ส่วนการเห็นลักษณะการเกิดในขณะเกิด และลักษณะความแปรปรวนในขณะดับ เป็นการเห็นโดยขณะเมื่อปฏิบัติให้เห็นนามรูปเป็นไปโดยปัจจัยและขณะอยู่ดังนี้ อริยสัจ ๔ ย่อมปรากฏได้ กล่าวคือ

                  ๑. การเห็นความเกิดขึ้นโดยมีปัจจัย ย่อมปรากฏเห็นสมุทยสัจ เพราะรู้ถึงปัจจัยที่ทำให้เกิด

                  ๒. การเห็นความเกิดขึ้นโดยขณะ ย่อมปรากฏให้รู้เห็นทุกขสัจ เพราะเห็นการเกิด - ดับเป็นทุกข์

                  ๓. การเห็นความดับไปเพราะมีปัจจัย นิโรธสัจย่อมปรากฏ เพราะรู้ว่าธรรมทั้งหลายไม่เกิดโดยไม่มีปัจจัย

                  ๔. การเห็นการเกิดขึ้น ดับไป ทั้งโดยปัจจัยและขณะ ทั้งกำจัดความฝันเพื่อในการเกิดขึ้น ดับไป เป็นมัคคสัจ ฝ่ายโลกียะ

                                               เมื่อเห็นดังนี้ ปฏิจจสมุปบาทก็จักปรากฏให้เห็นว่า

                           ฝ่ายอนุโลม - เมื่อเห็นการเกิดขึ้นเพราะมีปัจจัย ก็รู้ว่า เมื่อสิ่งนี้มีอยู่ สิ่งนี้จึงเกิดมีขึ้นตามมา

                           ฝ่ายปฏิโลม - เมื่อเห็นการดับไปเพราะมีปัจจัย ก็รู้ว่า เมื่อสิ่งนี้ดับไป สิ่งนี้จึงดับ

                                               เมื่อพิจารณาเห็นถึงขั้นนี้ ย่อมทำให้ละมิจฉาทิฏฐิลงไปได้ คือ

                                               เมื่อเห็นการเกิดขึ้นโดยมีปัจจัย และเห็นเหตุผลสืบต่อกันไม่ขาด

                                               สาย ย่อมละอุจเฉททิฏฐิ ได้ดีขึ้น

                                               เมื่อเห็นการเกิดขึ้นโดยขณะ รู้เห็นการเกิดขึ้นของสังขารใหม่ ๆ

                                               ย่อมละสัสสตทิฏฐิได้ดียิ่งขึ้น

                                               เมื่อเห็นการเกิดการดับโดยมีปัจจัย รู้ว่าธรรมทั้งหลายไม่เป็นไป

                                               ตามอำนาจก็ละอัตตทิฏฐิได้ดีขึ้น

                                               เมื่อเห็นความเกิดขึ้นโดยปัจจัย และรู้ถึงผลที่เกิดตามควรแก่ปัจจัย

                                               ก็ละอกิริยทิฏฐิได้ดียิ่งขึ้น

                                  เห็นได้ถึง 4 นัยดังนี้แล้ว ลักษณะ 3 อย่างก็จะปรากฏให้เห็นต่อไป มี

                    ๑. อนัตตลักษณะ เห็นความเกิดขึ้นโดยปัจจัย รู้ว่าธรรมทั้งหลายเป็นไปอย่างต่อเนื่องกันเพราะมีปัจจัย ปราศจากผู้กระทำ

                    ๒. อนิจจลักษณะ เห็นความเกิดขึ้นดับไปโดยขณะ รู้ถึงความมีแล้วไม่มี รู้ความว่างเปล่าในเบื้องต้นและในที่สุดก็ว่างเปล่า

