บทสวดมนต์ พระสูตร อาทิตตปริยายสูตร

วันที่ 13 เมย. พ.ศ.2557

บทสวดมนต์ พระสูตร
อาทิตตปริยายสูตร

พระสูตร อาทิตตปริยายสูตร

 

 

 

บทขัดอาทิตตปริยายสูตร

เวเนยยะทะมะโนปาเย 
สัพพะโส ปารมิง คะโต
อะโมฆะวะจะโน พุทฺโธ    
อภิญญายานุสาสะโก
จิณณานุรูปโต จาปิ
ธัมเมนะ วินะยัง ปะชัง
จิณณาคคิปาริจะริยานัง
สัมโพชฺฌาระหะโยคินัง
ยะมาทิตตะปะริยายัง
เทสะยันโต มะโนหะรัง
เต โสตาโร วิโมเจสิ 
วิญญูนัง โสตุมิจฺฉะตัง
ทุกขะตาลักขะโณปายัง
ตัง สุตตันตัง ภะณามะ เส ฯ 

                                

อาทิตตปริยายสูตร

      เอวัมเม สุตัง ฯ เอกัง สะมะยัง ภะคะวา คะยายัง วิหะระติคะยาสีเส สัทธิง ภิกขุสะหัสเสนะฯ ตัตระโข ภะคะวา ภิกขูอามันเตสิฯ

      สัพพัง ภิกขะเว อาทิตตัง ฯ กิญจะ ภิกขะเว สัพพัง อาทิตตัง ฯ จักขุง ภิกขะเว อาทิตตัง รูปา อาทิตตา จักขุวิญญาณัง อาทิตตัง จักขุสัมผัสโส อาทิตโต ยัมปิทัง จักขุสัมผัสสะปัจจะยา อุปปัชชะติเวทะยิตัง สุขัง วา ทุกขัง วา อะทุกขะมะสุขัง วา ตัมปิอาทิตตัง เกนะ อาทิตตัง ฯ อาทิตตัง ราคัคคินา โทสัคคินา โมหัคคินา อาทิตตัง ชาติยา ชะรามะระเณนะ โสเกหิปะริเทเวหิ ทุกเขหิ โทมะนัสเสหิ อุปายาเสหิ อาทิตตันติ วะทามิ ฯ

      โสตัง อาทิตตัง สัททา อาทิตตา โสตะวิญญาณัง อาทิตตัง โสตะสัมผัสโส อาทิตโต ยัมปิทัง โสตะสัมผัสสะปัจจะยา อุปปัชชะติเวทะยิตัง สุขัง วา ทุกขัง วา อะทุกขะมะสุขัง วา ตัมปิ อาทิตตัง ฯ เกนะ อาทิตตัง ฯ อาทิตตัง ราคัคคินา โทสัคคินา โมหัคคินา อาทิตตัง ชาติยา ชะรามะระเณนะ โสเกหิ ปะริเทเวหิ ทุกเขหิ โทมะนัสเสหิ อุปายาเสหิ อาทิตตันติ วะทามิ ฯ

      ฆานัง อาทิตตัง คันธา อาทิตตา ฆานะวิญญาณัง อาทิตตัง ฆานะสัมผัสโส อาทิตโต ยัมปิทัง ฆานะสัมผัสสะปัจจะยา อุปปัชชะติเวทะยิตัง สุขัง วา ทุกขัง วาอะทุกขะมะสุขัง วาตัมปิ อาทิตตัง ฯ เกนะ อาทิตตัง ฯ อาทิตตัง ราคัคคินา โทสัคคินา โมหัคคินา อาทิตตัง ชาติยา ชะรามะระเณนะ โสเกหิปะริเทเวหิ ทุกเขหิ โทมะนัสเสหิ อุปายาเสหิ อาทิตตันติ วะทามิ ฯ

      ชิวหา อาทิตตา ระสา อาทิตตา ชิวหาวิญญาณัง อาทิตตัง ชิวหาสัมผัสโส อาทิตโต ยัมปิทัง ชิวหาสัมผัสสะปัจจะยา อุปปัชชะติเวทะยิตัง สุขัง วา ทุกขัง วาอะทุกขะมะสุขัง วาตัมปิ อาทิตตัง ฯ เกนะ อาทิตตัง ฯ อาทิตตัง ราคัคคินา โทสัคคินา โมหัคคินา อาทิตตัง ชาติยา ชะรามะระเณนะ โสเกหิปะริเทเวหิ ทุกเขหิ โทมะนัสเสหิ อุปายาเสหิ อาทิตตันติ วะทามิ ฯ

