บทความ ตำนาน พญานาคสองฝั่งโขง ๒ (ตอน สืบราชสมบัติพญานาค)

วันที่ 16 ตค. พ.ศ.2548

            "มธุรนาคราช ชื่อนี้ถือนิมิตจากผิวพรรณของท่านว่าเหมือนสี น้ำผึ้ง คือ เป็นสีน้ำตาลทองเข้มๆ ซึ่งเป็นอานิสงส์แห่งการถวาย น้ำผึ้งครั้งเป็นมนุษย์"

            ย้อนอดีตไปเมื่อ ๓,๐๐๐ ปีที่แล้ว ณ หมู่บ้านชนบทแห่งหนึ่ง ที่ตั้งอยู่ริมแม่น้ำโขง ในยุคนั้น ผู้คนทั้งหลายมีความเชื่อว่า วิญญาณ ของบรรพบุรุษหลังจากตายแล้วไม่สูญ จะคอยติดตามคุ้มครองดูแลลูกๆ หลานๆ ต่อไป แล้วก็มีความเลื่อมใสในเรื่องเทพเจ้าแห่งลำน้ำ ซึ่งปัจจุบันความเชื่อเหล่านี้ก็ยังคงอยู่

            ในครั้งนั้น มีชายหนุ่มคนหนึ่งอาศัยอยู่ ในหมู่บ้านนั้น มีอาชีพหาของป่าและตัดฟืน ใช้ชีวิตอย่างสงบสุขเช่นเดียวกับผู้คนในยุค สมัยนั้น

            ต่อมาวันหนึ่ง มีพระดาบสเหาะมาจาก ป่าหิมพานต์ มาบำเพ็ญพรตที่ใต้ร่มไม้ใหญ่ บริเวณริมฝั่งโขง ซึ่งไม่ไกลจากหมู่บ้านแห่งนั้นนัก

            ดาบสผู้นี้มีลักษณะสง่างาม ผิวพรรณวรรณะผ่องใส มีรัศมีพวยพุ่งออกมารอบกาย แม้จะมีอายุเป็นพันปีแล้ว ก็ยังดูหนุ่มแน่น ท่านได้บรรลุฌาน ๔ อภิญญา ๕ สามารถเหาะเหินเดินอากาศได้

            วันหนึ่ง ชายหนุ่มผู้นั้นเข้าป่า เพียงลำพังเพื่อหาน้ำผึ้ง เขาได้ น้ำผึ้งมาเต็มกระบอกไม้ไผ่ เมื่อได้ มาพบดาบสนั้น เห็นรัศมีผิวพรรณ ของท่านผ่องใส ก็มีจิตเลื่อมใส ได้ถวายน้ำผึ้งแก่ดาบส โดยวางไว้ตรงหน้า โดยคิดว่าดาบสท่านนี้ คงเป็นเทพยดาที่อยู่บริเวณนั้น เป็นแน่

            ดาบสท่านนี้ เป็นผู้สำเร็จแล้ว แม้ไม่ต้อง ขบฉันอาหารเยี่ยงคนทั่วไป แต่ก็รับไว้ด้วย อาการดุษณีภาพ คือ นั่งเฉยๆ เพื่ออนุเคราะห์ แก่ชายหนุ่ม

            หลังจากชายหนุ่มกลับไปถึงหมู่บ้านแล้ว ก็เล่าเรื่องราวที่ไปพบดาบส ซึ่งตัวเองเข้าใจว่า เป็นเทพยดาให้เพื่อนบ้านฟัง

            วันรุ่งขึ้น ชายหนุ่มก็พาเพื่อนบ้านกลุ่ม ใหญ่มา เพื่อจะสักการะดาบส ได้เตรียมอาหาร หวานคาวมาด้วย แต่ดาบสไม่ได้อยู่ตรงนั้นแล้ว จึงพากันวางอาหารหวานคาวและเครื่อง สักการะต่างๆ เป็นการเซ่นสรวงสถานที่ที่ ดาบสเคยนั่ง คือ ตรงใต้ต้นไม้ใหญ่นั่นเอง

            ในใจของชายหนุ่มนั้น ยังคงมีความปีติ และประทับใจในการที่ได้พบ ได้ถวายน้ำผึ้งแก่ดาบสผู้สำเร็จนั้น เมื่อใกล้จะละโลก เขาได้เห็นนิมิตภาพที่ตนเองเคยถวายน้ำผึ้ง รวมกับความผูกพันที่มีต่อสายน้ำโขง และความเชื่อต่อเทพเจ้าแห่งลำน้ำ ดังนั้นเมื่อละโลกแล้ว จึงไปเกิดเป็นบุตรของพญานาคราชโอฆินทร* ณ เมืองบาดาลใต้สองผืนแผ่นดิน ไทยลาว บริเวณลุ่มแม่น้ำโขง โดยเกิดแบบโอปปาติกะ บนตักของอัครมเหสี พญานาคราชดีใจ ที่ได้บุตรผู้มีบุญญาธิการ ได้ทำพิธีสมโภช และขนานนามแก่บุตรว่า มธุรนาคราช