                    ๓.ทุกขลักษณะ การรู้ถึงความเบียดเบียนเฉพาะหน้าด้วยความเกิดขึ้นและดับไป

                    ทำให้รู้ชัดในสภาวะลักษณะ และรู้ชัดในสังขตลักษณะที่เป็นอยู่ดังนี้ชั่วกาลนาน รู้ว่าไม่มีการดับในขณะเกิดและไม่มีการเกิดในขณะดับ
                    เมื่อผู้ปฏิบัติเห็นความแตกต่างของ สัจจะ ปฏิจจสมุปบาท นัย และลักษณะครบปัญญาที่รู้เห็นว่าสังขารทั้งหลายเกิดใหม่อยู่เป็นนิตย์ ธรรมทั้งหลายเกิดขึ้นแล้วก็ดับไป เป็นอยู่ดังนี้เสมอ ๆ ระยะเวลาที่ธรรมที่เกิดแล้วตั้งอยู่ก่อนดับนั้นสั้นมาก เร็วเหมือนหยาดน้ำค้างที่งวดแห้งเมื่อต้องแสงอาทิตย์ เร็วเหมือนต่อมน้ำที่เกิดเมื่อเมล็ดฝนหยดลงบนผิวน้ำ เร็วเหมือนรอยขีดบนผิวน้ำ เหมือนเมล็ดผักกาดที่วางไว้บนปลายเหล็กแหลม เหมือนสายฟ้าแลบ และปรากฏไม่มีสาระแก่นสารอันใด เหมือนมายาการ พยับแดความฝัน ควงหุ้นฟื้นติดไฟ สร้างวินานในอากาศ ฟองน้ำ ต้นกล้วย ซึ่งล้วนแล้วแต่ไร้ประโยชน์

                    ด้วยการพิจารณาดังที่กล่าวมาแล้วทั้งหมดนี้ ย่อมเรียกว่าบรรลุตคุณอุทยัพพยญาณรู้เห็นว่า “สิ่งใดก็ตามที่เกิดขึ้น ต้องมีความดับไปเป็นธรรดา”

                    เมื่อ ได้บำเพ็ญมาอย่างถูกต้อง วิปัสสนูปกิเลส ๑๐ อย่างย่อมเกิดขึ้น มี

                     ๑.โอภาส แสงสว่างที่เกิดขึ้นเพราะวิปัสสนา บางคนเกิดน้อย บางคนเกิดมาก สว่างเห็นไปทั่วโลกธาตุ
                     ๒. ญาณ ปัญญาที่เกิดขึ้นเพราะวิปัสนา มีลักษณะปราดเปรียว แหลมคม แก่กล้า ชัดแจ้ง  
                     ๓. ปีติความอิ่มใจ มี ๕ อย่าง มีอย่างเล็กน้อย อย่างค่อยเพิ่ม เป็นพักๆโลดลอย ซาบซ่า
                     ๔. ปัสสัทธิ ความสงบทั้งร่างกายและจิตใจ มีความสงบ เบา อ่อน ควรแก่การงาน ผ่องใสเที่ยงตรง
                     ๕. สุข สุขประณีตล้ำเลิศ ไม่มีสุขอื่นเทียบเท่า
                     ๖. อธิโมกข์ ศรัทธาที่มีกำลังกล้าประกอบด้วยปัญญา
                     ๗. ปัคคาหะ มีความเพียรอย่างแรงกล้า
                     ๘. อุปัฏฐาน สติอันตั้งมั่นว่องไวเป็นพิเศษ
                     ๙. อุเบกขา ความวางเฉยในสังขารและอารมณ์ทั้งปวง
                    ๑๐. นิกันติ ความพอใจ เพลิดเพลิน ติดใจยินดี

                    ทั้ง ๑๐ อย่างนี้ ความจริงตัวของสิ่งที่เกิด ๑ - ๔ เหล่านี้เป็นของดี แต่ที่เรียกว่าเป็นอุปกิเลสในวิปัสสนา เพราะถ้ากระทำใจไว้ไม่ดีแล้ว จะเกิดการสำคัญผิดยึดถือเอาสิ่งที่เกิดเหล่านี้ในฐานะเป็นที่ให้เกิดกิเลส โดยเฉพาะเกิด ทิฏฐิ มานะ และตัณหา แทรกเข้ามาในเวลาปฏิบัตินั้น ซึ่งจะเป็นเหตุให้เกิดความสำคัญผิดบ้าง ความพอใจติดใจ ยึดถือบ้างเกิดความต้องการต่าง ๆ บ้าง จะเป็นอมัคคะไป