     กาโย อาทิตโต โผฏฐัพพา อาทิตตา กายะวิญญานัง อาทิตตัง กายะสัมผัสโส อาทิตโต ยัมปิทัง กายะสัมผัสสะปัจจะยา อุปปัชชะติเวทะยิตัง สุขัง วา ทุกขัง วาอะทุกขะมะสุขัง วาตัมปิ อาทิตตัง ฯ เกนะ อาทิตตัง ฯ อาทิตตัง ราคัคคินา โทสัคคินา โมหัคคินา อาทิตตัง ชาติยา ชะรามะระเณนะ โสเกหิปะริเทเวหิ ทุกเขหิ โทมะนัสเสหิ อุปายาเสหิ อาทิตตันติ วะทามิ ฯ

      มะโน อาทิตโต ธัมมา อาทิตตา มะโนวิญญาณัง อาทิตตัง มะโนสัมผัสโส อาทิตโต ยัมปิทัง มะโนสัมผัสสะปัจจะยา อุปปัชชะติเวทะยิตัง สุขัง วา ทุกขัง วาอะทุกขะมะสุขัง วาตัมปิ อาทิตตัง ฯ เกนะ อาทิตตัง ฯ อาทิตตัง ราคัคคินา โทสัคคินา โมหัคคินา อาทิตตัง ชาติยา ชะรามะระเณนะ โสเกหิปะริเทเวหิ ทุกเขหิ โทมะนัสเสหิ อุปายาเสหิ อาทิตตันติ วะทามิ เอวัง ปัสสัง ภิกขะเว สุตวา อะริยะสาวะโก

     จักขุส๎มิงปิ นิพพินทะติ รูเปสุปิ นิพพินทะติ จักขุวิญญาเณปิ นิพพินทะติ จักขุสัมผัสเสปิ นิพพินทะติ ยัมปิทังจักขุสัมผัสสะปัจจะยา อุปปัชชะติ เวทะยิตัง สุขัง วา ทุกขัง วา อะทุกขะมะสุขัง วาตัส๎มิงปิ นิพพินทะติ ฯ

     โสตัส๎มิงปิ นิพพินทะติ สัทเทสุปิ นิพพินทะติ โสตะวิญญาเณปิ นิพพินทะติ โสตะสัมผัสเสปิ นิพพินทะติ
ยัมปิทัง โสตะสัมผัสสะปัจจะยา อุปปัชชะติเวทะยิตัง สุขัง วา ทุกขังวาอะทุกขะมะสุขัง วา ตัส๎มิงปิ นิพพินทะติ ฯ

      ฆานัส๎มิงปิ นิพพินทะติ คันเธสุปิ นิพพินทะติ ฆานะ วิญญาเณปิ นิพพินทะติ ฆานะสัมผัสเสปิ นิพพินทะติ
ยัมปิทัง ฆานะสัมผัสสะปัจจะยา อุปปัชชะติเวทะยิตัง สุขัง วา ทุกขัง วา อะทุกขะมะสุขัง วา ตัส๎มิงปิ นิพพินทะติ ฯ

      ชิวหายะปิ นิพพินทะติ ระเสสุปิ นิพพินทะติ ชิวหาวิญญาเณปิ นิพพินทะติ ชิวหาสัมผัสเสปิ นิพพินทะติ
ยัมปิทัง ชิวหาสัมผัสสะปัจจะยา อุปปัชชะติ เวทะยิตัง สุขัง วา ทุกขัง วา อะทุกขะมะสุขัง วา ตัส๎มิงปิ นิพพินทะติ ฯ

      กายัส๎มิงปิ นิพพินทะติ โผฏฐัพเพสุปิ นิพพินทะติ กายะวิญญาเณปิ นิพพินทะติ กายะสัมผัสเสปิ นิพพินทะติ
ยัมปิทัง กายะสัมผัสสะปัจจะยา อุปปัชชะติเวทะยิตัง สุขัง วา ทุกขัง วา อะทุกขะมะสุขัง วา ตัส๎มิงปิ นิพพินทะติ ฯ

      มะนัส๎มิงปิ นิพพินทะติ ธัมเมสุปิ นิพพินทะติ มะโนวิญญาเณปิ นิพพินทะติ มะโนสัมผัสเสปิ นิพพินทะติ ยัมปิทัง มะโนสัมผัสสะปัจจะยา อุปปัชชะติเวทะยิตัง สุขัง วา ทุกขัง วา อะทุกขะมะสุขัง วา ตัส๎มิงปิ นิพพินทะติ ฯ

