ลักษณะของบุคคลที่ฝึกสมาธิได้ดี

วันที่ 30 พค. พ.ศ.2557

 

ลักษณะของบุคคลที่ฝึกสมาธิได้ดี


           แม้ว่าบุคคลที่มีลักษณะนิสัยต่างๆ ดังที่กล่าวมาแล้ว จะสามารถฝึกสมาธิได้ แต่ถ้าจะต้องการฝึก
ให้ได้ผลดีนั้น ผู้ฝึกสมาธิทุกคนต้องมีความพร้อมทั้งร่างกายและจิตใจ กล่าวคือ ต้องเป็นผู้มีความ
ปรารถนาที่จะเรียนรู้ มีร่างกายที่ไม่กล้า ไม่อ่อนเพลียจนเกินไป และต้องมีความยอมรับ ไม่มีเงื่อนไขใน
ตัวผู้ให้คำแนะนำการรักษาศีลให้บริสุทธิ์เป็นอีกสิ่งหนึ่งที่จะส่งผลให้จิตใจของผู้ฝึกสมาธิปลอดกังวล และจะส่งผลให้จิตใจสงบหยุดนิ่งได้ง่าย มีคำอุปมาไว้ว่า ต้นไม้ที่เจริญงอกงามได้ เพราะอาศัยผืนแผ่นดินเป็นเครื่องรองรับฉันใด ใจที่จะเจริญงอกงามด้วยธรรมะได้ ก็ต้องอาศัยศีลเป็นเครื่องรองรับฉันนั้น เพราะฉะนั้นถ้าจะให้ฝึกสมาธิได้ดี ก็ต้องเป็นคนมีศีลและสามารถรักษาศีลให้บริสุทธิ์ตาม ภาวะของตน
ศีลที่รักษา อาจจะอยู่ในขั้นพื้นฐาน คือ ศีลทั้ง 5 ข้อ อันได้แก่


            1. ไม่ฆ่า


            2. ไม่ลัก


            3. ไม่ประพฤติผิดในกาม


            4. ไม่โกหกหลอกลวง


            5. ไม่เสพของมึนเมาให้โทษ

               หรือจะเป็นศีล 8 ที่มีข้อปฏิบัติอันเกื้อกูลแก่การฝึกสมาธิมากยิ่งขึ้น คือจากข้อ 3 ที่ว่าไม่ประพฤติผิดในกาม เปลี่ยนเป็นไม่ล่วงประเวณี และเพิ่มมาอีก 3 ข้อ คือ

 

            6. ไม่ทานอาหารยามวิกาล (เลยหลังเที่ยงไปแล้ว)


            7. ไม่ฟ้อนรำ ขับร้อง ประโคม ดูการละเล่น ประดับ ตกแต่งด้วยดอกไม้ ของหอม


            8. ไม่นอนบนที่นอนสูงใหญ่

 

           นอกจากนี้ในด้านจิตใจ ผู้ฝึกต้องละทิ้งปล่อยวางอารมณ์ต่างๆ ที่เกิดขึ้นกับตัวเรา และทำใจ
ให้ปลอดโปร่งจากเรื่องราวภารกิจสิ่งนี้จะเป็นอุปการะช่วยให้ใจของเราเป็นสมาธิได้ง่าย

           ดังนั้น เมื่อทุกท่านรับทราบถึงลักษณะของบุคคลที่สามารถฝึกสมาธิได้เช่นนี้แล้ว เราก็สามารถที่จะแนะนำและชักชวนให้บุคคลรอบข้างรวมทั้งคนในสังคมทุกคนได้มีโอกาสเข้ามาฝึกสมาธิ เพื่อท่านเหล่านั้นจะได้รับรู้ถึงความสุขที่แท้จริงได้ด้วยตนเอง

 

 

จากหนังสือ DOU

วิชา MD 101 ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับสมาธิ

 

 

 ยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคล Total Execution Time: 0.006036897500356 Mins