                    เมื่อสิ่งต่าง ๆ ที่เป็นวิปัสสนูปกิเลสเกิดขึ้น ผู้ปฏิบัติที่ฉลาดต้องใคร่ครวญด้วยสติปัญญาดังเช่น ถ้าโอกาสเกิด พิจารณาว่า

                    ๑.สภาวะของโอภาสนี้ ไม่เที่ยง มีปัจจัยปรุงแต่ง เกิดขึ้นแล้วมีความสิ้นไปเป็นธรรมดามีความเสื่อมไป ดับไปเป็นธรรมดา
                    ๒. ถ้าโอกาสนี้เป็นอัตตา ก็สมควรในการยึดถือ แต่โอกาสไม่ใช่อัตตา เป็นอนัตตาไม่เป็นไปตามอำนาจ เป็นอนิจจังเพราะมีแล้วไม่มีได้ เป็นทุกขัง เพราะว่ามีการเบียดเบียน

                    พิจารณาอยู่ดังนี้เนือง ๆ แม้ในอุปกิเลสอื่นอีก ๙ ก็เป็นไปในทำนองเดียวกันเมื่อปฏิบัติดังนี้ ก็มั่นคงในการปฏิบัติ วิปัสสนูปกิเลสไม่ทำให้หวั่นไหวสั่นคลอน แม้จะเกิดมากมายเพียงใดก็ไม่ทำให้ฟุ้งซ่าน

                    ผ่านวิปัสสนูปกิเลศได้ถือว่าบรรลุมัคคามัคคญาณทัสสนวิสุทธิ์ กำหนดรู้สัจจะ ๓ อย่างด้วยโลกียปัญญา

                    ๑. กำหนดรู้ทุกขสัจ ด้วยการกำหนดรู้นามรูปในทิฏฐิวิสุทธิ
                    ๒. กำหนดรู้สมุทยสัจ ด้วยการกำหนดรู้ปัจจัยของนามรูปในกังขาวิตรณวิสุทธิ
                    ๓. กำหนดรู้มรรคสัจ ด้วยการกำหนดรู้มรรคโดยชอบในมัคคามัคคญาณทัสสนวิสุทธิ

                    ผ่านอุปกิเลสทั้ง ๑๐ ทำความเพียรต่อไปย่อมเข้าถึงพลวอุทยัพพยญาณ รู้ไตรลักษณ์มั่นคงชัดเจน อนิจจลักษณะ ไม่ปรากฏ เพราะสันตติปิดบัง และไม่มนสิการความเกิดดับถ้าเลิกสันตติก็ปรากฏอนิจจลักษณะ

                    ทุกขลักษณะ ไม่ปรากฏ เพราะอิริยาบถทั้งหลายปิดบังไว้ และเพราะไม่มนสิการความเบียดเบียนที่เกิดขึ้นเฉพาะหน้าเมื่อเพิกถอนอิริยาบถและมนสิการความเบียดเบียนที่เกิดอยู่เฉพาะหน้า ทุกขลักษณะก็ปรากฏ

                    อนัตตลักษณะ ไม่ปรากฏ เพราะแท่งหรือกลุ่มก้อนปิดบังไว้ และเพราะไม่มนสิการถึงความสลายตัวของธาตุต่าง ๆ เมื่อกระจายธาตุต่าง ๆ ออกไป ทำการกระจายความเป็นกลุ่มเป็นก้อนเสีย อนัตตลักษณะที่ปรากฏ

 

 ยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคล Total Execution Time: 0.0062402009963989 Mins