      นิพพินทัง วิรัชชะติฯ วิราคา วิมุจจะติฯ วิมุตตัส๎มิง วิมุตตะมีติญาณัง โหติขีณา ชาติวุสิตัง พรัหมะจะริยัง กะตัง กะระณียัง นาปะรัง อิตถัตตายาติ ปะชานาตีติ ฯ

      อิทะมะโวจะ ภะคะวา ฯ อัตตะมะนา เต ภิกขูภะคะวะโต ภาสิตัง อะภินันทุง ฯ

      อิมัส๎มิญจะ ปะนะ เวยยากะระณัส๎มิง ภัญญะมาเน ตัสสะ ภิกขุสะหัสสัสสะ อะนุปาทายะ อาสะเวหิ จิตตานิ วิมุจจิงสูติ

 

****************************************************************

อาทิตตปริยายสูตร แปล

พระอานนทเถรพุทธอุปัฏฐาก ได้กล่าวแสดงต่อคณะสงฆ์ ในการทำสังคายนาครั้งที่ 1 ว่าดังนี้.-

      ข้าพเจ้าได้ฟังจากพระผู้มีพระภาคเจ้าอย่างนี้ว่า ในสมัยหนึ่งพระผู้มีพระภาคเจ้าเสด็จประทับยับยั้งอยู่ที่ตำบลคยาสีสะ ใกล้แม่น้ำคยาพร้อวด้วยพระภิกษุพวกที่เคยเป็นชฎิลประมาณ 1,000 รูป ในกาลครั้งนั้นแล พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสเตือนสติภิกษุเหล่านั้น ให้ตั้งใจฟังและพิจารณาตามพระดำรัสของพระองค์อย่างนี้ว่า ภิกษุทั้งหลาย สิ่งทั้งปวงในโลกนี้ เป็นเฟตุให้ใจเร่าร้อน ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็อะไรเล่า ชื่อว่าเป็นเหตุทำให้ใจเร่าร้อน 

 

ภิกษุทั้งหลาย ตา เป็นเหตุทำให้ใจเร่าร้อน  รูป เป็นเหตุทำให้ใจเร่าร้อน  

        ความคิดฟุ้งซ่านเมื่อตาได้เห็นรูปืั้งที่ถูกใจและไม่ถูกใจ เป็นเหตุทำให้ใจเร่าร้อน  ความรู้สึกพอใจ ไม่พอใจ หรือรู้สึกเฉยๆ ที่เกิดขึ้นเพราะตาได้เห็นรูป ทั้งที่ถูกใจและไม่ถูกใจนั้น ก็เป็นเหตุทำให้ใจเร่าร้อน  เร่าร้อนเพราะอะไร ? เร่าร้อนเพราะใจคือราคะที่เกิดขึ้นในใจ ก็มีความยินดีที่อยากจะให้ตาได้เห็นรูปที่ถูกใจนั้นอีก ร้อนเพราะไฟคือโทสะที่เกิดขึ้นในใจ มีความหงุดหงิดขัดเคืองใจ เพราะได้เห็นรูปที่ไม่ถูกใจ ร้อนเพราะไฟคือโมหะที่เกิดขึ้นในใจ เพราะหลงคิดว่ารูปที่ถูกใจนั้นจะมีให้เห็นอยู่ตลอดกาล แต่สภาพทุกๆ อย่างจะคงอยู่ตลอดกาลไม่ได้ เพราะมันไม่เที่ยง ต้องเปลี่ยนแปลงไป เสื่อมไป และต้องสลายไปเป็นธรรม

       ใจเร่าร้อนเพราะอยากให้รูปที่ถูกใจนั้นเกิดมีขึ้นมาอีก และใจเร่าร้อนเพราะไม่อยากให้รูปที่ไม่ถูกใจนั้นเกิดมีขึ้นมาอีก ใจเร่าร้อนเพราะรูปที่ถูกใจนั้จะต้องเสื่อมสลายไป เร่าร้อนในใจ เพราะความโศกเสร้าคิดถึงรูปที่ถูกใจนั้น เร่าร้อนใจเพราะความร่ำไรรำพันใฝ่หารูปที่ถูกใจนั้น เร่าร้อนในใจเพราะความพลัดพรากจากรูปที่ถูกใจนั้น และเพราะไม่สมหวังในรูปที่ถูกใจนั้น เร่าร้อนใจเพราะความเสียใจที่ต้องหมดหวังในการที่จะได้รูปที่ถูกใจนั้นกลับคืนมา เร่าร้อนใจเพราะความคับแค้นใจในการที่ต้องสูญสิ้นความหวังในรูปที่ถูกใจนั้น เพราะเหตุนี้เราจึงกล่าวว่า ตา และรูป เป็นเหตุทำให้ใจเร่าร้อน 