            ชื่อนี้ถือนิมิตจากผิวพรรณของท่านว่า เหมือนสีน้ำผึ้ง คือ เป็นสีน้ำตาลทองเข้มๆ ซึ่ง เป็นอานิสงส์แห่งการถวายน้ำผึ้งครั้งเป็นมนุษย์ เมื่อเจริญวัยขึ้นมา ผิวพรรณกลับเปล่งปลั่ง เป็นสีทอง เหล่านาคทั้งหลายจึงขนานนาม ท่านว่า สุวรรณมธุรนาคราช แปลว่าพญานาค น้ำผึ้งทอง

            ฝ่ายชาวบ้านที่มีจิตเลื่อมใสในพระดาบส และตามมาสักการะแต่ไม่พบ ภายหลังได้มา เกิดเป็นบริวารของสุวรรณมธุรนาคราช โดยเกิดเป็นนาคในกำเนิดต่างๆ ตามกำลังบุญ ของตน ซึ่งมีทั้ง ๔ กำเนิด คือโอปปาติกะ (เกิดแล้วโตทันทีเช่นเดียวกับเทวดานางฟ้า) สังเสทชะ (เกิดจากเหงื่อไคล หรือที่ชื้นแฉะโสโครก) ชลาพุชะ (เกิดในครรภ์เช่นเดียวกับมนุษย์) และอัณฑชะ (เกิดในฟองไข่เช่นเดียวกับงูทั่วไป)

            เมื่ออายุเกือบ ๕๐๐ ปี ซึ่งเป็นช่วงอยู่ในวัยรุ่น มธุรนาคราชได้ติดตามพญานาคราช โอฆินทร บิดา ขึ้นไปบนพื้นดิน และได้เห็นเหตุการณ์วันเทโวโรหณะ๑ ขณะพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ทรงเปิดโลกด้วย ในวันนั้นเอง โดยพุทธานุภาพทำให้สัตวโลกทั้งหลายใน ภพสาม นอกจาก จะแลเห็นพุทธลักษณะ อันงดงามและฉัพพรรณรังสีอันสว่างไสวรอบพระวรกายแล้ว ทั้งสัตว์นรก มนุษย์และเทวดา ยังสามารถเห็นซึ่งกันและกันอย่างชัดเจน อีกด้วย

            ครั้งนั้น ทั้งพญานาคและมนุษย์ เมื่อได้ ยลพุทธลักษณะต่างบังเกิดความศรัทธาเคารพ เลื่อมใสในพระสัมมาสัมพุทธเจ้า จึงต่างตั้งใจ บูชาพระสัมมาสัมพุทธเจ้าตามสติปัญญา และอานุภาพของตน

           เมื่อเวลาผ่านไป ราชบุตรโตเต็มที่ ถึงเวลา ที่จะต้องมีดวงแก้วประจำตัวเกิดขึ้น โอฆินทรนาคราชผู้เป็นพระราชาจึงให้บุตรชายไปจำศีล ณ สะดือแม่น้ำโขง

หลังจากรักษาศีลจนกระทั่งถึงคืนวันเพ็ญ ด้วยบุญที่ถวายน้ำผึ้งแก่ดาบส ทำให้ดวงแก้ว ประจำตัวบังเกิดขึ้นโดยง่าย มีความสว่างไสวยิ่งนัก ซ้ำยังบันดาลให้เกิดวิมานทอง ตลอดจน สมบัติมากมาย ณ บริเวณสะดือแม่น้ำโขง นั่นเอง โอฆินทรราชาแห่งนาครู้ว่า บุตรของตน มีบุญญาธิการมาก จึงได้ยกตำแหน่งพระราชา ให้ปกครองนาคพิภพแทนตนสืบไป

             อัครมเหสีของสุวรรณมธุรนาคราชนั้น อดีตชาติเคยเกิดเป็นพระราชธิดาของพระเจ้า ไชยเชษฐาธิราช อดีตกษัตริย์ผู้ปกครองอาณา จักรล้านช้าง

            พระองค์มีราชธิดา ทั้งหมด ๓ พระองค์ องค์ที่เป็นอัครมเหสีของสุวรรณมธุรนาคราช นั้น เป็นราชธิดาองค์กลาง ขณะเป็นมนุษย์มีศรัทธาในพระพุทธศาสนา ได้สร้างพระสุกไว้ แต่ไม่ค่อย ได้เจริญสมาธิภาวนา และยังมีความเลื่อมใสศรัทธา ในเรื่องอานุภาพของพญานาค อย่างแรงกล้า ตามความเชื่อดั้งเดิมของบรรพบุรุษ เมื่อละโลกแล้วได้ไปบังเกิดเป็นนางนาคในภพบาดาล ในกำเนิดโอปปาติกะ โดยเกิดบนแท่นบรรทม ของสุวรรณมธุรนาคราชเมื่อสุวรรณมธุรนาคราช ได้พบก็ทราบทันทีว่า เธอคือนางแก้วคู่บุญของตน ถึงแม้ว่านางจะมาทีหลังมเหสีองค์อื่น แต่เธอก็มีบุญญาธิการมากที่สุด จึงได้รับการสถาปนา ไว้ในตำแหน่งอัครมเหสี

 ยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคล Total Execution Time: 0.0013719320297241 Mins