 

หู เป็นเหตุทำให้ใจเร่าร้อน เสียง เป็นเหตุทำให้ใจเร่าร้อน 

     ความคิดฟุ้งซ่านเมื่อหูได้ยินเสียงทั้งที่ถูกใจและไม่ถูกใจ เป็นเหตุทำให้ใจเร่าร้อน  ความรู้สึกพอใจ ไม่พอใจ หรือรู้สึกเฉยๆ ที่เกิดขึ้นเพราะหูได้ยิน้สียงทั้งที่ถูกใจและไม่ถูกใจนั้น ก็เป็นเหตุทำให้ใจเร่าร้อน  เร่าร้อนเพราะอะไร เร่าร้อนเพราะไฟคือราคะที่เกิดขึ้นในใจ มีความยินดีอยากจะให้หูได้ยินเสียงที่ถูกใจนั้นอีก ร้อนเพราะไฟคือโทสะที่เกิดขึ้นในใจ มีความหงุดหงิดขัดเคืองใจ เพราะได้ยินเสียงที่ไม่ถูกใจ ร้อนเพราะไฟคือโมหะที่เกิดขึ้นใจใน เพราะหลงคิดว่าเสียงที่ถูกใจนั้นมีให้ฟังอยู่ตลอดกาล แต่สภาพทุกๆ อย่างจะคงอยู่ตลอดกาลไม่ได้ เพราะมันไม่เที่ยง ต้องเปลี่ยนแปลงไป เสื่อมไป และต้องสลายไปเป็นธรรมดา

     ใจเร่าร้อนเพราะอยากให้เสียงที่ถูกใจนั้นมีขึ้นมาอีก และใจเร่าร้อนเพราะไม่อยากให้เสียงที่ไม่ถูกใจนั้นเกิดมีขึ้นมาอีก ใจเร่าร้อนเพราะเสียงที่ถูกใจนั้นจะต้องเลือนหายไป เร่าร้อนในใจเพราะความโศกเศร้าคิดถึงเสียงที่ถูกใจนั้น  เร่าร้อนใจเพราะความร่ำไรรำพันใฝ่หาเสียงที่ถูกใจนั้น เร่าร้อนในใจเพราะความพลัดพรากจากเสียงที่ถูกใจนั้น และเพราะไม่สมหวังในเสียงที่ถูกใจนั้น เร่าร้อนใจเพราะความเสียใจที่ต้องหมดหวังในการที่จะได้เสียงที่ถูกใจนั้นกลับคืนมา เร่าร้อนใจเพราะความคับแค้นใจในการที่ต้องสูญสิ้นความหวังในเสียงที่ถูกใจนั้น เพราะเหตุนี้เราจึงกล่าวว่า หู และ เสียง เป็นเหตุทำให้ใจเร่าร้อน 

 

จมูก เป็นเหตุทำให้ใจเร่าร้อน  กลิ่น เป็นเหตุทำให้ใจเร่าร้อน

    ความคิดฟุ้งซ่านเมื่อจมูกได้ดมกลิ่นทั้งที่ถูกใจและไม่ถูกใจ เป็นเหตุทำให้ใจเร่าร้อน ความรู้สึกพอใจ ไม่พอใจ หรือรู้สึกเฉยๆ ที่เกิดขึ้นเพราะจมูกได้ยินดมกลิ่นทั้งที่ถูกใจและไม่ถูกใจนั้น ก็เป็นเหตุทำให้ใจเร่าร้อน  เร่าร้อนเพราะอะไร เร่าร้อนเพราะไฟคือราคะที่เกิดขึ้นในใจ มีความยินดีอยากจะให้จมูกได้ดมกลิ่นนั้นอีก ร้อนเพราะไฟคือโทสะที่เกิดขึ้นในใจ มีความหงุดหงิดขัดเคืองใจ เพราะได้ดมกลิ่นที่ไม่ถูกใจ ร้อนเพราะไฟคือโมหะที่เกิดขึ้นใจใน เพราะหลงคิดว่ากลิ่นที่ถูกใจนั้นจะมีตลอดกาล แต่สภาพทุกๆ อย่างจะคงอยู่ตลอดกาลไม่ได้ เพราะมันไม่เที่ยง ต้องเปลี่ยนแปลงไป เสื่อมไป และต้องสลายไปเป็นธรรมดา

     ใจเร่าร้อนเพราะอยากให้กลิ่นที่ถูกใจนั้นมีขึ้นมาอีก และใจเร่าร้อนเพราะไม่อยากให้กลิ่นที่ไม่ถูกใจนั้นเกิดมีขึ้นมาอีก ใจเร่าร้อนเพราะกลิ่นที่ถูกใจนั้นจะต้องจางหายไป เร่าร้อนในใจเพราะความโศกเศร้าคิดถึงกลิ่นที่ถูกใจนั้น  เร่าร้อนใจเพราะความร่ำไรรำพันใฝ่หากลิ่นที่ถูกใจนั้น เร่าร้อนในใจเพราะความพลัดพรากจากกลิ่นที่ถูกใจนั้น และเพราะไม่สมหวังในกลิ่นที่ถูกใจนั้น เร่าร้อนใจเพราะความเสียใจที่ต้องหมดหวังในการที่จะให้กลิ่นที่ถูกใจนั้นกลับคืนมาอีก เร่าร้อนใจเพราะความคับแค้นใจในการที่ต้องสูญสิ้นความหวังในกลิ่นที่ถูกใจนั้น เพราะเหตุนี้เราจึงกล่าวว่า จมูก และ กลิ่น เป็นเหตุทำให้ใจเร่าร้อน

 

ลิ้น เป็นเหตุทำให้ใจเร่าร้อน  รส เป็นเหตุทำให้ใจเร่าร้อน

     ความคิดฟุ้งซ่านเมื่อลิ้นได้ลิ้มรสทั้งที่ถูกใจและไม่ถูกใจ เป็นเหตุทำให้ใจเร่าร้อน  ความรู้สึกพอใจ ไม่พอใจ หรือรู้สึกเฉยๆ ที่เกิดขึ้นเพราะลิ้นได้ลิ้มรสทั้งที่ถูกใจและไม่ถูกใจนั้น ก็เป็นเหตุทำให้ใจเร่าร้อน  เร่าร้อนเพราะอะไร เร่าร้อนเพราะไฟคือราคะที่เกิดขึ้นในใจ มีความยินดีอยากจะให้ลิ้นได้ลิ้มรสที่ถูกใจนั้นอีก ร้อนเพราะไฟคือโทสะที่เกิดขึ้นในใจ มีความหงุดหงิดขัดเคืองใจ เพราะได้ลิ้มรสที่ไม่ถูกใจ ร้อนเพราะไฟคือโมหะที่เกิดขึ้นใจใน เพราะหลงคิดว่ารสที่ถูกใจนั้นจะมีตลอดกาล แต่สภาพทุกๆ อย่างจะคงอยู่ตลอดกาลไม่ได้ เพราะมันไม่เที่ยง ต้องเปลี่ยนแปลงไป เสื่อมไป และต้องสลายไปเป็นธรรมดา

    ใจเร่าร้อนเพราะอยากให้รสที่ถูกใจนั้นมีขึ้นมาอีก และใจเร่าร้อนเพราะไม่อยากให้รสที่ไม่ถูกใจนั้นเกิดมีขึ้นมาอีก ใจเร่าร้อนเพราะรสที่ถูกใจนั้นจะต้องจางหายไป เร่าร้อนในใจเพราะความโศกเศร้าคิดถึงรสที่ถูกใจนั้น  เร่าร้อนใจเพราะความร่ำไรรำพันใฝ่หารสที่ถูกใจนั้น เร่าร้อนในใจเพราะความพรากจากรสที่ถูกใจนั้น และเพราะไม่สมหวังในรสที่ถูกใจนั้น เร่าร้อนใจเพราะความเสียใจที่ต้องหมดหวังในการที่จะให้รสที่ถูกใจนั้นกลับคืนมาอีก เร่าร้อนใจเพราะความคับแค้นใจในการที่ต้องสูญสิ้นความหวังในรสที่ถูกใจนั้น เพราะเหตุนี้เราจึงกล่าวว่า ลิ้น และ รส เป็นเหตุทำให้ใจเร่าร้อน

 

กาย เป็นเหตุทำให้ใจเร่าร้อน  สิ่งที่ถูกต้องสัมผัสกาย เป็นเหตุทำให้ใจเร่าร้อน

     ความคิดฟุ้งซ่านเมื่อกายได้สัมผัสกับสิ่งที่ถูกใจและไม่ถูกใจ เป็นเหตุทำให้ใจเร่าร้อน  ความรู้สึกพอใจ ไม่พอใจ หรือรู้สึกเฉยๆ ที่เกิดขึ้นเพราะกายได้สัมผัสกับสิ่งที่ถูกใจและไม่ถูกใจนั้น ก็เป็นเหตุทำให้ใจเร่าร้อน  เร่าร้อนเพราะอะไร เร่าร้อนเพราะไฟคือราคะที่เกิดขึ้นในใจ มีความยินดีอยากจะให้กายได้สัมผัสกับสิ่งที่ถูกใจนั้นอีก เร่าร้อนเพราะไฟคือโทสะที่เกิดขึ้นในใจ มีความหงุดหงิดขัดเคืองใจ เพราะกายได้สัมผัสกับสิ่งที่ไม่ถูกใจ เร่าร้อนเพราะไฟคือโมหะที่เกิดขึ้นใจใน เพราะหลงคิดว่าสิ่งที่ถูกใจนั้นจะมีมาสัมผัสตลอดกาล แต่สภาพทุกๆ อย่างจะคงอยู่ตลอดกาลไม่ได้ เพราะมันไม่เที่ยง ต้องเปลี่ยนแปลงไป เสื่อมไป และต้องสลายไปเป็นธรรมดา

   ใจเร่าร้อนเพราะอยากให้มีสิ่งที่ถูกใจมาสัมผัสกายอีก และใจเร่าร้อนเพราะไม่อยากให้สิ่งที่ไม่ถูกใจนั้นมาสัมผัสกายอีก ใจเร่าร้อนเพราะ สิ่งที่มาสัมผัสกายอันถูกใจนั้นจะต้องเสื่อมสลายไป, เร่าร้อนในใจเพราะความโศกเศร้าคิดถึงสิ่งที่มาสัมผัสกายอันถูกใจนั้น, เร่าร้อนในใจเพราะความร่ำไรรำพันใฝ่หาสิ่งที่มาสัมผัสกายอันถูกใจนั้น, เร่าร้อนในใจเพราะความพลัดพรากจากสิ่งที่มาสัมผัสกายอันถูกใจนั้นและเพราะไม่สมหวังในสิ่งที่มาสัมผัสกายอันถูกใจนั้น, เร่าร้อนใจเพระาความเสียใจที่ต้องหมดหวังในการที่จะให้สิ่งที่มาสัมผัสกายอันถูกใจนั้นกลับคืนมาอีก, เร่าร้อนใจเพราะความคับแค้นใจในการที่จะต้องสูญสิ้นความหวังในสิ่งที่มาสัมผัสกายอันถูกใจนั้น, เพราะเหตุนี้เราจึงกล่าวว่า กาย และ สิ่งที่ถูกต้องสัมผัสกาย เป็นเหตุทำให้ใจเร่าร้อน

 

ใจที่มีความอยาก เป็นเหตุทำให้ใจเร่าร้อน  ความคิดในเรื่องราวต่าง ๆ เป็นเหตุทำให้ใจเร่าร้อน

     ความคิดฟุ้งซ่านในเรื่องราวต่าง ๆ ทั้งที่ถูกใจและไม่ถูกใจ เป็นเหตุทำให้ใจเร่าร้อน  ความรู้สึกพอใจ ไม่พอใจ หรือรู้สึกเฉยๆ ที่เกิดขึ้นเพราะคิดในเรื่องราวต่าง ๆ ทั้งที่ถูกใจและไม่ถูกใจนั้น ก็เป็นเหตุทำให้ใจเร่าร้อน เร่าร้อนเพราะอะไร เร่าร้อนเพราะไฟคือราคะที่เกิดขึ้นในใจ มีความยินดีอยากจะคิดในเรื่องราวที่ถูกใจนั้นอีก เร่าร้อนเพราะไฟคือโทสะที่เกิดขึ้นในใจ มีความหงุดหงิดขัดเคืองใจ เพราะต้องคิดในเรื่องราวที่ไม่ถูกใจ เร่าร้อนเพราะไฟคือโมหะที่เกิดขึ้นใจใน เพราะหลงคิดว่าเรื่องราวที่ถูกใจนั้นจะมีอยู่ตลอดกาล แต่สภาพทุกๆ อย่างจะคงอยู่ตลอดกาลไม่ได้ เพราะมันไม่เที่ยง ต้องเปลี่ยนแปลงไป เสื่อมไป และต้องสลายไปเป็นธรรมดา

     ใจเร่าร้อนเพราะอยากให้มีเรื่องราวที่ถูกใจเกิดมีขึ้นมาอีก และใจเร่าร้อนเพราะไม่อยากให้เรื่องราวที่ไม่ถูกใจนั้นเกิดมีขึ้นมาอีก ใจเร่าร้อนเพราะ เรื่องราวที่ถูกใจนั้นจะต้องสูญสิ้นไป, เร่าร้อนในใจเพราะความโศกเศร้าคิดถึงเรื่องราวที่ถูกใจนั้น, เร่าร้อนในใจเพราะความร่ำไรรำพันใฝ่หาเรื่องราวที่ถูกใจนั้น, เร่าร้อนในใจเพราะความเรื่องราวที่ถูกใจนั้น และเพราะไม่สมหวังในเรื่องราวที่ถูกใจนั้น, เร่าร้อนใจเพราะความเสียใจที่ต้องหมดหวังในการที่จะให้เรื่องราวที่ถูกใจนั้นกลับคืนมาอีก, เร่าร้อนใจเพราะความคับแค้นใจในการที่จะต้องสูญสิ้นความหวังในเรื่องราวที่ถูกใจนั้น, เพราะเหตุนี้เราจึงกล่าวว่า ใจที่มีความอยาก และ ความคิดในเรื่องราวต่าง ๆ เป็นเหตุทำให้ใจเร่าร้อน

     ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เมื่อพระอริยสาวกได้ยินได้ฟังและเห็นอยู่อย่างนี้แล้ว อริยสาวกเหล่านั้น ย่อมมีความเบื่อหน่าย ตา ย่อมมีความเบื่อหน่าย รูปทั้งหลาย ย่อมเบื่อหน่ายความคิดฟุ้งซ่านเมื่อตาได้เห็นรูปทั้งที่ถูกใจและไม่ถูกใจนั้น

     ความรู้สึกเบื่อหน่ายความคิดอันฟุ้งซ่านอย่างนี้ เกิดขึ้นเพราะการที่ตาได้เห็นรูปที่ชอบใจ ไม่ชอบใจ หรือรู้สึกเฉยๆนั้น จึงไม่อยากคิดถึงตา และรูปทั้งหลายอีกต่อไป เพราะเป็นเหตุทำให้ใจเร่าร้อน ฯ อริยสาวกเหล่านั้น ย่อมเบื่อหน่าย หู ย่อมเบื่อหน่าย เสียงทั้งหลาย ย่อมเบื่อหน่ายความคิดฟุ้งซ่านเมื่อหูได้ยินเสียงทั้งที่ถูกใจและไม่ถูกใจนั้น

     ความรู้สึกเบื่อหน่ายความคิดอันฟุ้งซ่านอย่างนี้ เกิดขึ้นเพราะการที่หูได้ยินเสียงที่ชอบใจ ไม่ชอบใจ หรือรู้สึกเฉย ๆ นั้นจึงไม่อยากคิดถึงหูและเสียงทั้งหลายอีกต่อไป เพราะมันเป็นเหตุทำให้ใจเร่าร้อน ฯ อริยสาวกเหล่านั้น ย่อมเบื่อหน่าย จมูก ย่อมเบื่อหน่าย กลิ่นทั้งหลาย ย่อมเบื่อหน่ายความคิดฟุ้งซ่านเมื่อจมูกได้ดมกลิ่นทั้งที่ถูกใจและไม่ถูกใจนั้น ความรู้สึกเบื่อหน่ายความคิดอันฟุ้งซ่านอย่างนี้ เกิดขึ้นเพราะการที่จมูกได้ดมกลิ่มที่ชอบใจ ไม่ชอบใจ หรือรู้สึกเฉย ๆ นั้น จึงไม่อยากคิดถึงจมูกและกลิ่นทั้งหลายอีกต่อไป เพราะมันเป็นเหตุทำให้ใจเร่าร้อน ฯ อริยสาวกเหล่านั้น ย่อมเบื่อหน่าย ลิ้น ย่อมเบื่อหน่าย รสทั้งหลาย ย่อมเบื่อหน่ายความคิดฟุ้งซ่านเมื้อลิ้นไม้ลิ้มรสทั้งที่ถูกใจและไม่ถูกใจนั้น ความรู้สึกเบื่อหน่ายความคิดอันฟุ้งซ่านอย่างนี้ เกิดขึ้นเพราะการที่ลิ้นได้ลิ้มรสที่ชอบใจ ไม่ชอบใจ หรือรู้สึกเฉย ๆ นั้น จึงไม่อยากคิดถึงลิ้นและรสทั้งหลายอีกต่อไป เพราะมันเป็นเหตุทำให้ใจเร่าร้อน ฯ อริยสาวกเหล่านั้น ย่อมเบื่อหน่าย กาย ย่อมเบื่อหน่าย สิ่งที่มาถูกต้องสัมผัสกาย ย่อมเบื่อหน่ายความคิดฟุ้งซ่านเมื่อกายได้สัมผัสกับสิ่งที่ถูกใจและไม่ถูกใจนั้น ความรู้สึกเบื่อหน่ายความคิดฟุ้งซ่านอย่างนี้ เกิดขึ้นเพราะการที่กายได้สัมผัสกับสิ่งที่ชอบใจ ไม่ชอบใจ หรือรู้สึกเฉย ๆ นั้น จึงไม่อยากคิดถึงกายและสิ่งที่มาสัมผัสกายอีกต่อไป เพราะมันเป็นเหตุทำให้ใจเร่าร้อน ฯ อริยสาวกเหล่านั้น ย่อมเบื่อหน่าย ใจที่มีความอนาก ย่อมเบื่อหน่าย ความคิดเรื่องราวต่าง ๆ ย่อใเบื่อหน่ายความคิดฟุ้งซ่านเมื่อใจรู้เรื่องราวต่าง ๆ ทั้งที่ถูกใจและไม่ถูกใจนั้น ความรู้สึกเบื่อหน่ายความคิดฟุ้งซ่านอย่างนี้ เกิดขึ้นเพราะการที่ใจมีอารมณ์ชอบคิดในเรื่องราวต่าง ๆ ที่ชอบใจ ไม่ชอบใจ หรือรู้สึกเฉยๆ นั้น จึงไม่อยากคิดถึงใจที่มีความอยากและความคิดเรื่องราวต่าง ๆ อีกต่อไป เพราะมันเป็นเหตุทำให้ใจเร่าร้อน ฯ เมื่ออริยสาวกเหล่านั้น มีความเบื่อหน่ายอยู่อย่างนี้ ย่อมไม่คิดยินอยู่ในสิ่งเหล่านั้นอีก ฯ 

   เพราะไม่คิดยินดีอยู่ในสิ่งเหล่านั้น จิตก็หลุดพ้นจากกิเลสเครื่องรัดรึงใจทั้งหลาย ฯ เมื่อจิตหลุดพ้นจากกิเลสเครื่อวรัดรึงใจทั้งหลายแล้ว  ก็มีความรู้ทราบชัดแน่นอนว่า หมดสิ้นความเกิดแล้ว ไม่ต้องมาเวียนว่ายตายเกิดอีกต่อไปแล้ว เป็นการอยู่ในพรหมจรรย์อันบริสุทธิ์หมดจดดีแล้ว กิจที่จะต้องทำคือการตัดกิเลส  ก็ได้ทำเสร็จสิ้นแล้ว กิจอย่างอื่นที่จะต้องทำเพื่อความเป็นผู้หมดจดจากกิเลสอย่างนี้ ก็ไม่มีอีกแล้ว ฯ

      ครั้นเมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้าได้ทรงแสดงธรรมอันเป็นเหตุทำให้ใจเร่าร้อนอย่างนี้แล้ว ฯ ภิกษุทั้งหลายเหล่านั้นก็มีความเพลิดเพลินยินดีในธรรมที่พระพุทธองค์ทรงตรัสแล้วนั้น ฯ ก็ในขณะที่พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงกล่าวแสดงความละเอียดพิสดารของธรรมอันเป็นเหตุทำให้ใจเร่าร้อนอยู่นั้นแล 

      จิตของภิกษุประมาณ 1,000 รูปนั้น ก็หลุดพ้นจากกิเลสเครื่องรัดรึงใจทั้งหลาย ไม่คิดยินดี ไม่คิดอยากจะเกาะติดอยู่ใน ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ และ รูป เสียง กลิ่น รส สัมผัส อารมาณ์คิดถึงเรื่องราวต่าง ๆ นั้นอีกต่อไปแล ฯ

 

 


** อ้างอิงจาก หนังสือสวดมนต์แปล วัดจันทาราม (วัดท่าซุง) อ.เมือง จ.อุทัยธานี

** อ้างอิงจากหนังสือสวดมนต์ ฉบับวัดพระธรรมกาย **
เหมาะสำหรับพระภิกษุสามเณรและพุทธศาสนิกชนทุกท่าน รวบรวมและเรียบเรียงโดย กองวิชาการ (๐๑) วัดพระธรรมกาย

 ยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคล Total Execution Time: 0.0010672330856323 Mins